Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2552
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
17 พฤษภาคม 2552
 
All Blogs
 
ฮิสโตแกรม ในกล้อง...เขาเอาไว้ดูอะไรเนี่ย















ฮิสโทแกรม (histogram)


ฮิสโทแกรม (histogram) เป็นกราฟที่แสดงจำนวนข้อมูลต่างๆของภาพ ซึ่งช่วยให้ง่ายต่อการตรวจสอบความสว่างและความมืดของภาพ หรือทิศทางของสีที่ใช้
ท่านสามารถตรวจสอบค่าฮิสโทแกรม (histogram) ในกล้องได้ดังต่อไปนี้




* การแสดงค่าความสว่าง (Brightness Display): ระดับค่าความสว่างและ gradation โดยรวม
* การแสดงค่า RGB: Color saturation และ gradation




สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับการแสดงฮิสโทแกรม (histogram) โปรดดูรายละเอียดใน ท่านสามารถแสดงข้อมูลในการถ่ายภาพระหว่างการเรียกดูภาพได้อย่างไร?
ท่านสามารถสับเปลี่ยนการแสดงผลระหว่าง [Brightness] และ [RGB] ได้ โดยใช้รายการเมนูที่แสดงขึ้นบนหน้าจอ LCD






[Brightness] การแสดงค่าความสว่าง


ฮิสโทแกรม (histogram) นี้จะแสดงกราฟความสว่างของภาพในแนวนอน (Left: Dark; Right: Bright) และไล่จำนวนพิกเซลที่ระดับความสว่างของภาพในแนวตั้ง










ในหน้าจอ ยอดของกราฟที่มีแนวโน้มไปทางด้านซ้ายนั้นเป็นการแสดงค่าของภาพถ่ายที่มืด และยอดของกราฟที่มีแนวโน้มไปทางด้านขวานั้นเป็นการแสดงค่าของภาพถ่ายที่มี ความสว่าง โดยตรงบริเวณส่วนอื่นๆนั้นจะเป็นค่า gradation
ในฮิสโทแกรม (histogram) ท่านสามารถตรวจสอบระดับค่าความสว่างของแสงและ gradation ในภาพได้









การแสดงค่า RGB
ฮิสโทแกรม (histogram) นี้จะแสดงกราฟความสว่างของภาพในแนวนอน (Left: Dark; Right: Bright) และไล่จำนวนพิกเซลที่ระดับความสว่างของภาพในแนวตั้งในแต่ละสี R (Red)/G (Green)/B (Blue)










ในหน้าจอ ยอดของกราฟที่มีแนวโน้มไปทางด้านซ้ายนั้นเป็นการแสดงค่าของภาพถ่ายที่มืด สีของภาพจะดูจาง และยอดของกราฟที่มีแนวโน้มไปทางด้านขวานั้นเป็นการแสดงค่าของภาพถ่ายที่มี ความสว่าง ซึ่งสีของภาพจะดูทึบกว่า ส่วนประกอบทางด้านซ้ายนั้นจะมีข้อมูลสีเพียงนิดเดียวหรือแทบไม่มีเลย และส่วนประกอบทางด้านขวานั้นจะเป้นค่าความอิ่มตัวของสี (saturated) โดยที่ไม่มี gradation
ในฮิสโทแกรม (histogram) ท่านสามารถตรวจสอบระดับค่า saturation ของสี และ gradations ในภาพได้





วิธีการเปลี่ยนการแสดงภาพฮิสโทแกรม (histogram)
ในการสับเปลี่ยนการแสดงค่าระหว่าง [Brightness] และ [RGB] ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนด้านล่างนี้

1. เลื่อนสวิตช์กล้องไปที่

2. กดปุ่ม
เพื่อแสดงรายการเมนู

3. เลือกฮิสโทแกรม (histogram) ที่ต้องการแสดง
3-1. หลังจากที่กด เพื่อเลือกแถบ [] ให้กด cross keys เพื่อเลือก [Histogram]
3-2. กดปุ่ม แล้วกด cross keys เพื่อเลือกระหว่าง [Brightness] หรือ [RGB]
3-3. กดปุ่ม



4. กดปุ่ม
เพื่อปิดหน้าจอ LCD

ขั้นตอนการเปลี่ยนการแสดงภาพฮิสโทแกรม (histogram) เสร็จสมบูรณ์








การ ถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิทัล หรือการที่ต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงน้ำหนักสี (tone) ของภาพดิจิทัล สิ่งที่ต้องพบเห็นอยู่เป็นประจำคือ ฮิสโทแกรม




บางคนอาจไม่ได้สนใจกับการวิเคราะห์ภาพจากฮิสโทแกรม เพียงแต่ปรับเลื่อนเครื่องหมายหรือขีดต่างๆ บนซอฟแวร์จน สังเกตว่าภาพ ที่ตนเองเห็นบนจอนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปดังที่ตนต้องการจึงถือว่าได้ภาพที่ ดีแล้ว





อย่างไรก็ตามหากสามารถเข้าใจถึง ความสัมพันธ์ระหว่างฮิสโทแกรมกับภาพดิจิทัลแล้ว ก็จะช่วยให้สามารถปรับน้ำหนักสีของภาพได้ดียิ่งขึ้น






ฮิสโทแกรมคืออะไร

ฮิสโทแกรม เป็นกราฟแสดงจำนวนพิกเซลที่ความสว่างต่างๆ ของภาพ สังเกตได้จากภาพแรกด้านล่าง แกนนอนเป็นระดับความสว่างที่แบ่งระดับเป็น 256 ระดับ (มักเรียกว่าระดับสีเทา หรือ gray level) โดยมีค่าตั้งแต่ 0-255 เมื่อระดับสีเทามีค่าต่ำ (ด้านซ้ายมือ) หมายถึงมีความสว่างน้อย จะมองเห็นเป็นสีดำ ค่าระดับสีเทามาก (ด้านขวามือ) หมายถึงมีความสว่างมากจะมองเห็นเป็นสีขาว แกนตั้งของกราฟแสดงจำนวนพิกเซลในแต่ละความระดับสีเทาซึ่งเป็นค่าสัมพัทธ์


















จากภาพฮิสโทแกรมด้านบน เราพอจะวิเคราะห์ได้ว่าภาพถ่ายนี้น่าจะได้รับการเปิดรับแสงมาอย่างถูกต้อง เพราะมีจำนวนพิกเซลครอบคลุมอยู่ตั้งแต่ค่าระดับ สีเทาน้อยๆ ในส่วนเงา ไปจนค่าระดับสีเทามากๆ ในส่วนสว่าง







เมื่อพิจารณาภาพที่ถ่ายได้ควบคู่ไปกับฮิสโทแกรมแล้วจะเห็นว่า ส่วนขาวสุดของภาพซึ่งได้แก่เมฆ มีค่าไม่ถึง 255 ซึ่งบอกได้ว่าภาพที่ถ่ายมานี้ under ไปเล็กน้อย ลองพิจารณาฮิสโทแกรมของอีกภาพหนึ่งซึ่งมีจำนวนพิกเซลครอบคลุมตั้งแต่ส่วน สว่างไปจนถึงส่วนเงา







หากดูจากฮิสโทแกรมเพียงอย่างเดียว เราอาจคาดเดาว่าภาพนี้น่าจะได้รับการเปิดรับแสงที่ถูกต้อง แต่เมื่อดูภาพถ่ายควบคู่ไปด้วย จะเห็นว่าภาพนี้ถ่ายได้รับแสงมากเกินไป ดังภาพด้านล่าง







ดังนั้นการวิเคราะห์ฮิสโทแกรมในการถ่ายภาพ จะต้องดูภาพที่ถ่ายได้ควบคู่ไปด้วยเสมอ เพราะลำพังฮิทโทแกรมให้ข้อมูลไม่เพียงพอเพื่อให้เราวิเคราะห์ว่าภาพนั้นได้รับการเปิดรับแสงได้อย่างถูกต้องหรือไม่





ความสัมพันธ์ระหว่างฮิสโทแกรมกับการถ่ายภาพ

ในกล้องระดับมืออาชีพหรือกึ่งมืออาชีพ มักจะมีฮิสโทแกรมให้ผู้ถ่ายภาพได้ตรวจสอบค่าการฉายแสงที่ใช้ถ่ายภาพนั้นๆ ว่า ถูกต้องพอดีหรือไม่ เพื่อให้ท่านผู้อ่านเข้าใจความสัมพันธ์ดังกล่าวดียิ่งขึ้น ลองพิจารณาผลของการถ่ายภาพด้วยค่าการเปิดรับแสงต่างๆ กัน ซึ่งจะมีผลต่อลักษณะของภาพและฮิสโทแกรมได้ดังนี้






ภาพนี้แสดงการเปิดรับแสงอย่างถูกต้อง ภาพที่ได้มีรายละเอียดดีในทุกบริเวณ รวมทั้งฮิสโทแกรมที่ได้ก็จะกระจายอยู่ทั่วไปตลอดระดับสีเทาค่าต่างๆ







ภาพนี้แสดงให้เห็นว่าเมื่อเปิดรับแสงน้อยลงไป 2/3 stop ภาพจะมืดลงกว่าที่ควรเป็น และเมื่อพิจาณาจากฮิสโทแกรมจะเห็นว่า จำนวนพิกเซลที่ระดับความสว่างมากๆ มีจำนวนพิกเซลน้อยลง และแท่งกราฟจะเลื่อนไปด้านซ้ายเล็กน้อย







ภาพนี้แสดงให้เห็นว่าเมื่อถ่ายภาพ under มากๆ จำนวนพิกเซลที่ระดับสีเทากลางบางส่วนและที่ความสว่างมากๆ ไม่มีเลย แท่งกราฟไปกระจุกรวมตัวกันอยู่ที่ด้านซ้าย แสดงว่าภาพนี้มีแต่พิกเซลที่มีค่าสีดำและสีเทาเข้มเท่านั้น ไม่มีสีขาวเลย










เนื่องจากฮิสโทแกรมเป็นกราฟแสดงจำนวนพิกเซลในระดับสีเทาต่างๆ กัน ลักษณะของแท่งกราฟจึงขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของภาพด้วย หากเราถ่ายภาพโลว์คีย์ (low key) ซึ่งองค์ประกอบและรายละเอียดของภาพอยู่ในส่วนเงา กราฟย่อมโย้ไปด้านซ้าย หากเราถ่ายภาพ ไฮคีย์ (high key) ซึ่งองค์ประกอยและรายละเอียดส่วนใหญ่ของภาพอยู่ในส่วนสว่าง เราก็จะได้ภาพโย้ไปทางด้านขวา ดังภาพด้านล่าง











ดังนั้นหากเราถ่ายภาพและจะใช้ฮิสโทแกรมในการพิจารณาว่าการเปิดรับแสงถูกต้องแล้วหรือไม่อย่างไร จะต้องดูองค์ประกอบของภาพควบคู่ไปด้วยเสมอ หากภาพที่เราถ่าย ไม่มีส่วนขาวสุดอยู่เลย เราไม่จำเป็นต้องเปิดรับแสงให้มีแท่งกราฟที่ค่า 255 หรือ ด้านขวาสุดของภาพ ในทำนองกลับกัน หากเราถ่ายภาพที่ไม่มีวัตถุสีดำ หรือ มีเงาดำอยู่ในภาพเลย เราก็ไม่จำเป็นต้องเปิดรับแสงให้มีแท่งฮิสโทแกรมที่ด้านซ้ายสุดเช่นกัน









การปรับปรุง แก้ไขภาพจากฮิสโทแกรม

ใน Photoshop เมื่อเปิดคำสั่ง Image>Adjust>Levels แล้ว Photoshop ก็จะแสดงหน้าต่างสำหรับเปลี่ยนค่าระดับสีเทาของภาพ ดังภาพด้านล่าง








การปรับปรุงและแก้ไขภาพใน Levels นั้นก็ต้องดูภาพควบคู่ไปด้วย อันดับแรกจะต้องพิจารณาก่อนว่าภาพเรามีส่วนขาวสุดหรือดำสุดอยู่หรือไม่ ถ้ามี แล้วเราถ่ายภาพมาโดยเปิดรับแสงไม่พอดี แท่งฮิสโทแกรมของค่าทั้งสองก็จะไม่มี ซึ่งเราจะปรับได้โดยเลื่อนเครื่องหมายสามเหลี่ยม อันใดอันหนึ่ง ไปมา เพื่อปรับส่วนที่เป็น ส่วนสว่าง (highlight) ส่วนน้ำหนักสีเทา (midtone) และส่วนเงา (shadow) ดัง ภาพด้านบน



ลองสังเกตภาพด้านล่างโดยแสดงให้เห็นว่าก่อนและหลังการปรับ Levels ภาพที่ได้และฮิทโทแกรมมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง





ภาพด้านบนแสดงภาพที่ได้รับแสงมาพอดีโดยการคำนวณจากเครื่องวัดแสงภายในกล้อง เราจะเห็นว่าค่าระดับสีเทาที่ 255 มีจำนวนพิกเซลน้อยมาก หากเราต้องการปรับภาพให้กลีบดอกไม้เป็นค่าขาวที่สุด ก็ปรับเครื่องหมายสามเหลี่ยมที่อยู่ขวาสุดมาด้านซ้าย ดังภาพ ซึ่งภาพหลังการปรับ highlight แล้วจะเป็นดังภาพด้านล่าง






ภาพด้านบนนี้แสดงภาพและฮิสโทแกรมที่ได้รับการปรับ highlight แล้ว โดยทั่วไปเมื่อปรับ highlight แล้วก็ควรปรับ shadow ต่อ แต่เนื่องจากภาพดังกล่าวไม่จำเป็นต้องปรับ shadow อันดับต่อไปคือการปรับ midtone ซึ่งจะเป็นการปรับที่มีผลต่อภาพค่อนข้างมาก







ภาพด้านบนแสดงการปรับฮิสโทแกรมใน Levels โดยเลื่อนเครื่องหมายสามเหลี่ยมตรงกลางเพื่อปรับ midtone ของภาพ ภาพตัวอย่างแสดงการปรับ ไปด้านขวาเล็กน้อย สังเกตว่าค่าตัวเลขที่เดิมเป็น 1.0 จะกลายเป็น 0.85 เราจะได้ภาพที่มีความเปรียบต่างสูงขึ้น และมืดลงอีกเล็กน้อย







ภาพด้านบนแสดงการปรับฮิสโทแกรมใน Levels โดยเลื่อนเครื่องหมายสามเหลี่ยมตรงกลางเพื่อปรับ midtone ของภาพ ภาพตัวอย่างแสดงการปรับ ไปด้านขวาเล็กน้อย สังเกตว่าค่าตัวเลขที่เดิมเป็น 1.0 จะกลายเป็น 1.15 เราจะได้ภาพที่มีความเปรียบต่างน้อยลงและสว่างขึ้นอีกเล็กน้อย





การจะปรับ midtone ไปด้านใดนั้นขึ้นกับองค์ประกอบของภาพเป็นสำคัญ ซึ่งภาพแต่ละภาพระดับการปรับค่า จะแตกต่างกันไป ในการปรับภาพจอภาพที่ใช้ควรได้รับการปรับตั้งให้ได้มาตรฐานเสียก่อน เพื่อให้ได้ภาพที่เห็นสัมพันธ์กับฮิสโทแกรม












การถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอล สิ่งที่ต้องพบเห็นอยู่เป็นประจำคือ ฮิสโทแกรม (Histogram) บางคนอาจไม่ได้สนใจกับการดูภาพจากฮิสโทแกรม หรือไม่รู้จักว่าคืออะไร






โดยที่ ฮิสโทแกรม นั้นจะเป็นกราฟที่บอกถึงความสัมพันธ์ของแสงในรูปภาพ เพราะบางทีเราดูภาพบนจอกล้องซึ่งมีจนาดเล็กเพียง 2.4-3.5 นิ้วนั้น ไม่สามารถแสดงรายละเอียดที่แท้จริงของภาพได้ สังเกตได้ว่ามีหลายครั้งที่ดูภาพบนหน้าจอของกล้องดิจิตอลแล้วภาพออกมาสวยงาม แต่พอดูบนจอคอมพิวเตอร์, จอทีวีที่มีขนาดใหญ่ หรือทำการพิมพ์ภาพออกมาแล้วภาพที่ออกมาไม่สวยหรือมืดกว่าที่ดูบนจอกล้อง ดิจิตอล ดังนั้นฮิสโทแกรมก็สามารถเป็นตัวที่ช่วยบอกความสว่างของภาพได้



























ฮิสโทแกรม (Histogram) เป็นกราฟแสดงจำนวนพิกเซลที่ความสว่างต่างๆ ของภาพ สังเกตได้จากภาพด้านล่าง แกนนอนเป็นระดับความสว่างที่แบ่งระดับเป็น 256 ระดับ (มักเรียกว่าระดับสีเทา หรือ gray level) โดยมีค่าตั้งแต่ 0-255 เมื่อระดับสีเทามีค่าต่ำ (ด้านซ้ายมือ) หมายถึงมีความสว่างน้อย จะมองเห็นเป็นสีดำ ค่าระดับสีเทามาก (ด้านขวามือ) หมายถึงมีความสว่างมากจะมองเห็นเป็นสีขาว แกนตั้งของกราฟแสดงจำนวนพิกเซลในแต่ละความระดับสีเทาซึ่งเป็นค่าสัมพัทธ์









สรุปง่ายๆก็คือ ถ้ากราฟฮิสโทแกรมเอนไปทางซ้าย แปลว่าภาพนั้นจะมีความมืดเกินไปแต่ถ้าแอนไปทางขวาแปลว่าภาพนั้นมีความสว่าง เกินไป ดังนั้นในการใช้กราฟฮิสโทแกรม ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้คุณได้ภาพที่ดีได้ เพราะว่าภาพถ่ายที่ถ่ายมานั้นมีความสำคัญบางภาพ อาจจะมีโอกาสถ่ายได้แค่ครั้งเดียว ดังนั้นในการดูกราฟฮิสโทแกรม ก็เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการถ่ายภาพ









ตัวอย่างของภาพ
ภาพ ด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างของภาพที่ขาดความสว่าง ทำให้ขาดลายละเอียดของภาพภาพโดยเฉพาะด้านหลังของภาพ โดยที่กราฟฮิสโทแกรมแสดงผลเอนไปทางด้านซ้าย ซึ่งแสดงว่าภาพนี้มีแสงน้อยเกินไป


แสงในภาพนี้เกือบมีความสม บรูณ์ของภาพมากโดยมีแค่ความมืดของฉากหลังอยู่บ้าง โดยที่กราฟฮิสโทแกรมแสดงว่าภาพภาพมีการกระจายของแสงที่ดี แต่กราฟเอนไปทางด้านซ้ายมากกว่าทางขวา เนื่องจากมีเงาอยู่ที่ฉากหลังของภาพ

ภาพ ข้างล่างนี้แสดงถึงแสงที่มีมากเกินไปในภาพ จะสังเกตได้ว่าวัตถุที่อยู่ด้านหน้าจะมีความสว่างเกินไป ซึ่งทำให้ไม่เห็นถึงลายละเอียดของภาพ แต่ภาพนี้จะแสดงให้เห็นถึงลายละเอียดฉากหลังของภาพได้ดีที่สุด ซึ่งจุดหลักของภาพนี้คือด้านหน้า ดังนั้นควรลดแสงของภาพนี้ลงเพื่อให้เห็นถึงรายละเอียดด้านหน้า โดยกราฟฮิสโทแกรมเอนไปทางขวาสุด และมีแสดงในช่วงของความมืดน้อยมาก






วิธีแก้ภาพที่มีแสงน้อยหรือแสงมากกว่าปกติ
โดยทั่วไปนั้น การแก้ภาพที่มีแสงมากกว่าปกตินั้น สามารถแก้ไขด้วยวิธีง่ายตามวิธีข้างล่างดังนี้:

1. ให้ปรับลดค่า ISO ในตัวกล้อง ตัวอย่างเช่น ถ้าใช้ ISO 400 อยู่ ก็ให้ปรับลดเหลือ ISO 200
2. ให้ปรับค่า EV มาทางลบ (-) เพิ่มลดความสว่างของภาพลง
3. ลดรูรับแสง ตัวอย่างเช่น f/5.6 ก็เปลื่ยนเป็น f/8
4. เพิ่มความไวซัตเตอร์ ลงเพื่อให้แสงเข้ามาน้อยลง ตัวอย่างเช่น เปลื่ยนจาก 1/250 เป็น 1/500









สำหรับการแก้ไขสถานการณ์ที่มีแสงน้อย ก็ให้ลองทำตามวิธีข้างล่าง 1 หรือ 2 วิธี:

1. ให้ปรับค่า ISO ในตัวกล้องให้สูงขึ้น ตัวอย่างเช่น ถ้าใช้ ISO 100 อยู่ก็ให้ปรับเป็น ISO 400
2. ให้ปรับค่า EV มาทางบวก (+) เพื่อเพิ่มความสว่างของภาพ
3. เพิ่มขนาดของรูรับแสงลง ตัวอย่างเช่น f/8 ก็เปลื่ยนเป็น f/5.6 เพื่อให้กล้องรับแสงได้มากขึ้น
4. ลดความไวซัตเตอร์เพื่อให้แสงเข้ามาได้มากขึ้น เช่น เปลื่ยนจาก 1/8 เป็น 1/4










ข้อสังเกต
ในบางกรณีถ้าเกิดกราฟแสดงผลไปสุดทางด้านซ้ายหรือทางด้านขวา ไม่ได้หมายความว่าภาพที่ออกมาจะมีความ มืดหรือความสว่างมากเกินไป ตัวอย่างเช่น ถ้าเกิดถ่ายวัตถุสีขาว หรือบางสถานการณ์ เช่น ถ่ายหิมะ กราฟฮิสโทแกรมจะแสดงผลไปทางขวาสุด แต่ภาพที่ออกมาก็ยังมีความสมดุลของแสงอยู่ ในทางกลับกันถ้าถ่ายวัตถุที่มีสี ดำก็จะเป็นเช่นเดียวกับสีขาว อย่างไรก็ตามผลการแสดงของกราฟฮิสโทแกรม ที่แสดงออกมานั้นไม่มีรูปแบบ ไหนที่ถูกต้องหรือสมบรูณ์มากที่สุดเนื่องจากแต่ละสถานการณ์ก็มีสภาพแวดล้อม ต่างกันและมุมมองของผู้ถ่ายก็ ต่างกัน ดังนั้นในการใช้กราฟฮิสโทแกรมนั้น ไม่ต้องเน้นให้กราฟแสดงผลแต่เฉพาะตรงกลางเท่านั้น เพียงแต่ใช้ กราฟฮิสโทแกรมเป็นผู้ช่วยในการดูเรื่องแสง





















----------------------------------------------------




ต่อไปเป็นเรื่องของ Zone System
มันจะเป็นการนำเข้าสู่บทต่อไปได้บ้างไม่มากก็น้อย

คำคำนี้นักถ่ายภาพที่เรียนมาคงรู้จักมั้ง (มีในวิกิพีเดีย)
ถ้าจะให้อธิบายว่ามันคืออะไร ก็คงได้คร่าวๆ ว่า
เวลาเราถ่ายภาพ (หรือแม้แต่วาดภาพ) ขาวดำ
เราจะแบ่งระดับของสีดำในภาพออกมาได้ 10 ระดับ ดังนี้









แถบที่เห็นนี่ จะลองทำเองก็ได้นะ
โดยใช้เครื่องมือไล่สีขาวไปดำ แล้ว Image > Adjustments > Posterize... เลือกไป 11 ระดับ (ไหนบอก 10 )
ส่วนที่เขีนเป็นเลขโรมันเนี่ย ไม่รู้ทำไมเหมือนกัน พี่หาวเขาทำมาเป็นโรมันตูก็เลยโรมันตาม หมีโหดดดด

โซนที่เป็นเลข 0 คือสีดำสนิท ในวงการถือว่าสีดำแบบนี้เป็นที่น่าเกลียดน่ากลัวนัก เพราะว่ามันเป็นสีดำที่ไม่ธรรมชาติ
นั่นคือถ้าถ่ายรูปตอนกลางวัน ไม่ว่าจะมืดขนาดไหน แต่ความดำก็จะไม่ดำปื้ดจนเป็นโค้ดสี #000000 ยังงี้
แต่มันจะออกมาเป็นเฉด I มากกว่า และเช่นเดียวกับโซน X คือขาวสนิท (ขาวอย่างเอ็กซ์ หื่น) นั่นก็ไม่มีในโลก
แปลว่าเวลาถ่ายรูปออกมาแล้วระดับของ Histogram น่าจะอยู่ที่กลางๆ

ลองเปรียบเทียบ 2 รูปนี้นะ








มาถึงตรงนี้คงดูออกแล้วนะครับว่ากราฟของ Histogram นั้นถ้าแบ่งเป็นส่วนๆ ไล่จากซ้ายไปขวา
ปริมาณระดับสีในรูปก็จะเอามาซ้อนกันเป็นกราฟแท่งอย่างที่เห็น

ขณะที่รูปแรกเป็นแบบขาวจัดดำจัด นั่นคือเส้นของ Histogram จะไปกองอยู่ที่ขาวกับดำนะครับ
และรูปที่สองที่มีระดับของแสงเกือบจะครบถ้วน เราจึงเห็นรายละเอียดของสายไฟที่พาดเหนือประตูร้าน

ประโยชน์ของการดูระดับความเข้มของแสงเป็น นั่นคือ
ถ้าเราถ่ายรูปมาดีๆ เราจะเห็นรายละเอียดทุกพิกเซลในภาพ
อย่างรูปที่เอามาโชว์แม้แต่รูปขวาก็ยังมีข้อบกพร่องโดยสุจริตในเชิงเทคนิค
นั่นคือยังขาดรายละเอียดตรงถนนหน้าร้าน ที่โดนเฟดขาวหายไปหมดเลย
แล้วก็หัวคนที่ไม่เห็นดีเทลเส้นผม อะไรงี้เป็นต้น

ประโยชน์ในการเรียนรู้เรื่องความเข้มของแสงกับรูปถ่ายก็คือ
เราจะเริ่มใส่ใจกับรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่เคยโดนเฟดหายไปกับโซน 0 หรือ X ตอนถ่ายรูป
ดังนั้นรูปที่ดี (ดีในเชิงเทคนิคนะครับ ไม่นับรวมถึงรูปพยายามแนว หรือสไตล์กราฟิกไปเลย)
ระดับความเข้มของแสงน่าจะกลมกล่อมครับ

และเช่นเดียวกันเมื่อเปลี่ยนจากสีขาวดำมาเป็นสี RGB
ระดับความเข้มของแสงก็จะดูยากขึ้นอีกหน่อย
แต่พอลองนึกดู เราก็พอจะเปรียบเทียบด้วยสายตาได้ครับ
อย่างเช่น สีเหลือง สว่างกว่าแดง หรือสีเขียว เปรียบได้กับระดับเทากลาง (เบอร์ V ในแถบบนนู้น)
ซึ่งกล้องดิจิทัลแทบทุกตัวจะมีฟังก์ชั่นการดู Histogram มาในตัว (ใครไม่รู้ลองกดมั่วๆ ดู มันต้องมีสักปุ่ม)

เดี๋ยวบทต่อไป เราจะพูดกันเรื่องการปรับภาพขาวดำกันนะครับ
ส่วนเรื่อง Curve นั้นขอทำใจหลายๆ ทีก่อนเพราะมันเยอะและสำคัญจริงๆ


---------------------------------------------------------------








































ที่มา

//www.fotofile.net/
















Create Date : 17 พฤษภาคม 2552
Last Update : 17 พฤษภาคม 2552 0:02:00 น. 3 comments
Counter : 12818 Pageviews.

 
ขอบคุณมากๆ ค่ะ ที่ช่วยไขข้อข้องใจ ^^


โดย: peeshin วันที่: 17 พฤษภาคม 2552 เวลา:8:37:12 น.  

 
มีความรู้มาบอกอีกแว้ว ขอบคุณคร้า


โดย: no filling วันที่: 17 พฤษภาคม 2552 เวลา:16:37:57 น.  

 
ขอบคุณคับ


โดย: ะนพ IP: 61.7.186.145 วันที่: 8 พฤศจิกายน 2553 เวลา:4:28:18 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

นอกลู่นอกทาง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]








ภาพถ่ายดาวเทียมด้านอุตุนิยมวิทยา
ภาพสดๆจากที่ต่างๆทั่วมุมโลก
Ban Na Song BKK, Thailand
Karon Beach , Phuket , Thailand
Federal Highway, Angkasapuri ,Pantai Valley , Malaysia
Delta Estate , Singapore
Malate ,Manila , Philippines
Bandar Seri Begawan , Brunei
Guangxi Guilin, China
달빛무지개분수(Banpo Bridge Fountain )Sin’gilsa-dong , Seoul , South Korea
Hong Kong skyline from Admiralty, China
Shiomidai , Kanagawa , Japan
Cable Beach, Broome, Western Australia, Australia
Keahua Hawaii , USA
Sacramento California, USA
Washington D.C., USA
Manhattan , New York , USA
McCulloch Kelowna, Canada
Niagara Falls , Ontario , Canada
Panama Canal , Bella Vista , Panama
Santiago de Chile , Región Metropolitana , Chile
Fairbanks, Alaska Forecast Arctic
Mar del Plata Buenos Aires , Argentina
Tasiilaq , Østgrønland , Greenland
London Skyline from the Sheraton Park Tower , Knightsbridge , United Kingdom
Trafalgar Square , London , United Kingdom
Eiffel Tower Paris, France
Harstad Nordland , Norway
Halsum , Svalbarð , Iceland
Amsterdam , Netherlands
Vatican City State, Saint Peter's Basilica Borgo , Italy
Berlin, Germany
Чебоксарский залив, Yakimovo, Chuvashia , Russia
Udaipur Lake Pichola , Rājasthān , India
Mount Everest , Junbesi , Sagarmāthā , Nepal
Cape Town Sanddrift, South Africa
Orpen , Richmond , South Africa
Abū Hayl Dubai , United Arab Emirates
Kairo, Egypt
Medhufushi, Maldives
Mawson station Antarctica

Profile Visitor Map - Click to view visits
หนังทุกเรื่องหรือเพลงทุกเพลงในบล็อกนี้ เป็นเจ้าของ ของลิขสิทธินั้นๆตามเจ้าของเดิม นำมาเพื่อแบ่งปันชมกันในหมู่เพื่อนพ้อง ชาวบล็อกแก้งค์เท่านั้นครับ....
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ 2539 หากผู้ใดคิดจะ ลอกเลียน หรือนำส่วนใดส่วนหนื่ง ของข้อความใน Blog แห่งนี้ไปเผยแพร่ ให้นำไปได้เลย โดยไม่ต้องขออนุญาต จขบ. แต่ต้องคัดลอกแจกจ่ายให้ครบ 50 ก็อปปี้ ไม่เช่นนั้น จะมีอันเป็นไป ต่างๆนานา ถึงขั้นชีวิตตกอับ อิอิ หากแต่ว่า..นำชื่อ จขบ. ไปใช้ในทางเสียหายหรือประจาน จะถูกดำเนินคดี ตามที่ กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด นะจ๊ะ
Friends' blogs
[Add นอกลู่นอกทาง's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.