Group Blog
 
 
ตุลาคม 2552
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
26 ตุลาคม 2552
 
All Blogs
 

ความทันสมัยของเวชศาสตร์การกีฬา

 ศึกษาอย่างถูกวิธี มีชัยไปกว่าครึ่ง หัวเข่าจะได้อยู่กับเราไปนาน ๆ



 สวัสดี ทุกท่านที่เข้ามาอ่าน


 ส่วนตัวมีประสบการณ์เกี่ยวกับการบาดเจ็บที่หัวเข่า ซึ่งผ่าตัดส่องกล้อง (Knee Arthroscopy) ไปแล้ว 


 ตอนนี้พักฟื้นอยู่บ้าน 2 อาทิตย์  อันนี้ไม่ทำอะไรนะ..ห้ามลงน้ำหนัก    ขอแค่อย่าให้แผลผ่าติดเชื้อเป็นพอ   


เดี๋ยวพอครบหนึ่งเดือนหลังผ่า จะเขียนประสบการณ์การผ่าตัดให้อ่านกัน เพราะต้องติดตามอาการก่อนน่ะ 



จึงว่าง ๆ  หาบทความที่มีประโยชน์  มาฝากสำหรับ คนรักกีฬาที่ยังเจ็บหัวเข่าและรับการรักษาหัวเข่าอยู่อย่างต่อเนื่อง 


เราเองก็ก่อนตัดสินใจผ่า ทำการบ้านหาข้อมูลมาเยอะพอสมควร ปรึกษาหมอที่รักษาอยู่   แรก ๆ ก็เงอะงะนะ หลังๆ  ไม่แล้ว..หมอใจดีมาก ตอบคำถามที่อยากรู้ ได้ดี   และยังเป็นหมอผ่าเข่าให้เราอีกต่างหาก  จึงวางใจและสบายใจที่สุด 





ซึ่งหลังๆ นี้ มีคนมาปรึกษาเรื่อง  ค่าใช้จ่ายค่าผ่าตัดส่องกล้องหัวเข่า อยู่ สี่ ห้า ราย ในเว็บพันทิป  ตั้งแต่โพสให้คำแนะนำ ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัด หลังจากผ่าตัดเข่าเสร็จ  จึงอยากช่วยเหลือกัน   ขณะนี้ เรากำลังเก็บข้อมูลให้อยู่   คอยก่อนนะ 


เพราะค่ารักษาผ่าตัดส่องกล้องหัวเข่า ค่อนข้างแพง โรงพยาบาลรัฐ  อยู่ราว ๆ   45,000 - 65,000 บาท  รพ.เอกชน  85,000 - 105,000 บาท แต่เท่านี้ยังไม่รวมค่าเครื่องมือพิเศษ ที่ต้องคิดเพิ่มต่างหาก 


ส่วนตัวเราใช้ประกันสังคม เคลมจ่ายให้หมดแล้ว รวมทุกอย่างแล้วนั้น   จึงไม่มีปัญหา  ใจเย็น ๆ นะ ทุกท่าน  เดี๋ยวจะเขียนให้ ตอนนี้กำลังรวบรวมข้อมูลให้อยู่  


ถ้าท่านมีเวลาเหลือ  แนะนำให้อ่าน เคล็ดลับการใช้ประกันสังคมใหุ้้คุ้มที่สุด ได้ที่กระทู้นี้เลย..  ควรอ่านอย่างยิ่งสำหรับคนที่มีบัตรประกันสังคมอยู่แล้วนั้น  จะช่วยท่านได้มาก  เรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษา



-----------------------------




ระหว่างรอหมอนัดตรวจอยู่  มาอ่านบทความดี ๆ แนะนำให้อ่านเก็บไว้ใช่ว่ารู้ใส่แบกหามไว้  จากคุณหมอไพศาล 


ชอบอ่านบทความของคุณหมอไพศาล ซึ่งเป็นเจ้าของคอลัมม์
คลินิกกีฬาคุยกันวันเสาร์กับหมอไพศาล
ที่ลงตีพิมพ์ทุกวันเสาร์ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์  

คุณหมอไพศาล
ท่านเป็นหมอที่ปรึกษาให้กับคณะนักกีฬาไทยมาหลายปีแล้ว  มีประสบการณ์สูง 
มีความเชี่ยวชาญด้านออร์โธปิดิกส์  เป็นหนึ่งในคณะกรรมการสำคัญ ๆ 
ในวงการกีฬาไทย หลายวาระเช่นกัน 




Tiger Woods , Micheal Owen  ตัวอย่างที่ดีของเวชศาสตร์การกีฬา


ไทเกอร์ วู้ด



ไทเกอร์ วู้ด ได้พิชิตแชมป์ครั้งที่ 70 ของตัวเองในบริดส์สโตน อินวิเตชั่น
นับเป็นการเป็นแชมป์ติดต่อกัน 2 ครั้งก่อนที่จะเข้าแข่งในรายการเมเจอร์
พีจีเอ สุดท้ายของปี 2009 ตลอดการแข่งทั้ง 4 วัน ไทเกอร์ วู้ด
ไม่ได้เป็นผู้นำในวันแรกๆ และค่อยๆ ตามขึ้นมาจนกระทั่งเป็นผู้นำ และ
ถูกแฮริงตัน แซงขึ้นไปในช่วง 9 หลุมสุดท้ายแต่แฮริงตันมาตีเสียใน 3
หลุมหลัง ในขณะที่ไทเกอร์ วู้ดตีได้ดีมาก และได้รับชัยชนะไปในที่สุด
รับเงินรางวัลเกือบๆ 40 ล้านบาท


ไทเกอร์ วู้ด รับการผ่าตัดหัวเข้าซ้ายด้วยวิธีส่องกล้อง (Arthroscopic Knee Surgery) 2 ครั้ง ในปี 1994 และ 2002 โดยประวัติบอกว่าเป็นการรักษาเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง (Benign Tumor) และซิสต์ (Cyst) บริเวณเอ็นไขว้หน้า (Anterior Cruciate Ligament) และผ่าตัดครั้งที่ 3 ในปี 2008 เป็นการผ่าตัดซ่อมแซมกระดูกอ่อน (Cartilage Repair) โดยศัลยแพทย์คนเดิม คือ นายแพทย์โทมัส โรเซนเบอร์ก (Thomas Rosenburg)


ไมเคิล โอเวน



เมื่อหลายเดือนที่แล้วทีมนิวคาสเซิลที่ไมเคิล โอเวน สังกัดอยู่ และ
เป็นทีมโปรดของท่านนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ไม่ประสบความสำเร็จในการแข่งขันพรีเมียร์ลีก จนถึงขนาดทีมจะต้องตกชั้นลงไป
แต่ปรากฎว่าไมเคิล โอเวน (อดีตนักเตะทีมชาติอังกฤษหลายสมัย)
ได้รับการยอมรับจากเซอร์อเล็ค เฟอร์กูสัน ผู้จัดการทีมแมนเชสเตอร์
ยูไนเต็ด (ไม่ทราบว่าใครติดต่อใครก่อน) รับเข้ามาร่วมทีม
ภายหลังจากที่โรนัลโด ย้อยออกไป และทำให้ทีมขาดแคลนกองหน้า
และภายหลังการเข้าร่วมทีม
เราคงจะได้เห็นการเล่นของโอเวนไปบ้างแล้วจากเกมส์บางนัดของทีมแมนยู
แม้ว่าจะไม่ได้เล่นเต็มเกมส์แต่ก็น่าจะเป็นโอกาสที่ดีของโอเวนที่เข้ามา
สังกัดทีมสุดยอดทีมหนึ่งของพรีเมียร์ลีก


ก่อนการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006 ที่เยอรมัน โอเวนได้รับบาดเจ็บกระดูกหลังเท้า แต่ในที่สุดภายหลังการรักษา และ
พักฟื้นมากว่า 2 เดือน โอเวนผ่านการทดสอบด้านฟิตเนส
ได้รับเลือกร่วมทีมชาติอังกฤษ
แต่แล้วในนัดที่สองของรอบแรกโอเวนก็ต้องถูกส่งตัวกลับอังกฤษก่อนกำหนด
เพราะเอ็นไขว้ของหัวเข่าขาด
(Cruciate Ligament Tear) โดยที่โอเวนไม่ได้ถูกสกัดจากคู่ต่อสู้แต่อย่างใด แต่เป็นการกระโดด และขณะลงถึงพื้นข้อเข่าบิด จนต้องล้มตัวลงนอน และต้องให้เปลสนามแบกออกมา ต่อมาได้รับการผ่าตัดส่องกล้อง (Knee Arthroscopy) เข้าไปในหัวเข่าเพื่อการเสริมเอ็นหัวเข่าเดิมที่ขาด ซึ่งเรียกว่า Reconstruction ซึ่งเรียกรวมๆ การผ่าตัดแบบนี้ว่า (Arthroscopic Reconstruction of Cruciate Ligament)
โอเวนได้พักฟื้น และทำกายภาพบำบัดฟื้นฟูความฟิตของระบบหัวใจ
และการไหลเวียนของโลหิต
และการทำให้ข้อเข่ามีความแข็งแรงกลับคืนมาได้ใช้เวลามากกว่า 8 เดือน
ซึ่งต่อมาโอเวนก็สามารถเล่นฟุตบอลได้เหมือนเช่นเคย
แต่ทีมที่ตนเองมีอันต้องตกชั้น แต่เพราะฝีเท้าการเล่นฟุตบอล
ความฟิตของโอเวนแม้นว่าจะได้รับบาดเจ็บจนกระทั่งต้องผ่าตัดเสริมความแข็งแรง
ของเอ็นไขว้ของข้อเข่า
ตัวเขาเองก็ยังได้รับความไว้วางใจให้ร่วมทีมแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
คงไม่ใช่ความโชคดี แต่ต้องให้เครดิตกับผลการรักษาด้วยเทคโนโลยี
และความทันสมัยของวิชาการด้านเวชศาสตร์การกีฬา



เวชศาสตร์การกีฬา (Sports Medicine) เป็นสาขาหนึ่งในวิทยาศาสตร์การกีฬา (Sports Science) ที่มีความเกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บทางการกีฬา (Sports Injury) ตั้งแต่



  • การป้องกันการบาดเจ็บ (Prevention) ได้แก่การสร้างความฟิตให้กับนักกีฬาทั้งด้านระบบกัวใจ และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การยืดเอ็น และกล้ามเนื้อก่อน และหลังการเล่นกีฬา (Stretching) เป็นต้น

  • การรักษาการบาดเจ็บ ตั้งแต่แรกเริ่มหลังบาดเจ็บทันที (First Aid Treatment) การ
    รักษาอย่างไรให้หายจากการบาดเจ็บได้รวดเร็วที่สุด
    เพราะนักกีฬาจำเป็นต้องกลับไปแข่งขันต่อ
    การบาดเจ็บอย่างไม่จำเป็นต้องผ่าตัด ใช้รักษาด้วยยา
    และวิธีการทางกายภาพบำบัด (Physical Therapy)
    บางครั้งต้องใช้วิธีการผ่าตัด และสิ่งที่ก้าวหน้ามากทางด้านนี้คือ
    การผ่าตัดผ่านกล้องไปยังข้อเข่า,
    ข้อหัวไหล่ที่มีการบาดเจ็บหรือที่เรียกว่า Arthroscopic Surgery
    ซึ่งมาทดแทนการผ่าตัดชนิดเปิด Open Surgery
    ทำให้ใช้เวลาในการฟื้นฟูค่อนข้างมาก

  • การฟื้นฟูหลังการบาดเจ็บ หรือเวชศาสตร์ฟื้นฟู (Physical Medicine and Rehabilitation หรือ PM & R)
    มีความสำคัญมากในนักกีฬา เพราะจะต้องวางแผนให้หายจากการบาดเจ็บ
    ใช้เวลาสั้นที่สุด และต้องทำงานร่วมกับโค้ชทางด้านฟิตเนส
    ที่จะต้องรักษาความฟิตของส่วนอื่นๆ
    ที่ไม่บาดเจ็บเอาไว้ให้พร้อมใช้งานทันที เมื่อส่วนที่บาดเจ็บหายดีแล้ว


ผมหวังว่าท่านทั้งหลายที่เป็นผู้
ชอบออกกำลังกาย, เป็นนักกีฬา, ผู้ฝึกสอน
หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บทางการกีฬา
คงจะเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับเวชศาสตร์การกีฬา
และมีกำลังใจที่ดีหากมีการบาดเจ็บเกิดขึ้นเพราะความทันสมัยของวิชาการด้าน
นี้ มีความพร้อมในการที่จะช่วยท่านได้
และโดยเฉพาะอย่างยิ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชายทางด้านนี้
ไม่ว่าจะเป้นแพทย์ออร์โธปิดิกส์ (กระดูกและข้อ)
ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการบาดเจ็บทางการกีฬา
แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูตลอดจนนักกายภาพบำบัดที่มีความชำนาญเฉพาะด้านนี้ใน
ประเทศไทยมีความชำนาญ และเก่งไม่แพ้ชาติใดในโลกนี้







ที่มาของบทความ  : //www.bangkokhealth.com/index.php/2009-01-26-08-35-33/2982-2009-08-17-02-46-16



ยังมีอีกนะ  จะทยอยมาให้อ่านเรื่อย ๆ อยู่    เรียบเรียงข้อมูลให้อ่านกัน



เนื่องจาก ข้อมูลเกี่ยวกับหัวเข่า   มักจะกระจายไปตามเว็บ  ตามเว็บ คนรักฟุตบอล  บาสเกตบอล  จักรยาน เป็นต้น



แต่  บล็อกของคุณหมอหมู  ช่วยไ้ด้มาก ในเบื้องต้น    Blog ของคุณหมอหมู 




 

Create Date : 26 ตุลาคม 2552
0 comments
Last Update : 7 มิถุนายน 2553 22:47:35 น.
Counter : 1727 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Pin_Two_Ride
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Drive by ,Miami Styles

***ใครอยากสอบถามข้อมูลใด ๆ เพิ่มเติม อันเนื่องจากอ่าน blog แล้วนั้น สามารถส่งหลังไมค์ได้ เพราะเราไม่ค่อยได้เห็น คอมเมนต์ นะ หรือบางทีไม่เห็นเลยก็มี

ยินดีเสมอ
New Comments
Friends' blogs
[Add Pin_Two_Ride's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.