เรื่องราวต่างๆ ในมุมมองของข้าพเจ้า

 
กรกฏาคม 2560
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
22 กรกฏาคม 2560
 

"ผ้าขาวม้า 5 สี - แห้ว" ของดีเมืองสุพรรณ





ผ้าขาวม้า 5 สี ของดีบ่อกรุ

นับได้ว่า ผ้าขาวม้า 5 สี ของดีจากอำเภอบ่อกรุ จังหวัดสุพรรรณบุรี  จากภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอดการใช้ผ้าขาวม้าทอเอง จากรุ่นสู่รุ่น ได้มีแนวคิดต่อยอดจากการเป็นผ้าขาวม้าธรรมดา มาทอเป็น 5 สี ด้วยด้ายฝ้าย 5 สี ที่มีอยู่แล้วในชุมชน  มาทอเป็นผ้าขาวม้า 5 สี ที่มีสีสันสวยงาม แปลกตา และไม่เหมือนใคร

จากผ้าขาวม้า 5 สี กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมูลค่า
นอกจากการทอผ้าขาวม้า 5 สี แบบเป็นผืนแล้ว ยังมีการนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้า ได้แก่ เสื้อผ้า กิ๊ฟติดผม กระเป๋า และเนคไท ที่สามารถวางจำหน่ายในชุมชน และจำหน่ายแบบออนไลน์ได้ในปัจจุบัน

ICT ชุมชน กับผ้าขาวม้า 5 สี สู่การขายบนโลกออนไลน์
สิบตรี ประกาศิต แปลนพิมาย   หัวหน้าฝ่ายอำนวยการและผู้ดูแลศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน เพื่อพ่อหลวง เทศบาลตำบลบ่อกรุ จังหวัดสุพรรณบุรี กล่าวว่า

ในปัจจุบันทางศูนย์ฯ ได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียน ชาวบ้านในชุมชน ได้มีรายได้จากการแปรรูปผ้าขาวม้า 5 สี ไปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ และไม่เพียงแต่เป็นการสร้างรายได้เท่านั้น ทางศูนย์ฯ ยังถือได้ว่าเป็นตัวกลางในการช่วยสืบทอดภูมิปัญญาในการทำผ้าขาวม้า 5 สี ให้เยาวชนรุ่นหลังได้จดจำ และสืบสานของดีของจังหวัด 
ซึ่งผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้า 5 สี และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าขาวม้า 5 สี ได้วางขายให้แก่คนในชุมชน และยังได้ต่อยอดให้มีการขายบนโลกออนไลน์ โดยทางศูนย์ฯ จะมีการให้ความรู้ในเรื่องการใช้คอมพิวเตอร์ การใช้สมาร์ทโฟนในการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการจำหน่ายสินค้า ไม่ว่าจะเป็นทางเพจ Facebook และ LINE เป็นต้น 
และทางศูนย์ได้มีการเปิดเพจเฟซบุคเพื่อการขายสินค้าออนไลน์ให้แก่คนในชุมชน ทางเพจเฟซบุค ที่ชื่อว่า "ศูนย์ ICT เพื่อพ่อหลวง เทศบาลตำบลบ่อกรุ" และทาง LINE: 0810054569 ทั้งนี้ผู้สนใจเกี่ยวกับข้อมูลของผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้า 5 สี และข้อมูลของทางศูนย์ สามารถเข้าไปชมได้ที่ www.bokru-sm.go.th
แห้ว ของดีศรีประจันต์
อีกหนึ่งของดีของอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี คือการทำนาแห้ว และการแปรรูปแห้วเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์
นายสงบ ลาภปัญญา รองนายกเทศมนตรี ตำบลวังยาง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี  ได้พาทีมงานไปชมการทำนาแห้ว  และให้ข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกแห้ว ว่ากว่าจะมาเป็นแห้วให้เราได้รับประทานกันนั้น ต้องเก็บผลผลิตกันตั้งแต่ตี 3 ตี 4 เลยทีเดียว และต้องรีบเก็บให้เสร็จก่อนสี่โมงเช้า เพื่อไม่ให้อากาศร้อน ซึ่งจะมีผลต่อคุณภาพแห้ว

จากผลแห้วต้ม กลายเป็นสินค้าที่เพิ่มมูลค่า
แทบจะน้อยคนเลยก็ว่าได้ ที่ไม่เคยรับประทานแห้วต้ม เพราะด้วยแห้วที่ต้มแล้ว จะมีรสชาติที่มัน มีรสหวานเล็กน้อย ทำให้หลายๆคนติดใจในรสชาติของแห้ว แต่นอกจากแห้วต้มที่คุ้นเคยกันดีแล้วนั้น ชาวบ้านตำบลวังยาง อำเภอศรีประจันต์ ได้นำแห้วมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมูลค่า ได้แก่ แห้วกระป๋อง ข้าวเกรียบแห้ว ทอดมันแห้ว น้ำพริกแห้ว เป็นต้น

ICT ชุมชน กับผลิตภัณฑ์จากแห้ว สู่การขายบนโลกออนไลน์
นอกจากแห้ว และผลิตภัณฑ์จากแห้ว จะนำมาวางขายในชุมชนแล้ว ในปัจจุบันยังมีการขายผลิตภัณฑ์แห้วแบบออนไลน์ โดยการสนับสนุนการส่งเสริมและฝึกอบรมจาก ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน เพื่อพ่อหลวง เทศบาลตำบลวังยาง จังหวัดสุพรรณบุรี ผ่านทางเพจ Facbook: ICT ชุมชน เทศบาลตำบลวังยาง 

วัชระ จันทน์เทศ  เป็นอีกหนึ่งคน ที่ถือได้ว่าเป็นผลิตผลจาก ICT ชุมชน  ที่ได้รับการอบรม และเรียนรู้ การใช้สมาร์ทโฟนที่มีอยู่ ให้เป็นสมาร์ทโฟนที่สามารถสร้างรายได้แบบ E-Commerce  เพราะการได้มาอบรมและเรียนรู้กับทางศูนย์ฯ เขาได้รู้มากขึ้นกว่าที่เคยรู้  นับได้ว่าศูนย์ ICT ชุมชน มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้คนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำไปต่อยอดสู่การขายแบบออนไลน์ ในขณะเดียวกันก็ยังเป็นการสร้างรายได้ด้วยผลิตภัณฑ์จากชุมชนของพวกเขาอีกด้วย




Create Date : 22 กรกฎาคม 2560
Last Update : 22 กรกฎาคม 2560 16:10:00 น. 0 comments
Counter : 354 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

Nui-Saran
 
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




พ่อลูกสอง แมว 1 ตัว
[Add Nui-Saran's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com