เรื่องของ indicator MA
MA ย่อมาจาก Moving Average หรือแปลเป็นไทย "ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่"

moving average
Definition
A technical analysis term meaning the average price of a security over a specified time period (the most common being 20, 30, 50, 100 and 200 days), used in order to spot pricing trends by flattening out large fluctuations. This is perhaps the most commonly used variable in technical analysis. Moving average data is used to create charts that show whether a stock's price is trending up or down. They can be used to track daily, weekly, or monthly patterns. Each new day's (or week's or month's) numbers are added to the average and the oldest numbers are dropped; thus, the average "moves" over time. In general, the shorter the time frame used, the more volatile the prices will appear, so, for example, 20 day moving average lines tend to move up and down more than 200 day moving average lines.

ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving average) ในแง่ของการวิเคราะห์เชิงเทคนิค หมายถึง ค่าเฉลี่ยของราคาหลักทรัพย์ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งที่กำหนด ( ปกติก็จะเป็น 20 , 30 , 50 , 100 , 200 วัน) ซึ่งถูกใช้ในการมองแนวโน้มราคาโดยการทำให้ราคาที่แกว่งตัวมากดูราบเรียบ ขึ้น ซึ่งค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ บางทีอาจจะเป็นตัวแปรที่ถูกใช้บ่อยที่สุดตัวนึงในการวิเคราะห์เชิงเทคนิค

เกี่ยวกับข้อมูลของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถูกใช้ในการสร้างกราฟซึ่งแสดงว่าแนว โน้มของราคาหุ้นขึ้นหรือลง มันอาจจะถูกใช้ในการวัดผลเป็นรายวัน , รายสัปดาห์ หรือรายเดือน เมื่อข้อมูลของวันใหม่ (หรืออาจจะเป็นอาทิตย์ใหม่หรือเดือนใหม่ ในกรณีเราวัดผลเป็นรายสัปดาห์หรือรายเดือน) ถูกเพิ่มเข้ามาในการคำนวณราคาถัวเฉลี่ย ข้อมูลเก่าที่สุดก็จะถูกเอาออกไปจากการคำนวณ เพราะฉะนั้น ค่าเฉลี่ยจึง "เคลื่อนที่" (move) ตลอดเวลา (หมายถึงกลุ่มของข้อมูลราคาที่นำมาใช้ในการคำนวณ จะขยับขึ้นหน้าไปเรื่อยๆตามเวลาที่ผ่านไป) โดยทั่วไปแล้วยิ่งเราใช้ช่วงเวลาสั้นเท่าไหร่ ก็จะยิ่งมีความผันผวนของราคาแสดงให้เห็นมากในเส้นค่าเฉลี่ย ดังนั้น ตัวอย่างเช่น เส้นค่าเฉลี่ย 20 วัน (MA 20) จะแสดงการเคลื่อนไหวของราคาขึ้นและลงมากกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน (MA 200)

เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (MA) ยังแบ่งประเภทตามวิธีในการคำนวณได้หลายแบบ

- เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย หรือ Simple Moving Average (SMA)

คือเส้นค่าเฉลี่ยที่คำนวณจากราคาสุดท้ายของช่ววเวลา (อย่างเช่นการคำนวณเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่รายวัน ก็ใช้ราคาสุดท้ายของวัน) นำมาบวกกัน แล้วหารด้วยจำนวนช่วงเวลา เป็นราคาถัวเฉลี่ยของช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง

ตัวอย่างเช่น เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 14 วัน หรือ SMA(14) บนกราฟวัน คำนวณได้โดยการนำราคาสุดท้ายของ 14 วันล่าสุดมาบวกกัน แล้วหารด้วย 14

SMA ของช่วงเวลาที่ยาวกว่า จะดูราบเรียบกว่า เมื่อเกิดการผันผวนของราคา เพราะมีน้ำหนักหรือผลรวมของราคาตลอดช่ววเวลามาก ความผันผวนที่เกิดขึ้นในระยะสั้นก็จะส่งผลรวมไม่มาก ตัวอย่างเช่น ราคาปกติของหลักทรัพย์ตัวหนึ่งประมาณ 10 บาท แต่มีอยู่วันหนึ่งที่ราคาผันผวนเป็น 20 บาท
- ถ้าเราถัวเฉลี่ยราคา 7 วัน ก็จะได้ (10+10+10+10+10+10+20)/7 = 11.43
- ถ้าเราถัวเฉลี่ยราคา 3 วัน ก็จะได้ (10+10+20)/3 = 13.33

จะเห็นได้ว่ายิ่งถัวเฉลี่ยราคาในช่วงเวลาที่นานขึ้น เมื่อเกิดการผันผวนของราคาในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ค่าเฉลี่ยที่ได้จะผันผวนน้อย หรือมีความเรียบมากกว่า

Let’s say we plot a 5 period SMA on the daily chart of the EUR/USD and the closing prices for the last 5 days are as follows:
โดยสรุปก็คือ SMA มีปัญหาอยู่อย่างหนึ่ง คือมันให้ความสำคัญกับราคาของทุกช่วงเวลาเท่ากันหมด ทำให้ความผันผวนของราคาในอดีต ส่งผลหรือมีนัยสำคัญเช่นเดียวกับความผันผวนของราคาปัจจุบัน
ตัวอย่างเช่น ราคาเฉลี่ยของหลักทรัพย์ตัวหนึ่งคือ 10 บาท การคำนวณค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 7 วันหรือ SMA(7) เป็นดังนี้
กรณีที่ 1 เกิดความผันผวนของราคาในวันที่ 1 การคำนวณคือ (20+10+10+10+10+10+10)/7 = 11.43
กรณีที่ 2 เกิดความผันผวนของราคาในวันที่ 6 การคำนวณคือ (10+10+10+10+10+20+10)/7 = 11.43

จะเห็นได้ว่าทั้งสองกรณี ให้ผลการคำนวณเท่ากัน ซึ่งในความเป็นจริงโดยเฉพาะเมื่อทำการเทรด การพิจารณาถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน ย่อมสำคัญกว่าสิ่งที่ผ่านมานานแล้วในอดีต EMA เข้ามาแก้ปัญหาตรงนี้ โดย EMA จะให้น้ำหนักความสำคัญของราคาในปัจจุบันมากกว่าราคาในอดีต ลองดูภาพตัวอย่างจาก babypips เราจะเห็นได้ว่าเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของราคา EMA จะตอบสนองหรือให้สัญญาณเร็วกว่า SMA

กล่าวโดยสรุปก็คือ EMA จะให้การตอบสนองต่อราคาที่เร็วกว่า แต่ข้อเสียก็คือ เกิดสัญญาณหลอกได้ง่ายกว่า อย่างเช่นเมื่อราคาเปลี่ยนแปลงเราอาจคิดว่าแนวโน้มเปลี่ยนแล้ว แต่ที่จริงเป็นเพียงการผันผวนของราคาชั่วขณะเท่านั้น ส่วน SMA ให้การตอบสนองต่อราคาที่ช้ากว่าทำให้อาจจะพลาดโอกาสในการซื้อขายที่ดี แต่ข้อดีของมันคือมันให้สัญญาณหลอกน้อยกว่า

แล้วอะไรล่ะที่ดีกว่ากัน ทุกอย่างขึ้นกับตัวเราในการนำไปใช้งาน เทรดเดอร์หลายคนจะใช้ทั้ง SMA และ EMA โดยอาจจะใช้ SMA ของช่วงเวลาที่ยาว เพื่อมองดูภาพรวมของแนวโน้ม แล้วใช้ EMA ของช่วงเวลาที่สั้นกว่าเพื่อหาจังหวะในการเข้าเทรด

Credit : pises999

บทหน้าเราจะมารู้จักการใช้ MA ในแบบ ต่างๆกันนะครับ ทั้งสองเส้น และ สามเส้น แล้วเจอกันบทหน้าครับ



Create Date : 30 กันยายน 2553
Last Update : 30 กันยายน 2553 16:30:49 น.
Counter : 1375 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

lukball
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



สนใจศึกษา technical analysis หลังไมค์หรือ dadamz168@gmail.com skype:nongball168
กันยายน 2553

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
26
27
28
29
 
 
30 กันยายน 2553