Support & Resistance (แนวรับ และ แนวต้าน) Part III
Support become resistance and become support again



ในบางครั้ง อาจจะมีการเปลี่ยนสถานะกลับไปมา ระหว่างแนวรับและแนวต้านซ้ำๆ ซึ่งมักจะเป็นกรณีที่เกิดขึ้นไม่บ่อย Support become resistance และ resistance become support อีกครั้งหนึ่ง ดังที่เห็นในรูปภาพ

Trading range



ในหลายครั้ง ทุกท่านอาจจะได้พบเห็นการประกอบกันของ Support และ Resistance ในลักษณะนี้ แนวรับและแนวต้านประกบกันเป็นกรอบขอบเขตของการวิ่งของราคาในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ ดังเช่นในรูปซึ่งเรียกว่า ‘’Trading Range’’ ในส่วนนี้ จะได้มีการอธิบายโดยละเอียดต่อไป ในบทเรียนที่จะกล่าวถัดไป ซึ่งจะมีอยู่หลายรูปแบบเช่น Channel หรือพวก Accumulative Pattern อย่าง Flag & Triangle Pattern ต่างๆ ซึ่งพื้นฐานในเรื่องของแนวรับและแนวต้านในบทนี้ จะเป็นพื้นฐานหนึ่งและองค์ประกอบส่วนหนึ่ง ที่จะนำไปสู่ความเข้าใจของบทเรียนถัดไป ในเรื่อง Channel และเรื่อง Pattern



คำว่าแนวรับและแนวต้าน มีคำร่วมคือคำว่า “แนว”, แถวหรือแนว ของแนวรับและแนวต้านที่ได้แสดงในเนื้อหาส่วนที่ผ่านมา เป็นในลักษณะของ “แนวนอน”, ในความเป็นจริงนั้น “แนว” ไม่เป็นแต่เพียงแนวนอนอย่างเดียว ในรูปแบบที่พลิกแพลงมากขึ้น แนวรับและแนวต้านสามารถเป็นในแนวเฉียงได้ด้วย โดยมีลักษณะของแนว เอียงเป็นเส้นทำองศาต่าง ๆ



ตัวอย่าง “แนว” ต้านในลักษณะที่เป็นองศาแนวเฉียง หลายๆครั้ง เราจะพบในกรณีนี้ ซึ่งเส้นแนวจะไม่เป็นแนวนอนซะทีเดียว บางครั้งจะมีเอียงทำองศาบ้าง จะมีอธิบายโดยละเอียดในบทเรียนถัดไป


อีกตัวอย่าง จะได้อธิบายโดยละเอียดในบทเรียนต่อๆไปในเรื่องของ Trend Line

Reversal Pattern



ความเข้าใจในเรื่อง Support & Resistance จะกลายมาเป็นพื้นฐานความเข้าใจ ในเรื่องรูปแบบการกลับตัวของแนวโน้มด้วย ซึ่งรายละเอียดจะได้มีการสอนในบทถัดไป ในเรื่องของ Price Pattern โดยเนื้อหาจะเข้าเจาะลึกในส่วนของ Double & Triple (Top, Bottom) Pattern โดยมีพื้นฐานจากเรื่อง แนวรับและแนวต้านที่ได้เรียนกันในบทนี้


ความสำคัญของแนวรับและแนวต้านต่างๆนั้น สามารถระบุความสำคัญหรือความแกร่งของแนวนั้นๆ ได้ด้วยจากจำนวนครั้งที่กราฟราคาลงมาแตะแนวนั้นๆ และมีการดีดกลับไป ยิ่งมีจำนวนครั้งมากเท่าไหร่ แนวรับและแนวต้านนั้นๆ จะยิ่งมีความ “แกร่ง” มากขึ้นตามลำดับ



ยกตัวอย่างจากรูป บริเวณแนวต้านเส้นสีแดง มีการดีดทดสอบถึงสามครั้ง ซึ่งถือว่ามีความสำคัญและความแกร่งมากกว่าแนวรับเส้นสีน้ำเงิน ซึ่งมีการทดสอบเพียงครั้งเดียว ในอดีตยิ่งมีจำนวนครั้งของการทดสอบแนวนั้นๆมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเป็นแนวที่แข็งมากขึ้นเท่านั้น และจะทำให้กราฟราคาวิ่งผ่านยากขึ้นตามลำดับ


ข้อควรระวัง ในเรื่องแนวรับ แนวต้าน

1). อย่าลากเส้นแนวรับแนวต้าน แบบเป๊ะๆ บางครั้ง บางคนลากเส้นแบบพอดีเกินไป อาจจะทำให้ในกรณีที่ราคามีการวิ่งเลยเส้นไปหน่อย เกิดการเข้าใจผิดว่า หลุดแนวรับ แนวต้านแล้ว



Zone ของแนวรับ แนวต้าน



ในบางครั้งบางครา การแก้ไขปัญหา จึงมีบางกรณีที่เรากำหนดเป็น Zone ของแนวรับแนวต้านแทนเส้นตรง โดยกำหนดเป็นพื้นที่หลวมๆคร่าวๆ ดังที่เห็นจากรูป ซึ่งส่วนหนึ่งจะช่วยกรองความผิดพลาด จากการลากเส้นที่ยังไม่ชำนาญ และช่วยในการมองภาพตลาดได้ดีขึ้น

2). หลังจากลากเส้นแนวรับแนวต้านขึ้นมาแล้ว บางครั้งต้องระวัง False Break ซึ่งจะหลอกนักลงทุนได้เช่นกัน



ดังจะเห็นได้จากในรูป เกิด False Break ขึ้นหลังจากการทดสอบแนวรับครั้งที่หนึ่ง วิธีที่ช่วยแก้ตรงนี้คือ อย่าไปสนใจขณะที่แท่งเทียนยังไม่จบแท่ง ควรจะรอให้ปิดแท่งเทียน แล้วจึงค่อยพิจารณา



อีกตัวอย่างของการเกิด False Break ตรงที่วงสีส้ม ควรรอให้มีการปิดแท่งเทียนนั้นๆก่อน เนื่องจากบางคนอาจจะตกใจเวลาที่กราฟราคา มีการกระชากตัวที่เร็วและหลุดแนวรับหรือแนวต้าน ตรงจุดนี้ต้องระวังครับ

Greed & Fear In the market



ตรงจุดที่ราคาขึ้นมา ตรงแนวต้านและแนวรับ จะมีเหตุการณที่เกิดขึ้นอยู่เสมอๆคือ คนที่ซื้ออยู่ก่อนหน้าตอนแรกที่เขาขาดทุนอยู่ พอกราฟราคาวิ่งขึ้นมาเท่าทุน หลายๆคนจะรีบขายออก เพราะ “กลัว” จะขาดทุนไปมากกว่า อาจจะมีบางคนที่อยู่ฝั่งซื้อตั้งแต่ตรงก้น ก็จะขายออกเอาเสมอตัวก่อน เพราะกลัวว่ามันจะเป็น “Support become resistance” และตรงจุดนี้เช่นกันจะมีบางคนที่ยังไม่ตัดสินใจอะไรเลยก็จะกลัวตกรถ แทงขาลง Short ตามไปด้วย ในเชิงจิตวิทยานั้น ตรงแนวรับและแนวต้านมักจะเกิดเหตุการณ์แบบนี้บ่อยๆซ้ำๆ



เรื่องนี้นั้น นอกจากจะบอกให้เรารู้ถึงว่า คนส่วนใหญ่มักจะคิดอะไรแล้ว ยังบอกอีกว่า อย่าพยายามไปดักซื้อ จากรูป พอกราฟหลุดแนวรับแล้ว จะเห็นว่าลงลึกและยาวต่อเนื่อง บางคนที่ไปดักซื้อตามแนวรับต่างๆ ก็จะขาดทุน และซ้ำร้ายบางคนที่ไม่กล้าตัดใจออกตั้งแต่ช่วงต้น ก็จะขาดทุนหนักเข้าไปอีก และต้องรอต่อไปอีกนาน จริงอยู่ที่ว่า การที่เราดักซื้อเพราะคิดว่าเมื่อราคามาถึงแนวรับแนวต้านแล้วจะต้องมีการเด้ง และดีดกลับ ซึ่งอาจจะใช้ได้ผลในบางครั้ง แต่สำหรับการเทรดต่อเนื่องในระยะยาวแล้ว จะแพ้ทางตลาดมากกว่า

3). ไม่ได้หมายความว่าเมื่อราคา ไปถึงแนวรับแนวต้านต่างๆแล้ว จะต้องมีการเด้งกลับ หลายคนพอเรียนรู้เรื่อง Support & Resistance แล้ว ชอบคิดว่าราคามักจะต้องมีการดีดกลับเมื่อกราฟราคาลงมาถึงแนวรับแนวต้านต่างๆ แล้วไปดักซื้อ
ดังนั้นข้อควรจำก็คือ ไม่ได้หมายความว่าเมื่อกราฟราคาไปถึงแนวรับแนวต้านต่างๆแล้ว จะต้องมีการเด้งกลับ หลายคนพอเรียนรู้เรื่อง Support & Resistance แล้ว ชอบคิดว่าราคามักจะต้องมีการดีดกลับ เมื่อกราฟราคาลงมาถึงแนวรับแนวต้านต่างๆ แล้วไปดักซื้อ โดยเฉพาะคนที่ศึกษาเกี่ยวกับการลงทุนที่มาจากฝั่ง Fundamental ปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นมักจะมีความรู้สึกปลูกฝังอยู่ในความคิดว่า ซื้อเมื่อราคาถูก และขายเมื่อแพง แต่ในทางสาย Technical ที่เรากำลังศึกษากันอยู่นี้ จะมีแนวคิดที่ต่างออกไป
กล่าวคือ ซื้อเมื่อมีแนวโน้มว่า ขึ้น ไม่ใช่ซื้อเมื่อราคามันถูก ตรงนี้อยากให้ลองเอาไปพิจารณากัน

4). แนวรับแนวต้าน ไม่ได้เป็นเรื่องหลัก ที่ใช้ในการพิจารณาเข้าซื้อหรือขายหุ้นใดๆ เครื่องมือนี้เป็นเพียงหนึ่งในเครื่องมือประกอบการตัดสินใจเท่านั้น ควรจะมองในแง่ที่เป็น “จุดพึงเฝ้าระวัง” และใช้เพื่อประกอบกับเครื่องมืออื่นๆในการพิจารณาร่วม แนวรับแนวต้าน ไม่ได้เป็นเรื่องหลัก ที่ใช้ในการพิจารณาเข้าซื้อหรือขายหุ้นใดๆเครื่องมือนี้เป็นเพียงหนึ่งในเครื่องมือประกอบการตัดสินใจเท่านั้น ควรจะมองในแง่ที่เป็น “จุดพึงเฝ้าระวัง” และใช้เพื่อประกอบกับเครื่องมืออื่นๆในการพิจารณาร่วม ยกตัวอย่าง ถ้าเปรียบให้เข้าใจง่ายๆ ก็จะเปรียบได้กับการที่ผู้หญิงตัดสินใจเลือกคู่ชีวิต ยกตัวอย่างเช่น การที่ผู้หญิงท่านใดจะเลือกแฟน และตกลงปลงใจแต่งงานด้วยเค้าก็อาจจะพิจารณาหลายๆปัจจัย และยกมาเป็นข้อๆ เช่น คนนี้หล่อให้ไปสองคะแนน คนต่อมาหล่อและเอาใจเก่ง อบอุ่น เอาไปสามคะแนน อีกคนไม่หล่อ แต่รวยมาก ก็อาจจะจะให้เต็มสิบคะแนน (เป็นแค่การยกตัวอย่างเพื่อความเข้าใจ) อย่างนี้เป็นต้น
ดังนั้นปัจจัยการพิจารณาเลือกแฟน ก็อาจจะมี Check List เป็นข้อๆไป การเทรดหุ้นก็เช่นกัน นักลงทุนอย่างเราก็ต้องมี Check list หลายๆข้อ และในเรื่องของ Support & resistance ก็จะเป็นหนึ่งใน Check list ที่จะได้นำไปใช้พิจารณาเพื่อเข้าซื้อและขายหุ้นในภายภาคหน้า ซึ่งในบทเรียนถัดๆไป ก็จะได้เรียนตัวช่วยพิจารณาเหล่านี้ ทีละตัวๆ จนท้ายที่สุด ก็จะสามารถเอาทั้งหมดที่เรียนมา ประมวลรวมกันเป็นระบบเทรดและวิธีเทรดของตัวเอง

5). อย่า “เยอะ” เกินไป



บางคนพอเรียนไปแล้ว บังเกิดความร้อนวิชา เรียนรู้อะไรก็เอามาใช้ให้หมด ด้วยความที่ “มาก” เกินไป จากรูป จะเห็นได้ถึงความ “เยอะ” เกินไปของการลากเส้นแนวรับแนวต้าน ลักษณะแบบนี้จะเกิดขึ้นกับหลายๆท่านที่เพิ่งจะได้ร่ำเรียนวิชามาไม่นาน ยิ่งเรียนบทเรียนเรื่องหลังๆไป จะพยายามเอาอะไรหลายๆอย่างมาใส่ในกราฟ จนปนมั่วไปหมดซึ่งในบางครั้งมันอาจจะดูดี ดูเท่ห์ ในสายตาคนทั่วไป เพราะดูซับซ้อนดี แต่สุดท้ายจะงงและหลงทางกับสิ่งที่ตัวเองสร้างขึ้นมา และความที่มากเกินไปในความพอดี โดยมากจะทำให้ขาดทุน เพราะจะงงกับกราฟ จนเวลาจะพิจารณาซื้อขายทีหนึ่ง อะไรๆก็ดูติดขัดไปซะหมด ความเป็นจริงก็คือ ผลกำไรที่จะเกิดขึ้นอย่างยั่งยืนในระยะยาวแล้วนั้น ส่วนมากเกิดจากความ “พอดีพอเหมาะ”


6). แนวรับแนวต้าน บางครั้ง อาจจะเป็นตัวเลขในเชิงจิตวิทยาก็ได้ เช่น SET 1000 จุด, DOW Jones 10000 จุด บางครั้ง อาจจะเป็นตัวเลขในเชิงจิตวิทยาก็ได้ เช่น SET 1,000 จุด, DOW Jones 10,000 จุด เป็นต้น โดยส่วนมากแล้ว จะเป็นตัวเลขกลมๆครับ มีความหมายในเชิงจิตวิทยาตลาด

credit :kiat_u

จบแล้วนะครับ สำหรับเรื่องแนวรับแนวต้านในบทต่อไปเราจะมาเรียนเรื่อง Trend Line กันต่อนะครับ ยังไงขอให้ทุกท่านที่อ่านบล็อคของผม ลองนำไปฝึกใช้ดูนะครับ จะได้เข้าใจมากขึ้น ถ้าเกิดมีคำถามหรือสงสัยอะไรก็โพสถามได้เลยครับ หรือจะหลังไมค์ ส่งอีเมลก็ได้ครับตามสะดวกเลยแล้วเจอกันบทหน้าครับทุกท่าน



Create Date : 06 มีนาคม 2554
Last Update : 6 มีนาคม 2554 16:32:27 น.
Counter : 3517 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

lukball
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



สนใจศึกษา technical analysis หลังไมค์หรือ dadamz168@gmail.com skype:nongball168
มีนาคม 2554

 
 
1
2
3
4
5
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31