Craft and express your living through the astrological way
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2549
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
4 สิงหาคม 2549
 
All Blogs
 
ระบบสัญลักษณ์ในโหราศาสตร์สากล (Symbol system in Astrology) ตอนที่ 2

กลับมาแล้วครับเพื่อนๆ ขอบคุณที่ให้การติดตาม weblog ของผมอย่างต่อเนื่องน่ะครับ

ช่วงนี้แม้งานจะยุ่งนิดนึง แต่ยังไงก็จะพยายามหาเวลามาเขียน blog ให้สม่ำเสมอครับ

ส่วนเพื่อนๆ หลายคนที่สนใจและสอบถามมาว่า เมื่อไหร่จะมาดูดวงกันซักที ก็ต้องบอกว่า ใจเย็นๆ ครับ ช่วงนี้ติดตามอ่านพื้นฐานกันไปก่อน รับรองไม่นานเกินรอครับ

มาต่อข้อที่ 2 เลย

2.ความสัมพันธ์หลักของมุม (Angular relationship)

มุมกระทบ (Planetary Aspect) นั้น หมายถึง การทำมุมจากดาวถึงดาว และจากดาวถึงจุดอ่อนไหวในเรือนชะตา (Sensitive point) ในเรือนชะตาครับ เนื่องจากในแต่ละวินาทีที่ผ่านไป ดาวต่างๆ ก็จะโคจรเคลื่อนที่ไปอยู่ตลอด การเคลื่อนที่ของดาวต่างๆ นี่เองที่นักโหราศาสตร์นำเอามาสร้างความสัมพันธ์กัน โดยใช้การทำมุมถึงกันเป็นตัวจำแนกลักษณะ หรืออุปนิสัยของเหตุการณืต่างๆ ในการพยากรณ์ครับ

เพราะหากดาวมองแค่ความหมายของดาว (Planets)
และเรือนชะตา (Houses) เพียงอย่างเดียวนั้นยังไม่สามารถให้ความหมายที่เป็นรูปแบบความสัมพันธ์ได้ ให้ได้แค่ความหมายเฉพาะแค่นั้น เหมือนกับเราบอกว่านี่คือบ้าน นี่คือฝนตก นี่คือหลังคารั่ว หากมองแค่ 3 สิ่งนี้เราก็จะไม่รู้อะไรมากนอกจากว่ามันคือ บ้าน คือฝนตก และคือหลังคารั่ว

แต่หากเราเอา 3 สิ่งนี้มาเชื่อมโยงความสัมพันธ์กัน เราก็จะได้เป็น ฝนตกใส่บ้านที่หลังคารั่ว แค่นี้ก้จะได้ความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ขึ้นมาครับ สามารถนำเอาไปพยากรณ์ผลกระทบ หรือเหตุการณ์ต่อได้ เช่น คนในบ้านอาจเป็นหวัดได้ คนในบ้านต้องหาตังค์มาซ่อมหลังคา เป็นต้นครับ (นี่ผมยกตัวอย่างน่ะ)

ซึ่งความสัมพันธ์นี่แหละครับมันเป็น Dynamic Relation และเป็น Dynamic Information ที่เคลื่อนที่ไปไม่หยุด จึงเป็นผลให้เหตุการณ์ต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ เช่นกัน

ดังนั้นการทำมุมนี่แหละที่เป็นสื่อสัมพันธ์อันสำคัญ ที่จะบอกถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นว่าจะดี ร้าย ขัดแย้ง กลมกลืน ส่งเสริม หรือลบล้างกันอย่างไร

มุมในระบบโหราศาสตร์สากล โดยทั่วไปตามแบบยุโรปนั้นจะให้ความสำคัญกับมุมในหัวข้อดังนี้
-การทำมุมระหว่างดาว (Planetary Aspect)
-การเข้ารูปของดาว (Planetary Picture)

การทำมุมระหว่างดาว (Planetary Aspect)
การทำมุมของดาวนั้น ในโหราศาสตร์สากลถือว่ามีบทบาทสำคัญที่สุดในบรรดาความสัมพันธ์ของมุมทั้งหลาย ซึ่งการทำมุมที่สำคัญนั้น ปัจจุบันได้มีการสรุปไว้ คือ 0, 30, 45, 60, 90, 120, 135, 150 และ 180 องศา

การทำมุมนั้นเกิดจากการแบ่งส่วนของวงกลม ที่ถือว่าดาวทั้งหมดเคลื่อนที่อยู่บนแผนที่จำลองจักราศีรูปวงกลม การแบ่งใช้หลักของมุมเท่าในการแบ่ง คือ 1 เท่า, 2 เท่า, 3 เท่า, 4 เท่า, 6 เท่า, 8 เท่า และ 12 เท่า ซึ่งเรียกการแบ่งนี้ว่า ฮาโมนิค (Harmonics)

ถามว่าแล้วมุม 5 เท่า, 7 เท่า, 9 เท่า, 11 เท่า, 13 เท่า, 14 เท่า, 15 เท่าและ 16 เท่าหายไปไหน จริงๆ ไม่ได้หายไปไหนครับ จากอดีตมีนักโหราศาสตร์ร่วมสมัยหลายๆ ท่าน เช่น Johannes Kepler (ศตวรรษที่ 17) ก็เคยใช้ แต่ได้ทำการค้นพบว่า มุมเท่าชุดหลังนี้ให้ความหมายได้ไม่ดีเท่าไหร่นัก และในมุมเท่าชุดหลังนี้ยังคงให้ความหมายที่ขัดแย้งกันเอง เช่น มุม 5 เท่ากับมุม 7 เท่าเป็นต้น

การใช้มุมชุดหลังนี้จึงไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน แม้จะเคยมีนักโหราศาสตร์สากลรุ่นใหม่ๆ พยายามนำกลับมาใช้ก็ตาม เช่น ๋Jojn Addey (ศตวรรษที่ 20) แต่กระนั้น จากการศึกษาของผม การใช้ชุดมุมเท่าชุดแรกก็เพียงพอแล้วครับ

หลักการของมุม คือ จะพิจารณาว่าดาวแต่ละดวงในแต่ละเรือนชะตา (Houses) ทำมุมถึงกันอย่างไร ทั้งดาวในดวงชะตาพื้นฐาน (Natal Chart) และดาวจร (Transit Planet) กับดาวในดวงชะตาพื้นฐาน ซึ่งแต่ละมุมที่กระทำกันก็สามารถเชื่อมโยงความหมายระหว่างกันได้ จากนั้นจึงนำเอาความหมายที่เชื่อมโยงกันทั้งหมด มาสรุปความอีกครั้ง ก่อนจะตีออกมาเป็นคำพยากรณ์

เกร็ดความรู้ : โหราศาสตร์ยูเรเนี่ยน จะใช้มุมเท่า 45 องศาในการพิจารณาเป็นหลัก

การเข้ารูปของดาว (Planetary Picture)
เป็นการพิจารณาการทำมุมของดาวอีกรูปแบบหนึ่ง มีชื่อเรียกในทางโหราศาสตร์สากลว่า Arabian Parts โดยพิจารณาที่จุดกึ่งกลางระหว่างดาวเป็นสำคัญ เรียกว่า Mid point

จุด Mid point นี้จะมีความสำคัญในการตีความหมายระหว่างดาวที่ทำมุมถึงกัน โดยจุดนี้แทนจุดที่อิทธิพล หรือพลังของดาวคู่นั้นๆ ส่งถึงกันมากที่สุด ซึ่งก็จะใช้ตำแหน่งของจุดนี้ในการพิจารณาร่วมกับราศีและเรือนชะตาที่จุดไปตกต่อไป

สำหรับโหราศาสตร์ยูเรเนี่ยนนั้น เทคนิคจุด Mid point นี้เรียกว่า ศูนย์รังสี เป็นเทคนิคหลักที่ใช้ในการพยากรณ์ เพราะยูเรเนี่ยนเชื่อว่า พลังของดาวจะส่งอิทธิพลถึงกันก็ตรงจุดนี้แหละ นี่จึงเป็นที่มาที่โหราศาสตร์ยูเรเนี่ยนเลือกใช้การพิจารณาของมุมเท่าและจุด Mid point ครับ

ไม่มีผิด ไม่มีถูกครับ เพราะเป็นเรื่องของหลักเกณฑ์ของศาสตร์ที่ต่างกันครับ

เอาแหละ วันนี้พอแค่นี้ก่อนดีกว่า เอาไว้เข้ามาติดตามกันเรื่อยๆ ต่อไปน่ะครับ สำหรับหัวข้อที่ 3



--------------------------------------------------------------------------------------------------
ใน blog ที่แล้วผมกล่าวถึงดาวเคราะห์น้อย (Asteriod) บางดวงที่นำมาใช้ จะขอให้รายละเอียดเพิ่มเติมนิดนึงน่ะครับ

-เซเรส (Ceres) ถูกค้นพบปี ค.ศ 1801
-พาลลาส (Pallas) ถูกค้นพบปี ค.ศ 1802
-จูโน (Juno) ถูกค้นพบปี ค.ศ 1804
-เวสต้า (Vesta) ถูกค้นพบปี ค.ศ 1807
-ไชรอน (Chiron) ถูกค้นพบปี ค.ศ 1977

ในโหราศาสตร์สากล ไชรอน (Chiron) มีบทบาทมากที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์น้อยทั้งหมดครับ เพราะจัดเป็น Minor Planet เลยที่เดียว เพราะจัดเป็นดาวเคราะห์ที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างดาวเสาร์ กับดาวยูเรนัสครับ




Create Date : 04 สิงหาคม 2549
Last Update : 4 สิงหาคม 2549 22:35:51 น. 1 comments
Counter : 4730 Pageviews.

 
น่าสนใจมากครับ


โดย: woodysak วันที่: 29 ธันวาคม 2551 เวลา:9:36:04 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

myAstro
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




- นักโหราศาสตร์สากล - Contemporary & Physical Astrology
- ตรวจดวงชะตา การงาน, การเงิน, ความรัก และอื่นๆ

จำนวนการชมตั้งแต่ 29 ก.ค. 2006

Free Counter by Pliner.Net
singles, shopping, search, classifieds

Friends' blogs
[Add myAstro's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.