Group Blog
มีนาคม 2563

2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
อริยะสัจ ๔ ใช้ในทางโลก ใช้สอนอั่งเปา
วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๓
การนำพระอริยะสัจ ๔ ให้อั่งเปาเอาไปใช้ดำรงชีพในทางโลก


-----------------------------------------------------------------

 
ข้าพเจ้าได้เขียนคร่าวๆไว้ตามสติกำลังที่มีในขณะนี้เพื่อใช้สอนบุตรชายเพื่อให้รู้จักน้อมนำพระอริยะสัจ ๔ มาใช้สะสมเหตุแบบสาสะวะจนลงใจ หวังให้เป็นปัญญาบารมีติดตามเขาไปในภายหน้า จึงกล่าวคร่าวๆเพียงให้เด็ก ม.1 ใช้ปัญญาใคร่ครวญได้ดังนี้

อริยะสัจ ๔ ในทางธรรม เป็นเรื่องของจิต จิตทำกิจในรอบ ๓ อาการ ๑๒

ทุกข์ คือ ความมีใจเข้ายึดครอง (เป็นผลของสมุทัย อันเกิดจากการที่จิตรู้โดยสมมติ)
สมุทัย คือ ความไม่รู้เห็นตามจริง (จิตรู้สมมติ)
นิโรธ คือ ความไม่มีใจเข้ายึดครองสิ่งทั้งปวง ปลดโซ่คล้องใจออก (เป็นผลของมรรค อันเกิดจากจิตรู้เห็นตามจริง)
มรรค คือ ความรู้เห็นตามจริง (จิตรู้เห็นตามจริงต่างหากจากสมมติ)


-----------------------------------------------------------------

โดยปุถุชนเมื่อจะกล่าวให้เข้าใจในชีวิตประจำวันนี้ ยกยอดเอาส่วนหนึ่งในท่ามกลาง เป็นส่วนกลางๆไม่ลงลึกมาก เพื่อให้รู้ถึงกระบวนการทางกายและใจตั้งไว้เป็นฐานในการเจริญปฏิบัติได้ดังนี้

1. พระอริยะสัจ ๔ ในเบื้องต้น ที่นำไปใช้แก้ปัญหาชีวิตของตนในทางโลก

1.1 ทุกข์ ในเบื้องต้น คือ ปัญหาในชีวิตของเรา และ การประพฤติ-ปฏิบัติตัวของเราที่เป็นเหตุปัจจัยในปัญหานั้นๆ
      
..สิงนี้ๆควรกำหนดรู้ ให้น้อมนำเอาทุกข์ที่เกิดมีขึ้นในสิ่งนั้นๆ หรือปัญหาขีวิตนั้นๆขึ้นมาตั้งไว้ในใจ..เพื่อทำความรู้ความเข้าใจในตัวทุกข์หรือปัญหาชีวิตนั้นๆ เพื่อรู้ตัวโจทย์ปัญหาที่แท้จริงของตน และรู้ว่าทุกข์นี้มีเกิดขึ้นเพราะเหตุใด,
      - สิ่งไหนมี-ทุกข์นี้จึงมี..สิ่งนั้นคือสมุทัย,

2.1 สมุทัย ในเบื้องต้น คือ ทัศนคติ เป็นแนวทางความคิด, อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของเราที่มีต่อสิ่งต่างๆ
      ..สิ่งนี้ๆควรละ เมื่อกำหนดรู้ทุกข์พิจารณาเห็นว่าทุกข์หรือปัญหาชีวิตของเรานี้เกิดมีขึ้นได้เพราะสิ่งใดมี สิ่งใดที่มีแล้วทุกข์นี้เกิดขึ้นสิ่งนั้นเป็นสมุทัยที่ควรละ

3.1 นิโรธ ในเบื้องต้น คือ ความสุขสำเร็จอันหมดสิ้นปัญหาของเรา
      ..สิ่งนี้ๆควรทำให้แจ้ง ..คือกำหนดความสุขสำเร็จหมดสิ้นปัญหาทั้งปวงขึ้นมาตั้งไว้ในใจ แล้วกำหนดรู้พิจารณาว่าสิ่งนี้เกิดมีขึ้นได้เพราะเหตุใดมี และสิ่งใดไม่มี กล่าวคือเพื่อรู้ว่า นิโรธ เกิดมีขึ้นได้ด้วยอาศัยสิ่งใด
      - สิ่งใดมี-นิโรธจึงมี..สิ่งนั้นคือมรรค,
      - สิ่งใดไม่มี-นิโรธจึงมี..สิ่งนั้นคือสมุทัย,
      - สิ่งใดเกิดมี-สมุทัยจึงไม่มี..สิ่งนั้นคือมรรค,

4.1 มรรค ในเบื้องต้น คือ การจัดการความคิด และการกระทำเพื่อความสุขสำเร็จขจัดสิ้นปัญหาของตน
      ..สิ่งนี้ควรเจริญให้มาก คือ ทำให้มาก สิ่งใดที่เกิดมีขึ้นแล้วทำให้นิโรธเกิดมีขึ้น แล้วทุกข์และสมุทัยดับไป สิ่งนั้นคือมรรค ควรเจริญให้มาก

--------------------------------------------

2. พระอริยะสัจ ๔ ในขึ้นกลาง ที่นำไปใช้แก้ปัญหาชีวิตของตน แก้ไขตน จนน้อมมาในความสุจริต ซึ่งจะทำที่ใจเป็นใหญ่

1.2 ทุกข์ ในขั้นกลาง คือ จิตไม่มีกำลัง อ่อนไหวไหลตามสมมติอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดอกุศลทั้งปวง ที่กิเลสวางล่อไว้ให้รู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจทั้งปวง

2.2 สมุทัยในขั้นกลาง คือ การวางใจไว้ต่ออาการความรู้สึกที่รู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตลอดจนถึงสมมติอารมณ์ความนึกคิดของตน, เจตนาที่มีต่อสัมผัสอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดทั้งปวง

3.2 นิโรธ ในขั้นกล่าง คือ จิตมีกำลังอยู่ได้ด้วยตัวเองไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์ความรู้สึกนึกคิดอกุศลทั้งปวง

4.2 มรรค ในขั้นกลาง คือ ความไม่ติดใจข้องแวะในสัมผัสอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดอกุศลทั้งปวง ที่สมมติกิเลสสร้างขึ้นไว้หลอกจิตทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

-----------------------------------------------------------------

หมายเหตุ

1. สมมติ คือ สิ่งไม่จริง ใช้ในธรรมคือรู้โดยไม่จริง ไม่ใช่อาการจริง ซึ่งมักใช้กับความคิด เพราะเรามักคิดไปในอดีตบ้าง อนาคตบ้าง สิ่งที่ไม่มีอยู่จริงบ้าง ที่จิตสร้างขึ้นตามที่รัก ที่ชัง ที่หลง ที่กลัว ที่ใจอยากให้เป็น ที่ไม่รู้ตามจริง ซึ่งจะเรียกกันว่า สมมติความคิด

2. สมมติกิเลส คือ อาการความรู้สึกของปลอมที่สืบต่อผัสสะด้วยสัญญาที่ฟุ้งขึ้นด้วยกิเลส ว่าความรู้สึกนี้คือ รัก โลภ โกรธ หลง ที่กระทบจิตให้กระเพื่อมทนอยู่ได้ยาก ต่อความรู้สึกที่กระทบใจนั้น ซึ่งแท้จริงแล้วอาการจริงของมันที่จิตรู้สัมผัสโดยไม่มีสัญญานั้นเกิดขึ้นให้จิตรู้เพียงแค่เปรี๊ยะเดียว แวบขึ้นเหมือนสายฟ้าแลบ หรือแค่สั่นกระเพื่อมครั้งเดียวเท่านั้น ไม่มีตัวตน บุคคลใด ไม่มีความรู้สึกใดที่แปลได้ว่ารัก โลภ โกรธ หลง มันเป็นแค่อาการหนึ่งๆของจิตที่มีอยู่นับล้านๆแบบ ไม่มีคุณประโยชน์ไรๆต่อจิต นอกจากมีไว้ให้เราทำแค่รู้ เข้าใจอาการความรู้สึกว่านี้เป็นกิเลส แล้วไม่ควรให้ค่าแก่มัน



Create Date : 23 มีนาคม 2563
Last Update : 27 มีนาคม 2563 7:48:49 น.
Counter : 113 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 1075032
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]