Group Blog
มิถุนายน 2565

 
 
 
1
2
3
4
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
อุปมาธรรมละกามราคะเพื่อเดินไปสู่การเหลือเพียงกามฉันทะ
อุปมาธรรมละกามราคะเพื่อเดินไปสู่การเหลือเพียงกามฉันทะ

    อุปมาธรรมละกามราคะเพื่อเดินไปสู่การเหลือเพียงกามฉันทะนี้.. ซึ่งสภาพจริงมันเป็นปัจจัตตัง เหมือนหลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน ท่านกรุณาสอนไว้ว่า..เราทำเราก็ได้ เราทำได้ที่เรามันก็เป็นของเรา เขาทำเขาได้เราเอามาพูดมันก็เป็นของเขาได้ไม่ใช่เราได้ เมื่อพูดไปก็เหมือนประกาศสิ่งที่เขาได้โดยเราแอบอ้างเท่านั้น อย่างนั้นแล้วศีลจะไปหาเอาลูบคลำเอาที่ไหน ..ดังนี้ความรู้โดยส่วนตัวนี้ผมบันทึกไว้เพื่อใช้ทบทวนกรรมฐาน จะไม่ปะติดปะต่อ ไม่เรียบเรียง แต่รู้ได้ด้วยตัวเอง
     หากท่านใดแวะชมต้องแยะแยะจริงแท้ถูกผิด หากตีความได้น้อมนำทำตามแล้วเจริญได้ดีถูกตรง ก็ขอให้ท่านรู้ไว้เลยว่าธรรมอันพระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้นให้ผลได้ไม่จำกัดกาล ไม่มีพระพุทธเจ้าจะไม่มีพระธรรม ไม่มีพระธรรมจะไม่มีพระสงฆ์ ไม่มีพระสงฆ์ก็จะไม่มีผู้เผยแพร่ธรรมแท้มาสู่เรา

อุปมาธรรมละกามราคะ เพื่อเดินไปสู่การเหลือเพียงกามฉันทะนี้ พอจะจำแนกเพื่อบันทึกกรรมฐานไว้ได้ดังนี้..


วันเสาร์ที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๓ ตรงกับวัน มาฆะบูชา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓
กามมันอิ่มไม่เป็น ตราบใดที่ยังไม่อิ่มกามก็มีอยู่ทุกเมื่อ ซึ่งจะรุนแรงมากน้อยขึ้นอยู่ที่กำลังของจิต การละกามทั้งปวง จึงต้องทำให้ใจอิ่ม เมื่อใจอิ่มมันก็รู้จักพอ ..เมื่อใจมันพอ มันเบื่อหน่าย ระอา ..มันก็คลายในกามราคะ..นิพพิทา-วิราคะ -> ถอนออกสละคืน

การละกามในคน 2 ประเภท
 
1. คนที่อิ่มแล้ว ..ความอิ่มเต็มใจ ความพอ ไม่ต้องการอีก ย่อมมีใจน้อมไปในนิพพิทา วิราคะ เป็นไปเพื่อละกาม
     ..ธรรมนั้นเป็นไฉน อุปมาเหมือนดั่งบุคคลผู้กินอิ่ม ไม่โหยหา ไม่ต้องการ มีความพอแล้ว ไม่กระหาย
     - อุปไมยดั่งอาหารที่กินเป็นของโลกียะ
     - อุปไมยความอยากได้ต้องการโหยหากระหายนั้นเป็นกาม
     - อุปไมยความอิ่มพอนั้นเป็นความเต็มใจน้อมไปในการสละ เป็นอาหารเป็นกำลังในนิพพิทา วิราคะ

    ..จะเห็นได้ว่า ความอิ่มพอนี้ มันอิ่มที่ใจ เกิดที่ใจ ทำที่ใจ ซึ่งมีธรรมใช้ในหลายอย่างซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสแสดงไว้ดีแล้ว โดยกรรมฐานอันเป็นคุณแห่งการละนั้นก็เปรียบได้เหมือนการกำหนดเดินจิตกรรมฐานแห่งธรรมดังนี้ คือ..
     - อุปมาเปรียบเหมือนดั่งผู้เจริญจาคานุสสติ ความว่าสิ่งนี้เต็มแล้วเรามีแล้วได้แล้ว เพียงพอแก่เราแล้ว ..จิตถึงจาคะ คือ ถึงความเต็มกำลังใจน้อมเพื่อคลายกำหนัด เกิดนิพพิทา วิราคะ สละคืน
     - อุปมาเปรียบเหมือนคนอบรมจิตคลายสมมติกาย ทำที่ใจ ความเห็นในสมมติใจ ความเห็นในสมมติธรรม ความไม่ติดใจข้องแวะ ความวางเฉยไม่ยินดียินร้ายต่อธรรมสังขาร ความดำรงมั่นอยู่ การเดินจิต การถอน สละคืน
 

2. คนที่ยังไม่อิ่ม ..หากยังไม่อิ่ม ก็ต้องมารู้เห็นของจริง จนเกิดความหน่าย ความระอา นิพพิทา วิราคะ เพื่อละกาม
     ..ธรรมนั้นเป็นไฉน อุปมาเหมือนดั่งบุคคลผู้ยังไม่ได้กิน กินแล้วแต่ก็ยังไม่อิ่มยังไม่พอ ยังอยากได้ต้องการโหยหากระหายอยู่ไม่ขาด
     - อุปไมยดั่งอาหารที่กินเป็นของโลกียะ
     - อุปไมยความอยากได้ต้องการโหยหากระหายนั้นเป็นกาม
     - อุปไมยความยังไม่ได้กิน คือ ยังไม่เคยลิ้มลองสัมผัส
     - อุปไมยความกินแล้วยังไม่อิ่ม ไม่พอ คือ ความได้เสพย์แล้วมีแล้วแต่ไม่เต็มในใจ ไม่เพียงพอในใจ ยังโหยหา การทำให้อิ่มในกามไม่ใช่ต้องเสพย์กาม ด้วยยิ่งเสพย์ตามมันไปให้มากเท่าไหร่ กามมันก็อิ่มไม่เป็น แม้ได้ครบหมดทั้งโลกมันก็ยังอิ่มไม่เป็น เหมือนโอ่งน้ำก้นรั่วให้เทน้ำไปเท่าไหร่ก็ไม่เต็ม ยิ่งคิดคำนึงถึงยิ่งโหยหา

    ก. ดังนั้นทำความอิ่มนี้ทำที่ใจให้มันอิ่ม ทำความหน่าย ความระอา ความถอน ถึงความสำรอกออก ซึ่งมีธรรมใช้ในหลายอย่าง เช่น..

     - สัญญา ๑๐
     - อสุภะสัญญา หรือ ทวัตติงสาการ หรือบางที่เรียกแทนโดยกายคตาสติ ความเห็นจริงในภายในกายนี้แล เป็นของไม่สะอาด มีอยู่เพียงเท่านั้น อาศัยหนังหุ้มเป็นที่สุดรอบ มีผม เล็บ ฟัน เป็นต้นให้ดูงาม ม้างกายออกจนไม่มีเรา ไม่ใช่เรา ไม่เป็นเรา ไม่มีเราในนั้น ในนั้นไม่มีเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ความไม่มีตัวตน ไม่ใช่ตัวตน คลายฉันทะถึงอนัตตา
     - อาทีนวสัญญา เห็นเพียงที่ประชุมโรค ไม่ควรยินดี เป็นไปเพื่อคลายฉันทะถึงความหน่ายระอาในกายนี้
     - จตุธาตุววัตถาน, ธาตุวิภังค์-ธาตุ ๖ เห็นสภาพจริง อาศัยจิตนี้จรมาอาศัย มีใจเข้ายึดครอง ความไม่ใช่ตัวตน
     - อสุภะ ๑๐ ความเห็นตามจริงในกายนี้ ถึงความไม่เที่ยง
     - พรหมวิหาร ๔ เจโตวิมุตติ

     ข. ซึ่งกรรมฐานข้างต้นจะทำความหน่ายระอาต่อใจอย่างไร ..ก็อุปมาเปรียบการกำหนดเดินไปของจิตอันเป็นธรรมกื้อกูลในวิราคะให้เข้าใจได้เหมือน..
     - อุปมาเปรียบเหมือนดั่งใช้ฉันทะละฉันทะ คือ ความเต็มใจยินดีออกจากกาม ความเห็นในสิ่งที่ยินดียิ่งกว่า เปรียบเหมือนใช้ทานละโลภ คือ มีใจยินดีในอริยะทรัพย์ ควายความตระหนี่หวงแหน ละความอยากได้ใคร่มีใคร่เสพย์ในโลกียะทรัพย์อันปรนเปรอตนเกินความจำเป็น
     - อุปมาสภาพธรรมแห่งนิพพิทา วิราคะ คือ จิตถึงสัพพโลเก อนภิรตสัญญา กำหนดหมายในความไม่เพลิดเพลินโลกียะทั้งปวง จิตถึงสัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา ถึงความความหน่าย ระอา จิตน้อมไปเพื่อคลายกำหนัด เป็นไปเพื่อความสละคืน
     - อุปมาการเดินจิตเปรียบเหมือนดั่ง..พรหมวิหาร ๔ เจโตวิมุตติ หรือ ธาตุวิภังค์-ธาตุ ๖ ..อบรมจิตเห็นในสมมติกาย ความเห็นในสมมติใจ ความเห็นในสมมติธรรม ความติดใจข้องแวะเป็นทุกข์ ความวางเฉยไม่ยินดียินร้ายต่อธรรมสังขาร ความดำรงมั่นอยู่ การเดินจิต ถอน สละคืน
 



Create Date : 05 มิถุนายน 2565
Last Update : 5 มิถุนายน 2565 14:52:55 น.
Counter : 310 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 1075032
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]