"Be the change you want to see in the world." - महात्मा (Mahatma Gandhi)

จอมเยอะเล่า
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




สิ่งที่น่านับถือในจอมยุทธ์หาใช่วิทยายุทธไม่
Group Blog
 
 
กันยายน 2561
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
9 กันยายน 2561
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add จอมเยอะเล่า's blog to your web]
Links
 

 
ปฏิจจสมุปปาทสูตร (อภิปราย และ คำถาม)



ยอมรับเลยว่า ไม่ค่อยเข้าใจ
แต่อยากเข้าใจ

เอาอย่างนี้
เริ่มจากที่เข้าใจก่อน (ถ้าผิด รบกวนผู้รู้ แนะนำด้วยนะครับ)

(1) ความสัมพันธ์

อวิชชา (ignorance) -> สังขาร (fabrications) -> วิญญาณ (consciousness) -> นามรูป (name-form) -> สฬายตนะ (6-sense media) -> ผัสสะ (contact) -> เวทนา (feeling) -> ตัญหา (craving) -> อุปาทาน (clinging/sustenance) -> ภพ (becoming) -> ชาติ (birth) -> ชรา มรณะ ทุกข์ (aging-death, suffering)

(2) ความหมาย
* อวิชชา คือ ความไม่รู้ในอริยสัจ 4
** แต่ที่ไม่ค่อยเข้าใจ คือ ความหมายแท้ๆ ของคำว่า "รู้"
** "รู้ในอริยสัจ 4" หมายถึง แค่รู้ว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค 
หรือว่า ต้องรู้ขนาดไหน เข้าใจขนาดไหน หรือว่าหมายความถึง รู้ระดับนิพพาน
อันนี้ ผมมั่นใจ ว่า ผมไม่เข้าใจ
สังขาร คือ ความคิดปรุงแต่ง มี 3 อย่าง: การคิดปรุงแต่งทางกาย, วาจา, ใจ
** คิดว่าพอเข้าใจอยู่
* วิญญาณ คือ มี 6 อย่าง: วิญญาณของตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, ใจ
** อันนี้ก็ไม่ค่อยเข้าใจว่า คำว่า วิญญาณ คือ อะไรกันแน่
** วิญญาณ แบบ life force/qi/ki ใน martial arts, สติรับรู้ (conciousness), วิญญาณ แบบ ผีๆ ไม่เข้าใจ
* นามรูป น่าจะคือ การจับคู่กันของ สัญญา-รูป (ในขันธ์ 5) ซึ่ง สัญญา ได้แก่ การรับรู้ การจำได้ และรูป ได้แก่ วัตถุ ร่างกายต่างๆ (ประกอบด้วย มหาธาตุ 4: ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ)
** อันนี้ก็พอเข้าใจอยู่
* สฬายตนะ 6 อย่าง น่าจะหมายถึง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (คิดว่า น่าจะรวมหมายถึง pathway ทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง เช่น ตา ก็รวม ลูกตา ไป mid-brain ไป occipital lobe ตลอดทั้ง visual pathway แบบนี้มั้ง)
** ในความจริง ก็ยังงงๆ อยู่ว่า ขันธ์ 5 เช่น รูป สัญญา เวทนา สังขาร วิญญาณ มันมีนัยไปถึง ระบบของสมองจริงๆมั้ย เช่น เวทนา ~ amygdala, สังขาร ~ prefrontal cortex อะไรแบบนี้ หรือลึกกว่านี้ ยังงงๆอยู่ แต่ก็พอเข้าใจได้กับภาพกว้างๆ
* ผัสสะ 6 อย่าง เข้าใจว่า คือ instant contact ของ การเห็นภาพ ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัส มีความคิดแวบมา คือ เป็น instance เป็นสิ่งที่เกิดจากสัมผัสขณะนั้น เช่น ตาเห็นแมว (ตา เป็น สฬายตนะ แต่ เห็นแมว เป็นผัสสะ)
* เวทนา คือ ความชอบ ไม่ชอบ เฉยๆ มี 6 อย่าง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เช่น เห็นขยะ ไม่ชอบ, เห็นภูเขาทะเลสาป ชอบ, เห็นถนน เฉยๆ
* ตัญหา คือ ความอยากได้; พระสูตรบทนี้ แบ่งเป็น 6 อย่าง รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ความคิด
** เข้าใจว่า ตัญหาที่พูดถึงนี้คือ กามตัญหา
** แต่ไม่แน่ใจว่า รวมถึงตัญหาอีกสองชนิดด้วยหรือเปล่า ซึ่งสองชนิดที่ว่า มี 
*** ภวตัญหา: ความอยากเป็น เช่น อยากรวย อยากเป็นคนสำคัญ อยากให้คนรู้จัก อยากให้คนเห็นภาพเราเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ อยากให้โลกรู้จัก อยากให้รู้ว่ากูใหญ่
*** และวิภวตัญหา: ความไม่อยากเป็นในสิ่งไม่พึ่งใจ เช่น ไม่อยากป่วย ไม่อยากแก่ ไม่อยากทำงานเหนื่อยๆ ไม่อยากถูกคนว่ากล่าวติเตียน ไม่อยากถูกดูถูกเหยียดหยาม
** ภวตัญหา กับ วิภวตัญหา น่าจะเกี่ยวข้องมากๆ กับ อัตตา
* อุปทาน มี 4 อย่าง คือ การยึดติดกับผัสสะ (sensuality-clinging), การยึดติดกับมุมมองวิธีคิด (view-clinging), การยึดติดกับนิสัยหรือวิธีปฏิบัติ (habit-and-practice-clinging), และการยึดติดกับอัตตา (doctrine-of-self-clinging)
** พอเข้าใจบ้าง แต่ถ้าได้ตัวอย่างดีๆ สำหรับแต่ละหัวข้อ น่าจะช่วยให้กระจ่างขึ้นเยอะ
* ภพ มี 3 อย่าง sensual becoming, form becoming, และ formless becoming.
** อันนี้ไม่เข้าใจเลย ภาษาไทย ภพ ไม่เข้าใจ ภาษาอังกฤษ becoming ไม่เข้าใจ
* ชาติ คือ การเกิด (คลอดออกมาเป็นเด็กทารก)
* แก่ ตาย ทุกข์ อันนี้เข้าใจอยู่

สรุปที่ไม่เข้าใจคือ
1. คำว่า "รู้อริยสัจ 4" แปลว่า รู้เฉยๆ รู้แล้วปฏิบัติด้วย หรือหมายถึง นิพพาน
2. วิญญาณ คือ อะไรกันแน่: life force/qi/ki หรือ สติรับรู้ หรือ วิญญาณผี หรือทั้งหมดเป็นเรื่องเดียวกัน?
3. ภพ คือ อะไร? อันนี้งงสนิท เดาก็ยังเดาไม่ออกเลย 
4. อุปทาน 4 แบบ
ตัวอย่าง
4.1 การยึดติดกับผัสสะ เช่น อะไร? 
บ้านต้องดูทันสมัย สวย ร่มรื่น น่าอยู่แบบนี้
เพลงต้องมีทำนองที่ไพเราะแบบนี้ มีจังหวะการดำเนินคอร์ดแบบนี้
ห้องน้ำต้องกลิ่นสะอาดแบบนี้
ต้มเลือดหมูน้ำซุบต้องกลมกล่อมแบบนี้
ฟูกที่นอนต้องนิ่มสบาย ไม่แข็งไป ไม่ยวบไป ไม่ร้อน แบบนี้
4.2 การยึดติดกับมุมมองวิธีคิด
เราต้องเป็นที่หนึ่ง เราต้องเป็นมหาอำนาจ ผู้บริหารที่เก่งต้องทำให้เราเลื่อนอันดับขึ้นไปสูงขึ้นได้
คนหาเงินได้เยอะๆเป็นคนเก่ง ถ้าได้เงินน้อยแปลว่า ไม่เก่ง
4.3 การยึดติดกับนิสัยหรือวิธีปฏิบัติ
มันก็ต้องมีกิจกรรมรับน้อง มันเป็นประเพณี
4.4 การยึดติดกับอัตตา
เทคนิคนี้เราคิด เราต้องใช้เทคนิคนี้หละ จะไปใช้อันอื่นได้ยังไง
งานนี้มันเด็กๆนะใครๆก็ทำได้ ผมไม่ทำ

ตัวอย่างเหล่านี้ถูกมั้ย? ถ้าไม่ถูก เพราะอะไร? แล้วตัวอย่างแบบไหนที่ถูก?

เรื่องการเชื่อมโยงกับเรื่องอื่น
* ตัญหา เป็นปัจจัยที่ 8
* ส่วนกิเลส ได้ ความหลง ความโลภ ความโกรธ
** ความหลง เชื่อมโยงโดยตรงกับ อวิชชา (ปัจจัยที่ 1)
** ความโลภ กับ ความโกรธ น่าจะเชื่อมโยงกับ ตัญหา (ปัจจัย 8) กับอุปทาน (ปัจจัย 9)
** อัตตา น่าจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับ อุปทาน (ปัจจัย 9)
* การปิดวงจร ต้องดับตั้งแต่ต้นทาง คือ อวิชชา 
เพราะถ้าดับแค่กลางทาง เช่น
ดับตัญหา จะดับไม่ได้
เพราะเวทนาที่ยังอยู่จะสร้างตัญหาขึ้นมาใหม่
ดังนั้น ต้องปิดตั้งแต่ต้นน้ำที่สุด คือ อวิชชา ถึงจะปิดได้ถาวร






Create Date : 09 กันยายน 2561
Last Update : 9 กันยายน 2561 12:59:04 น. 0 comments
Counter : 987 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.