"Be the change you want to see in the world." - महात्मा (Mahatma Gandhi)

จอมเยอะเล่า
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




สิ่งที่น่านับถือในจอมยุทธ์หาใช่วิทยายุทธไม่
Group Blog
 
 
กันยายน 2561
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
9 กันยายน 2561
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add จอมเยอะเล่า's blog to your web]
Links
 

 
ปฏิจจสมุปปาทสูตร



ปฏิจจสมุปปาท (Dependent Origination)
เป็น การอธิบายความสัมพันธ์ ของ ปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดทุกข์


1. "อวิชฺชาปจฺจยา ภิกฺขเว สงฺขารา

เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย
จึงมีสังขารทั้งหลาย"

2. "สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ

เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย
จึงมีวิญญาณ"

3. "วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ

เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย
จึงมีนามรูป"

4. "นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ

เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย
จึงมีสฬายตนะ"

5. "สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส

เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย
จึงมีผัสสะ"

6. "ผสฺสปจฺจยา เวทนา

เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย
จึงมีเวทนา"

7. "เวทนาปจฺจยา ตณฺหา

เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย
จึงมีตัณหา"

8. "ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ

เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย
จึงมีอุปาทาน"

9. "อุปาทานปจฺจยา ภโว

เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย
จึงมีภพ"

10. "ภวปจฺจยา ชาติ

เพราะมีภพเป็นปัจจัย
จึงมีชาติ"

11. "ชาติปจฺจยา ชรามรณํ
โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ

เพราะมีชาติเป็นปัจจัย
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน"

"เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ

ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้"

"อวิชฺชาย เตฺวว อเสสวิราคนิโรธา สงฺขารนิโรโธ 
สงฺขารนิโรธา วิญฺญาณนิโรโธ
วิญฺญาณนิโรธา นามรูปนิโรโธ
นามรูปนิโรธา สฬายตนนิโรโธ
สฬายตนนิโรธา ผสฺสนิโรโธ
ผสฺสนิโรธา เวทนานิโรโธ
เวทนานิโรธา ตณฺหานิโรโธ
ตณฺหานิโรธา อุปาทานนิโรโธ
อุปาทานนิโรธา ภวนิโรโธ
ภวนิโรธา ชาตินิโรโธ
ชาตินิโรธา ชรามรณํ
โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา นิรุชฺฌนฺติ"


"เพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร … 
… 
เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะทั้งหลาย จึงดับสิ้น"

"เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส นิโรโธ โหตีติ

ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้น ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้"

========================================================
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]  สังยุตตนิกาย นิทานวรรค


ข้าพเจ้า (พระอานนท์) ได้สดับมาอย่างนี้
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิจจสมุปบาทแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
             ‘ภิกษุทั้งหลาย ปฏิจจสมุปบาท เป็นอย่างไร
             คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
             เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
             เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
             เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
             เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
             เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
             เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
             เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
             เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
             เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
             เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ(ความเศร้าโศก) ปริเทวะ (ความ
คร่ำครวญ) ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) และอุปายาส(ความ
คับแค้นใจ) จึงมี

             ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
             ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท

             อนึ่ง เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ สังขารจึงดับ
             เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
             เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
             เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
             เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
             เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
             เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
             เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
             เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
             เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ

             ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้’
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาคแล้ว



========================================================
Paṭiccasamuppāda Vibhaṅga Sutta  (SN 12:2)

An Analysis of Dependent Co-arising


Staying near Sāvatthī … “Monks, I will describe & analyze dependent co-arising for you. And what is dependent co-arising?

From ignorance as a requisite condition come fabrications.

From fabrications as a requisite condition comes consciousness.

From consciousness as a requisite condition comes name-&-form.

From name-&-form as a requisite condition come the six sense media.

From the six sense media as a requisite condition comes contact.

From contact as a requisite condition comes feeling.

From feeling as a requisite condition comes craving.

From craving as a requisite condition comes clinging/sustenance.

From clinging/sustenance as a requisite condition comes becoming.

From becoming as a requisite condition comes birth.

From birth as a requisite condition, then aging-&-death, sorrow, lamentation, pain, distress, & despair come into play. Such is the origination of this entire mass of stress & suffering.

“Now which aging-&-death? Whatever aging, decrepitude, brokenness, graying, wrinkling, decline of life-force, weakening of the faculties of the various beings in this or that group of beings, that is called aging. Whatever deceasing, passing away, breaking up, disappearance, dying, death, completion of time, break up of the aggregates, casting off of the body, interruption in the life faculty of the various beings in this or that group of beings, that is called death.

“And which birth? Whatever birth, taking birth, descent, coming-to-be, coming-forth, appearance of aggregates, & acquisition of (sense) media of the various beings in this or that group of beings, that is called birth.

“And which becoming? These three becomings: sensual becoming, form becoming, & formless becoming. This is called becoming.

“And which clinging/sustenance? These four are clingings: sensuality-clinging, view-clinging, habit-&-practice-clinging, and doctrine-of-self-clinging. This is called clinging. [Or: These four are sustenances: sensuality-sustenance, view-sustenance, habit-&-practice-sustenance, and doctrine-of-self-sustenance.]

“And which craving? These six are classes of craving: craving for forms, craving for sounds, craving for smells, craving for tastes, craving for tactile sensations, craving for ideas. This is called craving.

“And which feeling? These six are classes of feeling: feeling born from eye-contact, feeling born from ear-contact, feeling born from nose-contact, feeling born from tongue-contact, feeling born from body-contact, feeling born from intellect-contact. This is called feeling.

“And which contact? These six are classes of contact: eye-contact, ear-contact, nose-contact, tongue-contact, body-contact, intellect-contact. This is called contact.

“And which six sense media? These six are sense media: the eye-medium, the ear-medium, the nose-medium, the tongue-medium, the body-medium, the intellect-medium. These are called the six sense media.

“And which name-&-form? Feeling, perception, intention, contact, & attention: This is called name. The four great elements, and the form dependent on the four great elements: This is called form. This name & this form are called name-&-form.

“And which consciousness? These six are classes of consciousness: eye-consciousness, ear-consciousness, nose-consciousness, tongue-consciousness, body-consciousness, intellect-consciousness. This is called consciousness.

“And which fabrications? These three are fabrications: bodily fabrications, verbal fabrications, mental fabrications. These are called fabrications.

“And which ignorance? Not knowing stress, not knowing the origination of stress, not knowing the cessation of stress, not knowing the way of practice leading to the cessation of stress: This is called ignorance.

“Now from the remainderless fading & cessation of that very ignorance comes the cessation of fabrications. From the cessation of fabrications comes the cessation of consciousness. From the cessation of consciousness comes the cessation of name-&-form. From the cessation of name-&-form comes the cessation of the six sense media. From the cessation of the six sense media comes the cessation of contact. From the cessation of contact comes the cessation of feeling. From the cessation of feeling comes the cessation of craving. From the cessation of craving comes the cessation of clinging/sustenance. From the cessation of clinging/sustenance comes the cessation of becoming. From the cessation of becoming comes the cessation of birth. From the cessation of birth, then aging & death, sorrow, lamentation, pain, distress, & despair all cease. Such is the cessation of this entire mass of stress & suffering.”

  === ที่มา ===
* https://www.buddha-quote.com/%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%88%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97/
* https://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=16&siri=1
* https://www.dhammatalks.org/suttas/SN/SN12_2.html



Create Date : 09 กันยายน 2561
Last Update : 9 กันยายน 2561 13:58:43 น. 1 comments
Counter : 246 Pageviews.

 
อนุโมทนาสาธุ ^_____^


โดย: สมาชิกหมายเลข 4427540 วันที่: 10 กันยายน 2561 เวลา:9:47:04 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.