ธารธรรมใสเย็นยิ่ง สุขได้
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
17 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 
ทาน กับ จาคะ บุญเหมือนกัน แต่ก็แตกต่างกัน...

"นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ" ....ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น
-----------------------------------------
ทาน คือการให้ การให้ก็มีทั้งวัตถุทาน และธรรมทาน
วัตถุทาน(บ้างก็เรียกว่าอามิสทาน) มีอะไรบ้าง
กล่าวคือ มี ๑๐ อย่าง คือ “ข้าว น้ำ ผ้า ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม ของลูบไล้ ที่นอน ที่พักอาศัย และประทีปโคมไฟ
กับทานอีกอย่างหนึ่ง คือธรรมทาน การให้ความรู้ เผยแพร่ธรรมะ แสดงธรรมตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า อริยสงฆ์ เป็นต้น
ลักษณะของการให้ทานนั้นมี ๒ ลักษณะ กล่าวคือ
๑. ทานที่เป็นไปเพื่ออาสวะ คือทานที่สามารถหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดไปได้ (ธรรมทาน อภัยทาน เป็นต้น)
๒. ทานที่ไม่เป็นไปเพื่ออาสวะ คือ ให้เพื่อหวังความสุขอยู่ในสังสารวัฏ เพื่อหวังผลตอบแทน เพื่อประโยชน์อื่นอันมิได้เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น

ทานนั้น ยังไม่ได้มุ่งความหวังความหลุดพ้นของใจที่มีกิเลส ก็คล้ายกับคนที่มีศีล แต่ยังไม่มีสมาธิ ไม่มีปัญญา
ทาน นั้นเหมาะสำหรับนักปฏิบัติที่เริ่มอยากจะเข้ามาเรียนรู้ เข้าใจในพระพุทธศาสนา เป็นคำตรัสสอนเบื้องต้น
ของผู้ที่มีศรัทธาก่อน


จาคะ
จาคะ คือการสละ เราจะเห็นได้ว่าธรรมโดยมาก เน้นที่ จาคะการสละ โดยมาก
เช่น
อริยทรัพย์ ๗
ทรัพย์ คือคุณความดีที่มีอยู่ในสันดานอย่างประเสริฐ เรียกอริยทรัพย์ มี ๗ อย่าง คือ
๑. สัทธา เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ
๒. สีล รักษา กาย วาจา ให้เรียบร้อย
๓. หิริ ความละอายต่อบาปทุจริต
๔. โอตตัปปะ สะดุ้งกลัวต่อบาป
๕. พาหุสัจจะ ความเป็นคนเคยได้ยินได้ฟังมาก คือ จาทรงธรรมและรู้ศิลปวิทยามาก
๖. จาคะ สละให้ปันสิ่งของของตนให้แก่คนที่ควรให้ปัน (ไม่ทรงตรัสว่าทาน)
๗. ปัญญา รอบรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์

ธรรมของฆราวาส ๔
๑. สัจจะ สัตย์ซื่อแก่กัน
๒. ทมะ รู้จักข่มจิตของตน
๓. ขันติ อดทน
๔. จาคะ สละให้ปันสิ่งของของตนแก่ผู้อื่นที่ควรให้ปัน (ไม่ทรงตรัสว่าทาน)

อธิษฐานธรรม คือธรรมที่ความตั้งไว้ในใจ ๔ อย่าง
๑. ปัญญา รอบรู้สิ่งที่ควรรู้
๒. สัจจะ ความจริงใจ คือประพฤติสิ่งใดก็ให้ได้จริง
๓. จาคะ สละสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความจริงใจ (ไม่ทรงตรัสว่าทาน)
๔. อุปสมะ สงบใจจากสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความสงบ


ที่นำมากล่าวเป็นตัวอย่างทั้งหมดนั้น เพราะพระพุทธองค์อยากให้ผู้ที่ต้องการจะหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด
ได้สามารถเรียนรู้ เพื่อจะได้เป็นทางก้าวเดินพัฒนาจิตใจของตนเอง ให้มากยิ่งขึ้น
หากจะเปรียบ ท่านก็เปรียบธรรมดั่งทะเล ผู้รู้น้อย ก็อยู่ใกล้ฝั่ง ผู้รู้แจ้งธรรมก็เหมือนอยู่ส่วนที่ลึกของทะเล เป็นไปตามลำดับ


"จาคะ"ในบารมี ๑๐ ?,
แต่หากจะมีข้อสงสัยว่า เหตุใด ทาน นั้นจึงเข้าจัดอยู่หนึ่งในบารมี ๑๐ ของพระพุทธเจ้า จาคะทำไมไม่มี
ถ้าเราจะศึกษาเหตุของการสำเร็จบารมีทั้ง ๑๐ แล้ว จาคะอยู่ในบารมีทั้ง ๑๐ ทั้งสิ้น ด้วยเพราะเหตุใด
ข้าพเจ้าจักขอนำมาแสดงให้เข้าใจ ดั่งนี้
๑. ทานบารมีี สละในสิ่งที่มี สละในความยึดมั่นถือมั่น
๒. ศีลบารมี สละในความเป็นผู้ไม่มีศีล
๓. เนกขัมมบารมี สละในการอยู่ครองเรือน สละการใช้ชีวิตอย่างผู้ครองเรือน
๔. ปัญญาบารมี สละในความโง่เขลา เบาปัญญา ความไม่รู้
๕. วิริยบารมี สละในความเกียจคร้าน ความเบื่อหน่ายความเพียร
๖. ขันติบารมี สละในความท้อถอย ความหดหู่
๗. สัจจะบารมี สละในความเป็นผู้หลอกลวง ไม่จริงใจ ไม่มีสัจจะ
๘. อธิษฐานบารมี สละในความไม่ตั้งใจไว้ให้ตรงต่อความดี
๙. เมตตาบารมี สละในความเป็นผู้ผูกโกรธ อาฆาต จองเวร
๑๐. อุเบกขาบารมี สละในความเป็นผู้มีความไม่วางเฉยต่ออารมณ์ทั้งที่น่าปราถนา และไม่ปราถนา
ทั้งที่เป็นที่รักและเป็นที่ไม่น่าใคร่

การสละก็คือจาคะ นั่นเอง

ก็เหตุใดข้าพเจ้าจึงกล่าวอย่างนั้น ก็ด้วยเพราะเหตุพระโพธิสัตว์นั้นยังมิได้ถึงความสิ้นไปแห่งกิเลสทั้งหลายเลย แท้จริงพระโพธิสัตว์นั้นยังมีกิเลสอยู่ เพียงแต่ต้องอาศัยการสละ ยิ่งสละได้มากเท่าใหร่ การที่จะบรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ก็ใกล้มากขึ้นเท่านั้น การสละอันเต็มเปี่ยมก็คือ การบำเพ็ญบารมีครบทั้ง ๑๐ ประการ
กำลังของการ(พยายาม)สละออก เพื่อให้บารมีทั้ง๑๐ ประการเต็มเปี่ยมบริบูรณ์ ท้ายที่สุดก็เป็นกำลังอันแรงกล้า ทำลายถอดถอนกิเลสของพระองค์ได้จนหมดสิ้น และสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า

การจะเข้าใจความหมายคำว่า จาคะนั้น จะต้องใช้ปัญญาพิจารณามากสักหน่อยหนึ่ง
ด้วยเพราะเป็นธรรมที่ทรงตรัสเกี่ยวข้องกับใจโดยตรง เป็นนามธรรม (ทานเป็นนามธรรมและรูปธรรม)
การทำบุญแต่ไม่อุทิศ นี่คือได้บุญจากการทำทาน แต่ไม่ได้บุญจากการเสียสละ
คือทำเพื่อยึดติด อันนี้เป็นภัยอย่างหนึ่งของทานทำไปโดยขาดจาคะ ขาดปัญญา คือทำเพราะอยากรวยบ้าง อยากให้ถูกรางวัลบ้าง ทำเพราะอยากเอาหน้า เป็นต้นอย่างนี้

นอกจากนี้ จาคะ ไม่ได้หมายถึงการสละ อย่างเดียว
แต่ จาคะ ยังหมายถึง “ไม่เอา” ได้อีกด้วย
เช่น ในห้องเรียน มีเด็กนักเรียนอยู่ทั้งหมด ๑๐ คน แต่มีขนมให้เด็กๆได้เพียง ๙ คนเพราะมีเพียง ๙ ชิ้น
มีเด็กนักเรียนคนหนึ่งบอกครูว่าตนไม่เอา(สละ)ขนมนั้น เป็นต้น
การกระทำของเด็กนักเรียนคนดังกล่าวก็คือการสละ เป็นจาคะเช่นกัน
และเป็นจาคะที่ต่อยอดเป็นทานต่อไป(บางคนได้ก่อน มาแบ่งที่หลังอย่างนี้เป็นทานมากกว่าจาคะ)

แล้วเราจะรู้จาคะไปเพื่ออะไร รู้ทานอย่างเดียวได้ไหม?
ขอตอบว่า ก็ได้หากจะหวังเพื่อความสุขอยู่ในสังสารวัฏนี้ เพราะทานนี้เป็นบุญให้ผลเป็นความสุขอย่างแน่นอน
แต่หากจะหวังหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดแล้วการเข้าใจเพียงคำว่า ทานนั้น คงไม่เพียงพอ จำต้องจะเข้าใจจาคะนี้เสียให้ได้ด้วย
บางคนทำทานเพราะกลัวความตาย แต่คนมีจาคะทำทานเพราะกลัวความเกิด
บางคนทำทานเพราะอยากให้จิตใจบริสุทธิ์ จะได้เข้าถึงนิพพานบ้าง
คนมีจาคะทำทานเพื่อมุ่งสละกิเลสตัณหา แล้วนิพพานก็แจ้งแก่เขาเองเมื่อสละกิเลสได้ทั้งหมด

สิ่งที่ควรเข้าใจ
จาคะนั้น ไม่ได้ใช้จำเพาะเจาะจงในทาน เพียงเท่านั้น เพราะใช้บ่อยร่วมกันจึงอาจจะเข้าใจว่าเป็นอย่างเดียวกัน หามิได้
จาคะใช้ได้กับการปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อกุศลได้ทั้งสิ้น เช่น ใครด่าว่าเราเราอาจจะโกรธ เราก็จาคะสละความโกรธเสีย
หรือ เราอยากได้ อยากมี ในสิ่งที่ไม่ควรมีควรได้ เราก็ควรสละความอยากมีอยากได้นั้นเสีย



....นี่คือความสุขุม ลุ่มลึก ในธรรมของพระพุทธเจ้าที่ทรงตรัสสอนแก่เราท่านทั้งหลายไว้
จะผิดหรือถูก ขอให้พิจารณาเถิด สิ่งใดที่ข้าพเจ้ากล่าวผิดพลาดพลั้งไป ข้าพเจ้าขออภัยมา ณ.ที่นี้
ขออนุโมทนาสาธุครับ




...............ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร
ในความบทหนึ่งมีว่า
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การดับตัณหาความอยากให้หมดไปจากใจด้วยการ ละ วาง ปล่อย และไม่คิดยินดีพัวพันอยู่กับตัณหาความอยากนั้นอีกเด็ดขาด คือ การดับทุกข์ให้หมดไปจากใจได้อย่างแท้จริง ฯ
สาธุ....

จากคุณ : ใจพรานธรรม
เขียนเมื่อ : 17 พ.ย. 52 00:50:27




Create Date : 17 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 17 พฤศจิกายน 2552 0:59:51 น. 6 comments
Counter : 4405 Pageviews.

 
แวะมาเยี่ยมค่ะ


โดย: CrackyDong วันที่: 17 พฤศจิกายน 2552 เวลา:2:43:27 น.  

 
ขอบคุณสำหรับเรื่องราวดีๆ ค่ะ


โดย: Elbereth วันที่: 17 พฤศจิกายน 2552 เวลา:9:54:45 น.  

 
จำต้องแยกก่อนว่า
จาคะ เป็นนามธรรม
(วัตถุ)ทานเป็น เป็นรูปธรรม

จาคะ เอาที่ใจสละเป็นเบื้องต้น
กว่าที่เราจะทำทานได้ จาคะต้องเกิดก่อน
กล่าวคือ จาคะ สละในวัตถุทาน(หรือธรรมทาน)นั้น

จาคะหมายเอา ใจที่สละ
ทาน หมายเอาวัตถุที่จาคะได้สละ

แต่เราใช้สองคำนี้ร่วมกันอยู่บ่อยๆ เลยเข้าใจผิด คิดว่าเป็นคำๆเดียวกัน
ซึ่งความจริงมีสองนัย นัยของจาคะ หมายถึง ใจ
นัยของทาน หมายถึง วัตถุรูปธรรม
บางคนทำทาน ทำเพราะจาคะแต่ในวัตถุทาน แต่ไม่จาคะในจิตใจ(ทำเพื่อหวังผลอันมิควร)

ดังนั้น จาคะที่สละ ไม่ได้สละแต่ทานอย่างเดียว
แต่จาคะยังสามารถสละได้ กับอกุศลธรรมได้ด้วย
ถ้าเราใช้จาคะร่วมกับคำอื่นบ่อยๆ ไม่นานเราจะรู้ว่าจาคะไม่ได้ใช้ร่วมได้แต่
กับคำว่าทานเพียงอย่างเดียว
เปรียบเหมือน จาคะ เป็นกระบอกตักน้ำ
ทานเปรียบเหมือน การให้น้ำดื่มแก่ผู้ต้องการดื่ม
น้ำใสสะอาดที่อยู่ในอ่าง ก็คือวัตถุทาน
โอ่ง ก็คือจิตใจ

หากจะมีผู้ต้องการดื่มน้ำ เค้าก็ต้องตักน้ำด้วยกระบอกน้ำนั้น ให้แก่ผู้ขอคือการทำทาน คือการให้
และขณะที่ตักน้ำออก นั้นเป็นจาคะตักออก สละออกไม่ทำหวังเพื่อตักเข้ามา
แม้น้ำ(วัตถุทาน)จะหมดไป แต่จาคะนั้นยังมุ่งหวังอยากจะสละออกไปได้เรื่อยๆ คือไปตักน้ำจากตุ่มที่มีน้ำจากใหนอีกก็ได้
ก็ใช้จาคะ ใช้กระบอกน้ำอันเดิมนั้นล่ะ ใช้การสละอันนั้นล่ะ
ใช้จาคะกระบอกนั้น อาบดื่มให้แก่ตนก็ได้

จาคะจึงเป็นธรรมที่บริสุทธิ์ มุ่งหวังให้ผู้ปฏิบัติได้ สละในสิ่งที่เกาะเกี่ยวจิตใจ (กิเลส)
ส่วนทานนั้น มุ่งหวังให้ผู้ปฏิบัติได้สละในวัตถุ ที่เกาะเกี่ยวจิตใจ

หากจะให้เข้าใจมากขึ้น อย่าใช้จาคะร่วมกับทานเพียงอย่างเดียว ให้หมั่นใช้จาคะร่วมกับคำอื่นๆที่เป็นอกุศลบ่อยๆ แล้วความเข้าใจ ปัญญาจักเกิดขึ้นเอง
เช่นเวลานั่งสมาธิ แต่ก่อนเราคิดว่าทำเพื่อความสงบของจิตใจ เราอาจมาใช้คำว่า เรามาทำสมาธิเพื่อมาจาคะนิวรณ์
เรารักษาศ๊ล เพราะเราจาคะจากอบาย จาคะความทุกข์อันเนื่องจากการละเมิดในศีล
เรามาศึกษาธรรมว่า จาคะ เพราะเราต้องการจาคะโมหะความไม่รู้ออกไป ให้รู้ว่าแตกต่างกันกับคำว่า ทาน

มุมมองการคนที่เห็นธรรมตามจริงอย่างนี้
ย่อมชัดเจนกว่า เหมือนรู้ว่าอะไรที่ควรละ ควรสละ
คนที่รู้ชั่ว แล้วทำดี ย่อมดีกว่า คนที่มุ่งทำดีแต่ไม่รู้จักความชั่ว
เพราะอะไร เพราะบางทีที่คิดว่าดีกลับเป็นชั่วไปเสีย

บางคนทำดีเพื่อให้ความดีพาเข้าถึงนิพพาน
อีกคนทำอย่างไรก็ได้ ให้กิเลสถูกทำลายหมดสิ้นก็พอ

คนรู้เข้าใจจาคะ ก็เหมือนรู้อะไรที่ควรละ ควรสละในจิตใจ
คนที่รู้ทาน รู้การให้ ก็เหมือนรู้ว่าอย่างนี้ทำแล้วดีๆ ทำแล้วสุข แต่สุขเพราะอะไร สุขเกิดจากใหน ทำไมบางทีทำแล้วทุกข์อย่างนี้ ก็มี
เหมือนคนที่ต้องการแสงสว่าง เอามีดมาฟัน เอาปืนมายิง ต้องการให้ความมืดออกไป เขาย่อมไม่ได้แสงสว่างจากการกระทำอย่างนั้นเลย

คนมีปัญญาเค้าย่อมรู้ว่าแค่ให้ความสว่างเกิด แล้วความมืดก็หายไปเอง
คนรู้จักจาคะก็ฉันนั้น รู้ว่าอะไรที่ควรสละ อะไรที่ควรละ

เมื่อรู้จักว่าจะสละอะไร รู้จักละอะไร ก็รู้จักการให้ การทำทาน
อันจะช่วยลด ละ ทำลายกิเลส สละอย่างหมดสิ้นต่อไป.

ขอให้ใช้จาคะบ่อยๆ ใช้จาคะร่วมกับธรรมใดๆก็ได้ ใช้จาคะ
เพื่อที่จะละ เพื่อจะสละอะไร
ถ้าเราทำกุศลอย่างหนึ่งอย่างใดอยู่ สามารถใช้จาคะเพื่อรู้
กุศลธรรมที่เรากำลังปฏิบัติอยู่นั้น เราจาคะอกุศลธรรมใด
หากรู้จาคะอกุศลธรรม ที่เรากำลังเจริญกุศลธรรมได้
ก็ขอให้มั่นใจในการปฏิบัติ ว่าตรง ว่าถูกต้อง ว่าชอบแล้ว
เพราะรู้ทั้งธรรมที่ควรเจริญ และรู้ทั้งธรรมที่ควรละ ควรสละ
เพราะถ้าไม่รู้ว่า จะจาคะสละอกุศลธรรมอะไร การเจริญกุศลธรรมนั้น จะให้ถูกต้อง เป็นไปเพื่อลด ละ ทำลายกิเลสไม่ได้เลย

เหมือนเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่รู้ว่านี่คือการกระทำของโจร
แต่ก็ยังไม่รู้ว่าโจรนี้คือใคร โจรนี้ชื่ออะไร โจรนี้อยู่ที่ใหน
แล้วจะจับโจรได้อย่างไร ฉันใด

คนที่ไม่รู้จักจาคะว่าจะสละอกุศลธรรมใด เมื่อกำลังเจริญกุศลธรรมอยู่ ก็ฉันนั้น
ขอนุโมทนาสาธุครับ


โดย: ใจพรานธรรม วันที่: 17 พฤศจิกายน 2552 เวลา:11:48:14 น.  

 
เป็นบทสรุปเรื่องทาน และจาคะ ที่ดีเยี่ยมครับ


โดย: อัสติสะ วันที่: 17 พฤศจิกายน 2552 เวลา:21:12:21 น.  

 
ขอบคุณค่ะพี่

ที่แวะไปให้กำลังใจน้อง

ดีใจเป็นที่สุดเลยค่ะ

ยินดีมากเลยค่ะพี่





โดย: MotherBJ วันที่: 26 พฤศจิกายน 2552 เวลา:20:55:08 น.  

 
ยอมรับว่า งง กับ คำ ๆ นี้มานานแล้ว

ก็สับสน กับ คำว่า ทาน นั่นแหละครับ

ขอบคุณมากครับ ที่ ให้ความกระจ่าง ...


โดย: trialuck IP: 124.121.189.4 วันที่: 25 มกราคม 2554 เวลา:7:34:21 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ใจพรานธรรม
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




มีหลายเรื่องที่ควรสงสัย แต่เราไม่สงสัยในสิ่งต่างๆนั้นแล้ว
เราศรัทธาแต่ในพระรัตนตรัย

..แม้เทวดา มารหรือพรหม จะมีหรือไม่มีอยู่จริง
เราก็มีธรรม มีปัญญารู้ในสิ่งต่างๆนั้นด้วยตนเองแล้ว
ทั้งปัญญา ทั้งศรัทธา เป็นสิ่งที่ท่านต้องสร้างให้เกิดขึ้นเอง
ใครสร้างท่านไม่ได้

พระพุทธเจ้า พระองค์ดุจผู้บอกทางให้เท่านั้น
จะเดินหรือไม่ เรามิได้กล่าวโทษตำหนิท่านแต่อย่างใดเลย
ท่านเชื่อ ท่านก็เดิน ท่านไม่เชื่อก็ควรแล้ว ที่ท่านจะสงสัยควรแล้วที่ท่านจะปฏิบัติ เพื่อคลายความสงสัยนั้น
S! Radio
Express 4
เพลง ทานตะวัน ---ฟอร์ด
ศิลปิน รวมศิลปิน : Express
อัลบั้ม Express 4
ดูเนื้อเพลงคัดลอกโค้ดเพลงนี้
ขอบคุณ code และ ภาพ จากคุณ aggie_nan ตามลิงค์ที่อยู่ ด้านล่างครับ
Friends' blogs
[Add ใจพรานธรรม's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.