Iceicy Blog Dhamma หน้าแรก หลักธรรม ปรัชญา ท่องเที่ยวธรรม เก็บตกธรรม บทสวดมนต์ บทเพลงธรรม เว็บบอร์ด iceicy ไอที ไดอารี่
Link to us:
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
8 กรกฏาคม 2551
 
All Blogs
 
วิธีดับทุกข์ เพราะ...บุญ















วิธีดับทุกข์ เพราะ...บุญ




เมื่อเห็นหัวเรื่องนี้ หลายท่านคงจะเกิดความสงสัยขึ้นมาตะหงิด ๆ ละสิว่า มีด้วยหรือทุกข์เพราะบุญ ? ขอตอบว่า มี และมีอยู่ทั่วไปเสียด้วย

เอ๊ะ ....ก็ไหนว่าบุญเป็นชื่อของความดี หรือความสุข ไฉนการทำบุญจึงต้องมีความทุกข์ด้วยเล่า ? เอ...ชักจะเขียนเลอะเทอะเสียแล้ว กระมัง ? ไม่หรอก ! ทั้งนี้และทั้งนั้น ก็เกิดจาการ เราทำไม่ถูกบุญ และไม่ถึงบุญด้วยมันจึงเกิดความทุกข์ขึ้น เช่น

- อยากสร้างพระพุทธรูป สร้างศาลา สร้างกุฏิ สร้างพระไตรปิฎก สร้าง..แต่ท่านสมภารไม่ต้องการ จะเป็นเพราะมีมากแล้วหรือเหตุใดก็ตาม
- อยากไปทำบุญวัดนี้ แต่ไม่ชอบหน้าท่านสมภาร หรือพระลูกวัดบางรูป จะไปทำวัดอื่นก็ไม่มี หรือมีแต่อยู่ไกล
- อยากให้วัดข้างบ้านมีการศึกษาและปฏิบัติธรรมและนำมาสอนชาวบ้านบ้าง แต่ก็ไม่มีตามต้องการ
- อยากให้พระท่านต่อชะตา ต่ออายุ เป่าหัวให้โชคดี ผูกดวงให้ท่านก็ไม่ทำให้
- อยากไปวัด แต่ก็เบื่อการรีดไถ การก่อสร้าง หรือการเรี่ยไรบอกบุญทั้งปีของวัด
- อยากทำบุญให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ก็ทำไม่ได้ เพราะยากจน ต้องไปทำงานทุกวัน อยาก ฯลฯ

ความอยากอะไรก็ตาม ถ้าไม่ได้สนองความอยาก มันก็เป็นความทุกข์ชนิดหนึ่ง ท่าน พ.อ. ปิ่น มุทุกันต์ ท่านว่าเป็น "ความทุกข์ของนักบุญ" คือทุกข์เพราะอยากทำดี แล้วไม่ได้ทำ หรือทำไม่ได้
ทั้งนี้และทั้งนั้น ก็เกิดจากความไม่เข้าใจ ในเรื่องของการทำบุญนั่นเอง ถ้ารู้จัก "ตัวบุญ" อย่างถูกต้องและแท้จริงแล้ว การทำบุญก็จะกลายเป็นเรื่องง่ายดายยิ่งกว่าการพลิกฝ่ามือคว่ำหรือหงาย ไม่ต้องใช้เงินและใช้เวลา หรือแรงงานเสียด้วยสิ

ในปุญญกิริยาวัตถุสูตร (๒๒/๒๑๕) พระพุทธเจ้าได้ตรัสเรื่องการทำบุญไว้ ๓ ประการคือ
๑. บุญกิริยาวัตถุ สำเร็จด้วยทาน
๒. บุญกิริยาวัตถุ สำเร็จด้วยศีล
๓. บุญกิริยาวัตถุ สำเร็จด้วยภาวนา

ส่วนในอรรถกถา ท่านได้ขยายออกไปอีก ๗ ประการ คือ
๔. อปจายนมัย (ทำบุญด้วยการ ประพฤติอ่อนน้อม)
๕. เวยยาวัจจมัย (ทำบุญด้วยการ ขวนขวายรับใช้)
๖. ปัตติทานมัย (ทำบุญด้วยการ ให้ความดีแก่ผู้อื่น)
๗. ปัตตานุโมทนามัย (ทำบุญด้วยการ ยินดีบุญของผู้อื่น)
๘. ธัมมัสสวนมัย (ทำบุญด้วยการ ฟัง-อ่านธรรมะ)
๙. ธัมมัสเทสนามัย (ทำบุญด้วยการ สั่งสอนธรรมะ)
๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ (ทำบุญด้วยการ ทำความเห็นให้ตรง)
หลักการทำความดีในพุทธศาสนา ทั้งหมดมีอยู่ ๓ พวกใหญ่ๆ คือทาน ศีล และภาวนา แม้จะขยายออกไปอีก ๗ ข้อ ก็ไม่มีทาน คือ ไม่ต้องใช้วัตถุสิ่งของหรือเงินเลย

ผู้ที่อยากทำโน่นทำนี่ แล้วไม่ได้ทำนั้น ส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องของทาน ถ้าเป็นการทำบุญด้วยศีล ด้วยภาวนาและต่อไปอีก ๗ ข้อแล้ว ก็เกือบไม่ต้องใช้เงินเลย เช่น

การรักษาศีล ทำที่ไหนก็ได้ ทำวันไหนก็ได้ รักษาศีล ๘ ไม่ได้ ก็เอาแต่ศีล ๕ ไปก่อน ก็ดีมากแล้วสำหรับชาวบ้าน ไปรับกับพระที่วัดไม่ได้ ก็ตั้งใจเจตนางดเว้นเอาเอง หรือรับทางวิทยุอยู่กับบ้านก็ได้
- การเจริญภาวนา ด้วยการทำสมาธิ- วิปัสสนา ศึกษาวิธีการและความหมายให้เข้าใจ แล้วจะทำที่ไหนก็ได้ จะนั่งทำ เดินทำยืนทำหรือนอนทำ
- อีก ๗ ข้อต่อไป ไม่ไปวัดไม่ต้องหยุดงานก็ทำได้ ไม่มีอะไรขัดข้อง ถ้าเราตั้งในจริงที่จะทำ

ชาวพุทธส่วนมากมักจะติดอยู่แต่ทานเห็นคนอื่นเขาทำกันโครม ๆ ก็อยากจะทำตามเขาบ้าง แต่วัตถุมันไม่อำนวยก็เลยมีความทุกข์ใจ น้อยใจในวาสนาของตน

การทำบุญหรือทำความดี ในทางพุทธศาสนานั้น จะต้องไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน จึงจะถือว่าเป็นบุญด้วยการรักษาศีล และเจริญภาวนาก็ได้ แถมเป็นบุญที่สูงกว่า และประเสริฐกว่า ชนิดเทียบกันไม่ได้เลยเพราะสามารถตัดเวรภัย ทำให้หมดภพชาติ และดับทุกข์สิ้นเชิงได้ด้วย

ดังนั้น ชาวพุทธที่ดี จึงไม่ควรที่จะติดอยู่ในขั้นใดขั้นหนึ่ง ไม่ว่า ใน ๓ ขั้นหรืออีก ๗ ขั้นก็ตาม การอ้างว่าไม่มีเงินไม่มีเวลา แล้วไม่ไปทำบุญ เป็นการอ้างของคนปัญญานิ่ม ไม่รู้จักคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง หรืออย่างถูกต้อง

แต่ว่าก็ว่าเถอะ คนที่ชอบอ้างที่ว่านี้ส่วนมากก็เป็นคนไม่ชอบไปวัดไปว่า ไม่สนใจธรรมะธัมโมอยู่แล้ว แต่ยังเกรงคนอื่นเขาจะไม่มีศาสนาก็เลยยกเอางานและเงิน มาเป็นกำแพงกั้นแบบ "ขายผ้าเอาหน้ารอด"ไว้ก่อน

ทางแก้
๑. หลักใหญ่ของคำสอนทางพุทธศาสนามีอยู่ ๓ ขั้น คือ ทาน ศีล ภาวนา ควรทำให้ครบทั้ง ๓ ขั้น ถ้าขั้นไหนทำไม่ได้ทำไม่สะดวกก็ควรจะเลื่อนไปทำในขั้นต่อไป ไม่ควรย่ำเท้าอยู่กับที่ เพราะจะไม่ได้พบสิ่งสูงสุดในพุทธศาสนา
๒. พุทธศาสนาให้อิสระเสรีในการทำความดี ไม่มีขีดขั้น พอใจทำก็จงทำ ไม่พอใจหรือไม่นับถือ ก็ไม่ต้องทำ ไม่ต้องนับถืออย่าเอาข้ออ้างมาเป็นฉาก
๓. การทำความดีหรือทำบุญ ควรทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ อย่าเห็นแก่หน้าหรือค่านิยม จะได้บุญแรง
๔. ไม่ว่าจะอยู่บ้านหรืออยู่ที่ทำงาน ถ้ารู้จักตัวบุญแล้ว จะทำบุญได้ทุกที่ทุกเวลา
๕. บุญยอดบุญ คือ การทำให้จิตใจสงบและเย็น ด้วยการเจริญสติสมาธิและวิปัสสนา

อ้างอิง : หนังสืออภิมหามงคลธรรม หน้า ๒๙๓ ถึง ๒๙๖



Create Date : 08 กรกฎาคม 2551
Last Update : 9 กรกฎาคม 2551 16:34:51 น. 1 comments
Counter : 1647 Pageviews.

 
ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ เคยได้ยินมาเกมือนกันว่า การทำบุญที่ได้ผลสูงสุดคือ การนั่งสมาธิวัปัสสนา


โดย: walkerahead (Walkerahead ) วันที่: 11 กรกฎาคม 2551 เวลา:10:19:23 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

lcelcy
Location :
ชลบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




มิถุนายน เดือนดี๊ดี " จุดกำเนิด iceicy's blog Dhamma"
ครบรอบ ๗ ปี แล้วค่ะ"

คนมาจากไหน?
เริ่มจาก เกิด แก่ เจ็บ และก็ตาย
คนก็หายไป !!...แต่ความดีไม่เคยหายไปด้วย..
ทุกคนจำวันเกิดตัวเองได้ไหม... ก็คงจำได้กันหมดอะน่ะ
เคยคิดจะทำอะไรดีดี....
ให้กับตัวเองและคนอื่น..ในวันครบรอบวันเกิดของตัวเองไหมค่ะ?

ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปีพ.ศ. ๒๕๔๙ (๗ ปีได้ผ่านมาแล้ว)
ฉันได้ทำสิ่งที่ชอบ และชอบในสิ่งที่ฉันได้ทำ
สิ่งนั้น คือ " บล๊อกเกี่ยวกับหลักธรรมข้อคิดต่างๆ "
เริ่มจากทำไม่เป็น ลองผิดลองถูก ทำจนสำเร็จ
ทั้งนี้ ขอขอบพระคุณ " กำลังใจ " คนรอบข้าง
และทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยม iceicy's blog Dhamma น่ะค่ะ
(ซึ้งน่ะซึ้งน่ะเนี่ย!!!!)
<

วัตถุประสงค์ iceicy blog Dhamma
1. เพื่อเผยแพร่และสนับสนุนส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้อยู่คู่กับประเทศไทย
2. เพื่อนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในทางพระพุทธศาสนา
3. เพื่อแบ่งปันความรู้ทางพระพุทธศาสนา และแลกเปลี่ยนข่าวสารทั่วไป
4. สรรเสริญบุคคลที่ควรสรรเสริญ ยกย่องบุคคลที่ควรยกย่อง

Google



Link to us:
ท่านสามารถนำ code ของ banner นี้
ไปติดที่เว็บของท่านได้ตามสะดวกน่ะค่ะ
ขอขอบคุณและขออนุโมทนามา ณ ที่นี้ด้วยน่ะค่ะ

Iceicy blog dhamma



New Comments
Friends' blogs
[Add lcelcy's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.