บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
พฤศจิกายน 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
22 พฤศจิกายน 2552
 

วิตามินDช่วยแรงดี+ลดอ่อนเพลีย [EN]

หนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทมส์ ตีพิมพ์เรื่อง 'Gretchen Reynolds. Phys Ed: Can vitamin D improve your athletic performance?' [ nytimes ]


แปลว่า "พลศึกษา: วิตามิน D ทำให้สมรรถภาพในการออกกำลัง (แข่งขันกีฬา) ของคุณเพิ่มขึ้นไหม?" เรื่องนี้เขียนโดยท่านอาจารย์เกรทเชน เรย์โนลส์ ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ


...


เร็วๆ นี้นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันกีฬาออสเตรเลียทำการตรวจสอบหาระดับวิตามิน D ในนักยิมนาสติกผู้หญิงระดับแนวหน้า 18 คน ผลการศึกษาพบว่า 15 รายต่ำกว่าเกณฑ์ ในจำนวนนี้ 6 รายอยู่ในระดับขาดวิตามิน


กลไกที่เป็นไปได้ คือ นักยิมนาสติกได้รับแสงแดดอ่อนค่อนข้างน้อยกว่านักกีฬาทั่วไป


...


การศึกษาอีกรายงานหนึ่งพบนักวิ่งระยะไกลที่ฝึกกลางแจ้งในรัฐลุยเซียนา US มีระดับวิตามิน D ต่ำ 40%


เดิมเชื่อกันว่า วิตามิน D ช่วยให้กระดูกเจริญเติบโตได้อย่างเดียว ทว่า... หลักฐานใหม่ๆ พบว่า วิตามินนี้ทำงานแบบครอบจักรวาล


... 


ตัวอย่างเช่น ช่วยให้ร่างกายใช้แคลเซียมได้ดี ช่วยการเจริญเติบโตของเส้นใยกล้ามเนื้อ ช่วยการเจริญเติบโต และเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค ฯลฯ


แถมยังพบว่า เซลล์เกือบทั้งหมดในร่างกายมีตัวรับ (receptors) วิตามิน D ซึ่งบอกเราว่า วิตามินนี้น่าจะทำหน้าที่อย่างกว้างขวาง


...


การศึกษาขนาดใหญ่ตีพิมพ์ในปีนี้ (Pediatrics, August 2009) รายงานว่า เด็กอเมริกันมากกว่า 60% มีระดับวิตามิน D ต่ำกว่าเกณฑ์ ในจำนวนนี้ 9% อยู่ในระดับขาดวิตามิน


การศึกษาในรัสเซียและเยอรมนีตะวันออกบ่งชี้ว่า การเสริมวิตามิน D น่าจะช่วยให้สมรรถภาพทางกีฬาดีขึ้น (ประเทศเหล่านี้ใช้ตะเกียง UV เสริมในยุคคอมมิวนิสม์)


...


การศึกษาหนึ่งทำในนักวิ่งรัสเซีย แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับ UV เทียมกับไม่ได้ UV, ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่ได้ (4 คน) วิ่ง 100 เมตรได้ดีขึ้น 7.4%, ขณะที่กลุ่มไม่ได้ UV วิ่งตกลง 1.7%


การศึกษาขนาดเล็ก (= กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนน้อย) เร็วๆ นี้ทำในนักกระโดดสูงวัยรุ่นพบว่า นักกีฬาที่มีระดับวิตามิน D ต่ำ กระโดดสูงได้น้อยกว่า


...


การศึกษาจากมหาวิทยาลัยไครทันพบทหารเรือใหม่ผู้หญิง (female naval recruits) มีปัญหากระดูกหักจากการใช้งานซ้ำซาก (stress fractures) ลดลงไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อได้รับวิตามิน D และแคลเซียมเสริม


กระดูกหักจากการใช้งานซ้ำซากพบได้ในทหารที่เดินทางไกล นักวิ่งระยะไกล คนที่เดินหรือวิ่งติดต่อกันนาน และพบบ่อยมากในการฝึกหน่วยรบพิเศษ


... 


กลไกที่เป็นไปได้ คือ เวลาคนเราเดินหรือวิ่ง... กระดูกจะมีรอยร้าวขนาดเล็ก (microfractures) ซึ่งถ้าได้รับอาหารและนอนมากพอ... ร่างกายจะซ่อมแซมใหม่ ทำให้กระดูกหนาและแข็งแรงเพิ่มขึ้น


แต่ถ้ารอยร้าวสะสม เช่น ปวดแล้วไม่มีโอกาสพัก ฯลฯ หรือนอน-พักผ่อนไม่พอ รอยร้าวเหล่านี้จะสะสม ลุกลาม ทำให้กระดูกหักจริงๆ ได้


...


การศึกษาจำนวนมากพบว่า นักกีฬาที่ฝึกกลางแจ้งตลอดปีจะมีสมรรถภาพระบบหัวใจ-การไหลเวียนเลือด ซึ่งคิดจากอัตราการใช้ออกซิเจนสูงสุด (maximal oxygen intake) สูงสุดตอนปลายฤดูร้อน และต่ำลงในฤดูหนาว


ระดับวิตามิน D วัดในรูปมาตรฐาน [ 25(OH)D ] ควรมีระดับเกิน 50 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตรขึ้นไป


...


คนเราควรได้รับวิตามิน D 400 หน่วยสากล (IU)/วัน คาดว่า เร็วๆ นี้น่าจะมีการทบทวนปริมาณวิตามิน D ใหม่ และอาจมีคำแนะนำให้กินเพิ่มเป็น 1,000 IU/วัน


การกินวิตามินรวมวันละเม็ดมีความปลอดภัยสูง ควรกินพร้อมอาหาร เนื่องจากวิตามิน D ต้องอาศัยไขมันเป็นตัวทำละลาย และพาเข้าสู่กระแสเลือด


...


การรับแสงแดดอ่อน (ก่อน 9.00 น. และหลัง 16.00 น.) วันละ 10-15 นาทีมีส่วนช่วยเพิ่มระดับวิตามิน D ได้


วิธีรับแสงแดดที่ดี คือ พยายามให้ผิวหนังส่วนที่ไม่ค่อยโดนแดด เช่น ขา ลำตัว ฯลฯ มีโอกาสได้รับแสงบ้าง เช่น สวมเสื้อ-กางเกงขาสั้น ใช้เสื้อผ้าที่ผ้าไม่หนาเกิน ฯลฯ


...


ถ้ากลัวหน้าแก่จากแสงแดด... จะทายากันแดดที่หน้า-ใบหู สวมแว่นกันแดด สวมหมวกก่อนไปรับแสงแดดอ่อนก็ได้ ขอเพียงให้แขน ขา ลำตัวได้รับแดดบ้างก็พอแล้ว



ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ


...


ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา                                


ต้นฉบับเรื่องนี้คือ 'Phys Ed: Can vitamin D improve your athletic performance?' = "พลศึกษา: วิตามิน D เพิ่มสมรรถภาพ(ในการแข่งขัน)กีฬาของคุณได้หรือไม่?"


...


@ Phys = physical = เกี่ยวกับร่างกาย; Ed = education = การศึกษา > Phys Ed = พลศึกษา


@ improve = ทำให้ดีขึ้น มากขึ้น


@ athlete = กีฬา กรีฑา > athletic = เกี่ยวกับกีฬา กรีฑา


@ perform = ทำหน้าที่ ทำงาน > performance = สมรรถภาพ สมรรถนะ


...


 ติดตามบล็อกของเราได้ทางทวิตเตอร์ > [ Twitter ]


ที่มา                                                         







  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 22 พฤศจิกายน 2552.




  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.








Free TextEditor


Create Date : 22 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 22 พฤศจิกายน 2552 22:04:21 น. 0 comments
Counter : 507 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com