Wakabayashi Genzo!!!
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2549
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
3 สิงหาคม 2549
 
All Blogs
 
Beethoven's Symphony No.5 แบบ Mono

Blogg นี้ก็ยังไม่ไปไหนไกลจาก Germany, Beethoven, Symphony, และ Wilhelm Furtwängler ครับ อย่าเพิ่งเบื่อกันนะครับ



Symphony หมายเลข 5 ของ Beethoven นั้นเรียกได้ว่าเป็น Symphony ที่ถูกนำมาบรรเลง และบรรทึกเสียงบ่อยครั้งมากที่สุด วง Symphony Orchestra ชั้นนำทุกวงต้องเคยผ่านการแสดง Symphony No.5 มาแล้วทั้งสิ้น รวมถึงวาทยากรแทบทุกคนเรียกได้ว่า ต้องเคยกำกับ Symphony บทที่มากันแล้วทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการแสดง Concert สดๆ หรือเล่นเพื่อบันทึกเสียง ขนาดตัวผมเองเคยไปยืนโบกไม้โบกมือ แบบนี้อยู่แค่สองสามครั้งสมัยเป็นนักเรียน ก็ยังเคยกำกับ Symphony No.5 เลยครับ(เว่อร์จริงๆ)

แผ่นที่มาคุยให้ฟังในวันนี้เป็น Beethoven Symphony No.5 โดย Furtwängler กับ Berliner Philharmonic ในปี 1947 ครับครั้งแรกที่ลองเปิดเล่นดู ก็รู้สืกว่าผิดหวังเล็กน้อย เมื่อพบว่าเป็นการบันทึกแผ่นแบบ Mono อีกแล้วครับ แต่พอมาคิดว่าสมัยปี 1947 เนี่ยมีให้ฟังกันได้ถึงเดี๋ยวนี้ก็บุญโขแล้วครับ ส่วนคำว่า Sterio คงยังคลานต้วมเตี้ยมอยู่ในยุคนั้น ผมจึงเลิกทำตัวหูเพชรมาสนใจด้านดนตรีในแผ่นมากขึ้น

Symphony No.5 ของ Beethoven นั้นเป็นมายังไงเมื่อไรแค่ไหนอย่างไร คงไม่ต้องพูดมากนะครับด้วยความ Popular ของเพลง มาว่ากันถึงแผ่นนี้ดีกว่าครับ

1st Movement: Allegro con brio หรือเร็วอย่างมีพลัง เป็นท่อนที่ผู้คนทั่วโลกไม่ว่าจะนิยมเพลง Classic หรือไม่ก็ตามคงรู้จัก โน๊ตสีตัวแรกของเพลงใน CD ชุดนี้นั้นเต็มไปด้วยพลัง ดังที่บอกไว้ว่า con brio จริงๆครับ เป็นที่ถกเถียงกันว่า ควรจะเล่นโน๊ตในสี่ห้องแรกของ Movement นี้อย่างไร เพราะว่า ฯ ปั๊ม ปั๊ม ปั๊ม ป่าม ทั้งสองอันนั้นถูกกำกับด้วยเครื่องหมาย หยุด Furtwängler นั้นเลือกที่จะใช้จังหวะเร็วในการเล่นโน๊ต 4 ห้องแรกของเพลงแถมยังให้กลุ่มเครื่องสาย เล่นอย่างหนักหน่วงในหางเสียงของโน๊ตตัวที่ 4 (งงหละสิ) ซึ่งถูกใจผมว่ากว่า แผ่วเสียงลงแบบทั่วๆไป

ส่วนในท่อนนั้นต้องบอกว่า วงดุริยางค์นั้นบรรเลงได้ Powerfull จริงๆครับ เสียงกลอง Timpany ทำให้รู้สึกเหมือนกับเสียงเคาะประตูแรงๆเหลือเกิน การที่โน๊ต 4 ตัวบรรเลงสลับประสานกันทำให้รู้สึกเหมือน การถูกรุมเร้าด้วยชะตากรรมดังที่ Beethoven บอกจริงๆ (โน๊ตนั้นบอกว่า เร็วด้วยเลขกำกับจังหวะ สองสองที่แม่กุญแจ น่าจะแปลว่า เล่นโน๊ต 1 ห้องด้วยสองจังหวะ Allegro)

2nd Movement: Allegro con moto เป็นการคร่ำครวญ ถึงชะตากรรมที่ได้รับ สลับกับความกล้าหาญที่โผล่แบบวูบๆกล้าๆกลัวๆอยู่ เหมือนคนที่ล้มลงจากเคราะห์หามยามร้ายกำลัง ตัดสินใจลุกขึ้นสู้ อาจยังอ่อนแรง แต่ก็ยังหาทางลุกขึ้นใหม่ ท่อนนี้ต้องยกให้กับกลุ่ม Woodwind เป็นพระเอกครับ จับในเหนือบรรยาย เสียดายตัวอย่างเพลงที่หามา มีสั้นเหลือเกิน อยากฟังของเต็มๆอุดหนุนลิขสิทธิ์นะครับ

3rd Movement: Scherzo Allegro เป็นท่อนที่เริ่มต้นแบบขนลุกนิดๆ แต่เสียงแตร French Horn นั้นประกาศสักดาได้อย่างถึงใจ ราวกับผู้ตัดสินใจได้ว่า มัวท้ออยู่ใยสู้ไปดีกว่า ทั้ง Movement จะเห็นได้ว่าเป็นการ สลับกันระหว่างความกล้าและความกลัวไปเรื่อยๆ อะไรจะชนะก็ต้องอยู่ที่ใจคนครับ

4th Movement: Allegro สรุปว่า Symphony บทนี้เร็วทุกท่อน เป็นการบรรเลงต่อเนื่องมาจาก Movement ที่ 3 แบบไม่มีหยุด และไถจาก สเกลไมเนอร์ เป็นเมเจอร์แบบเนียนมาก เป็นการประกาศชัยชนะขั้นเด็ดขาดของมนุษย์เหนือชะตากรรมทั้งปวง ในเพลงแม้ จะมีเสียงจาก melody ของท่อนแรกๆวนกลับมา หลอกหลอน แต่ก็ถูกเสียงแห่งชัยชนะบดทับแบบไม่มีชิ้นดี ราวกับจะบอกว่า เมื่อตัดสินใจลุกขึ้นสู้แล้ว อุปสรรคใดๆที่เคยมีก็เล็กไปถนัดใจ กลุ่มเครื่อง Brass ของ Berliner ทำได้ดีมากในจุดนี้ซึ่งเป็นจุดเด่นมาช้านานของพวกเขา ต้องขอขอบคุณ Beethoven ที่ทำให้ Trombone ได้ร่วมวงไพบูลย์กับ ผลงานระดับ Symphony กับเค้าเป็นครั้งแรก (ปัม ป่าม ปาม ป๊ามมมม สมใจผมจริงๆ)

เป็น Symphony แห่งชะตากรรม ฟังแล้วก็หวนให้นึกถึง อริยสัจ 4 (สะกดถูกมั้ยเนี่ย) ทุกข์ สมุหทัย นิโรท มรรค จริงๆครับ


Create Date : 03 สิงหาคม 2549
Last Update : 6 กันยายน 2549 0:07:59 น. 3 comments
Counter : 2605 Pageviews.

 
คิดๆแล้ว พวก Historic Record นี่ทำให้ผมนึกถึงเพลงไทยลูกกรุง ที่ตอนหลังก็มีบริษัทผลิตแผ่นซีดีออกมาขาย พวกที่เขียนหน้าปกว่า “บันทึกประวัติศาสตร์” นั่นแหละครับ คือ ต้องมีที่มาของการบันทึกว่าทำไมถึงบันทึก ส่วนคุณภาพของเสียงนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ที่จริงแล้ว Mono ก็ไม่ใช่เรื่องเลวร้ายนะครับ บางแผ่นให้อารมณ์เพลงที่ดีด้วยซ้ำไป .. ยกเว้นว่าเราฟังใกล้ๆ ลำโพง แล้วพยายามเปรียบเทียบการจัดวงกับวงออร์เคสตร้าจริงๆ ว่า เครื่องทองเหลือ - ต้องอยู่ด้านหลัง พวกเชลโล่ เบส ต้องฝั่งขวา ไวโอลินฝั่งซ้าย แล้วเวลาฟังจะพยายามให้ได้มิติตามการจัดวาง อันนี้ยากหน่อย ที่ว่า mono ไม่ใช่เรื่องเลวร้าย เพราะตอนหลังที่เขาเอามา re-master จะใช้การกรอง การลดเสียงรบกวน เสียงซ่าๆ ไปแทบจะหมด ใช้ได้เลยครับ

ตัวอย่าง ผมมี Beethoven Piano Concerto ที่เล่นโดย Wilhelm Kempff box set : 1950s concerto recordings ( Beethoven PC ครบ cycle) คุณภาพการบันทึกเสียงใช้ได้เลยครับ ขณะที่ Wilhelm Kempff complete Beethoven sonatas ที่ผมก๊อปของเพื่อนมาฟัง อันนี้เป็น stereo เสียงกระจ่างและดีกว่า (ก็แน่ล่ะ)

ขอพูดถึง ซิมโฟนีหน่อย หมายเลข 5 ผมมีที่ Szell กำกับวง กับที่ Karajan กำกับวง เท่าที่ฟัง ผมยังไม่ “อิน” กับหมายเลข 5 ของ เบโธเฟ่น นัก (ผมฟังคอนแชร์โตมากกว่า) ผมชอบหมายเลข 4 ของ ไชคอฟสกี้ครับ

วันก่อน อย่างตั้งใจ ผมฟังหมายเลข 6 Pastorale งานของเบโธเฟ่น ทั้งของ Karl Bohm , Bruno Walter และ Sergiu Celibidache ผมรู้สึกว่าชอบที่บรรเลงโดย Karl Bohm มากที่สุด ตอนนี้กำลังหาแบบครบ Cycle อยู่เหมือนกันสำหรับเบโธเฟ่น ซิมโฟนี (ผมมี 3 5 6 7 9 ) กำลังศึกษาว่าของใครจะฟังแล้วดีครับ ให้อารมณ์ ทำนองนั้นล่ะ --


โดย: นอนเปล (ชายลังเล ) วันที่: 7 สิงหาคม 2549 เวลา:8:40:18 น.  

 
ลอง No.5 ของ Carlos Kleiber โดย Wiener Phil. หรือพวก Bernstein ดูสิครับ


โดย: Genzo IP: 58.9.193.11 วันที่: 15 สิงหาคม 2549 เวลา:12:05:15 น.  

 
ก็ดีค่ะ


โดย: ดี IP: 222.123.139.152 วันที่: 6 มิถุนายน 2552 เวลา:14:00:24 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Genzo
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




When the seagulls follow the trawler.
It is because they think sardines will be thrown into the sea.
Locations of visitors to this page
Logon Bloggang
Friends' blogs
[Add Genzo's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.