Wakabayashi Genzo!!!
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2549
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
31 สิงหาคม 2549
 
All Blogs
 

รวมหัวปลดกลางอากาศ Pluto

สวัสดีครับ หากอ่านหัวเรื่องของ Blog นี้แล้วก็อย่าได้ไขว้เขวว่าจะเป็นประเดนทางการเมืองนะครับ สำหรับ Blog นี้ผมอุทิศให้กับการลดฐานะจากดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ของระบบ สุริยะจักรวาลกลายเป็นแค่ ดาวเคราะห์แคระของดาว Pluto ครับ

ดาวพลูโตนั้นถูกค้นพบโดยนักดาราศาสตร์ชื่อ Clyde Tombaugh ในปี1930 โดยตั้งชื่อดาวตามเทพเจ้าแห่งความตายในตำนานของชาวโรม หรือ ฮาเดสของกรีกนั่นเอง โดยดาว Pluto มีวงโคจรที่ไขว้กันกับดาวเนปจูน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มันถูกถอดออกจากสมาชิกภาพความเป็นดาวเคราะห์ เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา

เอ...นี่มันอยู่ในหัวข้อ ดนตรีแล้วนี่มันเกี่ยวกับเรื่องดนตรีตรงไหนกันหละ???

ครับผม เหตุที่ดาว Pluto ถูกลดขั้นลงทำให้ผมนึกไปถึงผลงานดนตรี Classic ชิ้นหนึ่งซึ่งผมชื่นชอบขึ้นมาครับ ผมกำลังจะพูดถึง The Planet ของคีตวีชาวอังกฤษชื่อ Gustav Holst (1874-1934)ครับ ซึ่ง The Planet ของ Holst นั้นประกอบด้วยท่อนต่างๆทั้งหมด 7 ท่อนด้วยกันตามชื่อของดาวเคราะห์ครับคือ

1. Mars, the Bringer of War
2. Venus, the Bringer of Peace
3. Mercury, the Winged Messenger
4. Jupiter, the Bringer of Jollity
5. Saturn, the Bringer of Old Age
6. Uranus, the Magician
7. Neptune, the Mystic



The Planet นั้นถูกเขียนขึ้นในช่วงปี คศ 1914 - 1916 โดยที่สมัยนั้นก็ยังไม่มีการค้นพบดาวพลูโต จึงทำให้ เพลงมีเพียง 7 ท่อน (ไม่มีเพลงสำหรับโลกของเราด้วยครับ)เคยมีนาย Colin Matthews พยายามที่จะเพิ่มท่อนที่ 8 สำหรับเจ้า Pluto เข้าไปในปี 2000 ที่ผ่านมา แต่เข้าใจว่าคงไม่ Work เท่าไรสำหรับแฟนพันธุ์แท้ เพราะอย่างไรก็ดีผลงานต้นฉบับก็ย่อมมีคุณค่ามากกว่า แถมเจ้า Pluto ยังมาโดนปลดซะนี่ ทำให้เพลง The Planet กลายเป็น รวมฮิตครบเซ็ตอีกครั้งหนึ่ง หรือว่าจะเป็นอาถรรพ์ของ Gustav Holst กันนะ

ที่จริงในช่วงที่เพิ่งเขียนเพลงนี้จบได้ไม่กี่ปี ก็มีการค้นพบดาวPluto ขึ้นแต่ Holst ก็ไม่ได้แต่งท่อนที่ 8 ตามเสียงเรียกร้องของใครหลายๆคนเพราะว่า เขาเบื่อหน่ายที่ผู้คนหลงชื่นชมแต่ผลงานชิ้นนี้ จนไม่ได้ให้สนใจผลงานชิ้นอื่นของตัวเขาเลย

แผ่นที่นำมาแนะนำกันนี้เป็น The Planet ที่ผมมีอยู่นานมากแล้วถ้าจำไม่ผิด น่าจะเป็นแผ่นCD ที่ผมลงทุนอดข้าวอดน้ำควักกระเป๋าซื้อเป็นแผ่นแรกในชีวิตเลยทีเดียว สมัยนั้นราคาประมาณ 4-500 บาทสำหรับเด็กมัธยมที่ได้ค่าขนมวันละ 30-40 บาทถือว่าเป็น Project ใหญ่มากเลยทีเดียวครับ CD บันทึกในปี 1990 ด้วยระบบ DDD บรรเลงโดย Montréal Symphony Orchestra อำนวยเพลงโดย Charles Dutoit (แหะๆไม่รู้จัก)เคยอ่าน Comment ใน amazon จึงพบว่าช่วงที่บันทึกแผ่นนี้เป็นช่วงเริ่มแรกของการบันทึก Digital แต่เสียงที่ออกมาก็ถือว่าดีทีเดียว

Click เพื่อลองฟัง Mars, the Bringer of War

Click เพื่อลองฟัง Jupiter, the Bringer of Jollity

ที่นำมาให้ลองฟังเป็นตัวอย่างจากท่อน Mar และ Jupiter ครับ สำหรับผมยอมรับโดยดีเลยว่า ไม่เคยสามารถทนตั้งใจฟัง Ochestra Work ชุดนี้ได้ตลอดรอดฝั่งครบทั้ง 7 เพลงเลยแม้แต่ครั้งเดียว ที่จะฟังเป็นเรื่องเป็นราวก็เห็นจะมี เพียง 2ท่อนนี้เท่านั้นที่สามารถฟังได้อย่างมีสมาธิตั้งแต่ต้นจนจบ (ลองฟัง Neptune ดูสิครับไม่งงให้มันรู้ไป) แต่สำหรับ 2 ท่อนที่นำมาแนะนำให้ฟังกัน รับรองได้ว่าถึงใจพระเดชพระคุณทีเดียว ใครที่ชอบ Sound Track ของหนังอย่า Star Wars หรือหนังไซไฟ จะได้พบกับ เพลงที่ถูกคอเป็นแน่แท้เชียวครับ ใครฟัง Jupiter แล้วไม่อิ่มเอมใจไม่รู้สึกถึงความยิ่งใหญ่ของมหาเทพ จูปีเตอร์(เง็กเซียนฮ้องเต้ของพวกโรม)ผมให้.......................................ฟังใหม่อีกรอบครับ




 

Create Date : 31 สิงหาคม 2549
1 comments
Last Update : 2 กันยายน 2549 20:49:20 น.
Counter : 699 Pageviews.

 

เข้ามาดู งุ งุ

 

โดย: แวะมาค่ะ IP: 58.64.82.179 1 กันยายน 2549 23:17:11 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Genzo
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




When the seagulls follow the trawler.
It is because they think sardines will be thrown into the sea.
Locations of visitors to this page
Logon Bloggang
Friends' blogs
[Add Genzo's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.