บ้านเลขที่ 23 บ้านนี้มี ... รัก จ้่่่าาาา่่ืาาา
Group Blog
 
<<
กันยายน 2551
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
11 กันยายน 2551
 
All Blogs
 

เผื่อเป็นประโยชน์เมื่อได้รับผลตรวจเลือดประจำปี

หลายๆคนที่ทำงานแล้วคงมีโอกาสใช้สิทธิตรวจร่างกายประจำปี ซึ่งพื้นฐานการตรวจอย่างหนึ่งก็คือ การตรวจเลือด เมื่อได้รับผลการตรวจร่างกายประจำปีแล้ว หลายๆคนคงมีคำถามอยู่ในใจว่าการตรวจแต่ละอย่าง ตรวจ เพื่ออะไร และการแปลผลมีความหมายอย่างไร อยากรู้ป่าวคับ ผมคนนึงล่ะที่อยากรู้ เลยลองหาข้อมูลมาได้พอสังเขปดังนี้คับ

การตรวจสภาพความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) : เป็นพื้นฐานการตรวจเบื้องต้นเพื่อหาปริมาณของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว รวมทั้งเกร็ดเลือดในร่างกาย

Hemoglobin (HGB) คือการวัดปริมาณ HGB ในเม็ดเลือดแดง เพื่อประเมินว่ามีภาวะของโลหิตจาง(ซีด)หรือไม่
ค่าปกติของ ผู้ชาย 14 - 18 g/dl ส่วนของผู้หญิง 12 - 16 g/dl

ข้อสังเกต
+ การดื่มน้ำมากเกินไป อาจทำให้ค่า HGB ลดลง
+ HGB จะลดลงในภาวะตั้งครรภ์
+ HGB อาจสูงขึ้นในคนที่สูบบุหรี่จัด

Hematocrit (HCT) คือการวัดเปอร์เซ็นต์ของปริมาตรเม็ดเลือดแดงในปริมาตรเลือดทั้งหมด ค่า HCT ที่วัดได้ ส่วนใหญ่จะประมาณ 3 เท่าของค่า HGB
ค่าปกติของ ผู้ชาย 42 - 52 % ส่วนของผู้หญิง 37 - 47 %

ข้อสังเกต
+ ในคนที่งดน้ำก่อนการตรวจเลือดเป็นเวลานาน อาจทำให้ค่า HCT เพิ่มขึ้นได้
+ ในคนที่รับประทานยาขับปัสสาวะ ก็อาจมีค่า HCT สูงขึ้นได้
+ HCT จะสูงขึ้นในคนที่เป็นโรคถุงลมโป่งพอง หรือในคนที่สูบบุหรี่จัด

ข้อแนะนำในการปฏิบัติตน

ในคนที่พบค่าของเม็ดเลือดแดงต่ำ (โลหิตจาง) ซึ่งสาเหตุจะยังไม่ทราบแน่นอน แต่ที่พบบ่อยอาจเกิดจากการขาด ธาตุเหล็ก เช่น การเสียเลือดจากการมีประจำเดือนในสตรีวัยเจริญพันธุ์ เป็นริดสีดวงทวาร หรืออาจมีพยาธิ เป็นต้น จึงแนะนำให้เสริมธาตุเหล็ก
+ โดยการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก เช่น เนื้อสัตว์ ถั่วต่างๆ ตับ เครื่องในสัตว์ ผักใบเขียว และไข่
+ โดยการรับประทานวิตามินที่มีธาตุเหล็กเสริม
+ ในบางกรณีอาจจะต้องทำการตรวจอุจจาระเพิ่มเติม

White Blood Cell Count ( WBC ) คือการนับจำนวนเม็ดเลือดขาวทั้งหมดใน 1 cu.mm.หรือ mL ซึ่งส่วนใหญ่มักจะมีค่าผิดปกติเมื่อมีการติดเชื้อในร่างกาย เช่น จากเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัส (แต่ทั้งนี้ต้องอาศัยประวัติ อื่นๆ ประกอบด้วย) ค่าปกติ 4,800 - 10,800 /mL

Differential White Cell Count คือการหาเปอร์เซ็นต์ของ WBC แต่ละชนิด ซึ่งมีทั้งหมด 5 ชนิด
+ Neutrophils (NEUT) ค่าปกติ 40 - 74 % : จะพบสูงขึ้นในภาวะติดเชื้อจำพวกแบคทีเรีย
+ Lymphocytes (LYMP) ค่าปกติ 19 - 48 %: จะพบสูงขึ้นในภาวะที่มีการติดเชื้อไวรัสอย่างเฉียบพลัน หรือภาวะที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียที่เรื้อรัง
+ Monocytes (MONO) ค่าปกติ 3 - 9 %: จะพบสูงขึ้นในผู้ที่อยู่ในระยะฟื้นจากการติดเชื้อทั่วไป
+ Eosinophils (EOS) ค่าปกติ 0 - 9 %: จะพบสูงขึ้นในภาวะที่มีภูมิแพ้ (Allergy), ภาวะที่มีพยาธิในร่างกาย
+ Basophils : ค่าปกติ 0 - 2 %

Platelet Count (PLT) คือการนับจำนวนของเกร็ดเลือดต่อ mL ในเลือด (เกร็ดเลือดมีความจำเป็นที่ทำให้เลือดแข็งตัว) ถ้าต่ำกว่า 100,000/mL ถือว่าน้อยไปอาจทำให้เลือดหยุดยาก ตรงกันข้ามถ้ามากไป คือสูงกว่า 400,000/mL จะทำให้เลือด แข็งตัวได้ง่ายขึ้น และอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการอุดตันในเส้นเลือด ค่าปกติ 130,000 - 400,000 cells /m

การตรวจทางเคมีของเลือด

1. ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (Glucose) คือการตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อช่วยวินิจฉัยโรคเบาหวาน โดยควรงดอาหารและน้ำ อย่างน้อย 8 - 10 ชั่วโมงก่อนตรวจ
ค่าปกติ 75 - 110 mg/dl ในกรณีที่มีค่า Glucose สูงกว่าค่าปกติ อาจจะต้องพิจารณาดังต่อไปนี้

(ก) ถ้าค่า Glucose มากกว่า 110 mg/dl แต่ไม่เกิน 140 mg/dl แสดงว่าอาจเริ่มมีอาการของโรคเบาหวาน

ข้อแนะนำ
i. ควรควบคุมการรับประทานอาหารที่มีรสหวาน,น้ำอัดลม,ใน้ำตาลหรือผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน มะม่วงสุก ลำใย เป็นต้น

(ข) ถ้าค่า Glucose มากกว่า 140 mg/dl แต่ไม่เกิน 200 mg/dl แสดงว่าเป็นโรคเบาหวานในระยะเริ่มต้น

ข้อแนะนำ
i. ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสหวาน,น้ำอัดลม, น้ำตาลหรือผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน มะม่วงสุก ลำใย เป็นต้น
ii. ลดปริมาณอาหารจำพวกแป้ง (เพราะจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาล)
iii. ลดปริมาณแคลอรี่ของอาหารที่
iv. รับประทานอาหารประเภทที่มีเส้นใยอาหารสูงเช่น ผักประเภทต่างๆ เช่น คะน้า หอมใหญ่ ฯลฯ
v. หลีกเลี่ยงการดื่มเหล้า หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด
vi. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
vii. เมื่อปฏิบัติตามคำแนะนำแล้ว ประมาณ 2 เดือน ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจเลือดหาน้ำตาลซ้ำ

(ค) ถ้าค่า Glucose สูงกว่า 200 mg/dl

ข้อแนะนำ
i. ปฏิบัติตามคำแนะนำในข้อ (ข)
ii. ควรปรึกษาแพทย์ เพราะอาจจำเป็นต้องรับประทานยาเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล

2. การตรวจสภาพการทำงานของไต (Blood Urea Nitrogen and Creatinine)

2.1 Blood Urea Nitrogen (BUN) คือการหาสาร Urea Nitrogen ในเลือดเพื่อดูการทำงานของไต ทั้งนี้เนื่องจาก ยูเรียเป็นผลิตผลสุดท้ายของการเผาผลาญโปรตีน ซึ่งจะถูกขับออกทางไต ค่าปกติ 8-16 mg/dl

BUN เพิ่มขึ้น พบได้ในกรณีที่มีการสังเคราะห์ยูเรียมากไป โดยอาจมาจากสาเหตุจาก
* การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง
* มีการทำลายของโปรตีนในร่างกายมาก เช่น ภาวะไข้, ติดเชื้อ,ได้รับการผ่าตัดใหญ่
* ระยะหลังของการตั้งครรภ์
* มีภาวะขาดน้ำ เช่น ในคนที่เป็นโรคเบาหวาน เป็นต้น

2.2 Creatinine (Cr) คือการหาสาร Creatinine ในเลือดเพื่อประเมินสมรรถภาพของไต ค่าปกติ 0.6 – 1.3 mg/dl
ข้อแนะนำในการปฏิบัติตน ในกรณีที่มีค่า BUN และ Creatinine สูงกว่าปกติ
* ควรลดอาหารที่มีรสเค็มจัด
* หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง
* ควรปรึกษาแพทย์

2.3 ตรวจระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือด (Cholesterol) คือการหาค่า Cholesterol ซึ่งเป็นไขมันที่ได้ มาจากการรับประทานอาหารและร่างกายสร้างขึ้นเองบางส่วน Cholesterol เป็นสารสำคัญสำหรับร่างกายแต่ถ้ามีมาก เกินไป จะทำให้มีการพอกของไขมันในหลอดเลือด และอวัยวะอื่นๆ เช่น ตับ ค่าปกติ 125 - 220 mg/dl (สำหรับบางร.พ. มาตรฐานอาจอยู่ที่ 200 mg/dl หรือ 250 mg/dl )

2.4 ตรวจระดับไขมันไทรกรีเซอไรด์ (Triglyceride) คือ ไขมันที่ได้จากการรับประทานอาหารและการ สร้างขึ้นเองในร่างกาย เมื่อถูกเผาผลาญจะให้พลังงานมาก ระดับ Triglyceride มักไม่ค่อยคงที่ สูงๆ ต่ำๆ ได้ง่าย ขึ้นอยู่กับ ปริมาณอาหารที่รับประทาน ในกรณีที่สูงมากๆและเป็นเวลานาน ก็อาจเป็นผลให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบตันได้ ค่าปกติ 20 - 150 mg/dl
ข้อควรปฏิบัติเพื่อลดไขมันในเลือด
+ ควบคุมปริมาณอาหารประเภทไขมันสูง เช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล เนื้อสัตว์ติดมัน เนย กะทิ เป็นต้น
+ เลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมันปริมาณมากๆ หรือถ้าจะใช้ก็ควรใช้น้ำมันจากพืช (เช่น น้ำมันถั่วเหลือง )
+ เพิ่มอาหารที่มีเส้นใยมาก เช่น คะน้า หอมใหญ่ ฝรั่ง ส้ม ฯลฯ
+ งดหรือลดบุหรี่
+ งดเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์
+ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

2.5 HDL-C โคเลสเตอรอลในร่างกายแบ่งออกได้เป็นสองประเภทคือ High Density Lipoprotein Cholesterol (HDLc) และ Low Density Lipoprotein Cholesterol (LDLc) งานวิจัยในปัจจุบันพบว่า HDLc เป็นโคเลสเตอรอลประเภทที่มีผลดีต่อร่างกาย ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดตีบตัน ดังนั้นการมีค่า HDLc ที่สูงจึงเป็นสิ่งที่ดี ดังนั้นในการตรวจโคเลสเตอรอล หากพบว่ามีค่าสูงเกินมาตรฐาน ควรจะตรวจระดับของ HDLc ประกอบการแปลผลด้วย ค่าปกติ 35-65 mg/dl
ข้อแนะนำในการปฏิบัติตนเพื่อให้มีระดับ HDLc ที่สูงเหมือนกับการปฏิบัติตนในหัวข้อการลดไขมันในเลือดข้างต้น

2.6 ตรวจระดับกรดยูริคในเลือด (Uric Acid) คือ การตรวจหายูริคซึ่งเป็นของเสียที่เป็นผลมาจากการเผาผลาญ สารพิวรีน (purine) ซึ่งมีมากในเครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ สัตว์ปีก อาหารทะเล ยอดอ่อนของผัก เช่น หน่อไม้ เห็ด แตงกวา ถั่วเกือบทุกชนิด และเกิดจากการสลายตัวของเซลล์ในร่างกาย กรดยูริคที่มีอยู่ในเลือดจะถูกขับออกทางไต ในกรณีที่มี ยูริคมากเกินไป จะทำให้ตกผลึกสะสมอยู่ตามข้อ ผิวหนัง ไต และอวัยวะอื่นๆ ทำให้เกิดโรคเก๊าท์ได้ ค่าปกติ 2.2 – 8.1 mg/dl
ข้อควรปฏิบัติ
* งดอาหารที่มีสารพิวรีนสูง เช่น เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ สัตว์ปีก อาหารทะเล ยอดอ่อนของผัก (เช่น หน่อไม้ ชะอม ยอดผักโขม เป็นต้น ) เห็ด แตงกวา ถั่วทุกชนิด
* งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
* ดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันการตกผลึกของกรดยูริค

3. การตรวจสมรรถภาพการทำงานของตับ (SGOT and SGPT)

3.1 Serum Glutamic Oxaloacetic Transaminase (SGOT) คือ enzyme ซึ่งอยู่ในเนื้อเยื่อของหัวใจ ตับ กล้ามเนื้อไต สมอง ตับอ่อน ม้าม และปอด หากเนื้อเยื่อเหล่านี้ได้รับอันตราย SGOT ในเลือดจะสูงขึ้น และจะเพิ่มทันทีใน 12 ชั่วโมง แล้วค่อยๆต่ำลงเนื่องจากถูกเผาผลาญไป ค่าปกติ 0 - 37 U/L

3.2 Serum Glutamic Pyruvic Transaminase (SGPT) คือ enzyme ที่พบในตับ หัวใจ กล้ามเนื้อ และไต ใช้ในการหาอาการของตับอักเสบ และบอกได้เฉพาะเจาะจงกว่า SGOT ค่าปกติ 0 - 4 0 U/L

การตรวจหา enzyme SGOT, SGPT เป็นการตรวจเพื่อประเมินสมรรถภาพการทำงานของตับ มักจะพบว่าสูง ในคนที่ดื่มสุรามาเป็นเวลานาน หรือแม้แต่การดื่มเป็นบางโอกาสแต่ปริมาณมาก ก็อาจสูงได้ ในกรณีไม่ดื่มสุรา อาจจะเกิดได้จาก
+ เป็นพาหะของโรคไวรัสตับอักเสบ B
+ การรับประทานยาบางอย่างที่มีผลต่อตับ
+ ถูกผลกระทบจากการสัมผัสสารเคมีบางอย่างโดยสม่ำเสมอ (เช่นการฉีดยาฆ่ายุงโดยที่ไม่มีการป้องกันตัวเอง)

ข้อแนะนำในการปฏิบัติตน
+ พักผ่อนให้เพียงพอ
+ ในผู้ที่ดื่มสุรา ควรงดการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดโดยเด็ดขาดแม้แต่การดื่มในบางโอกาส
+ หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมี หากจำเป็นก็ควรมีการป้องกันตนเองอย่างถูกต้อง
+ ลดปริมาณอาหารประเภทไขมัน (เพื่อลดการทำงานของตับในระยะที่ตับอักเสบ)
+ ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ เพื่อให้การรักษาที่ถูกต้องต่อไป

3.3 Alkaline Phosphatase เป็นเอ็นไซม์ที่มีอยู่ในเซลทั่วไปโดยเฉพาะจะมีในปริมาณที่เข้มข้นในเซลตับ เมื่อเซลตับมีการบาดเจ็บหรือเกิดความผิดปกติ จะปล่อยเอ็นไซม์นี้ออกมา ทำให้ระดับของ Alkaline phosphatase ในซีรัม (เลือด) สูงขึ้น การตรวจเอ็นไซม์นี้จึงใช้ประกอบเพื่อการบอกถึงสภาพทางพยาธิวิทยาของตับได้ ค่าปกติ 35-110 U/l
ข้อแนะนำในการปฏิบัติตนเหมือนกับการปฏิบัติตนในหัวข้อการตรวจ SGOT และ SGPT ข้างต้น

4. การตรวจ VDRL (Venereal Disease Research Laboratory) คือการตรวจขั้นต้นเพื่อหาสารแอนติบอดี้ที่ร่างกายสร้างขึ้น เพื่อต่อต้านกับเชื้อซิฟิลิส (Treponema pallidum) ที่อยู่ในเลือด หากพบว่าการตรวจ VDRL ให้ผล Reactive จะต้อง ทำการตรวจอย่างเฉพาะเจาะจงเพื่อยืนยันอีกครั้ง ค่าปกติ Non-Reactive

5. การตรวจ Blood Typing เป็นการตรวจดูกรุ๊ปเลือด (A, B, O, หรือ AB) และ Rh Factor (Positive หรือ Negative) ในทางปฏิบัติ พนักงานทุกคนควรทราบทั้งกรุ๊ปเลือด และ Rh Factor ของตนเอง เพื่อแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินขึ้น เช่น เลือดกรุ๊ป O Positive หรือ O Negative เป็นต้น


***** ค่าปกติของผลตรวจเลือดแต่ละโรงพยาบาลอาจจะมีมาตราฐานต่างกันได้เล็กน้อย *****

หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยนะคับ อย่างน้อยผลตรวจสุขภาพคราวหน้าก้อน่าสนใจขึ้นบ้างล่ะ




 

Create Date : 11 กันยายน 2551
0 comments
Last Update : 11 กันยายน 2551 16:04:57 น.
Counter : 541 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


nainue
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add nainue's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.