บ้านเลขที่ 23 บ้านนี้มี ... รัก จ้่่่าาาา่่ืาาา
Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
24 กรกฏาคม 2551
 
All Blogs
 
กินยาแบบแปลกๆ

ไปเจอบทความที่เขียนโดยเภสัชกรท่านนึงใช้นามปากกาว่า "หมอแมว" เกี่ยวกับการกินยาและความเชื่อในการกินยาแบบผิดๆ ซึ่งบางแบบผมเองก็เคยทำด้วยล่ะ แฮะๆ เลยเอามาลงให้อ่านกัน เผื่อว่าคุณก็อาจเป็นคนนึงที่กำลังกินยาผิดอยู่นะ เฮอะๆ

๏~* กินยาแปลกๆ by หมอแมว *~๏


หลังจากสั่งจ่ายยาที่ต้องกินต่อเนื่องให้กับผู้ป่วยไป เมื่อผู้ป่วยกลับมาตรวจซ้ำก็มักต้องถามไถ่ว่ายาที่ได้รับไปนั้นกินแล้วเป็นอย่างไร ผลข้างเคียงเป็นยังไงแค่ไหน กินครบหรือไม่ แต่ในสิ่งที่สอดแทรกกลับมานั้นมีหลายอย่างที่แปลกๆและไม่คิดกันว่าจะมีคนใช้ยากันแบบนี้

บางอย่างเจอเยอะจนเป็นความเชื่อความเข้าใจผิดๆ บางอย่างนานๆทีจะเจอซักครั้งจนเป็นเรื่องแปลก ผมลองแจงรายวิธีที่มีคนทำกันให้เห็นออกมาดังนี้ครับ

1. บดยา หรือเคี้ยวยา
วิธีที่เจอได้บ่อย ส่วนใหญ่ทำไปเนื่องจากคิดว่าจะทำให้ยาดูดซึมเร็วขึ้น บางคนก็บอกว่าให้กินยาได้ง่ายขึ้น

2. หักยา
เจอไม่บ่อย แต่มักทำในกรณียาเม็ดโตๆ

3. กินยากับน้ำอุ่น
บางคนกลัวว่ากินยากับน้ำธรรมดาแล้วยาจะละลายช้าออกฤทธิ์ช้า

4. ละลายยาแล้วกิน
เหมือนกันกับหลายๆวิธี คือ อยากให้ยาออกฤทธิ์เร็วและกลืนได้ง่าย

5. กินยากับอาหาร
บางคนกลืนยาไม่ได้ ก็เลยประยุกต์วิธีใช้โดยเคี้ยวอาหารแล้วเอาเม็ดยารวมไว้กับอาหารก่อนจะกลืนลงไป

6.ถอดปลอกยาออกกิน
บางคนกลัวว่ากลืนแล้วแคปซูลจะติดคอ ก็เลยจัดแจงถอดปลอกออกผสมน้ำดื่ม บ้างก็กลัวว่ายาจะออกฤทธิ์ช้า

7. ผสมยากับเหล้า
บางรายคิดว่าใช้เทคนิกเดียวกับยาดองเหล้าคือ กินพร้อมเหล้าจะได้ช่วยให้ยาออกฤทธิ์มากขึ้น

นอกจากนี้อาจมีวิธีแบบอื่นอีก แต่นึกไม่ออกแระ
วิธีเหล่านี้เป็นวิธีที่ไม่ควรทำ แต่ก็มีคนทำกัน ด้วยเหตุผลหลักๆได้แก่ อยากให้ยาละลายเร็วๆดูดซึมเร็วออกฤทธิ์เร็ว และ เพื่อกินยาให้ง่ายขึ้น

ว่าด้วยการผลิตยา การผลิตยานั้นได้รับการปรับปรุงอย่างมากมายเพื่อให้ยานั้นได้ออกฤทธิ์ดีที่สุดตามความจุดประสงค์ของการรักษา ดังนั้นการไปปรับเปลี่ยนรูปแบบของยาจึงเสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ได้ ซึ่งขออธิบายเป็นจุดๆดังนี้ครับ

- การละลายแตกตัวของเม็ดยา
เอาง่ายๆว่าคุณไปหายาธรรมดามาสักสี่ห้าชนิดมาโยนลงแก้วน้ำเย็น แช่น้ำไว้สักสี่ห้านาทีแล้วกวนน้ำสักหน่อย จะพบว่ายาส่วนใหญ่ต่างละลายแตกเป็นผงเล็กๆหมด ... ดังนั้นคงไม่ต้องไปกลัวเรื่องยาแตกตัวไม่ดีหรอกครับ

การไปบดยา นอกจากกินยาก ขมก็อาจจะได้ยาไม่ครบจำนวน การกินกับน้ำอุ่นจัดอาจจะทำให้ยาละลายเร็วขึ้นอีกนิดนึง แต่ก็มีปัญหาว่ายาพวกแคปซูลอาจจะละลายแล้วไปติดที่หลอดอาหารกลืนไม่ลงได้ (ยาบางอย่างติดที่คอแล้วเป็นเรื่องเชียว)

ส่วนการถอดปลอกยาออก ยาส่วนใหญ่ที่ใส่แคปซูลเวลาละลายเป็นผงแล้วจะมีรสชาติที่น่าอาเจียนมาก

มีผู้ป่วยบางคน มาด้วยเรื่องคลื่นไส้อาเจียนมากหลังจากมารักษา ผู้ป่วยและญาติบอกว่าแพ้ยาที่ให้ไป แต่ปรากฎว่าเมื่อซักไปมาอาการแพ้ของเค้าก็คือการแกะปลอกแคปซูลแล้วกินยาเข้าไป พอยาลงคอก็อ้วกออกมาหมด ... เพียงแนะนำให้กินยาทั้งแคปซูล พอยอมกินก็ไม่เกิดอาการอีก

นอกจากนี้ ยาในปัจจุบันยังมีการพัฒนาการเคลือบต่างๆให้มีการปล่อยยาออกมาอย่างคงที่เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้ยาอย่างคงที่ที่สุด หรือยาไม่ละลายในกระเพาะแต่ไปเริ่มละลายที่ลำไส้เล็ก (ประมาณละลายในปากไม่ละลายในมือ...M&M) เทคนิกการผลิตขั้นสูงนี้ทำให้ยาที่ใช้สามารถออกฤทธิ์ได้ดียิ่งขึ้นและมีผลข้างเคียงน้อยลง ... ถือเป็นการพัฒนาเพื่อผลการรักษาที่ดีขึ้น

การไปบดหรือละลายยา ก็เลยกลายเป็นการไปทำลายคุณสมบัติอันวิเศษ ทำให้แทนที่จะได้รับผลที่ดีที่สุดก็กลายเป็นได้รับผลเสีย

ตัวอย่างที่เคยเจอ ก็อย่างเช่น
ยาต่อมลูกหมากโต ปกติจะมีฤทธิ์ข้างเคียงคือหน้ามืดเวียนหัว ก็มียาที่เคลือบชั้นฟิล์มไมโครทำให้ค่อยๆปล่อยยาออกมาช้าๆ ยานี้ราคาแพงขึ้นแต่ลดผลข้างเคียงเยอะ .... การไปบด เท่ากับจ่ายเงินแพงๆมาทำลายของดีๆให้กลายเป็นยาราคาถูก...

ยาโรคหอบในคนสูบบุหรี่ Theophylline SR : ปกติสมัยก่อนจะใช้ยาหยดเข้าเส้นเลือด การปรับขนาดยานั้นทำได้ยากและเสี่ยงต่อการเกิดผลแทรกซ้อนรุนแรงถ้าให้เกินขนาด ... ต่อมามียาที่ออกแบบให้ค่อยๆแตกตัวและละลายช้าๆ เพื่อให้สามารถเปลี่ยนเป็นยากินที่บ้านและไม่ต้องกลัวเรื่องพิษจากยา (ชโย ชโย) ... แต่เมื่อเอาไปบดปุ๊บ นอกจากจะใช้ไม่ได้ผลแล้ว ยังอาจเกิดผลข้างเคียงได้

ยาแอสไพรินและอีริโทรมัยซิน ปกติสมัยก่อนคนที่กินยาสองตัวนี้จะเสาะท้องและคลื่นไส้อยากอาเจียน ปัจจุบันออกแบบให้มันไปละลายที่ลำไส้เล็กเพื่อลดการกัดกระเพาะและคลื่นไส้ ... การบดมันก็คือการทำให้เกิดการคลื่นไส้และปวดท้องเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ยังมียาอีกหลายตัวมากมาย ... ผมคงไม่ต้องบอกว่ามียาตัวไหนบ้าง เอาเป็นว่าถ้ายาไม่ระบุให้เคี้ยว(เช่นยาลดกรดในกระเพาะบางชนิด) แต่คุณอยากเคี้ยวหรือบดยา คุณควรจะถามจากเภสัชกรที่จ่ายยาให้ว่ายาตัวนี้เคี้ยวได้ไหม ... มิฉะนั้นผมคิดว่าเราควรจะกินแบบเป็นเม็ดๆอย่างที่มันมาแหละครับ

- การกินยายาก
กินยายากเป็นปัญหาในเด็กซะส่วนใหญ่ ถ้าเป็นยาน้ำก็มีปัญหาที่เกิดขึ้นคือรสยาที่ขมไม่ถูกลิ้น ถ้าเป็นยาเม็ด บางคนจะบอกว่าเม็ดใหญ่ไป กลืนไม่ลง ติดคอ

เรื่องรสชาติของยานั้น เป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ แต่ว่าโดยทั่วไปผู้ผลิตจะทำให้รสชาติแย่น้อยที่สุดอยู่แล้ว วิธีแก้ของบางคนคือการกินพร้อมอาหารหรือน้ำหวาน... การกินแบบนี้อาจจะต้องระมัดระวังในยาบางชนิดซึ่งห้ามกินพร้อมอาหาร หรือห้ามกินพร้อมน้ำผลไม้ เนื่องจากส่วนประกอบบางอย่างจะแตกตัวดูดซึมไม่ดีและได้ฤทธิ์ยาไม่เต็มที่

ส่วนเรื่องการกินยาแล้วติดคอ จริงๆต้องบอกว่าขนาดไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพราะยาอย่างที่ใหญ่ที่สุด ก็มีขนาดเม็ดที่กลืนได้ เพียงแต่ว่าหากเกิดอาการ"กลัวขม"ก็จะทำให้การกลืนยาผิดไปจากการกลืนปกติ บางครั้งเลยทำให้เกิดการติดคอได้

การแก้ไขทำได้โดยหัดการกินยาพร้อมน้ำและคิดซะว่ากลืนน้ำครับ.... การคิดว่ากลืนน้ำแล้วปล่อยให้น้ำพายาไปเอง จะทำให้กินยาได้โดยไม่ติดคอ

นี่เป็นเรื่องยาสั้นๆที่คุณนำไปใช้ได้ ซึ่งขอปิดด้วย คำพูดยอดฮิตของสมัยนี้ "อยากรู้เรื่องยา ให้ถามเภสัช" .... หากท่านใดมีความสงสัยเกี่ยวกับการรับประทานยาว่าควรทำอย่างไรดี วิธีที่ใช้อยู่ผิดหรือถูกหรือไม่ ท่านสามารถถามเภสัชกรได้เมื่อไปรับยาครับ




Create Date : 24 กรกฎาคม 2551
Last Update : 24 กรกฎาคม 2551 14:22:12 น. 0 comments
Counter : 339 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

nainue
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add nainue's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.