Group Blog
 
<<
มีนาคม 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
18 มีนาคม 2554
 
All Blogs
 

ทางรถไฟสายเชื่อม "สหภาพอาเซียน" และเชื่อม "ประชาคมเอเชียตะวันออก" เข้าด้วยกัน

บทความก่อนหน้า
ติมอร์เลสเต้กับอาเซียน
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=chuk007&month=17-03-2011&group=3&gblog=10

....................


เกริ่นนำ และสรุปบทความก่อนหน้านี้

ในบทความก่อนหน้านี้ ผู้เขียนได้เสนอให้ประเทศในอาเซียน 10 ประเทศ รวมตัวกันให้ถึงคำนิยามว่า "สหภาพอาเซียน" หรือ "กึ่งสหภาพอาเซียน" ก่อน ก่อนที่จะไปรวมเป็น "ประชาคมเอเชียตะวันออก" ซึ่งจะพัฒนาจากกรอบอาเซียน +3 ที่จะมี จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้

หมายความว่า "ประชาคมเอเชียตะวันออก" จะประกอบไปด้วย 4 ประทศกล่าวคือ 1.สหภาพอาเซียน 2.จีน 3.ญี่ปุ่น และ 4.เกาหลีใต้

จากนั้นก็จะต้องไปรวมเป็น "เขตการค้าเสรีเอเชียแปซิฟิค" และ "เขตความมั่นคงเอเชีย" ซึ่งจะพัฒนาจากกรอบความร่วมมืออาเซียน+6 (ซึ่งปัจจุบันกรอบอาเซียน+6 ขยายเป็น กรอบอาเซียน+8 ที่มีรัสเซีย และอเมริกา เพิ่มเข้ามา เพื่อถ่วงดุลทางการค้า และทางการทหารกับจีน)

ซึ่งนี้เป็นการจัดลำดับตามแนวคิดที่ว่า "ใครอยู่วงนอก และใครอยู่วงใน"


แต่ทำไม ผู้เขียนถึงไม่อยากให้รวมติมอร์เลสเต้เข้ามา ในกรอบอาเซียน 10 ประเทศ ซึ่งหากว่านักวิชาการท่านใดจะตำหนิผู้เขียน ว่าใจแคบก็แล้วแต่ แต่ผู้เขียนก็ได้แสดงความคิด และเหตุผลไปแล้ว ในบทความที่แล้ว

นั่นคือ นอกจากอาเซียนจะเสียสัญลักษณ์ในเชิงตัวเลข จาก 10 ประเทศ กลายเป็น 11 ประเทศไปแล้ว ยังมีผลต่อการเป็นประธานหมุนเวียนของอาเซียนอีกด้วย แต่ทว่าก็ยังไม่หนักเท่ากับ ปัญหาด้านความมั่นคง ที่อาจจะเกิด "แรงบันดาลใจครั้งใหม่" ต่อกลุ่มแบ่งแยกดินแดนอื่นๆ โดยเฉพาะในอินโดนีเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ และ ประเทศไทย อีกทั้ง ยังเป็นการ สั่งสอน และ ปราม ตะวันตก โดยเฉพาะออสเตรเลีย ว่า "อย่าเข้ามายุ่ง" ในกิจการภายในของประเทศในอาเซียนอีก






ต่อไปเป็นเรื่องของบทความที่เกี่ยวกับตอนนี้ ว่าด้วยเรื่อง



ทางรถไฟสายเชื่อม "สหภาพอาเซียน" และเชื่อม "ประชาคมเอเชียตะวันออก" เข้าด้วยกัน


โครงการรถไฟทั้งหมดเมื่อสำเร็จก็จะประมาณรูปข้างล่างนี้ คือเชื่อมประเทศจีนกับประเทศอินโดนีเซียเข้าด้วยกัน

เห็นทำเลแล้วยังว่าประเทศไทยสำคัญแค่ไหน เราเป็นศูนย์กลางการรถไฟของอาเซียนเลยที่เดียว เพราะ คนอินโดนีเชียกว่า 90 เปอร์เซ็นอาศัยอยู่ที่เกาะสุมาตรา กับเกาะชวา ส่วนเกาะอื่นๆ เช่นปาปัวตะวันตก โมลุกกะ บอร์เนียว ฯลฯ แทบไม่มีคนอาศัย หรือมีคนอาศัยอยู่น้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับ เกาะชวา และเกาะสุมาตรา ส่วนประเทศมาเลเซีย คนมาเลเซียกว่า 90 เปอร์เซ็น ก็อยู่ในส่วนของคาบสมุทร



เส้นทางรถไฟสายยาว จากประเทศจีน-ลาว-ไทย-มาเลเซีย-สิงคโปร์-อินโดนีเซีย (ทำอุโมงค์รถไฟใต้น้ำ ลอดช่องแคบมะละกา เชื่อมไปถึง เกาะชวา กรุงจากาต้าร์)




ข้อมูลเพิ่มเติม
//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=chuk007&month=09-2010&date=16&group=1&gblog=32

แผนนี้ก็เป็นแผนการสร้างทางเชื่อมโยงทางรถไฟ ของประชาคมอาเซียนอยู่แล้ว รัฐบาลไทยก็ควรต้องไปเร่ง มาเลเซียกับอินโดนีเซียด้วย แต่ก็ยังมีสิงคโปร์ ที่ล๊อบบี้ให้อุโมงค์รถไฟเชื่อมผ่านเกาะสิงคโปร์ ก่อนเชื่อมกับเกาะบาตั้มของอินโดนีเซีย ก่อนลากสะพานจากเกาะบาตั้มเข้าเชื่อมเกาะสุมาตรา งานนี้ ก็สงสารฟิลิปินส์ เชื่อมกับใครไม่ได้เลย



ในช่วงที่1 จะสร้างเป็นอุโมงค์รถไฟใต้น้ำ ระยะทาง 18.9 กม. ระหว่างชายแดนมาเลเซีย กับเกาะขนาดเล็กของอินโดนีเซีย นั้นเพราะมีการจราจรทางเรือหนาแน่นในช่องแคบมะละกา ส่วนช่วงที่ 2-7 จะสร้างเป็นสะพาน "เชื่อมเกาะเล็กๆเข้าด้วยกัน" เพราะเป็นเขตน้ำตื้น และการจราจรทางน้ำไม่มากนัก






อีกทั้งอินโดนีเชียมีโครงการสะพาน และทางรถไฟเชื่อมเกาะชวา กับสุมาตราอยู่แล้ว และบวกกับโครงการอุโมงค์ลอดช่องแคบมะละกา

จากรูปข้างบน ระหว่างชายแดนมาเลเซีย กับเกาะขนาดเล็กของอินโดนีเซียตรงใกล้ๆสิงคโปร์ ตรงนั้นระยะทางประมาณ 18.9 กม. ตรงนั้นจะมีการจราจรทางเรือหนาแน่น เขาจึงจะสร้างเป็นอุโมงค์รถไฟใต้น้ำ ส่วนเกาะอื่นๆ จะเป็นสะพาน เพราะน้ำตื้น และการจารจรทางน้ำไม่มากนัก

อุโมงค์ทางรถไฟใต้น้ำระหว่างชายแดนมาเลเซีย กับเกาะขนาดเล็กของอินโดนีเชียระยะทาง 18.9 กม. ทำได้แน่นอน หากเมื่อเปรียบเทียบกับอุโมค์ใต้น้ำของรถไฟยูโรสตาร์ ที่ลอดผ่านช่องแคบอังกฤษ ที่นั่น อุโมงค์ข้ามช่องแคบอังกฤษยาวตั้ง 50 กม. ยังทำได้สบายๆ

ส่วนแผ่นดินไหวต่อตัวโครงการ ไม่ต้องกังวล เพราะไม่งั้นตึกบนเกาะสิงคโปร์คงพังไปหมดแล้ว

สรุปคือ รถไฟ 1.435 เมตร ของไทย จากจีน เข้าลาว เข้าไทย ที่หนองคาย ไปปาดังเบซาร์ จะไม่หยุดอยู่ที่ สิงคโปร์ แต่จะ ทะลุลงไปถึง จาร์กาต้า ซึ่งประชากรอินโดนีเซียกว่า 90 เปอร์เซ็น อาศัยอยู่ในเกาะ2 เกาะเท่านั้น คือ เกาะชวา กับเกาะสุมาตรา

เข้าไปอ่านดูข้อมูลดูที่ลิงค์นี้ เขามีโครงการอยู่แล้ว ดังนั้นทางรถไฟเส้นหนองคาย-กรุงเทพ-ปาดังเบซาร์ ถ้ารัฐบาลไทยสามารถรวมหุ้นได้ รับรองกำไรบาน


ข้อมูลเพิ่มเติม

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=chuk007&month=22-01-2010&group=1&gblog=24









ภาพภายในอุโมงค์รถไฟลอดช่องแคบอังกฤษ (ส่วนของรถไฟ) ความยาว 50 กม.



ส่วนลิงค์ข้างล่างนี้เป็นข้อมูลเพิ่มเติม เป็นการการเปรียบเทียบความเป็นไปได้ของโครงการอุโมงค์รถไฟใต้น้ำระหว่างมาเลเซีย กับเกาะขนาดเล็ดของอินโดนีเซียน ระยะทาง 18.9 กม. กับ โครงการอุโมงค์รถไฟใต้น้ำลอดช่องแคบอังกฤษ ซึ่งยาว 50 กม.

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=chuk007&month=09-2010&date=16&group=1&gblog=32



........................
บทความต่อไป
โครงสร้างประชาคมอาเซียน
//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=chuk007&month=12-2011&date=03&group=3&gblog=12




 

Create Date : 18 มีนาคม 2554
1 comments
Last Update : 7 ธันวาคม 2554 9:08:19 น.
Counter : 5275 Pageviews.

 

แวะมาอ่านจร้าว่างๆแวะไปเยี่ยมblogเราบ้างนะ bigeye

 

โดย: NSA (tewtor ) 13 เมษายน 2554 9:17:46 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


chuk007
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




Friends' blogs
[Add chuk007's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.