Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
30 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 
วงการบันเทิงเอเชีย กับ อัตลักษณ์ ประชาคมเอเชียตะวันออก ในกรอบ อาเซียน +3 (ตอนที่ 2)

บทความนี้ต่อเนื่องจากบทความ
"ประชาคมเอเชียตะวันออก คือ อาเชียน+3 หรือ อาเซียน+6 กันแน่ (ตอนที่ 1)" ในลิงค์ข้างล่าง

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=chuk007&month=11-2009&date=29&group=3&gblog=2

จากบทความที่แล้ว มีบทสรุปอย่างหนึ่ง ที่ทำให้รู้ว่า "อัตลักษณ์" มีผลอย่างมาก ต่อการรวมกลุ่มทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นแล้ว กรอบความร่วมมือ "อาเซียน+3" จะมีอัตลักษณ์อะไร ที่พอจะพัฒนาต่อยอด ในการรวมกลุ่มได้บ้าง











...................................


1.บทคัดย่อ (Abstract)

วงการบันเทิงเอเชีย มีอัตลักษณ์ ที่น่าสนใจ ซึ่งมีความเกี่ยวพันอย่างมาก ต่อแนวคิด "ประชาคมเอเชียตะวันออก" ในกรอบอาเซียน+3 ที่ภาคเอกชนในวงการบันเทิงเอเชีย เป็นผู้ขับเคลื่อนแนวคิดนี้ โดยการหลอมรวมวงการบันเทิงเอเชียเข้าด้วยกัน









2.อัตลักษณ์ (identity) คืออะไร

อัตลักษณ์ เกิดจากการตั้งคำถามว่า "ฉันคือใคร" และ คำถามต่อไปคือ "แล้วมีใครที่เหมือนฉันบ้าง" หรืออาจจะแปลอย่างง่ายๆว่า "สิ่งที่เหมือนกัน ร่วมกัน"

ซึ่ง "อัตลักษณ์" จะแตกต่างกับคำว่า "เอกลักษณ์" ที่แปลว่า "สิ่งที่ไม่เหมือนใคร"

ดังนั้น การรวมกลุ่มของมนุษย์ จำเป็นต้องอาศัย กรอบอัตลักษณ์ เพราะจะทำให้มนุษย์ มีความรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน จะทำให้ ไม่เกิดความขัดแย้งภายใน และจะง่ายในการรวมกลุ่ม ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง











3."ประชาคมเอเชียตะวันออก" ในกรอบของ "อาเซียน+3" มีกรอบอัตลักษณ์ (identity) หรือไม่

นักคิดทางรัฐศาสตร์ รู้ดีว่า การรวมกลุ่ม จะต้องอาศัยกรอบอัตลักษณ์ เพื่อทำให้คนในกลุ่มมีความรู้สึกร่วมกันว่าเป็นพวกเดียวกัน ตามพฤติกรรมการรวมกลุ่มของมนุษย์ ดังนั้น ถ้าจะรวมกลุ่มเป็น ประชาคมเอเชียตะวันออก ในกรอบ อาเซียน+3 ประชาชนในกลุ่มดังกล่าว จะมีอัตลักษณ์อะไรร่วมกันบ้าง

กรอบอัตลักษณ์ที่พอจะใช้งานได้ และน่าจะเอามาใช้ในการรวมกลุ่มเป็นประชาคมเอเชียตะวันออกได้ นั้นก็คือลักษณะของ "คนเอเชียมองโกลอยด์" (Mongoloid) หรือคนผิวเหลือง ที่มีลักษณะ ผมดำหยาบ และเหยียดตรง มีขนตามร่างกายค่อนข้างน้อย นัยน์ตามี ตาเรียว ขนาดเล็กและมีสีดำหรือสีน้ำตาล ผิวสีเหลือง น้ำตาลอ่อนจนถึงน้ำตาลเข้ม หน้ากว้าง จมูกเล็ก แม้จะแยกย่อยได้เป็น มองโกลอยด์เหนือ กับมองโกลอยด์ใต้ก็ตาม แต่ทว่าทั้ง 2 กลุ่มก็มิได้มีความแตกต่างกันมากนัก

แม้ว่าเรื่องเชื้อชาติ หรือลักษณ์ทางพันธุ์กรรมของมนุษย์แต่ละลักษณะ อาจจะออกแนว "มายาคติ" แต่มันก็สามารถเอามาเป็นเหตุ และ ผล ทางการเมือง การปกครองได้เสมอ

ซึ่งหากว่าจะทำประชาคมเอเชียตะวันออกในกรอบ อาเซียน+3 จะทำได้ง่ายกว่า แต่ถ้าจะทำประชาคมในกรอบ อาเซียน+6 หรืออาเซียน+8 ซึ่งมี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย รัฐเซีย และอเมริกา ซึ่งจะทำได้ยากกว่า เพราะ ไม่มีอัตลักษณ์ร่วมกัน ซึ่งอาจจะเกิดความขัดแย้งภายใน ดังนั้น กรอบอาเซียน+6 และอาเซียน+8 อาจจะรวมกันได้แค่เขตการค้าเสรี หรือ FTA เท่านั้น







4.แนวคิดในการรวมกลุ่ม เอเชียตะวันออก เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่


แนวคิดของประชาคมเอเชียตะวันออก ใกล้เคียงกับแนวคิดของสหภาพยุโรป แต่แนวคิดที่พอจะย้อนกลับไปได้ และมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรคือ


4.1 วงไพบูรณ์ร่วมมหาเอเชียบูรพา (The Greater East Asia)


แสดงแสตมป์ของญี่ปุ่น ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่จะรวมเอเชียเป็น The Greater East Asia



ประชาคมเอเชียตะวันออก ในกรอบ "อาเซียน+3" นั้น เป็นแนวคิดเดียวกันกับ แนวคิดของ ญี่ปุ่น ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ว่าด้วย วงไพบูรณ์ร่วมมหาเอเชียบูรพา (The Greater East Asia)

แนวคิดของญี่ปุ่น คือ การสร้าง "จักรวรรดิ์ญี่ปุ่น" ที่จะรวบรวมคนเอเชียมองโกลอยด์ และขับไล่ชาวตะวันตก โดย ญี่ปุ่นจะเป็นผู้ปกครอง แต่การเข้ายึดเอเชียของญี่ปุ่นค่อนข้างโหดร้าย สำหรับผู้คนในหลายๆประเทศ




4.2 มหาจักรวรรดิฉิ่นในอดีต


อาณาจักรฉิ่น พร้อมรัฐบรรณาการ (ศึกษาเพิ่มเติ่มจากคำว่า "จิ้มก้อง")


ที่มาของรูป
//commons.wikimedia.org/wiki/File:Qing-Empire1.jpg


ประชาคมเอเชียตะวันออก ในกรอบ อาเซียน+3 ใกล้เคียงกับแนวคิด มหาจักรวรรดิฉิ่นในอดีต จากหลักฐานในอดีต รัฐใดที่ส่งจิ้มก้องให้จีน จีนจะถือว่ารัฐนั้นยอมรับในอำนาจ และอยู่ภายใต้ การคุ้มครองของจักรวรรดิ์ แม้แนวคิดจักรวรรดิฉิ่น จะมีคนแย้งว่า เป็นแค่ทำเพื่อการค้าเท่านั้น ซึ่งก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันในแวดวงวิชาการจนถึงปัจจุบัน


แต่เหตุที่ต้องยก 2 เรื่องนี้มาอีกครั้ง ก็เพื่อปูพื้นเรื่อง และเพื่อสะท้อนทัศนคติ ของ มหาอำนาจทั้ง 2 ต่อ พื้นที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของทั้ง จีน และญี่ปุ่น ที่มองว่า เขตนี้เป็นเขตอิทธิพลของตัวเอง









5.วงการบันเทิงเอเชีย กับ อัตลักษณ์ ประชาคมเอเชียตะวันออก


และเมื่อพูดถึง "วงการบันเทิงเอเชียแล้ว" ในอดีตเราจะหมายถึง ญี่ปุ่น เกาหลี จีน (ไต้หวัน+ฮองกง+จีนแผ่นดินใหญ่) แต่ปัจจุบันมีผู้เล่นเพิ่มเติม นั่นคือ ไทย สิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเชีย ตามลำดับ


ว่าด้วย "อัตลักษณ์" ประชาคมเอเชียตะวันออก ในกรอบ อาเซียน+3 นั้นคือ คนเชื้อสาย มองโกลอยด์ เป็นอัตลักษณ์ที่ กรอบอาเซียน+6 ไม่มี


และสิ่งนี้ คือสิ่งที่ ดร.มหาธีร์ โมหัมหมัด พยายามจะบอก

ว่ากันว่า หากจะทำ "ประชาคม" นั้น องค์กรที่สำคัญที่สุด ไม่ใช่รัฐบาล แต่เป็น "ประชาชน" ต่างหาก ที่จะต้องมีการติดต่อสื่อสาร และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม โดยผ่านสื่อบันเทิง หรือสื่ออื่นๆ รวมทั้งการเดินทางไปมาหาสู่กันอย่างใกล้ชิด

รัฐบาลในประเทศเอเชีย ต่างๆ ไม่ต้องทำอะไรมาก แค่เสนอแนวคิดในการรวมกลุ่ม ถ้าประชาชนเขาเห็นคล้อยตาม เขารู้สึกว่า เขาเป็นพวกเดียวกัน ในกรอบ อาเซียน+3 ภาคประชาชนก็จะเกิดการทำงาน รวมกลุ่มกันเอง ตัวอย่างก็คือ วงการบันเทิง ที่เริ่มรวมตัวกันเองแล้ว โดยที่รัฐไม่ต้องออกแรงใดๆ


ดังนั้น ภาคเอกชน ในวงการบันเทิงเอเชีย จึงเกิดคำนิยามใหม่ที่ชื่อว่า "‘Cross Culture’ (ครอส คัลเจอร์) หรือการแลกปลี่ยนทางวัฒนธรรม ตัวอย่างเช่น ก๊อฟ-ไมค์ นักร้อง จากบริษัท แกรมมี จากประเทศไทย ได้เป็นตัวแทนนักร้องจากประเทศไทย ไปนำเสนอผลงานเพลงที่ประเทศ เกาหลี โดยให้บริษัท JYP ซึ่งเป็น ค่ายเพลงของประเทศเกาหลีทำการตลาดให้



โดยที่ บริษัทแกรมมี จะไม่ไปแข่งกับ JYP แต่จะเน้นร่วมมือกัน ในลักษณะ Win-Win โดยการให้ JYP ในเกาหลีทำการตลาดให้



และในขณะเดียวกัน JYP ก็นำศิลปินของตัวเองซึ่งก็คือ เรน วันเดิ้ลเกิร์ล ให้ แกรมมี ทำตลาดใน ประเทศไทย ให้ เกิดเป็นความร่วมือ ในลักษณะ Win-Win ซึ่งเทรนนี้กำลังได้รับความนิยม


ปัจจุบันยังมี เทศกาล Asian Song Festival ซึ่งจะรวมเอาศิลปินในเอเชีย มาร้องเพลงร่วมกันในเวทีเดียวกัน ซึ่งจะส่งผลต่อการร่วม เป็น ประชาคมเอเชียตะวันออก ได้ในอนาคต

และหากจะอธิบาย อัตลักษณ์ ว่าด้วย คนเอเชียสายพันธ์มองโกลอย์ แบบวิชาการเกินไปก็ดูเหมือนจะเข้าใจยาก แต่จะอธิบายง่ายๆ โดยผ่านทางศิลปิน วงเกิรล์กรุ๊ป และศิลปินนักร้อง ของแต่ละประเทศ ตามรูปข้างล่าง

รูปข้างล่างค่อนข้างมีเยอะ มีรูปวงเกิรล์กรุ๊ป และนักร้องของแต่ละประเทศ ที่พอจะทำให้เราได้เห็นถึงอัตลักษณ์ ที่สามารถนำไปสู่การรวมกลุ่มเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกได้

และมีวงเกิร์ลกรุ๊ป ที่เกิดจากการคัดเอาคนจากชาติต่างๆ ในอาเซียน+3 มาเป็นวงเดียวกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า มีการรวมกันในวงการบันเทิงจริงๆ โดยเฉพาะในรูปที่ 19-22 ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการขับเคลื่อนโดนภาคเอกชนล้วนๆ








6.วงเกิร์ลกรุ๊ปเอเชีย ที่พอจะทำให้เห็นถึงอัตลักษณ์ร่วมกัน ของประชาคมเอเชียตะวันออก ในกรอบอาเซียน+3ได้




1. เกิร์ลกรุ๊ปจีน "ไอดอลเกิร์ล"







2.เกิร์ลกรุ๊ปจีน (ฮองกง) HotCha girls







3.เกิร์ลกรุ๊ปญี่ปุ่น Hinoi Team







4.เกิร์ลกรุ๊ปไทย SUGAR EYES [thailand] girl group






5.เกิร์ลกรุ๊ปเวียดนาม May Trang [vietnam] girl group






6.เกิร์ลกรุ๊ปอินโดนีเซีย String [Indonesia] girl group






7.เกิร์ลกรุ๊ปลาว Genii [Laos] girl group







8.เกิร์ลกรุ๊ปไต้หวัน Hey Girl [Taiwan] girl group







9.เกิร์ลกรุ๊ปญี่ปุ่น Morning Musume [Japan] girl group







10.เกิร์ลกรุ๊ปไทย G-Twenty (G20) [Thailand] girl group







11.เกิร์ลกรุ๊ปเกาหลีใต้ KARA [South Korea] girl group







12.เกิร์ลกรุ๊ปอินโดนีเซีย Dewi Dewi [Indonesia] girl group







13.เกิร์ลกรุ๊ปลาว Supermodel Lao 2010 [Laos] girl group






14.Vietnam commercial 4G FPT Telecom [Vietnam]







15.เกิร์ลกรุ๊ปไทย kiss me5 [Thailand]







16.เกิร์ลกรุ๊ปอินโดนีเซีย TQLA girls group






17.เกิร์ลกรุ๊ปพม่า Miss Kyel Zin Myanmar Pageant Girls [Myanmar]







18.เกิร์ลกรุ๊ปฟิลิปปินส์ PYT (Dania, Nichole, and Ava) [Philippines]








19.เกิร์ลกรุ๊ปรวม ASIENCE [Hong Kong, China, Taiwan, Japan, Thailand, Singapore]

Jaime Fong (Hong Kong), Jiaqing Wei (China), Rainie Yang (Taiwan), JUJU (Japan), MINT (Thailand), Olivia Ong (Singapore)







20.เกิร์ลกรุ๊ปเวียดนาม ญี่ปุน จีน และเกาหลี M.I.S.O. [Vietnamese, Japanese, Chinese and Korean ]







21.เกิร์ลกรุ๊ป ไทย จีน และเกาหลี BABY VOX New Generation 2010 [Chinese, Thailand and Korean]







22.เกิร์ลกรุ๊ป ไทย จีน และเกาหลี Rania [Korea, China and Thailand]




หรือจะดูแบบยูปทูบที่

https://www.youtube.com/watch?v=LCuqThlV4RI



หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมของเกิร์ลกรุ๊ปในเอเชีย จะทำให้เห็นถึงอิธิพลของ K-pop J-pop C-pop ต่อวงเกิร์ลกรุ๊ปในเอเชีย โดยเฉพาะในประเทศไทย เวียดนาม ลาว และกัมพูชา ที่รับรูปแบบมาเต็มๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า อุตสาหกรรมบันเทิง เริ่มที่จะรวมตัวกันผ่านอุตสาหกรรมบันเทิง


//www.bloggang.com/mainblog.php?id=chuk007&month=13-08-2010&group=5&gblog=9













7.ต่อไปเรามาดูกลุ่มนักร้อง หรือศิลปินเดี่ยวของแต่ละประเทศกันบ้าง อาจจะดูอัตลักษณ์ยากหน่อย เพราะเป็น ลักษณะปัจเจกบุคคล ดูผ่านๆก็ได้





(ฟิลิปปินส์) นักร้องวัย 13 ปี จากประเทศฟิลิปินส์ เธอชื่อ charice pempengco เธอดังมาก เพราะเสียงร้องที่ทรงพลัง พอๆกับ มารายเครี่ ดังเพราะเสียงแท้ๆ









(อินโดนีเชีย) นักร้องคนนี้เธอชื่อ Agnes Monica เป็นนักร้องจากประเทศอินโดนีเซีย เพลงที่ผู้เขียนชอบมากคือเพลง Teruskanlah นักร้องคนนี้เธอดังมากในประเทศอินโดนีเชีย และเธอเป็นตัวแทนของอินโดนีเชียในงาน Asia song Festival 2 ปีซ้อน และหากคุณคิดว่า คนอินโดนี้เชีย หน้าตาออกไปทางชนเผ่าอะบอริจิ้นแล้วละก็ คุณคิดผิดแล้ว นั่นแสดงว่า คุณยังไม่รู้จักประเทศในอาเซียนดีพอ








(มาเลเชีย) นักร้องคนนี้เธอชื่อ Siti Nurhaliza จากประเทศ มาเลเซีย เพลงที่อยากแนะนำคือ Azimat Cinta พลังเสียงของเธอนั้นสุดยอดมาก สามารถพิมพ์ชื่อ ในยูทูป แล้วฟังได้ทันที








(มาเลเชีย) นักร้องคนนี้เธอชื่อว่า Karen Kong เป็นนักร้องจากประเทศ มาเลเชียเชื้อสายจีน ซึ่งในมาเลเชียนั้น มีนคนมาเลย์เชื้อสายจีนอยู่ถึง เกือบ 40 เปอร์เซ็น ของทั้งประเทศ คนในมาเลเซีย จะสามารถพูดได้ถึง 3ภาษา คือ มาเลย์ จีน และอังกฤษ









(ฟิลิปปินส์) นักร้องคนนี้เธอชื่อว่า Sarah Geronimo เป็นนักร้องสาว ชาวฟิลิปินส์ ออกอัลบัม ภาษาอังกฤษ ได้น่าฟังที่เดียว เช่นเพลง I Still Believe in Loving You เพราะมาก









(มาเลเชีย) นักร้องคนนี้เธอชื่อว่า ELLA นักร้องจากประเทศมาเลเชีย เพลงที่อยากแนะนำ Standing in the eyes of the World เพราะมากๆ









(ฟิลิปปินส์) น้องร้องคนนี้ชื่อว่า Aicelle Santos เป็นนักร้องจากประเทศฟิลิปินส์ คนฟิลิปินส์ จะร้องเพลงสากลได้เพราะมากๆ









(พม่า) นักร้องคนนี้เธอชื่อ Cindy Gyo Gyar ยังเด็กอยู่เลย นักร้องจะเอาเพลงของ M2M มาร้อง ผู้เขียนเองก็ยอมรับว่า ความรู้เกี่ยวกับศิลปินของเพื่อนบ้านประเทศพม่า ของผู้เขียนน้อยจริงๆ อาจจะเป็นเพราะ ประเทศพม่า เป็นประเทศกึ่งปิดกึ่งเปิด และการเข้าถึงระบบอินเตอร์เน็ตของประชาชนยังต่ำอยู่ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ










(ประเทศไทย) ประเทศไทยจะยอมได้ไง นี้คือ นักร้องไทย ชื่อ พันซ์ ใครเห็นก็หัวใจลพลายกันทั้งนั้น และนี้คือ สิ่งที่ ดร.มหาธีร์ พยายามจะบอก ก็คือ อัตลักษณ์เอเชียตะวันออก หรือ เอเชียสไตล์






(กัมพูชา) นักร้องจากประทศ กัมพูชา ชื่อ Pich Sophea เป็นหนึ่งในนักร้องวง Reymeas Girl ที่เอาเพลงของ Wonder Girls มาร้องทั้งเพลง จนเจ้าของเพลงฟ้องจนเป็นเรื่องเป็นราวมาแล้ว






(เกาหลี+ญี่ปุ่น) นักร้องคนนี้เธอชื่อว่า Younha น่าจะเป็นศิลปินจาก เกาะก๊กโด ที่เกาหลีกับ ญี่ปุ่นกำลังอ้างสิทธิ์กันอยู่ ล้อเล่น ฮ่าๆ เธอร้องทั้ง ภาษาญี่ปุ่น และเกาหลี ปนๆกัน สวยพอสู้น้องพันซ์ของเราได้มะ ฮ่าๆ









(อินโดนีเชีย) นักร้องคนนี้เธอมีชื่อว่า Bunga Citra Lestari จากประเทศอินโดนีเชีย เพลงที่อยากแนะนำคือ Tentang Kamu สามารถพิมพ์ชื่อนักร้อง หรือชื่อเพลง เปิดฟังใน ยูทูปได้ทันที ในรูปทำหน้าดุนะ คนอินโดนี้เชีย หน้าตาก็เหมือนคนบ้านเรามาก








(ฟิลิปปินส์) นักร้องคนนี้เธอชื่อ Love Marie Payawal Ongpauco เป็นนักร้อง ชาวฟิลิปปินส์









(เวียดนาม) นักร้องจากประเทศเวียดนาม ชื่อว่า MY TAM









(ฟิลิปปินส์) นักร้องคนนี้เธอชื่อ Yeng Constantino จากประเทศฟิลิปปินส์








(อินโดนีเชีย) เธอคนนี้มีชื่อว่า Diandra Paramitha Sastrowardoyo ถือเป็น idol ของวัยรุ่นอินโดนีเชีย เธอเป็นนักแสดง และเคยเป็นนางเอก MV ของวง Peterpan วงที่ดังพอๆกับ แคซ บ้านเรา ในเพลงที่ชื่อ "Menghapus jejakmu"








(สิงคโปร์) เธอคนนี้มีชื่อว่า Jeanette Aw เป็นนักแสดงของประเทศสิงคโปร์








(มาเลเชีย) ดารานางแบบ จากประเทศมาเลเชีย เธอชื่อ Carmen Soo เป็นลูกครึ่งมาลายู กับ จีนมาเลย์








(ประเทศไทย) จะยอมแพ้ได้ไง เอาน้องน้ำชาไปสู้ "รักแท้นั่นคืออะไร ตับไตหัวใจ ไส้ตุง" ฮ่าๆ ตอนนี้ วงการบันทึกในเอเชียตะวันออกเกิดการร่วมมือ ในลักษณ์ Cross-cultural นั้นคือ มีการแลกเปลี่ยนศิลปิน ซึ่ง น้องน้ำชา เป็นตัวอย่างหนึ่ง ที่ได้ไปทำเพลงในเกาหลีในนามค่ายเพลงไทย คือ ค่ายเพลงไทย จะเอาศิลปินเกาหลีมาทำตลาดในไทย ส่วนค่ายเพลงเกาหลี จะเอาศิลปินไทยไปทำตลาดในเกาหลี เกิดเป็นความร่วมมือ แบบ Win-Win ซึ่งจะช่วยเร่ง ประชาคมเอเชียตะวันออก ให้เกิดเร็วขึ้น


............................



แถมๆ สวยแบบ สาวไทย กับ สวยแบบ สาวญี่ปุ่น เลือกไม่ถูกกันเลยทีเดียว


T-pop J-pop K-pop C-pop บันเทิงเอเชีย บันเทิงเกาหลี บันเทิงญี่ปุ่น กระแส ไต้หวัน บันเทิงไทย หนังไทย ละครไทย ซีรีย์เกาหลี










8.ใครคือ "Chinese People" หรือ "Japanese People" ในสายตาชาวโลก

ถ้าจะบอกว่า ก็คือผู้คนในอาเซียน+3 นี้แหละที่ถูกเรียกเช่นนั้น ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น นั่นเพราะชาวตะวันตกระดับประชาชนทั่วๆไป ถ้าพูดถึงคนเอเชียผิวเหลือง จะนึกชื่อออกแค่ 2 ประเทศนั่นคือ จีน และญี่ปุ่น แต่ปัจจุบันเป็นเรื่องน่ายินดี หรือยินร้ายก็ไม่ทราบ ประเทศไทยก็เริ่มมาแรง เริ่มเป็นที่รู้จัก นั่นเพราะการเมืองกีฬาสีของเรา กับมวยไทยที่ดังก้องโลก แต่ฝรั่งระดับประชาชนทั่วไป เขาดันเข้าใจผิดว่า ไทยแลนด์ คือ ไต้หวัน กรรมจริงๆ








9.ใครคือ "Asian" ในสายตาชาวโลก

"Chinese People" หรือ "Japanese People" เป็นความหมายที่ใกล้เคียง กับคำว่า "Asian" ซึ่งจะถูกแปลความหมายในโลกตะวันตกว่า คือผู้คนในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมกัน

และก็มีความหมายเฉพาะเจาะจงคือ คำว่า "Oriental" ซึ่งตีความหมายในโลกตะวันตกได้ว่า คือผู้คนที่อาศัยอยู่ในดินแดนที่เรียกว่า "Far East" (North East Asia + South East Asia) และความหมายของ "Oriental" ยังอ้างอิงได้ถึงคำว่า "Mongoloid race" อีกด้วย

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น คำตอบ มันก็เหมือนกับ คนไทย แยก คนอังกฤษ คนเยอรมัน คนสวีเดน คนโปแลนด์ ไม่ออกนั่นแหละ หากไม่ได้คลุกคลีจริงๆ เราก็จะเหมารวมว่า เป็น ฝรั่งทั้งหมด ดังนั้นหากจะรวมเป็นประชาคมเอเชียตะวันออกจริงๆ อัตลักษณ์ตรงนี้สามารถใช้งานได้แน่นอน ซึ่งหากชูกรอบอัตลักษณ์ตรงนี้ ประชาชนจะคล้อยตามได้ง่ายกว่า


หลายๆคนที่เคยเดินทางไปต่างประเทศบ่อยๆ ก็คงเจอประสบการณ์ ที่ ชาวต่างชาติเข้ามาทักผิดเสมอๆ ว่าเป็น "Chinese People" ทั้งๆที่ไม่ใช่ เมื่อ บอกว่าเป็นคนไทย มาจาก ไทยแลนด์ ฝรั่งก็จะบอกว่า อ๋อ ไต้หวันๆ ก็อยากบอกดังๆ ว่า ไทยแลนด์!! ฝรั่งมันก็ อ๋อ ไต้หวันๆ อยู่นั่นแหละ จนกลายเป็นเรื่องตลกสำหรับคนไทย เมื่อคนไทยพูดคำสบดออกไป แล้วฝรั่งก็พูดว่า "อ๋อ คูเวต!!"












10.เหตุผลของ อัตลักษณ์นี้ คือเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ญี่ปุ่น ก่อสงครามโลกครั้งที่ 2

ตอนสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นก็อ้างเหตุผลตรงนี้แหละมาก่อสงคราม เช่นเดียวกับ เยอรมัน ที่คิดจะรวมยุโรป โดยการก่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เหมือนกัน แต่ตอนนั้นทำไม่สำเร็จ และปัจจุบันแนวคิดของ เยอรมัน ก็กลายเป็น สหภาพยุโรปไปซะแล้ว

แต่ทว่า กรอบอัตลักษณ์ ที่ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันออกเฉียงใต้ มีร่วมกันนี้ ถูกญี่ปุ่นใช้เป็นเหตุผลสนับสนุนสงคราม ซึ่งความจริงอีกส่วนที่ปฎิเสษไม่ได้ก็คือ ญี่ปุ่นต้องการสร้าง จักรวรรดิ์ญี่ปุ่น เพราะเล่งเห็นถึงทรัพยากรในพื้นที่เป็นสำคัญ


การรวมกลุ่ม จำเป็นต้องหาอัตลัษณ์ร่วมกันซะก่อน จึงจะรวมกันได้ หากหาไม่ได้ ก็รวมกันยาก เพราะจะเกิดการขัดแย้งได้ง่าย

ความจริงอยากจะรวมอินเดียเข้ามาด้วย แต่ไม่รู้ว่าจะใช้กรอบอัตลักษณ์ไหนดี ศาสนาก็ไม่ได้ หน้าตาผู้คนก็ไม่ได้ วัฒนธรรมก็ไม่ได้ ขัดกับจีน ขัดกับอินโดนีเซียอีก ไม่รู้จะใช้กรอบไหนดี แถม อินเดีย กับจีน ก็แย่งดินแดนกันในรัฐอัจรัสประเทศกันอีก แถมแข่งอิทธิพลกันในมหาสมุทรอินเดียอีก


อดีตนายกรัฐมตรี มาเลเชีย พยามเสนอ กรอบ "ประชาคมเอเชียตะวันออก" ในกรอบ "อาเซียน+3" (ในอนาคตอาจจะมี เกาหลีเหนือ ไต้หวัน มองโกเลีย เนปาน ภูฎาน) เพราะเลงเห็นถึง "อัตลักษณ์" ตรงนี้













11.การอพยบของชาวจีนโพ้นทะเล ยิ่งส่งผลของกรอบ อัตลักษณ์คนเอเชียเชื้อสายมองโกลอยด์ เด่นชัดมากขึ้นไปอีก

อัตลักษณ์ ในเรื่อง คนเอเชียเชื้อสายมองโกลอยด์ นี้ เกิดขึ้นมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะด้วยเหตุที่คนใน อาเซียน 10 ประเทศ ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกับคนใน เอเชียตะวันออกตอนบน อยู่แล้ว แต่ปัจจัยเร่ง ที่ทำให้คล้าย (Similarity) กันเข้าไปอีก ก็เพราะ "การอพยบของชาวจีน" ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และการพ่ายแพ้ของพรรคก๊กมินตั๊ง จนต้องอพยบไปไต้หวัน

และก่อนที่ "เติ้งเสี่ยวผิง" จะประกาศนโยบาย 4 ทันสมัย ตอนนั้น คนจีนลำบากมาก จนต้องอพยบออกไปนอกประเทศจำนวนมาก และประเทศที่ชาวจีนอพยบ ไปมากที่สุด ก็คือ ประเทศใน "เอเชียตะวันออกเฉียงใต้" นี้แหละ จนปัจจุบัน คนจีนเมื่อครั้งที่ อพยบ ก็ได้กลายเป็นประชากร ของประเทศต่างๆในอาเซียนไปจนหมด เช่นใน ประเทศมาเลเชีย ที่มีชาวมาเลเชียเชื้อสายจีนอยู่ถึง เกือบ 40 เปอร์เซ็นของประชากรทั้งหมด จากนั้นเวลาต่อมา ก็เกิดการแต่งงานกับคนท้องถิ่น จนคนในอาเซียน มีหน้าตาคล้ายคลึงกับคนจีน คล้ายกับ คนเกาหลี คนญี่ปุ่น ในประเทศไทย และในประเทศเวียดนาม คือตัวอย่างที่ชัดเจน

และแน่นอน "วัฒนธรรมจีน" ก็ตามผู้อพยบมาด้วย จนผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่น อย่างกลมกลื่น โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่เดียวนี้ แยกคนไทย คนจีน คนเกาหลี คนญี่ปุน แบบดูไม่ออก

ในพม่า ลาว คนจีนก็เข้าไปเยอะมาก เนื่องด้วย มีเขตแดนติดกัน และมีทรัพยากรมาก ส่วนเวียดนาม ไม่ต้องพูดถึง ถูกนโยบายกลื่นชาติ จากจีนในอดีต









12.ชาวจีนอพยบกว่า 80 เปอร์เซ็นส์ อาศัยอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ข้อมูลเพิ่มเติม ชาวจีนอพยบ ซึ่งมีการทำสถิติ พบว่ามีจำนวน 40 ล้านคน ในจำนวนนี้ ยังไม่ได้รวมลูกผสม ชาวจีนอพยบ ไม่ได้อพยบไปไหนไกลเลย จำนวนกว่า 80 เปอร์เซ็นส์ ก็อพยบ ลงมาอยู่ในย่านอาเซียนนี้แหละ

อ้างอิงจาก วิกิ


//en.wikipedia.org/wiki/Overseas_Chinese














13.อัตลักษณ์อินเดีย

สาวอินเดีย ค่อนข้างหน้าตาดีกันมาก ในอินเดีย อัตลักษณ์ มองโกลอยด์นี้ไม่มีเพราะ คนอินเดียส่วนใหญ่ถูกจัดให้เป็น เป็น คอเคซอย์ สายหนึ่ง ที่มีสันจมูกใหญ่ และมีวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง เป็นเอกลักษณ์

ส่วนวง การบันเทิงอินเดีย นั้น เรามักจะไม่รวมเป็น "บันเทิงเอเชีย" แต่จะเป็น "บันเทิงอินเดีย" ไปเลย เนื่องจาก มีรูปแบบการนำเสนอที่ มีความแตกต่าง ด้วยสไตล์การแต่งตัว การเต้นที่มีเอกลักษณ์ และหน้าตาที่ไม่เหมือนกับคนเอเชียตะวันออก






ในรูปนี้ เป็นสาวอินเดีย หากเดินในกรุงเทพ เราก็จะรู้ได้ทันที่ ว่านี้คือคนอินเดีย หรือไม่ก็ปากีสถาน หรือไม่ก็ตุรกี อาหรับไปนู้น



แสดงรูป นางแบบอินเดีย




แสดงรูป ดาราอินเดีย

















14.อัตลักษณ์ออสเตรเลีย

ประเทศออสเตรเลีย เกิดจากการอพยบเข้ามาของชาวยุโรป โดยเฉพาะชาวอังกฤษ และมีวัฒนธรรมแบบ Anglo-Saxons





รูปนี้ แสดงดาราของประเทศออสเตรเลีย



รูปนี้ แสดงดาราชาวออสเตรเลีย











15.วงการบันเทิงออสเตรเลีย กับนโยบาย WHITE AUSTRALIAN POLICY

ส่วน "วงการบันเทิงออสเตรเลีย" จะออกแนวตะวันตก ยุโรป หรือแนวอินเตอร์ไปเลย ซึ่งอัตลักษณ์ จะไม่เหมือนกับเอเชียตะวันออกเฉียงหนือ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


ออสเตรเลีย บอกโลกเสมอๆว่า ตัวเองคือ "ตะวันตก" ซึ่งก็น่าจะจริง เพราะ จากนโยบาล WHITE AUSTRALIAN POLICY ที่ใช้มาเป็นร้อยปี ที่จะไม่รับคนผิวสี (ผิวเหลือง และผิวดำ)เข้าไปเป็นประชากรออสเตรเลีย นอกจากคนขาวเท่านั้น ใครเคยไปออสเตรเลียก็คงมีประสบการณ์ เหยีี่ยดผิวคนเอเชียจาก คนออสเตรเลียมาบ้าง แม้จะไม่แรงเท่าในอดีต



และเมื่อไม่กี่ปีมานี้ พรรค ONE NATION PARTY ของ นาง PAULINE HANSON ที่ต่อต้านคนเอเชีย กลับได้คะแนนเสียงเป็นจำนวนมาก นั่นสะท้อนให้เห็นว่า คนออสเตรเลียจำนวนไม่น้อย รู้สึกอย่างไรกับคนเอเชีย คนออสเตรเลียจำนวนมาก ไม่อยากให้คนหน้าเอเชียไปเดินไปเดินมาใน "ซิดนี้" ในฐานนะประชากรร่วมประเทศออสเตรเลีย แม้คนออสซี่จะไม่พูดออกมาตรงๆ แต่ก็รู้ๆกันอยู่ แล้ว อย่างนี้ "กรอบอาเซียน+6" มันจะพัฒนาไปเป็นประชาคมได้อย่างไร แต่ก็หวังว่า ความคิดเรื่อง เหยียดผิว ในออสเตรเลีย จะหมดไปในอนาคต












16.แล้วการสร้างประชาคมเอเชียตะวันออก ในกรอบ อาเซียน+6 (หรือ อาเซียน +8) ปัญหาในกรอบทั้ง 2 คืออะไร มีอัตลักษณ์ร่วมกันหรือไม่ และมีที่มาอย่างไร

ตอนแรกกรอบอาเซียน+6 มี อินเดีย ออสเตรเรีย นิวซีแลนด์ แต่มาขยายกรอบเป็นอาเซียน+8 คือ เพิ่ม อเมริกา กับรัสเซียเข้ามา


แต่หากจะอธิบายต่อก็คงจะยาวมากเกินไป แต่ผู้เขียนก็พยายามเหลือเกินที่จะหา "อัตลักษณ์" ในกรอบ "อาเซียน+6 (หรืออาเซียน +8)" ให้ได้ แต่ก็หายากจริงๆ อัตลักษณ์ เดียว ในกรอบ +6 ก็คือ ค้าขายกันมาก และอยู่ใกล้กัน แค่นั้นจริงๆ และกรอบ+6 น่าจะเป็นการผลักดันจาก ออสเตรเลีย ที่รู้สึกว่าตัวเองถูกทิ้ง และไม่มีกลุ่ม และการผลักดันจาก อเมริกา ที่เริ่มรู้สึกว่า ตัวเองกำลังถูกกีดกันออกจากเอเชีย


และล่าสุด การหลุดออกมาของเอกสารลับ ที่ถูกแฉโดย "วิกิลีคส์" ระบุว่า การสร้างประชาคมเอเชียตะวันออกใน กรอบ อาเซียน+6 หรืออาเซียน+8 โดยใช้ชื่อใหม่ว่า "ประชาคมเอเชียแปซิฟิก" โดยการผลักดันของออสเตรเลีย นั่นเพราะ ออสเตรเลียต้องการใช้กรอบนี้เพื่อต่อต้านจีน ซึ่ง"วิกิลีคส์"ระบุว่า ออสเตรเลียเคยแนะนำให้อเมริกาเตรียมใช้กำลังกับจีน ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ควบคุมไม่ได้ งานนี้ดูไม่จืดจริงๆ











17.กรอบอาเซียน+3 กรอบอาเซียน+6 หรือกรอบอาเซียน+8 ปริมาณ หรือ คุณภาพ ความพอดีอยู่ที่ไหน

หากจะเอา อาเซียนกรอบ+6 (ปัจจุบันอาเซียน+6 ขยายเป็นอาเซียน+8 แล้ว) จริงๆ เพราะต้องการ "ปริมาณ" แต่ "คุณภาพ" ก็อาจจะไม่มี ก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะเอา "ปริมาณ" หรือ "คุณภาพ" ในการรวมกลุ่ม เป็น "เขตเอเชียตะวันออก"



อนึ่ง แล้วบังคลาเทศ ศรีลังกา เนปาล ปากีสถาน ฟิจิ นิวกีนี ฯลฯ จะเอามารวมด้วยไหม เพราะใช้กฎภูมิศาสตร์ เช่นเดียวกับอินเดีย และออสเตรเลีย

แล้วรัสเซียละ เพราะอยู่ใกล้ เกาหลี จีน ญี่ปุ่น นิ น่าจะรวมได้ ใช้มาตรฐานเดียวกับออสเตรเลียในการรวม เป็น "เขตเอเชียตะวันออก"


หากจะใช้กรอบ+6 ทำประชาคมจริงๆ อาจมีคำถามจะประเทศรัฐเซีย ถามอาเซียนว่า ทำไม่ไม่เชิญรัฐเซียไปร่วมประชาคมด้วย ขนาดออสเตรเลีย ยังเข้าไปร่วมได้ ใช้หลักเกณฑ์เดี่ยวกัน คือ ภูมิศาสตร์ใกล้จีน ญี่ปุ่น เกาหลี แม้จะเป็นฝรั่งหัวแดงก็ตาม แต่ก็เหมือนออสเตรเลียนิ อาเซียนควรตอบคำถามนี้อย่างไร


แล้วก็อาจจะมีคำถามจาก บังคลาเทศ ศรีลังกา เนปาล ถามอาเซียนว่า ทำไมไม่เชิญพวกเขาไปร่วมประชาคมด้วย ขนาดอินเดียยังร่วมได้เลยนิ อาเซียนควรตอบพวกเขาว่า.....?


แล้ว อาจจะมีคำถามจากประเทศเล็กๆ ในโซนโอเชียเนีย เช่น นิวกีนี ฟิจิ ฯลฯ ถามอาเซียนว่า ทำไมไม่ชวนพวกเขาไปเป็นประชาคมด้วย ขนาดออสเตรเลีย กับนิวซีแลนด์ ยังร่วมได้นิ อาเซียนจะตอบคำถามต่อประเทศเหล่านี้ว่า....



แล้วถ้าหาก รัสเซีย ร่วมได้ อาจจะมีบางประเทศไปดึงอเมริกาเข้ามาด้วย เพราะมีเกาะกวม กับรัฐอลาสก้า ส่วน แคนาดา ก็น่าจะมีสิทธินะงานนนี้ ถ้าอย่างนั้น ก็ทำ "ประชาคมโลก" ไปเลยน่าจะง่ายกว่า อันนี้ผู้เขียนหยิกแกมหยอก แต่ คำว่า กรอบ คำว่า "วง" และ "เหตุผล" ว่า จะรับใคร ไม่รับใครมาอยู่ในวง ใครอยู่วงนอก ใครอยู่วงใน ต้องอธิบายได้ ว่าทำไมจึงเป็นแบบนั้น ทำไมเป็นแบบนี้


ดังนั้น การทำประชาคมแบบนี้ กรอบใหญ่เกินไปก็ไม่ดี เพราะจะอ่อนแอจากภายใน เนื่องจากความขัดแย้งในหมู่สมาชิก และการขาดอัตลักษณ์ หรือกรอบเล็กเกินไปก็ไม่ดี เพราะจะขาดพลัง ดังนั้น กรอบ อาเซียน+3 เป็นกรอบที่อยู่แบบพอดีๆ ที่สุดแล้ว












18.หลักคิดของการรวมกลุ่มใครอยู่วงนอก ใครอยู่วงใน ต้องจัดสรรให้ถูก เพื่อความสมดุล


แสดงรูปว่า ใครอยู่วงใน ใครอยู่วงนอก





18.1 อาเซียน 10 ประเทศ (สหภาพอาเซียน)

คือวงในสุด คือ อาเซียน 10 ประเทศ ต้องรวมตัวกันให้ถึงคำว่า "สหภาพ" หรือ "กึ่งสหภาพ" กล่าวคือ ต้องใกล้ชิดกันที่สุด จนถึงขนาดเป็น ประชาชนเดินทางได้อย่างเสรีที่สุด เคลื่อนย้ายเงินทุน สินค้า ระบบธนาคาร และที่สำคัญ ต้องเป็นหนึ่งเดียวกันในด้านนโนบายต่างประเทศ ดังนั้นอาเซียน ต้องรวมตัวกันอย่างน้อยๆ "กึ่งสหภาพ" ก่อนที่จะไปรวมเป็นประชาคมเอเชียตะวันออก ทั้งนี้ และทั้งนั้น เพื่อเป็นการสร้างอำนาจต่อรอง กับ จีน และ ญี่ปุ่น ในกรอบอาเซียน+3



18.2 กรอบ อาเซียน+3 (ประชาคมเอเชียตะวันออก)

คือวงต่อมา (วงกลาง) กรอบนี้ จะมีความใกล้ชิด มากกว่ากรอบ อาเซียน+6 แต่จะน้อยกว่ากรอบ อาเซียน 10 ประเทศ เหตุผลเพราะ อัตลักษณ์ หน้าตาของผู้คน ที่ดูแล้ว "กลมกลืน" จนทำให้ไม่รู้สึกเกิดความแปลกแยกมากนัก และเป็นกรอบที่มีพลังทางเศรษฐกิจสูงมาก



18.3 กรอบอาเซียน+6 ซึ่งปัจจุบันขยายเป็นอาเซียน+8 (เขตการค้าเสรี หรือ FTA และเขตความั่นคงเอเชียแปซิก)

คือวงนอกสุด เหตุผลของกรอบ +6 หรือ +8เนื่องจาก อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รัสเซีย และอเมริการ ในกรอบ+8 ถือว่า มีภูมิรัฐศาสตร์ ใกล้อาเซียน และมีการค้าขายกันมาก กรอบนี้ อาจจะมีการรวมกันในเรื่อง เขตการค้าเสรี หรือ FTA เท่านั้น เพราะ หากมีการเคลื่อนย้ายแรงงาน อย่างเสรี อาจจะมีปัญหาได้ โดยเฉพาะออสเตรเลีย คงไม่ยอมแน่ๆ ดังนั้น การเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีในกรอบนี้ อาจจะต้องใช้เวลานานพอสมควร

ซึ่งเราจะต้องไม่ลืมไปว่า อเมริกา หรือรัสเซีย เป็นประเทศที่มีบทบาททั้งทางด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจ ในภูมิภาคเอเชีย แต่ต้องให้อยู่ในวงนอกสุดของสถาปัตยกรรมนี้ เพราะถ้าเอาเข้ามาในวงในสุด อาจจะมีปัญหาการครอบงำอาเซียนได้

โดยเฉพาะกรอบด้านความมั่นคงที่ต้องเอามายันกับจีนเอาไว้ เพื่อให้เกิดเสถียรภาพในภูมิภาค เพราะถ้าไม่มีอเมริกา กับรัสเซีย ในสถาปัตยกรรมอาเซียนวงนอกสุด แนวโน้มคือ จีน จะเข้าแทรกแทรงอาเซียน 10 ประเทศ ในกรอบวงในสุดได้ โดยเฉพาะ อำนาจทางทหารของจีน ที่กำลังใหญ่โตขึ้นทุกวัน









19.สรุปสถาปัตยกรรมอาเซียน ใครอยู่วงนอก ใครอยู่วงใน

ระดับความใกล้ชิดเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย

(อาเซียน) ---> (อาเซียน+3) ---> (อาเซียน+6 แต่ปัจจุบันขยายเป็นอาเซียน+8แล้ว)






















20.สรุป

ผู้เขียนนั้น มิใช่เป็นพวกเหยียดผิว หรือ racialism แต่อย่างใด เพราะถึงอย่างไร เขาก็เป็นคนเหมือนกัน ไม่มีความแตกต่างกันมากนัก

แต่ที่ต้องมีกรอบอัตลักษณ์ตรงนี้ เพราะการรวมกลุ่มต้องอาศัย "อัตลักษณ์" และประเทศไทยก็อยู่คนเดียวไม่ได้ เราจะอ่อนแอ และโดนรังแกได้ง่าย วิกฤตต้มยำกุ้ง ปี2540 คือตัวอย่างที่ชัดเจน ดังนั้นจึงต้องรวมกลุ่ม แต่การรวมกลุ่ม ต้องมีเหตุผล และกรอบอัตลักษณ์ ว่า ทำไมจึงรวมกัน ทำไมไม่แยกกัน เช่น

ประเทศจีน รวมกันได้ เพราะ 1.อักษรจีน 2.ตะเกียบ และ 3.หน้าตาผู้คนเหมือนกัน

อินเดียรวมกันได้ เพราะ 1.ภาษาอังกฤษ (เจ้าอาณานิคมทิ้งไว้ให้) 2.ศาสนาอินดู และ3.หน้าตาผู้คนเหมือนกัน

อาหรับ พยายามจะรวมกัน เพราะ 1.ภาษาอาหรับ และ 2.ศาสนาอิสลาม แต่โดนตะวันตกแทรกแทรงตลอด จนปัจจุบันมีองค์กรที่ชื่อว่า "สันนิบาตอาหรับ" แต่องค์กรนี้ ถูกแทรกแทรงจนทำงานไม่ค่อยได้


อเมริกาใต้ พยายามจะรวมกัน เพราะเหตุผลทางภูมิศาสตร์ และพยายามจะสร้างอัตลักษณ์ "ลาติน" ร่วมกัน แต่ดูเหมือน อเมริกาจะไม่ยอมง่ายๆ

แอฟริกา ก็พยายามจะรวมกัน เพราะเหตุผลทางภูมิศาสตร์ แต่ชนชาติ "อาหรับ" บริเวณแอฟริกาเหนือ ดูเหมือนจะไม่ค่อยอยากจะรวมด้วย เพราะชาติพันธุ์ที่ต่างกัน ดังนั้นสหภาพแอฟริกาก็คงไม่ง่ายเช่นกัน


ยุโรป รวมกันได้เพราะ 1.มีประวัติศาสตร์ร่วมกัน 2.อยู่ในภูมิศาสตร์เดียวกัน 3.ใช้อักษรโรมันเหมือนกัน 4.ศาสนาคริสต์เหมือนกัน และ 5.หน้าตาผู้คนใกล้เคียงกัน


จะเห็นว่า สิ่งที่เหมือนกันมากที่สุด จะรวมกันทางการเมืองได้ง่ายที่สุด สหภาพยุโรปคือตัวอย่างที่ชัดมาก

และคำว่า อัตลักษณ์ มีพื้นฐานร่วมกันอยู่อย่างคือ "ต้องใช้เวลานานในการสร้าง"


หากเราจะลองฉีกกรอบความคิด ก็ลองรวม อิสราเอลกับอาหรับ หรือ ปากีสถานกับอินเดีย (ปากีกับอินเดียเคยรวมกันมาก่อนแล้วเพิ่งมาแยก) หรือรวมยุโรปเข้ากับแอฟริกา กลายเป็น สหภาพแอฟริกายุโรป หรือแม้แต่ กรอบอาเซียน+6 ที่จะรวมจีนกับอินเดีย มันก็ยังยากอยู่ เพราะตามประวัติศาสตร์โลก มหาอำนาจไม่เคยรวมกันได้ ส่วนใหญ่ความสัมพันธ์จะเป็นไปในรูปแบบ "วัดพลัง" กันซะมากกว่า


ซึ่งว่ากันว่า หากศึกษาประวัติศาสตร์ มักจะทำนายอนาคตอย่างเคร่าๆได้ หรือ ประวัติศาสตร์มีกจะซ้ำรอยเสมอๆ มหาอำนาจมักรวมกันไม่ค่อยจะได้ ไม่รู้เป็นเพราะอะไร


อนึ่ง กรอบอาเซียน+6 ที่จะรวมกัน ก็น่าสนใจอยู่ และผู้เขียนก็พยายามหาอัตลักษณ์ของกรอบนี้อยู่จนถึงทุกวันนี้ ก็ยัง งงๆอยู่ หากว่า จะลองดึงรัฐเซีย อเมริกา เข้ามาในกรอบนี้ เป็น อาเซียน+8 ก็น่าสนใจไม่น้อย กรอบนี้ไม่ต้องไปถึงการเป็นประชาคม เอาแค่เขตการค้าเสรีก็จะดีมากๆแล้ว (อย่างที่บอก มหาอำนาจมักจะขัดแย้งกัน)



จากประวัติศาสตร์โลก มนุษย์ทะเลาะกัน เพราะ "ความไม่เหมือน" มานักต่อนักแล้ว เช่นพูดไม่เหมือนกัน ศาสนาไม่เหมือนกัน หน้าตาไม่เหมือนกัน คิดไม่เหมือนกัน ฯลฯ อย่าว่าแต่อย่างนั้นอย่างงี้เลย ขนาดคนชาติเดียวกันเกือบจะเหมือนกันทุกอย่าง ยังสรรหาสีเสื้อที่ต่างกันมาใส่ แล้วทะเลาะกันอยู่ได้แทบเป็นแทบตาย ไม่รู้ว่าเป็นเพราะอะไร








...................................

ตอนต่อไป "บทวิเคราะห์ของตะวันตก ต่อ ประชาคมเอเชียตะวันออก"

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=chuk007&month=02-12-2009&group=3&gblog=4







Create Date : 30 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 20 พฤศจิกายน 2554 11:55:46 น. 0 comments
Counter : 14709 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

chuk007
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




Friends' blogs
[Add chuk007's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.