Group Blog
 
 
เมษายน 2564
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
20 เมษายน 2564
 
All Blogs
 
อาเซียนจะช่วยปัญหาการเมืองพม่าได้อย่างได้

อาเซียนจะช่วยพม่าได้อย่างไร
 
รูปที่ 1 แผนที่แสดงชนกลุ่มน้อยพม่า เครดิด dulyapak

1. คู่ขัดแย้ง

เป็นการขัดแย้งกันของภาคประชาชน (โดยอ้างอิงจากผลการเลือกตั้งที่ผ่านมา) ร่วมกับ กองกำลังชาติพันธ์ุต่างๆ  กับอีกฝ่ายคือ กองทัพพม่า  (ทัดมาดอ)


2. ฝ่ายไหนมีกำลังมากกว่า

เมื่อมองกำลังในลักษณะ "อำนาจ"  ต้องยอมรับว่า กองทัพพม่ามีกำลังมากกว่า  แต่อีกฝ่ายคือ ภาคประชาชน และกองกำลังชนกลุ่มน้อย  กำลังจับมือกัน และกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ  เป็นการต่อสู้ในลักษณะ  การทหาร VS การเมือง  


3. ฝ่ายไหนกำลังได้เปรียบ  หรือเสียเปรียบ

ผมมองว่า กองทัพพม่ากำลังเสียเปรียบ  เพราะการปราบปรามอย่างรุนแรง แบบที่เคยใช้ในอดีต เหมือนในปี 2533 จะเริ่มใช้ไม่ได้ผล  นั่นเพราะการมาถึงของ การปฏิวัติเทคโนโลยีการสื่อสาร  หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า  "ยุค 4.0"  ซึ่งทำให้คนตัวเล็กๆ  สามารถทำเรื่องใหญ่ๆได้  แค่คลิปๆเดียวก็สามารถสั่นสะทือนโลกได้  อย่างคลิปที่ทหารพม่ายิงชาวบ้านที่ขี่จักรยานยนต์ผ่านมาโดยบังเอิญ  แล้วจากนั้น ก็โยนศพขึ้นรถ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น... ถ้าเป็นสมัยก่อนเหตุการณ์แบบนี้จะไม่มีใครได้เห็น     ดังนั้น แค่คลิปนี้ที่ถูกแชร์ออกไป  ก็สร้างความเห็นอกเห็นใจ ต่อคนพม่าให้กับคนทั้งโลก  และหากว่ามีโผล่มาอีกคลิปเช่นว่า มีทหารพม่าบุกเข้าไปข่มขืนผู้หญิงถึงในบ้าน หรือ การรื้อค้นปล้นร้านทอง อาจจะถ่ายโดยกล้องวงจรปิดในบ้าน แล้วถูกแชร์ออกมา  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจริง หรือจัดฉาก  ผมไม่แน่ใจเลยว่า กองทัพพม่าจะปกครองประชาชนที่รู้สึกหวาดกลัวเช่นนี้ได้อย่างไร อีกทั้งความเห็นอกเห็นใจจากคนทั่วโลก ซึ่งในโลกออนไลน์มีพลังอย่างคาดไม่ถึงเลยทีเดียว













รูปที่ 2 แสดงเหตุการณ์ 911 

4. เมื่อประชาชนรู้สึกหวาดกลัว  หรือเกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัย  มันจะเกิดอะไรขึ้น

มนุษย์ทุกคน ก็อยากที่จะปกป้องตัวเอง  และคนที่ตัวเองรัก อาจจะเริ่มต่อต้านแบบเบาๆ  อย่างอารยะขัดขืน  ไปจนถึงขั้นจับอาวุทธขึ้นสู้   ซึ่งเมื่อคนจำนวนมาก มีความรู้สึกร่วมกัน ทั้งเรื่องที่หวาดกลัวร่วมกัน  หรือมีเป้าหมายร่วมกัน จะเป็นเรื่องที่น่ากลัวอย่างยิ่งสำหรับอำนาจรัฐ  ตัวอย่างที่เห็นชัดคือ  กรณี 911 เครื่องบินชนตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์   ซึ่ง บิลลาเดน เป็นเพียงสัญลักษณ์  นั่นหมายความว่า แค่สัญลักษณ์ก็สามารถสร้าง "แนวร่วม" การก่อการร้ายได้เป็นจำนวนมาก  และไม่จำเป็นต้องมีสายการบังคับบัญชา  เหมือนกับกองทัพ หรือระบบราชการใดๆ    และอีกหนึ่งตัวอย่าง  เอาใกล้ๆตัวหน่อย  ก็จะมีเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้  ซึ่งกลุ่มคนจำนวนหนึ่งโดนปลูกฝัง และสร้างค่านิยมร่วมกัน  มีเป้าหมายร่วมกัน เมื่อพวกเขาเริ่มก่อการ   ก็สามารถสร้างความลำบากให้กับรัฐไทย ซึ่งเป็นรัฐที่เข้มแข็ง จนถึงตอนนี้  ก็ยังแก้กันยังไม่จบเลย  


5. เป้าหมายร่วมกันของคนพม่า

เมื่อคนพม่ามีความหวาดกลัวร่วมกัน  และมีเป้าหมายเดียวกัน พวกเขาก็จะเริ่มร่วมกลุ่ม ปรึกษาหารือ  ตามแต่ความคิด และกำลังของแต่ละกลุ่ม  ซึ่งไม่ต้องมีสายการบังคับบัญชาใดๆ  เพื่อเป้าหมายเดียวกัน  ส่วนอองซานซูจี  ก็เป็นเพียงสัญลักษณ์ทางการเมืองเท่านั้น  โดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร และสงครามสื่อ ทั้งจากสถานีข่าวกระแสหลัก และในโลกออนไลน์  ทั้งข่าวจริง และข่าวลวง ล้วนมีผลทั้งสิ้น  ซึ่งสงครามสื่อ กองทัพพม่า จากที่ผ่านๆมา  ไม่ถนัดงานด้านนี้เลย  (พูดไป ไม่มีใครเชื่อ เพราะสูญเสียภาพลักษณ์ของพระเอกไปเสียแล้ว)











 

รูปที่ 3 แสดงชนกลุ่มน้อยพม่า เครดิด ประชาไท

6. ชนกลุ่มน้อย  "ยิงปราบ ยิงโต" 

แน่นอนว่า  หลังจากการเซ็นสัญญาป่างโหลง กองทัพพม่าก็ยังไม่สามารถปราบปรามชนกลุ่มน้อยได้เลย เพราะชนกลุ่มน้อย มีชัยภูมิที่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ยากต่อการโจมตี  อีกทั้งยังมี "หลังพิง" ซึ่งเป็น ดินแดนของประเทศเพื่อนบ้าน เอาไว้ตั้งหลักได้   ซึ่งดินแดนของประเทศเพื่อนบ้านนั้นยังเป็นฐานสนับสนุน "แบบลับๆ" ให้กับกองกำลังชนกลุ่มน้อยได้เป็นอย่างดี  ทั้งเรื่องเงินทุน  อาหาร  และ อาวุทธ  ในลักษณะ "กองกำลังใต้ดิน"  ซึ่งประเทศเพื่อนบ้านของพม่า ก็ไม่ค่อยอยากจะยุ่งสักเท่าไหร่  อีกทั้ง ในยุค 4.0 นี้ การที่ชนกลุ่มน้อย มีทั้งซิม และอินเตอร์เน็ต ของประเทศเพื่อบ้านใช้ ก็จะเป็นช่องทางการติดต่อสื่อสารกันระหว่างกัน  และเพื่อใช้ในสงครามข่าวสารได้เป็นอย่างดี  (ถ้าสัญญาณถึง แค่ปรับพิกัดโปรแกรม ในแอนดรอย์ ก็สามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้แล้ว )

ส่วนกองทัพสหรัฐว้า ที่วางตัวนิ่งเฉย อาจจะเป็นเพราะ  คิดว่าตัวเองได้สิทธิปกครองตัวเองแล้ว แต่หากมองดีๆ เมื่อพม่าเข้มแข็งขึ้น  กองทัพว้า คงเป็นรายต่อไป  ถ้าว้าไม่ใช้โอกาสนี้ เมื่อสถานะการณ์สุกงอม จะต่อรองไม่ได้  



7. สงครามกองโจร VS สงครามตามแบบ

เนื่องจากกองกำลังชาติพันธุ์ต่างๆในพม่า  ล้วนแต่มีกองกำลังทางทหารที่เข้มแข็ง  อีกทั้งยังอยู่ในภูมิประเทศที่ได้เปรียบอย่างยิ่ง   และยุทธวิธีที่ชนกลุ่มน้อยใช้คือ สงครามกองโจร  ทั้งก่อกวน  โจมตี  ตัดกำลังบำรุง  วางระเบิดสะพาน และสถานที่สำคัญต่างๆ  แต่สิ่งที่น่ากลัวที่สุดคือ กองกำลังสไนเปอร์ ที่ยิงมาจากที่สูง  อาวุทธพวกนี้ สามารถยิงทะลุรถถังได้ และมีความแม่นยำสูง เรียกได้ว่า "หวังผลได้"  ซึ่งสร้างความหวาดกลัวให้กับทหารราบเป็นอย่างมาก    ส่วนเครื่องบินที่ทหารพม่าใช้  ก็ไม่สามารถทำอันตรายต่อชนกลุ่มน้อยได้  เพราะเมื่อเกิดการทิ้งระเบิด ทหารชนกลุ่มน้อย  ก็จะแยกกระจายตัว ไปตามพื้นที่ป่าเขา ถ้ำ และน้ำตก  ซึ่งมันเป็นพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลมากๆ...   เครื่องบินทหารพม่าคงต้องโยนระเบิดนิวเคลียร์กระมัง ถึงจะเอาอยู่     ความพิเศษของสงครามกองโจรนั้นคือ   แค่ใช้ทหาร 3-5 คนก็สามารถหยุดยั้งการบุก  ของทหารที่ใช้สงครามตามแบบได้เป็นร้อยนาย  ซึ่งเป็นรูปแบบของสงครามที่น่าสนใจจริงๆ  ขนาดอเมริกายังเจอมากับตัวแล้ว













 

รูปที่ 4 แสดง เมมโมรีการ์ดขนาดเล็ก



8. เมมโมรี่การ์ด (การสื่อสารแบบออฟไลน์) น่ากลัวกว่าที่คิด

แน่นนอนว่า กองทัพพม่าตัดสัญญาอินเตอร์เน็ต  รื้อจานดาวเทียม   แต่จะจัดการกับ "เมมโมรี่การ์ด" ขนาดเล็กกว่ากระดุมได้อย่างไร  ซึ่งเมมโมรี่การ์ดพวกนี้  สามารถบรรจุข้อมูลต่างๆได้อย่างมากมาย ทั้ง เรื่องแนวคิดการปฎิวัติ  อองซานซูจี  การทำอาวุทธขึ้นใช้เอง  การทำระเบิดเอง วิธีการปล้นปืนทหาร  ที่ตั้งค่ายทหาร ธุรกิจของกองทัพ การวางระเบิด   วิธีการสื่อสารแบบออฟไลน์  การแฮกอินเตอร์เน็ต  การสื่อสารผ่านดาวเที่ยม ฯลฯ  ก็แน่ละ หากมีเป้าหมายร่วมกันแล้ว ก็เหลือแค่วิธีการ  ซึ่งมันจะมาทาง เมมโมรี่การ์ดนี้แหละ  เป็นรูปแบบการสื่อสารแบบออฟไลน์รูปแบบหนึ่ง ที่ฝ่ายต่อต้านอาจจะนำมาใช้


9. หากมีกำลังต่างกัน ย่อมไม่มีการเจรจา

ก็เป็นกันทุกที่บนโลกใบนี้  ที่ฝ่ายที่คิดว่าตัวเองกำลังได้เปรียบอยู่ จะไม่ยอมเจรจากับฝ่ายที่เสียเปรียบอยู่ คงต้องรอให้ฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามกับกองทัพพม่าฟอร์มตัวขึ้นมาก่อน  ซึ่งจากแนวโน้มผมเชื่อว่า ทำได้  เพราะสิ่งที่แตกต่างจากปี 2533  ก็คือ "เทคโนโลยีการสื่อสาร"  อีกทั้งสามารถอ้างความชอบธรรม  จากผลการเลือกตั้งที่ผ่านมาได้  ส่วนการที่อาเซียนเชิญผู้นำกองทัพพม่าเข้าร่วมในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน   ผมมองดูแล้วมันก็รู้สึกแปลกๆ   แต่ยังไงๆก็เป็นวิถีอาเซียนอยู่แล้ว  คุยได้ทุกฝ่าย และไม่มีการตราหน้าว่าฝ่ายไหนเป็นศัตรู เรียกว่าเปิดช่องเจรจา













 
รูปที่ 5 แสดงโครงสร้างรัฐบาลพลัดถิ่นซึ่งสามารถอ้างคามชอบธรรมจากผลการเลือกตั้งที่ผ่านมาได้


10. แล้วอาเซียนควรทำอย่างไร

ควรรอให้สถานการณ์ สุขงอมกว่านี้  กล่าวคือ รอให้ฝ่ายต่อต้านฟอร์มตัว และหาตัวผู้นำที่ทุกคนยอมรับ  เพราะหากไม่มีผู้นำ  ก็ไม่รู้จะไปเจรจา หรือไกล่เกียกับใคร  และฝ่ายต่อต้าน สามารถอ้างความชอบธรรมจากผลการเลือกตั้งที่ผ่านมาได้   ความจริงอาเซียน และจีนต้องช่วยนะ แต่ช่วยลับๆ ไม่ต้องออกสื่อ  คำว่า "ช่วย" ในที่หนึ่งก็หมายถึง ช่วยทั้งฝ่ายต่อต้าน  และช่วยทั้งผู้นำทางทารของพม่าด้วย  ผมเชื่อว่า ผู้นำทหารพม่าก็กำลังหา "ทางลง" อยู่   จากนั้นก็รอให้เขา "ไฟท์" กัน ตามที่พวกเขาต้องการ จนพวกเขาคิดว่า กำลังทหารพอๆกัน  สู้ไปก็ตายกันเปล่าๆ  หรือเรียกว่า "รบกันไปคุยกันไป  คุยกันจนลิงหลับ" ก็วิถีอาเซียนแหละ  จากนั้นก็คุยลับๆกันทั้ง 2 ฝ่าย  ซึ่งผมเชื่อว่า มินอองไล ก็กำลังหาทางลงอยู่  แต่ดันขี่หลังเสือไปเสียแล้ว  จะให้ทำไง เพราะฉนั้นไม่มีองค์กรไหนที่จะเหมาะสมเท่า "อาเซียน" อีกแล้ว ในการเป็นตัวกลางในการเจรจา โดยมีไทยเป็นผู้ประสานงาน  ถ้าให้ดี ต้องขอร้องมหาอำนาจผ่านช่องทาง อาเซียน+3+6+8  ให้ร่วมสนับสนุน  ผมว่าอาเซียนเก่งเรื่องนี้นะ














 

รูปที่ 6 อุโมงค์ลับเป็นข่าวเมื่อปี 2553



11. หากฝ่ายต่อต้านแพ้ จะเกิดอะไรขึ้น

ความตอบคือพม่าจะสร้าง  "รัฐทหาร" อย่างเติมรูปแบบ  คนจำนวนมากจะต้องตาย  และทหารจะปกครองประชาชนด้วยความหวาดกลัว  ข่าวสารจากพม่าจะกลายเป็นของหายาก  โดนปิดกั้นทุกช่องทาง  และกองทัพพม่า ซึ่งเกรงกลัวมหาอำนาจเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เพราะอยู่ติดกับ จีน   อินเดีย  อีกทั้ง อเมริกาที่มักจะมาผ่านทางไทย  แน่นอนว่าพม่าใฝ่ฝันที่จะมีอาวุทธนิวเคลียร์  เพื่อเป็นการต่อรองกับชาติมหาอำนาจดังกล่าวอยู่แล้ว  เพราะธรรมชาติของรัฐทหารก็คือ กองกำลังทางทหารที่เข้มเข็ง  "ในทุกมิติ"  และพม่ามีแหล่งแร่ยูเรเนียมที่มีคุณภาพ  อีกทั้งฐานทรัพยากรที่มีจำนวนมหาศาล นั้นหมายความว่า เขามี "เงินทุน"  ที่มากกว่าเกาหลีเหนือซะอีก  ขาดก็แต่เทคโนโลยี  ซึ่งปัจจุบัน เทคโนโลยีนิวเครียร์ ไม่ใช่ของที่จับต้องไม่ได้เหมือนสมัยก่อน  ดังนั้น ข่าวการที่กองทัพพม่า ต้องการครอบครองอาวุทธนิวเครียร์ ก็ใช่ว่าจะไม่มีมูล  ดังเช่น ในปี 2553 มีข่าวการติดต่อกันของพม่า และเกาหลีเหนือ  จากนั้นดาวเทียมทางทหารก็ตรวจพบอุโมงค์แปลกๆในเทือกเขาของพม่า  มันเป็นเรื่องน่ากลัว ซึ่งแนวโม้มหากรัฐทหารในพม่าเกิดขึ้นมาจริงๆ ผมเชื่อว่า "มันมาแน่"













 

รูปที่ 7 แสดงท่อก๊าซไทย-พม่า



12. รัฐทหารอยู่ติดรัฐไทย

ผมเชื่อว่า  "ไม่สนุก" แน่ๆ ที่ประเทศที่มีชายแดนติดกัน  แต่ดันติดต่อไม่ได้  ไม่รู้เขาทำอะไรอยู่ (ระแวงนะเนี๊ยะ!!)  ไทยกับพม่า แม้จะเป็นเพื่อนรักกัน  แต่ก็เป็น "เพื่อนรักหักเหลี่ยมโหด"  โดยอ้างอิงจากประวัติศาสตร์ ของทั้ง 2 ชนชาติ      แม้พม่า จะไม่ได้พัฒนานิวเคลียร์มาเพื่อต่อรองกับไทยโดยตรง  ซึ่งจริงๆแล้ว  เพื่อจะเป็นการต่อรองกับชาติมหาอำนาจซะมากกกว่า  แต่ทว่า  เมื่อพม่ามีอาวุทธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง     คงจะทำให้รัฐไทยรู้สึกหวั่นไหวมากๆ เพราะชายแดนติดกัน  จึงมีโอกาสที่จะกระทบกระทั่งกันได้   ไทยกับพม่ามีชายแดนทั้งทางบก และทางทะเลติดต่อกันยาวมากกกก  มีโอกาสปะทะได้ทุกเวลา  ขนาดตอนที่มีปัญหากัน แล้วพม่าขู่ตัดท่อก๊าซ  ไทยก็ไปไม่เป็นแล้ว  ดังนั้นขอถามรัฐไทยหน่อย ว่าจะยอมให้พม่าสร้าง "รัฐทหาร" ไหม๊  ส่งเสริมกันเข้าไปแหละพี่ตู่ววว


13. กองทัพม่า จะต้องไม่ถูกทำลาย  และผู้นำกองทัพพม่า จะต้องไม่ถูกลงโทษ  

เพราะกองทัพพม่า  ถือเป็นแกนกลางของ "สหภาพพม่า"  หากมีอันต้องถูกทำลาย  ให้หายไป   จะทำให้พม่าแตกเป็นรัฐเล็กๆ   และรัฐเล็กๆ ก็จะรบกันเองอีก   เกิดความระส่ำระสายไปทั่ว  ไม่จบง่ายๆ   อีกทั้งตัวผู้นำกองทัพพม่า ก็มีความสำคัญ เพราะถือเป็นแกนกลาง  ของ "ทหารพม่า"  หากเราตั้งธง จะเอาตัวผู้นำทหารพม่า  "มาลงโทษ"  กองทัพพม่าก็จะสู้ชนิดหลังชนฝา  ไม่จบง่ายๆ   ดังนั้น สิ่งที่มีอยู่จริง  ก็คือเรื่องของ  "อำนาจ"  กล่าวคือ ผู้ที่แข็งแกร่งกว่าก็จะอยู่รอด  และเป็นฝ่ายถูกต้องเสมอ  ...  ถ้าหากว่า เราปล่อยคนที่เราคิดว่าผิดไปสักคน แลกกับความสงบสุขของคนจำนวนมาก  จะดีกว่าไหม  ถ้าคิดได้แบบนี้ การเจรจากับกองทัพพพม่าก็จะเป็นเรื่องที่เป็นไปได้     ส่วนเรื่อง "ความยุติธรรม"  ที่จะเอาตัวผู้นำทหารพม่ามาลงโทษนั้น   .....  จริงๆแล้ว ความยุติธรรม  เป็นเพียงแค่นามธรรมที่มนุษย์สร้างขึ้นเท่านั้น  ซึ่งมันไม่มีอยู่ในชีวิติจริง  ...  (ส่วนตัวผู้เขียนเชื่อว่า ความยุติธรรมมีอยู่จริงในโลกหลังความตายเท่านั้น)











 

รูปที่ 8 แสดงความเข้มข้นในการปกครองของแต่ละรัฐสมาชิก



14.การปกครองที่ดีที่สุดของพม่า ณ เวลานี้ (ความคิดเห็นส่วนตัว)

คงเป็นแบบ "สหพันธรัฐ" นั่นแหละ  คือรูปแบบความเข้มข้นของการปกครอง จะอยู่จุดกึ่งกลางระหว่างการปกครองแบบ  "สหรัฐ" กับ "สหภาพ"  ถ้าจะดูเปรียบเทียบที่ใกล้เคียงที่สุด  ก็คือ ประเทศมาเลเซียสมัยก่อน  ที่ชื่อเดิมคือ สหพันธรัฐมาลายา  เป็นการปกครองก่อนได้รับเอกราชจากอังกฤษ ที่แต่ละรัฐล้วนมีการปกครองของตัวเอง เก็บภาษีเอง และมีรัฐแกนกลางในการปกครองที่มีอำนาจสูงสุดนั่นคือ รัฐบาลอังกฤษ  แต่สิ่งที่มีร่วมกันนั่นคือ รัฐธรรมนูญร่วมกัน มีแบบเรียนร่วมกัน สกุลเงินร่วมกัน  เงินทุนแรงงาน ประชาชน เคลื่อนย้ายเสรี เพื่อให้คนในประเทศหลอมร่วมกัน และมีทัศนคติร่วมกัน  แต่ต้องใช้เวลา  และต้องตั้ง สภาที่กำหนดกฎหมายร่วมกัน  ต้องมีคณะกรรมการป้องกันการปะทะทางพรมแดนร่วมกัน ในกรณีเกิดการปะทะกันระหว่างกลุ่มต่างๆ เพื่อจะได้เจราจกันได้เร็ว    คล้าย ๆ  คณะกรรมการ TCB  ของไทยกับพม่า    ก็คงต้องใช้วิถีของอาเซียนนั่นแหละ  "คุยกันจนลิงหลับ"    แต่ถ้าเป็นวิถีของพม่า คงต้องเพิ่มเข้าไปหน่อยว่า  อาจจะต้องมีการปะทะกันบ้าง  เพราะเขตแดนแต่ละรัฐในสหพันธรัฐยังไม่ชัดเจน   

15. สหพันธรัฐ

คือเป้าหมายสูงสุดที่น่าจะทำให้พม่าสงบได้  รัฐบาลทหารของพม่า แค่ควบคุมพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระดี   ตลอดจนแนวชายฝั่งทะเลทั้งหมด  และต้องควบคุมด่านการค้าชายแดนที่มีความสำคัญๆ  ที่เอาไว้ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน   ส่วนด่านชายแดน ที่เป็นระดับรองๆลงไป ก็ให้ชนกลุ่มน้อยปกครอง   พม่า ซึ่งถือเป็นชนกลุ่มใหญ่สุด ก็จะมีอำนาจเหนือชนกลุ่มน้อยทั้งหมด ส่วนในแนวภูเขาต่างๆ  คงต้องให้ชนกลุ่มน้อยปกครองกันเอง  และเมื่อเกิดการขัดแย้งขึ้นระหว่างชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ  กองทัพพม่า ซึ่งถือเป็น รัฐแกนกลางในการปกครองที่มีอำนาจสูงสุด   (ประมาณ รัฐบาลอังกฤษใน สหพันธรัฐมาลายา) ก็แค่เข้าไกล่เกลี่ย เป็นคนกลาง ผมว่า พม่าต้องเรียนรู้จากไทยอีกเยอะ  ในการใช้ไม้อ่อนเข้าจัดการชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ เพื่อหลอมรวมคนกลุ่มต่างๆให้เป็นคนชาติเดียวกัน   ผมหวังว่า อาเซียน ซึ่งเป็นองค์กรหลัก กรุณาช่วยโน้มน้าวรัฐบาลทหารพม่าด้วย ในฐานะสมาชิก เพราะถ้าพม่ามีปัญหา อาเซียนก็จะมีปัญหาไปด้วย




16. ก่อนจะไปถึง สหพันธรัฐ จัดการตัวเองก่อนดีไหม

สหพันธรัฐใหม่นี้  แกนกลางคือ คนพม่า (อองซาน ซูจี) กับกองทัพพม่า (มินอองไล) คงต้องเจรจากันก่อนดีไหม   และเขียนรัฐธรรมนูญ ซึ่งมี 3 ข้อที่สำคัญที่สุดนั่นคือ  ข้อแรก "การประกาศเอกราชของชนกลุ่มน้อยใดๆ เท่ากับเป็นการประกาศสงคราม"  และข้อ 2 ต้องให้ประชาชน แรงงาน เงินทุน เคลื่อนย้ายโดยเสรี  เพื่อให้เกิดการหล่อมร่วมกันของคนในชาติ  และข้อ 3 สร้างแบบเรียน และกติการทางกฎหมาย "กลาง" ร่วมกัน   ผมคิดว่ากองทัพพม่าต้องเรียนรู้จากรัฐไทยซะบ้าง ที่ใช้ไม้อ่อนในการหลอมรวมคนในชาติ จนไทยกลายเป็น รัฐเดี่ยว ที่มีเอกลักษณ์  และมีความเข็มแข็งอย่างมาก   สุดท้ายนี้อยากบอกว่า  ... มีปัญหาที่ไร ลำบากไทยทุกที สงบได้แล้วนะพม่า  ..
















 



Create Date : 20 เมษายน 2564
Last Update : 4 พฤษภาคม 2564 6:06:33 น. 0 comments
Counter : 1076 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

chuk007
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




Friends' blogs
[Add chuk007's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.