Group Blog
 
<<
มีนาคม 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
17 มีนาคม 2554
 
All Blogs
 
อาเซียนต้องใจเย็นๆ รอให้พร้อม ก่อนรับติมอร์เลสเต้เป็นสมาชิกลำดับที่ 11

บทความก่อนหน้า
สหภาพอาเซียน
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=chuk007&month=06-01-2011&group=3&gblog=9

...................

บทคัดย่อ

การได้รับเอกราชของติมอร์เลสเต้ เมื่อปี พ.ศ. 2545 ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวง ต่อแรงบันดาลใจของกลุ่มแบ่งแยกดินแดน ในภูมิภาคอาเซียน ส่งผลให้หลายๆกลุ่มอยากเลียนแบบ เพื่อเรียกร้องเอกราช เช่นเดียวกับติมอร์เลสเต้

ทั้งในกรณี 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เกาะมินดาเนาของฟิลิปินส์ กลุ่มชาติพันธุ์ในพม่า และที่น่าหนักใจที่สุดคือ กลุ่มแบ่งแยกดินแดนของอินโดนีเซียเอง


ดังนั้น การรับติมอร์เลสเต้ เขาเป็นสมาชิกวงในสุดของอาเซียน เป็นลำดับที่ 11 จะเป็นการซุ่มเสี่ยงมาก


ติมอร์เลสเต้ ควรจะต้องเป็น "ผู้สังเกตุการณ์" ไปอีกสักระยะ จนกว่า อาเซียนจะเข้มแข็งมากกว่านี้ ซึ่งในทัศนะของผู้เขียนคิดว่า อาจต้องใช้เวลาสัก 20-30 ปีขึ้นไป คือ รอจนกว่าจะอาเซียนเข้มแข็งจากภายในตัวองค์กร เอง จนมหาอำนาจอื่นเข้าแทรกแทรงอาเซียนไม่ได้ รอจนกว่า กลุ่มอาเซียนใหม่ คือเวียดนาม ลาว กัมพูชา และพม่า หรือ ที่เรียกว่า CLMV จะมีระดับการพัฒนาใกล้เคียงกับ กลุ่มอาเซียนเก่า ให้มากกว่านี้ เพราะถ้าหากเอาติมอร์เข้ามาตอนนี้ อาเซียนจะยิ่งอ่อนแอจากภายใน จนเป้าหมายการรวมตัวจะยิ่งห่างไกลออกไปอีก




ส่วนในระยะนี้ก็มอบ สถานะสมาชิก "ผู้สังเกตุการณ์" เช่นเดียวกับปาปัวนิวกีนีไปก่อน เมื่ออาเซียนพร้อม ทั้งทางด้านการเมือง และเศรษฐกิจ ก็ค่อยรับ ติมอร์เลสเต้ และปาปัวนิวกีนี เป็นสมาชิกลำดับที่ 11 และ 12 ตามเจตนารมย์ดั้งเดิม ของผู้ก่อตั้งอาเซียน


ในระหว่างที่มอบสถานะ "ผู้สังเกตุการณ์" ให้ ทั้ง 2 ประเทศ อาเซียนก็ค่อยๆ ดึงทั้ง 2 ประเทศ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม ให้เกาะเกี่ยว เป็นส่วนหนึ่งของอาเซียนให้ได้ โดยการเข้าไปลงทุน และส่งเสริมความร่วมมือ


อนึ่ง ประเทศจีนได้เห็นตัวอย่าง ของการล่มสหายของสหภาพโซเวียด และการเกิดขึ้นของติมอร์เลสเต้ ซึ่งทำให้กลุ่มแบ่งแยกดินแดนอื่นๆ ทั้ง ในรัสเซีย และอินโดนีเซีย เอาเป็นเยี่ยงอย่างจนแผ่นดินลุกเป็นไฟ


ให้หลังมา จีน จึงปราบปรามกลุ่มแบ่งแยกดินแดนต่างๆ ทั้ง ซินเกียง ธิเบต รวมทั้งกลุ่มแบ่งแยกอื่นๆ เพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่าง แม้แต่รัสเซีย ที่ปราบปรามเชชเนีย รวมถึงกรณีเซาร์เออเซเธียร์อย่างรุนแรง ชนิดที่ ว่า นาโต และอเมริกา ไม่กล้ายุ่ง


"อินโดนีเซีย" เคยพลาด เมื่อครั้งยอมให้อำนาจจากภายนอก (ตะวันตก) เข้าแทรกแทรง จนเกิดประเทศติมอร์เลสเต้ ขึ้นมา ผลต่อเนื่องจากเหตุนั้นก็คือ โมลุกะ อิเรียจายา กลิมันตัส อาเจาะ ฯลฯ ประกาศขอแยกดินแดนด้วย ผลก็คือ อินโดนีเซีย ลุกเป็นไฟ กว่าจะควบคุมอยู่ ก็เกือบแตกเป็นประเทศเล็กประเทศน้อย


ก็หวังว่าอาเซียน จะ ชะลอ หรือคิดไตร่ตรองให้รอบครอบ ถึงผลดี ผลเสีย ในการรับติมอร์เลสเต้ เป็นสมาชิกในลำดับที่ 11 และก็ไม่ใช่ว่าจะไม่รับ แต่รอให้พร้อมก่อน อาเซียนต้องใจเย็นๆ

ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมย์ผู้ก่อตั้งอาเซียน การรับติมอร์เลสเต้ รวมถึง ปาปัวนิวกีนี ยังไงๆ ก็ต้องรับแน่ๆ แต่ รอก่อน รอจะกว่าจะพร้อม เพราะปัญหาความมั่นคง มันยากที่จะควบคุม





....................................................

บทขยายความ



การเกิดขึ้นของติมอร์เลสเต้ ได้ส่งผลต่อแรงบันดาลใจ ต่อกลุ่มแบ่งแยกดินแดนกลุ่มอื่นๆ ในอาเซียน โดยเฉพาะในอินโดนีเซีย







ติมอร์เลสเต้ ถือเป็นประเทศเกิดใหม่ที่แยกมาจากอินโดนีเชีย จากการแทรกแซงจากโลกตะวันตก โดยเฉพาะออสเตรเลีย

ซึ่งติมอร์เลสเต้ ถือว่าเป็นประเทศที่เกิดจากนโยบาลของตะวันตกที่ว่าด้วยการ "แบ่งแยกแล้วปกครอง" นั้นคือ ตะวันตกจะไปทำให้ประเทศต่างๆทั่วโลก แตกเป็นประเทศเล็กๆ เพื่อไม่ให้มีกำลังพอในการท้าทาย "ความเป็นเจ้าโลก"


นโยบาย "แบ่งแยกแล้วปกครอง" ถูกนำมาใช้ครั้งแรกโดยอังกฤษ ในการปกครองอินเดีย และดินแดนในแอฟริกา ซึ่งทำให้อังกฤษปกครองดินแดนเหล่านี้ได้โดยง่าย และเหตุการณ์สำคัญล่าสุด ของนโยบายนี้คือ เมื่อยุโรป ร่วมมือกับอเมริกา ในการ "ย่อยสลาย" สหภาพโซเวียต เพื่อไม่ให้สหภาพโซเวียด เป็นภัยคุกคามต่อโลกตะวันตก ประจวบเหมาะเข้ากับ สหภาพโซเวียตเองในยุคนั้น ก็อ่อนแอจากภายในอยู่แล้ว จึงถูกย่อยสลายเป็นรัฐเล็กๆจำนวนมาก จนปัจจุบัน รัสเซีย กลายเป็นรัฐที่ไม่มีพลังอย่างในอดีต



จีน จึงปราบปรามกลุ่มซินเกียง ธิเบต รวมทั้งกลุ่มแบ่งแยกอื่นๆ อย่างรุนแรงเพื่อไม่ให้ดินแดนอื่นเป็นเยี่ยงอย่าง



และปัจจุบันยังมีความพยายามที่จะ "ย่อยสลาย" จีน ให้เป็นรัฐเล็กๆ เช่น ธิเบต ซินเกียง หรือแม้แต่ไต้หวัน โดยเฉพาะการที่อเมริกาใช้สื่อ ยกองค์ดาไลลามะ ให้เป็นเหมือน กึ่งๆผู้นำธิเบตเลยทีเดีย แต่ดูเหมือนว่า จีนจะรู้ทัน และควบคุมได้อยู่

และเนื่องจากตัวเลข 10 ประเทศ มีความหมายในเชิงสัญลักษณ์ อีกทั้ง การเป็นประธานหมุนเวียน และระบบ ฉันทามติ ของอาเซียน ดังนั้นการรับติมอร์ เป็น สมาชิก เป็นลำดับที่ 11 ก็ดูเหมือนจะเป็นส่วนเกินในเชิงตัวเลขของอาเซียนไป แต่ถึงอย่างไร ตามเจตนารมย์ของผู้ก่อตั้งอาเซียน ก็ต้องมีสมาชิก ครบในเชิงภูมิศาสตร์ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวคือ มี 12 ประเทศในปัจจุบัน คือเพิ่ม ติมอร์เลสเต้ และ ปาปัวนิวกีนี แต่ต้องรอในจังหวะที่เหมาะสม



แต่ก็ยังไม่น่ากลัวเท่ากับปัญหาความมั่นคง หากรับติมอร์เลสเต้เข้ามาในวงในสุดของอาเซียน กล่าวคือ


มันคงไม่เหมาะสมเท่าไหร่ หากผู้นำติมอร์มายืนจับมือถ่ายรูปร่วมกับผู้นำอาเซียน โดยเฉพาะผู้นำอินโดนีเซีย ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น


ชนพื้นเมือง จังหวัดปาปัว ประมาณ 10,000 คน ชุมนุมประท้วงเรียกร้องเอกราชจากอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 02-08-2011 ซึ่งหากดินแดนนี้สามารถเป็นเอกราชจากอินโดนีเซียได้ ก็จะมีดินแดนอื่นๆเรียกร้องอีก เช่น กลิมันตัน โมลุกะ อาเจาะห์ ฯลฯ หากอินโดนีเซียล่มสหลาย อาเซียนจะไม่มั่นคง



นั้นเพราะอินโดนีเซียเกิดจากหลายๆเกาะ หลายๆชาติพันธุ์เข้าด้วยกัน และแต่ละเกาะก็มี "ผู้นำชาติพันธุ์" ของตัวเอง การที่ ติมอร์ที่ประเทศเกิดจากการแทรกแทรงของตะวันตก และเคยเป็นส่วนหนึ่งของอินโดนีเซีย แล้วมายืนจับมือคู่กับผู้นำอินโดนีเซีย ในสถานนะเทียบเท่ากันในอาเซียน นั่นจะเป็นเรื่องอันตราย ในหลายๆประเทศในอาเซียน ที่มีปัญหาการแบ่งแยกดินแดนอยู่ เช่น พม่า ไทย ฟิลิปินส์ และอินโดนีเซียน


นั่นเพราะจะทำให้เกิด "แรงบันดาลใจ" และเกิดการตั้งคำถามของคนที่ต้องการจะแยกดินแดนว่า ทำไมผู้นำของเขาไม่ไปยืนอยู่ตรงนั้น (อาเซียน) บ้าง



การเกิดขึ้นของติเมอร์เลสเต้จากการแทรกแทรงของตะวันตก โดยเฉพาะออสเตรเลีย ได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนต่างๆในอาเซียน

ซึ่งหลังจากที่ติมอร์เลสเต้ สามารถประกาศเอกราชได้ ก็เกิดลัทธิ "เอาอย่าง" โดยเฉพาะในอินโดนีเซีย ที่มีหลายพื้นที่ได้แรงบันดาลใจจากการประกาศเอกราชของติมอร์ เช่น อาแจะ ปาปัวนิวกีนี โมลุกะ ฯลฯ เรียกได้ว่า ในตอนนั้นอินโดนีเซียแทบจะแตกเป็นเสี่ยงๆ

ไม่ใช่แค่นั้น แรงบันดาลใจครั้งนั้น ได้สงผลกระเทือนมาถึงภาคใต้ของไทย นั้นคือ "ขนาดติมอร์ยังแยกได้ ทำไมปัตตานีจะแยกไม่ได้" เหตุการณ์ในภาคใต้ของไทยจึงเริ่มแรงขึ้นหลังจากได้แรงบันดาลใจจากติมอร์เลสเต้ และเสริมด้วยแรงบันดาลใจจากเหตุการณ์ 11 กันยา ก็ยิ่งไปกันใหญ่





พม่ามีกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่มีกำลัง หากว่า เกิดความวุ่นวาย เพราะแรงบันดาลใจ ที่เกิดจากอาเซียนรับติมอร์เลสเต้ พม่าจะไม่สงบ จะส่งผลต่ออาเซียนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้




ไม่ใช่แค่นั้น ในภาคใต้ของฟิลิปินส์ หรือแม้แต่ชนกลุ่มน้อยในพม่า ก็เช่นกัน

เหตุการณ์การล่มสลายของสหภาพโซเวียต และการประกาศเอกราชของติมอร์เลสเต้ ถูกสาธารณะรัฐประชาชนจีน ทำการศึกษาอย่างละเอียด และได้ข้อสรุปว่า

1.เกิดจากนโยบายแบ่งแยกแล้วปกครองของตะวันตก เพื่อไม่ให้มีชาติใดเข้มแข็งเกินไป
2.จะไม่ยอมให้ดินแดนส่วนไหนของจีน ได้แยกเอกราช แม้จะเป็นดินแดนเล็กๆ ก็ตาม เพราะนั้นจะเกิด ลัทธิ "เลียนแบบ" ขึ้นทั่วประเทศจีน จะทำให้แผ่นดินจีนลุกเป็นไฟ หาความสงบไม่ได้

และในปัจจุบันจึงไม่เป็นที่แปลกใจเลย ที่ประเทศจีน จะปราบธิเบต และซินเกียง อย่างรุนแรง โดยไม่ให้ตะวันตกยุ่ง หรือแม้แต่ ไต้หวัน ที่จีน บีบไต้หวันชนิดที่ว่า "แทบขี้เล็ด"





เชชเนีย เรียกร้องเอกราช แต่ก็ถูกรัสเซีย ซึ่งมีบทเรียนจากการปล่อยให้ดินแดนต่างๆประกาศเอกราช ทำการปราบปราม เพื่อไม่ให้เกิดแรงบันดาลใจต่อกลุ่มแบ่งแยกดินแดนกลุ่มอื่น


หรือแม้แต่ กรณีของรัสเซีย ที่ไม่ยอมเชชเนีย แม้จะต้องเผชิญ กับการก่อการร้ายที่ยากที่จะป้องกัน แต่รัสเซียก็ยอมสู้ เพราะถ้ายอมให้เชชเนียเป็นเอกราช ก็จะมีดินแดนอื่นๆ โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกไกล จะดำเนินการเช่นเดียวกับ เชชเนีย


ดังนั้น ผู้เขียน จึงตั้งคำถามไปยังสมาชิกอาเซียน ว่า ผลประโยชน์ในติมอร์เลสเต้ มีมากพอที่อาเซียนจะรับติมอร์ เข้ามาในวงในสุดแล้วหรือยัง และหากรับติมอร์เข้ามา อาเซียนพร้อมหรือยัง ที่จะรับมือกับ "แรงบันดาลใจ" ของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนครั้งใหม่

แต่ถ้าหากไม่รับติมอร์เลสเต้ เข้ามาในวงในสุด (10ประเทศ) ก็จะเป็นการ "ตบหน้า" ออสเตรเลียฉาดใหญ่ และจะเป็นการป้องปรามกลุ่มแบ่งแยกดินแดนกลุ่มอื่นๆในอาเซียนด้วย ว่า "อย่านะ" อย่าแยกนะ ถ้าแยกจะถูกอาเซียนโดดเดี่ยว




ระหว่างสถานะภาพผู้สังเกตุการณ์ ของทั้งติมอร์เลสเต้ และปาปัวนิวกีนี อาเซียน จะต้องเข้าไปลงทุน และเกาะเกี่ยวเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศ ให้เชื่อมโยงกับอาเซียน เพื่อจุดมุ่งหมายสูงสุด ตามเจตนรมย์ของผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ รวงข้าว 12 รวง แต่อาเซียนต้องใจเย็นๆ อย่ารีบร้อน




แล้วเราควรจะจัดการอย่างไรกับติมอร์เลสเต้

ติมอร์เลสเต้ ถูกจัดให้เป็นทั้งกลุ่มโอเชียเนีย และกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวคือ ชาติพันธุ์ และวัฒนธรรม สังคม สามารถจัดให้เป็นกลุ่มโอเซียเนีย แต่ลักษณะทางภูมิศาสตร์ ถูกจัดให้อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้น ติมอร์เลสแต้จึงสามารถอยู่ได้ทั้ง 2 กลุ่ม แล้วแต่การจัด

แต่ด้วยสภาพภูมิศาสตร์ที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาเซียนจะปล่อยให้ติมอร์อยู่อย่างโดดเดี่ยวคนเดียว ก็ดูจะใจร้ายเกินไป แล้วอาเซียนจะทำอย่างไรดี จะรับเต็มตัวก็กลัวปัญหาความมั่นคง จะไม่รับก็กลัวเสียโอกาส และอาจจะถูกกล่าวหาว่า "ใจร้าย"

ทางแก้คือ "สถานะดอง" กล่าวคือ เป็นสถานนะเดียวกับ "ผู้สังเกตุการณ์" ซึ่งตอนนี้ก็มีปาปัวตะวันออกเป็นสมาชิกอยู่ แต่ "สถานะผู้สังเกตุการณ์" จะมีสิทธิ ความร่วมมือ การค้า การศึกษา ทุกๆอย่าง เหมือนกรอบอาเซียน 10 ประเทศ แต่จะจำกัดอยู่เรื่องเดียวคือเรื่อง "สัญลักษณ์" เช่น การไปยืนจับมือของผู้นำถ่ายรูป อาเซียน+3 อาเซียน+6หรือ+8 หรือแม้แต่ธงอาเซียน ที่มี ต้นข้าว 10 ต้น


แต่ถ้าอาเซียน พร้อมแล้ว ที่จะรับกับ "แรงบันดาลใจ" ของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนครั้งใหม่ และไม่ได้อยาก "ตบหน้า" ออสเตรเลีย และคิดว่าสิ่งที่ออสเตรเลียทำนั้นถูกต้องแล้ว ก็รับติมอร์ เลสเต้เข้ามาในวงในสุดได้ ไม่ว่ากัน กลายเป็น อาเซียน มี 11 ประเทศ และบนธงอาเซียนมีต้นข้าว 11 รวง

แต่ก็ระวังหน่อยนะ หากรับมาในขณะที่อาเซียนยังไม่พร้อม ในอนาคต อาจจะกลายเป็น อาเซียน มี 20 ประเทศ และธงอาเซียน มีต้นข้าว 20 รวง






อนึ่ง ติมอร์เลสเต้ ยังติดภาพลักษณ์ ว่าเป็นประเทศที่เกิดจากการแทรกแทรงโดยโลกตะวันตก และมีข้อสงสัย จากผู้ที่มองโลกในแง่ร้ายสุดๆว่าหากรับมาเป็นสมาชิกอาเซียน นอกจากจะทำให้ สัญลักษณ์ของสมาชิกเชิงตัวเลขคือ เลข 10 ประเทศหายไปแล้ว ยังมีคนที่มองในแง่ร้ายสุดๆว่า ติมอร์เลสเต้ อาจจะกลายเป็น "trojan horse" ให้กับตะวันตกได้ ดังนั้น ติเมอร์เลสเต้ ต้องพิสูทธตัวเอง ให้อาเซียนไว้ใจให้ได้


ก่อนที่จะรับติมอร์เลสเต้ และ ปาปัวนิวกีนี เป็นสมาชิกลำดับที่ 11 และ 12 อาเซียน ต้องรวมตัวกัน และแข็งแกร่งพอ ที่จะไม่ให้มหาอำนาจอื่นๆเข้าแทรกแทรงได้






.................
บทความต่อไป
ทางรถไฟสายเชื่อม "สหภาพอาเซียน" และเชื่อม "ประชาคมเอเชียตะวันออก" เข้าด้วยกัน

//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=chuk007&month=03-2011&date=18&group=3&gblog=11



..........................




Create Date : 17 มีนาคม 2554
Last Update : 8 กรกฎาคม 2555 20:43:07 น. 1 comments
Counter : 10146 Pageviews.

 
แวะมาอ่านจร้าว่างๆแวะไปเยี่ยมblogเราบ้างนะ bigeye


โดย: NSA (tewtor ) วันที่: 13 เมษายน 2554 เวลา:9:29:19 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

chuk007
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




Friends' blogs
[Add chuk007's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.