| ห้องฝากข้อความ | Youtube.com | เติมใจให้กัน | MY Photos | |www.facebook.com|

จากบทกวี...ที่ไปเป็นบทเพลง.....เ ห มื อ น ไ ม่ เ ค ย










เ ห มื อ น ไ ม่ เ ค ย


บทเพลงที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก

กาพย์เห่เรือพระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร(เจ้าฟ้ากุ้ง)


.


.


.

เหมือนไม่เคย....

ประพันธ์คำร้อง : เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร (เจ้าฟ้ากุ้ง), + ชาลี อินทรวิจิตร
(ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ประเภทเพลงไทยสากล ปี 2536)

ประพันธ์ทำนอง : ประสิทธิ์ พยอมยงค์
(ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ประเภทเพลงไทยสากล ปี 2532)
เรียบเรียงดนตรี : พงศุพูน พิบูลย์เกษตรกิจ





(ชาลี อินทรวิจิตร ศิลปินแห่งชาติ)


เพลงเหมือนไม่เคย....เป็นเพลงที่แต่งในยุค­แรก ๆ

ของการเป็นนักแต่งเพลงของ ครูชาลี อินทรวิจิตร

โดยได้รับแรงบันดาลใจจากความไพเราะใน 4 วรรคแรก

ของบทกวี "กาพย์เห่เรือ.... แบบฉันทลักษณ์"

ในบทเห่ชมนก......

"เรื่อยเรื่อยมารอนรอน ทิพากรจะตกต่ำ

สนธยาจะใกล้ค่ำ คำนึงหน้าเจ้าตราตรู

เรื่อยเรื่อยมาเรียงเรียง นกบินเฉียงมาทั้งหมู่

ตัวเดียวมาพลัดคู่ เหมือนพี่อยู่ผู้เดียวดาย..."




(ประสิทธิ์ พยอมยงค์ ศิลปินแห่งชาติ)


เพลงนี้ยึดแม่แบบฉันทลักษณ์
ของกาพย์ยานี ๑๑ มาประพันธ์คำร้อง
แต่งทำนองโดยครูประสิทธิ์ พยอมยงค์
ในช่วงที่มาอยู่วงดนตรีประสานมิตรด้วยกัน
ประมาณปี ๒๔๙๖-๒๔๙๗
ผู้ขับร้องเป็นคนแรกคือ นริศ อารีย์ .....
คนขับร้องคนต่อมาคือ ธานินทร์ อินทรเทพ ...
(นริศขับร้องครั้งแรกไม่มีการขึ้นท่อนอินโทรร้อง ลา...ลาล้าลาลา...)




เหมือนไม่เคย ขับร้อง โดยนริศ อารีย์ / ธานินทร์ อินทรเทพ




เนื้อเพลง...เหมือนไม่เคย

เรื่อยเรื่อยมาเรียงเรียง นกบินเฉียงไปทั้งหมู่
ตัวเดียวมาไร้คู่ เหมือนพี่อยู่เพียงเอกา

ร่ำร่ำใจรอนรอน อกสะท้อนอ่อนใจข้า
ดวงใจไยหนีหน้า โถแก้วตามาหมางเมิน

รู้ไหมใครช้ำเท่า เหมือนพี่เศร้าเจ้าห่างเหิน
เคยแนบแอบอกเพลิน กลับหมางเมินเหมือนไม่เคย

แจ้วแจ้วจำนรรจา ยกดินฟ้ามาอ้างเอ่ย
แรมรามาละเลย เหมือนไม่เคยเลยหรือไร




หลังจาก จขบ.ท่องเนตเกี่ยวกับเกร็ดเพลงเหมือนไม่เคย
จากหลายๆเวปในกูเกิ้ล ก็อ่านไปเรื่อยๆนะคะเกี่ยวกับเรื่องราว
ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร(เจ้าฟ้ากุ้ง)..บทกวีพระนิพนธ์ของพระองค์
ไพเราะ ภาษาสวยงามยิ่งอ่านก็ยิ่งประทับใจ
เมื่อสมัยเป็นนักเรียนก็เพียงแต่อ่านผ่านๆเท่านั้น
จขบ.ได้คัดลอกบางส่วนจากหลายๆเวป
มารวมกันไว้เป็นที่ระลึกในเพจนี้ ตาม
แหล่งอ้างอิงที่ได้ระบุไว้ด้านล่างนะคะ


ขอขอบคุณภาพเขียนศิลปินแห่งชาติ
ภาพจากบัตรอวยพรชุด “สีสันพัสตราภรณ์ไทย”
จำนวน ๔ ภาพ คือ แสนคำนึง น้ำปรุง สุดสงวน และ รำพึง
อาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต วาดไว้ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๒๙-๒๕๓๗
สำนักพิพิธภัณฑ์และวัฒนธรรมการเกษตร คัดสรรบทประพันธ์จาก
กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก พระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร
มาประกอบภาพดังกล่าวด้วย

สนใจสั่งซื้อ E-mail: amc@ku.ac.th
Tel. 02-9428711-2 Fax. 02-9428680




(ขอขอบคุณภาพเขียนอาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต)


กาพย์เห่เรือพระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร(เจ้าฟ้ากุ้ง)


บทเห่ชมนก
โคลง.....
รอนรอนสุริยโอ้ อัษฎงค์
เรื่อยเรื่อยลับเมรุลง ค่ำแล้ว
รอนรอนจิตต์จำนง นุชพี่ เพียงแม่
เรื่อยเรื่อยเรียมคอยแก้ว คลับคล้ายเรียมเหลียว ฯ

กาพย์.....
เรื่อยเรื่อยมารอนรอน ทิพากรจะตกต่ำ
สนธยาจะใกล้ค่ำ คำนึงหน้าเจ้าตราตรู
เรื่อยเรื่อยมาเรียงเรียง นกบินเฉียงไปทั้งหมู่
ตัวเดียวมาพลัดคู่ เหมือนพี่อยู่ผู้เดียวดาย
เห็นฝูงยูงรำฟ้อน คิดบังอรร่อนรำกราย
สร้อยทองย่องเยื้องกราย เหมือนสายสวาทนาดนวยจร
สาลิกามาตามคู่ ชมกันอยู่สู่สมสมร
แต่พี่นี้อาวรณ์ ห่อนเห็นเจ้าเศร้าใจครวญ
นางนวลนวลน่ารัก ไม่นวลพักตร์เหมือนทรามสงวน
แก้วพี่นี้สุดนวล ดั่งนางฟ้าหน้าใยยอง
นกแก้วแจ้วแจ่มเสียง จับไม้เรียงเคียงคู่สอง
เหมือนพี่นี้ประคอง รับขวัญน้องต้องมือเรา ฯ

มูละเห่....
ไก่ฟ้ามาตัวเดียว เดินท่องเที่ยวเลี้ยวเหลี่ยมเขา
เหมือนพรากจากนงเยาว์ เปล่าใจเปลี่ยวเหลียวหานาง
แขกเต้าเคล้าคู่เคียง เรียงจับไม้ไซ้ปีกหาง
เรียมคนึงถึงเอวบาง เคยแนบข้างร้างแรมนาน
ดุเหว่าเจ่าจับร้อง สนั่นก้องซ้องเสียงหวาน
ไพเราะเพราะกังวาล ปานเสียงน้องร้องสั่งชาย
โนรีสีปานชาด เหมือนช่างฉลาดวาดแต้มกาย
ไม่เท่าเจ้าโฉมฉาย ห่มตาดพรายกรายกรมา
สัตวาน่าเอ็นดู คอยหาคู่อยู่เอกา
เหมือนพี่ที่จากมา ครวญหาเจ้าเศร้าเสียใจ
ปักษีมีหลายพรรณ บ้างชมกันขันเพรียกไพร
ยิ่งฟังวังเวงใจ ล้วนหลายหลากมากภาษา ฯ





ประวัติเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์
เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศ กรมขุนเสนาพิทักษ์ หรือเรียกติดปากว่า"เจ้าฟ้ากุ้ง" เจ้าฟ้าองค์หนึ่ง
ของอยุธยา พระองค์มีพระปรีชา สามารถหลายด้านไม่ว่าจะเป็นด้านการทหาร การช่างและ
โดยเฉพาะด้านวรรณกรรม จัดได้ว่าพระองค์ท่านทรงเป็นคีตกวีที่ยิ่งใหญ่
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาพระองค์หนึ่ง

พระองค์ประสูติ เมื่อ พ.ศ.๒๒๔๘ ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ
ซึ่งเป็นพระปิตุลา(ลุง) ของพระองค์
ทรงเป็นพระราชโอรสของสมเด็จ พระบรมโกศหรือสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓
กับกรมหลวงอภัยนุชิต
พระมเหสีใหญ่ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรมีพระอนุชาต่างพระมารดา อีก ๒ พระองค์คือ
พระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าเอกทัศ(พระเจ้าเอกทัศ)
และพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าดอกเดื่อ (ขุนหลวงหาวัด)

จุลศักราช ๑๑๐๓ ปีระกา ตรีศก พ.ศ. ๒๒๘๔ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์
ได้เข้าพระราชพิธีอุปราชาภิเศกเถลิงถวัลย ราชสถิต
ที่พระมหาอุปราช เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) และอภิเษก
สมรสกับเจ้าฟ้าหญิงอินทสุดาวดี
ก่อนหน้านี้เเคยจะถูกสำเร็จโทษ เนื่องจากไปทำร้ายเจ้าฟ้านเรนทร์กรมขุนสุเรนทรพิทักษ์
พระโอรสองค์โตในพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ
เนื่องจากแกรงว่าจะเป็นศัตรูในการสืบราชสมบัติ ซึ่งกรมขุนสุเรนทรพิทักษ์
เป็นที่โปรดปรานรักใคร่ของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
ในขณะดำรงค์ตำแหน่งอุปราช ต่อมาเจ้าฟ้านเรนทร์ ทรงออกผนวจมอบราชสมบัติ
ให้เจ้าฟ้าอภัย ทำให้พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ไม่พอพระทัย และเกิดการแย่งชิงราชสมบัติ

เจ้าฟ้ากุ้งฟ้าเคยเป็นคู่รักกับหม่อมเจ้าสังวาลย์ แต่ต่อมากลับได้รับการแต่งตั้งเป็น
พระมเหสีฝ่ายซ้ายของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
ซึงเป็นผู้สั่งประหารบิดาของหม่อมเจ้าสังวาลย์ ส่วนเจ้าฟ้าเทพผู้เป็นแม่
กลับกลายเป็นชายาของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
ภายหลังเจ้าฟ้ากุ้งก็ลักลอบไปมีความสัมพันธ์กับเจ้าฟ้านิ่มหรือเจ้าฟ้าสังวาลย์
จึงเกิดเป็นกาพย์กลอน เรื่องกากี และบทสังวาส



เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ทรงพระปรีชาสามารถหลายด้าน โดยเฉพาะด้านวรรณกรรม
พระองค์ทรงเป็นกวีที่ยิ่งใหญ่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาพระองค์หนึ่ง
ผลงานด้านวรรณกรรมที่พระองค์ทรงนิพนธ์ไว้นั้น จัดเป็นวรรณกรรมอันเลอค่า
โดยเฉพาะคำประพันธ์ประเภทกาพย์ห่อโคลง ดูจะมีมากกว่างานพระนิพนธ์ชนิดอื่น ๆ
งานนิพนธ์ที่เหลือจนบัดนี้มีที่รวบรวมได้ดังนี้

๑. กาพย์เห่เรือ

๒.บทเห่เรื่องกากี ๓ ตอน

๓.บทเห่สังวาส และเห่ครวญอย่างละบท

๔.กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก

๕.กาพย์ห่อโคลงนิราศธารทองแดง

๖.นันโทปนันทสูตรคำหลวง ทรงพระนิพนธ์ พ.ศ. ๒๒๗๙ ขณะทรงผนวช

๗.พระมาลัยคำหลวง ทรงพระนิพนธ์ พ.ศ. ๒๒๘๐ ขณะทรงผนวช

๘.เพลงยาวบางบท


พระประวัติของพระองค์ท่านเต็มไปด้วยสีสันเข้มข้น
เริ่มต้นอย่างงดงามแต่จบลงอย่างน่าเศร้ายิ่งกว่าโศกนาฎกรรมเรื่องใดๆ
พระนิพนธ์ที่ตกทอดมาจนถึงทุกวันนี้ ได้ชื่อว่าเป็นชิ้นเอกในประเภทเดียวกัน
ดังที่กล่าวมาแล้วงานเหล่านี้ไพเราะขนาดไหน ลองวาดภาพขบวนเรือล่องไป
ตามแม่น้ำเจ้าพระยา ตอนค่ำเมื่อพระอาทิตย์ลับไป พระจันทร์เต็มดวง
ลอยใสสว่างพ้นขอบฟ้าขึ้นมาและมีเสียงเห่ต่อไปนี้กังวานไปตามลำน้ำ
เห็นสักครั้ง แล้วจะพบว่าสุดแสนจะซาบซึ้งจริงๆ

เรื่อยเรื่อยมารอนรอน สุริยจรเข้าสายัณห์

เรื่อรองส่องสีจันทร์ ส่งแสงกล้าน่าพิศวง

ลิ่วลิ่วจันทร์แจ่มฟ้า เหมือนพักตราหน้านวลผจง

สูงสวยรวยรูปทรง ส่งศรีเจ้าเท่าสีจันทร์


ถ้ายังไม่หวานพอ ลองฟังบทรำพึงถึงนางยามอยู่ห่างไกลกัน
ทรงสร้างบรรยากาศฝนตกลมพัดเย็นในขุนเขา แต่หัวอกคนรัก
ยามจากคู่ก็ยังร้อนรุมอยู่ดี นอกจากนี้ มีคำไพเราะอยู่คำหนึ่ง
ที่ไม่ซ้ำแบบกับกวีคนใด คือ เรียกนางว่า “แก้วกับอก”
ให้ภาพความรัก และทะนุถนอมสิ่งมีค่าที่เปราะบาง
เหมือนกอดดวงแก้วเอาไว้แนบอก
ส่วน “แก้วโกมล” หมายถึง แก้วใจ

ฝนตกฝนหากตก แก้วกับอกอย่างโกรธฝน

ลมพัดรับขวัญบน แก้วโกมลมานอนเนา

ฝนตกไม่ทั่วฟ้า เย็นแหล่งหล้าในภูเขา

ไม่เย็นในอกเรา เพราะคู่เคล้าเจ้าอยู่ไกล




อ่านจากพระนิพนธ์ รู้สึกว่าเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ เป็นศิลปินผู้มีอารมณ์รักอ่อนหวาน
และอ่อนไหว บทรักของท่านกับนางในจึงฟังน่ารักเหมือนหนุ่มสาววัยรุ่น
เมื่อนางร้อยดอกลำดวนถวาย ตามแบบผู้หญิงสมัยนั้น
เขานิยมเอาดอกลำดวนมาร้อยเป็นสร้อยคอ สร้อยข้อมือเล่นกันน่ารักน่าเอ็นดู
เจ้าฟ้ากวีของเราก็ทรงคล้องสร้อยดอกลำดวนให้นางด้วยองค์เอง
เหมือนหนุ่มสาวคู่รักแสดงต่อกัน ไม่ใช่เจ้านายต่อนางบริวาร
ลำดวนเจ้าเคยร้อย กรองเป็นสร้อยลำดวนถวาย

เรียมชมดมสบาย พี่เอาสร้อยห้อยคอนาง

ลำดวนปลิดกิ่งก้าน สนสาย

กรองสร้อยลำดวนถวาย ค่ำเช้า

ชูชมดมกลิ่นสบาย ใจพี่

เอาสร้อยห้อยคอเจ้า แนบหน้าชมโฉม


ถ้าหากว่าเจ้าฟ้ากวีทรงจำกัดความรักไว้แค่เจ้าจอมหม่อมห้าม เรื่องเศร้าก็คงไม่เกิดขึ้นในชีวิต
แต่ว่าทรงทำบุญมามากแค่ไหน ก็น่าจะเคยทรงกรรมหนักมากเท่านั้น เพราะท่านเกิดไปรักใคร่
กับเจ้าฟ้าสังวาล มาตั้งแต่ยังเป็นหนุ่มสาว เจ้าฟ้าสังวาลนี้เป็นเจ้าเชื้อสายในเจ้านายอีกองค์หนึ่ง
ของอยุธยา ต่อมาก็ถูกส่งขึ้นถวายพระเจ้าบรมโกศ ทรงแต่งตั้งเป็นพระมเหสีองค์ที่สาม
มีพระโอรสธิดาด้วยกันถึง ๔ องค์เชื่อกันว่าด้วยความรักที่ยังตัดกันไม่ขาด
ก็ทรงลักลอบติดต่อกับเจ้าฟ้าสังวาล
เรื่องนี้สะท้อนภาพอยู่ในกาพย์เห่เรือกากี นิพนธ์ไว้เฉพาะตอนที่พญาครุฑผู้เป็นชายชู้
ลักพานางกากี ชายาท้าวพรหมทัตไปสมสู่กันบนวิมานฉิมพลี

กางกรอุ้มโอบแก้ว กากี

ปีกกระพือพาศรี สู่งิ้ว

ฉวยฉาบคาบนาคี เป็นเหยื่อ

หางกระหวัดรัดหิ้ว สู่ไม้รังเรียง




วัดไชยวัฒนาราม เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาต ุหรือ สิ่งอันควรบูชาอื่น ๆ
พระอุโบสถวัด อยู่ทางด้านตะวันออกของพระปรางค์ มีซากพระประธานเป็น
พระพุทธรูปปรางค์มารวิชัย
สร้างด้วยหินทราย และที่ฐานประทักษิณด้านทิศเหนือมีฐานรากของเจดีย์ 3 องค์
ตั้งเรียงกัน สันนิษฐานว่า
เป็นที่บรรจุพระอัฐิเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร (เจ้าฟ้ากุ้ง รัตนกวีแห่งกรุงศรีอยุธยา)
และเจ้าฟ้านิ่มพระสนมเอก
ในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ปัจจุบันเป็นวัดร้าง แต่ยังมีพระปรางค์ ใหญ่และเจดีย์ราย
ตามมุมคงเหลืออยู่และรูปทรงยังสมบูรณ์ดีเป็นส่วนมาก ในเรื่องนี้มีกาพย์บรรยาย
บทสังวาสเอาไว้ เป็นวรรณศิลป์ที่งดงามจับใจ
เล่นเสียง”ส” และคำว่า”สอง”อย่างวิจิตร

สองสุขสองสังวาส แสนสุดสวาทสองสู่สม

สองสนิทนิทรารมณ์ กลมเกลียวชู้สู่สมสอง

แย้มยิ้มพริ้มพักตรา สาภิรมสมจิตปอง

แสนสนุกสุขสมพอง ในห้องแก้วแพรวพรรณราย




เจ้าฟ้ากวีทรงมีพระอนุชาต่างพระมารดา ๓ พระองค์ เรียกรวมกันว่า เจ้าสามกรม
ไม่ทรงถูกกันเลย ถึงกับครั้งหนึ่งมีเรื่องกริ้วเจ้าสามกรมว่าทำตัวสูงเกินศักดิ์ ก็ทรงเรียกตัว
ข้าราชบริพารของเจ้าสามกรมมาโบยหลัง ๑๕ ทีบ้าง ๒๐ ทีบ้าง
เป็นการประชดไปถึงเจ้านาย เจ้าสามกรมก็คงจะแค้นพระทัย
จึงตอบแทนสาสม ด้วยการนำความไปทูลฟ้องพระเจ้าบรมโกศว่า
เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ ทรงเล่นชู้กับพระมเหสีของพระราชบิดา

เมื่อเรื่องอื้อฉาวขึ้นมาก็กลายเป็นเรื่องใหญ่โต เกิดสอบสวนกันเป็นการใหญ่
ทั้งเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์และเจ้าฟ้าสังวาล
ถูกสอบสวน จนทรงยอมรับผิดตามข้อหา จึงถูกลงโทษอย่างหนัก

ตามกฎมณเฑียรบาล การละเมิดสตรีในวังมีโทษถึงประหารชีวิต
ถ้าหากว่าเจ้าฟ้ากวีทรงถูกประหารตามกฎเสียให้รู้แล้วรู้รอด ก็คงจะน่าเศร้าสลดใจน้อยกว่านี้
แต่พระราชบิดาทรงลดหย่อนผ่อนโทษให้ไม่ให้ถูกประหาร น่าสะเทือนใจตรงที่ผล
กลับกลายเป็นว่า การลดโทษกลับเลวร้ายสาหัสกว่าถูกประหารเสียอีก

พระราชพงศาวดารบันทึกไว้ว่า เริ่มต้นด้วยถูกถอดลงเป็นไพร่ แล้วถูกทรงเฆี่ยนด้วยหวาย
ได้ ๒๐ ทีทรงเจ็บปวดมากจนสลบไป พระเจ้าบรมโกศก็ทรงให้หยุดเฆี่ยน
แก้ไขจนฟื้นขึ้นมา ในวันต่อไปก็เฆี่ยนต่ออีก ๖๐ ที เอาเหล็กเผาไฟ
นาบพระนลาฎ (หน้าผาก)และพระบาทเป็นการลงโทษ
แล้วให้เฆี่ยนต่อไปจนครบ ๒๓๐ ที ตามโทษที่ถูกลดหย่อนจากประหารชีวิต
แต่เฆี่ยนไปได้ ๑๘๐ ที ทรงทนความเจ็บปวดบอบช้ำไม่ไหว
ก็สิ้นพระชนม์คาหลักเฆี่ยน ส่วนเจ้าฟ้าสังวาลถูกเฆี่ยนสามสิบที
แล้วนำไปจองจำ อยู่ได้สามวันก็สิ้นพระชนม์ตามไปอีกองค์หนึ่ง

ถ้าหากว่าไม่เกิดเรื่องนี้เสียก่อนทรงอยู่มาได้อีก ๓ ปีก็จะได้ครองราชย์
น่าจะเป็นยุคเฟื่องฟูของวรรณคดีไทยอีกยุคหนึ่ง

พระศพของเจ้าฟ้ากวี มิได้รับการถวายพระเพลิงตามโบราณราชประเพณี
แต่ถูกฝังเอาไว้ที่วัดไชยวัฒนาราม
ในเจดีย์สร้างอย่างหยาบๆคู่กับเจ้าฟ้าสังวาล วัดนี้เป็นวัดใหญ่อยู่ที่บางปะอิน
ริมแม่น้ำเจ้าพระยา หากพระวิญญาณยังอยู่ที่นั่น ก็คงจะได้ทอดพระเนตรลำน้ำ
ที่เคยใช้ล่องเรือ เห่บทพระนิพนธ์เมื่อสองร้อยปีก่อน
และยังเป็นที่ขับขานจดจำรำลึกกันมาจนถึงวันนี้

มีบทเห่บทหนึ่งแสนเศร้า

เหมือนจะเป็นการสะท้อนชะตากรรมของเจ้าฟ้ากวี

โดยที่พระองค์ท่านคงไม่ทรงรู้องค์ว่าจะทรงเป็นไป

อย่างพระนิพนธ์บทนี้ทุกประการ


แต่เช้าเท่าถึงเย็น กล้ำกลืนเข็ญเป็นอาจิณ

ชายใดในแผ่นดิน ไม่เหมือนพี่ที่ตรอมใจ







บทวิเคราะห์จากเดลินิวส์ / ตอนที่ 7 รักแสนเศร้าเจ้าฟ้ากุ้ง
//www.dailynews.co.th/article/15676/117795


หากพิจารณาถึงพระเมตตาของสมเด็จพระราชบิดาที่ทรงมีต่อเจ้าฟ้ากุ้งนั้น
ต้องมีมากกว่าทุกพระองค์เพราะทรงโปรดให้เป็น กรมพระราชวังบวร (วังหน้า)
มีอำนาจมากกว่าองค์ใด ถ้าหากพระ องค์สามารถทนการเฆี่ยนได้
ประวัติศาสตร์อาจจะต้องเปลี่ยนแปลงและหากไม่มีการลงโทษซ้ำอีกซึ่ง
ถึง 4 ยก 180 ทีอาจจะยังทรงมีพระชนม์อยู่ต่อไปได้

นักประวัติศาสตร์หลายท่านเชื่อว่าพระองค์ถูกใส่ร้ายเพื่อหวังผลในการแย่งชิงอำนาจ
ราชสมบัติ โดยมีข้อสันนิษฐานจากการค้นหาความจริงไว้หลายประการ ดังนี้

ประการที่ 1 เจ้าฟ้ากุ้งรู้จักสนิทสนมกับเจ้าฟ้าสังวาลมาก่อนตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
โดยคาดว่าเจ้าฟ้ากุ้งจะมีพระชนมายุประมาณ 18 และเจ้าฟ้าสังวาลประมาณ 16 ชันษา
คาดว่าอาจจะเคยทรงรักกันมาก่อนจริง
และทั้งสองพระองค์อาจจะได้ครองรักกันมาแบบที่ไม่เปิดเผยก่อนที่เจ้าฟ้าสังวาล
จะได้รับตำแหน่งพระสนมของพระเจ้าบรมโกศเสียอีก (ด้วยในสมัยโบราณ
เจ้านายผู้หญิงส่วนในมักจะถวายตัวกับพระเจ้าแผ่นดินตามราชประเพณี)

ประการที่ 2 การแต่งเพลงยาวที่เป็นหลักฐานนั้น เพราะเจ้าฟ้ากุ้งทรงเป็น
กวี ย่อมมีพระอารมณ์อ่อนไหว คล้อยตามเหตุการณ์ไปบ้างตามวิสัยกวี
ที่เป็นศิลปิน ทรงเป็น ’กวีนักบุญ“ และ ’กวีนักรัก“ นั้นน่าจะเป็นเรื่องธรรมดา
สำหรับเจ้าฟ้ากุ้ง สิ่งที่น่าสังเกตก็คือ ตั้งแต่ทรงมีข้อผิดพลาดที่เป็นบทเรียนสำคัญ
จนต้องลี้ภัยเข้าไปอยู่ในบวรพุทธศาสนา เมื่อทรงลาผนวช พระอุปนิสัยได้เปลี่ยนไป
ใช้ชีวิตมุ่งสู่สันติสุขแห่งสภาพธรรมทั้งหลาย ตั้งแต่ทรงแต่งธรรมนิพนธ์
ปฏิสังขรณ์บูรณะวัดวาอาราม สร้างคุณประโยชน์แก่พุทธศาสนา
มิได้มุ่งซ่องสุมกำลังผู้คนเพื่อเตรียมการในอำนาจราชศักดิ์แต่อย่างใด

ประการที่ 3 จากข้อความที่ปรากฏในเพลงยาว แสดงให้เห็นถึงความเป็นคนดี
ของทั้ง 2 พระองค์ที่มีหิริโอตตัปปะ สำนึกในสิทธิและหน้าที่ของทุกคน
หากถ้าดูมีโอกาสได้มี “ความสัมพันธ์ในทางปฏิบัติจริง” ตามที่ถูกกล่าวหา
ก็คงไม่เขียนเพลงยาวถึงกันให้มีหลักฐานเกิดขึ้นและหากสามารถพบกัน
พูดกันได้ด้วยปากจะไม่สะดวกสบายมากกว่าการเขียนเพลงยาวหากัน
ดังนั้นจึงไม่มีใครเชื่อเรื่องนี้แต่เชื่อเพียงแต่ว่าเป็นเพราะ ’อารมณ์รักแห่งศิลปิน“
ที่กวีจะพึงมีในจินตนาการแห่งอารมณ์ เท่านั้น

ประการที่ 4 เจ้าฟ้ากุ้งทรงพระประชวรด้วยพระโรคที่สังคมรังเกียจ
ไม่ได้เข้าเฝ้าถึงสามปีแต่มีความสามารถไปลักลอบเล่นชู้กับพระสนมเอก
ในพระราชวังหลวงนั้น เป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเป็นไปได้เพราะวังหลวงย่อมมีผู้คนอยู่มากมาย
และพระสุขภาพวรกายของพระองค์คงจะไม่มีทางทำอย่างนั้นได้

ในฐานะที่ทรงเป็นนักปราชญ์ ทรงมีพระเกียรติยศแห่งกวีเอก พระนิพนธ์ของพระองค์
สูงค่ายิ่งและได้รับการยกย่องเทิดทูนอย่างสูงจนกระทั่งทุกวันนี้ และเชื่อว่าจะเป็นอย่างนี้
ตลอดไป “ความสง่างามในพระประวัติ” ของพระองค์แม้จะถูก “ใส่ร้ายทำลายล้าง”
มากมายเพียงใด ก็คงไม่สามารถ บดบังแสงจรัสแห่งกวีนักบุญ
นักรักของพระองค์ ได้ แม้ว่าจะต้องมี ’รักที่แสนเศร้า” เพียงใดก็ตาม.

อ้างอิง
//www.dailynews.co.th/article/15676/117795
//pranpanninlive.exteen.com/page-10
//guru.google.co.th/guru/thread?tid=57dff83cca627f0f
ภาพ / //www.oamc.ku.ac.th/_2010/cards/2553_card.html







ขอบคุณเอ็มวีจาก....youtube.com

ภาพตกแต่งไลน์และโค๊ดอีโม ............/ญามี่

แนะนำโค๊ดตกแต่งบล้อก................/ คุณKimm08

ภาพประกอบบล้อกและข้อมูลต่างๆจากอินเตอร์เนต

Bloggang.com : weblog for you and your gang

และขอบคุณเพื่อน ๆทุกท่านที่แวะเข้ามาเยี่ยมชมนะคะ







ลิงค์บล้อกเพลงที่ได้รับแรงบันดาลใจจากวรรณกรรม

▶1 บุษบาในฝัน::เพลงอิงวรรณคดีไทยเรื่องอิเหนา ตอนที่ 1


▶2 บุษบาเสี่ยงเทียน/เสี่ยงเทียน :: เพลงอิงวรรณคดีไทยเรื่องอิเหนา ตอนที่ 2


▶3 อิเหนารำพึง/อิเหนารำพัน:: เพลงอิงวรรณคดีไทยเรื่องอิเหนา ตอนที่ 3


▶4 เนื้อเรื่องโดยย่อ::วรรณคดีเรื่องอิเหนา


▶5 กามนิต-วาสิฎฐี:: เพลงอิงวรรณคดีไทยเรื่อง กามนิต-วาสิฎฐี


▶6 เพลงชุดจุฬาตรีคูณ 5 เพลง:: เพลงอิงวรรณคดีไทยเรื่องจุฬาตรีคูณ


▶7 เพลงไทยที่ปรากฎอยู่ในวรรณกรรมเรื่อง เพชรพระอุมา


▶8 เพลงสากลที่ปรากฎอยู่ในวรรณกรรมเรื่อง เพชรพระอุมา


▶9 คำมั่นสัญญา เพลงที่มีคำร้องมาจากวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี


▶10 ศกุนตลา เพลงที่ได้รับแรงบันดาลใจ มาจากวรรณคดีพระราชนิพนธ์
ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว


▶11 จากบทกวี...ที่ไปเป็นบทเพลง...เ ห มื อ น ไ ม่ เ ค ย




กระซิบเบาๆค่ะ ^_^
ทำบล้อกศกุนตราจบ ก็หยิบบล้อกเก่าๆ
ที่เคยร่างไว้แต่ยังไม่พร้อม..เรื่อยๆมาเรียงๆ คลิกๆค้นๆ
หลังจาก จขบ.ท่องเนตเกี่ยวกับเกร็ดเพลงเหมือนไม่เคย
จากหลายๆเวปในกูเกิ้ล ก็อ่านไปเรื่อยๆนะคะเกี่ยวกับเรื่องราว
ของผู้แต่ง(เจ้าฟ้ากุ้ง)..บทกวีพระนิพนธ์ของพระองค์
ไพเราะ ภาษาสวยงาม ยิ่งอ่านก็ยิ่งประทับใจ
เมื่อสมัยเป็นนักเรียนก็เพียงแต่อ่านผ่านๆไปเท่านั้น
ณ ตอนนี้ยิ่งอ่านยิ่งน่าสนใจ ก็เลยคัดลอกบางส่วน
จากหลายๆเวปมารวมกันไว้เป็นที่ระลึกค่ะ
ขอขอบคุณทุกๆแหล่งข้อมูลนะคะ

+Bloggang :: jamaica+




Create Date : 18 ตุลาคม 2556
Last Update : 18 ตุลาคม 2556 6:45:51 น. 0 comments
Counter : 10394 Pageviews.

jamaica
Location :
1 Albania

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]





ฝากข้อความที่นี่ค่ะ^_^


++ Harmony of Life ++
ช่วงเวลาดีๆ และ....
ความรู้สึกดี ๆ เกิดขึ้นได้เสมอ
เมื่อเรามีหัวใจจะสรรค์สร้าง
รู้สึกดีกับตัวเราเองรู้สึกดีกับสิ่งต่างๆ
กับใครๆรายรอบตัว......และ
แบ่งปันความรู้สึกที่ดีให้แก่กัน
ทุก ๆวัน ก็จะเต็มไปด้วยความสุข
และความรู้สึกดีๆ ค่ะ ^_^



"เปิดBlog 5 กรกฎาคม 2553"

ขอบคุณทุกๆกำลังใจที่มอบให้
jamaica's Blog นะคะ


BlogGang Popular Award # 6

BlogGang Popular Award # 7

BlogGang Popular Award # 7

BlogGang Popular Award # 8

BlogGang Popular Award # 8

BlogGang Popular Award # 9

BlogGang Popular Award # 9

BlogGang Popular Award # 9

BlogGang Popular Award #10
Group Blog
 
 
ตุลาคม 2556
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
18 ตุลาคม 2556
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add jamaica's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.