Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
6 สิงหาคม 2555
 
All Blogs
 
สารเพิ่มกระบวนการเผาผลาญในร่างกาย(Thermogenic compounds) ช่วยลดน้ำหนักได้จริงหรือ

วารสาร Food Facts Asia ฉบับ 38 - สารเพิ่มกระบวนการเผาผลาญในร่างกาย(Thermogenic compounds) ช่วยลดน้ำหนักได้จริงหรือ

Published on 02-08-2010 Share/Bookmark Email To Friend Print Version


อัตราภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกอยู่ในระดับสัญญาณอันตราย หน่วยงานการสาธารณสุขและการแพทย์ในเอเชียได้หันมาให้ความสนใจต่อความชุกด้านสุขภาพดังกล่าว โรคอ้วนแสดงถึงความเสี่ยงด้านสุขภาพที่รุนแรงเนื่องจากเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง ความสัมพันธ์ระหว่างโรคอ้วนและโรคเบาหวานใกล้ชิดกันมากจนเกิดคำศัพท์ว่า โรคเบาหวานประเภท 2 (diabesity) โรคอ้วนเกิดขึ้นเมื่อสมดุลพลังงานของคุณมีค่าเป็นบวกซึ่งในทางวิทยาศาสตร์กล่าวว่า พลังงานรับเข้า(จากอาหาร) มากกว่าพลังงานใช้ไป โดยอาจทำให้อยู่ในรูปของสมการข้างล่างนี้
สมดุลพลังงาน = พลังงานรับเข้า – พลังงานใช้ไป
เมื่อแคลอรี(พลังงาน)จากอาหารมีปริมาณมากกว่าแคลอรี(พลังงาน)ที่ถูกใช้ไป สมดุลพลังงานจะมีค่าเป็นบวกและจะถูกเก็บในรูปของไขมันหากพลังงานนั้นไม่ได้ใช้ สมดุลพลังงานค่าบวกที่เหลือสะสมติดต่อกันเป็นเวลานานๆสามารถนำไปสู่โรคอ้วน ในทางกลับกัน ค่าสมดุลพลังงานของคุณต้องเป็นลบหากคุณต้องการลดน้ำหนักให้สำเร็จ ซึ่งสามารถทำได้อย่างใดอย่างหนึ่งไม่ว่าจะโดยการลดปริมาณอาหารหรือเพิ่มการใช้พลังงาน
วิธีการลดน้ำหนักธรรมดาสามัญที่แนะนำกันมาหลายทศวรรษคือให้ลดการรับประทานอาหาร(แคลอรีรับเข้า) แผนการลดน้ำหนักด้วยการเข้มงวดกับอาหารมีขีดจำกัดที่จะประสบความสำเร็จในระยะยาว เนื่องจากเมื่อคุณรับประทานอาหารน้อยลง อัตราการเผาผลาญพลังงานขั้นต่ำสุด หรือ BMR (basal metabolic rate) ก็ลดลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน ปัจจัยหลักของการใช้พลังงานคือBMR ซึ่งอาจนิยามว่าเป็นอัตราการเผาผลาญขั้นต่ำสุดที่ร่างกายจะดำเนินชีวิตอยู่ได้ ดังนั้น หากค่า BMR ของคุณต่ำลงเนื่องจากรับประทานอาหารน้อยลง นั่นเท่ากับว่าคุณได้รับพลังงานเข้าจากอาหารน้อยลง แสดงว่าคุณก็ใช้พลังงานน้อยลงเช่นกัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องนำปัจจัยอื่นๆเข้ามาชดเชยค่า BMR ที่ลดลงเพื่อก้าวให้ถึงเป้าหมายของการลดน้ำหนัก ร่างกายยังเผาผลาญพลังงานเมื่อมีการออกกำลังกายและเพื่อการเจริญเติบโตของวัยหนุ่มสาวและหญิงมีครรภ์
บทความนี้มองไปยังวิธีการทำให้ร่างกายใช้พลังงานในรูปแบบที่ 4  โดยตั้งชื่อตามการรับประทานอาหารบางชนิดและรู้จักกันว่าเป็นอาหารเพิ่มกระบวนการเผาผลาญในร่างกาย ซึ่งมีผลทำให้ค่า BMR เพิ่มขึ้นและร่างกายเผาพลาญพลังงานมากขึ้น
รูปภาพข้างล่างนี้แสดง 4 ช่องทางในการใช้พลังงานของร่างกาย

TEE (total energy expenditure)  คือ พลังงานที่ร่างกายใช้ทั้งหมดในแต่ละวัน และ BMR หรืออัตราการเผาผลาญพลังงานขั้นต่ำสุดมีค่าประมาณ 60-75% ของ TEE โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลในผู้ใหญ่คือ เพศ, ขนาดรูปร่าง, องค์ประกอบของร่างกาย (body composition) และอายุ
จากภาพดังกล่าวข้างต้น พลังงานทั้งหมดที่ร่างกายใช้ในแต่ละวัน (TEE) ประกอบด้วย :
  • BMR (basal metabolic rate) - อัตราการเผาผลาญพลังงานขั้นพื้นฐานหรือต่ำสุด
  • PA (Physical activity) - กิจกรรมทางร่างกาย
  • DIT (Dietary induced thermogenesis) – พลังงานความร้อนที่ช่วยให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย, หรือ TEF (Thermic effect of food) - พลังงานความร้อนที่เกิดจากกระบวนการเผาผลาญภายในเซลเพื่อใช้ในการย่อยและการดูดซึมอาหาร
  • G  (Growth) - การเจริญเติบโต
ในหญิงไม่ตั้งครรภ์และหญิงวัยผู้ใหญ่ที่ไม่ต้องให้นมบุตร การเจริญเติบโตมีผลต่อการใช้พลังงานเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย ดังนั้นสมการจึงเท่ากับ
TEE = BMR + DIT + PA
ในบางครั้ง DIT มีความหมายเช่นเดียวกับ TEF และเป็นส่วนประกอบสำคัญของการใช้พลังงานถัดจากการทำกิจกรรมทางร่างกาย DIT โดยปกติมีค่าระหว่าง 8% - 15% และจำนวนเปอร์เซ็นต์การใช้พลังงานจะเพิ่มขึ้นมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของอาหารที่เราบริโภค ระหว่างโปรตีน, ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตในอาหาร เป็นที่ยอมรับกันว่าอาหารโปรตีนสูงกระตุ้น DIT มากที่สุด (มากกว่า 15%)
กิจกรรมทางร่างกายหรือการออกกำลังกาย (PA) เป็นวิธีการเพิ่มการใช้พลังงานที่แนะนำกันอย่างกว้างขวางที่สุด แผนการลดน้ำหนักซึ่งใช้วิธีการเข้มงวดกับอาหารเป็นพื้นฐานนั้นจะสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อสามารถรักษาหรือเพิ่มระดับการทำกิจกรรมทางร่างกายเท่านั้น
เช่นเดียวกับการลดปริมาณอาหารและเพิ่มกิจกรรมทางร่างกายซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติดั้งเดิม ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่าอาหารบางชนิดมีผลต่อการเพิ่มกระบวนการเผาผลาญได้มากกว่าอาหารชนิดอื่นๆหลายเท่า สารเพิ่มกระบวนการเผาผลาญ (thermogenic compound)คือสารที่มีประสิทธิผลในการช่วยร่างกายเผาผลาญพลังงาน
มุมมองใหม่สำหรับการลดน้ำหนัก; การใช้สารเพิ่มกระบวนการเผาผลาญ
หนึ่งในหลายๆรายงานล่าสุดเกี่ยวกับเครื่องเทศระบุว่า พริกที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในเอเชียใต้มีสารออกฤทธิ์ที่สามารถผลิตพลังงานความร้อน (DIT) ระดับสูงปัจจุบันที่พบคือสารแคปไซซิน (capsaicin)
การเพิ่มขึ้นของอัตราการเผาผลาญพลังงานในอาหารควบคุมซึ่งมีเครื่องเทศและไม่มีเครื่องเทศ
จากช่วงแรกๆที่ทำการสังเกตการทำงานของสารแคปไซซิน(capsaicin) ที่มีผลต่อการผลิตพลังงาน DIT ยังพบว่า สารจากอาหารอื่นๆก็แสดงผลว่าสามารถผลิตพลังงาน DIT นี้ได้เช่นกัน ซึ่งได้แก่ สารคาเฟอีนในชา กาแฟ, สารเอฟิดรีน (ephedrine) ในสมุนไพรจีน, แอสไพริน (aspirin) ในผักชี และสารคาเทชิน (catechin) ในชาเขียว เนื่องจากสารเหล่านี้มีศักยภาพในการเพิ่มการใช้พลังงาน จึงถูกเสนอให้เป็นตัวช่วยด้านอาหารซึ่งอาจมีส่วนในการลดและรักษาน้ำหนักให้คงที่
ดูเหมือนว่าคาเฟอีนเป็นสารเพิ่มกระบวนการเผาผลาญที่ปลอดภัยและอาจถูกใช้สำหรับการควบคุมและลดน้ำหนัก มีรายงานว่าสารแคปไซซินลดไขมันร่างกายและน้ำหนักตัวเนื่องจากมีผลในการเสริมกระบวนการเผาผลาญพลังงาน การบริโภคชาเขียวก็ให้ผลด้านบวกต่อการจัดการน้ำหนักตัว ชาเขียวมีทั้งคาเฟอีนและคาเทชินจึงอาจทำปฏิกิริยาเสริมฤทธิ์ซึ่งกันและกันในการช่วยเพิ่มกระบวนการเผาผลาญ รายงานเมื่อไม่นานมานี้กล่าวว่า การบริโภคซุปไก่เพิ่มอัตราการเผาผลาญในแต่ละบุคคลโดยเฉลี่ยจาก 5% เป็น 12%
โดยสรุป การรักษาภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนจำเป็นต้องใช้วิธีการที่ประกอบด้วยหลายปัจจัย การบริโภคสารต่างๆเช่น คาเฟอีน, เอฟิดรีน, แคปไซซิน และคาเทชิน เพียงอย่างเดียวหรือร่วมกัน ดูเหมือนเพิ่มการผลิตพลังงาน DIT  ดังนั้น วิธีการเพิ่มการใช้พลังงานแบบใหม่นี้อาจเป็นกลยุทธ์เสริมซี่งมีประโยชน์ต่อการลดและรักษาระดับน้ำหนักตัว
แหล่งข้อมูลอ้างอิง :
  • Henry CJK and Emery B (1986): Effect of spiced food on metabolic rate. Hum. Nutr. Clin. Nutr. 40C, 165-171.
  • Q. Shixian, B. VanCrey, J. Shi, Y. Kakuda, Y. Jiang. Journal of Medicinal Food. Winter 2006, 9(4): 451-458
  • Green Tea Extract Thermogenesis-Induced Weight Loss by Epigallocatechin Gallate Inhibition of Catechol-O-Methyltransferase



Create Date : 06 สิงหาคม 2555
Last Update : 6 สิงหาคม 2555 13:11:27 น. 0 comments
Counter : 4920 Pageviews.

ปลายน้ำท่าจีน
Location :
สมุทรสาคร Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




หลักทฤษฎีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต (Transtheoretical หรือ Stage of Change Model)
-อยู่ขั้นลงมือทำ (Action) คือลงมือทำไปแล้ว แต่ยังต่อเนื่องมาได้ไม่เกินหกเดือน
- ประเมินและถามตัวเองเป็นระยะว่า “สำเร็จไหม?” ถ้าไม่สำเร็จ ก็ประเมินสาเหตุว่าทำไม เป้านั้นมันสูงเกินไปหรือเปล่า หรือมีอะไรมาขัดให้คุณเสียจังหวะ ประเมินแล้วก็วางแผนแก้ แล้วทำใหม่อีกหนๆๆ ถ้าสำเร็จก็ให้เกาะติดอย่างจริงจังไปอีกนานเท่านาน จนมันกลายเป็นวิถีชีวิตใหม่ของเรา นั่นหมายความว่าการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตสำเร็จแล้ว
Friends' blogs
[Add ปลายน้ำท่าจีน's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.