Group Blog
 
 
กันยายน 2549
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
30 กันยายน 2549
 
All Blogs
 

บอลโลกครั้งที่ 5 ที่สวิต 1954



Logo ฟุตบอลโลก ปี 1954



เนื่องจากปี 1954 เป็นการครบรอบปีที่ 50 ของสหพันธ์ลูกหนังโลก (ฟีฟ่า) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพราะเหตุนี้ศึกฟาดแข้งระดับโลก รอบสุดท้ายในปีนี้ จึงระเบิดขึ้นที่เมืองนาฬิกา เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองการครบรอบครึ่งศตวรรษของฟีฟ่านั่นเอง การแข่งขันในครั้งนี้ทั้งหมด 16 ทีมที่ผ่านเข้ามาในรอบสุดท้าย จะถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ทีม แต่จะไม่ใช่การแข่งแบบพบกันหมดทั้ง 3 ทีม โดยแต่ละกลุ่มจะหวดกันทีมละ 2 นัดเท่านั้น เนื่องจากระบบใหม่ที่ถูกนำมาใช้ในปีนั้น ในแต่ละกลุ่มจะมีทีมวางอันดับอยู่ 2 ทีม และอีก 2 ทีมที่ไม่ใช่ทีมวาง ซึ่งตามกฎในครั้งนั้น ทีมที่เป็นทีมวางจะไม่ต้องเจอกันเอง และก็จะลงสนามพบกับทีมที่ไม่ใช่ทีมวางเท่านั้น นั่นจึงเหตุผลที่ว่าทำไมแต่ละทีมในกลุ่มถึงได้เหนื่อยกันแค่ 2 เกมเท่านั้นเอง



ทีมชาติเยอรมัน


นอกจากนี้ในกรณีที่ทีมอันดับ 2 มีคะแนนเท่ากัน ทั้ง 2 ทีมก็จะต้องไปหวดเพลย์-ออฟกัน เพื่อแย่งที่ว่างในรอบ 8 ทีมสุดท้าย ทำให้ศึกเวิลด์ คัพ กลายเป็นเกมแบบซัดเดนเดธ ตั้งแต่ไก่โห่ โดยภายใต้ระบบอันซับซ้อนยุ่งเหยิงและน่าปวดหัวนี้ ทีมที่ไม่ใช่ทีมวางสามารถแพ้ต่อทีมวางและก็อาจจะกลับมาจ๊ะเอ๋กันอีกครั้งในรอบชิงชนะเลิศได้ด้วย แต่มีข้อแม้ว่าทีมนั้นๆ จะต้องผ่านทีมวางอีก 1 ที่เหลือในกลุ่มและจะต้องเป็นฝ่ายได้เฮในรอบเพลย์-ออฟ



ทีมชาติฮังการี


บราซิล ภายใต้การคุมทีมของ เซเซ่ โมเรร่า ยังคงเป็นทีมเต็งในสายตาชาวโลกอยู่วันยังค่ำ นอกจากนี้ยังมีกำลังเสริมชั้นดีเข้ามาเพิ่มศักยภาพให้น่าเกรงขามมากขึ้น อย่างเช่น 2 ฟูลแบ๊กนามสกุล "ซานโต๊ส" อย่าง ดียาม่า และ นิลตัน รวมไปถึงดิดี้ จอมทัพตัวปั้นเกม, จูลินโญ่ และ เมารินโญ่ 2 ปีกจอมพลิ้ว ขณะที่ตัวเก๋าที่หลงเหลือมาจากเมื่อปี 1950 อย่างเช่นแบ๊กขวา โฮเซ่ เบาเออร์ ก็พร้อมช่วยทีมเช่นกัน



ประธานฟีฟ่า Jules Rimet เปิดการแข่งขันฟุตบอลโลก


อย่างไรก็ตามทีมที่เป็นเต็ง 1 จริงๆ ในหนนี้ กลับเป็น "แม็กยาร์" ฮังการี โดยก่อนหน้าทัวร์นาเมนต์จะเริ่มขึ้น พวกเขาเป็นทีมที่โชว์ฟอร์มได้อย่างเลิศหรู ด้วยการที่ไม่แพ้ใครมานาน รวมไปถึงการเป็นแชมป์โอลิมปิกปี 1952 จากนั้นก่อนสอนบอลทีมแกร่งอย่าง "สิงโตคำราม" อังกฤษ ด้วยสกอร์ที่ไม่น่าเชื่ออย่าง 6-3 และ 7-1 โดย ฮังการี เจอกับทีมระดับหัวแถวของยุโรปทั้งหมด 25 เกม ในช่วงนั้น และสมารถสอยตาข่ายไปได้ถึง 104 ประตู เสียไปเพียง 25 ลูกเท่านั้น



Gyula Grosics ผูรักษาประตูฮังการี ป้องกันการทำประตูของ Rafael Souto กองหน้าอุรุกวัย


ส่วนทางฝ่ายเจ้าภาพเมืองนาฬิกา ถูกตราหน้าว่าเป็นเพียงทีมไม้ประดับ ขณะเดียวกันฟุตบอลโลกครั้งนี้ก็เป็นครั้งแรกที่มีการแพร่ภาพสดๆ ทางจอสี่เหลี่ยม ตั้งแต่ทัวร์นาเมhนต์เริ่ม สายตาของช่างภาพส่วนใหญ่ต่างจับจ้องไปที่แข้งของขุนพลแม็กยาร์แทบทั้งนั้น โดยทุกนัดที่ลงสนาม ตั๋วจะถูกขายเกลี้ยงแทบไม่เหลือ และผู้ชมก็ได้ลิ้มรสเกมลูกหนังที่คุ้มค่าต่อเงินที่เสียไปจริงๆ เกมแรกนักเตะฮังกาเรียน ก็จัดการสอนบอลทีมไร้ประสบการณ์อย่าง "โสมขาว" เกาหลีใต้ ด้วยผลการแข่งขันที่เป็นสถิติใหม่ของศึกลูกหนังโลก รอบสุดท้าย 9-0 ส่วนเหยื่อรายต่อมาก็คือ "อินทรีเหล็ก" เยอรมันตะวันตก ซึ่งโดนไป 8-3 ทำให้ฮังการีซัดไปแล้ว 17 ลูก จากการลงสนามเพียง 2 นัด และผลการแข่งขันนัดนั้น ก็ถือว่าเป็นการพ่ายที่เละเทะที่สุดของทีมจากเมืองเบียร์ นับตั้งแต่เริ่มลงสนามมาเมื่อปี 1908 อย่างไรก็ตามการพ่ายแพ้ของพวกด๊อยท์ช ก็ไม่ได้ทำให้ต้องวิตกอะไรมาก เนื่องจากส่งตัวสำรองลงสนามไปถึง 7 คน เพราะต้องการพักตัวหลักๆ เอาไว้ก่อน



กองหน้าอุรุกวัย Sandor Kocsis ดีใจหลังส่งลูกผ่านมือผู้รักษาประตู อุรุกวัย Gaston Roque


เกมนัดต่อมาทีมอินทรีเหล็กก็ถล่มตุรกีไป 4-1 ทำให้รู้ว่ายังมีอนาคตอันสดใสรออยู่อย่างแน่นอน แม้ว่าจะพ่ายต่อฮังการี ยับเยินขนาดนั้น ส่วนทีมผู้ดีอังกฤษ ซึ่งอยู่ในกลุ่ม 4 เริ่มต้นได้อย่างน่าผิดหวัง ทั้งที่ขึ้นนำเบลเยียมอยู่ถึง 3-1 ก่อนที่เกมจะจบลงด้วยการเสมอกัน 4-4 แต่ก็ได้ผ่าน เข้าสู่รอบ 8 ทีมสุดท้าย เมื่อชนะสวิตเซอร์แลนด์เจ้าภาพไปสบายๆ 2-0 ในรอบควอเตอร์ไฟนั่ล ทีม "จอมโหด" อุรุกวัย ยังโชว์ความร้อนแรงต่อไป ด้วยการถล่มอังกฤษ 4-2 มาจากการผลงานอันสุดห่วยของ กิล เมอร์ริค ผู้รักษาประตูทีมสิงโตคำราม ขณะที่เยอรมันตะวันตกก็เอาชนะยูโกสลาเวียไป 2-0 แต่เกมที่ได้รับการกล่าวขวัญมากที่สุดคือการพบกันระหว่าง ฮังการี และ บราซิล ซึ่งหวดกันอย่างดุเดือด ถึงกับได้ชื่อว่าเป็น "สงครามแห่งกรุงเบิร์น" ก่อนที่พลังแข้งแม็กยาร์จะเป็นฝ่ายปราบทีมกาแฟไป 4-2



กองหน้าอังกฤษ Denis Wishaw แย่งบอลกับ Jose Santamaria กองกลางอุรุกวัย


ในรอบตัดเชือก ฮังการีจึงได้มาพบกับอุรุกวัย โดยเกมนี้ถือว่าเป็นเกมฟาดแข้งที่น่าจดจำมากที่สุดเกมหนึ่ง ก่อนที่ผู้ชมจะได้ยลลูกโหม่งอันสุดสวยของ ซานดอร์ ค็อคซิส ถึง 2 ครั้ง ช่วงก่อนที่การต่อเวลาจะหมดลง 5 นาที และช่วยให้ฮังการีเอาชนะไป 4-2 ถือเป็นการพ่ายแพ้เกมแรกของ อุรุกวัยในฟุตบอลโลกอีกด้วย
จุดสุดยอดของทัวร์นาเมนต์มาเกิดขึ้น เมื่อคู่ชิงชนะเลิศเป็นการพบกันระหว่างฮังการีและเยอรมันตะวันตก ทั้งที่ก่อนหน้านัดชิงจะเริ่มขึ้นเพียง 1 สัปดาห์ นักเตะแม็กยาร์ เพิ่งจะถลุงพวกอินทรีเหล็ก มาอย่างยับเยิน แต่ครั้งนี้ เซปป์ แฮร์เบอร์เกอร์ กุนซือเมืองเบียร์ จัดผู้เล่นชุดใหญ่ลงสนาม ส่วนเทรนเนอร์ กุสตาฟ เซเบส ของฮังการี ก็ตัดสินใจส่ง เฟเรนซ์ ปุสกัส ซูเปอร์สตาร์ ที่ไม่สมบูรณ์ลงเล่นเช่นกัน



กองหน้าฮังการี Nandor Hidegkuti ยิงลูกผ่านมือ Heiner Kwiatkowsk ผู้รักษาประตูเยอรมัน


นัดชิงชนะเลิศฟุตบอลโลกปี 1954 ระเบิดขึ้นที่สนามวังค์ดอร์ฟ สเตเดี้ยม ในวันที่ 4 กรกฎาคม ท่ามกลางสายตาผู้ชมกว่า 60,000 คู่ แต่สภาพสนามในวันนั้นไม่เป็นใจเท่าที่ควร เนื่องจากมีฝนตกโปรยปรายลงมา เพียงแค่ 8 นาทีแรก ฮังการีก็นำไปก่อนถึง 2-0 จากฝีเท้าของ ปุสกัส และซิบอร์ แต่ใน 3 นาทีให้หลัง มักซ์ เมอร์ล็อค ก็รับลูกเปิดของ ฮันส์ เชเฟอร์ ก่อนแหวกแนวรับฮังการี เข้าไปยิงตีไข่แตกไล่มาเป็น 1-2 และในนาทีที่ 18 สกอร์ก็มาเท่ากันที่ 2-2 จนได้ เมื่อเฮลมุท ราห์น ได้บอลจากความผิดพลาดของ โกรซิคส์ นายประตูแม็กยาร์ ก่อนที่จะยิงเข้าไป ผู้คนทั้งสนามต่างพากันคิดว่าเกมจะต้องยืดเยื้อไปถึงช่วงต่อเวลาเป็นแน่ แต่ทุกอย่างก็มาถึงจุดสิ้นสุด เมื่อ ราห์น สามารถฉกบอลได้จากลันโต๊ส และลากเข้าไปถึงกรอบโทษ ก่อนที่จะตะบันผ่านมือ โกรซิคส์ เข้าไปตุงตาข่าย เป็นประตูชัยให้ทีมอินทรีเหล็ก อย่างไรก็ตามในช่วงท้ายเกมปุสกัสยิงได้อีก 1 ประตู แต่เมอร์วิน กริฟฟิธส์ ผู้ตัดสินที่ลงเป่าในเกมนี้ไม่ให้เป็นลูกได้ประตู โดยชี้ว่าเป็นการล้ำหน้า และในนาทีสุดท้าย ตูเร็ค ก็โชว์ฟอร์มซูเปอร์เซฟปัดป้องลูกยิงของซิบอร์ได้อย่างไม่น่าเชื่อ หมดเวลาการแข่งขัน ทีมอินทรีเหล็ก จึงกลายเป็นทีมแรกที่ไม่ใช่ทีมวาง และสามารถผงาดขึ้นเป็นเจ้าโลกได้สำเร็จ ขณะเดียวกันชัยชนะ 3-2 ก็เป็นการยุติสถิติของ ฮังการี ที่ไม่แพ้ใครติดต่อกัน 30 นัด ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปี 1950 ของขุนแข้ง แม็กยาร์ ลงอย่างสิ้นเชิง




Rahn ของเยอรมัน ยิงประตูชัยในนาทีที่ 84


ผลงานของบราซิลในฟุตบอลโลก ครั้งที่ 5 ที่สวิตเซอร์แลนด์ ในปี 1954
แข่ง 3 นัด ชนะ 1 แพ้ 1 เสมอ 1




ทีมชาติบราซิล


นัดแรก
บราซิล 5 เม็กซิโก 0
June 16, 1954
สนาม : Geneva, Charmilles Stadium
คนดู : 13000 คน
กรรมการ : Wyssling (Switzerland)
ผุ้ทำประตูให้บราซิล : Baltazar 23', Didi 30', Pinga 34', 43', Julinho 69'




Line-up in the match against Mexico:
Djalma Santos, Brandãozinho, Nilton Santos, Pinheiro,
Mario Américo (masseur), Castilho and Bauer;
Julinho, Didi, Baltazar, Pinga and Rodrigues.


นัดที่ 2
บราซิล 1 ยูโกสลาเวีย 1
June 19, 1954
สนาม : Lausanne, Stade Olympique de la
คนดู : 40000 คน
กรรมการ : Faultless (Scotland)
ผุ้ทำประตูให้บราซิล : Didi 69' ยูโกสลาเวีย : Zebec 48'




บราซิล 2 ฮังการี 4


นัดที่ 3
บราซิล 2 ฮังการี 4
June 27, 1954
สนาม : Berne, Wankdorf Stadium
คนดู : 60000 คน
กรรมการ :Ellis (England)
ผุ้ทำประตูให้บราซิล : Djalma Santos 18' (pen), Julinho 65' ฮังการี : Hidegkuti 4', Kocsis 7', 88',Lantos 60' (pen)




Julinho Botelho



จำนวนประตู
ฟุตบอลโลกครั้งแรกบราซิลยิงไป 5 ประตู เสีย 1 ประตู
ฟุตบอลโลกครั้งที่ 2 บราซิลยิงไป 1 ประตู เสีย 3 ประตู
ฟุตบอลโลกครั้งที่ 3 บราซิลยิงไป 14 ประตู เสีย 11 ประตู
ฟุตบอลโลกครั้งที่ 4 บราซิลยิงไป 22 ประตู เสีย 6 ประตู
ฟุตบอลโลกครั้งที่ 5 บราซิลยิงไป 8 ประตู เสีย 5 ประตู

รวมฟุตบอลโลก 5 ครั้ง บราซิลยิงไป 50 ประตู เสีย 26 ประตู



Pinheiro ผู้รักษาประตูบราซิลป้องกันการยิงของอุรุกวัย



จำนวนนัด
ฟุตบอลโลกครั้งแรก บราซิลแข่ง 2 นัด ชนะ1 แพ้ 1 เสมอ -
ฟุตบอลโลกครั้งที่ 2 บราซิลแข่ง 1 นัด ชนะ - แพ้ 1 เสมอ -
ฟุตบอลโลกครั้งที่ 3 บราซิลแข่ง 5 นัด ชนะ3 แพ้ 1 เสมอ 1
ฟุตบอลโลกครั้งที่ 4 บราซิลแข่ง 6 นัด ชนะ 4 แพ้ 1 เสมอ 1
ฟุตบอลโลกครั้งที่ 5 บราซิลแข่ง 3 นัด ชนะ 1 แพ้ 1 เสมอ 1

รวมฟุตบอลโลก 5 ครั้ง บราซิลแข่ง 17 นัด ชนะ 9 แพ้ 5 เสมอ 3



นักเตะเยอรมันดีใจหลังชนะฮังการี 3-2


TOPSCORERS
Sandor Kocsis (HUN) 11 goals
Max Morlock (GER) 6 goals
Josef Hügi (SWI) 6 goals
Erich Probst (AUT) 6 goals



กองหน้า Swiss Josef Hugi ยิงประตูทีม Austrians


OTHER STATISTICS
Number of games 26
Total Goals scored 140
Average per game 5,38
Expulsions 3
Own goals 4
Total attendance 943,000
Average attendance 36,269







 

Create Date : 30 กันยายน 2549
0 comments
Last Update : 23 ตุลาคม 2550 17:29:12 น.
Counter : 2170 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ล่องแม่ปิง
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




อังกฤษเป็นชาติที่เริ่มเล่นฟุตบอล แต่บราซิลเป็นชาติที่สอนการเล่นฟุตบอล

มีคำพูดธรรมดาๆประจำฟุตบอลโลกอยู่ประโยดหนึ่งว่า"ฟุตบอลโลกที่ไม่มีบราซิล ก็ไม่ใช่ฟุตบอลโลก"


จะจริงเท็จประการใด แฟนบอลทั่วโลกยังไม่เคยทราบ เพราะที่ผ่านมา 20 ครั้ง และครั้งที่ 21 ในปี 2018 บราซิลยังคงได้เข้ามาเล่นรอบสุดท้ายอิกครั้ง ในฐานะเจ้าภาพ


ผมยังนึกไม่ออกว่าหากบราซิลไม่สามารถผ่านเข้ามาเล่นในรอบสุดท้ายของฟุตบอลโลก ฟุตบอลโลกในปีนั้นจะขาดอะไรไปบ้าง....มนต์ขลังลีลาแซมบ้า. สีเขียว-เหลืองที่แต่งแต้มฟุตบอลโลกทุกครั้งเสมอมา หรือกองเชียร์ที่แต่งองค์ทรงเครื่องกันมา น้องๆขบวนพาเหรดงานคานิวัล ผมว่าคงไม่เกิดขึ้นในรุ่นของผมนะครับ
Friends' blogs
[Add ล่องแม่ปิง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.