Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2549
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
17 ตุลาคม 2549
 
All Blogs
 
บอลโลกครั้งที่ 8 ที่ อังกฤษ 1966



Logo ฟุตบอลโลก ปี 1966




Mascot


ปีทองของอังกฤษ

ศึกฟุตบอลโลก รอบสุดท้ายที่ประเทศอังกฤษในปี 1966 หรือถ้าจะนับก็ถือว่าเป็นสมัยที่ 8 ในประวัติศาสตร์ลูกหนังโลกนั้น มีเรื่องราวและเหตุการณ์อุบัติขึ้นมากมาย เรียกได้ว่า ถ้าเป็นอาหาร ก็ครบเครื่องเรื่องต้มยำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แมตช์ชิงชนะเลิศระหว่างทีม "สิงโตคำราม" และทีม "อินทรีเหล็ก" นั้น ได้รับการยกย่องกันมากว่า ตื่นเต้นและเร้าใจมากที่สุดเกมหนึ่งเลยทีเดียว



Bobby Moore กัปตันทีมชาติอังกฤษชูถ้วย Jules Rimet



ขุนพล "ทรีไลอ้อนส์" ยุคนั้น อยู่ภายใต้การนำของ เซอร์ อัลฟ์ แรมเซย์ ซึ่งเกือบจะไม่ได้มาเป็นผู้จัดการทีมแล้ว หลังจากในทีแรกสมาคมลูกหนังเมืองผู้ดีตั้งใจจะมอบตำแหน่งให้ จิมมี่ อดัมสัน คุมทีม และสำหรับนักเตะที่ แรมเซย์ เลือกมานั้น ล้วนแล้วแต่เป็นผู้เล่นหนุ่มไฟแรงด้วยกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น บ๊อบบี้ มัวร์, เจฟฟ์ เฮิร์สท์ และมาร์ติน ปีเตอร์ส สามทหารเสือจาก เวสต์แฮม กอร์ดอน แบ๊งค์ส นายทวารมาดนิ่ง จิมมี่ กรีฟส์ ดาวซัลโวแห่งยุค รวมถึงสองพี่น้องตระกูล ชาร์ลตัน อย่าง แจ๊คกี้ และ บ๊อบบี้




Queen Elizabeth มอบถ้วย Jules Rimet ให้ Bobby Moore


ทางด้าน "แชมป์เก่า" บราซิล ค่อนข้างมีปัญหาในการเตรียมทีมพอสมควร เนื่องจากเวลาสำคัญใกล้เข้ามาแล้วยังหาคนมาเป็นกุนซือไม่ได้ จนต้องไปดึงเอา บิเซนเต้ ฟีโอล่า โค้ชที่พาทีมคว้าแชมป์โลกในปี 1958 มากุมบังเหียน ส่วนสภาพทีมโดยรวมก็ไม่สู้ดีนัก แม้ว่าจะมี "ไข่มุกดำ" เปเล่ เป็นดาราชูโรง แต่แกนนำคนอื่นๆ ต่างโรยราลงไปทุกที ทั้ง การ์รินช่า, เบลลินี่ และ ออร์ลันโด้ ทำให้ทีม "แซมบ้า" ต้องเหนื่อยไม่ใช่น้อยในการยกพลบุกเกาะอังกฤษเพื่อไปป้องกันแชมป์คราวนี้



George Cohen, Gordon Banks ของอังกฤษ


ส่วนทีมอื่นที่น่าจับตามองก็คือ เยอรมันตะวันตก และโปรตุเกส โดย "อินทรีเหล็ก" มาในมาดคล้ายคลึงกับอังกฤษ จากการที่นักเตะสายเลือดใหม่ต่างพาเหรดมีชื่ออยู่ในทีมของ เฮลมุท เชิน กุนซือที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงทีมขนานใหญ่ อาทิเช่น เฮลมุท ฮัลเลอร์, โวล์ฟกัง โอเวอร์รัธ และ "ไกเซอร์หนุ่ม" ฟร้านซ์ เบ๊คเค่นเบาเออร์ ขณะที่โปรตุเกสแม้จะไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางนัก แต่ผลงานที่สุดยอดในรอบคัดเลือกบวกกับสไตล์การเล่นอันสะเด่าเร้าใจของ "ไอ้เสือดำแห่งโมซัมบิค" หรือ ยูเซบิโอ แม่ทัพใหญ่ของทีมในขณะนั้น ก็ทำให้ไม่มีทีมใดกล้าประมาทโปรตุเกสเช่นกัน



Uwe Seeler (L) กัปตันทีมชาติเยอรมัน กับ Bobby Moore กัปตันทีมชาติอังกฤษ


ผลงานของทีม "เจ้าภาพ" ในการแข่งขันรอบแรกนั้น ไม่ค่อยสวยหรูนัก เมื่อประเดิมสนามทำได้แค่เสมอกับอุรุกวัยไปแบบไร้สกอร์ สร้างความหงุดหงิดให้กับแฟนบอลผู้ดีพอสมควร แต่สองแมตช์ต่อมา "สิงโตคำราม" ก็เริ่มสำแดงเดชด้วยการขยี้เม็กซิโกและฝรั่งเศสลงได้ด้วยสกอร์ 2-0 ทั้งสองนัด ส่วนสถานการณ์ในกลุ่ม 2 สองยักษ์จากต่างทวีปคือ เยอรมันตะวันตกกับอาร์เจนตินาต่างโชว์ลีลาอัดคู่แข่งราบเป็นหน้ากลองด้วยกันทั้งคู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทีม "อินทรีเหล็ก" นั้น ทำให้หนังสือพิมพ์ทั่วอังกฤษต่างพากันหวาดหวั่นกันว่า พวกเขาจะเข้าชิงชนะเลิศได้โดยไม่ยากเย็น



Lothar Emmerich ของเยอรมัน ทำประตูแรก โดยมี Jackie Charlton ของอังกฤษยืนดู


ในขณะที่บรรดาทีมเต็งทั้งหลายต่างสร้างผลงานได้ดี ยกเว้นเพียงบราซิล แชมป์โลก 2 สมัยซ้อน ที่พลิกกระเด็นตกรอบแรกไปอย่างไม่น่าเชื่อ ทั้งๆ ที่โชว์ฟอร์มหรูในแมตช์ถล่มบัลแกเรียอย่างสบายเท้า แต่สองนัดหลังกลับพลาดท่าให้กับฮังการีและโปรตุเกสไปอย่างน่าเสียดาย ขุนพล "แซมบ้า" จึงต้องกลับบ้านเร็วกว่าที่หลายๆ คนคิด เท่านั้นยังไม่พอ สิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดก็เกิดขึ้นซ้ำสอง เมื่ออิตาลีที่มีสภาพไม่ต่างจากบราซิลเท่าไหร่ ก็ต้องมาวัดดวงเข้ารอบในนัดสุดท้ายกับเกาหลีเหนือ ซึ่งเมื่อถึงตอนนี้ใครๆ ต่างก็เชื่อว่า อดีตแชมป์โลก 2 สมัยไม่มีทางพลาดอีกเป็นอันขาด แต่แล้ว "ยักษ์แคระ" จากเปียงยางก็ทำให้โลกต้องตกตะลึง เมื่อจัดการเชือดทีม "อัซซูรี่" ไปอย่างเจ็บแสบ 1-0 จากประตูชัยของ ปัค ดู อิ๊ค ในนาทีที่ 42 นักเตะของเกาหลีเหนือยังแผลงฤทธิ์ไม่เลิกในรอบ 8 ทีมสุดท้าย เมื่อพวกเขารวมพลังใจอัดโปรตุเกสไปถึง 3 ลูกรวดในช่วง 25 นาทีแรก แต่สุดท้ายก็โดนถลุงกลับไป 5 เม็ดรวด ตกรอบไปพร้อมกับฝากความประทับใจให้กับแฟนบอลทั่วโลก



Lev Yashin ผูรักษาประตูของรัสเชีย ป้องกันการยิงประตูของUwe Seeler กองหน้าเยอรมัน


ส่วนแมตช์ในรอบ 8 ทีมสุดท้ายที่ฉาวโฉ่ที่สุดคือเกมระหว่างอาร์เจนตินาและอังกฤษที่ เวมบลีย์ ซึ่งทีม "ฟ้าขาว" สวมวิญญาณโหด เตะติดดาบนักเตะผู้ดีเป็นว่าเล่น จนกรรมตามทัน แร็ตติน กัปตันทีมอาร์เจนฯโดนไล่ออก อังกฤษจึงกลับมาเป็นต่อ และเจฟฟ์ เฮิร์สท์ ก็ประเดิม ประตูแรกของเขา ซึ่งกลายเป็นประตูชัยพาทีมเข้ารอบรองชนะเลิศได้สำเร็จ



Ray Wilson (R)ของอังกฤษ กับ Philippe Gondet ของฝรั่งเศษ


การฟาดแข้งในนัดตัดเชือก นักเตะสิงโตเจอศึกหนักดวลกับโปรตุเกส ขณะที่อีกคู่หนึ่ง เยอรมันตะวันตกพบกับรัสเซีย ผลการแข่งขันเป็นไปตามคาด เยอรมันตะวันตกฝ่าด่านรัสเซียที่มียอดนายทวารอย่าง เลฟ ยาซิน มาอย่างสบาย 2-0 จากประตูทองของ เฮลมุท ฮัลเลอร์ และ ฟร้านซ์ เบ๊คเค่นเบาเออร์ ส่วนอังกฤษก็พิชิตดาวรุ่งพุ่งแรงอย่างโปรตุเกสไปได้อย่างสุดมันส์ 2-1 โดย 2 ประตูของอังกฤษมาจากฝีเกือกของ บ๊อบบี้ ชาร์ลตัน ขณะที่ ยูเซบิโอ ตีไข่แตกให้โปรตุเกต



ลีลาของ Eusebio โปรตุเกต


และแล้วศึกชิงถ้วย จูลส์ ริเม่ต์ สมัยที่ 8 ระหว่าง "เจ้าภาพ" อังกฤษกับเยอรมันตะวันตกก็มาถึง ช่วงต้นเกมขุนพล "อินทรีเหล็ก" คุมจังหวะได้ดีกว่า และได้ประตูนำเร็วในนาทีที่ 13 จาก เฮลมุท ฮัลเลอร์ แต่อังกฤษก็มาตีเสมอได้อย่างเหลือเชื่อ ทั้งที่เกมเป็นรองจากการโหม่งของ เจฟฟ์ เฮิร์สท์ ท่ามกลางความยินดีปรีดาของแฟนบอลเจ้าถิ่น พอกลับมาเล่นในครึ่งหลัง "สิงโตคำราม" เป็นฝ่ายรุกไล่บ้าง และก็ฉวยโอกาสขึ้นนำได้อย่างสะใจจากลูกยิงของ มาร์ติน ปีเตอร์ส ในนาทีที่ 77 เหลืออีก 13 นาที อังกฤษจะเป็นแชมป์โลกอยู่แล้ว แต่เยอรมันก็คืนชีพขึ้นมาอีกจนได้ เมื่อ โวล์ฟกัง เวเบอร์ วิ่งสอดขึ้นมายิงจากจังหวะฟรีคิกผ่านมือ กอร์ดอน แบ๊งค์ส เข้าไปตุงตาข่ายในช่วงท้ายเกม ทำให้จบเกมในเวลาปกติด้วยการเสมอกันอยู่ 2-2



Bobby Charlton แลกเสื้อกับผู้เล่นอาร์เจนติน่า


30 นาทีในช่วงต่อเวลา ทั้งสองทีมต่างโรมรันพันตูกันอย่างหนัก จนกระทั่งนาทีที่ 100 เทพีแห่งโชคก็หันหน้ามาทางอังกฤษ เมื่อ เจฟฟ์ เฮิร์สท์ จับลูกได้ทางขวาของกรอบโทษแล้วกระหน่ำสุดแรงเกิด บอลพุ่งกระทบคานก่อนกระดอนลงพื้นอย่างรวดเร็ว ดูแทบไม่ทันว่าเข้าหรือไม่ แต่ ก็อทท์ฟรีด ดีนส์ท ผู้ตัดสิน ตัดสินใจเป่านกหวีดแล้วชี้ไปที่กลางสนาม ท่ามกลางการประท้วงของฝั่งเยอรมัน แต่ก็ไม่เป็นผล อังกฤษขึ้นนำ 3-2 และมาได้ประตูตอกย้ำชัยชนะจาก เจฟฟ์ เฮิร์สท์ คนเดิม หมดเวลา อังกฤษชนะ 4-2 ผงาดคว้าแชมป์โลกเป็นสมัยแรก ท่ามกลางความคลางแคลงใจของผู้คนทั่วโลก ซึ่งต่อมาได้มีการนำเทปวิดีโอมาฉายลูกยิงปัญหาให้เห็นกันชัดๆ ในภายหลัง ผลปรากฏว่า ลูกนั้น....ไม่เข้า



ผูเล่นเกาหลีเหนือดีใจหลังพลิกเอาชนะอิตาลี 1-0


ผลงานของบราซิลในฟุตบอลโลก ครั้งที่ 8 ที่ อังกฤษ ในปี 1966
แข่ง 3 นัด ชนะ 1 แพ้ 2 เสมอ -




11 July to 30 July. (From L : Fidelis, Zito, Gilmar, Brito, Altair, Paulo Henrique; front row, from 2nd left : Jairzinho, Gerson, Servilio II, Pele, Amarildo)


นัดแรก
Brazil 2 Bulgaria 0
July 12, 1966
สนาม : Goodison Park, Liverpool
คนดู : 48000 คน
กรรมการ : Tschenscher (West Germany)
ผุ้ทำประตูให้บราซิล : Pelé 15', Garrincha 63'




นักเตะบราซิลดีใจหลังชนะบังกาเลีย 2-0



นัดที่ 2
Brazil 1 Hungary 3
July 15, 1966
สนาม : Goodison Park, Liverpool
คนดู : 52000 คน
กรรมการ : Dagnall (England)
ผุ้ทำประตูให้บราซิล : Tostão 14' ฮังกาลี : Bene 2',Farkas 64', Mészöly 73'




Janos Farkas ยิงประตูที่ 2 ให้ ฮังกาลีชนะบราซิล 3-1


นัดที่ 3
Brazil 1 Portugal 3
July 19, 1966
สนาม : Goodison Park, Liverpool
คนดู : 62000 คน
กรรมการ : McCabe (England)
ผุ้ทำประตูให้บราซิล : Rildo 70' โปตุเกส : Simöes 15'
Eusébio 27', 85'




Eusebio ยิง2ลูกให้ชนะบราซิล 3-1 และบราซิลต้องกลับบ้านก่อนเวลาอันควร



จำนวนประตู
ฟุตบอลโลกครั้งแรกบราซิลยิงไป 5 ประตู เสีย 1 ประตู
ฟุตบอลโลกครั้งที่ 2 บราซิลยิงไป 1 ประตู เสีย 3 ประตู
ฟุตบอลโลกครั้งที่ 3 บราซิลยิงไป 14 ประตู เสีย 11 ประตู
ฟุตบอลโลกครั้งที่ 4 บราซิลยิงไป 22 ประตู เสีย 6 ประตู
ฟุตบอลโลกครั้งที่ 5 บราซิลยิงไป 8 ประตู เสีย 5 ประตู
ฟุตบอลโลกครั้งที่ 6 บราซิลยิงไป 16 ประตู เสีย 4 ประตู
ฟุตบอลโลกครั้งที่ 7 บราซิลยิงไป 14 ประตู เสีย 5 ประตู
ฟุตบอลโลกครั้งที่ 8 บราซิลยิงไป 4 ประตู เสีย 6 ประตู

รวมฟุตบอลโลก 8 ครั้ง บราซิลยิงไป 84 ประตู เสีย 41 ประตู






Bellini, Gilmar, Altair, Djalma Santos, Lima,Garrincha, Jairzinho, Tostão, Paulo Henrique, Alcindo and Gérson


จำนวนนัด
ฟุตบอลโลกครั้งแรก บราซิลแข่ง 2 นัด ชนะ1 แพ้ 1 เสมอ -
ฟุตบอลโลกครั้งที่ 2 บราซิลแข่ง 1 นัด ชนะ - แพ้ 1 เสมอ -
ฟุตบอลโลกครั้งที่ 3 บราซิลแข่ง 5 นัด ชนะ3 แพ้ 1 เสมอ 1
ฟุตบอลโลกครั้งที่ 4 บราซิลแข่ง 6 นัด ชนะ 4 แพ้ 1 เสมอ 1
ฟุตบอลโลกครั้งที่ 5 บราซิลแข่ง 3 นัด ชนะ 1 แพ้ 1 เสมอ 1
ฟุตบอลโลกครั้งที่ 6 บราซิลแข่ง 6 นัด ชนะ 5 แพ้ - เสมอ 1
ฟุตบอลโลกครั้งที่ 7 บราซิลแข่ง 6 นัด ชนะ 5 แพ้ - เสมอ 1
ฟุตบอลโลกครั้งที่ 8 บราซิลแข่ง 3 นัด ชนะ 1 แพ้ 2 เสมอ -

รวมฟุตบอลโลก 8 ครั้ง บราซิลแข่ง 32 นัด ชนะ 20 แพ้ 7 เสมอ 5




เปเล่



TOPSCORERS
Eusebio (POR) 9 goals
Helmut Haller (GER) 5 goals
Geoff Hurst (ENG) 4 goals
Franz Beckenbauer (GER) 4 goals
Valeri Porkujan (SOV) 4 goals
Ferenc Bené (HUN) 4 goals



OTHER STATISTICS
Number of games 32
Total Goals scored 89
Average per game 2,78
Expulsions 5
Own goals 2
Total attendance 1,614,677
Average attendance 50,459







Create Date : 17 ตุลาคม 2549
Last Update : 25 มิถุนายน 2551 15:25:29 น. 2 comments
Counter : 2130 Pageviews.

 
ขอบคุณกับข้อมูล คับ


โดย: เเมนเอล IP: 58.136.194.91 วันที่: 17 ตุลาคม 2549 เวลา:11:40:22 น.  

 
ภาพประกอบสวยมากครับ..



โดย: บราซิล จงเจริญ IP: 203.156.38.1 วันที่: 18 ตุลาคม 2549 เวลา:10:39:29 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ล่องแม่ปิง
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




อังกฤษเป็นชาติที่เริ่มเล่นฟุตบอล แต่บราซิลเป็นชาติที่สอนการเล่นฟุตบอล

มีคำพูดธรรมดาๆประจำฟุตบอลโลกอยู่ประโยดหนึ่งว่า"ฟุตบอลโลกที่ไม่มีบราซิล ก็ไม่ใช่ฟุตบอลโลก"


จะจริงเท็จประการใด แฟนบอลทั่วโลกยังไม่เคยทราบ เพราะที่ผ่านมา 20 ครั้ง และครั้งที่ 21 ในปี 2018 บราซิลยังคงได้เข้ามาเล่นรอบสุดท้ายอิกครั้ง ในฐานะเจ้าภาพ


ผมยังนึกไม่ออกว่าหากบราซิลไม่สามารถผ่านเข้ามาเล่นในรอบสุดท้ายของฟุตบอลโลก ฟุตบอลโลกในปีนั้นจะขาดอะไรไปบ้าง....มนต์ขลังลีลาแซมบ้า. สีเขียว-เหลืองที่แต่งแต้มฟุตบอลโลกทุกครั้งเสมอมา หรือกองเชียร์ที่แต่งองค์ทรงเครื่องกันมา น้องๆขบวนพาเหรดงานคานิวัล ผมว่าคงไม่เกิดขึ้นในรุ่นของผมนะครับ
Friends' blogs
[Add ล่องแม่ปิง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.