Group Blog
 
 
กันยายน 2549
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
26 กันยายน 2549
 
All Blogs
 
บอลโลกครั้งที่ 4 ที่บราซิล 1950




Logo ฟุตบอลโลก ปี 1950


ฟุตบอลโลกยุดใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และหยาดน้ำตาของชาวบราซิล

ศึกฟุตบอลโลก กลับมาจัดขึ้นอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ต้องหยุดพักยาวถึง 12 ปี เพราะภัยพิบัติจากมหาสงครามโลก ครั้งที่ 2 และก็เป็นบราซิล ที่เสนอตัวมารับหน้าเสื่อเป็นเจ้าภาพได้อย่างเหมาะเจาะที่สุด เนื่องจาก บรรดาชาติต่างๆ ในยุโรป ซึ่งพอจะมีความสามารถจัดงานระดับนี้ได้ ต่างก็บอบช้ำจากพิษภัยของสงครามแทบทั้งสิ้น



สร้างสนามมาราคาน่าที่จุคนดูได้ถึง 200000 คน


ในที่สุด บราซิล ก็ได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพไปตามความคาดหมาย แต่กลับมีปัญหาเกี่ยวกับระบบการแข่งขันจนได้ ต้องเดือดร้อนถึง จูลส์ ริเม่ต์ ผู้ให้กำเนิดมหกรรมกีฬาที่ยิ่งใหญ่ชนิดนี้ ต้องยื่นมือเข้ามาไกล่เกลี่ยเอง ก่อนที่ในที่สุดจะตกลงกันได้ว่า 16 ทีมสุดท้าย จะแบ่งเป็น 4 กลุ่ม โดยมีตัวยืนเอาไว้ 1 ทีมในแต่ละกลุ่ม ส่วน อีกสามทีมที่เหลือ ใช้วิธีจับสลาก จากการแบ่งกลุ่มในรอบแรก อุรุกวัย อดีตแชมป์ฟุตบอลโลก หนแรก นับว่าโชคดีที่สุด มีเพียงโบลิเวีย ซึ่งถูกจัดเป็นทีมตัวประกอบเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้นที่เป็นคู่ต่อสู้ เพียงทีมเดียวเท่านั้น ดังนั้นทีมจอมโหดจึงโชว์ฟอร์มไล่ถลุงสมันน้อยเพื่อนร่วมทวีปทีมนี้ไปไม่เลี้ยงถึง 8-0 ลอยลำเข้ารอบต่อ ไปอย่างสบายเฉิบ



The Brazilian national soccer team poses before its World Cup first round match against Mexico 24 June 1950 in Rio de Janeiro. (Standing, from L : Ely, Juvenal, Augusto, Danilo, Barbosa, Bigode; front row, from 2nd L : Maneca, Ademir, Baltazar, Jair, Friaca) AFP PHOTO (Photo credit should read STAFF/AFP/Getty Images)


ขณะที่ "สิงโตคำราม" อังกฤษ จัดเป็นทีมที่น่าจับตาไม่น้อยไปกว่าบราซิลชาติเจ้าภาพเลย เพราะลูกทีมของ วอลเตอร์ วินเตอร์บ็อทท่อม กุนซือทีมชาติในเวลานั้น อัดแน่นไปด้วยดาวเตะชื่อก้องอย่าง สแตนลี่ย์ แม็ทธิวส์, อัลฟ์ แรมเซ่ย์, ทอม ฟินนี่ย์, บิลลี่ ไรท์ แต่เอาเข้าจริงแข้งจากเมือง ผู้ดีกลับแผลงฤิทธิ์ไม่ออก ชนะชิลีได้แค่ทีมเดียว นัดที่เหลือแพ้รวด รวมถึงแพ้แม้กระทั่งทีมอ่อนหัดอย่างสหรัฐฯ 0-1 ซึ่งถือเป็นกความพ่ายแพ้ที่พลิกล็อกที่สุดในประวัติศาสตร์ฟุตบอลโลกเลยทีเดียว ก่อนที่ทีมสิงโตคำรามจะกระเด็นตกรอบแรกไปอย่างน่าอับอายยิ่ง



นักเตะอังกฤษThomas Finney (C) พยายามกระโดดโหม่งกับ นักเตะอเมริกา Charlie Colombo และ Walter Bahr


ด้าน ทีมแซมบ้า เจ้าภาพ ที่มีนักเตะระดับพระกาฬอัดแน่นจนล้นทีมเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ซิซินโญ่, ฟริอาซ่า , ชิโก้ และอเดเมียร์ ประกอบกับมี ฟลาวิโอ คอสต้า กุนซือหนวดดกนั่งกำกับเกมอยู่ที่ข้างสนามด้วยแล้ว จึงไม่น่าแปลกใจที่เจ้าภาพ จะเดินหน้าเต็มพิกัด อัดยูโกสลาเวีย พังพาบ 2-0 เสมอกับ สวิตเซอร์แลนด์ 2-2 และถลุง เม็กซิโกกระจาย 4-0 ฉลุยเข้ารอบต่อไปในฐานะเต็งจ๋าเลยทีเดียว



ถ้วยจูลส์เลเม่ย์เดินทางมาถึงบราซิล


ในรอบ 4 ทีมสุดท้าย นอกจาก บราซิล และ อุรุกวัย 2 มหาอำนาจลูกหนังโลกในเวลานั้นจากทวีปอเมริกาใต้ แล้ว ยังมี 2 ทีมชั้นดีจากยุโรป อย่าง สวีเดน และสเปน หลุดเข้ามาเล่นในรอบนี้ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะ นักเตะไวกิ้งนั้นในรอบแรก ระเบิดฟอร์ม พิชิต อิตาลี แชมป์เก่าเมื่อ 12 ปีที่แล้ว ไปอย่างสบายๆ 2-0 แต่ชัยชนะนัดนั้นกลับไม่ได้รับการยอมรับเท่าที่ควร เพราะอดีตแชมป์โลกสองสมัยเพิ่งเสียขุนพลตัวเก่งของทีมไปถึง 8 คน เนื่องจากอุบัติเหตุเครื่องบินตก ทำให้ฟอร์มการเล่นยวบยาบลงไปกว่าครึ่ง



ทีมชาติอุรุกวัย


บราซิล ประเดิมรอบรองชนะเลิศ ได้อย่างสมราคาเต็ง 1 ทุกประการ ด้วยการ ไล่ต้อน ทีมสวีเดน กระจุยกระจาย 7-1 ก่อนที่จะขยี้ทีมสเปนได้อีก 6-1 ขณะที่ทีมอุรุกวัย เริ่มต้นได้อย่างกระท่อนกระแท่นหวุดหวิดจะแพ้ สเปน ตั้งแต่แมตช์แรกด้วยซ้ำกว่าที่ วาเรล่า กัปตันทีมจะยิงประตูตามตีเสมอเป็น 2-2 ได้สำเร็จก็ปาเข้าไปนาทีที่ 73 แล้ว อย่างไรก็ตามในการเล่นนัดถัดมากับสวีเดน ทีมจอมโหดยังอาศัยความสามารถเฉพาะตัวอันยอดเยี่ยมและความเก๋าเกมเฉือนเอาชนะสวีเดนหวุดหวิด 3-2 โคจรไปพบกับบราซิล ในแมตช์ชี้ชะตาตัดสินแชมป์โลกได้อย่างทุลักทุเล



คนดูเต็มความจุเกือบ2แสนคนของสนามมาราคาน่า นัดชิง บราซิล อุรุกวัย


แฟนบอลชาวเมืองกาแฟอัดแน่นเข้าสนามมาราคาน่า สังเวียนในนัดชิงชนะเลิศเกือบ 2 แสนคน ทุกคนหวังจะมาฉลองตำแหน่งแชมป์โลกครั้งแรกของประเทศกันอย่างเต็มที่ เช่นเดียวกับรัฐบาลบราซิลในยุคนั้น เตรียมที่จะประกาศหยุดงานในวันรุ่งขึ้น เพื่อฉลองแชมป์กันให้เต็มคราบเลยทีเดียว เพราะในเวลานั้นไม่มีใครเชื่อว่า ทีมอุรุกวัย จะมีปัญญาต้านทีมเต็งจ๋าอย่างบราซิลได้หรอก แต่พอเอาเข้าจริงๆ อุรุกวัยกลับทำได้ดีเกินคาดเมื่อเป็นฝ่ายต้านทานเกมรุกของทีมเจ้าภาพเอาไว้ได้อย่างน่าทึ่ง ทำเอาทีมแซมบ้าแทบไม่มีโอกาสที่จะได้ง้างเกือกยิงหรือโหม่งลุ้นทำประตูเลยในครึ่งแรก แต่พอถึงนาทีที่ 47 สนามมาราคาน่า ก็แทบจะถล่ม เมื่อ พริอาซ่า สบโอกาสซัด บอลเลียดจังหวะเดียว บอลพุ่งเข้าไปเสียบตาข่ายอย่างรวดเร็วและรุนแรงเกินกว่า มาสโปลี่ นายทวารทีมจอมโหดจะป้องกันไว้ได้ โอกาสที่ทีมแซมบ้าจะคว้าถ้วยจูลส์ ริเม่ต์ อยู่แค่เอื้อมแล้ว เพราะแค่เสมอพวกเขาก็จะเป็นแชมป์โลกแล้ว แต่นี่ยังส่องประตูขึ้นนำไปก่อนอีก แล้วจะมีอะไรเหลือ



ทีมชาติอเมริกา


หลังจากนั้น บราซิลก็เริ่มวาดลวดลาย เรียกเสียงฮือฮาจากแฟนบอลมากกว่าที่จะคำนึงถึงเกมในสนาม นั่นเท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้ทีมนักสู้อย่างอุรุกวัยทุ่มเทพลังทั้งหมดบุกทะลวงกลับ และสามารถทำประตูตีเสมอได้สำเร็จจาก ฮวน เคียฟฟิโน่ ไม่เกินเลยไปนักหากจะพูดว่า ทีมแซมบ้าตกอยู่ในสภาพเสียขวัญ หลังจากที่โดนลูกยิงนี้เข้าไป ทำให้เพลงแข้งแซมบ้าอันน่าเกรงขามเริ่มอ่อนล้าลงน้อยๆ และในที่สุดสนามมาราคาน่า ก็เงียบสนิทราวกับป่าช้าร้อยปี เพราะเมื่อเหลือเวลาอีก 11 นาทีจะหมดเวลาการแข่งขัน อุรุกวัยกำลังบุกหนัก ฮูลิโอ เปเรซ จับบอลได้แล้วปาดไปให้ อัลซิเดส จิ๊กเจีย กองหน้าตัวกลั่นตะบันสุดชีวิตส่งลูกหนังเข้าไปตุงตาข่าย



Gaetjens ผู้ยิงประตูชัยให้อเมริกา ชนะ อังกฤษ 1-0


เหตุการณ์ในวินาทีนั้น คือความมหัศจรรย์อันเหลือเชื่อที่แม้แต่นักเตะอุรุกวัยเองยังไม่นึกฝันว่า จะสามารถบุกมาโค่นทีมบราซิลได้ถึงถิ่น พร้อมกับคว้าแชมป์โลกสมัยที่ 2 ไปครองได้อย่างยิ่งใหญ่สมศักดิ์ศรี ท่ามกลางความตกตะลึงและหยาดน้ำตาของชาวบราซิลทั้งประเทศ



ผลงานของบราซิลในฟุตบอลโลก ครั้งที่ 4 ที่บ้านเกิด ในปี 1950
แข่ง 6 นัด ชนะ 4 แพ้ 1 เสมอ 1



Ademir ยิง 7 ประตูให้บราซิล


นัดแรก
บราซิล 4 เม็กซิโก 0
June 24, 1950b>
สนาม : Rio de Janeiro, Estádio do Maracanã
คนดู : 81000 คน
กรรมการ : Reader (England)
ผุ้ทำประตูให้บราซิล : Ademir 31', 79', Jair 65', Baltazar 71'



ผู้รักษาประตูของบราซิลป้องกันการยิงของกองหน้าอุรุกวัย


นัดที่ 2
บราซิล 2 สวิตเซอร์แลนด์ 2
June 28, 1950
สนาม : São Paulo, Estádio do Pacaembu
คนดู : 42000 คน
กรรมการ : Azon (Spain)
ผุ้ทำประตูให้บราซิล : Alfredo 3',Baltazar 43' สวิตเซอร์แลนด์ : Patton 17', 88'



Friaça ผู้เล่นบราซิลดีใจหลังทำประตูออกนำอุรุกวัย 1-0


นัดที่ 3
บราซิล 2 ยูโกสลาเวีย 0
July 1, 1950
สนาม : Rio de Janeiro, Estádio do Maracanã
คนดู : 142000 คน
กรรมการ : Griffiths (Wales)
ผุ้ทำประตูให้บราซิล : Ademir 4', Zizinho 89'



Danilo และ Alvim ผู้เล่นบราซิลเดินเข้าสนาม



นัดที่ 4 รอบสุดท้าย (พบกันหมดทีมไหนคะแนนสูงสุดได้แชมป์)
บราซิล 7 สวีเดน 1
July 9, 1950
สนาม : Rio de Janeiro, Estádio do Maracanã
คนดู :
กรรมการ :
ผุ้ทำประตูให้บราซิล : Ademir 17', 36', 52', 58',
Chico 39', 88', Maneca 85' สวีเดน : Andersson 67'



zizinho ผู้เล่นบราซิล



นัดที่ 5 รอบสุดท้าย (พบกันหมดทีมไหนคะแนนสูงสุดได้แชมป์)
บราซิล 6 สเปน 1
July 13, 1950
สนาม : Rio de Janeiro, Estádio do Maracanã
คนดู :
กรรมการ :
ผุ้ทำประตูให้บราซิล : Ademir 15', 57', Jair 21',
Chico 31', 55', Zizinho 67' สเปน : Silvestre 71'



อุรุกวัย 2 บราซิล 1



นัดที่ 6 รอบสุดท้าย (พบกันหมดทีมไหนคะแนนสูงสุดได้แชมป์) เสมอจะได้แชมป์ทันที
บราซิล 1 อุรุกวัย 2
July 16, 1950
สนาม : Rio de Janeiro, Estádio do Maracanã
คนดู : 199,854 คน
กรรมการ : George Reader (England)
ผุ้ทำประตูให้บราซิล : Friaça 47' อุรุกวัย : Schiaffino 66', Ghiggia 79'



ทีมชาติอุรุกวัย



จำนวนประตู
ฟุตบอลโลกครั้งแรกบราซิลยิงไป 5 ประตู เสีย 1 ประตู
ฟุตบอลโลกครั้งที่ 2 บราซิลยิงไป 1 ประตู เสีย 3 ประตู
ฟุตบอลโลกครั้งที่ 3 บราซิลยิงไป 14 ประตู เสีย 11 ประตู
ฟุตบอลโลกครั้งที่ 4 บราซิลยิงไป 22 ประตู เสีย 6 ประตู

รวมฟุตบอลโลก 4 ครั้ง บราซิลยิงไป 42 ประตู เสีย 21 ประตู



Barbosa


จำนวนนัด
ฟุตบอลโลกครั้งแรก บราซิลแข่ง 2 นัด ชนะ1 แพ้ 1 เสมอ -
ฟุตบอลโลกครั้งที่ 2 บราซิลแข่ง 1 นัด ชนะ - แพ้ 1 เสมอ -
ฟุตบอลโลกครั้งที่ 3 บราซิลแข่ง 5 นัด ชนะ3 แพ้ 1 เสมอ 1
ฟุตบอลโลกครั้งที่ 4 บราซิลแข่ง 6 นัด ชนะ 4 แพ้ 1 เสมอ 1

รวมฟุตบอลโลก4ครั้ง บราซิลแข่ง 14 นัด ชนะ 8 แพ้ 4 เสมอ 2




บราซิล 1 อุรุกวัย 2


TOPSCORERS
Ademir (BRA) 9 goals
Juan Schiaffino (URU) 5 goals
Estanislao Basora (SPA) 5 goals
Chico (BRA) 4 goals
Telmo Zarra (SPA) 4 goals
Omar Miguez (URU) 4 goals
Alcides Ghiggia (URU) 4 goals



OTHER STATISTICS
Number of games 22
Total Goals scored 88
Average per game 4,00
Expulsions none
Own goals none
Total attendance 1,337,000
Average attendance 60,773









Create Date : 26 กันยายน 2549
Last Update : 23 ตุลาคม 2550 17:32:14 น. 3 comments
Counter : 1457 Pageviews.

 
เจิมให้ครับ

เยี่ยม...


โดย: แฟนบราซิล IP: 124.157.237.176 วันที่: 26 กันยายน 2549 เวลา:17:27:37 น.  

 
ขอบคุณครับคุณแฟนบราซิล แล้วผมจะหาข้อมูลของบราซิลมาลงให้อิก


โดย: ล่องแม่ปิง (ล่องแม่ปิง ) วันที่: 27 กันยายน 2549 เวลา:15:10:24 น.  

 
ยังขาดเพลงประจำทัวนาเมนต์ การแข่งขันอีกทุกรายการ


โดย: purin s> IP: 124.157.177.237 วันที่: 28 มกราคม 2551 เวลา:2:49:18 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ล่องแม่ปิง
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




อังกฤษเป็นชาติที่เริ่มเล่นฟุตบอล แต่บราซิลเป็นชาติที่สอนการเล่นฟุตบอล

มีคำพูดธรรมดาๆประจำฟุตบอลโลกอยู่ประโยดหนึ่งว่า"ฟุตบอลโลกที่ไม่มีบราซิล ก็ไม่ใช่ฟุตบอลโลก"


จะจริงเท็จประการใด แฟนบอลทั่วโลกยังไม่เคยทราบ เพราะที่ผ่านมา 20 ครั้ง และครั้งที่ 21 ในปี 2018 บราซิลยังคงได้เข้ามาเล่นรอบสุดท้ายอิกครั้ง ในฐานะเจ้าภาพ


ผมยังนึกไม่ออกว่าหากบราซิลไม่สามารถผ่านเข้ามาเล่นในรอบสุดท้ายของฟุตบอลโลก ฟุตบอลโลกในปีนั้นจะขาดอะไรไปบ้าง....มนต์ขลังลีลาแซมบ้า. สีเขียว-เหลืองที่แต่งแต้มฟุตบอลโลกทุกครั้งเสมอมา หรือกองเชียร์ที่แต่งองค์ทรงเครื่องกันมา น้องๆขบวนพาเหรดงานคานิวัล ผมว่าคงไม่เกิดขึ้นในรุ่นของผมนะครับ
Friends' blogs
[Add ล่องแม่ปิง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.