คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ร่วมกับ เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ฯ จัดเสวนา “สตาร์ทอัพ 4.0 กับ อุตสาหกรรมแห่งอนาคต


              ท่ามกลางกระแสคลื่นแห่งการเปลี่ยนโฉมเทคโนโลยีใหม่ระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และคลาวด์ IoT เข้ามามีบทบาทในการสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว Startup ในยุค 4.0 จะเป็นอย่างไร? จึงจะประสบความสำเร็จในอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เช่น อุตสาหกรรมเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์อุตสาหกรรมการบินและขนส่งโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมดิจิตอลอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร คณะวิศวกรรมศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกะบัง (สจล.) ร่วมกับ บมจ. เดลต้า อีเลคโทรนิคส์(ประเทศไทย) หนึ่งในผู้นำอิเล็กทรอนิกส์และนวัตกรรมไอซีทีของโลกจัดงานแถลงเสวนา “สตาร์ทอัพ 4.0 กับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต” พร้อมเปิดห้องสมาร์ทแล็บอัจฉริยะ (DeltaIndustrial Automation Lab) ที่ก้าวล้ำด้วยนวัตกรรมอินดัสเทรียล ออโตเมชั่น (Industrial Automation) เพื่อเป็นอีกแรงผลักดันการปฏิรูปการศึกษาและเสริมสร้างการเรียนรู้ทักษะให้ต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นการสร้างสรรค์นวัตกรรมต่อยอดสตาร์ทอัพ

รศ.ดร.คมสัน มาลีสี (Assoc.Prof.Dr.KomsanMaleesee) คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. กล่าวว่า นโยบายและความร่วมมือประชารัฐในการพัฒนาไปสู่ยุค Industry 4.0 ต้องมีการส่งเสริมการศึกษาเพื่อการนำองค์ความรู้ไปต่อยอด 5 อุตสาหกรรมเดิม (First S-Curve) และเติมต่อ 5อุตสาหกรรมแห่งอนาคต (New S-Curve) สู่เป้าหมายไทยแลนด์4.0  จากสถิติของซิลิคอนแวลลีย์ (SiliconValley) ในซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกาจะมีสตาร์ทอัพเกิดขึ้นปีละ 8,000 -10,000 รายสตาร์ทอัพเกิดจากการพบเจอปัญหาในชีวิตประจำวัน หรือในธุรกิจอุตสาหกรรมมุ่งจะแก้ไขปัญหานั้นให้กับคนหมู่มาก หลายสตาร์ทอัพอาจเติบโตก้าวไปได้ไกลถึงในระดับโลกโดยสตาร์ทอัพต้องกล้าคิดกล้าลงทุนและลงมือทำ จากสถิติ 95 เปอร์เซ็นต์ของสตาร์ทอัพทั่วโลกล้มเหลว และมีสตาร์ทอัพ 5% เท่านั้นที่ประสบความสำเร็จ ดังนั้น  การเปิดห้องสมาร์ทแล็บอัจฉริยะ (DeltaIndustrial Automation Lab) ณ คณะวิศวลาดกระบังได้รับความร่วมมือสนับสนุนจาก บมจ.เดลต้าอีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำอิเล็กทรอนิกส์และนวัตกรรมไอซีทีของโลกจะเป็นแหล่งบ่มเพาะ สตาร์ทอัพไทย ในอนาคตในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆที่แก้ปัญหาให้โลกดีขึ้นร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้แข่งขันบนเวทีอาเซียนและโลกได้ สู่เป้าหมายไทยแลนด์ 4.0

มร.เซียเชนเยน (Mr.Hsieh Shen-yen) ประธานบริหารบมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่าเรากำลังก้าวไปสู่ภูมิทัศน์ทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปในการพัฒนาบุคลากรเพื่อความพร้อมเตรียมพร้อมของกำลังคนให้มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอในยุค Industry  4.0 นั้นจำเป็นที่จะต้องมีการเรียนรู้เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ (IndustrialAutomation) อย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง การเปิดห้องสมาร์ทแล็บอัจฉริยะ (DeltaIndustrial Automation Lab) เพื่อเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีและทักษะต่างๆ จากรุ่นสู่รุ่น ช่วยกระตุ้นให้การเรียนการสอนแข็งแกร่งทั้งวิชาการและการลงมือปฏิบัติจริงสร้างแรงบันดาลใจให้วิเคราะห์ คิดค้น สร้างสรรค์ความคิดในการแก้ปัญหาและก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะเปลี่ยนแปลง และก่อให้เกิดประโยชน์แก่คนหมู่มากรวมทั้งสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเป็นสตาร์ทอัพหรือผู้ประกอบการใหม่ได้ต่อไปบมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) ขอส่งมอบห้องสมาร์ทแล็บอัจฉริยะ (DeltaIndustrial Automation Lab)  

ปัจจัยที่จะทำให้สตาร์ทอัพประสบผลสำเร็จในยุค4.0 ได้แก่ 1.Disrupt สร้างความเปลี่ยนแปลงให้โลก 2.Scalable ขยายตัวได้รวดเร็วเพราะเทคโนโลยีสามารถเข้าถึงผู้ใช้งานได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว  3.ใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหา 4.ประสบการณ์และไอเดียที่แปลกใหม่5.มีแผนธุรกิจอย่างชัดเจน มีจุดขาย 6.มีทีมงานและเครือข่ายที่แข็งแกร่ง7.แหล่งเงินทุน ปัจจุบันแหล่งเงินทุนสำหรับธุรกิจ StartUp ในเมืองไทยมีให้เลือกหลากหลาย กองทุนต่าง ๆ 8.จังหวะเวลาเหมาะเจาะ ตัวอย่างเช่น Uber ธุรกิจให้บริการรับส่งคนก็ได้ประโยชน์จากการเปิดตัวในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำเช่นกันคนกำลังต้องการรายได้พิเศษ และตอบสนองการใช้ชีวิตที่เร่งรีบของคนเมือง

คุณเกษมสันต์เครือธร (Mr.Kasemson Kreuatorn) ผู้จัดการภาคพื้นอาวุโสฝ่ายอินดรัสเทรียลออโตเมชั่น บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ หรือ IndustrialAutomation นับเป็นเทรนด์ของการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมสู่ความทันสมัยคุณภาพ ประสิทธิภาพและประหยัดพลังงาน ซึ่งระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และดิจิตอล IoT สามารถเข้ามาทำงานร่วมกับมนุษย์ และให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นซึ่งประกอบด้วย 1.เครื่องจักรอัตโนมัติ (AutomationMachine) 2.โรงงานอัตโนมัติ (Factory Automation) และ 3.กระบวนการผลิตอัตโนมัติ (ProcessAutomation) โดยทุกหน่วยของระบบการผลิตติดตั้งระบบเครือข่ายและฝังเซนเซอร์เพื่อให้สามารถสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันแบบ realtime เครื่องจักร หุ่นยนต์ ระบบ และโรงงาน เชื่อมต่อทางเครือข่ายในรูปแบบ Internetof Things (IoT) ช่วยให้สามารถแสดงผล ควบคุม บริหารจัดการกระบวนการผลิตทั้งหมดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อดีของเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ (IndustrialAutomationสามารถช่วยเพิ่มคุณภาพและผลผลิตช่วยลดต้นทุนรองรับงานหนัก งานทำซ้ำงานเสี่ยงอันตรายแทนมนุษย์ หรืองานที่ต้องการความแม่นยำสูง ลดข้อผิดพลาดช่วยประหยัดพลังงานเสริมศักยภาพและยกระดับอุตสาหกรรมของผู้ประกอบการให้ได้คุณภาพมาตรฐานตามที่ตลาดต้องการ,สามารถผลิตในจำนวนน้อยตามความแตกต่างของผู้บริโภคแต่ละได้แต่ยังรักษาประสิทธิภาพการผลิตที่สูงในระดับเดียวกับการผลิตแบบคราวละมากๆ

ในสมาร์ทแล็บอัจฉริยะของคณะวิศวลาดกระบังนี้มีชุดอุปกรณ์การเรียนการสอนระบบออโตเมชั่น 4 อย่าง คือ 1.ชุดจำลองชุดขับมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับผ่านอีเธอร์เน็ตจำนวน 3 ชุด (OperatorPanel หรือ HMI) 2.ชุดจำลองชุดขับมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับผ่านแคนบัสจำนวน 3 ชุด (PLC) 3.ชุดจำลองชุดขับมอเตอร์เซอร์โวผ่านแคนบัสจำนวน 3 ชุด (VFD/Servo) 4. ชุดจำลองชุดขับมอเตอร์เซอร์โวผ่านอีเธอร์เน็ตจำนวน 3 ชุด (Motor) สามารถนำอุปกรณ์ทั้งหมดมาเชื่อมโยงข้อมูลของภาพรวมระบบออโตเมชั่นที่สมบูรณ์

ผศ.ดร.ศรวัฒน์ ชิวปรีชา (Asst.Prof.Dr.SorawatChivapreecha) ประธานหลักสูตรวิศวกรรมโทรคมนาคมคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. กล่าวว่าประเทศไทยเป็นเมืองเกษตรมาก่อนแต่เราไม่ค่อยมีนวัตกรรมด้านนี้จึงเป็นที่มาของ ฟาร์มอัจฉริยะ หรือ SmartFarm โดยนำ Industrial Automation มาเพิ่มประสิทธิภาพ ช่วยให้การเกษตรซึ่งเป็นความมั่นคงของประเทศและภูมิภาคไม่สูญหายไปโดยลดการใช้แรงงานคน ลดงานหนักให้เป็นความสะดวกสบายยกระดับความสามารถของเกษตรกรรายย่อย ทำให้การทำงานในฟาร์มยุคใหม่ง่ายขึ้น SmartFarm เป็นโรงเรือนเพาะปลูกแบบปิดที่สามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นให้คงที่ตามที่ตั้งไว้ได้เหมาะสำหรับการปลูกพืชผักที่ต้องควบคุมสภาพอากาศอยู่ตลอดเวลา เช่นพืชผักไฮโดรโปนิกส์ แตงเมล่อน ทำให้พืชผลเจริญเติบโตและผลผลิตดีโครงสร้างประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ฮาร์ดแวร์ คือเครื่องตรวจรับค่าพารามิเตอร์ (Sensing Node) ติดตั้งในบริเวณโรงเรือนเพื่อวัดค่าต่างๆ เช่น อุณหภูมิในอากาศ, ความชื้นในดิน ส่วนที่ 2 โมบายล์แอพพลิเคชั่น ออกแบบให้มีความสะดวกต่อการใช้งานทุกวัยสามารถควบคุมการทำงานอุปกรณ์ต่างๆในโรงเรือนได้โดยจะมีการรายงานถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในโรงเรือน เพื่อการตัดสินใจ ส่วนที่ 3 คอนโทรลเลอร์ ควบคุมหรือปรับระบบต่างๆในโรงเรือนทั้งระบบการควบคุมอัตโนมัติ หรือแบบ manual ได้จากระยะไกลทุกที่ทุกเวลา และยังปรับใช้กับการปศุสัตว์ก็ได้เช่นกัน
----------------------



Create Date : 31 มกราคม 2560
Last Update : 31 มกราคม 2560 19:06:28 น.
Counter : 650 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Sky of Thailand
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



มกราคม 2560

1
2
3
4
5
7
8
9
10
11
12
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog