วสท.ถอดบทเรียน “กรณีแผ่นดินไหว ญี่ปุ่น เอกวาดอร์ ...ประเทศไทยบนความเสี่ยง?”


           เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ทั่วโลกให้ความสนใจมากที่สุดเหตุการณ์หนึ่งคือภัยพิบัติแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นไล่เลี่ยกัน ในตำแหน่ง “วงแหวนแห่งไฟ”ของสองฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก เมื่อวันที่ 14 เม.ย. 59 ในประเทศญี่ปุ่น และเอกวาดอร์ในวันที่ 17 เม.ย. 59 ทำให้เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมากประชาชนที่ได้รับข่าวสารเกิดความหวั่นวิตกว่าประเทศไทยจะมีเหตุการณ์แผ่นดินไหวเกิดขึ้นอีกหรือไม่และจะเตรียมตัวอย่างไรหากเกิดภัยพิบัตินี้ขึ้นวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ร่วมกับ สภาวิศวกร กรมโยธาธิการและผังเมือง และกรุงเทพมหานครได้เห็นความสำคัญของความมั่นคงปลอดภัยแก่ประชาชน สังคม เศรษฐกิจ เปิดเวทีเสวนาเรื่อง“กรณีแผ่นดินไหว ญี่ปุ่น เอกวาดอร์...ประเทศไทยบนความเสี่ยง

รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ อุปนายก วสท. และประธานคณะอนุกรรมการสาขาวิศวกรรมปฐพี วสท. กล่าวว่า จากกรณีแผ่นดินไหวจากประเทศญี่ปุ่นและเอกวาดอร์ถือว่าอยู่ในระดับที่รุนแรง สร้างความเสียหายมหาศาล พร้อมกับคำถามจากนานาประเทศที่ว่ากรณีการเกิดแผ่นดินไหวทั้ง2 ครั้ง มีความเชื่อมโยงกันหรือไม่ สำหรับญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวเกือบทุกปีมักเกิดจากรอยต่อเปลือกโลกเคลื่อนตัวในทะเลแต่การเกิดแผ่นดินไหวในญี่ปุ่นที่เมืองคุมาโมโตะครั้งนี้เกิดจากรอยเลื่อนที่อยู่บนแผ่นดินจากการลงพื้นที่สำรวจความเสียหายในประเทศญี่ปุ่นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาพบการวิบัติเสียหายของอาคารและบ้านแบบเก่าเป็นจำนวนมากที่เมืองคุมาโมโตะและมีดินถล่มลงมาหลายจุด แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ยังทำให้รถไฟชินคันเซนขบวนหนึ่งตกรางส่วนการเกิดแผ่นดินไหวที่เอกวาดอร์ถือว่ามีความรุนแรงเช่นกัน เนื่องจากทั้ง 2ประเทศ ตั้งอยู่บนแนวรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก หรือที่เรียกกันว่า"วงแหวนแห่งไฟ" ที่เคลื่อนไปมาอยู่ตลอดเวลาจึงมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวได้บ่อยและรุนแรง แต่ทั้ง 2 เหตุการณ์ไม่ได้เชื่อมโยงหรือส่งผลกระทบถึงกันแต่อย่างใดเป็นการเกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยเกิดขึ้นในตำแหน่งที่มีรอยเลื่อนซึ่งสามารถเกิดแผ่นดินไหวได้อยู่แล้วโดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่บนแผ่นเปลือกโลก 4 แผ่นต่อกันและมีรอยเลื่อนถึง 104 รอยเลื่อนจึงมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวสูงมาก

จากกรณีแผ่นดินไหวที่ประเทศญี่ปุ่นที่ประเทศไทยควรนำมาใช้เป็นบทเรียนในการรับมือกับแผ่นดินไหว ประกอบด้วย 2 เรื่องหลักคือ 1.) การให้ความสำคัญกับอาคารเก่า ส่วนใหญ่เป็นอาคารเก่าที่สร้างก่อนจะมีกฎหมายควบคุมอาคารปี2550 จึงไม่ได้ถูกควบคุมให้ต้องรองรับแรงจากแผ่นดินไหวจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในญี่ปุ่นครั้งนี้ส่วนใหญ่พบความเสียหายในอาคารเก่าซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากส่วนอาคารใหม่ที่ได้รับการออกแบบให้สามารถรับแรงจากแผ่นดินไหวแม้จะเป็นอาคารสูงก็ยังไม่พบปัญหาดังนั้นประเทศไทยควรให้ความสำคัญกับอาคารเก่าโดยส่งเสริมให้มีการตรวจประเมินความแข็งแรงของอาคารและการปรับปรุงเสริมความมั่นคงแข็งแรงและ 2.) การเข้าปฏิบัติการช่วยเหลือ ต้องเรียนรู้วิธีการเข้าช่วยเหลือที่ถูกต้องรู้จักการสังเกตความรุนแรงของแผ่นดินไหว ความรุนแรงและแนวเส้นทางของการเกิดอาฟเตอร์ช็อกที่ตามมาเพื่อวางแผนช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างปลอดภัย


ด้าน รศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัยประธานอนุกรรมการแผ่นดินไหวและแรงลม วสท. กล่าวว่าแหล่งการเกิดแผ่นดินไหวตามธรรมชาติสามารถเกิดขึ้นได้จาก 2 แหล่ง คือ 1.)ตามแนวรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก และ 2.)ตามแนวรอยเลื่อนหรือรอยร้าวในแผ่นเปลือกโลกที่สามารถเคลื่อนตัวและทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้ หรือที่เราเรียกกันว่า“รอยเลื่อนมีพลัง” มักจะอยู่ตื้นประมาณ 5-10 กิโลเมตรจากผิวดิน หากเกิดแผ่นดินไหวจะรุนแรงมาก สำหรับ 14 รอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทยเป็นรอยเลื่อนในแนวราบ (Strike Slip) และเป็นรอยเลื่อนที่อยู่ตื้นหากเกิดการปลดปล่อยพลังงานออกมาเชื่อว่าจะมีขนาดความรุนแรงไม่น้อยกว่าแผ่นดินไหวในเมืองคุมาโมโตะญี่ปุ่นเป็นไปได้ว่าจะมีขนาดความรุนแรงถึง 7 ริกเตอร์หากแต่โอกาสการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยมีน้อยกว่าประเทศญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามประชาชนไม่ควรตื่นตระหนกและไม่ควรนิ่งนอนใจแต่ควรจะต้องเรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติตามแบบที่เป็นให้มากขึ้นเนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีเทคโนโลยีที่จะพยากรณ์และแจ้งเตือนภัยก่อนเกิดแผ่นดินไหวได้แม่นยำทำให้ประชาชนไม่ทันตั้งตัวเมื่อเกิดแผ่นดินไหว

จากกรณีแผ่นดินไหวของญี่ปุ่น-เอกวาดอร์จะเห็นได้ว่าความเสียหายไม่มากเท่าในอดีตเพราะบทเรียนครั้งแล้วครั้งเล่าที่ทำให้มนุษย์ได้เรียนรู้และเตรียมรับมือกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นที่ต้องพบกับภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวอยู่บ่อยครั้งจึงมีข้อปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานให้ประชาชนได้ปฏิบัติเมื่อเกิดแผ่นดินไหวสำหรับประเทศไทยถึงแม้ว่าจะมีความเสี่ยงไม่มากเท่ากับญี่ปุ่นแต่ก็ไม่ใช่ว่าไม่มีความเสี่ยงเลยเพราะประเทศไทยมีรอยเลื่อนที่มีพลังอยู่ถึง14 แห่งที่รอวันปลดปล่อยพลังงาน และต้องจับตามองเป็นพิเศษคงจะถึงเวลาแล้วที่คนไทยต้องหันมาตื่นตัวกับเรื่องนี้ให้มากขึ้น

รศ.เอนก ศิริพานิชกร ประธานสาขาวิศวกรรมโยธา วสท. กล่าวว่า ผู้ออกแบบจะต้องมีความเข้าใจในหลักการออกแบบอาคารอย่างถูกต้องและเพียงพอรวมทั้งต้องศึกษากฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การออกแบบเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดโดยวสท. ได้จัดอบรมให้ความรู้ในเรื่องนี้ให้กับผู้ออกแบบและผู้ดูแลควบคุมการก่อสร้าง รวมถึงผู้สนใจ ได้รับความรู้เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบอาคารให้มั่นคงแข็งแรงตามหลักสากลสำหรับพื้นที่การก่อสร้างในประเทศไทยที่กฎกระทรวง พ.ศ. 2550 กำหนดให้ต้องออกแบบอาคารให้สามารถรองรับแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวได้แก่ 3 บริเวณ ได้แก่ 1.) บริเวณเฝ้าระวังที่อาจจะได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวและภัยพิบัติสึนามิ7 จังหวัดภาคใต้ คือ กระบี่, ชุมพร, พังงา, ภูเก็ต, ระนอง, สงขลา และสุราษฎร์ธานีที่ต้องให้รายละเอียดพิเศษในโครงสร้าง แต่ไม่ต้องคำนวณแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหว 2.)บริเวณที่ 1 ประกอบด้วย 5 จังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้แก่ กรุงเทพฯ, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการและสมุทรสาคร ซึ่งได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวระยะไกลผ่านชั้นดินอ่อนกรุงเทพฯ ที่สามารถขยายความรุนแรงและ 3.) บริเวณที่ 2 ในพื้นที่ รวม 10จังหวัดที่อยู่ใกล้รอยเลื่อนที่มีความเสี่ยงได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ได้แก่กาญจนบุรี, ตาก, เชียงราย, เชียงใหม่ น่าน, พะเยา, แพร่, ลำปาง, ลำพูนและแม่ฮ่องสอน สำหรับนวัตกรรมใหม่ที่นำมาใช้ในการออกแบบอาคารให้สามารถรองรับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้แก่ การออกแบบโครงสร้างตามสมรรถนะ (Performance-Based Design)ทีจะกำหนดให้อาคารมีความเสียหายในตำแหน่งที่กำหนดแต่โครงสร้างโดยรวมส่วนใหญ่ยังคงมีความมั่นคงแข็งแรง

ดร.ทยากรจันทรางศุ วิศวกรโยธาชำนาญการ กรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวว่าจากเหตุการณ์ที่ประเทศไทยได้เผชิญกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อปี พ.ศ. 2526 ถึง 2 ครั้งอาคารสูงในกรุงเทพสามารถรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนในครั้งนี้จากนั้นมีการศึกษาวิจัยถึงความเสี่ยงที่ประเทศไทยจะต้องเผชิญกับภัยพิบัติแผ่นดินไหวจึงเป็นที่มาของการออกกฎหมายควบคุมอาคารเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารในพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวกฎกระทรวง ฉบับที่ 49 พ.ศ. 2540 กำหนดให้การก่อสร้างอาคารในพื้นที่ควบคุม10 จังหวัดประกอบด้วย กาญจนบุรี, ตาก, เชียงราย, เชียงใหม่, น่าน, แพร่, พะเยา, แม่ฮ่องสอน,ลำปาง และลำพูนซึ่งเป็นเขตที่อาจได้รับแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว ต้องมีการคำนวณออกแบบโครงสร้างเพื่อให้ต้านทานแรงสั่นสะเทือนได้ หลังจากนั้นได้มีการปรับปรุงอีกครั้งเป็น กฎกระทรวงกำหนดการรับน้ำหนักความต้านทานควานคงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวพ.ศ. 2550 เพิ่มพื้นที่ที่ต้องมีการออกแบบโครงสร้างให้สามารถรองรับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวครอบคลุม 22 จังหวัด แบ่งเป็น 3 บริเวณ หลังจากพบว่ากรุงเทพฯและปริมณฑลเป็นพื้นที่ดินอ่อนสามารถขยายแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวจากระยะไกล ได้3-4 เท่า และพบว่าภาคใต้ก็มีความเสี่ยงเช่นกัน นอกจากนี้ สำหรับอาคารเก่าที่สร้างก่อนจะมีกฎหมายควบคุมอาคารแต่ควรจะมีการประเมินความมั่นคงแข็งแรงว่าสามารถรับแรงสั่นสะเทือนเมื่อเกิดแผ่นดินไหวได้มากน้อยเพียงใดหากประเมินแล้วพบว่าความแข็งแรงของอาคารมีไม่เพียงพอก็สามารถเสริมความแข็งแรงให้สามารถต้านทานแรงแผ่นดินไหวได้โดยมี กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตดัดแปลงอาคารเพื่อเสริมความมั่นคงแข็งแรงของอาคารให้สามารถต้านแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวพ.ศ. 2555 ที่ส่งเสริมให้เจ้าของอาคารสามารถดัดแปลงเพื่อเสริมความมั่นคงแข็งแรงของอาคารให้เกิดความเสียหายเมื่อเกิดแผ่นดินไหวน้อยที่สุด ซึ่งในขณะนี้จะมีการแก้ไขกฎกระทรวงอีกครั้ง โดยควบคุมอาคารให้ครอบคลุมในทุกพื้นที่เสี่ยงและอาจจะปรับลดขนาดความสูงของอาคารจากเดิมที่กำหนดไว้ว่าต้องมีความสูงเกิน 15 เมตรถึงจะเข้าข่ายเป็นอาคารควบคุม ให้ลดลงเนื่องจากบ้านเรือนประชาชนที่มีความสูงไม่ถึง15 เมตร ก็ควรจะได้รับการออกแบบให้รับแรงแผ่นดินไหวด้วยเช่นกัน




Create Date : 06 พฤษภาคม 2559
Last Update : 6 พฤษภาคม 2559 17:21:21 น.
Counter : 1030 Pageviews.

1 comments
  
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ
โดย: peepoobakub วันที่: 15 มีนาคม 2560 เวลา:16:45:35 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Sky of Thailand
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



พฤษภาคม 2559

1
2
3
4
5
7
8
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog