หากมีแต่เพียงท่วงท่าภายนอก ไร้ภายในชักนำ ก็เรียกได้เพียงว่า"รำมวย" ไม่สามารถเรียกว่า "มวยไท่เก็ก"
 
กันยายน 2549
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
26 กันยายน 2549

กำเนิดมวยไทเก๊ก



จนถึงปัจจุบัน แม้ว่ามวยไทเก๊ก หรือไทจี๋ฉวน
จะแพร่หลายไปทั่วโลก มีผู้ฝึกนับล้านๆคน
มีผู้ศึกษาเรื่องมวยไทเก๊กอย่างจริงจังจำนวนมาก

แต่จนแล้วจนรอด ก็ยังหาข้อสรุป ต้นตอที่แท้จริงไม่ได้
มีผู้เสนอทฤษฎี ต่างๆมากมาย ทั้งที่น่าเชื่อถือ
และไม่น่าเชื่อถือ เช่นทฤษฎีที่ว่าท่านเฉินหวังถิง
บรรพบุรุษ ของตระกูลเฉิน ที่เฉินเจียโกว คิดค้นขึ้น

หรือ บางทฤษฎีก็ว่า ท่านจางซันฟง คิดขึ้นจาก
การเห็นงูกับกระเรียนต่อสู้กัน

อย่างไรก็ตาม มวยที่มีลักษณ์คล้ายมวยไทเก๊ก
ได้มีมาก่อน ยุคสมัยของท่านจางซานฟงนานแล้ว






บทความด้านล่างนี้ เรียบเรียงโดย อ.เซียวหลิบงั้ง
(webmaster //www.thaitaiji.com)
จากข้อเขียนของอจ. อู๋ถูหนาน

ตีพิมพ์ในวารสารฮวงจุ้ยกับชีวิต
ผมขออนุญาติ นำใจความสำคัญมามาเรียบเรียงอีกครั้งครับ


ต้นกำเนิดมวยไท่เก๊ก

ในครั้งนั้น เมื่อราวปีสุดท้ายของรัชกาลฮ่องเต้กวางสู้ หรือไม่ก็ในปีรัชกาลแรกของฮ่องเต้เซวียนถ่ง ในราช
วงศ์ชิง(ค.ศ. 1908-1909) มีเพื่อนของท่านอู๋ถูหนานคนหนึ่งมาถามว่า
“คุณฝึกมวยไท่เก๊กใช่หรือเปล่า ที่บ้านของผมมีหนังสืออยู่เล่มหนึ่ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับมวยไท่เก๊ก”
ท่านอู๋ถูหนานจึงออกปากขอยืมเพื่อนำเอามาคัดลอก เพื่อนคนนั้นบอกว่า
“ไม่ต้องคัดลอก ผมไม่ได้ใช้มัน ก็ขอมอบให้แก่คุณเลย”


ผ่านไปหลายวัน เขาก็ได้นำหนังสือเล่มนั้นมามอบให้แก่ท่านอู๋ถูหนาน ก็คือหนังสือเล่มที่มีชื่อว่า
“วิพากษ์ต้นกำเนิดและพัฒนาการการแตกสาขา ของมวยไท่เก๊กตระกูลซ่ง”

ดูจากลักษณะของหนังสือเล่มนี้ น่าจะมีอายุเก่าแก่ กระดาษไม่เพียงแต่กลายเป็นสีเหลือง
อีกทั้งยังกรอบจนน่ากลัวว่ามันจะแตกออกมา
เพื่อนคนนั้นแนะนำว่า
“คุณอย่าทำให้มันแตกเสียหาย ทางที่ดีเอากระดาษมาทากาวปิดทับด้านหลังของแต่ละแผ่น ทับไว้อีกชั้นหนึ่ง จะได้แข็งแรงขึ้น”

ท่านอู๋ถูหนานค่อยๆพลิกดู
เห็นว่าตัวอักษรด้านในยังชัดเจนดีอยู่
ท่านอู๋จึงคัดลอกขึ้นมาอีกเล่มหนึ่ง เก็บหนังสือต้นฉบับเอาไว้เป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์

ต่อมาอาจารย์ทั้งสองท่านของท่านอู๋ถูหนาน
คืออาจารย์อู๋เจี้ยนเฉวียนและอาจารย์หยางเส้าโหว ได้ทราบถึงเรื่องนี้ ต่างก็มีความต้องการที่จะได้หนังสือเล่มนี้

ท่านอู๋ถูหนานจึงได้คัดลอกขึ้นมาอีกสองฉบับ มอบ
ให้อาจารย์ทั้งสองท่าน มาตอนหลังมีผู้รู้เรื่องนี้ขึ้นมาอีก และได้มาขอคัดลอกต่อ ซึ่งมีท่านจี้เต๋อ(จี้จื่อซิง)
ผู้นี้ฝึกมวยตระกูลเยี่ย และได้กราบท่านหลิงซานร่ำเรียนมวยไท่เก๊กและการทุยโส่ว มีฝีมืออยู่ในระดับแนวหน้า

(ท่านหลิงซานเป็นชาวแมนจู ได้ฝึกมวยไทเก๊กกับหยางลู่ฉาน พร้อมกับท่านฉวนโหย่ว บิดาของท่านอู๋เจี้ยนเฉวียน และท่านว่านชุน(ชาวฮั่น) ซึ่งทั้งสามคนนี้เป็นองครักษ์ในวังของตวนอ๋อง

แต่เนื่องจากท่านหยางลู่ฉานเป็นอาจารย์ของเหล่าอ๋อง เพื่อไม่ให้ศักดิ์เทียบเท่านาย จึงได้ให้กราบท่านหยางปันโหวเป็นอาจารย์ แต่การเรียนนั้น ยังคงเรียนจากท่านหยางลู่ฉาน และท่านหยางปันโหวทั้งสองคน

อดีตองค์รักษ์ทั้งสามท่านนี้ คนหนึ่งชอบทางแกร่งกร้าว
คนหนึ่งชอบทางอ่อนหยุ่นสลายพลัง คนหนึ่งชอบทางการปล่อยพลัง)

นอกจากนี้ท่านสวี่อวี่เซิงก็มาขอคัดลอกไป
ท่านสวี่อยู่ในสมาคมวิจัยการกีฬาของนครปักกิ่ง

ท่านอู๋ถูหนานมีเพื่อนร่วมสำนักอยู่คนหนึ่ง ซึ่งมีแซ่อู๋เหมือนกัน คนนี้ฝึกมวยสิงอี้ และเรียนมวยไท่เก๊กกับ
ท่านอู๋เจี้ยนเฉวียน คนนี้ก็มาขอยืมไปคัดลอก ตอนที่นำมาคืนนั้น ท่านอู๋ถูหนานพบว่าตัวหนังสือถูก
เขาขูดลบออกไปเป็นจำนวนมาก โชคดีที่ท่านอู๋ถูหนานยังมีอยู่อีกเล่มหนึ่ง มิฉะนั้นคงต้องยุ่งยากแน่

ตอนหลังท่านจี้เต๋อจึงแนะนำว่า อย่าได้ให้คนอื่นคัดลอกต่ออีกแล้ว ยิ่งคัดลอกก็ยิ่งยุ่งเหยิง ดังนั้นท่าน
อู๋ถูหนานจึงไม่ได้ให้ใครคัดลอกอีก

แต่คนที่ขอคัดลอกไปแล้ว ก็ได้นำไปให้คนอื่นคัดลอกต่อๆออกไปอีก เมื่อเป็นเช่นนี้บันทึกตระกูลซ่งฉบับคัดลอก
จึงมีจำนวนมากขึ้นแล้ว



หยวนซื่อไข่ มีเลขาคนสำคัญอยู่คนหนึ่งชื่อซ่งซูหมิง ผู้นี้มีความเชี่ยวชาญในคัมภีร์อี้จิง ชำนาญมวยไท่เก๊ก

เหล่านักมวยไท่เก๊กที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น เช่นจี้เต๋อ
(จี้จื่อซิง), อู๋เจี้ยนเฉวียน, สวี่อวี่เซิง, หลิวเอินสุย,
หลิวไฉ่เฉิน, เจียงเตี้ยนเฉิน รวมทั้งท่านอู๋ถูหนาน
ได้เดินทางไปเยี่ยมเยียนท่านซ่งซูหมิงพร้อมกัน

ท่านผู้เฒ่าท่านนี้ได้มายังปักกิ่ง และแนะนำว่าตนเองคือทายาทรุ่นหลังของ ซ่งหย่วนเฉียว เป็นทายาทรุ่นที่ 17

พวกของท่านอู๋ถูหนานได้ไปเยี่ยมเยียนท่านซ่ง โดยได้นำหนังสือเล่มนั้นติดไปด้วย

ท่านซ่งได้กล่าวว่าที่บ้านของเขาก็มีหนังสือแบบเดียวกัน ซึ่งเป็นหนังสือที่บรรพบุรุษของท่านซ่ง คือซ่งหย่วนเฉียวเป็นคนเขียนขึ้น

เมื่อนำเอามาเปรียบเทียบดู พบว่ามีข้อแตกต่างเพียงเล็กน้อย ตรงชื่อของหนังสือ ของท่านอู๋ถูหนานใช้ชื่อหนังสือว่า
“วิพากษ์ต้นกำเนิด และพัฒนาการการแตกสาขา
ของมวยไท่เก๊กตระกูลซ่ง”
ส่วนของท่านซ่งใช้ชื่อว่า
“วิพากษ์ต้นกำเนิดและพัฒนาการการแตกสาขา พลังไท่เก๊กของซ่งหย่วนเฉียว”

นอกจากนี้แล้ว ข้อความทุกอย่างในหนังสือล้วนเหมือนกันหมด หนังสือเล่มนี้จึงเป็นบันทึกที่ครั้งซ่งหย่วนเฉียว
เรียนมวยไท่เก๊กกับท่านปรมาจารย์จางซันเฟิง

ท่านซ่งหย่วนเฉียว(ซ่งเอี๋ยงเกี๊ย) ได้จดบันทึกเอาไว้ในหนังสือว่า
ตัวเขา และอวี๋เหลียนโจว(หยู่เหน่ยจิว), อวี๋ไต้เอี๋ยน
(หยู่ไต่ง้ำ), จางสงซี (เตียส่งโคย), จางชุ่ยซัน
(เตียชุ่ยซัว), อินลี่ถิง(ฮึงหลีเต๊ง), และมั่วกู่เซิง(หมกกกเซีย)
ทั้ง 7 คนนี้ได้กลับไปยังเขาอู่ตัง (บู๊ตึง)
เพื่อกราบปรมาจารย์หลี่ แต่ว่าไม่พบ
กลับได้พบกับอวี้ซวีจื่อ(เป็นชื่อทางพรต)
จางซันเฟิง ที่อารามอวี้ซวี บนเขาไท่เหอ

(ทั้ง 7 คนนี้กิมย้งได้นำไปเป็นตัวละครในเรื่องดาบมังกรหยก)

ท่านจางซันเฟิงเป็นอาจารย์ของจางสงซีและจางชุ่ยซัน ท่านจางซันเฟิง บำเพ็ญพรตอยู่ที่เขาไท่เหอ ตั้งแต่ต้นรัชสมัยหงอู่ (จูหยวนจางแห่งราชวงศ์หมิง)

ทั้ง 7 คนได้กราบขอเรียนวิชาเพิ่มเติมอยู่เดือนกว่า จึงได้เดินทางกลับ

ซ่งหย่วนเฉียวได้กล่าวไว้ว่า พวกท่าน ทั้ง 7 คน
ทุกๆปีจะไปยังเขาอู่ตัง กราบท่านจางซันเฟิงเพื่อ
ต่อวิชา

มวยไท่เก๊กยุคแรกเริ่ม สมัยราชวงศ์เหนือใต้

จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ ในสมัยราชวงศ์เหนือใต้ (ซ่ง, ฉี, เหลียง, เฉิน) ในช่วงของราชวงศ์เหลียง
(ค.ศ. 502-557)

มีเจ้าเมืองผู้ปกครองเมืองเซ่อโจวคนหนึ่งชื่อว่าเฉิงหลิงสี เขาโปรดปรานในการฝึกมวยไท่เก๊ก
เรียกให้เหล่าข้าราชการบุ๋นและบู๊ฝึกมวยไท่เก๊ก

ภายหลังเกิดกบฏ"โหวจิ่ง"ขึ้น ทั้งมณฑลอานฮุยได้รับความทุกข์ยากจากไฟสงคราม เว้นแต่ที่เซ่อโจวอำเภอเดียวเท่านั้นที่ไร้เรื่องราว
เนื่องมาจากว่าโหวจิ่งเห็นว่า ที่อำเภอเซ่อโจวมีกองกำลังที่กล้าแข็ง ไม่กล้าที่จะบุก

หลังจากสมัยของเฉิงหลิงสี มวยไท่เก๊กซึ่งได้ถ่ายทอดกันในตระกูล ตกทอดมาจนถึงชนรุ่นหลังของตระกูลเฉิง
ชื่อเฉิงปี้ คนผู้นี้เป็นจิ้นซื่อ(บัณฑิตหลวง)
เป็นบัณฑิตสังกัดตำหนักตวนหมิง

ท่านผู้นี้ร่ำเรียนหนังสือมามาก สามารถวิเคราะห์คัมภีร์อี้จิงได้อย่างทะลุปรุโปร่ง เขากล่าวไว้ว่ามวยไท่เก๊ก มีมาก่อน
บรรพบุรุษของเขาคือเฉิงหลิงสี ทั้งยังกล่าวไว้ว่า
เฉิงหลิงสีได้เรียนมาจาก"หันก่งเยี่ย"

แต่น่าเสียดายว่า เรื่องนี้ไม่สามารถตรวจสอบจากบันทึกทางประวัติศาสตร์ได้ว่า มีบุคคลที่ชื่อหันก่งเยี่ยหรือไม่ และหันก่งเยี่ยได้ร่ำเรียนมวยไท่เก๊กนี้จากใคร

เรื่องราวของเฉิงปี้ผู้นี้ มีเรื่องเล่าสืบทอดกันมาอย่างกว้างขวางในอำเภอเซ่อโจวของมณฑลอานฮุย

เขาได้แต่งหนังสือเล่มหนึ่ง ชื่อหมิงสุ่ยจี๋ เฉิงปี้หลังจากฝึกฝนมวยไท่เก๊ก เขาเห็นว่ามวยไท่เก๊กในตอนนั้นมี
การใช้ศอกค่อนข้างน้อย จึงเพิ่มเติมการใช้ศอกเข้าไปอีก 15 ท่า

เนื่องจากเขาทำการวิเคราะห์คัมภีร์อี้จิง จึงได้ชื่อว่า
เสียวจิ่วเทียนฝ่า มีบันทึกอยู่ในหนังสือหมิงสุ่ยจี๋




มวยไทเก๊กของสวี่เซวียนผิง

สมัยราชวงศ์ถัง(ค.ศ. 618-907) มีผู้ศึกษาแนวทางเต๋า
ชื่อสวี่เซวียนผิง บุคคลผู้นี้เป็นชาวเมืองเซ่อโจว
ในมณฑลอานฮุย เป็นทั้งนัก อักษรศาสตร์
และนักกวี

มวยไท่เก๊กที่ท่านสวี่เซวียนผิงถ่ายทอด
ออกไป ได้รับการถ่ายทอดมาจาก อวี๋ฮวนจื่อ
ใช้ชื่อมวยว่า 37 ท่า มีอีกชื่อว่าฉางเฉวียน(มวยยาว)
เนื้อหาของวิชาไม่แตกต่างไปจากวิชาที่เฉิงหลิงสีร่ำเรียน

สวี่เซวียนผิงมักไปมาหาสู่กับกวีเอกหลี่ไป๋
ทั้งสองคนมักเยี่ยมเยียนกันและต่อบทกวีกัน

ปล. ผมมีรูปมวยไทเก๊กอยู่ชุดนึงของบู๊ตึ๋ง
บังเอิง มี37ท่าพอดี ไม่รู้จะเกี่ยวกับ
ท่านสวี่เซวียนผิงถ่ายทอดหรือเปล่า






Create Date : 26 กันยายน 2549
Last Update : 26 ตุลาคม 2549 19:21:21 น. 1 comments
Counter : 1659 Pageviews.  

 
Ohh สุดยอดแห่งความรู้ ขอแอ๊ดน้าค้าบ


โดย: นาโต้ไอ้หนุ่มกังฟู วันที่: 23 พฤศจิกายน 2549 เวลา:23:18:23 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Ramin&Indra
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




สำหรับท่าน ที่ไม่ยังไม่รู้จักมวยไท่จี๋นะครับ

มวยไทจี๋ หรือ ไทจี๋ฉวน
มาจากคำว่า ฉวน แปลว่า มวย + กับ ไทจี๋
เป็นวิชา การต่อสู้ชนิดเดียวกับ ที่เราเรียกแบบแต๊จิ๊วว่ามวยไทเก๊ก
หรือ ที่กลุ่มกายบริหารเพื่อสุขภาพ
สมัยใหม่ เอาไปดัดแปลงแล้วเรียก ว่า ไทชิ
รวมทั้งศัพท์ วัยรุ่นที่เรียกว่า "ทิชชี่"
แถมยังมีแบบผสมโยคะ เอาไปเรียกว่า "โยชิ"
หรือ "ไทคะ"อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม วิธีฝึกแบบสมัยใหม่นั้น
บางครั้ง เป็นเพียงการยืมชื่อมาใช้
เพื่อโฆษณาสรรพคุณ
โดยไม่ได้มีเนื้อหาสาระ เกี่ยวข้องกับมวยไทจี๋เลย
หรือไม่ก็ เป็นการใช้คุณประโยชน์ของมวย
แค่เพียงกระผีกริ้นของมันเท่านั้น

มวยไทจี๋มีคุณประโยชน์มากมายมหาศาล
ในหลากหลายด้าน หากคุณได้ศึกษาจากผู้รู้
และ ฝึกฝนอย่างจริงจัง เป็นวิชา ที่คุณสามารถ
ใช้เป็นวิชาประจำตัว เรียนรู้จากมันได้ไม่มีที่สิ้นสุดจนตลอดชีวิต

บล๊อกนี้ผมตั้งใจจะ รวบรวม ประวัติ และ
ท่ามวยไทจี๋ของหลากแบบ หลายสายอาจารย์
ของมวยไทจี๋ตระกูลต่างๆเอาไว้ เผื่อผู้สนใจจะได้สามารถเปรียบเทียบได้

จากประวัติศาสตร์อันยาวนาน
ปัจจุบัน มวยไทจี๋แบ่งออกเป็นหลายแบบ
หลากตระกูล ที่สำคัญๆก็คือ
มวยไทจี๋ตระกูลเฉิน ตระกูลหยาง
ตระกูลอู๋ ตระกูลอู่ ตระกูลซุน
สายหมู่บ้านเจ้าเป่า สายบู๊ตึ๊ง

แต่ละสาย ยังแตกแขนงออกไปอีกมากมาย
รวมทั้ง สายแปลกๆ สาย ย่อยต่างๆอีก
ผมจะพยายามรวบรวมมาให้ดูกันครับ

ยังทำไม่เสร็จนะครับ มีหลายหัวข้อยังว่างอยู่
ค่อยๆทำไปเรื่อยแล้วกัน

ตอนนี้ หัวข้อที่มีเนื้อหาอยู่ คือ
** กำเนิดมวยไทเก๊ก
** มวยไทเก๊กตระกูลหยาง
** คำสอนปรมาจารย์
** ตำนานยอดฝีมือครับ
** ประวัติมวยไท่เก๊ก ทั้ง7สาย
** มวยไท่เก๊กตระกูลเฉิน

แต่ทั้งหมดก็ยังไม่ครบถ้วน
ยังคงอัพเดทเรื่อยๆครับ


บทความส่วนใหญ่ที่ผมเป็นคนแปล
จะมีข้อผิดพลาดในเรื่องการออกเสียง
ชื่อคน ชื่อสถานที่ภาษาจีน เพราะผมไม่รู้
ภาษาจีน และต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษเสีย
ส่วนใหญ่ ต้องขออภัยไว้ล่วงหน้าครับ

อัพเดท สัปดาห์ละครั้งครับ
[Add Ramin&Indra's blog to your web]