หากมีแต่เพียงท่วงท่าภายนอก ไร้ภายในชักนำ ก็เรียกได้เพียงว่า"รำมวย" ไม่สามารถเรียกว่า "มวยไท่เก็ก"
<<
ตุลาคม 2549
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
29 ตุลาคม 2549

กำเนิดมวยไทเก๊ก 3

ข้อโต้แย้งทฤษฎี ท่านจางซันฟงเป็นผู้ให้กำเนิดมวยไทจี๋

บทความแรกๆ ที่กล่าวถึงเรื่องท่านจางซันฟง
เป็นผู้คิดมวยไท่จี๋นั้น มาจาก หนังสือของ
ท่านหลี่อี้อี้ว ชื่อ“Short Preface to Taiji quan” ตีพิมพ์ในปี1880
ซึ่งเป็นมรดกตกทอดมาจากลุงของท่านหลี่
คือ ปรมาจารย์มวยไท่จี๋สกุลอู่ ท่านอู่อวี๋เซี้ยง(1812-1880)
ข้อสันนิษฐานเช่นเดียวกันนี้ ปรากฏในหนังสือของ
หลานท่านหลี่ ท่านหม่าตงเหวิน และ ญาติของท่านหลี่ท่านเฮ่อเว่ยจิง(1840-1920).



ตามประวัติศาสตร์ของไทจี๋ฉวน Shen Shou 沈壽
ในท่อนหลังของหนังสือฉบับของท่านหลี่อี้อวี้นั้น
มาจากเอกสารต้นฉบับเริ่มแรกในปี 1867

ด้วยเหตุผลใดไม่ปรากฏ
หลังจากท่านอู่อวี๋เซียงเสียไปแล้วอจ.หลี่อี้อี้ว
ได้แก้ไข หนังสือ “Short Preface to taiji quan”
ของท่านใหม่ ในเดือนพฤษภาคมปี1881
โดยเริ่มต้นว่า "ผู้คิดค้นไท่จี๋ฉวนเป็นใครไม่ปรากฏ"

แม้กระนั้นก็ตาม ตำนานที่ว่า ท่านจางซันฟงคิดค้นไทจี๋ฉวน
ได้เริ่มมีอิทธิพลในตำราไทจี๋ฉวนใหม่ๆหลายเล่ม
อย่างเช่นหนังสือของ ซูหยูเช็ง ชื่อ "Taijiquan Tushi Jie" 太极拳势图解
หรือ คำอธิบายกระบวนท่า มวยไทจี๋ ในปี 1921
หนังสือของอจ.ซุนลู่ถัง ชื่อ "Taiji Quanxue" 太極拳學
หรือการเรียนมวยไทจี๋ ในปี1924
หนังสือของอจ.เฉินเว่ยหมิง ชื่อ"Taiji Quan Shu" 太極拳術
หรือศิลปะมวยไทจี๋ ในปี1925 และหนังสือของท่านหยางเฉินฝู่
ชื่อ "Tiaji Quan Tiyong Quanshu" 太極拳體用全書
หรือ แก่นหลัก และการประยุกต์ใช้มวยไทจี๋ ในปี1934

"หมายเหตุของผู้แปล ตำราของท่านหยางเฉินฝู่
ท่านกล่าวไว้ว่า ปู่ของท่าน คือท่านหยางลู่ฉาน
เป็นคนเล่าให้ฟังเอง ว่าท่านเรียนมวยจากท่านเฉินฉางซิง
ท่านเฉินฉางซิง เรียนมวยจากท่านเจียงฝา"


และจากคำบอกเล่าของซูเจิ้น(1898-1967)
กล่าวว่าต้นกำเนิดของคำพูดที่ว่า ท่านจางซันฟง
เป็นผู้คิดมวยไทจี๋นั้นมาจากกลุ่มที่ถือหางข้าง ตระกูลหยาง
ซึ่งเกิดขึ้นไม่นานไปกว่า ยุคจักรพรรดิ์กวงสู แห่งราชวงศ์ชิง(1875-1904)

ผู้คนต่างเชื่อทฤษฎี ท่านจางซันฟงกันอย่างจริงจัง
และความเชื่อนี้ ทำให้มีการบันทึก ลำดับการสืบทอด
จากท่านจางซันฟงไว้ในสายตระกูล ไว้ในพิธีกรรม
มีการสร้างรูปปั้น สักการะ กลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญ
ของกลุ่มผู้ศรัทธาจำนวนมาก



ภาพAตั้งโหว (1897-1959) เกิดในครอบครัวช่างตัดเสื้อ
เขาเป็นนักฝึกศิลปะการต่อสู้ รวมทั้งเป็นผู้ศึกษาศิลปะการต่อสู้ที่มีสติปัญญาสูงที่สุดในยุคสมัยใหม่

เขาได้เปิดยุคใหม่ของการศึกษาประวัติศาสตร์
และการพัฒนาไทจี๋ฉวน ในช่วงปี 1930 -1940 และ 1950
ตั้งโหวได้ให้เครดิตว่า ท่านเฉินหวังถิง แห่งเฉินเจียโกว
เป้นผู้คิดค้นไทจี๋ฉวนขึ้น ในช่วงปลายศตวรรษที่17
และเชื่อว่า หวังจงเย่ว์ เรียนมวยไปจากตระกูลเฉิน

ภาพBซูหยูเช็ง(1879-1945) เกิดในตระกูลผู้ฝึกศิลปะการต่อสู้และเรียนมวยไทจี๋มาจาก ท่านหยางเจี้ยนโหว
(1839-1917) เขาเป็นผู้เลื่อมใส
และอุทิศตัวในการศึกษาทฤษฎี
และการฝึกฝนศิลปะการต่อสู้
เป็นผู้ที่เผยแพร่อย่างหนักแน่นในช่วงปี 1920-1930
ว่า ท่านจางซันฟงเป็นผู้คิดค้นมวยไทจี๋


เป็นเรื่องที่ไม่สามารถโต้แย้งได้ว่า ทั้ง ตั้งโหว และ ซูเจิ้น
ไม่ได้ค้นพบหลักฐานที่ชัดแจ้งใดๆเลย ที่บอกว่า
ท่านจางซันฟงเป็นผู้คิดค้นไทจี๋ฉวน
รวมทั้งการมีข้อเขียนส่วนหนึ่ง
และคำบอกเล่าแบบปากต่อปากใน หมู่บ้านตระกูลเฉิน ระหว่างการค้นคว้าในปี1930
ซึ่งไม่ได้ถูกอ้างถึงในตำราไทจี๋ฉบับคลาสสิกของตระกูลอู่

คำถามก็คือ ท่านจางซานฟงคิดมวยไทจี๋จริงหรือ..?

ทำไมท่านหลี่อี้อวี้ ถึงได้เปลี่ยนข้อความในหนังสือของท่านอย่างรวดเร็ว..?
ที่ไหน และ ทำไม ท่านอู่อวี๋เซี้ยงถึงได้ปลุกปั่นให้เกิดความเชื่อเรื่องตำนานของท่านจางซันฟงขึ้นเป็นแห่งแรก

ทุกวันนี้ นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญไทจี๋ฉวนส่วนใหญ่
มั่นใจว่า เรื่องท่านจางซันฟงคิดค้นไทจี๋ฉวนนั้น
หยิบยืมมากจาก หวงจงสี่ ซึ่งได้เขียนข้อความ
เพื่อเป็นบทสรรเสริญในป้ายหลุมศพของ
ท่านหวังเจิ้นหนานว่า
“มวยภายใน เริ่มต้นจากท่านจางซันฟง”
ซึ่งได้ถูกนำเสนอใน Ningpo fuzhi 寧波府志
หรือ จดหมายเหตุหนิงป้อ ในภายหลัง

(ผู้แปล หวังเจิ้นหนานท่านนี้ อาจจะเป็นท่านเดียวกับในนิยายหรือเปล่า..?)

เป็นเพราะความไม่เอาใจใส่ ในการปะปน
เรื่อง จางซันฟง กับ สายตระกูลมวยภายใน
กับ สายตระกลูเฉิน นำมาสู่ความเชื่อของท่านอู่อวี้เซียง
และ การแต่งเติมเรื่องเพื่อให้น่าสนใจมากขึ้นโดย
ตระกูลหยาง ซึ่งทำให้เกิดคำถาม อันสับสนต่างๆมากมาย

1.การไม่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างชื่อ ( 張三峰 และ 張三丰)อักษรที่ว่า “จางซานฟง 張三峰 แห่งราชวงศ์ซ่ง”

ในข้อเขียนต้นฉบับของท่านหวงจงสี่ ได้เขียนไว้ว่า

"สำนักเส้าหลิน 少林 ชื่อเสียงก้องกำจายไปทั่วโลก
ด้วยวิชามวย...แต่ยังมีบางอย่างที่เรียกว่า สำนักภายใน...
เริ่มต้นจาก จางซานฟง 張三峰 แห่งราชวงศ์ซ่ง
และ ซานฟง เป็นนักเล่นแร่แปรธาตุแห่งเขาบู๊ตึ๊ง
จักรพรรดิ ฮุ่ยจง 宋徽宗 แห่งราชวงศ์ซ่ง
(ครองราชช่วงปี 1101-1125) ได้ออกหนังสือ
เรียกตัวท่านจางซันฟงไปพบ หากแต่ถนนขวางกั้น
ในยามค่ำคืน ท่านจางซันฟง ได้ฝันว่า เทพเจ้าแห่งสงคราม
มาถ่ายทอดวิชามวยให้ เช้าวันรุ่งขึ้น ท่านจางตื่นขึ้น
และสังหารโจรนับร้อยด้วยมือเดียว”


ความจริงคำพูดที่ว่า
“วิชาการต่อสู้ได้รับถ่ายทอดจากเทพแห่งสงคราม”
เป็นเรื่องเล่า ที่มักจะพบกันเป็นประจำอยู่แล้ว
อย่างเช่นใน Xuantian shangdi qishenglu 玄天上帝啟聖錄
หรือ "บทสักการะเทพเจ้าแห่งสงคราม" ของ Dong Huangsu 董黃素 เขียนในปี1184 ก็มีอยู่เช่นกัน
แต่ไม่มีข้อความใดอ้างอิงถึง จางซันฟง หรือจักรพรรดิ์ฮุ่ยจง

มีเซียนบุรุษ 781คน และ นางเซียน 120 คน
ที่ถูกบันทึกไว้ใน
Lishi zhenxian tidao tondjian 歷世真仙道體通鑒
หรือ "ประวัติศาตร์เซียนที่แท้จริง" ซึ่งเรียบเรียงโดย
นักพรต เจ้าเต้าอี้ 趙道一 ในปี1276
ซึ่งก็ไม่พบ ประโยค "นักเล่นแร่แปรธาตุ จางซันฟง" ที่ไหนเลย งานชิ้นนี้ ได้ถูกรวบรวมไว้ในคัมภีร์เต๋า

มีเซียน21คน จากเขาบู๊ตึ๊ง ที่ถูกบันทึกไว้เป็นพิเศษ
ในหนังสือ Wudang fudi congzhenji 武當福地總真集 หรือ ชีวประวัติฉบับสมบูรณ์ของเซียน จากเขาบู๊ตึ๊งอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเรียบเรียงโดย นักพรตบู๊ตึ๊ง ชื่อ หลิวเต้าหมิง 劉道明 ในปี1291 และเช่นเดิม ประโยค
"นักเล่นแร่แปรธาตุ จางซันฟง" ไม่มีปรากฏอยู่ที่ไหนเลย
งานชิ้นนี้ ก็ถูกรวบรวมไว้ในคัมภีร์เต๋าเช่นเดียวกัน


ในหนังสือ Yuan yitong zhi 元一統志
หรือ ความเกี่ยวพันของประวัติศาสตร์ราชวงศ์หยวน
เรียบเรียงโดย ไป่ป้อหลาน และหยูซวน ซึ่งเริ่มเรียบเรียง
เมื่อปี1285 และเสร็จสมบูรณ์ในปี 1303 ซึ่งเป็นช่วงที่น่าจะเป็น ยุคสมัยของท่านจางซันฟง มีพระสงฆ์ และพักพรตชื่อดัง 11 คน ถูกบันทึกไว้ในนั้น แต่ก็ไม่มีชื่อท่านจางซันฟงอยู่ดี

ในตำราเล่มอื่นๆก็เช่นกัน ไม่พบ "นักเล่นแร่แปรธาตุ จางซันฟง" ปรากฏอยู่ที่ไหนเลย ไม่ว่าจะเป็น หนังสือ
Xiangyang junzhi 襄陽郡志, or Xiangyang Prefecture Annuls, (Zhang Heng)
Xiangyang fuzhi 襄陽府志, or Xiangyang Prefecture Annuls, (Hu Jia)
Huguang tujingzhi 湖廣圖經志, or the Annuls of Charts and Records of Huguang, (Wu Yanju)
Huguang congzhi 湖廣總志, or the Cohesive Annuls of Huguang, (Xu Xuemo)
Xiangyang fuzhi 襄陽府志, or Xiangyang Prefecture Annuls, (Chen E)
Junzhouzhi 均州志, or Junzhou Annuls (Dang Juyi)
,Junzhou xuzhi 均州續志, or the Continued Junzhou Annuls(Jia Hongzhao)
Dayue taihe shanzhi 大岳太和山志, or the Great Taihe Mountain History(Shen Dan)
Dayue taihe shanzhi 大岳太和山志, or the Great Taihe Mountain History(Lu Chonghua)
and Dayue taihe shanzhilue 大岳太和山志略, or the Concise Taihe Mountain Annuls. (Wang Gai)


2. มีเอกสารจำนวนหนึ่ง ที่ยืนยันว่า จางซันฟง張三丰(ตามการสะกดแบบที่2)มีตัวตนอยู่ในสมัยราชวงศ์หมิง


ครึ่งหนึ่งของแหล่งที่มาของเอกสารต้นฉบับ
ล้วนมีความเกี่ยวพันมากจาก เอกสารของราชสำนักหมิง
ส่วนอีกครึ่งที่เหลือ มาจากประวัติศาสตร์และ บันทึกของท้องถิ่น แต่ทั้งหมดนั้น ก็ไม่มีอะไรยืนยันได้เลยว่า
จางซันฟง มีความเกี่ยวพันกับเรื่องศิลปะการต่อสู้

ในประวัติท่านจางซันฟง ที่บันทึกไว้ใน
หนังสือราชการของราชวงศ์หมิง กล่าวไว้ว่า

"จางซันฟงเป็นคนประหลาด แต่ได้รับผลสำเร็จ
อย่างสูงในการเล่นแร่แปรธาตุ
ทั้งจักรพรรดิและประชาชน ต่างเลื่อมใส
ในพลังเหนือธรรมชาติของท่าน”


จางซันฟงได้รับเชิญจากปฐมกษัตริย์ราชวงศ์หมิง
จูหยวนจาง 朱元章 (1328-1398) ในปี 1391
และจากฮ่องเต้จูตี้ 朱棣 (1360-1424) ฮ่องเต้พระองค์ที่3 ในปี 1412 นอกจากนั้น ยังมี ฮ่องเต้องค์ที่6ของราชวงศ์หมิง จูฉีเจิ้น 朱祁鎮 (1427-1464) ในปี1459

คำโคลงของราชวงศ์ชิ้นแรก ที่เกล่าวถึง
ท่านจางซันฟง เขียนโดยเจ้าชาย เซี่ยงป้อ 湘王 柏 (1371-1399)
ผู้เป็นโอรส องค์ที่12 ของหมิงไท่จู่ จูหยวนจาง

นักโบราณคดีได้ค้นพบ จินหลง จูเจี้ยน 金龍玉簡
หรือ "คำจารึกหยก มังกรทอง"ในปี1982
พิสูจน์ว่า องค์ชายเซี่ยง หมกมุ่นในเรื่อง
ลัทธิเต๋า และ สำนักพรตแห่งเขาบู๊ตึ๊ง

ในกลุ่มเอกสารจากราชสำนักหมิง
เรายังมีโคลงอีกสองชิ้น ที่กล่าวถึงท่านจางซันฟง
เขียนโดย องค์ชายฉู่จุ้น 蜀王 椿 (สิ้นพระชนม์ในปี1423)โอรสองค์ที่11 ของจักรพรรดิ์จูหยวนจาง
เจ้าชายฉู่ ได้เขียน หนังสือหยูซื่อ ฉู่ 御製書
หรือ "หนังสือฎีกาคำเชิญของราชวงศ์"
ซึ่งได้มีบันทึกหนังสือคำเชิญ ไปถึงท่านจางซันฟง
จากจักรพรรดิ หมิง องค์ที่สาม จูตี้ ในปี1412
และเกาหมิง 誥命 หรือ คำสั่งแต่งตั้งของราชการ
ในเอกสารชื่อ Yuci Zhang Sanfeng tongbei 御賜張三丰銅碑 แปลว่า "จารึกทองแดงการมอบรางวัลแก่จางซันฟง" ซึ่งได้รับจากฮ่องเต้องค์ที่6 ของราชวงศ์หมิง จูฉีเจิ้นในปี1459

ประวัติที่มีเหตุผลมากที่สุดในเรื่องของท่านจางซันฟง
ค้นพบในหนังสือ ต้าหยู ไท่เหอ ฉานจื้อ 大岳太和山志
หรือ "ประวัติศาสตร์เขาไท่เหออันยิ่งใหญ่"
ซึ่งเรียบเรียงโดย เหลิน จื้อหยวน 任自垣 ในปี1431

นอกจากนี้ยังมีหลักฐานระบุความมีตัวตนของท่านจางซันฟงอื่นๆอีก เช่น
Huangming enming shilu 皇明恩命世錄
หรือ "บันทึก การตกรางวัลของจักรพรรดิ์" โดยจาง หยูฉู่張宇初
Chanxuan xianjiaobian 禪玄顯教編
หรือ "รวมเอกสารศาสนาพุทธและลัทธิเต๋า" โดยหยางปู้ 楊溥
Daming yitongzhi xianshi 大明一統志
หรือ "ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับราชวงศ์หมิงอันยิ่งใหญ่"
โดย ลี่ เซี่ยน李賢 ในปี1461
Zhang Sanfeng yiji ji 張三丰遺跡記
หรือ “อนุสรณ์ตำนาน จางซานฟง"
ในอารามพรตเต๋า จินไท่ ที่หมู่บ้าน เป้าจี่ ในปี 1462
Guizhou tujing xinzhi 貴州圖經新志
หรือ"แผนภูมิ การเพิกถอนใหม่ และบันทึกของกุ้ยโจว"
Guizhou tongzhi 貴州通志
"เรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์กุ้ยโจว" ในปี 1597

จากเอกสารทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ทำให้เรา
พอจะได้ร่องรอย เกี่ยวกับช่วงเวลาที่ท่านจางซันฟง
เกิด ตาย และ ช่วงเวลาที่ท่านมีชีวิตอยู่ รวมทั้งกิจกรรมที่ท่านทำ

ในโคลง "บทเพลงอันลอยล่อง" ที่ท่านจางซันฟงเขียนไว้ กล่าวว่า
"เพลงอันลอยล่อง เพลงอันลอยล่องเอ๋ย เอ้อระเหยหลังวัยสี่สิบแปด ข้ายังมีเวลาอีกเท่าใด...กว่าสิบหกปีที่อ้อยอิ่งในภูเขาเหิง เดินทางไปกลับระหว่างYan และZhao ดุจ
ระลอกตะกอนในน้ำ จับดาบและพิณ หีบสัมภาระ หมวกฟาง และเสื้อคลุม ข้าจะไปยังเขาเผิงไล่ และขับร้องบทเพลงแห่งเต๋า"

โคลงนี้เขียนในปี 1294 ตามหนังสือ Yunshui ji 雲水集
หรือ "บทรวบรวมแห่งเฆมและน้ำ"
ซึ่งเป็นหนังสือรวบรวมโคลงของท่านจางซันฟง

โคลงบทนี้ ทำให้เรารู้ว่า ท่านจางซันฟงเกิดในปี1247
ขณะที่ท่านอายุ48 ท่านยังไม่ได้การถ่ายทอดวิชาเต๋าที่แท้จริง

และจากหนังสือต่างๆเหล่านี้
Baoji jingtaiguan bi 寶雞金臺觀碑
หรือ “จารึกวัดเป่าจี้ เจียงไท่”
Xiangfu xianzhi 祥符縣志
หรือ "บันทึกประจำปี หมู่บ้าน เซียงฟู้"
Shenjing tongzhi 盛京通志
หรือ "เรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของเจิ้งเจียง"
Chenzhou congzhi 郴州總志
หรือ "เรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสร์ของเฉินโจว"
บ่งบอกว่า มีการพบเห็นท่านจางซันฟง
ไปจนถึง ช่วงสิ้นสุดของปี เทียนชุน 天順 (1457-1464).

กรอบเวลานี้ สอดคล้องกับ ช่วงเวลาใน
"จารึกทองแดงการมอบรางวัลแก่จางซันฟง"
ในเอกสาร ของราชวงศ์ หมิง

3.เอกสารบางฉบับ บ่งชี้ว่า ท่านจางซานฟง เป็นผู้รอบรู้ ทั้งพลังมายา พลังในการรักษาและได้ฝึกฝน kanyu (fengshui) มีความรู้ทั้งในทางอักษรศาสตร์ และขี่ม้ายิงธนู

Chanxuan xianjiaobian 禪玄顯教編
หรือ"รวมเอกสารศาสนาพุทธและลัทธิเต๋า"
Jionghua ji 瓊花集,
"บทรวบรวมดอกไม้หยก”
Gujin tushu jicheng 古今圖書集成
หรือ "บทรวมรวมหนังสือโบราณและปัจจุบันอันยิ่งใหญ่"
กล่าวว่า

ท่านจางซันฟง มีความสามารถที่จะทำให้ดอกไม้หยก
นับพันดอกปรากฏขึ้นจากความว่างเปล่า
และ มีความสามารถที่จะเหาะเหิรเดินอากาศอย่างรวดเร็ว

หนังสือ Qingxi xiabi 清溪暇筆
หรือ "ข้อเขียนอย่างไม่เป็นทางการแห่ง ธารน้ำใส"
Baishi huibian 稗史匯編
"บทรวบรวมเกร็ดประวัติ"
Shaanxi tongzhi 陜西通志
หรือ "เรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของซานสี่"
ได้กล่าวว่า ท่านจางซันฟง มีพลังในการรักษา(อาจะเป็นชี่กง)

หนังสือ Guizhou tongzhi 貴州通志
หรือ "เรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของกุ้ยโจว"
Pingxi weizhi 平溪衛志, or Pingxiwei Annuls
Yuping xianzhi 玉屏縣志, or Yuping County Annuls
Huguang congzhi 湖廣總志,
หรือ "เรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสร์ของหูกวง"
Xiangfu xianzhi 祥符縣志, or Xiangfu County Annuls ได้กล่าวว่า

ท่านจางซันฟงฝึกฝน kanyu 堪輿, or fengshui, and xiangshu 相術 และ สามารถทำนายอนาคตได้จากการอ่านสัญลักษณ์ที่ปรากฏ

ข้อเขียนที่ใกล้เคียงที่สุด ที่พอจะบ่งชี้ได้ว่า ท่านจางซันฟง
มีความเกี่ยวพันกับศิลปะการต่อสู้ก็คือ
Dayixian zhi 大邑縣志 หรือ Qiongzhou Annuls
ซึ่งได้กล่าวว่า
ท่านจางซานฟง มีความสามารถในการขี่ม้ายิงธนู

จากที่กล่าวมา พอจะสรุปได้ว่า ท่านจางซันฟงน่าจะเกิดในช่วงปี 1247 และเสียชีวิต ในช่วงปี 1464
ท่านจาง มีอายุยืนยาวมาก (218ปี)
ท่านจางมีความสามารถในพลังพิเศษเหนือธรรมชาติ
และ การเล่นแร่แปรธาตุอย่างสูง
ท่านจางได้รับการเลื่อมใสศรัทธาอย่างสูง
ไม่เพียงแต่ในหมู่คนทั่วไป แต่รวมไปถึง
ขุนนาง และเชื้อพระวงศ์ในราชวงศ์หมิง ในพลังเหนือธรรมชาติและ ความมีอายุยืนยาว
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่ใกล้เคียง
ที่สุด ที่บ่งบอกว่า ท่านจาง เกี่ยวข้องกับ ศิลปะการต่อสู้ก็คือ "ขี่ม้า และ ยิงธนู"

ไม่มีบันทึกในเอกสารทางประวัติศาสตร์ใดๆเลย
แม้แต่คำเดียว ที่บ่งบอกว่า ท่านจางซันฟง ฝึกมวย
ไม่ว่าจะมวยภายใน หรือมวยภายนอกก็ตาม



รูปภาพของท่านจากซันฟง จาก "ภาพสามผู้ยิ่งใหญ่"
ก็ไม่รู้ว่าเขียนขึ้น นานแค่ไหนหลังท่านจางเสียชีวิต
และภาพของท่านจางที่พบเห็นโดยทั่วไป มักจะเป็นภาพ
ท่านจาง ยืนไตร่ตรอง ครุ่นคิด ไม่มีภาพใดที่เขียนท่านตั้งท่ามวย


ประเด็นที่สอง ที่จะหักล้างเรื่องโกหกของทฤษฎีจางซานฟง ได้อย่างเด็ดขาดก็คือ


ประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับ หวังจงเย่ว์ 王宗嶽 และท่าน เจียงฝา 將發

มีการโต้แย้งและดูหมิ่นอย่างรุนแรง
ระหว่างทฤษฎีที่บอกว่า
ท่านหวังจงเย่ว์ เรียนมวยไปจากตระกูลเฉิน
กับ ทฤษฎีที่บอกว่า ท่านหวังจงเย่ว์ เป็นผู้นำมวยไทจี๋
มาถ่ายทอดให้ ตระกูลเฉิน

(ผู้แปล: ความจริงไม่มีหลักฐานน่าเชื่อทั้งสองทฤษฎีแหละครับ)

ทั้งตั้งโหว และซูเฉิงต่างก็ยอมรับในเรื่องที่ว่า หวัง เป็นบุคคลที่มาจากยุคสมัยเฉียนหลงฮ่องเต้ (1736-1795)
แห่งราชวงศ์ชิง และเป็นอาจารย์ผู้มีชื่อเสียง ในช่วงปี 1791-1795 ที่เมืองลั่วหยาง และไคเฟิง

การศึกษาของตั้งโหว นำมาสู่เรื่องของหลี่ลี่ปิงแห่งหมู่บ้านตั้ง อย่างไรก็ตาม คำถามสำคัญสองเรื่องยังคงอยู่นั่นก็คือ

1.ความเชื่อที่บอกว่า หวัง มีตัวตนอยู่ในช่วงปี 1736-1795

มีหลักฐานสนับสนุน จากเอกสารเพียงฉบับเดียวนั่นก็คือ
yinfu qiangpu xu 陰符槍譜序
หรือ “ บทนำคู่มือ ทวนหยินฝู่” ซึ่งตั้งโหวเป็นผู้นำเสนอ
ซึ่งไม่สามารถพิสูจน์เปรียบเทียบกับเอกสารอื่นได้
นอกจากนั้น ใน"บทนำ" ชิ้นนั้นก็ไม่ได้เขียนชื่อเต็มๆของหวัง บอกเพียงแซ่ รวมทั้งไม่ได้บอกภูมิลำเนาถิ่นกำเนิดของหวังอีกด้วย

(ผู้แปล: คือถ้าจะพิสูจน์ได้ว่า หวังคนไหน น่าจะ มีสมยาติดมาด้วยเช่น หวัง แห่งกวนตง อะไรแบบนี้)

เราจึงไม่สามารถบอกได้ว่า คนแช่หวัง
ผู้เขียนตำรา"ทฤษฎีมวยไทจี๋"
จะเป็นคนคนเดียวกับ หวังจงเย่ว์ เพราะว่า หวัง เป็นแซ่ที่ธรรมดามาก และพบได้ทั่วไปในเมืองจีน

2.ถ้าหวังเป็นครูมวย ที่มีชีวิตอยู่ในช่วงเวลานั้น
อย่างน้อยเขา ควรจะมีขั้น อย่างน้อย ซุยไช่秀才
(ผู้ผ่านขั้นที่หนึ่งในการสอบจองทางราชการ ระดับหมู่บ้าน)
หรือ กงเช็ง貢生 (ผู้ซึ่งเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากนักเรียนในการทดสอบระดับจังหวัด)
ซึ่งนั่น น่าจะมีบันทึกไว้ ในบันทึกราชการของท้องถิ่น
แต่จนกระทั่งปัจจุบัน ยังไม่มีการค้นพบอะไรเลย
ซึ่งเรื่องนี้หลายคนก็ทราบดี

อย่างไรก็ตาม มีการยอมรับอยู่เล็กน้อย เรื่องชื่อ "หวัง"
ซึ่งถูกอ้างถึงใน ตำราฉบับคลาสสิก ของตระกูหยาง และ ตระกูลอู่/หลี่
ตามที่ ท่านหลี่อี้อวี้ ได้เขียนเอาไว้ว่า
"หวังจงเย่ว์ ได้จับเอาแก่นแท้ และความลับ ของมวยไทจี๋เอาไว้ได้"

ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง แล้วทำไมถึง ไม่มี
"สายตระกูลหวัง" ในมวยไทจี๋กันล่ะ..?

ไม่มีข้อบ่งชี้ ที่เป็นที่ยอมรับใดๆเลย ว่ามวยไทจี๋ของหวังจงเย่ว์ได้ถูกถ่ายทอดต่อให้ ตระกูลเฉิน ไม่ว่าจะเป็นข้อเขียน หรือคำบอกเล่า

มากไปกว่านั้น กลุ่มผู้ถือหางข้าง ตระกูลหยาง อู่/เฮ่อ อู๋ ซุน ยังยืนยันว่า หวังจงเย่ว์ เป็นคนสมัยราชวงศ์หมิงเสียอีก
แต่อย่างไรก็ตามพวกเขาก็ไม่สามารถปกป้องพวกที่สนับสนุนข้อสันนิษฐานนั้นได้

จ้าวปิง 趙炳 (เป็นหลานทางแม่ ของพี่ชายท่านหยางเฉินฝู่ ท่านหยางเจ้าหยวน揚兆元 ) บอกว่าหวังจงเย่ว์ อยู่ในช่วงกลางของราชวงศ์ชิง ซึ่งเป็นมุมมองสนับสนุนตั้งโหว

เราไม่มีเอกสารหลักฐานที่ชัดแจ้ง ที่จะยืนยันเรื่องของเจียงฝา แต่กระนั้น ทางตระกูลหยาง อู่/เฮ่อ อู๋ ก็ยังพยายามเลื่อนขั้นให้เจียงฝามีความสำคัญมากขึ้น
ด้วยการนำไปเชื่อมโยงกับท่านจางซานฟง
หวังจงเย่ว์ ไปจนถึงตระกูลเฉิน
ทางตระกูลเฉินเองก็ยอมรับเจียงฝา แต่ไม่ใช่ในฐานะที่มีบทบาทสำคัญ

ตามที่เฉินซิน หลานชายของเฉินต่งซาน 陳東山 ได้เขียนเติมไว้นิดหนึ่ง ในหน้าสุดท้ายของภาคผนวก
ในหนังสือที่เป็นที่รู้จักกันดี
“ภาพประกอบ และคำอธิบาย มวยไทจี๋ตระกูลฉิน”

ซึ่งส่วนที่เติมลงไป ที่เป็นการพรรณนาคำโคลง และ
การสืบทอดจากอาจารย์แห่ง ซานสี่ ไปสู่เจียงฝานั้น
ตู้ หยูหวัง 杜育萬 หยวนหัว 元化 ได้ปลอมแปลง
และเติมลงไปเองหลังจากที่ เฉินซินตายไปแล้ว


ภาพท่านตู้หยวนหัว ท่านตู้นี่เอง
ที่ได้พบกับ ท่านอู๋ถูหนานพร้อมกับท่านเฉินซิน

ซึ่ง ตู้ก็ได้ถูกเรียกร้องให้ขอขมา และจ่ายเงิน
ชดใช้เป็นจำนวนร้อยเหรียญเงินสำหรับการกระทำของเขา ในปี1935

ในช่วงเวลานั้นเอง กลุ่มผู้สนับสนุนเจ้าเป่า
ได้สร้างความเคลื่อนไหวของเจียงฝา โดย
ย้ายแหล่งกำเนิดของมวยไทจี๋ จากหมู่บ้านเฉิน
ไปยังหมู่บ้านเจ้าเป่า ที่อยู่ใกล้กันแทน

เจิงหวูชิง 鄭悟清 และเจิงหลุยลูกชาย 鄭瑞 บอกว่า
ในรัชสมัย ว่านลี่ 萬歷 แห่งราชวงศ์หมิง (1576-1619)
หวังจงเย่ว์ได้เดินทางมายังหมู่บ้านเจ้าเป่า รับเจียงฝาเป็นศิษย์ เพราะหวังจงเหย่ว์อายุมากแล้ว และมีแต่ลูกสาว จึงได้ถ่ายทอด มวยไทจี๋ให้แก่ท่านเจียงฝา ด้วยเหตุนี้ เจ้าเป่าไทจี๋ฉวน จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ต้ากู่หนิงฉวน 大姑娘拳 “มวยไทจี๋สาวใหญ่”

ปล. ถ้าผมแปลว่า มวยไทจี๋หญิงใหญ่ จะมีใครด่าให้ไปฝึก
ที่บ้านทรายทองไหมเนี่ย 5 5 5 5


เรื่องเล่านี้เองทำให้เกิดเจียงฝาเวอร์ชั่นหลากหลาย
ด้วยการนำไปใส่ทั้งในศตวรรษที่ 17 18 19
ทั้งแบบที่เป็นอาจารย์ของ ท่านเฉินหวังถิง (ca. 1600-1680)
เวอร์ชั่นที่เป็นอาจารย์ของท่านเฉินฉางซิง 陳長興 (1771-1853)
และเวอร์ชั่นที่เป็นอาจารย์ท่านเฉินชิงผิง 陳青萍 (1795-1868).

ถ้าเป็นไปตามตำราศิลปะการต่อสู้ฉบับใหม่ของ
ตระกูล อู่/หลี่ว่าแล้ว
เราจะสามารถอธิบายรูปภาพชายถือดาบง้าว
ที่ยืนอยู่เบื้องหลังท่านเฉินหวังถิง
ที่สืบทอดกันมาในตระกูลเฉิน
และ ถูกค้นพบโดยตั้งโหวว่าอย่างไร..?

เราจะสามารถอธิบาย ช่วงว่างระหว่างท่านจางซันฟง
ไปถึงเจียงฝาได้ จากคำบอกเล่าของ ตระกูลอู่/หลี่
และยอมรับว่าเป็นประวัติศาสตร์ที่ถูกต้องอย่างนั้นหรือ..?



รูปเขียนนี้ถูกค้นพบโดยตั้งโหว บนลานฝึกของตระกูลเฉินในปี1930 ตระกูลเฉินวินิจฉัยว่า คนด้านหน้า เป็นท่านเฉินหวังถิง และคนด้านหลังที่ถือง้าวคือท่านเจียงฝา รูปภาพนี้สอดคล้องกับ คำบอกเล่าในตระกูลเฉิน ที่บอกว่า เจียงฝาเป็นเพื่อน และคนรับใช้ของท่านเฉินหวังถิง


ข้อสรุป/และคำถาม เกี่ยวกับเรื่องการหลอกลวงในทฤษฎีเรื่องจางซันฟง

เป็นความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ท่านหวงจงสี่ นักประวัติศาสตร์ผู้ปราดเปรื่อง นั้นเป็นผู้นำสำคัญในการต่อต้านแมนจู ในช่วงศตวรรษที่17

ดังนั้นคำบรรยายของหวง ใน
“คำจารึกหลุมศพสำหรับหวังเจิ้นหนาน”
จึงเป็นไปได้ที่จะมีความหมายในทางที่เพื่อจะสื่อว่า

: จางซันฟง(นักพรตเต๋าช่าวจีนพื้นถิ่น) เป็นเครื่องหมายของ จิตวิญญาณของคนจีน nei 內 “ภายใน,” jing 靜 หรือ“ความสงบนิ่ง”
เพราะว่าเส้าหลิน 少林 (ศิลปะการต่อสู้ที่ถูกถ่ายทอดมาจากพระชาวต่างชาติตามตำนาน)
เป็นตัวแทนของอิทธิพลของแมนจู เว่ย 外 หรือ “ภายนอก” and ตง 動 “ความเคลื่อนไหว”

เป็นการตั้งใจจะบอกเป็นนัยว่า “ภายใน” และ “ความสงบนิ่ง” จะพิชิตชัย “ภายนอก” และ“ความเคลื่อนไว”
จีนจะพิชิตชัยแมนจู

อย่างที่กล่าวกันว่า มันเป็นการยากที่จะอ่านอะไรก็ตาม
ที่แฝงไว้ด้วยทัศนคติทางการเมือง

อู่อวี๋เซียง (1812-1880) มีชีวิตอยู่ในช่วงเวลา
ที่ประเทศจีน กำลังถูกรุกรานโดยชาวต่างชาติอีกครั้ง
ซึ่งท่านอาจได้รับผลสะท้อนมาจากสมัยของ หวงจงสี่
ชาวจีนตกอยู่ระหว่าง ราชวงศ์ที่ไม่เป็นที่ยอมรับ
และการปรากฏตัว ขึ้นมาคุกคามของชาวตะวันตก

อู่อวี้เซียงเลยรื้อฟื้นจิตวิญญาณของชาวจีนขึ้นมาใหม่
ด้วยการยกท่านจางซันฟงขึ้นมา ท่านอาจจะทำตามอย่าง
ท่านหวงจงสี่หรือไม่ก็ได้ แต่การที่ยืนยันว่า ท่านจางซานฟงเป็นผู้ให้กำเนิดไทจี๋ฉวน นั้นแสดงให้เห็นถึงแนวความคิดที่เด่นชัด

"นำศาสนามาเพิ่มความสำคัญของการสืบทอดวิชา หรือ
สร้างความรักชาติให้มากขึ้น ด้วยวัฒนธรรมจีน"

บทสรุปของคำถามนี้ อาจจะเป็น
: การที่ ไทจี๋ ตระกูล หยาง,ตระกูลอู่(เฮ่อ), อู๋,ซุน,และเจ้าเป่า ยอมรับ ว่ามวยไทจี๋สืบทอดมาจาก จางซันฟง - หวังจงเย่ว์- เจียงฝาอย่างไม่ขาดตอน เป็นเหมือหน้ากากที่ปิดบังเอกลักษณ์ของตัวเองหรือ พยายามซ่อนเร้นเรื่องที่ว่า
ได้รับการสั่งสอนมาจาก ท่านเฉินฉางซิน และเฉินชิงผิง เพื่อที่จะให้สาธารณะชนยอมรับ สายตระกูลของตัวเอง
**************
หมายเหตุผู้แปล

บทความนี้จบค่อนข้างดุเดือดรุนแรง
เป็นความจริง ที่เรื่องท่านจางซานฟงเลื่อนลอย
แต่ทฤษฎีที่ว่า ท่านเฉินหวังถิงคิดไทจี๋นั้น
ก็มีข้อโต้แย้งมากเช่นกัน
หลายๆเรื่องในบทความนี้เป็นการคิดเอาเองเช่น ในบทสรุป
ความจริงแล้วไม่มีสายตระกูลใดปฏิเสธ ว่าเรียนมาจากตระกูลเฉิน
เพียงแต่ปัญหาอยู่ตรงที่เรื่อง ผู้ให้กำเนิดไทจี๋
ที่ต่างคน ต่างเห็นไม่ตรงกัน

อีกประการหนึ่งนั้น เหมือนความพยายามโน้มน้าวใจทั่วๆไปที่ต้องพยายามคัดเรื่องต่างๆ ที่เข้ากับความเห็นของตน มาสนับสนุนโดยละเลย ข้อเท็จจริงและหลักฐานอื่นๆ ที่สำคัญซึ่งผมจะค่อยๆลำดับ เอาความเห็นของอีกฝ่ายมา
เรียบเรียงให้อ่านในภายหลัง

ต่อจากนี้ คงจะอัพเดท ทฤษฎีที่ว่า
มวยไทจี๋เกิดจากการคิดค้น ของคนในตระกูลเฉินก่อน
แล้วจึงค่อยอัพเดท เรื่องข้อโต้แย้งทฤษฎีตระกูลเฉินต่อไปครับ

******************






 

Create Date : 29 ตุลาคม 2549
9 comments
Last Update : 25 ธันวาคม 2549 1:34:48 น.
Counter : 5418 Pageviews.

 

บล็อกสวยดีครับ

 

โดย: สิ่งมีชีวิตที่กินหญ้าเป็นอาหารหลัก IP: 124.121.30.19 29 ตุลาคม 2549 18:14:33 น.  

 

มันสำเร็จรูปน่ะครับ อุอุอุ

 

โดย: bbking IP: 222.123.65.218 29 ตุลาคม 2549 20:52:06 น.  

 

So Cool !!!

อ่านแล้วลึกลับซ่อนเงื่อนเพื่อทรยสชวนติตามซะยิ่งกว่า เกวเล้ง ซะอีกครับ

 

โดย: BaGuaZhang NHB IP: 125.24.0.12 30 ตุลาคม 2549 12:14:19 น.  

 

ส่งเรื่องมาให้ตามสัญญาครับ

//www.gushare.com/File/index.php?file=b9558c7f98a49d11fe939f270833f47e

 

โดย: แมวสามขา IP: 58.8.3.185 3 พฤศจิกายน 2549 2:04:11 น.  

 

เอาไปอีกเรื่อง

//www.gushare.com/File/index.php?file=d79a2e66dc8af5a0cb1e487a075d84e1

อันแรกเป็นคำนำของท่าน Douglas Wile จากหนังสือ Yang Family Secret Transmissions

ส่วนชุดหลังเป็นบทความว่าด้วยจางซานฟง หวังจงเย่ว์ เจียงฟา จากหนังสือ Lost Taichi classics from the late Ching dynasty ครับ

แล้วจะรออ่านภาคแปลไทยนะครับ

 

โดย: แมวสามขา IP: 58.8.3.185 3 พฤศจิกายน 2549 2:39:10 น.  

 

อ้อ เล่มหลังก็ของท่าน Douglas Wile เหมือนกันครับ

 

โดย: แมวสามขา IP: 58.8.3.185 3 พฤศจิกายน 2549 2:41:06 น.  

 

ขอบคุณครับ
กำลังคิดอยู่ว่าจะแปลแบบไหนดี
แปลล้วนๆ
หรือ เรียบเรียงใหม่
ให้เนื้อหาต่อเนื่องกับบทความเก่า

 

โดย: bbking IP: 222.123.80.205 3 พฤศจิกายน 2549 18:12:22 น.  

 

ชื่นชมในความพยายามค่ะ ได้ความรู้ดีมากเลย

 

โดย: จอมยุทธหญิง (magarita30 ) 5 มกราคม 2550 10:58:34 น.  

 

ผมกำลังฝึกกังฟูเเละมวยไท้เก็กอยู่คับ

 

โดย: เหมิยเฟย IP: 203.114.117.62 13 กุมภาพันธ์ 2550 18:42:24 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Ramin&Indra
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




สำหรับท่าน ที่ไม่ยังไม่รู้จักมวยไท่จี๋นะครับ

มวยไทจี๋ หรือ ไทจี๋ฉวน
มาจากคำว่า ฉวน แปลว่า มวย + กับ ไทจี๋
เป็นวิชา การต่อสู้ชนิดเดียวกับ ที่เราเรียกแบบแต๊จิ๊วว่ามวยไทเก๊ก
หรือ ที่กลุ่มกายบริหารเพื่อสุขภาพ
สมัยใหม่ เอาไปดัดแปลงแล้วเรียก ว่า ไทชิ
รวมทั้งศัพท์ วัยรุ่นที่เรียกว่า "ทิชชี่"
แถมยังมีแบบผสมโยคะ เอาไปเรียกว่า "โยชิ"
หรือ "ไทคะ"อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม วิธีฝึกแบบสมัยใหม่นั้น
บางครั้ง เป็นเพียงการยืมชื่อมาใช้
เพื่อโฆษณาสรรพคุณ
โดยไม่ได้มีเนื้อหาสาระ เกี่ยวข้องกับมวยไทจี๋เลย
หรือไม่ก็ เป็นการใช้คุณประโยชน์ของมวย
แค่เพียงกระผีกริ้นของมันเท่านั้น

มวยไทจี๋มีคุณประโยชน์มากมายมหาศาล
ในหลากหลายด้าน หากคุณได้ศึกษาจากผู้รู้
และ ฝึกฝนอย่างจริงจัง เป็นวิชา ที่คุณสามารถ
ใช้เป็นวิชาประจำตัว เรียนรู้จากมันได้ไม่มีที่สิ้นสุดจนตลอดชีวิต

บล๊อกนี้ผมตั้งใจจะ รวบรวม ประวัติ และ
ท่ามวยไทจี๋ของหลากแบบ หลายสายอาจารย์
ของมวยไทจี๋ตระกูลต่างๆเอาไว้ เผื่อผู้สนใจจะได้สามารถเปรียบเทียบได้

จากประวัติศาสตร์อันยาวนาน
ปัจจุบัน มวยไทจี๋แบ่งออกเป็นหลายแบบ
หลากตระกูล ที่สำคัญๆก็คือ
มวยไทจี๋ตระกูลเฉิน ตระกูลหยาง
ตระกูลอู๋ ตระกูลอู่ ตระกูลซุน
สายหมู่บ้านเจ้าเป่า สายบู๊ตึ๊ง

แต่ละสาย ยังแตกแขนงออกไปอีกมากมาย
รวมทั้ง สายแปลกๆ สาย ย่อยต่างๆอีก
ผมจะพยายามรวบรวมมาให้ดูกันครับ

ยังทำไม่เสร็จนะครับ มีหลายหัวข้อยังว่างอยู่
ค่อยๆทำไปเรื่อยแล้วกัน

ตอนนี้ หัวข้อที่มีเนื้อหาอยู่ คือ
** กำเนิดมวยไทเก๊ก
** มวยไทเก๊กตระกูลหยาง
** คำสอนปรมาจารย์
** ตำนานยอดฝีมือครับ
** ประวัติมวยไท่เก๊ก ทั้ง7สาย
** มวยไท่เก๊กตระกูลเฉิน

แต่ทั้งหมดก็ยังไม่ครบถ้วน
ยังคงอัพเดทเรื่อยๆครับ


บทความส่วนใหญ่ที่ผมเป็นคนแปล
จะมีข้อผิดพลาดในเรื่องการออกเสียง
ชื่อคน ชื่อสถานที่ภาษาจีน เพราะผมไม่รู้
ภาษาจีน และต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษเสีย
ส่วนใหญ่ ต้องขออภัยไว้ล่วงหน้าครับ

อัพเดท สัปดาห์ละครั้งครับ
[Add Ramin&Indra's blog to your web]