" การเป็นผู้ให้ ย่อมสุขใจ กว่าการเป็นผู้รับ "
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
6 พฤศจิกายน 2553
 
All Blogs
 
ทำไม แผ่นดินไหวต้องวัดค่าริกเตอร์

ปัจจุบันเราได้ยินข่าวเกี่ยวกับการการเกิดแผ่นดินไหวบ่อยๆ ที่ร้ายแรงและเกิดขึ้นล่าสุดก็เหมือนจะเป็นการเกิดแผ่นดินไหวเมื่อต้นปี ค.ศ.2010 ที่ผ่านมา ส่งผลให้อาคารบ้านเรือน สถานที่ราชการเสียหายอย่างมาก มีผู้เสียจากเหตุการณ์ครั้งนี้เกือบ 3 แสนคน และมีผู้ที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวมากกว่า 3 ล้านคน โดยเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้ รุนแรงถึง 7 ริกเตอร์ แล้วเราเคยสงสัยกันบ้างไหมว่า ? ความรุนแรงที่วัดระดับเป็นริกเตอร์นี้คืออะไร มีเกณฑ์การวัดความรุนแรงอย่างไร ระดับไหนถือว่ารุนแรงที่สุด วันนี้เรามาทำความรู้จักกับคำว่า “ริกเตอร์” กันดีกว่า...

ริกเตอร์ (Richter magnitude scale) คือ มาตราที่ใช้กำหนดความรุนแรงของแผ่นดินไหว ซึ่งมาตราริคเตอร์ไม่มีขีดจำกัดว่ามีค่าสูงสุดเท่าใด แต่โดยทั่วไปกำหนดไว้ในช่วง 0-9 มาตรานี้ถูกนำเสนอให้ใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ.1935 โดย 2 นักวิทยาแผ่นดินไหว คือ เบโน กูเทนเบิร์ก และชาลส์ ฟรานซิส ริกเตอร์

เดิมนั้นมีการกำหนดมาตรานี้เพื่อใช้วัดขนาดของแผ่นดินไหวในท้องถิ่นทางใต้ของแคลิฟอร์เนียในสหรัฐอเมริกา ที่บันทึกได้ด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องวัดความไหวสะเทือน (seismograph) แผ่นดินไหวที่มีขนาดน้อยที่สุดในเวลานั้นถือเป็นค่าใกล้เคียงศูนย์ มาตราดังกล่าวแบ่งเป็นระดับ โดย ทุกๆ 1 ริกเตอร์ที่เพิ่มขึ้น แสดงว่าแผ่นดินไหวแรงขึ้น 10 เท่า

ภายหลังเมื่อเครื่องวัดความไหวสะเทือนมีความละเอียดมากขึ้น สามารถวัดขนาดของแผ่นดินไหวได้ละเอียด ทั้งในระดับที่ต่ำกว่า 0 (สำหรับค่าที่ได้น้อยกว่า 0 ถือเป็นค่าติดลบ) และที่สูงกว่า 9



วิธีป้องกันเมื่อเกิดแผ่นดินไหว


ตั้งสติให้ได้ อย่าตื่นตกใจ

ถ้าอยู่ในบ้าน ควรไปยืนอยู่ในโครงสร้างที่แข็งแรงที่สุดของบ้าน

ถ้าอยู่นอกบ้าน ก็ควรห่างไกลจากเสาไฟฟ้า หรือสิ่งห้อยแขวนต่างๆ ที่อาจตกลงมาใส่เราได้

ห้าม!! ใช้เทียนไข ไม้ขีดไฟ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลวไฟ เพราะบริเวณนั้นอาจมีแก๊สรั่วอยู่ และเมื่อมาเจอกับเปลวไฟที่จุดไว้ก็จะทำให้เกิดไฟไหม้ได้

ถ้าขับรถอยู่แล้วเกิดแผ่นดินไหว ก็ขอให้หยุดรถ และอยู่ในรถจนกว่าความสั่นสะเทือนจะหยุดลง

ห้าม!! ใช้ลิฟต์ในขณะเกิดแผ่นดินไหวเด็ดขาด

ถ้าอยู่ใกล้ชายทะเล ควรที่จะรีบออกห่างจากฝั่งทันที เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่งได้






ที่มาข้อมูล : //www.dek-d.com
//www.wikipedia.com
//www.inmagine.com

//variety.teenee.com/foodforbrain/30537.html


Create Date : 06 พฤศจิกายน 2553
Last Update : 6 พฤศจิกายน 2553 14:30:55 น. 0 comments
Counter : 2427 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

อลิซ ในดินแดนไม่มหัศจรรย์
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




การเป็นผู้ให้ ย่อมสุขใจกว่าการเป็นผู้รับ : )
Friends' blogs
[Add อลิซ ในดินแดนไม่มหัศจรรย์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.