Group Blog
 
<<
เมษายน 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
25 เมษายน 2554
 
All Blogs
 
ฟ้อนก๋ายลาย

25 เมษายน 2554 : ฟ้อนก๋ายลาย


ตัดลอกข้อความมาจาก
//www.chiangmai-thailand.net/fon_lanna/kaylay.html

ฟ้อนเมืองก๋ายลายหรือฟ้อนก๋ายลายเป็นฟ้อนที่ชมรมพื้นบ้านล้านนา
สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ไปค้นพบที่อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
เป็นการฟ้อนแบบโบราณนิยมใช้ฟ้อนในประเพณีแห่ครัวทาน
ผู้แสดงจะฟ้อนประกอบวงกลองมองเซิง

ฟ้อนลายได้มีการค้นพบโดย นายสุชาติ กันชัย และ นายสนั่น ธรรมธิ
อดีตสมาชิกของชมรมพื้นบ้านล้านนาสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปลายปี
พ.ศ. ๒๕๓๑ ที่ บ้านแสนตอง ตำบลสะเมิงใต้ จังหวัดเชียงใหม่ ฟ้อนเมืองลายนี้
ไม่ได้มีหลักฐานอ้างอิงแน่ชัดว่าเป็นฟ้อนของกลุ่มชาวไทลื้อ
บ้านแสนตองที่มีมาแต่เดิมหรือไมเท่าที่ทราบกันในบรรดาช่างฟ้อนที่เหลือในปัจจุบัน
จึงมีการสันนิฐานกันว่าคงมีมานานกว่า ๑๒๐ ปีมาแล้ว ยุคที่จำความกันได้ก็คือ ยุคแม่หม่อนดี
(ไม่ทราบนามสกุล) ซึ่งได้สอนฟ้อนชนิดนี้ให้กับลูกหลานชาวบ้านแสนตองในสมัยนั้น
(ปัจจุบันนี้ผู้ที่ฟ้อนเป็นเหลือไม่ถึง ๑๐ คน) คาดว่าฟ้อนดังกล่าวคงมีมาก่อนสมัยแม่หม่อนดี
และคงเป็นฟ้อนที่ได้รับการยอมรับกันในสังคมมาก่อนแล้ว ที่สำคัญก็คือ แม่หม่อนดีและเพื่อนๆ
ช่างฟ้อนในยุคนั้นได้เคยไปฟ้อนต้อนรับการเสด็จเลียบมณฑลพายัพของ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ มาแล้ว

ซึ่งรุ่นแรก ๆ ที่จำลายฟ้อนได้คือ แม่อุ้ยยอด เวชสุคำ และรุ่นต่อมาได้แก่

๑. แม่ต๋า ปัญญารัตน์
๒. แม่เตรียมตา วงศ์วาน
๓. แม่ประมวล เรือนคำ (แม่งา)
๔. แม่อร เรือนคำ
๕. แม่ชื่น กาวิละ


จากรุ่นหม่อนมาจนถึงรุ่นหลานในปัจจุบันนี้ชาวบ้านเหล่าแสนตองยังคงสืบสาน
ฮีตฮอยที่เป็นแก่นแท้ของตนเอง เป็นที่น่าภูมิใจที่ปัจจุบันนี้ยังมีลูกหลานที่ยังสืบทอดตำนานฟ้อนก๋ายลาย
ที่เป็นก๋ายลายแท้ ไม่ได้แต่งเติมให้ออกมาสวยตามยุคตามสมัย
ในช่วงเวลาที่วัดแสนตองมีงานตอนเย็นๆจะมีเด็กมาซ้อมฟ้อนก๋ายลาย
มีเสียงกลองจากเด็กผู้ชายที่มาเล่นที่วัด มีชาวบ้านที่อยู่ใกล้ๆออกมาดู
มาคุยกันตามประสาของคนที่ยึดเอาวัดเป็นศูนย์กลาง
ภาพเหล่านี้เรามักไม่ค่อยได้เห็นกันนักในสังคมเมือง แต่ที่นี่ ที่บ้านเหล่าแสนตอง
ยังคงรักษาไว้ไม่เสื่อมคลาย สมกับคำพูดที่ว่า " ฮ่อมหนูก่หนูไต่ ฮ่อมไหน่ก๋ไหน่เตียว "


การฟ้อนเมืองลาย ในสมัยก่อนไม่ได้มีการกำหนดไว้ตายตัวว่าต้องฟ้อนท่าไหนก่อน
หรือท่าไหนหลัง ผู้ฟ้อนแต่ละคนจะฟ้อนท่าไหนก่อนก็ได้
แต่เมื่อจะแลกลาย (ใส่ลีลาลูกเล่น) กับผู้ฟ้อนอื่น ก็อาจเปลี่ยนท่าฟ้อนให้เหมือนๆ กัน
แต่ก็ไม่ได้เคล่งคัดมากนัก ท่าฟ้อนมีดังนี้

1. ไหว้
2. บิดบัวบาน
3. เสือลากหาง
4. ลากลง
5. แทงบ่วง
6. กาตากปีก
7. ใต้ศอก
8. เท้าแอว
9. ยกเข่า
10. ยกแอว
11. เต็กลาย(แลกลาย)
12. เล่นศอก
13. เต็กลายลุกยืน
14. บัวบานกว้าง ส่วนท่าฟ้อนที่ชมรมพื้นบ้านล้านนา

สโมสรสักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ไปสัมภาษณ์จากบุคลากรในท้องถิ่น พบว่ามีทั้งหมด
๒๐ ท่า ท่าฟ้อนบางท่าก็มีชื่อเรียกอยู่ มีหลายท่าที่ศิลปินท้องถิ่นลืมชือ
จึงเรียกตามลักษณะท่าฟ้อน
ซึ่งทางชมรมพื้นบ้านล้านนาได้นำมาตั้งชื่อขึ้นใหม่ให้ใกล้เคียงกับท่าฟ้อน
เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจและฝึกซ้อม โดยมีท่าต่าง ๆ ดังนี้


1. ไหว้
2. บิดบัวบาน
3. เสือลากหาง
4. แทงบ่วง
5. กาตากปีก
6. ใต้ศอก
7. ไล่ศอก
8. จีบข้างเอกหมุน
9. บัวบานคว่ำหงาย
10. ยกเอวสูง
11. แลกลาย
12. ใต้ศอก (นั่ง-ยืน)
13. แลกลาย
14. ยกเอวต่ำ
15. บัวบานคว่ำหงาย
16. ม้วนไหม (เข่า)
17. ใต้ศอกนั่ง
18. ตวัดเกล้า
19. ใต้ศอกลุก
20. ไหว้

การแต่งกาย เนื่องจากฟ้อนเมืองกลายลาย เป็นฟ้อนที่สันนิฐานกันว่ากำเนิดมาจากการฟ้อน
อันเกิดมาจากความปีติยินดีของชาวบ้านในโอกาสงานบุญ เช่น ฟ้อนนำขบวนแห่ครัวทาน
เข้าวัดในขณะที่แห่ครัวทานผู้ที่ชอบฟ้อนก็จะฟ้อนเต็มที่ ส่วนคนอื่น ๆ
ที่ฟ้อนเมืองได้ก็จะถูกขอร้องให้ฟ้อนร่มขบวนด้วย
ดังนั้นการแต่งกายแบบชาวบ้านสมัยก่อนจะไม่มีรูปแบบ สวมเสือมาอย่างไรก็ฟ้อนชุดนั้นเลย


ดนตรีประกอบการฟ้อน ฟ้อนเมืองกลายลายในอดีตนั้นใช้กลองสิ้งมหม้องแห่ประโคมประกอบการฟ้อนนำขบวนครัวทาน
บางทีเรียก "แห่มองซิงมอง"บางครั้งก็ใช้กลองกลองตึ่งนง (กลองแอว)
ปัจจุบันใช้กลองมองเซิงแห่ประโคมการฟ้อน ซึ่งเริ่มมาประมาณ ๔๐ ปีมานี้เอง
ปัจจุบันฟ้อนเมืองกลายลายได้เป็นที่ยอมรับและแพร่หลายให้อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
ซึ่งถือเป็นการเผยแพร่ในระดับท้องถิ่นเท่านั้น ยังไม่เป็นที่แพร่หลายกันทั่วไป



มีโอกาสไปเจอะเจอ สาวงามเทพีสงกรานต์ 2554 น้องชิง (นางสาวสุรีย์วรรณ ปั้นทอง ) นักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ มช. ชั้นปีที่ 2
มาร่วมงานดำหัวผู้บริหาร และอจ.ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่คณะแพทย์ และ ที่ มช. โดยทั้ง 2 งาน น้องชิงและเพื่อนๆ ได้ร่วมกันแสดงฟ้อนก๋ายลายให้ชมกันด้วย

มาชมกันชุดแรกกันก่อน กับงานที่คณะแพทย์


จากข้อมูลข้างต้นที่ชมรมพื้นบ้านล้านนา สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้อนุรักษ์การฟ้อนก๋ายลาย และก็ได้ถ่ายทอดมายังสโมสรนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ น้องๆ นักศึกษาชุดนี้ก็ได้รับการถ่ายทอดการฟ้อนรำก๋ายลายชุดนี้ และนำมาแสดงให้ชมกันอย่างสวยงามทีเดียว























































มาปิดท้ายไว้กับงานที่ฝั่งคณะแพทยศาสตร์ มช. ไว้กับภาพน้องชิง (เทพีสงกรานต์ 2554) ไว้ที่ภาพนี้ก่อนครับ เดี๋ยวว่างๆ วันนี้มาต่อกับที่งานของมหาวิทยาลัย มช. กันต่อครับ




***********


มาต่อกันในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน
กำหนดการช่วงบ่ายมีการไปร่วมพิธีดำหัวเทศกาลปี๋ใหม่เมืองกันที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มีโอกาสตามไปด้วย และก็ได้เจอะเจอน้องๆ นักศึกษาคณะแพทย์ชุดเดิม ได้มาร่วมงานและได้มาฟ้อนก๋ายลายให้กับทีมผู้บริหารของ มช. ได้ชมกันด้วย

































จบปิดท้ายกับการฟ้อนก๋ายลายไว้ที่ภาพนี้ละครับ
(จำไม่ได้เหมือนกันว่าทำไมจบกันห้วนๆ แบบนี้ ภาพที่ทำไว้มาจบกันที่ภาพนี้พอดี เดี๋ยวไปดูภาพกันอีกทีครับ)



ขอบคุณ น้องชิง และน้องๆ นักศึกษาแพทย์ ทุกๆ ท่านที่เป็นแบบถ่ายภาพการแสดงฟ้อนก๋ายลาย ใน blog นี้ด้วยครับ

ขอบคุณทุกๆ ท่านที่แวะมาชมภาพถ่ายกันที่ blog ด้วยครับ


Create Date : 25 เมษายน 2554
Last Update : 25 เมษายน 2554 17:16:33 น. 12 comments
Counter : 4472 Pageviews.

 



ฟ้อนก๋ายลาย .. แค่ชื่อก็แปลกแล้วค่ะ
ลีลาดูอ่อนหวานมากๆๆๆเลย






โดย: d__d (มัชชาร ) วันที่: 25 เมษายน 2554 เวลา:16:06:38 น.  

 
งามแท้ๆ
ขอบคุณครับ


โดย: nordcapp (nordcapp ) วันที่: 25 เมษายน 2554 เวลา:16:09:13 น.  

 

อ่อนช้อย เชียวค่ะ
นิสอยากรำรำเป็นบ้างค่ะ
สวยดี
...
มีความสุขมากมากนะคะ


โดย: Nissan_n วันที่: 25 เมษายน 2554 เวลา:16:56:23 น.  

 
ขอบคุณครับที่แวะไปเยี่ยม
ครับ บางครั้งก็ได้สอบถามเรื่องคาใจสมัยวัยเรียน 55555
สวัสดียามบ่ายเช่นกันครับ


โดย: nordcapp (nordcapp ) วันที่: 25 เมษายน 2554 เวลา:17:00:43 น.  

 

หวัดดีค่ะ..อจ.
แวะมาดูฟ้อนจาวเหนืองามๆ

แล้วแวะมาแปะประกาศคณะปฏิวัติ
เอ๊ย!!!ประกาศกิจกรรมเพื่อนบล็อคด้วยค่ะ





ได้หยิบมา 5 ชื่อ เป็นดังนี้ค่ะ

1."ขยับตัวโน้ต มากระโดดบนแผ่นฟิล์ม"
(โดยคุณ MeMom) เพราะเก๋ดี

2."เพลงที่ใช่ กับหนังที่ชอบ"
(โดยคุณ i'm not superman) เพราะเก๋และsimple

3."เพลงดังหนังเด่นประเด็นเด็ด"
(โดยคุณหอมกร) ตรงชัด

4."หนัง+เพลง บรรเลงปากกา"
(โดย คุณ"ณ มน") เพราะตรง conceptและเข้าใจในทันที

5."ค้นหนังคว้าเพลง"
(โดยคุณ tuk-tuk@korat) เพราะแอบลึกเล็กๆและชัด




แถมด้วยคะแนนยอดนิยมพิเศษ 2 ท่านได้แก่
Popular 1.“เพลงไม่ดัง...หนังก็เงียบ”
(โดยคุณPanwat)
เพราะฮามากมาย

terbahak bahak



Popular2. "บันเทิงเริงฤดี"
(โดยคุณอุ้มสี)
ในกรณีที่จะเป็นคอลัมน์ของตัวเองในโอกาสต่อไป
(ใครจะรู้???)เราอาจจะได้เขียน
ในหนังสือเล่มใดเล่มหนึ่ง คริ คริ

heart eye glass



โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 25 เมษายน 2554 เวลา:17:33:49 น.  

 
น้องๆนางรำหน้าตาน่ารัก
และดูมีความสุขกับการรำมากเลยนะครับพี่เบิร์ท

ปล. ภาพทริปเชียงรายผมใช้ไอโฟนของมาดามถ่ายภาพมาเยอะเหมือนกันครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 25 เมษายน 2554 เวลา:18:03:25 น.  

 
สวยงามจริงค่ะ


โดย: ดา ดา วันที่: 25 เมษายน 2554 เวลา:18:34:57 น.  

 
สวัสดีครับคุณเบิร์ท
ผมรู้สึกประทับใจทุกครั้งที่ได้ชมฟ้อน(ทุกประเภท) ของล้านนาครับ
อ่อนช้อยชวนหลงใหลครับ


โดย: panwat วันที่: 25 เมษายน 2554 เวลา:21:48:23 น.  

 
ชุดสีหวานแหววดีจังครับ


โดย: Nguhn IP: 125.25.133.193 วันที่: 25 เมษายน 2554 เวลา:23:19:30 น.  

 

ภาพสวยอยากเห็นฟ้อนกะตาจังค่ะคุณเบิร์ด



โดย: อุ้มสี วันที่: 25 เมษายน 2554 เวลา:23:26:42 น.  

 
สวย น่ารักมากค่ะ ขอบคุณที่นำมาให้ชม ชื่อฟ้อนแปลกดีไม่เคยได้ยิน แต่ฟังเพราะดีค่ะ


โดย: น้อยหน่า IP: 61.19.199.142 วันที่: 12 พฤษภาคม 2554 เวลา:15:50:58 น.  

 
สวยดีค่ะ ขอบคุณที่นำมาให้ชม


โดย: ธารา IP: 61.19.199.142 วันที่: 13 มิถุนายน 2554 เวลา:14:45:07 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ถปรร
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 39 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add ถปรร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.