Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2565
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728 
 
19 กุมภาพันธ์ 2565
 
All Blogs
 
แอ่ววัดแอ่ววา วัดสวนดอก พระอารามหลวง เชียงใหม่

แอ่ววัดแอ่ววา วัดสวนดอก พระอารามหลวง เชียงใหม่


blog นี้พามาแอ่วชมวัดชมวา วัดสวนดอก พระอารามหลวง กันครับ

สำหรับวัดสวนดอก พระอารามหลวงนี้ ตั้งอยู่บนถนนสุเทพ อยู่ในเขตเวียงสวนดอก
เวียงสวนดอก เป็นเขตเมืองเก่าทางตะวันตกของเวียงเชียงใหม่ มีวัดสวนดอกเป็นศูนย์กลาง

ในช่วงหนึ่งมีการรณรงค์ฟื้นฟูเขตเวียงสวนดอก เคยได้ไปเดินตามทีมที่บูรณะอยู่บ้างเหมือนกัน พอได้เห็นภาพในอดีต ที่เวียงสวนดอกมีกำแพงเวียง และมีคูน้ำล้อมรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยงจัตุรัส ในปัจจุบันยังสามารถพบเห็นแนวกำแพงเวียงสวนดอกได้บางส่วน

ไฟ้ฟังบรรยายมาแบบพอจดจำได้นิดหน่อย วัดสวนดอก ก็มีสวนดอกไม้สวย ๆ มีต้นไม้พะยอมปลูกเรียงรายอยู่ภายในวัด ซึ่งต้นพะยอมนี้ก็ยังเห็นได้ในปัจจุบันที่มีเรียงรายไปจนถึงตลาดพะยอม (กาดพะยอม)



ภายในวิหารหลวงวัดสวนดอก มีพระพุทธรูปที่สวยงาม งดงามมาก ๆ หลายพระพุทธรูป








องค์เล็กสุดเป็นพระเจ้าเก้าตื้อ (องค์จำลอง)
พระประธาน (องค์ใหญ่) คือ พระพุทธปฏิมาค่าคิง (พระเจ้าค่าคิง)






























เดินผ่านไปทางด้านหลังของพระประธาน จะมีพระพูทรรูปองค์ยืน

พระพุทธรูปองค์ยืนนี้ไม่มั่นใจว่าจะเป็นพระเจ้าค่าคิง องค์ยืนหรือเปล่า
พอดีเคยไปเที่ยวชมวัดหนึ่ง มีพระเจ้าค่าคิง องค์ยืน รูปลักษณ์คล้ายกับองค์นี้เหมือนกัน



่ด้านหลังพระประธาน มีแบบจำลองเต็มรูปแบบของพระเจดีย์ใหญ่ทรงลังกา (พระบรมธาตุเจดีย์วัดสวนดอก)

ถ่ายภาพกับกระจกให้สะท้อนเห็นองค์พระเจดีย์ใหญ่ทรงลังกา กันด้วย


ด้านหลังของพระวิหารหลวง เดิมมีประตูเหล็กทางด้านข้าง ที่จะเดินออกไปชมพระเจดีย์ใหญ่ทรงลังกา กันได้ใกล้ ๆ แต่ปัจจุบันประตุสองข้างยังปิดอยู่ จะได้เดินย้อนออกไปทางด้านหน้าพระวิหาร แล้วเดินมาชมส่วนของพระเจดีย์ใหญ่ทรงลังกา และ บริเวณกู่เจ้านายฝ่ายเหนือ (รูปภาพถ่ายในส่วนนี้ จะลองกลับไปเลือกภาพเก่าใน blog มาให้ชมกันในตอนท้าย blog)

ตอนนี้จะพาเดินไปชมส่วนของวิหารพระเจ้าเก้าตื้อ กันก่อน




วิหารพระเจ้าเก้าตื้อ

ส่วนของวิหารพระเจ้าเก้าตื้อ จะอยู่สุดทางด้านในของวัดสวนดอก พระอารามหลวง



พระเจ้าเก้าตื้อ เป็นพระพุทธรูปหล่อองค์ใหญ่ สร้างด้วยโลหะหนัก 9 โกฏิตำลึง ("ตื้อ" เป็นคำในภาษาไทยเหนือ แปลว่า หนักพันชั่ง) พญาแก้ว กษัตริย์องค์ที่ 13 แห่งราชวงศ์มังราย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2047 เป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสนฝีมือช่างล้านนาและสุโขทัย หน้าตักกว้าง 8 ศอก หรือ 3 เมตร สูง 4.70 เมตร เพื่อเป็นพระองค์ประธานในวัดพระสิงห์ แต่เนื่องมีน้ำหนักมากไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ จึงได้ถวายเรือนหลวงของพระองค์เป็นพระวิหาร พระราชทานชื่อว่า "วัดเก้าตื้อ" แทน ซึ่งต่อมาภายหลังได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยครูบาเจ้าศรีวิชัยในปี พ.ศ. 2475 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2478

คัดลอกมาจาก https://th.wikipedia.org/wiki/วัดสวนดอก_(จังหวัดเชียงใหม่)














สิ่งหนึ่งที่น่าชมกันมาก ๆ คือภาพเขียนฝาผนังของวิหารพระเจ้าเก้าตื้อ
มีให้ชมกันตั้งแต่ภายในของประตูด้านหน้า และผนังด้านบนทางด้านซ้ายมือ

่ภาพวาดฝาผนัง มีสีสันสดใส ลวดลายงดงาม เล่าเรื่องพุทธประวัติ และ ประเพณีของทางล้านนา ได้เดินชมกันแบบสุขใจ และ จุใจมาก ๆ
























ท้าย Blog นี้ พากลับมาเดินชมทางด้านหลังพระวิหารหลวง ที่มีพระเจดีย์ใหญ่ทรงลังกา และ กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ

ภาพถ่ายส่วนนี้ มักจะไม่ค่อยมาเดินถ่ายภาพแอ่วชมวัดชมวาสักเท่าใด
จะมาก็ต่อเมื่อต้องการถ่ายแสงสีของท้องฟ้ายามเช้า ยามเย็น ยามพลบค่ำ และเมื่อยามที่ต้องการมาถ่ายภาพพระจันทร์ ถ่ายภาพเครื่องบิน
ได้ลองกลับไปเลือกภาพเก่า ๆ ใน blog มาให้ชมกัน รวมไว้กับ blog นี้อีกครั้งครับ


่ภาพนี้ยามเช้า ที่ดวงจันทร์ยังไม่ยอมกลับบ้าน ยังค้างอยู่บนท้องฟ้าให้เชยชมกันอยู่



























ส่วนสถานที่กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ ช่วงหลังวันสงกรานต์ ประมาณวันที่ 17 เมษายน ของทุกปี จะมีพิธีสักการะกู่เจ้าหลวงเชียงใหม่ งานจะเริ่มในช่วงเย็น ๆ
พิธีดังกล่าวเป็นพิธีสำคัญที่ชาวจังหวัดเชียงใหม่ ได้ร่วมจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพื่อเป็นการบำเพ็ญกุศลถวายแด่ดวงพระวิญญาณของเจ้าหลวงเชียงใหม่ทุกพระองค์ รวมถึงพระราชชายาเจ้าดารารัศมี และเจ้านายฝ่ายเหนือคนอื่นๆ ที่ล่วงลับไปแล้ว และยังเป็นการแสดงออกถึงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของเจ้าหลวงเชียงใหม่ทุกพระองค์ ที่ได้ดูแลรักษา และสร้างความเจริญให้แก่เมืองเชียงใหม่มาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน








กิจกรรมของงานจะมีการแสดงฟ้อนรำ และการแสดงประกอบแสงสีให้ชมกันด้วย



ปิดท้าย blog ไว้ด้วยภาพนี้ และขอขอบคุณเพื่อน ๆ ที่แวะมาชมภาพถ่ายที่ blog กันด้วยครับ


นำภาพลูกแก้วคู่มาแปะท้าย blog นี้ด้วยเลยครับ พอดีนั่งค้นหาไฟล์ภาพที่ดูว่าจะหายไป ค้นไปค้นมาเจอะเจอภาพนี้ เลยขอนำมาเพิ่มไว้ที่ท้าย blog นี้ครับ



Create Date : 19 กุมภาพันธ์ 2565
Last Update : 20 กุมภาพันธ์ 2565 6:14:13 น. 8 comments
Counter : 894 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณกะว่าก๋า, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณhaiku, คุณหอมกร


 

สวัสดียามเช้าครับพี่

เป็นอีกหนึ่งวัดที่ผมผูกพันครับ
ไปหลายครั้ง บางมุมที่พี่เบิร์ดถ่ายภาพมาสวยมากครับ
ผมยังไม่เคยถ่ายภาพในมุมนี้ก่อนเลย
เช่นภาพแรกเป็นต้น



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา:6:29:11 น.  

 
ชอบรูปวาดนางรำ นางกำนัล หน้าตาไม่เหมือนกันซักคนครับ


โดย: ทนายอ้วน วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา:6:32:25 น.  

 
กราบ กราบ กราบ พระเจ้าเก้าตื้อ ค่ะ

วัดสวนดอกนี่ต้องใช้เวลาเดินชมครึ่งวัน
หรือ 1-2 ชม. เป็นอย่างน้อย


ทราบที่มาของตลาดต้นพยอม แล้ว
คาดเดาว่ามาจากต้นพยอมที่ปลูกมากมาย
และคงลามออกไปนอกวัด

ภาพเขียนฝาผนังของวิหารพระเจ้าเก้าตื้อ
สวบงามชมเพลินตายิ่งนัก

เจดีย์น้อยใหญ่แบะกู่เจ้านายฝ่ายเหนือ
ของเจ้าหลวงเชียงใหม่
เจ้าดารารัศมี และองค์อื่นๆ
หลังวิหารหลวง กับแสงยามเย็น
ภาพที่ตั้งใจเก็บมาฝาก..มะลังทะเลืองนวลเนียมงดงามนัก



โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา:6:46:52 น.  

 
ใช่เพลง Hit the road Jack! ไหมคะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา:13:11:23 น.  

 
นกแถวบ้านผมก็ร้องเพราะครับ
ไม่รู้เป็นพันธุ์อะไรกันบ้าง
เช้าๆนี่ร้องเสียงเพราะมาก

มุมที่พี่ถ่ายภาพมา
เป็นประตูข้างวัด
ผมก็เคยเดินไปนะครับ
แต่ไม่เห็นมุมมนี้ครับ 555



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา:13:46:37 น.  

 
ขอบคุณสำหรับกำลังใจให้บล็อก 3F - น้ำพริกอ่องทูน่า ด้วยนะครับ


โดย: ทนายอ้วน วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา:19:45:49 น.  

 
มีรูปสวยๆ มาฝากกันเยอะมาก อ.เบิร์ด



โดย: หอมกร วันที่: 20 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา:0:11:30 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับพี่



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 20 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา:6:36:58 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ถปรร
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 39 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add ถปรร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.