ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always be loved.
Group Blog
 
 
กันยายน 2563
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
9 กันยายน 2563
 
All Blogs
 
ผู้ก่อตั้งเมืองคนดี(สุราษฎร์ธานี)

ผู้ก่อตั้งเมืองคนดี
(สุราษฏร์ธานี)
“พงศาชลากร” สืบเชื้อสายมาจากผู้ก่อตั้งเมืองสุราษฏร์ธานี “พระวิสูตรสงครามรามภักดี”  ข้าหลวงในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท 
ในครั้งสงคราม 9 ทัพ ปี พ.ศ. 2329 เมืองท่าทองถูกพม่าเผาทำลายจนกลายเป็นเมืองร้าง ซากศพผู้คนเกลื่อนกลาด เจ้าเมืองคนเดิมหายสาบสูญ ไม่มีผู้คนอยู่อาศัย  สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ได้นำกองทัพขับไล่พวกพม่าจนถอยหนีไปหมดแล้ว จึงทรงโปรด ฯ ให้หลวงวิเศษภักดี (นายสม) ข้าหลวงในพระองค์ นำพลส่วนหนึ่งเป็นผู้รั้ง (รักษา) เมืองท่าทองไว้ก่อน แต่เมืองท่าทองถูกทำลายมากเกินกว่าที่จะบูรณะให้ดีดังเดิมได้ หลวงวิเศษภักดีได้ปรับปรุงค่ายพม่าเก่าที่คลองกระแดะ ที่ตั้งอำเภอกาญจนดิษฐ์ในปัจจุบัน เป็นที่ว่าราชการชั่วคราว แล้วจึงเรียกกรมเมืองและนายแขวงเมืองท่าทองและข้าราชการเก่า ให้ช่วยกันสืบหาพระท่าทองเจ้าเมืองคนก่อนและครอบครัว นายจ่ายวดบุตรคนโตของเจ้าเมืองคนเดิมได้พาน้อง ๆ คือหม่อมมาก แม่บุญคง แม่แถม แม่ฉิม หม่อมราม กลับมาพบหลวงวิเศษภักดี  หลวงวิเศษได้อุปการะบุตรของเจ้าเมืองคนก่อนตามสมควร ต่อมาได้ยกแม่แถมเป็นภรรยาแล้วสร้างบ้านให้อยู่ในบ้านกระแดะ และได้เริ่มดำเนินการช่วยเหลือให้ราษฎรที่เมืองท่าทอง กลับมาทำมาหากินที่เมืองท่าทอง ฟื้นฟูเมืองจนกลับมาเป็นปกติสุข 
.
ใน พ.ศ. 2336  หลวงวิเศษภักดีได้ตัดสินใจย้ายไปตั้งบ้านเมืองใหม่ที่คลองมะขามเตี้ย ตรงวัดโพข้าม ที่ปัจจุบันคืออำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี ซึ่งอยู่ใกล้เส้นทางคมนาคมระหว่างด่านท่าข้ามกับเมืองท่าทองมาแต่โบราณ สร้างจวนเป็นที่อยู่อาศัยและเป็นที่ว่าราชการเมือง สร้างศาลากลางเป็นที่พิจารณาคดีและประชุมกรมการ สร้างตารางคุมขังนักโทษอันเป็นอาคารสำคัญสำหรับเมืองครบถ้วนแล้ว ได้สร้างวัดไว้หน้าเมือง เรียกว่าวัดหน้าเมืองไว้เป็นที่ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา แล้วรายงานการสร้างบ้านเมืองใหม่แก่เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช  ได้มีใบบอกไปกราบบังคมทูลรัชกาลที่ 1 ให้ทรงทราบ จึงโปรด ฯ ให้เรียกเมืองท่าทองตามเดิมและพระราชทานตำแหน่งให้หลวงวิเศษภักดี (สม) ขึ้นเป็นพระวิสูตรสงครามรามภักดี หรือพระท่าทอง เช่นเดียวกับเจ้าเมืองท่าทองก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา
.
พระวิสูตรสงครามรามภักดี (สม) ได้ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. 2375
.
---------------------------------------------------------
*** ถึงพระวิสูตรสงครามรามภักดี ผู้ก่อตั้งเมืองสุราษฏร์ธานี จะมีภรรยาคือแม่แถม บุตรีเจ้าเมืองท่าทองคนเดิม ที่มีบุตรชายคนที่ 4 คือ หลวงเทพพิทักษ์สุนทร (เดช) ได้เป็นเจ้าเมืองท่าทองสืบต่อมา เป็นต้นตระกูลของสายสกุล “เทือกสุบรรณ”  แต่จากเอกสาร “ประวัติตระกูล พระวิสูตรสงครามรามภักดี” ที่สืบค้นโดย ขุนประกิตกาญจนเขตร์ (ขาบ วิชัยดิษฐ) ปี พ.ศ. 2478 เรียบเรียงใหม่โดยคุณสำรวม วิชัยดิษฐ เมื่อปี 2540 ระบุว่า พระวิสูตรสงครามรามภักดี ยังมีภรรยาอยู่ที่บ้านบ่ออ่าง เมืองนครศรีธรรมราช นามว่า “แม่สั้น” มีบุตรธิดา 2 คน คือ “นายบุญคง” และ”นางบุญช่วย” 
.
นายบุญคง เชื้อสายลำดับ 2  ที่ต่อมาได้รับตำแหน่งเป็นปลัดเมืองตรัง มีภรรยาอยู่ที่บ้านบางไทร อำเภอบางพนัง มี บุตรี 3 คน คือ “นางพุ่ม นางสีเพ็ง (หลวงสวย) และนางลิ่ม” เป็นเชื้อสายลำดับที่ 3 นางลิ่มมีบุตรชาย 2 คน คือนายลภ (พระครูวิสุทธิศีลาจารย์ อดีตเจ้าคณะจังหวัดตรัง) และ นายล่อง (ออกเมืองพิชัยธานีศรีสงคราม) ต้นตระกูล “วิเชียรรัตน์” จัดเป็นเชื้อสายลำดับที่ 4
.
นายล่อง สมรสกับนางบุญเพ็ง บ้านคลองน้อย ปากพนัง มีบุตรีคือ “นางทองหนุน” เพียงคนเดียว ถือเป็นเชื้อสายลำดับที่ 5 ซึ่งต่อมาสมรสกับนายสาบ มีบุตรธิดา 6 คน เป็นเชื้อสายลำดับที่ 6 เป็นต้นตระกูลของนามสกุล พลชัย บุญยพิพัฒน์ ชนะชัย อ่อนเรือง ลิมปพยอมและศุกระกาญจน์    
.
นางเจียม บุตรีคนที่ 3 ของนางทองหนุน ได้สมรสกับ นายซี่แซ แซ่ลิ่ม  มีบุตรี 3 คน คือ ย่าผ่อง (โกเข่ง – สายตระกูล แก้วภารดัย กล้าสุคนธ์) ย่าแผ้ว(โกยี่) และย่าผิว (บุตรบุญธรรมของนางเจิม (ขำ บุณยพิพัฒน์) สายตระกูลลวณะมาลย์) เป็นเชื้อสายลำดับที่ 7
.
ย่าแผ้ว สมรสกับนายตี่น้ำ แซ่ผ่าง มีบุตรธิดา 6 คน ประกอบด้วย 1. นางกัลยา เฟื่องแก้ว 2. นางวัลภา  อรุณินท์ 3. นายธงไชยเกษม (นิวัตร) พงศาชลากร 4. นางพวงศรี แสงสว่าง 5. นายพงศ์ศักดิ์ พงศาชลากร และ 6.นางสาวเตือนใจ เฟื่องแก้ว  
.
เมื่อนายตี่น้ำเสียชีวิต ที่บ้านปากพนัง ต่อมาจึงได้มีการขอนามสกุลจากพระธรรมเมธาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโณ) วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร ที่สนิทสนมกับครอบครัวนาง (ย่า) แผ้วมาตั้งแต่อยู่ที่โรงเรียนปากพนัง และวัดเกาะจาก อำเภอปากพนัง เปลี่ยนจากนามสกุลเดิม “แซ่ผ่าง” ของฝ่ายบิดาและนามสุกล “แซ่ลิ่ม” ของฝ่ายนาง(ย่า) แผ้ว มาเป็น “พงศาชลากร” ที่มีความหมายว่า “เชื้อสายของผู้เป็นต้นน้ำ” โดยนายนิวัตร แซ่ผ่าง (อ๊อด) บุตรชายคนที่ 3 และนายทรงศักดิ์ แซ่ผ่าง (เล็ก) บุตรชายคนที่ 5 เป็นผู้เริ่มใช้นามสกุลพงศาชลากร  
.
------------------------------
*** นายนิวัตร (ธงไชยเกษม) พงศาชลากร และนางสาววัชรี ปานอุไทย มีบุตรธิดา 3 คน นับเป็นเชื้อสายลำดับที่ 9 ของพระวิสูตรสงครามรามภักดี ผู้ก่อตั้งเมืองสุราษฏร์ธานี ประกอบด้วย

1. นายวรณัฐ (โจ้) พงศาชลากร มีบุตรชาย 2 คน คือนายอัศจรรย์ พงศาชลากร และนายปาฏิหาริย์  พงศาชลากร (นับเป็นเชื้อสายลำดับที่ 10)
2. นายวรณัย (เจี๊ยบ) พงศาชลากร มีบุตรธิดา 2 คน คือ นายศุภศรุต พงศาชลากร และเด็กหญิงธนภร พงศาชลากร (นับเป็นเชื้อสายลำดับที่ 10)
3. นางสาววรนุช (จ๋า) พงศาชลากร  
เครดิต :
ด้วยความรำลึกถึง...คุณพ่อ
วรณัย  พงศาชลากร


Create Date : 09 กันยายน 2563
Last Update : 9 กันยายน 2563 8:20:26 น. 1 comments
Counter : 2191 Pageviews.

 
ขอบคุณที่แบ่งปัน


โดย: Kavanich96 วันที่: 10 กันยายน 2563 เวลา:3:06:11 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ททมาโน ปิโยโหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.
New Comments
Friends' blogs
[Add ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.