*** เรื่องของ...หัวหอมใหญ่ ***

หอมหัวใหญ่ (洋蔥)






ภาษาจีนมีหลายชื่อ

ชงโถว (蔥頭)

หูชง (胡蔥)

ยวี่ชง (洋蔥)


รูปร่างลักษณะคล้ายกระเทียม จึงมีคนเรียกว่า ซ่วนชง (蒜蔥)

เป็นหอมที่มาจากต่างประเทศ ไม่ใช่หอมพื้นบ้านของจีน แหล่งกำเนิด เดิมอยู่อยู่ที่เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เป็นพืชที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า  5000  ปี

ในยุโรป อเมริกา ยกย่องเป็น ราชินีของพืชผัก





คัมภีร์สมุนไพร เปิ่นเฉ่ากังมู่ (本朝綱目)” ได้พูดถึงหัวหอมใหญ่ไว้ดังนี้



การออกฤทธิ์และรส

มีฤทธิ์อุ่น รสเผ็ด ไม่มีพิษ เข้าลมปราณ ปอดและกระเพาะอาหาร

หอมหัวใหญ่ดิบฤทธิ์สุขุม รสเผ็ด

หอมหัวใหญ่สุก ฤทธิ์อุ่น รสเผ็ด


สรรพคุณ

1. อุ่นจงเจียว (ส่วนกลางของร่างกายบริเวณกระเพาะอาหาร)

2. ทำให้พลังลงสู่ด้านล่าง

3. สลายการตกค้างของอาหาร ทำให้เจริญอาหาร

4. ฆ่าพยาธิ

5. ทำให้พลังการไหลเวียนในอวัยวะภายในคล่องตัว

6. รักษาอาการบวมจากพิษ ด้วยการใช้ภายนอก

7. ทำให้กระดูกอ่อนนุ่มเมื่อนำมาต้มกับกระดูกสัตว์



*** ข้อควรระวังในการใช้หอมหัวใหญ่ ***

1. การกินนานๆหรือมากเกินไป จะทำลายจิตประสาท ทำลายสมรรถภาพทางเพศ

2. ทำให้ลืมง่าย ความจำเสื่อม ตามัว หลอดเลือดไหลเวียนไม่ดี(พลังและเลือดถูกทำลาย) ทำให้โรคหายช้า

3. คนที่มีกลิ่นตัวเหม็น คนที่ถูกสัตว์มีเขี้ยวมีพิษกัด กินหัวหอมจะมีอาการรุนแรงขึ้น

4. เดือน 4 (ฤดูใบไม้ผลิ) คนที่เป็นโรคหืดหอบ ไม่ควรกินหอมหัวใหญ่ เพราะจะทำให้อาการหืดหอบรุนแรงขึ้น


ในปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยบทบาทของหอมหัวใหญ่ต่อการรักษาของหลอดเลือดในหลายๆด้านเช่น

1. ฤทธิ์ในการลดความดัน

เนื่องจากบทบาทของสารพรอสตาแกลนดินในหอมใหญ่สามารถลดความดันเลือด ป้องกันการเกิดหลอดเลือดอุดตัน ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง

2. ป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือดสมอง

ลดการเกาะตัวของลิ่มเลือดได้ถึงร้อยละ34 การกินระยะยาวทำให้หลอดเลือดสะอาด ลดการแข็งตัวของหลอดเลือด

3. ลดระดับไขมันในเลือด

4. มีสารต้านอนุมูลอิสระ ต้านการก่อมะเร็ง

5. ลดภาวะกระดูกพรุน โดยเฉพาะในสตรีวัยหมดประจำเดือน

6. ช่วยเพิ่มไขมันดี (เอชดีแอล-คอเลสเตอรอล)ในเลือด

7. ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด



ตำรับอาหารที่เกี่ยวกับหอมหัวใหญ่



หอมหัวใหญ่+เห็ดหูหนูดำ

หั่นหอมหัวใหญ่เป็นแผ่น แล้วลวกด้วยน้ำร้อนใส่ผสมกับเห็ดหูหนูดำที่เตรียมเสร็จแล้ว นำมาปรุงเป็นอาหาร หรือยำกินตามใจชอบ

หอมหัวใหญ่ช่วยรักษาเบาหวาน ความดันเลือดสูง ไขมันในเลือดสูง

เห็ดหูหนูดำ ช่วยลดไขมันในเลือด ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ ป้องกันการเกาะตัวของเลือด

เมื่อใช้อาหารทั้งสองมาผสมกันจะเสริมฤทธิ์ได้ดียิ่งขึ้น



หอมหัวใหญ่แช่น้ำส้มสายชู

ใช้หอมหัวใหญ่ 1 หัว ล้างให้สะอาด หั่นเป็นแผ่นบางๆ ใส่ในไมโครเวฟ 2 นาที ใส่น้ำส้มสายชู 5 ช้อนโต๊ะ ปิดฝาภาชนะให้สนิท แช่ไว้ในตู้เย็น2 วันเอามากินช่วยลดน้ำตาลในเลือดและลดน้ำหนักตัวได้



เปลือกหัวหอมใหญ่ต้ม

นำเปลือกนอกของหอมหัวใหญ่มาต้มน้ำดื่ม หรือกินผัดหอมหัวใหญ่บ่อยๆ จะสามารถลดอาการกระจกตาฝ้ามัว ทำให้การมองเห็นดีขึ้น



แม้ว่าการศึกษาวิจัยผลดีของหอมหัวใหญ่จะมีข้อดีหลายด้านด้วยกัน แต่เนื่องจากหอมหัวใหญ่มีฤทธิ์อุ่นและรสเผ็ด เมื่อนำมาใช้กับแต่ละบุคคล จึงต้องคำนึงถึงสภาพร่างกายและโรคของผู้ป่วยด้วย

ฤทธิ์อุ่นและเผ็ดสามารถกระจายขับไล่ความเย็น ทำให้กระตุ้นเลือดลมและพลังทะลุทะลวงไปยังส่วนอื่นๆ ได้ สามารถขจัดพิษและความเย็นที่เป็นผลจากปัจจัยภายนอกที่มากระทบร่างกาย

หอมหัวใหญ่มีฤทธิ์ในการกระจายและทะลุทะลวงแต่ไม่มีฤทธิ์ในการบำรุงพลังหยางของร่างกาย เมื่อนำมาใช้นานๆ จะทำให้ร่างกายเสียพลังได้ง่าย

จะเห็นได้ว่าข้อควรระวังของแพทย์แผนจีน มีการกล่าวว่า ถ้าใช้ไปนานๆหรือมากเกินไป จะทำให้พลังกระจายฟุ้งซ่าน ทำลายจิตประสาทหรือทำให้โรคหายช้าลง รวมทั้งพิษกระจายในกรณีที่ถูกสัตว์มีเขี้ยวกัดต่อย หรือในกรณีผู้ป่วยที่มีพลังอ่อนแอเป็นหลัก(ไม่ใช่เกิดจากการกระทบความเย็น) แทนที่อาการหอบจะดีขึ้น กลับจะทำให้กำเริบมากขึ้น



การรู้ข้อดีของหอมหัวใหญ่ จึงต้องรู้ข้อเสียด้วย และนำมาปรับใช้อย่างเหมาะสม อาหารและยาที่มาจากแหล่งเดียวกัน มีทั้งคุณและโทษ การประยุกต์ใช้ต้องคำนึงถึงสภาพบุคคล เวลา สภาพภูมิประเทศและปัจจัยอื่นๆด้วย





ขอบคุณข้อมูลจากคุณหมอแพทย์แผนจีน นพ.ภาสกิจ วัณนาวิบูล

และรูปภาพจากเว็บไซต์กูเกิ้ลดอตคอมค่ะ



Create Date : 06 ธันวาคม 2555
Last Update : 6 ธันวาคม 2555 19:12:21 น.
Counter : 6567 Pageviews.

0 comment
*** ผักที่ใช้ลดความอ้วนในแพทย์แผนจีน ***

วันนี้แม่ยี่หวาเอาเรื่องผักที่ลดความอ้วนได้ในแบบแพทย์แผนจีนมาให้อ่านกันค่ะ ลองดูกันนะคะ บางอย่างอาจทานกันไม่ได้เพราะไม่คุ้นชิน แต่บางอย่างก็เป็นผักพื้นๆที่เราทานกันแทบทุกวันอยุ่แล้วค่ะ


ฟักเขียว

ฟักเขียวไม่มีไขมัน แถมมีเกลือโซเดียม ช่วยขับปัสสาวะ และขจัดความชื้นในร่างกาย คนอ้วนส่วนใหญ่จะมีส่วนที่เป็นน้ำอยู่ในร่างกายค่อนข้างมาก กล้ามเนื้อจึงเผละไม่ค่อยกระชับ ชาวบ้าน(คนจีน)จึงมักเอาฟักมาทำแกงจืด ซึ่งสามารถลดความอ้วนได้ดี หน้าหนาวให้ใช้เปลือกฟักเขียวแห้ง 30 กรัมมาต้ม แล้วดื่มแต่น้ำ สามารถลดความอ้วนได้


แตงกวา

ในแตงกวามีกรดทาร์ทรอนิก (Tartronic Acid) สามารถยับยั้งการเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตให้เป็นไขมันได้ คนอ้วนจึงมักรับประทานแตงกวาเพื่อลดความอ้วน นอกจากนี้ในแตงกวายังมีเส้นใยละเอียดค่อนข้างมาก สามารถกระตุ้นการบีบรัดตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้ขับถ่ายได้มากขึ้น และยังสามารถลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลได้อีกด้วย


มันฝรั่ง

มันฝรั่ง ไขมันในมันฝรั่งมีแค่ 0.1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ปัจจุบันเป็นอาหารที่สามารถประทังความหิวที่ไขมันต่ำที่สุด ความอ้วนเกิดจากการที่มีไขมันมากเกินไป ดังนั้น การรับประทานมันฝรั่งทุกวันสามารถลดการรับประทานไขมันได้ ทำให้ไขมันส่วนเกินถูกใช้ไป จึงลดความอ้วนได้


หัวผักกาด

หัวผักกาดมีน้ำมันมัสตาร์ดซึ่งเป็นส่วนที่เผ็ดร้อน มีฤทธิ์กระตุ้นเมตาโบลิซึมของอาหารไขมันให้ทำงานดีขึ้น จะได้ไม่มีไขมันสะสมใต้ผิวหนัง



กุ้ยช่าย

ในกุ้ยช่ายมีเส้นใยค่อนข้างมาก จึงย่อยยาก แต่สามารถกระตุ้นการบีบรัดของลำไส้ มีฤทธิ์ขับอุจจาระ และยังสามารถขับสารอาหารที่มีมากเกินไปในลำไส้ได้ด้วย


พริกไทย

พริกไทยมีความเผ็ดร้อนมาก สามารถกระตุ้นเมตาโบลิซึมของไขมัน ทั้งยังสามารถละลายไขมัน เป็นการยับยั้งการสะสมไขมันในร่างกาย


ถั่วงอก

ในถั่วงอกมีน้ำอยู่มาก หากรับประทานเข้าไปแล้วจะให้ปริมาณความร้อนเพียงเล็กน้อย และไม่สามารถเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมในร่างกายได้


ใบชา

ใบชาแก้เลี่ยนได้ และลดไขมันได้ด้วย โดยเฉพาะน้ำชาแก่ๆ ยิ่งเห็นผล เหตุนี้ชาจีนผู่เอ๋อร์และชาอู๋หลง ของมณฑลฮกเกี้ยน จึงเป็นที่นิยมในต่างประเทศมาก เช่น ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส หากคนอ้วนดื่มชาผู่เอ๋อร์ วันละ 3 แก้ว หลังดื่มได้ 1 เดือน ไขมันในเส้นเลือดจะลดลง และน้ำหนักตัวก็จะลดลงด้วย


ลูกบ๊วย

เป็นผลไม้รสเปรี้ยวที่มีกรด Organic และกรด Inorganic อยู่มาก และการมีกรดซิตริกอยู่มากทำให้เป็นผลดีในขบวนการเมตาโบลิซึมของหลังงานและความร้อน


น้ำส้มสายชู (Apple Cider Vinegar)

คนอ้วนทั้งชายหญิงในสหรัฐอเมริกาและยุโรปบางประเทศ นิยมลดความอ้วนโดยการรับประทานน้ำส้มสายชู เพราะในน้ำส้มสายชู มีกรดอะมีโนหลายชนิด สามารถขจัดไขมันในร่างกาย ทั้งยังกระตุ้นการทำงานของเมตาโบลิซึมของน้ำตาลและโปรตีน การรับประทานวันละ 10-15 มิลลิกรัม สามารถลดน้ำหนักได้ 2-4 กิโลกรัมภายใน 1 เดือน


อ่านจบแล้วลองดูกันได้นะคะ อันไหนทานได้ก็ทาน อันไหนทานไม่ได้ ก็ไม่ต้องทาน เพราะในอาหารแบบไทยๆ  เราก็มีหลากหลายชนิดเหมือนกันที่ลดความอ้วนได้ค่ะ




Create Date : 10 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 10 พฤศจิกายน 2555 20:55:30 น.
Counter : 4160 Pageviews.

0 comment
*** เรื่องกล้วยๆ ของแพทย์แผนจีน ***

วันนี้เรามาเจอกันด้วยเรื่องกล้วยๆค่ะ กล้วยจริงๆนะคะ แต่เป็นกล้วยหอมค่ะ


แม่ยี่หวามีพี่น้องหลายคนขนาดไล่ๆกันทั้งนั้น เวลากินก็แข่งกันกินเป็นพายุ วิธีเลี้ยงลูกแบบง่ายที่สุดของมามี๊คือ เลี้ยงด้วยกล้วยค่ะ เพราะชอบกันทุกคน เป็นที่สังเกตอย่างหนึ่งว่า มีพี่สาวแม่ยี่หวาคนหนึ่ง ที่ดูเหมือนจะไม่ค่อยชอบกล้วยหอมสักเท่าไหร่ ตอนเด็กๆก็ไม่รู้ว่าทำไมเค้าถึงไม่ชอบกล้วยหอม มาหายสงสัยเอาตอนโตเพราะทนไม่ไหวจึงต้องถามมามี๊   ได้ความว่าพี่สาวคนนี้เธอมีระบบย่อยอาหารที่ไม่ดี คือมักมีอาการท้องอืด ปวดท้องเป็นประจำ นอกจากนี้ ยังมีระบบหายใจที่แย่ด้วย นั้นคือถ้ากินของเย็นมากๆ พาลจะหายใจไม่ออก เหมือนจะเป็นโรคหืดหอบ จึงเข้าใจคำว่า อาหารบางอย่างเหมาะกับคนบางคน”  เป็นอย่างไร



กล้วยหอม  (香蕉)




กล้วยหอมเป็นผลไม้เมืองร้อน พบได้ทางตอนใต้ของประเทศจีน เช่น มณฑลฝูเจี้ยน กวางตุ้ง ยูนาน


กล้วยหอมสุกมีส่วนประกอบของแป้งร้อยละ0.5 โปรตีนร้อยละ  1.3   ไขมันร้อยละ 0.6   น้ำตาลร้อยละ 11  นอกจากนี้ยังมีวิตามิน เอ บี ซี อี แคลเซี่ยม ฟอสฟอรัส เหล็ก รวมถึงไฮดรอกซีทริปทามิน  (5-hydroxytryptamine) นอร์อะดรีนาลิน (noradrenaline) โดพามีน  (dopamine)  ในปริมาณเล็กน้อย



กล้วยหอมในทัศนะแพทย์แผนจีน


กล้วยหอมมีรสหวาน ฝาดเล็กน้อย รสเย็นมาก เข้าเส้นลมปราณปอดและลำไส้ใหญ่


สรรพคุณของกล้วยหอม


1. เนื่องจากมีฤทธิ์เย็นมาก และเข้าเส้นลมปราณปอด จึงมีการนำกล้วยหอมมารักษาโรคร้อน กระหายน้ำ (เราจะเห็นจากการถ่ายทอดสดกีฬาเทนนิสจากต่างประเทศ มีนักกีฬาระดับโลกหลายคนหยิบกล้วยหอมขึ้นมากิน) แผลอักเสบ บวม แก้เมาเหล้า ไอเรื้อรังเนื่องจากแห้ง


2. เข้าเส้นลมปราณลำไส้ใหญ่ ทำให้ลำไส้ใหญ่ไม่แห้ง แก้ท้องผูก ถ่ายเป็นเลือด


3. กล้วยที่ไม่สุกมีสารธรรมชาติบางอย่างในการป้องกันแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยให้เซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหารแบ่งตัวดีขึ้น ซ่อมแซมแผลอักเสบได้เร็วขึ้น ช่วยกระจายการเกาะตัวของเลือด



ตำรับอาหารสมุนไพรกล้วยหอม


กล้วยหอมตุ๋นน้ำตาลกรวด


กล้วยหอม 2 ใบ เอาเปลือกออก เติมน้ำตาลกรวดปริมาณพอเหมาะ ใส่ในหม้อตุ๋น กินวันละ 1-2 ครั้ง กินติดต่อกันหลายวัน


สรรพคุณ

ช่วยทำให้ปอดไม่แห้ง

แก้ท้องผูก แก้ร้อนใน ไอเรื้อรัง

แก้ริดสีดวงทวาร


ตำรับยาระบายอย่างง่าย-แก้ริดสีดวงทวาร


กล้วยหอม 2 ลูก ไม่เอาเปลือกออกตุ๋นจนสุก กินทั้งเปลือก รักษาอาการถ่ายเป็นเลือด ริดสีดวงทวาร

ตื่นนอน ท้องว่าง กินกล้วยหอมวันละ 1-2 ลูก รักษาอาการท้องผูก เนื่องจากลำไส้แห้ง

เปลือกกล้วยหอม 3 ผล ซานจา (山楂) ต้มน้ำดื่ม รักษาอาการกระหายน้ำและคอแห้ง

กล้วยหอมกินกับน้ำผึ้ง กินตอนเช้าและกลางคืน ครั้งละ 1 ลูก รักษาอาการท้องผูก

กินกล้วยหอมวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1-2 ลูก รักษาภาวะความดันเลือดสูง






*** ข้อควรระวัง ***


การกินกล้วยหอม มีข้อควรระวังดังนี้


1. ในรายที่ต้องการรักษาอาการถ่ายเป็นเลือด ริดสีดวงทวาร ควรใช้กล้วยหอมตุ๋นทั้งเปลือก


2. ไม่ควรกินมากเกินขนาด เพราะมีฤทธิ์เย็น คนที่มีระบบการย่อยไม่ดี ท้องอืด มีลมในท้องมาก มีเสมหะมากเนื่องจากม้ามพร่อง ไม่ควรกิน เพราะจะทำให้อาการกำเริบมากขึ้น


3. ต้องคำนึงอยู่เสมอว่า อาหารหรือสมุนไพรใดๆไม่ควรกินติดต่อกันนานๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคนด้วยค่ะ





ขอบคุณข้อมูลจาก คุณหมอแพทย์แผนจีน นพ.ภาสกิจ วัณนาวิบูล

และรูปภาพจากเว็บไซต์กูเกิ้ลดอตคอมค่ะ




Create Date : 30 ตุลาคม 2555
Last Update : 30 ตุลาคม 2555 20:38:47 น.
Counter : 13074 Pageviews.

1 comment
*** การใช้ น้ำผึ้ง (蜂蜜 Fēngmì) ตามศาสตร์แพทย์แผนจีน ***

น้ำผึ้ง  (蜂蜜 Fēngmì)




คงไม่มีใครไม่รู้จักน้ำผึ้งกันนะคะ เพราะถ้าจะพูดไปคนไทยเรารู้จักใช้น้ำผึ้งกันมาตั้งแต่โบร่ำโบราณ ส่วนใหญ่ก็จะใช้ในการเข้ายา แม่ยี่หวาเป็นคนหนึ่งที่ใช้น้ำผึ้งค่อนข้างเปลือง สมัยเด็กๆเวลาที่มามี๊ของแม่ยี่หวาทำยาสมุนไพรแล้วต้องใช้น้ำผึ้งเป็นกระสายยา แม่ยี่หวาเป็นต้องเกาะขอบโต๊ะคอยกระลิ้มกระเหลี่ยเพื่อขอกินน้ำผึ้ง พอโตขึ้นก็กินกาแฟใส่น้ำผึ้ง ขนมปังทาน้ำผึ้ง เวลาอยากสวยก็น้ำผึ้ง ป่วยก็ใช้น้ำผึ้งอีกนั่นแหละ สรุปแล้วปีหนึ่งๆบ้านแม่ยี่หวาใช้น้ำผึ้งหลายลังอยู่ค่ะ




น้ำผึ้งดีอย่างไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง วันนี้แม่ยี่หวาจะเขียนเรื่องการใช้น้ำผึ้งแง่มุมของแพทย์แผนจีนก่อนค่ะ


ในคัมภีร์  เปิ่นเฉ่ากังมู่” (本草纲目) บันทึกคุณสมบัติของน้ำผึ้งทางการรักษาโรคและบำรุงร่างกายไว้ว่า


น้ำผึ้งมีสรรพคุณ 5 ประการ

1. ขับร้อน

2. บำรุงส่วนกลาง (กระเพาะอาหารและม้าม)

3. แก้ปวด

4. ขับพิษ รักษาแผล

5. แก้ไอ ลดความแห้ง ให้ความชุ่มชื่น


ฤทธิ์และรสกับการประยุกต์

น้ำผึ้งมีรสหวานมีฤทธิ์เป็นกลาง วิ่งเส้นลมปราณปอดม้ามลำไส้ใหญ่ เนื่องจากส่วนประกอบสำคัญร้อยละ 79 คือ ฟรักโทส และ กลูโคส  ทำให้สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายทันที  นอกจากนี้ยังมีกรดอะมีโน กรดไขมันในปริมาณน้อย  เอนไซม์หลายชนิด วิตามินบี เกลือแร่ และกรดกลูโคนิกร้อยละ 0.5 ซึ่งทำให้มีรสเปรี้ยวอยู่ด้วยกัน


สรรพคุณที่ระบุไว้ในตำราอาหารและยาจีน

บำรุงภาวะพร่องอ่อนแอ ผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรัง แผลในกระเพาะอาหาร วัณโรคปอด

ลดความแห้งของปอด ทำให้ชุ่มชื่น เหมาะสำหรับอาการไอแบบแห้งๆ ไม่มีเสมหะ ไอเรื้อรัง

น้ำผึ้งทำให้ชุ่มคอ อาจใช้ร่วมกับสมุนไพรซาเซิน (沙参)   เซิงตี้  (生地)

ช่วยระบายทำให้อุจจาระนิ่ม เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ หญิงหลังคลอด ผู้ป่วยพื้นจากโรคที่มีอาการท้องผูก

มีฤทธิ์สมานแผล เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กอักเสบ ผู้ป่วยที่ระบบย่อยอ่อนแอ ปวดท้องและมีแขนขาเย็น ลดการหดเกร็งเนื่องจากความเย็น

ขับพิษ-ทำลายพิษ สามารถลดพิษของสมุนไพรจีน ฟู่จื่อ (附子) อูโถว  (乌头) นอกจากนี้ยังใช้ทาแผลภายนอกที่เกิดจากไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ฝีมีหนอง สามารถฆ่าเชื้อและทำให้แผลหายเร็วขึ้น

ใช้ในด้านความงาม ทำให้ผิวนุ่ม ชุ่มชื่น และลดการอักเสบ

ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น

ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเด็กเล็ก

ประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยโรคตับ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคอ้วนและโรคความดันโลหิตสุง


*** ข้อห้ามและข้อควรระวังในการใช้น้ำผึ้ง ***


1. ผู้ป่วยเบาหวานห้ามกิน เนื่องจากน้ำผึ้งมีปริมาณกลูโคสและฟรักโทส ที่สามารถดูดซึมสู่ร่างกายทันที ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว การหลั่งอินซุลินของตับอ่อนไม่เพียงพอจะทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้น


2. ห้ามกินปริมาณมาก โดยเฉลี่ยกินวันละ 1-2 ช้อนโต๊ะ หรือประมาณ 20 กรัม ในกรณีพิเศษ อาจกินเพิ่มได้ แต่ไม่ควรเกิน 50 กรัมต่อวัน


3. คนที่ถ่ายเหลวหรือท้องเสียห้ามกิน เพราะจะทำให้ถ่ายมากขึ้น เนื่องจากน้ำผึ้งจะดูดน้ำทำให้ขับอุจจาระมากขึ้น


4. ผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียน หรือมีผิวหนังอักเสบเรื้อรัง  เนื่องจากภาวะความชื้นตกค้าง


5. ควรผสมน้ำอุ่นไม่เกิน 40 องศา ไม่ควรใช้น้ำที่ร้อนจัด เพราะจะทำลายคุณค่าของเอนไซม์ วิตามิน กรดอะมิโน และสารที่มีคุณค่า ในฤดูร้อนสามารถใช้น้ำเย็นชงดื่มได้ แต่ควรผสมน้ำขิงเล็กน้อย เพื่อป้องกันกระเพาะอาหารกระทบความเย็น


6. ไม่ควรกินร่วมกับเต้าหู้ เนื่องจากเต้าหู้มีรสหวาน เค็มและคุณสมบัติเย็น สรรพคุณขับร้อนกระจายเลือด เมื่อกินพร้อมกันทำให้ท้องเสียได้ง่าย อีกเหตุผลหนึ่งคือเอนไซม์จากน้ำผึ้งจะทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุ โปรตีนสารอินทรีย์ของเต้าหู้ทำให้คุณค่าทางโภชนาการของน้ำผึ้งด้อยไป


7. ไม่ควรกินพร้อมผักกุยช่าย เพราะกุยช่ายมีวิตามินซีมาก จะทำปฏิกิริยากับโลหะทองแดงและเหล็กในน้ำผึ้ง เกิดอ็อกซิเดชั่น ทำให้คุณค่าด้อยไป และน้ำผึ้งช่วยในการระบาย ส่วนกุยช่ายมีเส้นไยมาก เมื่อกินร่วมกันอาจทำให้ท้องเสียได้ง่าย


8. ไม่ควรกินร่วมกับหัวหอมและกระเทียม เพราะจะทำให้ฤทธิ์ของน้ำผึ้งด้อยลง



สรรพคุณของน้ำผึ้ง

น้ำผึ้งมีรสหวานมาก แต่ไม่ทำให้อ้วน นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบของโปรตีนและไขมันในปริมาณน้อย ในรูปของกรดอะมิโนและกรดไขมันที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้ทันที

น้ำผึ้งไม่ทำให้ฟันผุ เหมือนน้ำตาลหรือลูกกวาดทั่วไป แต่กลับทำให้การงอกของฟันดีขึ้น

มีบางรายงานเชื่อว่า น้ำผึ้งมีฤทธิ์ยับยั้งการก่อตัวของนิ่วในไตและนิ่วในถุงน้ำดี

มีฤทธิ์ต้านเชื้อโรค ต้านมะเร็ง และเป็นยาอายุวัฒนะ

ฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร รักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น โรคบิด ลำไส้อักเสบ



ชนิดของน้ำผึ้ง

เนื่องจากน้ำผึ้งเกิดจากการสะสมน้ำจากเกสรดอกไม้ชนิดต่างๆกัน ทำให้ลักษณะน้ำผึ้งที่เกิดขึ้น มีคุณสมบัติแตกต่างกันไปด้วย ตัวอย่างเช่น


น้ำผึ้งจากเกสรดอกลำไย บำรุงเลือด บำรุงสมอง ช่วยความจำ ทำให้นอนหลับ


น้ำผึ้งจากเกสรดอกลิ้นจี่ ช่วยแก้กระหาย กระตุ้นน้ำลาย และบำรุงหัวใจและไต


น้ำผึ้งจากเกสรดอกเบญจมาศป่า ขับร้อน ขับไฟ ขับลมแก้พิษ


น้ำผึ้งจากเกสรอบเชยป่า ขับร้อนกระตุ้นความอยากอาหาร บำรุงม้าม บำรุงประสาท


น้ำผึ้งจากเกสรส้ม ลดบวม ขับพิษ แก้กระหายน้ำ



เวลาที่เหมาะสมในการกินน้ำผึ้ง


1. ก่อนอาหาร 1-11/2

ถ้าดื่มโดยผสมน้ำอุ่น จะมีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งกรดของกระเพาะอาหาร และทำให้กรดในกระเพาะอาหารเจือจาง ลดการระคายเคือง เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารเป็นแผล ถ้าดื่มโดยผสมน้ำเย็น จะมีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งกรดของกระเพาะอาหาร รวมทั้งกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ช่วยการขับถ่าย


2. ดื่มหลังอาหาร 2-3 ชั่วโมง

เพราะการดื่มหลังอาหารทันที จะเพิ่มปริมาณน้ำตาลในเลือดให้สูงมาก ทำให้ตับอ่อนทำงานหนัก อีกทั้งจะเป็นการกระตุ้นน้ำย่อยในกระเพาะอาหารมากยิ่งขึ้นอีก


3. ควรดื่มก่อนนอน

ซึ่งเหมาะสำหรับคนทีร่างกายไม่แข็งแรง และนอนหลับยาก


อ่านจบแล้วใครที่นอนไม่หลับ หรือหลับยากลองหาน้ำผึ้งสักแก้วมาทานดูนะคะ หลับแล้วก็ฝันดีด้วยค่ะ




ขอบคุณข้อมูลจากคุณหมอแพทย์แผนจีน นพ.ภาสกิจ วัณนาวิบูล

และรูปภาพจากเว็บไซต์กูเกิ้ลดอตคอมค่ะ




Create Date : 29 ตุลาคม 2555
Last Update : 29 ตุลาคม 2555 20:40:44 น.
Counter : 14909 Pageviews.

3 comment
*** อาหารที่สามารถขับพิษออกจากร่างกายได้ ***

ในบรรดาอาหารสารพัดชนิดที่มีขายให้เราได้ซื้อหากันนั้นจะว่าไปก็ล้วนแต่มีประโยชน์กับร่างกายทั้งนั้น เพียงแต่ว่าบางครั้งการทานอาหารที่มีปริมาณมากเกินไปก็ทำให้เกิดโทษได้เช่นเดียวกันค่ะ


ตามศาสตร์ของแพทย์แผนจีนที่ว่าด้วยเรื่องอาหาร10อย่างที่ไม่ควรทานมากเกินไปนั้นแม่ยี่หวาคิดว่าหลายๆคนคงเคยอ่านกันมาแล้วนะคะ(แต่ถ้ายังไม่เคยอ่านบอกมานะคะ)วันนี้แม่ยี่หวาเลยจะมาเขียนเรื่องอาหารที่สามารถขับพิษออกจากร่างกายได้ค่ะ

ด้วยชีวิตที่รีบเร่งของเราๆท่านๆทุกวันนี้ หลายๆคนจึงมักจะอาศัยอาหารถุงหรือประเภทอาหารขยะ เพื่อความสะดวก ซึ่งเราก็ต้องยอมรับว่าอาหารเหล่านั้นบางครั้งก็ไม่สะอาดนัก

และการสะสมของสารพิษในร่างกายเป็นเวลานาน ก็จะมีผลทำให้เชลล์ในร่างกายเสื่อมและแก่ก่อนวัยอันควร


สารพิษเข้าสู่ร่างกายเราได้หลายรูปแบบ หลายลักษณะ เช่นน้ำดื่มปนเปื้อน ฝุ่นละออง เชื้อรา ไวรัส สารพิษจากยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมี โลหะหนัก คลื่นแม่เหล็กและรังสีเป็นต้น ศาสตร์แพทย์แผนจีนจึงมีอาหารที่ใช้ขับพิษออกจากร่างกายของเราเพื่อเป็นการลดสารพิษที่สะสมอยู่ในตัวเราออกมาบ้างค่ะ


1. เห็ดประเภทต่างๆ

มีเห็ดหลายชนิดที่ขับพิษได้เช่น เห็ดหูหนูดำ เห็ดหูหนูขาว เห็ดหอมและเห็ดเข็มทอง

เห็ดมี  ซีลีเนียม (selenium)  มาก ซีลีเนียมมีฤทธิ์ต้านความแก่เพิ่มภูมิคุ้มกัน สามารถแก้พิษสารปรอทและแคดเมียม ลดความดันเลือด ลดคอเลสเตอรอล ป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว และเพิ่มปริมาณ  โกลบูลิน (globulinในร่างกาย กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง หล่อลื่นลำไส้ ทำให้เลือดสะอาด


2. สาหร่ายทะเล

สาหร่ายทะเลมีสารป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด ลดการดูดซึมสารตะกั่วและแคลเซียมในร่างกาย ช่วยขับธาตุกัมมันตรังสีออกจากร่างกาย

นอกจากนี้สาหร่ายทะเลยังมีคุณสมบัติอุ้มน้ำสูง ช่วยดูดขับพิษเพื่อการขับถ่าย และป้องกันการท้องผูก รวมถึงมะเร็งลำไส้

แต่สาหร่ายสามารถปนเปื้อนสารเคมีและโลหะหนักได้ง่าย จึงควรพิจารณาแหล่งที่มาของสาหร่ายควรเป็นสาหร่ายที่มาจากแหล่งธรรมชาติ และอยู่ในน้ำลึก


3. เลือดหมู

คนจีนนิยมกินเลือดหมู เนื่องจากโปรตีนในเลือดหมูเมื่อถูกกรดในกระเพาะอาหาร จะทำให้เกิดสารที่ช่วยหล่อลื่นลำไส้ และขับสารพิษในร่างกาย สารดังกล่าวจะดูดซับของเสียตามซอกผนังลำไส้ รวมถึงโลหะหนัก แล้วขับทิ้งทางอุจจาระ


4. น้ำผลไม้คั้นสดและผักสด

น้ำผลไม้และผักสดมีภาวะเป็นด่าง มีเอ็นไซม์ช่วยทำให้เกิดการละลายของบรรดาของเสียในเซลล์ และทำให้มีการขับถ่ายออกสู่ภายนอก


5. ถั่วเขียว

ถั่วเขียวมีฤทธิ์ในการขับพิษสามารถแก้พิษเหล้า เชื้อรา สารหนู ตะกั่ว รวมถึงสิ่งปนเปื้อน ทางแพทย์แผนจีนจัดถั่วเขียวเป็นอาหารที่ขับพิษได้สารพัด เป็นตัวปรับสมดุลให้ร่างกายทำงานได้เป็นปกติ

ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นภูมิปัญญาโบราณและความเชื้อที่สืบทอดปฏิบัติกันมา แต่ปัจจุบันได้มีการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาอธิบายมากขึ้นค่ะ



*** ถ้ายังจำหนังแดจังกึมได้ คงจำได้ว่าแม่ของนางเอกถูกจับกรอกเหล้าพิษในตอนต้นเรื่อง

แต่มีเพื่อนช่วยกรอกน้ำถั่วเขียวแก้พิษให้ จึงรอดชีวิตมาได้ ***


**** สาหร่ายในที่นี้แม่ยี่หวาแนะนำให้ทานเป็นอาหาร เช่นต้มจืดสาหร่ายเต้าหู้หมูสับ หรือสาหร่ายอบแห้งที่ใช้ทานเล่น ไม่แนะนำอาหารเสริมสาหร่ายเกลียวทองที่บางคนใช้ทานเพื่อเสริมอะไรก็แล้วแต่ เพราะสาหร่ายเกลียวทองจะลดการดูดซึมแคลเซียม ถ้าคุณทานแคลเซียมเม็ดอยู่ค่ะ ****


ขอขอบคุณข้อมูลจาก คุณหมอแพทย์แผนจีน  นพ.ภาสกิจ วัณนาวิบูล ค่ะ



Create Date : 27 ตุลาคม 2555
Last Update : 27 ตุลาคม 2555 20:35:55 น.
Counter : 2263 Pageviews.

0 comment
1  2  

สาวเอยจะบอกให้
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 16 คน [?]



แม่ยี่หวาเป็น สว. คนหนึ่ง ที่เคยทุกข์ทรมานเนื่องจากสุขภาพที่ย่ำำแย่มาตลอดตั้งแต่เด็กจนถึงวัยสาว เสียเวลาและเงินทองมากมาย
แล้ววันหนึ่งแม่ยี่หวาก็ุลุกขึ้นมาปฏิวัติตัวเอง มาเป็นนักกีฬาค่ะ วิ่ง วิ่งและวิ่ง หลังจากนั้นชีวิตก็เปลี่ยน เลิกกินยา เลิกป่วย แต่กว่าจะเป็นอย่างนี้ก็ต้องใช้เวลานะคะ
นอกจากออกกำลังกายแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่อยากจะบอกคือ การใช้หลักโภชนาการ ในการดูแลสุขภาพควบคู่กันไปด้วยค่ะ
บล็อกที่เขียนส่วนหนึ่งเป็นการเล่าเรื่องชีวิตและประสบการณ์ของตัวเอง กับการใช้อาหารเป็นยา การใช้สมุนไพรในการดูแลตัวเองเบื้องต้น
หวังว่าจะมีคนเข้ามาอ่านและนำไปใช้บ้าง ไม่รังเกียจที่จะูถูกเรียกว่า พี่ ป้า หรือ ยาย ค่ะ
New Comments