"นักวิชาการ" วิพากษ์... ป.ป.ช.ฟัน "ปู" คดีข้าว

หมายเหตุ - ความเห็นของนักวิชาการกรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติเอกฉันท์ชี้ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าว ช่วงเวลาเดียวกับที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อนุญาตให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์เดินทางออกนอกประเทศได้ 

อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา

คณบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ป.ป.ช.อาจจะมองว่าถ้าหาก น.ส.ยิ่งลักษณ์บินไปต่างประเทศเเล้วไม่กลับ โดยที่ ป.ป.ช.ยังไม่ได้ชี้มูลหรือดันมาชี้ภายหลังจากที่บินไปเมืองนอกเเล้ว จะเกิดข้อตำหนิได้ว่า "เขาไปเเล้ว มาชี้มูลทำไม" ซึ่งหากไปเเล้วไม่กลับมา งานที่ทำมาก็เหมือนเสียเปล่าหมด เพราะฉะนั้นอาจจะพอฟังขึ้นว่า เนื่องจากมีการขอไปต่างประเทศ ป.ป.ช.จึงอยากทำหน้าที่ให้เเล้วเสร็จ ไม่รู้ว่ามีความเชื่อมโยงกันหรือเปล่า เเต่ดูเเล้วเหมือนกับจะเชื่อได้ว่าเป็นอย่างนั้น เพราะจู่ๆ ก็เเถลงข่าว ปกติอาจจะบอกล่วงหน้าเป็นวันด้วยซ้ำว่าจะมีการสรุปผลคดี เเต่อันนี้มาใกล้กับเวลาที่ คสช.อนุมัติให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์เดินทางออกนอกประเทศ

ป.ป.ช.อยากทำหน้าที่ให้จบเรื่องเรียบร้อย เมื่อ ป.ป.ช.ทำหน้าที่เเล้ว น.ส.ยิ่งลักษณ์จะเดินทางไปไหนก็อยู่ที่ คสช.จะอนุมัติ เหมือนโยนเผือกไปให้เเล้ว เเละไม่มีคนมาตำหนิว่าตัดสินความช้าไป 

ทั้งนี้ ป.ป.ช.น่าจะเห็นว่าการจัดการ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ ก่อนที่จะเป็นนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์นั้นถือเป็นงานที่เบ็ดเสร็จเเละเป็นชิ้นเป็นอันมากกว่า เเละหลังจากนี้จะต่อด้วยนายบุญทรงก็เป็นเรื่องง่ายเเล้ว

ขณะเดียวกันที่ผ่านมา ป.ป.ช.เเละองค์กรอิสระโดนวิจารณ์ถึงการทำงานที่ล่าช้า ยิ่งช่วงนี้ คสช.กำลังไล่บี้ทุกหน่วยงาน ป.ป.ช.คงอยากเเสดงให้เห็นว่าทำงานได้มีประสิทธิภาพ สามารถจัดการปัญหาได้ เเละยังเป็นองค์กรที่มีความสำคัญอยู่ ประกอบกับช่วงนี้มีข่าวลงพื้นที่ตรวจโกดังข้าวของ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เเละพบความผิดปกติในหลายจังหวัดชัดเจนก็ไม่มีอะไรเหลือที่จะต้องให้ ป.ป.ช.รอในการชี้มูล น.ส.ยิ่งลักษณ์ หากปล่อยให้ลอยนวลอยู่อีกคนจะถามว่าเเล้ว ป.ป.ช.ทำอะไรอยู่

อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา, เจษฎ์ โทณวณิก, สุขุม นวลสกุล, สมชาย ปรีชาศิลปกุล



เจษฎ์ โทณวณิก

นักวิชาการด้านนิติศาสตร์ 

เรื่องนี้สามารถมองแยกได้เป็น 3 ส่วน คือ 1.น.ส.ยิ่งลักษณ์มีกำหนดเดินทางก่อนล่วงหน้าแล้ว มีแผนการที่จะไปอยู่แล้วโดยระบุว่าจะไปที่ไหนทำอะไรอย่างไรบ้าง และได้ยื่นขออนุญาต คสช.ตามระเบียบปกติ 2.คสช.มองว่ากำหนดการอันนี้ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่มีเบื้องหน้าเบื้องหลังอะไร ประกอบกับที่ผ่านมาในช่วงที่มีการรัฐประหาร น.ส.ยิ่งลักษณ์ก็ให้ความร่วมมือด้วยดีมาตลอด จึงพิจารณาอนุมัติให้ไป 3.ในส่วน ป.ป.ช.ไม่ได้รู้เห็นหรือทราบกำหนดการล่วงหน้าของอดีตนายกฯมาก่อน และในส่วนของคดีจำนำข้าวเดินทางมาสุดทางแล้ว สมควรที่จะเคาะมติออกมาได้ เป็นลักษณะของที่สถานการณ์ปกติที่แม่น้ำแต่ละสายต่างไหลหลากไปไม่เกี่ยวกัน เพียงแค่มาบรรจบกันอย่างประจวบพอดีเท่านั้น

หากมองในแง่ร้ายที่สุดคือ คสช.รู้กันกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ว่า สำนวน ป.ป.ช.คดีจำนำข้าวงวดเข้ามาทุกทีแล้วจึงอาจจะปล่อยไฟเขียวไปก่อน เช่นเดียวกับที่ ป.ป.ช.ได้ทราบมาว่าอดีตนายกฯมีกำหนดจะเดินทางไปต่างประเทศ จึงได้เร่งรัดสำนวนนี้ขึ้นอีก ซึ่งจริงๆ อาจจะอยู่ในความสมบูรณ์สัก 90% ก็ได้ แต่รีบดำเนินการต่อให้แล้วเสร็จก่อนที่อดีตนายกฯจะได้เดินทางไป ประเด็นนี้สามารถมองได้ทั้งสองทางและหากเป็นหนทางนี้ก็อยู่ที่การพิจารณา คสช.ว่าจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่ เพราะมีสถานการณ์ใหม่เข้ามาสามารถที่จะอ้างเรื่องนี้ปรับเปลี่ยนได้ หรือหากจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเพราะเห็นว่าที่ผ่านมาอดีตนายกฯให้ความร่วมมือดีมาก ก็อนุญาตให้ไปเช่นเดิม ดังนั้น เรื่องทั้งหมดจะไปตกอยู่ที่การพิจารณาของศาลฎีกา แผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งการเมืองว่าจะตัดสินออกมาเช่นไร 

เห็นว่าหาก คสช.อนุญาตให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ไปแล้ว และหลายเสียงอาจจะกังวลว่าเธอจะไปมากเกินกว่า 20 วันที่ขอด้วยคดีที่เกิดขึ้นนี้ จึงอยากแนะนำ คสช.ว่าหากจะอนุญาตจริง ควรจะวางมาตรการหรือเพิ่มเงื่อนไขในการเดินทางมากขึ้น เช่น อาจจะเพิ่มว่าต้องมารายงานตัวทุกๆ กี่วัน แจงรายละเอียดในการเดินทางมากกว่านี้ เป็นต้น เพื่อที่จะให้ทุกฝ่ายไม่มีข้อกังขาว่าทำอย่างโปร่งใส ไม่มีนอกไม่มีใน อย่างนี้น่าจะทำให้ทุกฝ่ายสบายใจได้

สุขุม นวลสกุล

อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง

เป็นไปตามคาดคะเนอยู่เเล้ว ไม่ได้ผิดปกติในทรรศนะของตัวเอง เป็นไปตามกระบวนการ อาจจะออกมาพร้อมกับการอนุมัติให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ไปต่างประเทศ เเต่ไม่ได้มองว่าผิดปกติ เเละที่จริง ป.ป.ช.อาจอยากจะชี้นานเเล้วด้วยซ้ำ

เเต่มติทั้งหมดก็เป็นเเค่ข้อกล่าวหา ไม่ได้หมายความว่าทุกคดีที่ ป.ป.ช.ชี้จะมีผลตามนั้นเสมอไปในท้ายที่สุด ยังมีอัยการ เเละศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอีก ตอนนี้ก็เพียงเเต่ว่าจบขั้นตอนของ ป.ป.ช.เท่านั้นเอง ทั้งนี้เผลอๆ อาจจะคิดว่าทำก่อนที่จะต้องมีการปฏิรูปตัวเองเหมือนกัน 

ความเห็นที่ว่า ป.ป.ช.น่าจะหมายมั่นในเเง่ที่ว่าทำผลงานเพื่อเเสดงให้เห็นว่าองค์กรนี้ยังสำคัญอยู่ก็ถือว่าเป็นไปได้ ถามว่าที่ผ่านมา ป.ป.ช.ให้โอกาสกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์เพียงพอหรือไม่ คิดว่าจริงๆ เเล้วการที่ฝ่ายจำเลยเรียกขอพยาน ถ้าไม่เหลือบ่ากว่าเเรงก็ควรจะให้ เพราะยิ่งเป็นคดีที่มีโทษหนักด้วยเเล้ว ต้องให้สู้ถึงที่สุด เเต่ทาง ป.ป.ช.อาจจะมองว่าการขอพยานเพิ่มของจำเลยนั้นเพียงเพื่อหวังประวิงเวลาเท่านั้น เเต่ความจริงเเล้ว การจะลงโทษผู้ใดหนักๆ นั้นต้องรอบคอบมาก ควรจะให้โอกาสพยาน

สมชาย ปรีชาศิลปกุล

อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ถ้าเทียบเคียงกับกรณีอื่นๆ จะทำให้เห็นว่า ป.ป.ช.ทำงานแบบมีมาตรฐานหรือมีความเป็นกลางจริงหรือเปล่า ข้อหาที่ ป.ป.ช.ตั้งข้อหากับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ คือ มาตรา 157 เจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยหรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กรณีนี้ ป.ป.ช.อ้างว่าทำให้ความเสียหายเกิดขึ้น ถ้า ป.ป.ช.ทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาก็ยังมีคำถามง่ายๆ เช่น กรณีที่มีคนร้องเรียนเรื่องพรรคประชาธิปัตย์กรณีประกันราคาข้าว หรือกรณีที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ใช้ความรุนแรงกับประชาชนปี 2553 คิดว่าที่เห็นทั้งหมดนี้คือ ป.ป.ช.ยังไม่ได้ทำอะไรเลย หรือทำอะไรช้ามาก ทั้งๆ ที่เรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นก่อนกรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ จึงเกิดคำถามว่ากรณีรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ หรือกรณีอื่นๆ ซึ่งไม่ใช่กรณีของพรรคเพื่อไทยหรือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ คำถามคือทำไมจึงไม่เห็นความคืบหน้าอย่างที่ควรจะเป็น

ส่วนที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์กำลังจะเดินทางออกนอกประเทศ ไม่แน่ใจว่าจะสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกันขนาดไหน เป็นกรณีหนึ่งที่คนน่าจะตั้งข้อสังเกตได้ โดยปกติเวลา ป.ป.ช.จะตัดสินอะไรจะมีกำหนดการ มีระยะเวลาที่ชัดเจน แต่ตอนนี้เป็นที่น่าสงสัยว่าทำไมจึงเกิดกรณีแบบนี้ขึ้นเมื่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์กำลังจะเดินทางออกนอกประเทศ แล้ว ป.ป.ช.รีบดำเนินการ 

สิ่งที่อยากจะเตือน ป.ป.ช.คือ อำนาจต้องไปกับความเป็นธรรม ถ้าเมื่อไหร่ที่อำนาจไม่ไปกับความเป็นธรรม คิดว่าสถาบันนั้นพร้อมจะเสื่อม พร้อมจะถูกโยนทิ้งได้ง่ายๆ อย่าคิดว่ามีลำพังอำนาจแล้วใช้อำนาจไม่สนใจเรื่องความเป็นธรรม ประวัติศาสตร์หรือบทเรียนของสังคมระดับการเมืองไทยหรือการเมืองโลก เราเห็นมาเยอะแล้วว่าอำนาจที่ไม่มีความเป็นธรรมสักวันจะล้มคว่ำลงอย่างไม่เป็นท่าได้ เพราะฉะนั้น ป.ป.ช.ต้องคิดให้ดี 

ตอนนี้ยังเร็วไปที่จะพูดถึงบรรทัดฐานใหม่ในการตัดสิน ต้องรอกระบวนวิธีของศาลก่อน ดูการพิจารณาคดีของศาลก่อน เพราะไปถึงศาล มาตรา 157 ลำพังเพียงการทุจริตในระดับการปฏิบัติงาน ยากที่จะส่งผลไปถึงผู้กุมในระดับนโยบาย ที่ผ่านมาความผิดตามมาตรา 157 ไม่ได้หมายความว่า พอมีเจ้าหน้าที่ทุจริตกันในระดับปฏิบัติงานแล้วนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบ เพราะถ้าเป็นอย่างนั้นนายกรัฐมนตรีทุกคนต้องติดคุกหมด นายอภิสิทธิ์ก็ไม่เว้น ถามว่าสมัยนายอภิสิทธิ์มีการทุจริตในระดับการปฏิบัติงานหรือไม่ 

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: //www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1405769221



Create Date : 20 กรกฎาคม 2557
Last Update : 20 กรกฎาคม 2557 10:24:52 น.
Counter : 561 Pageviews.

1 comments
  
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ
โดย: peepoobakub วันที่: 16 มีนาคม 2560 เวลา:17:27:28 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

MStaRT
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



All Blog