บุญอันเกิดจากการรักษาศีล

บุญอันเกิดจากการรักษาศีล


การทำบุญด้วยการตั้งใจรักษาศีล ย่อมเกิดบุญกุศลขึ้นเช่นกัน

ทุกครั้งที่ระลึกถึงศีลที่ตัวเองรักษาดีแล้ว ไม่ด่างพร้อย ก็สามารถอธิษฐานส่งบุญได้ว่า

“บุญที่ข้าพเจ้าได้รักษาศีลนี้ จึงถึงแก่…………………..”




 

Create Date : 26 พฤษภาคม 2553   
Last Update : 26 พฤษภาคม 2553 16:18:42 น.   
Counter : 996 Pageviews.  

ไล่ผีบ่อย ๆ คนในบ้านจะหาความสุขไม่ได้

ไล่ผีบ่อย ๆ คนในบ้านจะหาความสุขไม่ได้


ไล่ผีบ่อย ๆ คนในบ้านจะหาความสุข ความสงบไม่ได้เลย

พ่อ แม่ ลูก สามี ภรรยา ทะเลาะขัดแย้งด้วยเรื่องไม่เป็นเรื่อง จนฆ่ากันตายมานักต่อนัก

ฉะนั้น ต่อไปเมื่อมีเหตุเดือดร้อนภายในบ้านหรือภายในองค์กร ควรทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้พวกเขา

เมื่อพวกเขาอยู่สุขสบายก็จะเลิกรบกวนเรา แล้วจะกลับเป็นองครักษ์ชั้นดีที่คอยปกปัก รักษาเราต่อไป




 

Create Date : 25 พฤษภาคม 2553   
Last Update : 25 พฤษภาคม 2553 15:59:00 น.   
Counter : 414 Pageviews.  

การให้ทานแก่บุคคลย่อมมีผลบุญแตกต่างกัน

การให้ทานแก่บุคคลย่อมมีผลบุญแตกต่างกัน


ให้ในพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานย่อมเกิดผลมากกว่าให้พระพุทธเจ้าองค์เดียว

ให้ในพระพุทธเจ้าย่อมมีผลมากกว่าให้ในพระอรหันต์

ให้ในพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ผู้ออกจากนิโรธสมาบัติ ย่อมมีผลมากกว่า

ให้ในพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ในสถานภาพปกติ

ให้ในพระอรหันต์ย่อมมีผลเหนือกว่าให้ในพระอนาคามี

ให้ในพระอนาคามีย่อมมีผลมากกว่าให้ในพระสกทาคามี

ให้ในพระสกทาคามีย่อมมีผลมากกว่าให้ในพระโสดาบัน

ให้ในพระโสดาบันย่อมมีผลมากกว่าให้ในผู้ทรงฌาน

ให้ในผู้ทรงฌานย่อมเหนือกว่าให้ในพระผู้ประพฤติศีลตามปกติ

ให้ในผู้มีศีลย่อมมากกว่าให้ผู้ไม่มีศีล

ให้ในคนย่อมมากกว่าให้ในสัตว์

ให้ในสัตว์ผู้โพธิสัตว์ย่อมมีผลมากกว่าให้ในสัตว์ธรรมดา

ให้ในสัตว์ที่มีคุณย่อมเกิดผลมากกว่าให้แก่สัตว์ที่ไม่มีคุณ

และแม้แต่ให้อาหารแก่พวกมดปลวกก็ยังเกิดกุศล

ดังนั้น ชื่อว่าการให้ย่อมเกิดบุญกุศลทั้งสิ้น แต่จะมากน้อยก็ต่างกันไป

เงิน 1 บาท ถวายพระอรหันต์มีผลมากมายนับไม่ได้

แต่ให้ในภิกษุผู้ทุศีลมีผลน้อย นี่คือความแตกต่างของนาบุญ

ถ้ารู้จักเลือกก็ให้เลือกเถิด ถ้าเลือกไม่ได้ก็ให้ถวายในสงฆ์ส่วนรวม ก็อานิสงส์มาก


............................................................................................




 

Create Date : 24 พฤษภาคม 2553   
Last Update : 24 พฤษภาคม 2553 16:42:26 น.   
Counter : 495 Pageviews.  

นักปรัชญา.....พระโพธิธรรม (ตั๊กม้อ)



พระโพธิธรรม (สันสกฤต: बोधिधमृ; จีน: 菩提達摩, พินอิน: Pútídámó , Dámó; เวด-จิลส์ : Tamo; ญี่ปุ่น : ダルマ ดะรุมะ; เวียดนาม: Bồ-đề-đạt-ma) แต่ในนิยายกำลังภายในเรียก ตักม้อ หรือ ตั๊กม้อ เป็นพระภิกษุในพุทธศาสนา นิกายมหายาน มีประวัติไม่ชัดเจนนัก แต่เชื่อกันว่ามีตัวตนอยู่จริง และเป็นผู้สถาปนาวัดเส้าหลิน ในจีน ทั้งยังได้เผยแพร่วิชามวยจีนในหมู่พระเณรของวัดเส้าหลิน จนมีชื่อเสียงมาจวบจนทุกวันนี้

ตำนานระบุว่า ท่านเกิดเมื่อราว พ.ศ. 520 เดิมเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๓ ของพระเจ้าแผ่นดิน แคว้นคันธารราช ประเทศอินเดีย ใกล้เมืองมัทราสในปัจจุบัน มีนัยน์ตาสีฟ้า ตั้งแต่พระชนอายุยังเยาว์ ทรงปราดเปรื่องและแตกฉานในคัมภีร์ของทุก ๆ ศาสนา ตลอดจนวรรณคดี อักษรศาสตร์โบราณ นับเป็นปราชญ์เอกแห่งยุค

เมื่อพระบิดาสิ้นพระชนม์ พระองค์สามารถนั่งฌานสมาบัติชั้นสูง อยู่เบื้องพระบรมศพของพระบิดานานตลอดถึง ๗ วัน หลังจากนั้น จึงไปศึกษาแสวงธรรมอยู่กับพระปรัชญาตาระเถระ ผู้เป็นพระสังฆปรินายกองค์ที่ ๒๗ และเป็นพระธรรมทูต เดินทางไปเมืองจีน เมื่อราว ค.ศ. 526 ได้เดินทางไปยังเมืองกวางตุ้งของจีน เข้าเฝ้าจักรพรรดิอู่ตี้ และไม่นานต่อมาได้ก่อตั้งอารามขึ้นในเมืองลั่วหยาง และใช้เวลาปฏิบัติวิปัสนากรรมฐานถึง 9 ปีในการเพ่งผนังถ้ำ

ฝ่ายมหายาน ถือว่าพระโพธิธรรมเป็นพระมหาเถระองค์ที่ 28 ที่สืบสายโดยตรงมาจากพระพุทธเจ้า และยังเป็นผู้สถาปนานิกายเซนขึ้นด้วย และเนื่องจากคำสอนของท่านจะเน้นไปที่การเข้าฌาน แนวทางคำสอนของท่านจึงมักจะเรียกกันว่า ฌาน (สันสกฤต : ธฺยาน) ในภาษาจีนเรียกว่า 'ฉาน' และภาษาญี่ปุ่นว่า 'เซน'

ประวัติชีวิตของท่านมักจะถือเป็นตำนาน ขาดหลักฐานที่แน่นอน เช่น ตำนานหนึ่งเล่าว่า ท่านได้ตัดหนังตาทิ้ง เนื่องจากโมโหที่เผลอหลับไปขณะทำสมาธิ เมื่อหนังตานั้นตกถึงพื้น ก็เติบโตกลายเป็นต้นชา และตำนานยังเล่าต่อว่า ด้วยเหตุดังกล่าวภิกษุนิกายเซนจึงนิยมดื่มน้ำชา เพราะจะได้ไม่ง่วงเวลาทำสมาธิ

ท่านมรณภาพเมื่อ พ.ศ. 1079 และมีการสร้างสถูปขึ้นในเมืองเหอหนาน ภายหลังรัชสมัยจักรพรรดิไท่จง ในราชวงศ์ถัง

ขอขอบคุณ.....//th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1




 

Create Date : 11 มกราคม 2551   
Last Update : 19 มีนาคม 2553 21:53:46 น.   
Counter : 869 Pageviews.  

นักปรัชญา.....นาคารชุน

นาคารชุน (नागार्जुन ; โรมัน: Nāgārjuna ; เตลุกุ : నాగార్జునా ; จีน : 龍樹) (มีชีวิตในช่วงประมาณ พ.ศ. 700 - 800) เป็นนักปรัชญาอินเดีย เป็นผู้ก่อตั้งสำนักมัธยมกะ (ทางสายกลาง) ในนิกายมหายาน แห่งพุทธศาสนา และนับเป็นนักคิดชาวพุทธที่มีอิทธิพลสูงสุด ถัดจากพระพุทธเจ้า เป็นที่ศรัทธาและกล่าวถึงในหมู่นักศึกษาพุทธศาสนาชาวยุโรปมาโดยตลอด ท่านเป็นนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาที่มีผลงานโดดเด่นในด้านปรัชญาและตรรกวิทยา ผลงานสำคัญของท่านคือ มาธยมิกการิกา (มาธยมิกศาสตร์)อันเป็นพื้นฐานสำคัญของแนวคิดศูนยวาท ประกอบด้วยการิกา 400 การิกา ใน 27 ปริเฉท หนังสือเล่มนี้ได้รับการยกย่องตลอดมา และเป็นที่ยอมรับกันว่านักตรรกวิทยาที่ยิ่งใหญ่กว่าพระนาคารชุนไม่เคยมีปรากฏในโลก ศาสนิกชนมหายานทุกนิกายยกย่องท่านในฐานะคุรุผู้ยิ่งใหญ่เสมอ อย่างไรก็ตาม ประวัติของท่านกลับไม่ชัดเจนเท่าที่ควร

ประวัติ
ตามประวัติที่แปลเป็นภาษาจีนโดยพระกุมารชีวะเมื่อประมาณ ค.ศ. 405 ได้กล่าวว่า พระนาคารชุนเป็นชาวอินเดียภาคใต้ เกิดในสกุลพราหมณ์ แต่ข้อมูลที่บันทึกโดยพระถังซำจั๋งระบุว่า ท่านเกิดในแคว้นโกศลภาคใต้, ท่านเป็นพระสหายที่มีอายุไล่เลี่ยกับพระเจ้ายัชญศรีเคาตมีบุตร (ค.ศ. 166-196) ประวัติในตอนต้นไม่แน่ชัด หลักฐานของทิเบตกล่าวว่าท่านออกบวชตั้งแต่วัยเด็กเนื่องจากมีผู้ทำนายว่าจะอายุสั้น บ้างก็ว่าในวัยเด็กมารดาของท่านได้รับคำทำนายว่าท่านนาคารชุนจะไม่อาจมีบุตร ทางแก้คือต้องจัดพิธีเลี้ยงพราหมณ์ 100 คน ครอบครัวของท่านจึงต้องจัดพิธีดังกล่าว แต่หลังจากนั้นพราหมณ์ก็ยังทำนายว่าต้องจัดพิธีเช่นนี้อีกเนื่องจากยังไม่สิ้นเคราะห์ กระทั่งหลังจากที่มารดาทำพิธีเลี้ยงพราหมณ์เป็นครั้งที่สาม มารดาจึงตัดสินใจให้ท่านออกบวชขณะอายุยังไม่ครบ 7 ปี และให้ท่านออกจาริกแสวงบุญเพื่อแสวงหาผู้ที่สามารถช่วยชีวิตท่านให้รอดพ้นจากความตาย ท่านจาริกมาจนถึงนาลันทา ท่านได้พบกับท่านราหุลภัทระและได้รับการศึกษาที่นั่น

แต่อีกตำนานหนึ่งกล่าวว่าท่านออกบวชในวัยหนุ่ม เหตุเนื่องจากท่านกับสหายใช้เวทมนตร์ลักลอบเข้าไปในพระราชวังและถูกจับได้ สหายท่านถูกจับประหารชีวิต เนื่องจากตัวท่านอธิษฐานว่าหากรอดพ้นจากการจับกุมในครั้งนี้จะออกบวชในพระพุทธศาสนา หลังจากอุปสมบทแล้วได้ศึกษาพระไตรปิฎกเจนจบภายใน 90 วัน มีความรอบรู้ในไตรเพทและศิลปศาสตร์นานาชนิด ประวัติท่านปรากฏเป็นตำนานเชิงอภินิหารในพุทธศาสนานิกายต่าง ๆ จนยากจะหาข้อสรุป ตำนานเล่าว่าท่านได้ลงไปยังเมืองบาดาลเพื่ออัญเชิญคัมภีร์ปรัชญาปารมิตาสูตรขึ้นมาจากนาคมณเฑียร และเป็นผู้เปิดกรุพระธรรมเร้นลับของมนตรยานซึ่งพระวัชรสัตว์บรรจุใส่สถูปเหล็กไว้ ได้มีการอ้างว่าท่านพำนักอยู่ในสถานที่หลายแห่งของอินเดีย เช่น ศรีบรรพตในอินเดียภาคใต้ ในคัมภีร์ทิเบตกล่าวว่าท่านใช้เวลาช่วงหนึ่งอยู่ที่นาลันทาด้วย

สำหรับนามว่า "นาคารชุน" นั้น มีที่มาจากคำว่า นาคะ กับ อรชุน โดยที่อรชุนเป็นชื่อของต้นไม้ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นที่กำเนิดของท่าน บ้างก็อธิบายต่างไปว่า นาคะหมายถึงปัญญาญาณ แสดงถึงสมรรถภาพทางสติปัญญาของผู้ที่สามารถเอาชนะกิเลสาสวะลงได้ ดังนั้นชื่อของพระนาคารชุนจึงอาจเป็นชื่อจริงหรือนามฉายาที่มีบุคคลยกย่องขึ้นในภายหลังก็ได้ และมีข้อสันนิษฐานมากมายเกิดขึ้นเกี่ยวกับเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ว่า นักปราชญ์ที่มีนามว่านาคารชุนนั้น อาจมีอยู่หลายคน ทำให้บุคคลในชั้นหลังเกิดความสับสนและเข้าใจผิดว่าเป็นบุคคลคนเดียวกัน ทำให้มีตำนานเรื่องราวปรากฏต่างกันออกไป อย่างไรก็ตาม ในทางปรัชญาย่อมถือเอาคุรุนาคารชุนผู้รจนาคัมภีร์มาธยมิกศาสตร์เป็นสำคัญ

งานเขียนของนาคารชุนนั้น ถือเป็นพื้นฐานการกำเนิดสำนักมัธยมกะ ซึ่งมีการถ่ายอดไปยังจีน โดยเรียกว่า สำนักสามคัมภีร์ (ซานลุ่น : 三論) ท่านได้รับการยกย่องนับถือในฐานะผู้สถาปนาแนวคิดแห่ง พระสูตรปรัชญาปารมิตา และมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมหาวิทยาลัยพุทธนาลันทา คัมภีร์สำคัญของท่านนาคารชุนที่หลงเหลือมาถึงปัจจุบันได้แก่ มูลมัธยมกการิกา (มาธยมิกศาสตร์), ศูนยตาสัปตติ, ยุกติษัษฏิกา, วิครหวยาวรตนี, สุหฤลเลขะ, รัตนาวลี, ไวทัลยปรกรณะ ซึ่งล้วนเป็นการอรรถาธิบายพุทธพจน์ด้วยตรรกวิทยาอันเฉียบคม และหลักปรัชญาศูนยตวาท นอกจากนี้ยังมีงานเขียนอีกจำนวนมากที่อ้างว่าเป็นผลงานของท่านเพื่อให้งานนั้นๆ มีความน่าเชื่อถือ ผลงานหลายเล่มยังคงเป็นที่ถกเถียงกันว่าเป็นผลงานที่แท้จริงของท่านหรือไม่.

แนวคิดทางปรัชญา
พระนาคารชุนอธิบายหลักพุทธพจน์บนพื้นฐานของปรัชญาศูนยตวาท ซึ่งกล่าวไว้อย่างชัดเจนในงานเขียนของท่านคือ "มาธยมิกศาสตร์" คำว่ามาธยมิกะหมายถึงทางสายกลาง เพราะฉะนั้นแนวคิดของมาธยมิกะก็คือปรัชญาสายกลางระหว่างสัสสตทิฏฐิ (ความเห็นว่ามีอยู่อย่างเที่ยงแท้) และอุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ) ตามที่พุทธปรัชญาอธิบายว่าสรรพสิ่งล้วนอิงอาศัยกันเกิดขึ้น ไม่มีสิ่งใดมีสวภาวะที่ดำรงอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง จึงเรียกว่าศูนยตา ทว่าก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นความว่างเปล่าหรือขาดสูญแบบอุจเฉททิฏฐิ หากหมายถึง ไม่มีสาระในตัวเอง แต่เป็นเพราะเหตุปัจจัยอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแบบปัจจยาการ สรรพสิ่งในโลกจึงล้วนเป็นความสัมพันธ์ เช่นความสั้นและความยาวเกิดขึ้นเพราะมีการเปรียบเทียบกับอีกสิ่งหนึ่งเสมอ เพราะฉะนั้นสาระอันแท้จริงของความสั้นและความยาวจึงไม่มี จึงเป็นศูนยตา และทุกสิ่งโดยสภาพปรมัตถ์แล้วล้วนเป็นศูนยตา ปราศจากแก่นสารให้ยึดมั่นถือมั่นได้ แนวคิดของมาธยมิกะเป็นพัฒนาการทางตรรกวิทยาอันสุขุมลุ่มลึกของมหายาน เพื่อใช้เหตุผลทางตรรกะคัดค้านความเชื่อในความมีอยู่ของอัตตา รวมทั้งปรมาตมัน ซึ่งพราหมณ์และลัทธินอกพระพุทธศาสนาอื่นๆ เชื่อถือว่า เป็นสิ่งที่ดำรงอยู่โดยตัวเอง ไม่อิงอาศัยสิ่งใด และเป็นแก่นสารของสรรพสิ่ง แต่หลักปรัชญาของพระพุทธศาสนาย่อมสอนให้เข้าถึงความดับรอบโดยแท้จริง แม้ทั้งตัวผู้รู้และสิ่งที่รู้ย่อมดับทั้งสิ้น กล่าวคือโดยปรมัตถ์แล้วทั้งพระนิพพานและผู้บรรลุนิพพานย่อมเป็นศูนย์นั่นเอง เพราะเมื่อธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา เกิดจากเหตุปัจจัยจึงปราศจากตัวตน เมื่อปราศจากแก่นสารตัวตน แล้วอะไรเล่าที่เป็นผู้ดับกิเลสและบรรลุพระนิพพาน เราจะเห็นได้ว่าว่างเปล่าทั้งสิ้น ไม่มีสัตว์บุคคลมาตั้งแต่แรก เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่าสัตว์บุคคลตัวตนเราเขาเท่านั้น สังสารวัฏล้วนเป็นมายา โดยแท้แล้วหาได้มีสภาวะใดเกิดขึ้นหรือดับไป เพราะฉะนั้นจึงกล่าวว่าตัวตนผู้บรรลุนิพพานไม่มีเสียแล้ว พระนิพพานอันผู้นั้นจะบรรลุจึงพลอยไม่มีไปด้วย

ตัวอย่างในเรื่องนี้ปรัชญามาธยมิกได้ใช้อุปมาว่า เปรียบเหมือนมายาบุรุษคนหนึ่งประหารมายาบุรุษอีกคนหนึ่ง การประหารของมายาบุรุษทั้งสองย่อมเป็นมายาไปด้วยฉันใด ทั้งผู้บรรลุนิพพานและสภาวะแห่งนิพพานย่อมเป็นศูนย์ไปด้วยฉันนั้น หรือเปรียบกิ่งฟ้าซึ่งไม่มีอยู่จริง สิ่งที่แขวนอยู่บนกิ่งฟ้าก็ย่อมจะมีไม่ได้ แล้วเช่นนี้จะมีอะไรอีกสำหรับปัญหาการบรรลุและไม่บรรลุ กล่าวให้ชัดขึ้นอีกคือ เมื่อตัวตน อัตตา อาตมัน เป็นสิ่งว่างเปล่าไม่มีแก่นสารอยู่จริง เป็นสักแต่คำพูด เป็นสมมติโวหารเท่านั้นแล้ว การประหารกิเลสของสิ่งที่ไม่มีจริงนั้นจะเป็นจริงได้อย่างไร อนึ่ง อุปมาว่ามายาบุรุษผู้ถูกประหารอันเปรียบด้วยกิเลสทั้งหลาย ก็ไม่มีอยู่จริงเช่นนี้แล้ว ถ้าเกิดความเข้าใจผิดว่า มีสิ่งอันตนประหาร หรือมีสิ่งอันตนได้บรรลุถึง (มรรค ผล นิพพาน) แล้วไซร้ จะหลีกเลี่ยงส่วนสุดทั้งสองข้าง (เที่ยงแท้-ขาดสูญ) ได้อย่างไร มาธยมิกะแสดงหลักว่าทั้งสังขตธรรมและอสังขตธรรมมีสภาพเท่ากันคือเป็นศูนยตา เพราะการมีอยู่แห่งสังขตะจึงมีอสังขตะ หากสังขตธรรมเป็นมายาหามีอยู่จริงไม่โดยปรมัตถ์แล้ว อสังขตธรรมอันเป็นคู่ตรงข้ามก็ย่อมไม่มีไปด้วย อุปมาดั่งดอกฟ้ากับเขากระต่าย หรือนางหินมีครรภ์ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยมีในโลก เช่นนั้นแล้วบุตรอันเกิดจากนางหินมีครรภ์จะมีอย่างไรได้ แม้แต่ความสูญเองก็เป็นมายาด้วยเช่นกัน แต่กระนั้น ปรัชญาศูนยวาทก็ยังยืนยันในเรื่องนิพพานและบุญบาปว่าเป็นสิ่งมีอยู่ เพียงแต่คัดค้านสิ่งที่ดำรงอยู่ด้วยตัวของมันเองเท่านั้น เพราะสรรพสิ่งเป็นศูนยตานั่นเอง คนทำกรรมดีย่อมได้ดี ทำกรรมชั่วย่อมได้ชั่ว ปุถุชนจึงบรรลุเป็นพระอริยะได้ หาไม่หากสรรพสิ่งเที่ยงแท้อยู่โดยตัวของมันเองแล้วย่อมไม่แปรผัน เมื่อนั้นมรรคผลนิพพานก็จะมีไม่ได้ด้วย

ขอขอบคุณ.....//th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%99




 

Create Date : 11 มกราคม 2551   
Last Update : 19 มีนาคม 2553 21:51:09 น.   
Counter : 517 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  

ตติตา
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




ผู้รักชีวิตอิสระ
[Add ตติตา's blog to your web]