Carpe diem

MonkeyFellow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add MonkeyFellow's blog to your web]
Links
 

 

ถามว่าเดือนชื่อเดือนอะไรบ้าง

๏ ถามว่าเดือนชื่อเดือนอะไรบ้าง แก้ว่าชื่อเดือนอ้าย เดือนญี่ เดือนสาม เดือนสี่ เดือนห้า เดือนหก เดือนเจ๊ด เดือนแปด เดือนเก้า เดือนสิบ เดือนสิบเอ็ด เดือนสิบสอง ๚ะ

๏ ถามว่า เดือนอ้าย เดือนญี่ ภาษาอะไร ทำไมจึ่งไม่เรียกเดือนหนึ่งเดือนสองเล่า แก้ว่าเปนคำโปราณชาวเหนือ เหมือนหนึ่งเมื่อครั้งกรุงเก่า ก็มีชื่อเจ้าอ้ายพระยา เจ้าญี่พระยา เจ้าสามพระยา มีชื่ออยู่ดั่งนี้ ก็เหนว่าเดือนอ้าย เดือนญี่ ก็จะเปนเดือนหนึ่งเดือนสองนั้นเอง แต่ชื่อเดือนนั้น ในภาษาพม่า ภาษารามัญ ภาษาลาว ภาษาเขมรเรียกต่าง ๆ กันตามภาษาของเขา ข้างจีนเดือนหนึ่ง เขาก็ไม่เรียกว่าเดือนหนึ่ง เขาเรียกว่าเดือนปีใหม่ ต่อไปเขาก็นับเดือนสองเดือนสามไปจนถึงเดือนสิบเอ็ด เดือนสิบสองเหมือนกัน แต่ภาษาบาฬีท่านก็เรียกเอาชื่อเดือนเมื่อวันเพ็ญ ตรงต่อชื่อดาวฤกษใด เอาฤกษวันนั้นมาเปนชื่อเดือน เดือนห้าเจตรมาศ เดือนหกพิสาขมาศ ฤๅไพสาขมาศ เดือนเจ๊ดเชฐมาศ ฤๅเชฐมูลมาศ เดือนแปดอาสาทมาศ เดือนเก้าสาวันมาศ เดือนสิบภัทร์บทมาศ เดือนสิบเอ๊ดอาสุขมาศ ฤๅอัสยุชมาศ เดือนสิบสองกัตติกมาศ เดือนอ้ายมิคสิรมาศ ฤๅมาคสิรมาศ เดือนญี่บุศมาศ เดือนสามมาฆมาศ เดือนสี่ผคุณมาศ

๏ ถามว่า ข้างไททำไมไม่ตั้งปีใหม่ที่เดือนอ้ายเล่า ไปตั้งปีใหม่ที่เดือนห้าเหตุอย่างไร แก้ว่าไม่ตั้งปีใหม่ในเดือนอ้าย เพราะอาทิตยเดินไปเปนที่สุดข้างทิศใต้ จึ่งตั้งเดือนนั้นเป็นเดือนที่หนึ่งแล้ว ก็เปนระดูหนาว ด้วยหนาวเปนต้นระดูทั้งปวง จึ่งวางเดือนหนึ่งไว้ที่นั้น บางจำพวกเขาก็ตั้งปีใหม่ในเดือนอ้ายก็มี ชาวยุโรปเขาก็ตั้งปีใหม่ในเดือนอ้ายบ้าง เดือนญี่บ้าง เขาคิดเอาเมื่อวันอาทิตยกลับเข้ามาข้างเหนือได้ ๑๑ วัน วันนั้นดวงพระอาทิตยโตที่สุดตกในนิตย เรียกว่าพสุสงกรานต์ใต้ เขาก็เอาวันนั้นเปนปีใหม่ บวกศักราชขึ้นในวันนั้น ข้างจีนเขาก็เอาเดือนสามขึ้นคํ่าหนึ่งเปนปีใหม่ เอาเดือนญี่เปนเดือนสิบสอง เพราะเดือนญี่พระอาทิตยไปที่สุดข้างทิศใต้ จะกลับมาเหนือจึ่งเอาเดือนสามเปนปีใหม่ เมื่อเวลาอาทิตยกลับแล้ว เพราะจีนถือเอาดวงพระจันทรเต็มดวงคราวหนึ่ง ๆ เปนเดือน ถ้าถือเอาอาทิตยเปนเดือน ก็เหนจะเอาเดือนญี่เปนปีใหม่ เหมือนอย่างชาวยุโรป เพราะจีนถือเอาดวงจันทร จึ่งได้เลื่อนเข้ามาเดือนสาม จำพวกที่ถือคำภีร์โหราสาตร ไทยมอญพม่าที่ถูกกัน เขาคิดเอาเมื่ออาทิตยมาถึงกึ่งกลางพิภพ เปนราศริต้นเรียกว่าเมศราศรี จึ่งเอาเดือนห้าขึ้นค่ำหนึ่งเปนปีใหม่ ด้วยใกล้อาทิตยจะขึ้นเถลิงศกในราศรีเมศเปนสงกรานต์

จะเห็นว่าตอนนั้น วันปีใหม่อยู่เดือนห้า 
เริ่มแรกตามจารีตของไทยแต่โบราณได้ถือเอาวันแรม ๑ ค่ำเดือนอ้าย(๑) เป็นวันขึ้นปีใหม่ เหมือนหลาย ๆ ชาติที่ถือว่าฤดูเหมันต์หรือฤดูหนาวเป็นการเริ่มต้นปี ด้วยว่าคนสมัยก่อนเห็นว่าฤดูหนาว เป็นช่วงผ่านพ้นจากฤดูฝนอันมืดครึ้ม สว่างเหมือนเวลาเช้า ส่วนฤดูร้อนเป็นช่วงที่สว่างเหมือนเวลากลางวัน และฤดูฝนเป็นเวลามืดหม่นคล้ายกลางคืน เขาจึงนับฤดูเหมันต์หรือซึ่งมักตรงกับเดือนอ้ายที่สว่างเหมือนเวลาเช้าเป็นต้นปี นับช่วงฤดูร้อนเป็นกลางปีและฤดูฝนเป็นปลายปี

ต่อมาในระยะที่สอง เราได้มีการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันขึ้น ๑ ค่ำเดือนห้า(๕) คือราวช่วงสงกรานต์ อันเป็นการเปลี่ยนจารีตไปตามคติพราหมณ์ที่นับวันตามจันทรคติ โดยใช้ปีนักษัตรและการเปลี่ยนจุลศักราชเป็นเกณฑ์

ระยะที่สาม ในสมัยรัชกาลที่ 5 เราก็ได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 เมษายนอันเป็นนับวันทางสุริยคติ ซึ่งได้ประกาศใช้มาตั้งแต่ พ.ศ.2432

ระยะที่สี่ คือในปี พ.ศ.2483 รัฐบาลได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ไทยให้เป็นไปตามแบบสากลนิยม คือวันที่ 1 มกราคม ซึ่งมีเหตุผลว่าวันดังกล่าวกำหนดขึ้นโดยการคำนวณด้วยวิทยาการทางดาราศาสตร์ และเป็นที่นิยมใช้กันมากว่าสองพันปี อีกทั้งไม่เกี่ยวข้องกับลัทธิศาสนา หรือการเมืองของชาติใด แต่สอดคล้องกับจารีตประเพณีของไทยแต่โบราณที่ใช้ฤดูหนาวเป็นต้นปี ดังนั้น เราจึงมีวันขึ้นปีใหม่ตรงกับนานาประเทศ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2484เป็นต้นมา (ปี พ.ศ.2483 เราจึงมีแค่ 9 เดือนและปี พ.ศ.2484 มี 12 เดือน จากนั้นปีต่อ ๆ มาก็มีปีละ 12 เดือนตามปรกติ)

พระอาทิตย์โคจรมาถึงจุดใกล้สุดกับโลกในราววันที่ ๔ มกราคม เรียกว่า พสุสงกรานต์เหนือ (perihelion) กับโคจรไปถึงจุดไกลสุดจากโลกในราววันที่ ๓ กรกฎาคม เรียกว่า พสุสงกรานต์ใต้ (aphelion).

จะเห็นว่าวันในรูปไม่ตรงกัน เพราะนับจากวันครีษมายัน summer solstice  20 มิุนายนหรือ 21 มิถุนายน ไปประมาณ14 วัน 
– ช่วงวันที่ 21 มีนาคม กับวันที่ 21 กันยายน เป็นวันที่กลางวันกับกลางคืนกินเวลาเท่ากัน พระอาทิตย์จะขึ้นทิศตะวันออกและตกลงทิศตะวันตกพอดี
– ช่วงวันที่ 21 มิถุนายน เป็นวันที่พระอาทิตย์อ้อมขึ้นเหนือที่สุด กลางวันจะยาวนาน พระอาทิตย์ขึ้นตั้งแต่เช้าแต่ตกดินช้า
– ส่วนช่วงวันที่ 21 ธันวาคม เป็นวันที่พระอาทิตย์อ้อมใต้มากที่สุด ดวงอาทิตย์ขึ้นช้า ช่วงกลางวันสั้นและตกดินอย่างรวดเร็ว ทำให้ช่วงกลางคืนยาวนาน

พระอาทิตย์อ้อมใต้ (เดือนกันยายน – เดือนเมษายน)
ตั้งแต่เดือนกันยายน จะเป็นเดือนที่เส้นทางวิถีวงโคจรของดวงอาทิตย์ จะเป็นแสงอ้อมจากทางทิศใต้ แล้วจะค่อย ๆ ขยับจากทิศใต้ลงใต้ไปเรื่อย ๆ จนถึงเดือนมกราคมที่แสงแดดจะอ้อมใต้มากที่สุด จากนั้นแดดจะค่อย ๆ ขยับขึ้นเหนือมาจนถึงกลางเดือนเมษายน จะเป็นช่วงที่ตำแหน่งดวงอาทิตย์ตรงกับตำแหน่งของประเทศไทยพอดีทำให้เป็นช่วงที่ร้อนที่สุดของประเทศไทย และหลังจากสิ้นเดือนเมษายน วิถีวงโคจรของดวงอาทิตย์จะเปลี่ยนจากการอ้อมทางทิศใต้เป็นการอ้อมทิศเหนือ รวมระยะเวลาแดดอ้อมใต้เป็นเวลา 8 เดือน

พระอาทิตย์อ้อมเหนือ (เดือนพฤษภาคม – เดือนสิงหาคม)
หลังจากที่วิถีโคจรของดวงอาทิตย์เปลี่ยนจากการอ้อมทางทิศใต้ มาเป็นการอ้อมทางทิศเหนือช่วงสิ้นเดือน เมษายน ดวงอาทิตย์จะอ้อมทางทิศเหนือและจะขยับองศาขึ้นไปจนถึงจุดสูงสุดที่เดือนกรกฎาคม และหลังจากนั้นจะค่อย ๆ ขยับลงมาทางทิศใต้ จนถึงช่วงกลางเดือนสิงหาคม วิถีวงโคจรจะเปลี่ยนกลับมาอ้อมทางทิศใต้อีกครั้ง โดยจะวนเวียนในลักษณะนี้ทุก ๆ ปี รวมระยะเวลาแดดอ้อมเหนือเป็นเวลา 4 เดือน




 

Create Date : 30 สิงหาคม 2563    
Last Update : 30 สิงหาคม 2563 15:03:38 น.
Counter : 506 Pageviews.  

ถามว่า เขาแบ่งยามกันกลางวันแปดยาม กลางคืนแปดยาม

๏ ถามว่า เขาแบ่งยามกันกลางวันแปดยาม กลางคืนแปดยาม คือสุริยะ สุกระ พุฒะ จันเทา เสารี ครู ภุมมะ สุริยะ

๏ ยามกลางคืนคือรวิ ชีโว สะสิ สุกโกร ภุมโม เสาโร พุโฒ รวี นั้นเปนอย่างไรเล่า แก้ว่าเขาแบ่งกลางคืนแปดยาม กลางวันแปดยามนั้น เขาแบ่งส่วนละโมงครึ่งเปนยาม หมอดูไม่ได้นับเข้าในพวกยามนาฬิกา ยามนาฬิกานั้น เขาแบ่งทีละ ๓ ทุ่ม ๔ ยามสว่าง ๚ะ

ยามอัฏฐกาล

"อัฏฐ" แปลว่า แปด "กาล" แปลว่า เวลา "อัฏฐกาล" จึงแปลว่าเวลาแปดช่วง โดยท่านแบ่งเวลาของวันหนึ่งๆ นั้นเป็นแปดช่วงตามภาคกลางวันและกลางคืน คือกลางวันแปดช่วง กลางคืนอีกแปดช่วง ช่วงหนึ่งก็เรียกว่ายามหนึ่ง แต่ละยามก็จะมีเทวดาหรือดาวเคราะห์ดวงหนึ่งเป็นเจ้ายามอยู่ ช่วงหนึ่งจะเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมงครึ่ง ครบแปดช่วงก็เป็นวันหนึ่งพอดี แปดช่วงเวลานั้นแบ่งไว้ดังนี้

ยามกลางวัน

ยามแรก ๐๖.๐๐ -๗.๓๐ น.

ยามสอง ๐๗.๓๑ - ๐๙.๐๐ น.

ยามสาม ๐๙.๐๑ - ๑๐.๓๐ น.

ยามสี่  ๑๐.๓๑ - ๑๒.๐๐ น.

ยามห้า ๑๒.๐๑-๑๓.๓๐ น.

ยามหก ๑๓.๓๑-๑๕.๐๐ น.

ยามเจ็ด ๑๕.๐๑-๑๖.๓๐ น.

ยามแปด ๑๖.๓๑-๑๘.๐๐ น.

ยามกลางคืน

ยามหนึ่ง ๑๘.๐๑-๑๙.๓๐ น.

ยามสอง ๑๙.๓๑-๒๑.๐๐ น.

ยามสาม ๒๑.๐๑- ๒๒.๓๐ น.

ยามสี่  ๒๒.๓๑- ๒๔.๐๐ น.

ยามห้า ๒๔.๐๑ -๐๑.๓๐ น.

ยามหก ๐๑.๓๑- ๐๓.๐๐ น.

ยามเจ็ด ๐๓.๐๑- ๐๔.๓๐ น.

ยามแปด ๐๔.๓๑- ๐๖.๐๐ น.

สุริยะ หรือ ระวิ ได้แก่ อาทิตย์
จันเทา หรือ ศศิ ได้แก่ จันทร์
ภุมมะ หรือ ภุมโม  ได้แก่  อังคาร
พุธะ หรือ พุโธ   ได้แก่ พุธ
ครู หรือ ชีโว   ได้แก่ พฤหัสบดี
ศุกระ หรือ ศุโกร ได้แก่ ศุกร์
เสารี หรือ โสโร ได้แก่ เสาร์ 

การนับยามตามสูตร เอาชื่อยามวันนั้นขึ้นต้นเป็นยามที่หนึ่งก่อน แล้วจึงเรียกยามที่ ๒ ที่ ๓ ต่อไปตามลำดับ  สูตรดังกล่าวแล้วนับวันอาทิตย์ขึ้นก่อน  หากจะใช้วันจันทร์หรือวันอื่น ก็ต้องเปลี่ยนไปโดยเอาชื่อยามวันนั้นขึ้นต้นเป้นยามที่ ๑ก่อน แล้วจึงไล่ตามสูตรต่อไป เช่นจะใช้สำหรับวันจันทร์กลางวัน ก็เรียกสูตรว่า จันเทา เสารี ครู ภุมมะ สุริยะ ศุกระ พุธะ จันเทา  หรือจะใช้วันพฤหัสบดีเวลากลางคืน ก็เรียกสูตร ว่า ชีโว ศศฺิ ศุโกร  ภุมโม โสโร พุโธ ระวิ ชีโว
สนใจอ่านต่อ ยามวิเศษจินดา




 

Create Date : 27 สิงหาคม 2563    
Last Update : 30 สิงหาคม 2563 9:06:14 น.
Counter : 954 Pageviews.  

ถามว่าวันมีกี่วัน

จากหนังสือ แสดงกิจจานุกิตย์
๏ ถ้าเขาถามว่าวันมีกี่วัน แก้ว่ามีเจ๊ดวัน วันหนึ่งกี่โมง แก้ว่ากลางวัน ๑๒ โมง กลางคืนนับ ๑๒ ทุ่ม โมงหนึ่ง ๑๐ บาท ว่าอีกอย่างอนึ่ง วันกับคืนหนึ่งเปน ๖๐ นาที นาทีหนึ่งเปน ๔ บาท บาทหนึ่ง ๑๕ เพ็ชนาที เพ็ชนาทีหนึ่ง ๖ ปราณ ปราณหนึ่ง ๑๐ อักษร อย่างนี้มาตราไท ถ้าจะว่าตามพวกที่เขาใช้นาฬิกาพก เขาคิดเอาเทพจรผู้ชาย ที่อายุตั้งอยู่ในมัชฌิมไวย เทพจรนั้นเดินเสมอทีหนึ่ง หนึ่งเขาเอามาตั้งเรียกว่าสกัน ๖๐ สกันเปนมินิตย ๖๐ มินิตยเปนโมงหนึ่ง เขาคิดตั้งแต่ล่วงเที่ยงคืนไปจนเปนวันน่าจนถึงเที่ยงวัน เรียกว่าเวลาเช้า บ่ายโมงหนึ่งไปจนสองยามเรียกว่าเวลาค่ำ ก็เปน ๒๔ โมงเหมือนกัน ถ้าจะเรียกตามไท สกันหนึ่งก็เรียกว่าวินาที ๖๐ วินาทีเปนมหานาที ๖๐ มหานาทีเปนโมงหนึ่ง ๚ะ

ถ้าจาก มูลบทบรรพกิจ 

วันมีชื่อเจ็ดวันหนา วันอาทิตย์มา วันจันทร์ วันอังคารนี้ ๚ะ

๏ วันพุฒวันพฤหัศบดี วันศุกรศักดิ์ศรี วันเสาร์ครบเสร็จเจ็ดวัน ๚ะ

๏ กลางวันกลางคืนควบกัน ท่านนับเปนวัน หนึ่งควรจะใส่ใจจำ ๚ะ

๏ วันหนึ่งนั้นแปดยามย่ำ กลางวันท่านกำ หนดไว้ว่าสี่ยามมี ๚ะ

​๏ กลางคืนก็นับยามสี่ วันกับราตรี จึงเปนแปดยามตามใช้ ๚ะ

๏ ยามหนึ่งสามนาลิกาไซร้ นาลิกาท่านใช้ กลางวันท่านเรียกว่าโมงนา ๚ะ

๏ กลางคืนเรียกว่าทุ่มหนา นาลิกาหนึ่งรา ได้สิบบาดท่านบอกไว้ ๚ะ

๏ บาดหนึ่งสี่นาทีไทย นาทีหนึ่งได้ สิบห้าเพชะนาที ๚ะ

๏ เพชะนาทีหนึ่งนี้ หกปราณด้วยดี ปราณหนึ่งสิบอักษรไซ้ ๚ะ

จะเห็นว่า โมงหนึ่ง สิบบาท ตรงกัน แต่ นาทีหนึ่งเปน ๔ บาท บาทหนึ่ง ๑๕ เพ็ชนาที ไม่ตรงคาดว่าน่าจะมีการผิดพลาด

๖๐ สกัน  second เปนมินิตย  minute  
ตำราเทพจร หรือเทพจรประจำกาย เป็นตำราดูฤกษ์ยามสำหรับการเดินทาง สมัยโบราณมีความเชื่อว่าคนเราทุกคนเกิดมา
จะมีเทวดารักษากันทุกคน เพื่อร่วมสร้างบารมีกัน เพราะเทวดานั้นต้องอาศัยมนุษย์ในการสร้างบารมี ทุกคนจึงมีเทวดารักษา และคุ้มครอง
เทพจรจึงหมายถึง เทวดาที่ดูแลรักษาในการเดินทางไกล ไปต่างถิ่น ย้ายถิ่นที่อยู่อาศัย
มัชฉิมไวย ปานกลาง ๑๖ ถึง ๓๐ ปี

จากบันทึกความรู้ต่างๆ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ  
ปราณ เข้าใจว่าหมายถึงหายใจ แต่เปนสกันเดียวแห่งมาตรานาฬิกากล ต้องเข้าใจว่าเปนหายใจออกหรือเข้าครั้งหนึ่ง อักษร เข้าใจว่าหมายถึงเขียนหนังสือ แต่สกันละ ๑๐ คำนั้นเปนไปไม่ได้ เรวกว่าเขียนชวเลขไปเสียอีก คำว่าทุ่มโมงนั้น สมเด็จกรมพระยาเทววงศ์ทรงสันนิษฐานว่า ทีกลางวันเขาจะตีด้วยฆ้อง กลางคืนตีด้วยกลอง เหนชอบด้วยตามที่ทรงสันนิษฐานยิ่งนัก

เวลาเที่ยงคืนซึ่งเรียก สองยาม นั้น เป็นเวลาที่มีการย่ำกลอง ๒ ลา คือ ๒ ชุด และเป็นเวลาที่มีการเปลี่ยนยามเป็นครั้งที่สอง

จากสานส์สมเด็จ พุทธศักราช ๒๔๘๓
คำว่า “นาฬิกา” ที่ดอกเตอรแลงกาต์พบใช้ในกฎหมายเก่าว่า “กะลาลอย” นั้นดีหนักหนา ด้วยได้ความชัดว่าเครื่องกำหนดเวลาของไทยเดิมเรียกเป็นภาษาไทยตามวัตถุที่ใช้ว่า “กะลาลอย” มาเปลี่ยนใช้เป็นคำภาษาสังสกฤตว่า “นาฬิกา” ต่อมาภายหลัง แต่ก็หมายความว่ากะลาเหมือนกัน ครั้นว่าได้เครื่องกลอย่างฝรั่งสำหรับกำหนดเวลาเข้ามา ก็เอาชื่อเครื่องใช้ที่อยู่ก่อนมาเรียก “นาฬิกา” ยังคิดเห็นต่อไปว่าคำชั่วโมงเดิมเห็นจะเรียกว่า “ล่ม” หรือ“กะลาล่ม” แล้วจึงเปลี่ยนไปเรียกว่า นาฬิกา แต่คำ “นาฬิกา” ใช้แต่บุคคลชั้นสูง คนสามัญจึงเรียกกำหนดเวลาตามเสียงฆ้องที่ตีกลางวันว่า “โมง” และเรียกตามเสียงกลองที่ตีกลางคืนว่า “ทุ่ม” เมื่อหม่อมฉันยังเป็นเด็กเคยเข้าไปดูในโรงนาฬิกา ยังจำได้เป็นเค้าว่าอ่างน้ำสำหรับลอยกะลายังอยู่ แต่ใช้นาฬิกากลอย่างฝรั่งดูเวลา ถึงกระนั้นยังมีไม้คะแนนทำด้วยไม้ไผ่เหลาขนาด ไม้ตีกลองของเจ๊กผูกเชือกล่ามติดกันดูเหมือน ๑๒ อัน ถึงเวลาชั่วโมง ๑ ก็เอาไม้คะแนนขึ้น​ปักราวไว้เป็นสำคัญอัน ๑ เรียงกันไป คงถอนออกเมื่อย่ำรุ่งครั้ง ๑ ย่ำค่ำครั้ง ๑ หม่อมฉันนึกว่าที่โรงนาฬิกาหลวงเห็นจะใช้กะลาลอยมาจนตลอดรัชกาลที่ ๓ เพิ่งเอานาฬิกาฝรั่งไปตั้งต่อเมื่อรัชกาลที่ ๔ ทูลกระหม่อมได้ทรงประดิษฐ์เครื่องหมายเวลาขึ้นอย่าง ๑ เป็นแผ่นกระดานขนาดสักเท่ากระดานเครื่องเล่นน้ำเต้ากุ้งปูปลา เขียนหน้านาฬิกาติดทั้งเข็มยาวและเข็มสั้นเรียงไว้เป็น ๒ แถว หลายๆ วันเห็นเอาไปถวายทรงตั้งเข็มหน้านาฬิกาในแผ่นกระดานนั้นครั้ง ๑ ดูเหมือนมีพระราชประสงค์จะให้ตีระฆังตรงกับเวลาโคจรพระอาทิตย์ แต่ยังเด็กนักไม่เข้าใจได้แน่

วิธีการนับเวลาจากกะลา ในขั้นแรกต้องเริ่มจากการแบ่งกะลาออกเป็นซีกหนึ่งก่อน โดยกะลาซีกหนึ่งจะแบ่งเป็น ๑๐ ส่วน จากนั้นจึงบากรอยลงไปในกะลา ๙ เส้น เรียกว่า บาด ( ๑ เส้น มีค่าเท่ากับ ๑ บาด) และเจาะรูที่ก้นกะลาเพื่อให้น้ำไหลเข้า เมื่อวางกะลาลงในน้ำน้ำไหลเข้าถึงเส้นไหน นับเป็นเศษของนาฬิกาเท่านั้น จนกระทั่งน้ำไหลเข้าเต็มกะลาและกะลาจมลงจึงนับเป็น ๑ ชั่วโมง

ยังพบการนำกะลาไปใช้จับเวลาเมื่อเล่นพนันสัตว์ต่างๆ อีกด้วย เช่น ที่โรงนาฬิกาหลวงเก่า ใช้กะลาจับเวลาสำหรับชนไก่ ชนนกและชนปลา หรือการตีไก่ที่ใช้จอกเจาะก้นลอยในขันเมื่อจอกจมลง จะเรียกว่า “อันจม” ก็จับไก่แยกออก และนำไปให้น้ำ

กะลาจมน้ำหมดก็เรียก"หนึ่งอัน"แล้วหยุดพักและยกกะลาขึ้น
จากการยกขึ้นครั้งหนึ่งระหว่างที่พักก็เรียกเป็น"พักยก" และพอนับกันว่า"ยกครั้งที่ 1" "ยกครั้งที่ 2" นับกันไปเรื่อยๆภายหลังก็เลยเรียกช่วงเวลาแข่งขันทั้งชนไก่และชกมวยเป็น"ยก"มาจนทุกวันนี้(ทั้งๆที่ไม่ได้ยกอะไรแล้ว) โดยชนไก่มักกำหนดไว้ไม่เกิน 12 อัน(ยก) ส่วนมวยไทยโบราณไม่จำกัด คือสู้จนแพ้ชนะกันไปข้างถึงจะเลิก

เรื่องดูเวลาจากแดดใช้ตามชนบท หรืองานบวช
ในเมื่อเสร็จกิจอุปสัมปทานี้ ต้องดูเงาเหยียบชั้นฉายว่ากี่ชั้น เพราะพระพุทธเจ้าบัญญัติให้กำหนดวันเวลาที่บวชไว้สำหรับเมื่อเวลาพบเพื่อนพรหมจรรย์ จะได้รู้พรรษาอายุแก่อ่อน 
๕) ตรัสถึงประดิทินอย่างหยาบ มีอย่าง ๑ ที่เรียกว่า “ชั้นฉาย” อันเป็นต้นศัพท์ของ “นามฉายา” พระภิกษุ เดิมหม่อมฉันก็ไม่รู้ว่ากำหนดอย่างไร มาจนสมัยเมื่อออกจากกระทรวงมหาดไทยแล้วชอบไปอยู่ที่บ้านแป้ง อำเภอบางประอินเนืองๆ หม่อมฉันไปช่วยเขาบวชนาคที่วัดบ้านแป้ง พระครูธรรมทิวากร (เปรม) วัดชุมพลนิกายาราม เป็นอุปัชฌาย์พอเวลาสวดญัติแล้ว แกร้องถามว่า “ดูชั้นฉาย อยู่หรือ” มีเสียงคนอยู่ข้างโบสถ์ร้องรับว่า “ดูอยู่แล้ว” หม่อมฉันหูผึ่งลุกออกไปดู เห็นคนนั้นยืนหันหลังไปทางดวงพระอาทิตย์ให้มีเงาของตัวไปข้างหน้า ปักไม้หมายที่ปลายเงา แล้วเดินเอาเท้าวัดแต่ตรงที่ยืนอยู่ไปจนถึงหลักหมายปลายเงากี่ชั่วเท้าก็นับว่าเท่านั้นชั้น ได้เคยเห็นแต่หนเดียวเท่านั้น


ชั้นฉาย   หมายถึง น. การสังเกตเวลาด้วยมาตราวัดอย่างหนึ่งซึ่งเรียกว่าเหยียบชั้น คือ เอาเท้าวัดเงาของตัวคนที่ยืนกลางแดด ครั้งโบราณกําหนดเวลาโดยการวัดเงานั้นเป็นช่วงเท้า คือ ๑ ชั้นฉาย เท่ากับเงายาว ๑ ช่วงเท้า, มีพิกัดอัตราดังนี้ ๑๐ อักษร เป็น ๑ เมล็ดงา, ๔ เมล็ดงาเป็น ๑ เมล็ดข้าวเปลือก, ๔ เมล็ดข้าวเปลือก เป็น ๑ องคุลี, ๑๕ องคุลี เป็น ๑ ชั้นฉาย.

ชั้นฉายก็ได้แก่นาฬิกาแดดนั้นเอง แต่ที่วัดด้วยย่างเท้านั้นทำไปด้วยเข้าใจผิด ควรจะมีหลักปักไว้แล้วแบ่งเงาเป็นชั่วโมง

 ฉาย  แปลว่า ร่ม หรือ เงา  เช่น  รุกขฉายา  แปลว่า ร่มไม้  หรือเงาไม้    พระฉายาลักษณ์  รูป  หรือลักษณะที่เป็นเงา  “พระฉาย”   เงา  หรือ รูป  พระพุทธเจ้า แต่ในที่นี้หมายเพียงถึงเงา เงาของอะไรเงาของไม้ที่เกิดแต่การส่องแสงของดวงอาทิตย์  คือการเอาไม้มาปักไว้เมื่อพระอาทิตย์อุทัยขึ้นมาขอบฟ้าก็สาดแสงส่องกระทบไม้เป็นเงา (อย่างที่เขาเรียกว่า “นาฬิกาแดด”)  แล้วก็ขีดดินแบ่งไว้เป็นชั้น ๆ ชั้นละ ๑ ชั่วโมง    
เข้าไปหาศูนย์กลาง คือ ไม้

๖        โมงเช้า  ตะวันเพิ่งขั้นเงาไม้ก็ทอดยาวหน่อย ก็เป็น ๗ ชั้น

๗       โมงเช้า ตะวันขึ้นสูงเงาไม้ก็หดสั้นเข้ามาเหลือเพียง ๖ ชั้น

ตะวันยิ่งสูงขึ้นเงาก็ยิ่งสั้น ชั้นก็หดเข้ามาเรื่อย ๆ เป็น ๕ ชั้น  ๔  ชั้น  ๓  ชั้น และ  ๒  ชั้น

ในจารึกวัดศรีชุม (หลักที่สอง)  มีว่า “ปาฏิหาริย์แต่อุ่นเถิงสองชั้นฉายจักใกล้เที่ยง” 

สองชั้นฉายก็คือ ๑๑ นาฬิกานั่นเอง ชั้นเดียวก็คือเที่ยง  พอเลยเที่ยงไปตะวันก็“บ่าย”
(แปลว่า ลง)  หรือ ชาย  บ่ายโมงก็ สองชั้นบ่าย  หรือบ่ายสองชั้นก็แล้วแต่  บ่ายสองโมงก็สามชั้น  เรื่อยไปจนถึง  ๖ โมง ก็ ๗ ชั้น เท่ากันกับ     ตอนเช้า

การนับเวลาของชาวป่าแถบเมืองเหนือ “จะยกมือเหยียดแขนตรงออกไปด้านหน้าตามทิศเวลาเช้าและบ่าย แล้วกางนิ้วมือเป็นคืบ จากนั้นจึงไล่ดูตั้งแต่หัวแม่มือของตนเองไปจับขอบฟ้าแล้ววัดคะเนคืบขึ้นไปจนถึงดวงอาทิตย์ ถ้าดวงอาทิตย์สูงคืบหนึ่ง ก็กำหนดว่าโมงหนึ่ง และนับไปจนถึง ๖ คืบ เท่ากับเวลาเที่ยง” 

เวลา 1 วัน เทียบกับ ดวงอาทิตย์(Solar day) หรือวัน สุริยคติคือการวัดช่วงเวลาที่โลก หมุนรอบตัวเอง 1 รอบโดยสังเกตดวงอาทิตย์กล่าวคือถ้าเริ่มวัดเวลาตั้งแต่เห็น ดวงอาทิตย์อยู่สูงสุดวัน แรกจนถึงเวลาเห็นดวงอาทิตย์อยู่สูงสุดในวันถัดไป จะได้ช่วงเวลา1 วัน เทียบกับดวงอาทิตย์ซึ่ง นำ มาใช้ในชีวิตประจำวัน ที่เรียกสั้น ๆ ว่า 1 วันหรือ 24 ชั่วโมง ส่วนเวลา1 วัน เทียบกับดาวฤกษ์หรือดาราคติ(Sidereal day) คือการวัดช่วงเวลาที่โลก หมุนรอบตัวเอง 1 รอบโดยเปรียบเทียบกับ ดาวฤกษ์เช่น ช่วงเวลาระหว่างการเห็นดาวซีรีอัสผ่านเมริเดียน (จุดที่ดาวขึ้นไปสูงสุดบนท้องฟ้า) คร้ังแรกถึงคร้ังถัดไป แสดงว่า1 วัน ดาราคติเป็นช่วงเวลาที่ โลกหมุนรอบแกนสมมติไปได้ 360 องศา พอดี แต่1 วันสุริยคติเป็นช่วงเวลาที่โลกต้องหมุนไปประมาณ361องศา เพราะโลกไม่ได้อยู่กับ ที่ขณะ หมุนรอบตัวเองแต่เคลื่อนโคจรไปรอบดวงอาทิตย์ตลอดเวลาการโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกไป ทางทิศตะวันออก ทำ ให้ผู้สังเกตบนโลกเห็นว่าดวงอาทิตย์ย้ายตำแหน่งไปทางทิศตะวันออกของจุดเดิมประมาณ 1 องศาต่อวัน (โลกเคลื่อนไปได้ 360องศา ในเวลา 365.25 วัน ทำให้ใน 1 วัน โลกเคลื่อนไป ประมาณ 1องศา) ดังน้้นโลกจึงต้องหมุนรอบตัวเองต่อไปอีก1องศาหรือ 4 นาที จึงจะเป็นเวลา 1 วันสุริยคติ
 ถ้า 1 วันสุริยคติ = 24 ชั่วโมง 1 วันดาราคติจะประมาณ 23 ชั่วโมง 56 นาที หรือเวลาเทียบกับดาวเร็วกว่าเวลาเทียบกับดวงอาทิตย์วันละ4 นาที
sidereal day is approximately 23 hours, 56 minutes, 4.0905 seconds (24 hours − 4 minutes + 4.0905 seconds = 86164.0905 s = 23.9344696 h).




 

Create Date : 26 สิงหาคม 2563    
Last Update : 3 กันยายน 2563 13:16:36 น.
Counter : 693 Pageviews.  

หนังสือแสดงกิจจานุกิจ เจ้าพระยาทิพากรวงษ์มหาโกษาธิบดี ขำ บุนนาค

THIS is an extremely interesting little book. The minister whose views it records—Chao Phya Thipakon—conducted the foreign affairs of his country from 1856 till two years ago, when he was stricken with blindness and was obliged to retire into private life. It was then that he published the work—“a book explaining many things”—the more important parts of which are here translated. We need scarcely say that, looked at from our point of view, some of his beliefs are sufficiently strange, and that he sometimes expresses opinions on subjects which are altogether beyond the range of science. At the same time he has in many respects advanced far beyond the great mass of his co-religionists. He will accept nothing merely because it has been handed down by tradition, but demands proofs which will stand the test of rigid examination. In endeavouring to explain such phenomena as rain, epidemic diseases, the tides, &c., he will have nothing to do with spirits, good or bad; he takes his stand on observed facts, and although his explanations may sometimes be inadequate, they are generally quite in the spirit of modern Western investigation. So far as he understands them, he heartily accepts the European doctrines of astronomy. All this strikes a European reader as very incompatible with certain aspects of the Buddhist religion; but Chao Phya Thipakon is convinced that Buddha knew quite well the truth about the real order of the world, and that he accommodated his language to the prevailing conceptions of his time, only that he might be the more free to proclaim his doctrines on higher subjects. Hence it is proclaimed lawful for a modern Buddhist to open his mind readily to all the results of modern research. Some of the semi-religious customs of his countrymen the ex-minister rationalises in a most amusing way. For instance, the beating of gongs and firing of guns which take place on the occasion of an eclipse, are by no means what they are generally represented—an effort to frighten the dragon who holds the sun in his jaws, so as to make him drop it; they are the expressions of the popular pride and pleasure that the mathematicians of the country are able to predict the time when the eclipse shall occur! With the strictly theological portions of this book, we have, of course, nothing to do here; but we may state that in comparing the different religions of the world with his own, Chao Phya Thipakon is as far removed as possible from a fanatical spirit. He expounds his views calmly, and appears always ready to accept new light from whatever quarter it may come. The objections he raises to the Christian theory of the world betoken a thoughtful and inquiring mind, although, unfortunately, those from whom he derived his ideas of Christianity seem to have been exceptionally poor representatives of their cause. The ethical conceptions of the book are generally of a very noble character. In one point—the proper treatment of the lower animals—the writer, of course, carries his doctrine too far, and he certainly bases it on grounds with which Westerns can have no sympathy; but there can be no doubt that he is practically far nearer the truth than the great mass of Europeans of our own day. On the whole, this book may be accepted as a good omen for the future of the East. It proves that amongst the best minds a genuine spirit of inquiry has been aroused, and that the old cosmogonies and superstitions are already beginning to give way before more scientific conceptions of man and the world.

The Modern Buddhist. Nature 2, 372–373 (1870). https://doi.org/10.1038/002372a0

ผู้แต่งหนังสือนี้ มีความกรุณาต่อเด็กๆ ทั้งหลาย ที่จะสืบต่อไปภายน่า จะได้ยินได้ฟังการต่างๆ หนาหูเข้า จะชักเอาปัญญาแลใจแปรปรวนไป ด้วยความที่ไม่รู้อะไร ถึงจะไปเล่าเรียนหนังสืออยู่ที่วัดบ้าง ที่บ้านบ้าง อาจาริย์สั่งสอนให้เล่าเรียนหนังสือภอรู้อ่าน ก็ให้อ่าน หนังสือปถมกกา แล้ว ก็ให้อ่านหนังสือสวดต่างๆ แล้ว ก็ให้อ่านเรื่องต่างๆ ข้าพเจ้าพิเคราะห์ดูหนังสือที่เด็กอ่าน ก็ไม่เปนประโยชน์แก่เด็กเลย แต่หนังสือปถมกกา เปนที่ฬ่อให้เด็กอ่านง่ายก็ดีอยู่ ถ้าเปนหนังสือไทๆ ที่เด็กอ่าน ก็มีแต่หนังสือการประเล้าประโลมโดยมากกว่าหนังสือสุภาสิต เด็กนั้นก็ไม่ใคร่จะได้ปัญญาสิ่งใด ผู้ใหญ่จะสั่งสอนเด็ก ก็มีแต่คำที่ไม่เปนประโยชน์ เปนต้นว่า จันทร์เจ้าเอ๋ย ฃอเข้าฃอแกง ฃอแหวนทองแดงผูกมือน้องข้า มีแต่ถ้อยคำสั่งสอนกันดั่งนี้มีหลายอย่าง ยกขึ้นว่าภอเปนสังเขป เพราะฉะนั้นจึ่งไม่ได้ความฉลาดมาแต่เล็ก ข้าพเจ้าจึ่งคิดเรื่องราวกล่าวเหตุผลต่างๆ แก้ในทางโลกยบ้างทางสาศนาบ้าง ที่มีพยานก็ชักมากล่าวไว้ ที่ไม่มีพยานเปนของที่ไม่เหนจริง ก็คัดค้านเสียบ้าง ว่าไว้แต่ภอปัญญาเด็กรู้ ผู้ที่เรียนหนังสือรู้แล้ว จะได้อ่านหนังสือนี้แทนหนังสือสวด แลหนังสือเรื่องลคอน เหนจะเปนประโยชน์รู้การเล็กๆ น้อยๆ บ้าง ถ้าเขาถามสิ่งใด เด็กทั้งหลายจะได้แก้ไขตามสำนวนนี้ ว่าไว้เปนข้อถามข้อแก้ กล่าวแต่ภอจำได้ ให้ชื่อว่าหนังสือแสดงกิจจานุกิตย์ ถ้าท่านผู้ใดดูหนังสือนี้ เหนผิดพลั้งประการใด ฃอให้ช่วยแก้ไขให้ถูกต้องด้วย แต่ภอสมควรแก่ปัญญาเด็ก ถ้าเด็กผู้ใดอ่านหนังสือนี้แล้ว อยากจะรู้ความให้วิเสศโดยพิศฎาร ก็ให้หาครูเรียนโหราสาตร ธรรมสาตรต่างๆ ก็จะรู้ได้โดยเลอียด ๚ะ




 

Create Date : 26 สิงหาคม 2563    
Last Update : 26 สิงหาคม 2563 15:33:20 น.
Counter : 559 Pageviews.  

สิ่งที่ได้รับการกล่าวถึงจากหนังสือ สู่สวรรค์แวลแฮลลา

อ่าน Valhalla Rising ของ Clive Cussler แล้วอดไม่ได้ที่ต้องค้นรูปจาก internet มาดูว่าเป็นอย่างไร

Henry Moore

ภาพจาก Willem de Kooning

ภาพจาก Paul Klee

ภาพจาก Jackson Paullock

ภาพจาก Richard DeRosset

ยานพาหนะ
ตู้รถไฟ

รถยนต์ Packard 1936

รถยนต์ Duesenberg

รถยนต์ Jaguar XKR

Lincoln Navigator

Chevrolet Avalanche

เครื่องบิน Ford trimotor

Fokker DR-1

นาฬิกา Doxa

Columbus circle ที่ New York city

Broklyn Bridge ที่ไปเดินมา

ปลา Baracuda

ปลา Mola Mola




 

Create Date : 02 พฤศจิกายน 2557    
Last Update : 2 พฤศจิกายน 2557 14:54:04 น.
Counter : 985 Pageviews.  

1  2  3  4  5  
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.