Carpe diem

MonkeyFellow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add MonkeyFellow's blog to your web]
Links
 

 
ถามว่าพระพุทธศักราชมีแล้ว ทำไมจึ่งมาใช้จุลศักราช

๏ ถามว่าพระพุทธศักราชมีแล้ว ทำไมจึ่งมาใช้จุลศักราช ก็จุลศักราชนี้เปนศักราชของท่านผู้ใดตั้งไว้ แก้ว่าความเรื่องนี้ได้สืบถามแล้ว ท่านผู้ที่รู้ท่านว่าศักราชที่ใช้ในเมืองไทมีหลายอย่าง คือ พุทธศักราช มหาศักราช จุลศักราช พุทธศักราชนั้น นับตั้งแต่วันพระปรินิพพาน เป็นต้นว่าปีมะเสงเพ็ญเดือนหก วันอังคารยามอังคาร พระจันทรเสวยฤกษอนุราธ แต่ในลัทธิเก่าท่านถือว่า พระจันทร์เสวยฤกษวิสาขะ ฤกษวิสาขะกับฤกษอนุราชนั้นเนื่องกัน ก็เมื่อพระปรินิพพานนั้น เวลาจวนรุ่ง พระจันทรเดินเคลื่อนจากฤกษวิสาขะ เข้าแดนฤกษอนุราธแล้ว นักปราชบางพวกท่านจึ่งถือเอาฤกษอนุราธ มหาศักราชนั้นมากกว่าจุลศักราช ๗๖๐ ของเก่าเขาใช้จดหมายด้วยมหาศักราช ทุกวันนี้ไม่ใช้ เอาไว้เปนเกณฑลบเกณฑ์บวกจะได้รู้ว่าของนี้ เมื่อจุลศักราชเท่านั้น เมื่อมหาศักราชเท่านั้น ก็จุลศักราชนั้น โปราณท่านแต่งตั้งเปนตำรามา เพื่อจะให้ใช้ตัวเลขน้อยเข้า ให้ตั้งพุทธศักราชลงเอา ๑๑๘๑ ลบเหลือเท่าไรเปนจุลศักราชในปีนั้น เลขตัวท้ายปลายศักราชนั้น คงน้อยกว่าพุทธศักราชอยู่ตัวหนึ่ง เขาเอาไว้ใช้หมายศกเวียนไปชั่วสิบปี ตามตัวเลขว่า เอกศก โทศก ไปจนสำฤทธิ์ศก จุลศักราชนี้ มาแต่พุทธศักราชเปนที่ตั้งดังว่ามาฉะนี้ จุลศักราชนี้เปนคู่กับมหาศักราช ๆ ใดที่ได้ใช้มาแต่ก่อน เขาเรียกศักราชนั้นว่ามหาศักราช ศักราชใดที่เกิดทีหลัง เขาเรียกศักราชนั้นว่าจุลศักราช ว่าด้วยจุลศักราชเท่านี้ ๚ะ

รู้จัก 27 กลุ่มดาว ที่เรียงรายบนฟากฟ้าก่อน 1) อัศวินี ฤกษ์ 2) ภรณีฤกษ์ 3) กฤติกาฤกษ์ 4) โรหิณีฤกษ์ 5) มฤคศิรฤกษ์ 6) อารทราฤกษ์
7) ปุนีพสุฤกษ์
                 8) บุษยฤกษ์ 9) อาศเลษาฤกษ์ 10) มาฆฤกษ์ 11) บุรพผลคุนีฤกษ์ 12) อุตรผลคุนีฤกษ์
13) หัสตฤกษ์
                 14) จิตราฤกษ์ 15) สวาติฤกษ์ 16) วิศาขาฤกษ์ 17) อนุราธาฤกษ์ 18) เชษฐาฤกษ์
19) มูลาฤกษ์
                 20) บุรพษาฒฤกษ์ 21) อุตราฆาตฤกษ์ 22) ศรวณะฤกษ์ 23) ธนิษฐาฤกษ์ 24) ศตภิษัชฤกษ์
                 25) บุรพภัทรบทฤกษ์ 26) อุตรภัทรบทฤกษ์ 27) เรวดีฤกษ์

มหาศักราช (ตัวย่อ ม.ศ.; อังกฤษ: Shalivahana era, Saka era) เป็นศักราชที่ใช้ตามปีครองราชย์ของ พระเจ้ากนิษกะ กษัตริย์ที่ปกครองอาณาจักรกุษาณะ คาดว่าไทยเลิกใช้มหาศักราชในปี พ.ศ. 2112 โดยเปลี่ยนไปใช้จุลศักราชแทน
ปัจจุบันการแปลงมหาศักราช เป็นพุทธศักราช ให้นำ 621 บวกปีมหาศักราชนั้น จะได้ปีพุทธศักราช หากจะแปลงพุทธศักราชเป็นมหาศักราชก็ทำได้ด้วยการนำ 621 ลบกับปีพุทธศักราชนั้น จะได้ปีมหาศักราช 
พบการใช้มหาศักราชในศิลาจารึกสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช หลักที่หนึ่ง ๑๒๑๔  ศก ปีมโรง
จุลศักราช เป็นศักราชที่เริ่มเมื่อ พ.ศ. 1181 (ค.ศ. 638) นับรอบปีตั้งแต่ 16 เมษายน ถึง 15 เมษายน ในสมัยของพระเจ้าปราสาททอง ทรงตัดปีจุลศักราช และใช้ปีศักราชจุฬามณีแทน เป็นผลทำให้ปีนักษัตรคลาดเคลื่อนไปสามปี ต่อมาจึงได้เปลี่ยนกลับไปใช้ปีจุลศักราชตามเดิม และตกทอดมาถึงปัจจุบัน การคำนวณปี พ.ศ. จาก จ.ศ. ปฏิทินไทยให้ใช้ปี จ.ศ. บวก 1181 ก็จะได้ปี พ.ศ. 
ดังนั้น มหาศักราชน่าจะมากกว่าจุลศักราชอยู่ ๕๖๐ ปี    ที่เขียน ๗๖๐ น่าจะผิด
ในเอกสารโบราณของไทยจำนวนไม่น้อย นิยมอ้างเวลา โดยใช้จุลศักราช โดยใช้ควบคู่กับปีนักษัตร
ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงไม่เห็นประโยชน์ที่จะใช้ศักราชของพม่าหรืออินเดียต่อไป จึงมีพระบรมราชโองการ ให้เลิกใช้ศักราชที่เคยใช้มาก่อนทั้งหมด แล้วโปรดให้ใช้รัตนโกสินทรศกแทน โดยนับ ร.ศ.๑ คือปีที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เมื่อจ.ศ.๑๑๔๓ (พ.ศ. ๒๓๒๕) แรกเริ่มที่ประกาศใช้คือวันที่ ๑ เมษายน ร.ศ. ๑๐๘ (จ.ศ.๑๒๕๐ พ.ศ. ๒๔๓๒ ) ซึ่งจะถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของทุกปี แทนการเปลี่ยนปีพุทธศักราชในวันวิสาขะบูชาซึ่งจะกำหนดแน่นอนไม่ได้
ร.ศ. + 2324       =             พ.ศ.                       พ.ศ. – 2324         =             ร.ศ.

พุทธศักราชนั้นถูกประกาศให้ใช้อย่างเป็นทางการในรัชกาลที่ ๖ เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ ทรงเห็นข้อจำกัดของรัตนโกสินทร์ศกกว่าสั้นเกินไป หากจะนับย้อนหลังไปในอดีตยาวๆก็จะเหมือนคริสตศักราชที่ต้องระบุตัวเลขว่ากี่ปีก่อนคริสตกาล สร้างความสับสนในการคำนวณมาก และทรงเห็นว่าพุทธศักราชนั้นเกิดก่อนคริสตศักราชถึง ๕๔๓ ปี หากจะใช้พุทธศักราชแทนรัตนโกสินทรศกแล้ว ก็จะสะดวกในการศึกษาอ้างอิงอดีตของชาติสยามได้อย่างสะดวกสบาย จึงโปรดเกล้าฯให้เลิกใช้รัตนโกสินทรศกเมื่อ ร.ศ.๑๓๑ ณ วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๕ เพื่อใช้พุทธศักราช หนังสือราชการและสิ่งพิมพ์ต่างๆในอาณาจักรและพุทธจักรก็พร้อมใจกันใช้ พ.ศ.เป็นมาตรฐานเดียวกันนับแต่บัดนั้น

ต้องการแปลง พ.ศ. เป็น ค.ศ. เอา 543 ลบ พ.ศ.
ต้องการแปลง ค.ศ. เป็น พ.ศ. เอา 543 บวก ค.ศ.
 

การเรียกศกตามเลขท้ายปี
ปี ค.ศ. 2019 ตามปฏิทินไทยและกัมพูชาตรงกับ "ปีกุนเอกศก จุลศักราช 1381
ในระบบการเรียกศกตามเลขท้ายปีจุลศักราช นิยมเรียกดังนี้

  1. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 1 เรียก "เอกศก"
  2. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 2 เรียก "โทศก"
  3. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 3 เรียก "ตรีศก"
  4. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 4 เรียก "จัตวาศก"
  5. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 5 เรียก "เบญจศก"
  6. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 6 เรียก "ฉศก"
  7. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 7 เรียก "สัปตศก"
  8. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 8 เรียก "อัฐศก"
  9. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 9 เรียก "นพศก"
  10. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 0 เรียก "สัมฤทธิศก"

 

 




Create Date : 03 กันยายน 2563
Last Update : 3 กันยายน 2563 14:44:40 น. 0 comments
Counter : 881 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.