Carpe diem

MonkeyFellow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add MonkeyFellow's blog to your web]
Links
 

 

Feynman's wobbling plate

ในอาทิตย์เดียวกันนั้น ขณะที่นั่งอยู่ในโรงอาหาร ใครบางคนกำลังเล่นสนุกโดยโยนจานขึ้นไปในอากาศ ขณะที่จานลอยขึ้นไปผมเห็นมันหมุน แล้วสังเกตเห็นว่า ตราคอร์แนลสีแดงบนจานหมุนไปรอบๆ และเป็นได้ชัดว่าตรานั้นหมุนไปเร็วกว่าการส่ายของจาน 
ด้วยความที่ไม่มีอะไรจะทำ ผมจึงเลยนั่งคิดถึงการเคลื่อนที่ของจานที่หมุนอยู่ แล้วก็พบว่าเมื่อมุมแคบมากๆ ตรานั้นะหมุนเร็วเป็นสองเท่าอัตราส่ายของจาน สองต่อหนึ่ง คำตอบที่ได้มาจากสมการที่ค่อนข้างซับซ้อน
(จริงๆแล้วต้องกลับกัน ลองปรับดู
https://demonstrations.wolfram.com/FeynmansWobblingPlate/#more)




 

Create Date : 19 กันยายน 2564    
Last Update : 19 กันยายน 2564 15:53:38 น.
Counter : 505 Pageviews.  

Feynman sprinkler


มีสปริงเกลอร์สำหรับรดน้ำสนามหญ้ารูปตัว S  คือหัวที่ติดกับที่หมุนเป็นตัว S และน้ำจะออกมาทำมุมฉากกับแกน ซึ่งจะทำให้มันหมุนไปในทิศทางเฉพาะทิศทางหนึ่ง ทุกคนรู้อยู่แล้วว่า มันจะหมุนไปทางไหน คือมันจะไปในทางตรงข้ามกับน้ำที่พุ่งออกมา แต่ปัญหาก็คือ ถ้าคุณมีทะเลสาบ หรือสระน้ำ หรืออะไรก้ได้ที่มีน้ำมากๆ แล้วคุณเอาสปริงเกลอร์นี้ไปวางไว้ใต้น้ำ ให้มันดูดน้ำเข้าไป แทนที่จะพ่นน้ำออกมา ถามว่าสปริงเกลอร์นั้นจะหมุนไปทางไหน? มันจะหมุนไปทางเดียวกับตอนที่มันปล่อยน้ำออกมา หรือจะหมุนไปอีกด้าน


 




 

Create Date : 19 กันยายน 2564    
Last Update : 20 กันยายน 2564 11:27:57 น.
Counter : 377 Pageviews.  

ถอดความบางส่วนจาก เกลียวชีวิต เรื่องเล่าเกี่ยวกับการค้นพบโครงร่าง DNA

Podcast รายการ Sci เข้าหู EP12: เกลียวชีวิต เรื่องเล่าเกี่ยวกับการค้นพบโครงร่างของดีเอ็นเอ 
รายการ Sci เข้าหู โดยนิตยสารสาระวิทย์ ได้รับเกียรติเป็นอย่างสูงจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ พานิชพันธ์ ผู้ก่อตั้ง และผู้อำนวยการคนแรกของสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นผู้แปลหนังสือ “เกลียวชีวิต” (THE DOUBLE HELIX) มาร่วมพูดคุยบอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของวงการวิทยาศาสตร์ และเกร็ดความรู้ทางชีววิทยา

James Watson นี่เหมือนตัวการ์ตูนเลยนะ ตลก ตาเหลือกตลอดเวลา แล้วก็เวลาจะเกาหัวข้างขวา เอามือซ้ายพาดหัวมาเกาหัว แล้ว Crick ก็เป็นพวกเสียงดัง ไปเห็นเวลาว่าใคร ก็comment หมดพวกนี้ ไอ้นี่ถูกไอ้นี่ผิด คนก็หมั่นไส้มีชอบก็มี นี่คือฝ่าย Cambridge
ฝ่ายลอนดอน (King’s College London) ก็มี Wilkins (Maurice Wilkins)กับ Rosalind ซึ่งผมเจอ Wilkins ซึ่งผมเจอ Wilkins เกือบทุกวันเพราะเขาเป็น director ตอนนั้น นิ่งมาก แล้วก็ขี้อาย เห็นผู้หญิงสวยเมื่อไหร่ ก็รอสักเดือนสองเดือน แล้วก็โพล่งออกมาว่าฉันรักคุณ แล้วจะมีผู้หญิงคนไหนจะรับรักเขานะ จนแก่ถึงได้แต่งงาน
แล้ว Linus Pauling นี่เป็น อเมริกัน ใช้คำว่าแคลิฟอร์เนียก็แล้วกัน เป็นคนที่เลคเชอร์ดีมาก ได้โนเบลตั้งแต่เรื่อง alpha-helix เกลียวของเส้นผม ทำให้เคมบริดจ์เสียหน้ามาก ก็แพ้ ก่อนหน้านี้ยังมีอีกเรื่อง collagen ไอ้เคมบริดจ์มันเดาผิดว่า collagen มันเวียนขวา ปรากฎว่า Ramachandran มันเวียนซ้ายถูก directorของเคมบริดจ์ บอกไม่ยอมแล้วต่อไปนี้ DNA ต้องเป็นของเรา ทั้งๆที่สมัยนั้นมีความตกลง ว่า gentlemen gentlemen’s agreement ว่าใครทำเรื่องอะไร อีกคนไม่ควรจะเข้ามาทำเลย แต่เนื่องจากอยากจะชนะ ก็เลยยอมๆให้ Crick กับ Watson เป็นคนทำ คนที่ไม่มี data ให้มันไปแอบมองดู data คนอื่น แล้วมันไม่ใช่อะไร  Watson มันเป็นนักชีวะ มันก็ดูรูป มันก็วาดผิดวาดถูก  
Crick เรียก Watson ว่าอย่างไง นักส่องนก คนอังกฤษนะ watching bird  แปลว่าดูผู้หญิง เป็นสำนวน 
Watson นี่เก่งมากได้ PhD  อายุ20 เอง 
Wilkins ทำ radar ทำให้อังกฤษจับเครื่องบินมาจาก เบลเยียม กับฝรั่งเศส นาซียึดไว้ เห็นก่อนเลยส่งเครื่องบินขึ้นไปก่อน
ส่วย Crick ทำทุ่นระเบิดของกองทัพเรือ พวกพอสงคราม เขาก็เป็นฮีโร่ ฮีโร่ก็ขอเงินได้ ทั้งๆที่อังกฤษจนจะตายตอนนั้น ไม่มีอะไรเหลือ โดนบอมบ์ เมืองใหญ่ที่มีอุตสาหกรรมบอมบ์หมดไม่ใช่แค่ลอนดอน
เรื่องทั้งหมดเกิดขึ้น1951 ถึง 1953 แค่นั้น Wilkins ทำถึงกลาง 1952 แล้วขณะที่ไปฮอลิเดย์ Randall ที่เป็นผู้อำนวยการตอนนั้นเอาRosalind มา Wilkins ก็ยอม นึกว่าจะมาให้เป็น ลูกน้อง Rosalind บอกข้าจะเป็นschoolหัวหน้า  เพราะว่า Rosalind จบเคมบริดจ์ ก็เก่งนี่ เป็นปริญญาที่เท่กว่าซะด้วยซ้ำ เลยทะเลาะกันไม่ลงรอยกัน ดาต้าไม่ยอมแชร์กัน ทั้งๆที่ลูกน้องของ Wilkins นี่ ส่งไปให้ Rosalind ดูแลคนหนึ่ง

อันแรกที่เห็นก็คือไปที่ เนเปิ้ล ก็เห็น Xray ลงเอยก็กลับมาบอก Crick เฮ้ยหน้าตาเป็นแบบนี้ แสดงว่านี่ DNA มีระเบียบจริงๆนะ สายกึ่งผลึกหรือผลึกเท่านั้นที่เห็นเป็นจุดๆ เข้มไม่เข้มแล้วแต่จำนวนอะตอม ถ้าไม่มีผลึกเลยจะไม่เห็น  แม้แต่เอา squid sperm sperm ของปลาหมึก วิ่งใส่  หลอดเล็กๆนะจะเห็นเป็นรูปร่าง เป็นขาวดำด้วยนะ

มันไม่เคยเป็นผลึกจริงๆทีแรกเป็นกึ่งผลึก ไม่ใช่รังสีอย่างที่เราดูกระดูก ใช้ความยาวคลื่นต่ำมาก ระดับสิบยกกำลังสิบเมตร สิบยกกำลังเก้าเมตร ไม่งั้นเราจะไม่เห็นโมเลกุล 
ใช้ Fourier transform ใช้ Bessel function เป็นการรวมคลื่นต่างๆ บวกคลื่น  cos sine หรืออะไรต่างๆ
ที่จริง Crick นี่ฉลาดมาก เคยทำเรื่องเกลียวมาก่อน Crickมองปุ๊ปเขารู้เลยว่า DNAนี่นะ ต้องมีอันหนึ่งอยู่หัวอันหนึ่งอยู่หางคล้ายๆงูพันคบ หัวงูอันหนึ่งอยู่บน หัวงูอันหนึ่งอยู่ล่าง  พันกันเป็นเกลียวขวา อันนี้เขาเก็บไว้เลยเขาไม่บอกใคร 


Watson แอบไปดูแล้วก็จดผิดจดถูกงงไปตั้งนาน มีส่วนเล็กของผลึกทุกอัน เขาเรียก unit cell เป็น ตัวแทนผลึกทั้งหมด ทั้งความหนาแน่น ทั้งจำนวนโมเลกุล ทุกโมเลกุล Watson ไปจดผิดก็เลยงงไปพักหนึ่ง
อันนี้ Chargaff ก็ไม่รู้นะครับ เขาเรียกสูตรของ  Chargaff ก็คือหกเหลี่ยมกับเก้าเหลี่ยมเนี่ยเท่ากันแล้วเก้าเหลี่ยมกับหกเหลี่ยมเท่ากัน Chargaffก็ไม่รู้เรื่อง  มีเรื่องตลกที่บอกว่า Chargaff มาถึงเคมบริดจ์ ถามว่าพวกยูกำลังทำอะไร โอ้ยกำลังสร้างทำโครงร่าง DNA  Chargaff บอก แล้วตัวไหน  purine ตัวไหน pyrimidine  วะ
กว่าคนจะเชื่อว่าเป็น DNA นานมาก เขาคิดว่าเป็นโปรตีนก็ได้
Diffraction กระจายแสงของ Xrayอันนี้เกิดเป็นรูป  Cross ข้างบนกับข้างล่างเหมือนกัน   ไอ้  Crick มันบอกถ้าข้างบนกับข้างล่างเหมือนกัน แล้วมันจะให้ information อะไรได้บ้างวะ  เลยได้รู้ว่ากลับหัวกลับทางกัน แต่เขาบอกว่าเฮ้ยไม่ใช่ นี่มันรูปคร่าวๆ รูปจริงๆต้องเห็นเป็นอะตอมเลย ตอนนี้ภาพรวมๆมันเป็นอย่างนั้น

Pauling ชนะเคมบริดจ์ เนื่องจากว่าไปพับกระดาษอยู่ที่โรงพยาบาล oxford เชื่อไหมพับกระดาษนี่ได้โนเบล ที่เก่งมากพวกนี้มาจาก Caltechนะที่ California คือPauling  รู้ว่า  peptide bond หรือ  amide bond นี่ flat อันนี้สำคัญมาก ถ้าไม่ flat เนี่ยโอ้โหย โปรตีนม้วนไปม้วนมา ตายเลย

แล้วอีกอัน มาจากแคลิฟอร์เนีย   คืออเมริกันคนหนึ่งมาเยี่ยมที่เคมบริดจ์ ชื่อ Jerry Donohue บอกตำราผิดหมด เขารู้เรื่องเบสดีมาก เป็นเรื่องผู้เขียนตำราดันไปเลือกผิดอัน ก็เลยโชคดีว่าความรู้อันนี้สำคัญสุดๆ เป็น keto form   ไม่ใช่  enol form

ตอนนั้นแข่งกันอย่างมากมาย โชคดีที่ Pauling  มาอังกฤษไม่ได้ ไม่เห็น ดาต้าจริง เพราะว่า Mccarthy (Joseph Mccarthy)บอกว่าเป็น communist กักตัวไว้ อังกฤษเลยโชคดีไป
ที่ลอนดอน Wilkins ทำก่อน 1951 แล้วไปฮอลิเดย์ แล้วเจ้านายให้ Rosalind มาทำงานแทน Wilkins บอกว่าดีสิ นึกว่าได้ลูกน้อง Rosalind แต่ไม่ปรากฎนางไม่ยอมเป็น Rosalind อยู่ที่ ลอนดอน King college แค่ ปีกว่าๆเอง แล้วก็ลาออกไปอยู่ที่อีก college หนึ่ง ต่อจากนั้น Wilkins ก็ทำคนเดียวแล้วตั้งแต่ 1952 เขา recruit คนเก่ง Xray มาอีกสองคนทำต่อจนรู้ว่าอะตอมอยู่ตรงไหนทุกตัว ในปี 1972
หลังจากได้โนเบลมาแล้วยังต้องทำต่อ จนแน่ใจว่าโมเดลนี้ถูกต้อง
แต่อเมริกันไม่มี   gentlemen agreement Watson หลังจบปริญญาเอกแล้วจาก Lurea ซึ่งเป็นNoble laureate วิ่งไปหาจนเจอ Crick ถูกใจคุยกันรู้เรื่อง คนหนึ่งก็เป็นนักชีวะที่มีเซ็นส์ทางชีวะมาก ทำเรื่อง Phage มาก่อน คุยกันได้สนุกสนาน แล้วเขาเที่ยวไปพยายามดูดความรู้ เขาจะเอาน้องสาวเขามาเป็นสื่อให้ Wilkins หลงรัก แต่ Wilkins ขี้อาย เลยไม่ได้ผล  

DNA ที่ถูกต้องคือมีขั้นบันไดเวียนขวา และมีราวบันไดเวียนขวาสวนทางกัน พวกนี้ไม่รู้จะทำอะไรกับเบสของ Chargaff มันก็เอาเบสออกมาข้างนอก แล้วให้ฟอสเฟตบอนด์อยู่ข้างใน  Rosalind Franklin    กับ Wilkins ก็ไม่รู้เรื่อง ไม่ใช่นักเคมี ทำผิดแบบเขา Crick  กับ Watsonยิ่งแล้วใหญ่ คนหนึ่งเป็นชีวะคนหนึ่งเป็นฟิสิกส์ ไม่รู้เรื่อง Pauling ตอนนั้น ได้ โบเบิลก็แล้ว เขียนตำราคนเชื่อทั้งโลกแล้ว ยังอุตสาห์ให้ ฟอสเฟตจับกันโดยไม่มีประจุ คิดดูสิ pH 7 ฟอสเฟตไม่มีประจุ หน้าแตกให้อภัยกันไม่ได้

ชื่อว่า Watson crick base pair  ก็เพราะไอ้ crick มันเมามันตื่นไม่ทัน เช้าวันหนึ่งได้ข่าวจาก ไอ้แคลิฟอร์เนีย คนนั้นว่า หน้าตา purine pyrimidine หน้าตาต้องเป็นแบบนี้ ก็เลยตัดกระดาษตามที่ว่า โธ่เอ๋ยโลกนี้ ผู้หญิงก็มากับผู้ชาย นกก็มีตัวเมียตัวผู้แล้วทำไม DNA ต้องมีสามวะ  ลองทำสอง ก็เอามาจับคู่กัน เส้นผ่าศูนย์กลางของ DNA เท่ากันหมด เหมือนกับทรงกลมเลย โอ้สวยจังเลยสวยขนาดนี้ผิดได้ไง เขาก็เขียนเปปอร์ลง nature  1953  พวกนี้ตั้งใจเลยนะ เอาวะหน้าเดียวจะได้โนเบิล crick  ก็ทำได้ อย่าว่ามันแฟร์นะ นี่คือใช้เส้นนะ ภายในสัปดาห์เดียวได้ตีพิมพ์ใน  nature sir Lawrence Bragg ใช้เส้นให้ตีพิมพ์ทันที

ตีพิมพ์ไปแล้วไม่ฮือฮา คนไม่เชื่อเยอะแยะบอกเป็นไปได้หลายอย่าง บอกว่าถ้าสองสาย สี่สายก็ทำได้ ขอให้เป็นคูณสองไม่เชื่อแม้ paper ลง science 1975 ยังไม่เชื่อเลย เพราะเขาคิดกันไม่ออกอยู่พักหนึ่ง แต่มันเริ่มพิสูจน์ semiconservative replication ซึ่งคนก็บอกว่าสี่ก็ยัง semiconservativeได้ งาน Meselson Stahl(matthew Meselson and Franklin Stahl)  งาน John Carins   ทางmicroscope ทางเคมีด้วยนะ 
Barbara McClintock คนนั้นคนไม่เชื่อเลย jumping gene transposons ที่จริงลง journal ไม่ดีด้วยนะ journal ดีไม่รับ McClintock โกรธมากชี้ให้ดูตอนได้โนเบล 
ใน paper หนึ่งหน้า ข้างหลังสุดท้ายเขียนว่า It has not escaped our notice that the specific pairing we have postulated immediately suggests a possible copying mechanism for the genetic material.  มี  code อยู่ในการเรียงตัวของ  Base  ด้วย
พอเคมบริดจ์ทำได้ใช่ไหม ก็เรียกเอา Wilkins กับ Rosalind มาดู พวกนั้นก็ check ดาต้าทุกอย่างเหมือนไม่เหมือน ตกลงยอมรับ ก็ยังมีคนทำอะไรอีกเยอะแยะที่จะพิสูจน์เป็นอย่างที่ว่าที่ทำนายไว้
ผมนี่โชคดีมากไปเจอ lab ที่อยู่กับ Khorana(Har Gobind Khorana) ที่ Wisconsin  เขาเป็นคนที่synthesize  DNA ตามใจเลยนะ เขาได้ RNA ตามใจ แล้วเขาเอา RNA มาสร้าง โปรตีน เป็นดั่งว่า
Cricks นี่เก่งมากเขาทำนายเลยว่า ถ้า messenger RNA ซึ่งมีอยู่เยอะมาก แต่หายไปก็เร็วมาก ออกมาแล้วจะสร้างโปรตีนได้อย่างไร เขา propose adaptor tRNA  ต้องมีตัว adaptor จับ amino acid แล้ว amino acid รวมกันต่อพันธะ 
Sydney Brenner ที่ได้ โนเบลเหมือนกัน บอกว่า มันห่างกันก็จริงนะ เคยดูสะโพกผู้หญิงไหมเดินสองคน ส่ายไปส่ายมาเดี๋ยวก็สะโพกชนกัน    ส่ายที่เรียกว่า wobbleเป็น   wobble theory เป็นเกร็ดที่เล่ากันมา ผมอยู่กับพวกนั้น
แต่ Wilkins น่าจะได้ เพราะ Wilkins ทำมาก่อน ตั้งแต่ 194กว่า ก็ทำมาแล้ว
พอได้โนเบลแล้วทุกคนเปลี่ยนทิศทาง Crick ก็ไปทำเรื่องสมองที่ San diego  พยายามหาโมเลกุลความจำ  Watson ก็เป็น director ขอ Cold Spring harborไม่ค่อยได้ทำ lab เท่าไหร่  Wilkins  ทำเรื่องตาดู  membrane ของตา และ social responsible
เขาทำกับ Bacteriophages จนพบว่าต้องเป็นสาม แล้วสามไม่เว้นวรรค สามคอมม่าสามคอมม่า  ทำกับ Sydney brenner แต่เขาไม่ได้เจอตัว Codonนะ Codon เจอโดย Nirenberg Ochoa และ Knorana สามคนนี้

Haurowitz กับ deoxyhemoglobin กด coverslip แตกผลึกหายไป เขาสรุปว่ามี conformation change ระหว่าง deoxyhemoglobin กับ oxyhemoglobin
Lipid bilayers ค้บพบที่คิงส์จากลอนดอน ไอ้นี่อยู่ในถังธรรมดามีน้ำ หยดไขมันไปเรื่อยหยดไปขั้นหนึ่งเป็นชั้น ส่องไปเห็นว่าเป็น bilayers
วิทยาศาสตร์ต้องทำงานร่วมกัน ต้องร่วมหัวกันจะทำได้ดีกว่าคนเดียว 

Cricks ได้รูปจากลูกน้องเก่า Franklin ไปกับ Watson ไปยื่นให้ Franklin ดูฉันว่ารูปนี้แสดงอะไรบางอย่างจะคุยกันไหม Rosalind บอกกลับไปเดี๋ยวนี้ ไล่เลย ไล่ตะเพิด Wilkins อยากมีคนเห็นใจ บอกWatson ดูสิอยู่กับคนนี้อยุ่ไม่ได้ เลยเอา รูปให้ดู  Watson ทำไม่สนใจ แต่ พอจากกันไป วาดรูปใส่กระดาษใหญ่
 Pauling นี่เท่ห์มากพูดเก่งมาก เวลาทำseminar อย่างกับแสดงมายากล


 




 

Create Date : 12 กันยายน 2564    
Last Update : 13 กันยายน 2564 12:05:20 น.
Counter : 766 Pageviews.  

Understanding Einstein:The Special Theory of relativity


หลักสูตรน่าเรียนจาก  coursera สอนโดย Dr.Larry Randles Lagerstrom  แนะนำให้ไปลองเรียนดู


ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ พิเศษตรงไหน
เวลาสามารถเดินช้ากว่าสำหรับบุคคลหนึ่งเมื่อเทียบกับคนอื่นได้หรือไม่
ขนาดสิ่งของเปลี่ยนขึ้นกับความเร็วสัมพัทธของมัน
การเดินทางข้ามเวลาเป็นไปได้ไหม อย่างไร
ทำไมถึงไม่มีสิ่งที่เดินทางได้เร็วกว่าความเร็วของแสง
เป็นไปได้ไหมที่จะเดินทางไปใจกลางกาแล็กซีที่อยู่ห่าง 30000 ปีแสงแล้วเดินทางกลับในช่วงชีวิตคน
สิ่งเหล่านี้จะตอบได้เมื่อได้เรียน
สรุปเนื้อหาหลังเรียนไว้เพื่อทบทวน
-"Time is suspect"
-Two postulates -Principle of relativity ,Principle of light constancy
      invariance of speed of light ot all observer
      the relativity of simultaneity (clock synchronization)
      time dialtion( light clock), Lorentz factor
 γ , length contraction 
      the invarian interval c2t2-x2 = constant  "leading clock lag"
      Lorentz tranformation between inertia frame of reference,space            time diagram
-Implication faster than light travel? cuase and effect, paradoxes, galactic travel, E=
γ mc2
-General relativity equivalence principle, gravity time dialtion, bending of light


วิธีเรียน
-สมอง มีลักษณะ  neuroplasticity เราสามารถเพิ่ม neuron ได้ สามารถดีขึ้นได้  ขอให้มี  growth mindset  resillence perseverance grit เราก็จะสามารถเข้าใจได้ลึกซึ้งมากขึ้น
-ความรู้เกิดจากการสร้าง ไม่ใช่การรับ ไม่ใช่การดูclip  แล้วคิดว่าคงติดอยู่ในหัวที่ไหนสักแห่ง
-การเขียน  note จะช่วย การมองให้เป็นภาพ  และ การทบทวน จะช่วยในการเรียน การอ่าน note ที่ highlight ด้วย สีเหลืองก็เป็นแค่ทบทวนสิ่งที่จำได้เท่านั้น ซึ่งไม่นานเราก็ลืม การทำแบบทดสอบคือการทบทวนที่ดีกว่า
-ตั้งสมาธิทำอยู่เพียงเรื่องเดียวอย่าทำหลายอย่าง เอาแค่ 20 นาทีแล้วหยุดสัก  5 นาที แล้วอาจต่ออีก 20 นาที   Pomodoro technique (tomato timer)
-festina lente (make haste slowly)  อย่ารีบ



 




 

Create Date : 03 พฤศจิกายน 2563    
Last Update : 3 พฤศจิกายน 2563 11:00:49 น.
Counter : 504 Pageviews.  

ถามว่าพระพุทธศักราชมีแล้ว ทำไมจึ่งมาใช้จุลศักราช

๏ ถามว่าพระพุทธศักราชมีแล้ว ทำไมจึ่งมาใช้จุลศักราช ก็จุลศักราชนี้เปนศักราชของท่านผู้ใดตั้งไว้ แก้ว่าความเรื่องนี้ได้สืบถามแล้ว ท่านผู้ที่รู้ท่านว่าศักราชที่ใช้ในเมืองไทมีหลายอย่าง คือ พุทธศักราช มหาศักราช จุลศักราช พุทธศักราชนั้น นับตั้งแต่วันพระปรินิพพาน เป็นต้นว่าปีมะเสงเพ็ญเดือนหก วันอังคารยามอังคาร พระจันทรเสวยฤกษอนุราธ แต่ในลัทธิเก่าท่านถือว่า พระจันทร์เสวยฤกษวิสาขะ ฤกษวิสาขะกับฤกษอนุราชนั้นเนื่องกัน ก็เมื่อพระปรินิพพานนั้น เวลาจวนรุ่ง พระจันทรเดินเคลื่อนจากฤกษวิสาขะ เข้าแดนฤกษอนุราธแล้ว นักปราชบางพวกท่านจึ่งถือเอาฤกษอนุราธ มหาศักราชนั้นมากกว่าจุลศักราช ๗๖๐ ของเก่าเขาใช้จดหมายด้วยมหาศักราช ทุกวันนี้ไม่ใช้ เอาไว้เปนเกณฑลบเกณฑ์บวกจะได้รู้ว่าของนี้ เมื่อจุลศักราชเท่านั้น เมื่อมหาศักราชเท่านั้น ก็จุลศักราชนั้น โปราณท่านแต่งตั้งเปนตำรามา เพื่อจะให้ใช้ตัวเลขน้อยเข้า ให้ตั้งพุทธศักราชลงเอา ๑๑๘๑ ลบเหลือเท่าไรเปนจุลศักราชในปีนั้น เลขตัวท้ายปลายศักราชนั้น คงน้อยกว่าพุทธศักราชอยู่ตัวหนึ่ง เขาเอาไว้ใช้หมายศกเวียนไปชั่วสิบปี ตามตัวเลขว่า เอกศก โทศก ไปจนสำฤทธิ์ศก จุลศักราชนี้ มาแต่พุทธศักราชเปนที่ตั้งดังว่ามาฉะนี้ จุลศักราชนี้เปนคู่กับมหาศักราช ๆ ใดที่ได้ใช้มาแต่ก่อน เขาเรียกศักราชนั้นว่ามหาศักราช ศักราชใดที่เกิดทีหลัง เขาเรียกศักราชนั้นว่าจุลศักราช ว่าด้วยจุลศักราชเท่านี้ ๚ะ

รู้จัก 27 กลุ่มดาว ที่เรียงรายบนฟากฟ้าก่อน 1) อัศวินี ฤกษ์ 2) ภรณีฤกษ์ 3) กฤติกาฤกษ์ 4) โรหิณีฤกษ์ 5) มฤคศิรฤกษ์ 6) อารทราฤกษ์
7) ปุนีพสุฤกษ์
                 8) บุษยฤกษ์ 9) อาศเลษาฤกษ์ 10) มาฆฤกษ์ 11) บุรพผลคุนีฤกษ์ 12) อุตรผลคุนีฤกษ์
13) หัสตฤกษ์
                 14) จิตราฤกษ์ 15) สวาติฤกษ์ 16) วิศาขาฤกษ์ 17) อนุราธาฤกษ์ 18) เชษฐาฤกษ์
19) มูลาฤกษ์
                 20) บุรพษาฒฤกษ์ 21) อุตราฆาตฤกษ์ 22) ศรวณะฤกษ์ 23) ธนิษฐาฤกษ์ 24) ศตภิษัชฤกษ์
                 25) บุรพภัทรบทฤกษ์ 26) อุตรภัทรบทฤกษ์ 27) เรวดีฤกษ์

มหาศักราช (ตัวย่อ ม.ศ.; อังกฤษ: Shalivahana era, Saka era) เป็นศักราชที่ใช้ตามปีครองราชย์ของ พระเจ้ากนิษกะ กษัตริย์ที่ปกครองอาณาจักรกุษาณะ คาดว่าไทยเลิกใช้มหาศักราชในปี พ.ศ. 2112 โดยเปลี่ยนไปใช้จุลศักราชแทน
ปัจจุบันการแปลงมหาศักราช เป็นพุทธศักราช ให้นำ 621 บวกปีมหาศักราชนั้น จะได้ปีพุทธศักราช หากจะแปลงพุทธศักราชเป็นมหาศักราชก็ทำได้ด้วยการนำ 621 ลบกับปีพุทธศักราชนั้น จะได้ปีมหาศักราช 
พบการใช้มหาศักราชในศิลาจารึกสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช หลักที่หนึ่ง ๑๒๑๔  ศก ปีมโรง
จุลศักราช เป็นศักราชที่เริ่มเมื่อ พ.ศ. 1181 (ค.ศ. 638) นับรอบปีตั้งแต่ 16 เมษายน ถึง 15 เมษายน ในสมัยของพระเจ้าปราสาททอง ทรงตัดปีจุลศักราช และใช้ปีศักราชจุฬามณีแทน เป็นผลทำให้ปีนักษัตรคลาดเคลื่อนไปสามปี ต่อมาจึงได้เปลี่ยนกลับไปใช้ปีจุลศักราชตามเดิม และตกทอดมาถึงปัจจุบัน การคำนวณปี พ.ศ. จาก จ.ศ. ปฏิทินไทยให้ใช้ปี จ.ศ. บวก 1181 ก็จะได้ปี พ.ศ. 
ดังนั้น มหาศักราชน่าจะมากกว่าจุลศักราชอยู่ ๕๖๐ ปี    ที่เขียน ๗๖๐ น่าจะผิด
ในเอกสารโบราณของไทยจำนวนไม่น้อย นิยมอ้างเวลา โดยใช้จุลศักราช โดยใช้ควบคู่กับปีนักษัตร
ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงไม่เห็นประโยชน์ที่จะใช้ศักราชของพม่าหรืออินเดียต่อไป จึงมีพระบรมราชโองการ ให้เลิกใช้ศักราชที่เคยใช้มาก่อนทั้งหมด แล้วโปรดให้ใช้รัตนโกสินทรศกแทน โดยนับ ร.ศ.๑ คือปีที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เมื่อจ.ศ.๑๑๔๓ (พ.ศ. ๒๓๒๕) แรกเริ่มที่ประกาศใช้คือวันที่ ๑ เมษายน ร.ศ. ๑๐๘ (จ.ศ.๑๒๕๐ พ.ศ. ๒๔๓๒ ) ซึ่งจะถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของทุกปี แทนการเปลี่ยนปีพุทธศักราชในวันวิสาขะบูชาซึ่งจะกำหนดแน่นอนไม่ได้
ร.ศ. + 2324       =             พ.ศ.                       พ.ศ. – 2324         =             ร.ศ.

พุทธศักราชนั้นถูกประกาศให้ใช้อย่างเป็นทางการในรัชกาลที่ ๖ เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ ทรงเห็นข้อจำกัดของรัตนโกสินทร์ศกกว่าสั้นเกินไป หากจะนับย้อนหลังไปในอดีตยาวๆก็จะเหมือนคริสตศักราชที่ต้องระบุตัวเลขว่ากี่ปีก่อนคริสตกาล สร้างความสับสนในการคำนวณมาก และทรงเห็นว่าพุทธศักราชนั้นเกิดก่อนคริสตศักราชถึง ๕๔๓ ปี หากจะใช้พุทธศักราชแทนรัตนโกสินทรศกแล้ว ก็จะสะดวกในการศึกษาอ้างอิงอดีตของชาติสยามได้อย่างสะดวกสบาย จึงโปรดเกล้าฯให้เลิกใช้รัตนโกสินทรศกเมื่อ ร.ศ.๑๓๑ ณ วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๕ เพื่อใช้พุทธศักราช หนังสือราชการและสิ่งพิมพ์ต่างๆในอาณาจักรและพุทธจักรก็พร้อมใจกันใช้ พ.ศ.เป็นมาตรฐานเดียวกันนับแต่บัดนั้น

ต้องการแปลง พ.ศ. เป็น ค.ศ. เอา 543 ลบ พ.ศ.
ต้องการแปลง ค.ศ. เป็น พ.ศ. เอา 543 บวก ค.ศ.
 

การเรียกศกตามเลขท้ายปี
ปี ค.ศ. 2019 ตามปฏิทินไทยและกัมพูชาตรงกับ "ปีกุนเอกศก จุลศักราช 1381
ในระบบการเรียกศกตามเลขท้ายปีจุลศักราช นิยมเรียกดังนี้

  1. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 1 เรียก "เอกศก"
  2. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 2 เรียก "โทศก"
  3. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 3 เรียก "ตรีศก"
  4. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 4 เรียก "จัตวาศก"
  5. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 5 เรียก "เบญจศก"
  6. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 6 เรียก "ฉศก"
  7. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 7 เรียก "สัปตศก"
  8. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 8 เรียก "อัฐศก"
  9. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 9 เรียก "นพศก"
  10. ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 0 เรียก "สัมฤทธิศก"

 

 




 

Create Date : 03 กันยายน 2563    
Last Update : 3 กันยายน 2563 14:44:40 น.
Counter : 876 Pageviews.  

1  2  3  4  5  
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.