สุภารัตถะ บล็อก
Group Blog
 
All Blogs
 
พูดคุยเรื่องการแต่งเว็บ


คงต้องสร้างห้องนี้ไว้ เอาไว้เผื่อทดสอบการใช้เทคนิค ในการแต่งเว็บ เพราะไปทดสอบที่บ้านคนอื่นคงไม่ดี
ใครหลงเข้ามา.. จะแนะนำเทคนิคให้ใช้บ้าง จะขอขอบพระคุณอย่างสูงจ้า..



Create Date : 30 มกราคม 2548
Last Update : 31 มกราคม 2548 22:33:58 น. 6 comments
Counter : 653 Pageviews.

 
เชื้องอกของภพ





"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวอยู่ว่า ภพ, ภพ, ดังนี้
ภพ ย่อมมีได้ด้วยเหตุเพียงเท่าไรเล่า? พระเจ้าข้า".

อานนท์ ! ถ้ากรรม มีกามธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้, กามภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ?. "หามิได้ พระเจ้าข้า"

อานนท์ ! ด้วยเหตุแหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา, วิญญาณ(การรู้แจ้ง)เป็นเมล็ดพืช, ตัณหาเป็นยาง (เป็นเชื้องอก) ของพืช. ความเจตนาก็ดี ความปรารถนาก็ดี ของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นกลไกผูกพัน ตั้งอยู่แล้ว ด้วยธาตุชั้นทราม, การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.

อานนท์ ! ถ้ากรรม มีรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้, รูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ?. "หามิได้ พระเจ้าข้า"

อานนท์ ! ด้วยเหตุแหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา, วิญญาณ(การรู้แจ้ง)เป็นเมล็ดพืช, ตัณหาเป็นยาง (เป็นเชื้องอก) ของพืช. ความเจตนาก็ดี ความปรารถนาก็ดี ของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นกลไกผูกพัน ตั้งอยู่แล้ว ด้วยธาตุชั้นกลาง, การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.

อานนท์ ! ถ้ากรรม มีอรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้, อรูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ?. "หามิได้ พระเจ้าข้า"

อานนท์ ! ด้วยเหตุแหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา, วิญญาณ(การรู้แจ้ง)เป็นเมล็ดพืช, ตัณหาเป็นยาง (เป็นเชื้องอก) ของพืช. ความเจตนาก็ดี ความปรารถนาก็ดี ของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นกลไกผูกพัน ตั้งอยู่แล้ว ด้วยธาตุชั้นประณีต, การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.
อานนท์ ! ภพย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล.
(-ติกกนิบาต อังคุตตรนิกาย เล่มที่ ๒๐/๒๘๘/๕๑๗ (อริย. ๒๘๕).
"ข้อนี้ แสดงให้เห็นว่า อวิชชาเป็นเครื่องกั้นเจตนา (กรรม) ซึ่งเป็นปัจจัยให้วิญญาณเจริญงอกงามไปตามความปรารถนาของสัตว์นั้นๆ".

*ผัสสะ คือแดนเกิดส่วนมากของนิพเพธิกธรรม*
ดูก่อนภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่งธรรมปริยาย ชื่อนิพเพธิกปริยาย แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟังซึ่งข้อความนั้น จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าวบัดนี้.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ธรรมปริยายชื่อนิพเพธิกธรรมนั้น เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อน ภิกษุ ท. !
๑. กามทั้งหลายอันบุคคลพึงรู้แจ้ง, นิทานสัมภวะ(เหตุเป็นแดนเกิด)แห่งกามทั้งหลาย, เวมัตตา(ประมาณต่างๆ)แห่งกามทั้งหลาย, วิบาก(ผลสุกวิเศษ)แห่งกามทั้งหลาย, นิโรธ(ความดับไม่เหลือ)แห่งกามทั้งหลาย, แนวปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกาม, แต่ละอย่างๆ เป็นธรรมที่บุคคลพึงรู้แจ้ง.

๒. เวทนาทั้งหลาย อันบุคคลพึงรู้แจ้ง, นิทานสัมภวะแห่งเวทนาทั้งหลาย, เวมัตตาแห่งเวทนาทั้งหลาย, วิบากแห่งเวทนาทั้งหลาย, นิโรธแห่งเวทนาทั้งหลาย, แนวปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา, แต่ละอย่างๆ เป็นธรรมที่บุคคลพึงรู้แจ้ง.

๓. สัญญาทั้งหลาย อันบุคคลพึงรู้แจ้ง, นิทานสัมภวะแห่งสัญญาทั้งหลาย, เวมัตตาแห่งสัญญาทั้งหลาย, วิบากแห่งสัญญาทั้งหลาย, นิโรธแห่งสัญญาทั้งหลาย, แนวปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสัญญา, แต่ละอย่างๆ เป็นธรรมที่บุคคลพึงรู้แจ้ง.

๔. อาสวะทั้งหลาย อันบุคคลพึงรู้แจ้ง, นิทานสัมภวะแห่งอาสวะทั้งหลาย, เวมัตตาแห่งอาสวะทั้งหลาย, วิบากแห่งอาสวะทั้งหลาย, นิโรธแห่งอาสวะทั้งหลาย, แนวปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ, แต่ละอย่างๆ เป็นธรรมที่บุคคลพึงรู้แจ้ง.

๕. กรรม อันบุคคลพึงรู้แจ้ง, นิทานสัมภวะแห่งกรรม, เวมัตตาแห่งกรรม, วิบากแห่งกรรม, นิโรธแห่งกรรม, แนวปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกรรม, แต่ละอย่างๆ เป็นธรรมที่บุคคลพึงรู้แจ้ง.

๖. ทุกข์ อันบุคคลพึงรู้แจ้ง, นิทานสัมภวะแห่งทุกข์, เวมัตตาแห่งทุกข์, วิบากแห่งทุกข์, นิโรธแห่งทุกข์, แนวปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, แต่ละอย่างๆ เป็นธรรมที่บุคคลพึงรู้แจ้ง.

๑.๑. กามทั้งหลาย อันบุคคลพึงรู้แจ้ง เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! กามคุณ ๕ ประการเหล่านี้ คือรูปทั้งหลาย อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ(ตา), เสียงทั้งหลายอันพึงจะได้ยินด้วยโสตะ(หู), กลิ่นทั้งหลายอันจะพึงรู้สึกด้วยฆานะ(จมูก), รสทั้งหลายอันพึงรู้สึกด้วยชิวหา(ลิ้น), สัมผัสทั้งหลาย อันจะพึงสัมผัสด้วยกายะ(กาย) อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา(อิฏฐา), น่าใคร่(กันตา), น่าพอใจ(มนาปา), มีลักษณะอันน่ารัก(ปิยรูปา), เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยแห่งความใคร่(กามูปสัญหิตา), เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด(รชนิยา) มีอยู่.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! อารมณ์ทั้งหลาย ๕ ประการเหล่านี้ หาใช่กามไม่. ในอริยวินัย เรียกอารมณ์ทั้งหลาย ๕ ประการเหล่านี้ว่า กามคุณ, แต่ว่า :-

ความกำหนัดไปตามอำนาจความตริตรึก(สังกัปปะราคะ) นั่นแหละคือกามของคนเรา.
อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลก นั้น หาใช่กามไม่.
ความกำหนัดไปตามอำนาจความตริตรึกนั่นแหละคือกามของคนเรา.
อารมณ์อันวิจิตร ก็มีอยู่ในโลกตามประสาของมันเท่านั้น, ดังนั้น ผู้มีปัญญาจึงนำออกเสียซึ่งฉันทะ ในอารมณ์อันวิจิตรเหล่านั้น ดังนี้.

*ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็นิทานสัมภวะ(เหตุเป็นแดนเกิด) ทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! นิทานสัมภวะแห่งกามทั้งหลายคือผัสสะ.

*ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็เวมัตตาแห่งกามทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! เวมัตตาแห่งกามทั้งหลาย คือความใคร่ในรูปารมณ์ ก็อย่างหนึ่งๆ, ความใคร่ในสัททารมณ์ ก็อย่างหนึ่งๆ, ความใคร่ในคันธารมณ์ ก็อย่างหนึ่งๆ, ความใคร่ในรสารมณ์ ก็อย่างหนึ่งๆ, ความใคร่ในโผฏฐัพพารมณ์ ก็อย่างหนึ่งๆ, ดูก่อนภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า เวมัตตาแห่งกามทั้งหลาย.

*ดูก่อนภิกษุ ท. ! วิบากแห่งกามทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! บุคคลมีความใคร่ในอารมณ์ใดอยู่ ย่อมยังอัตตภาพอันเกิดจากกามในอารมณ์นั้นๆ ให้เกิดขึ้น เป็นอัตตภาพมีส่วนแห่งบุญบ้าง มีส่วนแห่งมิใช่บุญบ้าง, ดูก่อนภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า วิบากแห่งกามทั้งหลาย.

*ดูก่อนภิกษุ ท. ! นิโรธแห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! ความดับแห่งกามมี เพราะความดับแห่งผัสสะ.

*ดูก่อนภิกษุ ท. ! แนวทางปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้แล คือ นิโรธคามินีปฏิปทาแห่งกาม, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปา สัมมาวาจา สัมมากัมมันตา สัมมาอาชีวา สัมมาวายามา สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

*ดูก่อนภิกษุ ท. ! ในกาลใดแล อริยสาวกย่อมรู้ชัดซึ่งกามทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งนิทานสัมภวะแห่งกามทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งเวมัตตาแห่งกามทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งวิบากแห่งกามทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งนิโรธแห่งกามทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งนิทานสัมภวะแห่งกามทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งแนวทางปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกามทั้งหลายอย่างนี้, ในกาลนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์อันเป็นเครื่องเจาะแทงกิเลสนี้ว่า เป็นที่ดับแห่งกาม.

๒.๒. ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็เวทนาทั้งหลาย อันบุคคลพึงรู้แจ้ง เป็นอย่างไรเล่า?

*ดูก่อนภิกษุ ท. ! เวทนาทั้งหลาย ๓ ประการเหล่านี้ คือสุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา.

*ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็นิทานสัมภวะแห่งเวทนาทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! นิทานสัมภวะแห่งเวทนาทั้งหลาย คือ ผัสสะ.

*ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็เวมัตตาแห่งเวทนาทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สุขเวทนาอันเป็นไปด้วยอามิส(เหยื่อ) ก็มีอยู่, สุขเวทนาอันปราศจากอามิส ก็มีอยู่. ทุกขเวทนา อันเป็นไปด้วยอามิส ก็มีอยู่, ทุกขเวทนาอันปราศจากอามิส ก็มีอยู่. อทุกขมสุขเวทนาอันเป็นไปด้วยอามิสก็มีอยู่, อทุกขมสุขเวทนา อันปราศจากอามิส ก็มีอยู่. ดูก่อนภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า เวมัตตาแห่งเวทนาทั้งหลาย.

*ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็วิบากแห่งเวทนาทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! บุคคลเสวยเวทนาใดอยู่ ย่อมยังอัตตภาพอันเกิดจากเวทนานั้นให้เกิดขึ้น เป็นอัตตภาพมีส่วนแห่งบุญบ้าง เป็นอัตตภาพมีส่วนแห่งมิใช่บุญบ้าง. ดูก่อนภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า วิบากแห่งเวทนาทั้งหลาย.

*ดูก่อนภิกษุ ท. ! นิโรธแห่งเวทนา เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! ความดับแห่งเวทนามี เพราะความดับแห่งผัสสะ.

*ดูก่อนภิกษุ ท. ! แนวทางปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้แล คือ นิโรธคามินีปฏิปทาแห่งเวทนา, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปา สัมมาวาจา สัมมากัมมันตา สัมมาอาชีวา สัมมาวายามา สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

*ดูก่อนภิกษุ ท. ! ในกาลใดแล อริยสาวกย่อมรู้ชัดซึ่งเวทนาทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งนิทานสัมภวะแห่งเวทนาทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งเวมัตตาแห่งเวทนาทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งวิบากแห่งเวทนาทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งนิโรธแห่งเวทนาทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งนิทานสัมภวะแห่งเวทนาทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งแนวทางปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนาทั้งหลายอย่างนี้, ในกาลนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์อันเป็นเครื่องเจาะแทงกิเลสนี้ว่า เป็นที่ดับแห่งเวทนา.

๓.๓. ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็สัญญาทั้งหลาย อันบุคคลพึงรู้แจ้ง เป็นอย่างไรเล่า?

*ดูก่อนภิกษุ ท. ! สัญญาทั้งหลาย ๖ ประการเหล่านี้ คือรูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพะสัญญา ธัมมสัญญา.

*ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็นิทานสัมภวะแห่งสัญญาทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! นิทานสัมภวะแห่งสัญญาทั้งหลาย คือ ผัสสะ.

*ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็เวมัตตาแห่งสัญญาทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สัญญาในอารมณ์คือรูปทั้งหลาย ก็อย่างหนึ่งๆ สัญญาในอารมณ์คือเสียงทั้งหลาย ก็อย่างหนึ่งๆ สัญญาในอารมณ์คือกลิ่นทั้งหลาย ก็อย่างหนึ่งๆ สัญญาในอารมณ์คือรสทั้งหลาย ก็อย่างหนึ่งๆ สัญญาในอารมณ์คือโผฏฐัพพารมณ์ทั้งหลาย ก็อย่างหนึ่งๆ สัญญาในอารมณ์คือ ธัมมารมณ์ทั้งหลาย ก็อย่างหนึ่งๆ. ดูก่อนภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า เวมัตตาแห่งเวทนาทั้งหลาย.

*ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็วิบากแห่งสัญญาทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! เรากล่าวซึ่งสัญญาทั้งหลายว่า เป็นสิ่งที่มีผลออกมาเป็นคำพูด(โวหารเวปักกา) เพราะว่าบุคคลกระทำซึ่งสัญญาในสิ่งนั้นๆ ว่าอย่างไร เขาย่อมกล่าวออกมาอย่างนั้นๆ เช่นว่า เราเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้ๆ เป็นต้น. ดูก่อนภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า วิบากแห่งสัญญาทั้งหลาย.

*ดูก่อนภิกษุ ท. ! นิโรธแห่งสัญญา เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! ความดับแห่งสัญญามี เพราะความดับแห่งผัสสะ.

*ดูก่อนภิกษุ ท. ! แนวทางปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสัญญา เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้แล คือ นิโรธคามินีปฏิปทาแห่งสัญญา, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปา สัมมาวาจา สัมมากัมมันตา สัมมาอาชีวา สัมมาวายามา สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

*ดูก่อนภิกษุ ท. ! ในกาลใดแล อริยสาวกย่อมรู้ชัดซึ่งสัญญาทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งนิทานสัมภวะแห่งสัญญาทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งเวมัตตาแห่งสัญญาทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งวิบากแห่งสัญญาทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งนิโรธแห่งสัญญาทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งนิทานสัมภวะแห่งสัญญาทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งแนวทางปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสัญญาทั้งหลายอย่างนี้, ในกาลนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์อันเป็นเครื่องเจาะแทงกิเลสนี้ว่า เป็นที่ดับแห่งสัญญา.

๔.๔…..ข้อความกล่าวถึงอาสวะ ท่านยกเว้น เพราะไม่เกี่ยวกับผัสสะ…………………

๕.๕. ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็กรรม อันบุคคลพึงรู้แจ้ง เป็นอย่างไรเล่า?

*ดูก่อนภิกษุ ท. ! เราซึ่งเจตนาว่าเป็นกรรม เพราะว่าบุคคลมีเจตนาแล้ว ย่อมกระทำซึ่งกรรม ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ.

*ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็นิทานสัมภวะแห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! นิทานสัมภวะแห่งกรรมทั้งหลาย คือ ผัสสะ.

*ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็เวมัตตาแห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! กรรมอันทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในนรก มีอยู่, กรรมอันทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในกำเนิดเดรัจฉาน มีอยู่, กรรมอันทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในเปรตวิสัย มีอยู่, กรรมอันทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในมนุษยโลก มีอยู่, กรรมอันทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในเทวโลก มีอยู่. ดูก่อนภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า เวมัตตาแห่งกรรมทั้งหลาย.
*ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็วิบากแห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! เรากล่าวซึ่งวิบากแห่กรรมว่า มีอยู่ ๓ อย่าง คือวิบากในทิฏฐธรรม(ทันควัน) หรือว่า วิบากอุปะปัชชะ(เวลาต่อมา) หรือว่า วิบากในอประปริยายะ(เวลาถัดมาอีก). ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า วิบากแห่งกรรมทั้งหลาย.


*ดูก่อนภิกษุ ท. ! นิโรธแห่งกรรม เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! ความดับแห่งกรรมทั้งหลายมี เพราะความดับแห่งผัสสะ.

*ดูก่อนภิกษุ ท. ! แนวทางปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกรรม เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้แล คือ นิโรธคามินีปฏิปทาแห่งกรรม, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปา สัมมาวาจา สัมมากัมมันตา สัมมาอาชีวา สัมมาวายามา สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

*ดูก่อนภิกษุ ท. ! ในกาลใดแล อริยสาวกย่อมรู้ชัดซึ่งกรรม อย่างนี้, ซึ่งนิทานสัมภวะแห่งกรรมทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งเวมัตตาแห่งกรรมทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งวิบากแห่งกรรมทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งนิโรธแห่งกรรมทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งนิทานสัมภวะแห่งกรรมทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งแนวทางปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกรรมทั้งหลายอย่างนี้, ในกาลนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์อันเป็นเครื่องเจาะแทงกิเลสนี้ว่า เป็นที่ดับแห่งกรรม.

๖.๖. …..ข้อความกล่าวถึงทุกข์ ท่านยกเว้น เพราะไม่เกี่ยวกับผัสสะ…………………
(บาลี มหาวรรค ฉักกนิบาต อังคุตตรนิกาย ไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ หน้า ๔๕๗ ข้อ ๓๓๔ ปฏิจจ. ๒๖๙). ตรัสแก่ภิกษุ ท. ! ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายที่เชตวัน.

"พึงสังเกต คำว่าผัสสะนั้นมีความสำคัญเพียงไร อาการที่จะเกิดความคิด หรือเวทนา หรือสัญญา หรือทิฏฐิ ใดๆ ย่อมจะผ่านที่ผัสสะ".


โดย: jj IP: 210.246.72.139 วันที่: 16 มกราคม 2549 เวลา:2:12:28 น.  

 
ปฏิจจ. แห่งการเกิดสังขาร ๔ ประเภท

*สังขารประเภทที่ ๑ ทิฏฐิปรารภขันธ์ ๕. กรณีรูปขันธ์*
*ดูก่อนภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว ไม่ได้เห็นพระอริเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า, ไม่เห็นสัปปบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัปปบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัปปบุรุษ ย่อมสำคัญเห็นซึ่งรูป โดยความเป็นตน.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! การสำคัญเห็นซึ่งรูปโดยความเป็นตนนั้น อันใดแล, การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.

*ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งรูป โดยความเป็นตนก็จริง แต่ว่าเขาย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีรูป.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! การสำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีรูป อันใดแล, การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.

*ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งรูป โดยความเป็นตน ไม่สำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีรูปก็จริงแล แต่ว่าเขาย่อมสำคัญเห็นซึ่งรูปในตน.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! การสำคัญเห็นซึ่งรูปในตนนั้น อันใดแล, การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.

*ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งรูป โดยความเป็นตน ไม่สำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีรูป ไม่สำคัญเห็นซึ่งรูปในตนก็จริงแล แต่ว่าเขาย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนในรูป.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! การสำคัญเห็นซึ่งตนในรูปนั้น อันใดแล, การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.

*กรณีแห่งเวทนาขันธ์*
*ดูก่อนภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว ไม่ได้เห็นพระอริเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า, ไม่เห็นสัปปบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัปปบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัปปบุรุษ ย่อมสำคัญเห็นซึ่งเวทนา โดยความเป็นตน.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! การสำคัญเห็นซึ่งเวทนาโดยความเป็นตนนั้น อันใดแล, การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.

*ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งเวทนา โดยความเป็นตนก็จริง แต่ว่าเขาย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีเวทนา.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! การสำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีเวทนา อันใดแล, การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.

*ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งเวทนา โดยความเป็นตน ไม่สำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีเวทนาก็จริง แต่ว่าเขาย่อมสำคัญเห็นซึ่งเวทนาในตน.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! การสำคัญเห็นซึ่งเวทนาในตนนั้น อันใดแล, การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.

*ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งเวทนา โดยความเป็นตน ไม่สำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีเวทนา ไม่สำคัญเห็นซึ่งเวทนาในตนก็จริงแล แต่ว่าเขาย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนในเวทนา.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! การสำคัญเห็นซึ่งตนในเวทนานั้น อันใดแล, การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.

*กรณีแห่งสัญญาขันธ์.
*ดูก่อนภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว ไม่ได้เห็นพระอริเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า, ไม่เห็นสัปปบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัปปบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัปปบุรุษ ย่อมสำคัญเห็นซึ่งสัญญา โดยความเป็นตน.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! การสำคัญเห็นซึ่งสัญญาโดยความเป็นตนนั้น อันใดแล, การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.

*ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งสัญญา โดยความเป็นตนก็จริง แต่ว่าเขาย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีสัญญา.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! การสำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีสัญญา อันใดแล, การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.

*ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งสัญญา โดยความเป็นตน ไม่สำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีสัญญาก็จริง แต่ว่าเขาย่อมสำคัญเห็นซึ่งสัญญาในตน.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! การสำคัญเห็นซึ่งสัญญาในตนนั้น อันใดแล, การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.

*ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งสัญญา โดยความเป็นตน ไม่สำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีสัญญา ไม่สำคัญเห็นซึ่งสัญญาในตนก็จริงแล แต่ว่าเขาย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนในสัญญา.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! การสำคัญเห็นซึ่งตนในสัญญานั้น อันใดแล, การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.

*กรณีแห่งสังขารขันธ์.
*ดูก่อนภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว ไม่ได้เห็นพระอริเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า, ไม่เห็นสัปปบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัปปบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัปปบุรุษ ย่อมสำคัญเห็นซึ่งสังขาร โดยความเป็นตน.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! การสำคัญเห็นซึ่งสังขารโดยความเป็นตนนั้น อันใดแล, การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.

*ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งสังขาร โดยความเป็นตนก็จริง แต่ว่าเขาย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีสังขาร.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! การสำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีสังขาร อันใดแล, การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.

*ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งสังขาร โดยความเป็นตน ไม่สำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีสังขารก็จริง แต่ว่าเขาย่อมสำคัญเห็นซึ่งสังขารในตน.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! การสำคัญเห็นซึ่งสังขารในตนนั้น อันใดแล, การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.

*ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งสังขาร โดยความเป็นตน ไม่สำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีสังขาร ไม่สำคัญเห็นซึ่งสังขารในตนก็จริงแล แต่ว่าเขาย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนในสังขาร.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! การสำคัญเห็นซึ่งตนในสังขารนั้น อันใดแล, การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.
*กรณีแห่งวิญญาณขันธ์.
*ดูก่อนภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว ไม่ได้เห็นพระอริเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า, ไม่เห็นสัปปบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัปปบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัปปบุรุษ ย่อมสำคัญเห็นซึ่งวิญญาณ โดยความเป็นตน.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! การสำคัญเห็นซึ่งวิญญาณโดยความเป็นตนนั้น อันใดแล, การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.

*ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งวิญญาณ โดยความเป็นตนก็จริง แต่ว่าเขาย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีวิญญาณ.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! การสำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีวิญญาณ อันใดแล, การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.

*ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งวิญญาณ โดยความเป็นตน ไม่สำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีเวทนาก็จริง แต่ว่าเขาย่อมสำคัญเห็นซึ่งวิญญาณในตน.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! การสำคัญเห็นซึ่งวิญญาณในตนนั้น อันใดแล, การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.

*ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งวิญญาณ โดยความเป็นตน ไม่สำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีวิญญาณ ไม่สำคัญเห็นซึ่งวิญญาณในตนก็จริงแล แต่ว่าเขาย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนในวิญญาณ.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! การสำคัญเห็นซึ่งตนในวิญญาณนั้น อันใดแล, การสำคัญเห็นอันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น. (นี้คือ สังขาร ๒๐ ชนิด).

*สังขารที่ ๒ (สัสสตทิฏฐิ)*
*ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ โดยความเป็นตน, ไม่สำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีรูป ว่ามีเวทนา ว่ามีสัญญา ว่ามีสังขาร ว่ามีวิญญาณ, ไม่สำคัญเห็นซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณในตน, ไม่สำคัญเห็นซึ่งตนในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ก็จริงแล, แต่ทว่าเขาเขายังเป็นผู้มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า อัตตา(ตน)ก็อันนั้น โลกก็อันนั้น เรานั้น ครั้นละไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยง(นิจโจ) ยั่งยืน(ธุโว) เที่ยงแท้(สัสสโต) มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา(อวิปริณามธัมโม).

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ทิฏฐิดังกล่าวนี้ อันใดแล, ทิฏฐิอันนั้น ชื่อว่าสัสสตทิฏฐิ. สัสสตทิฏฐินั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.

*สังขารที่ ๓ (อุจเฉททิฏฐิ)*
*ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ โดยความเป็นตน, ไม่สำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีรูป ว่ามีเวทนา ว่ามีสัญญา ว่ามีสังขาร ว่ามีวิญญาณ, ไม่สำคัญเห็นซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณในตน, ไม่สำคัญเห็นซึ่งตนในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ, ทั้งเป็นผู้ไม่มีทิฏฐิว่า อัตตา(ตน)ก็อันนั้น โลกก็อันนั้น เรานั้น ครั้นละไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยง(นิจโจ) ยั่งยืน(ธุโว) เที่ยงแท้(สัสสโต) มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา(อวิปริณามธัมโม) ดังนี้ ก็จริงแล, แต่ทว่าเขายังเป็นผู้มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า เราไม่พึงมีด้วย, ของเราไม่พึงมีด้วย, เราจักไม่มีด้วย, ของเราจักไม่มีด้วย, ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ทิฏฐิดังกล่าวนี้ อันใดแล, ทิฏฐิอันนั้น ชื่อว่าอุจเฉททิฏฐิ อุจเฉททิฏฐินั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น.

*สังขารที่ ๔ (ลังเลสงสัยในพระสัทธรรม)*
*ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะไม่สำคัญเห็นซึ่งซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ โดยความเป็นตน, ไม่สำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีรูป ว่ามีเวทนา ว่ามีสัญญา ว่ามีสังขาร ว่ามีวิญญาณ, ไม่สำคัญเห็นซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณในตน, ไม่สำคัญเห็นซึ่งตนในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ, ทั้งเป็นผู้ไม่มีทิฏฐิว่า อัตตา(ตน)ก็อันนั้น โลกก็อันนั้น เรานั้น ครั้นละไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยง(นิจโจ) ยั่งยืน(ธุโว) เที่ยงแท้(สัสสโต) มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา(อวิปริณามธัมโม) ดังนี้, ทั้งเป็นผู้ไม่มีทิฏฐิว่า เราไม่พึงมีด้วย, ของเราไม่พึงมีด้วย, เราจักไม่มีด้วย, ของเราจักไม่มีด้วย, ดังนี้, ก็จริงแล แต่ทว่า เขายังเป็นผู้มีความสงสัย(กังขี) มีความลังเล(วิจิกิจฉี) ไม่ถึงความมั่นใจในพระสัทธรรม(อนิฏฐังคโต สัทธัมโม).

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ความเป็นผู้มีความสงสัย มีความลังเล ไม่ถึงความมั่นใจ ในพระสัทธรรมนั้น, อันใดแล, อันนั้น เป็นสังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด? เป็นกลไกก่อให้เกิด? เป็นกลไกกำเนิด? เป็นแดนเกิด? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สังขารนั้น เป็นสิ่งเกิดจากตัณหา ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันเวทนาที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.

ดูก่อนภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุอย่างนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ตัณหานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้เวทนานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้ผัสสะนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท. ! เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลาย ย่อมสิ้นไปโดยลำดับ ไม่มีระหว่างขั้น ดังนี้แล.

(-ขันธวรรค สังยุตตนิกาย ไตรปิฎก ๑๗ หน้า ๑๑๖ ข้อ ๑๗๔ (ปฏิจจ. ๑๙๒). ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่ภัททสาลมูล ป่าปาลิเลยยกะ.



โดย: แล้วมาอ่านด้วยนะ IP: 210.246.75.66 วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:14:36:27 น.  

 
จุดที่ เรา เอามาถือตัวกัน

การถือตัวของแต่ละคนมีทั้งหมด 9 ระดับ (ข้อมูลมาจากtripitaka)

1. ตัวเอง สูงกว่าเขา ถือว่าตัวเอง สูงกว่าเขา
2. ตัวเอง สูงกว่าเขา แต่ถือไปว่าตัวเอง เทียบเท่าเขา
3. ตัวเอง สูงกว่าเขา แต่ถือไปว่าตัวเอง ต่ำกว่าเขา
4. ตัวเอง เสมอเขา แต่ถือไปว่าตัวเอง สูงกว่าเขา
5. ตัวเอง เสมอเขา ถือว่าตัวเอง เสมอเขา
6. ตัวเอง เสมอเขา แต่ถือไปว่าตัวเอง ต่ำกว่าเขา
7. ตัวเอง ต่ำกว่าเขา แต่ถือไปว่าตัวเอง สูงกว่าเขา
8. ตัวเอง ต่ำกว่าเขา แต่ถือไปว่าตัวเอง เท่ากับเขา
9. ตัวเอง ต่ำกว่าเขา ถือว่าตัวเอง ต่ำกว่าเขา

คำจำกัดความ ที่พระสารีบุตร ยกมาในพระอภิธรรมปิฎกสำหรับการถือตัว มีว่า

"ความมัวเมา กิริยาที่มัวเมา สภาพที่มัวเมา ความถือตัว กิริยาที่ถือตัวสภาพที่ถือตัว การยกตน การเทอดตน การเชิดชูตนดุจธง การยกตนขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง"

คือ ชูตัวเอง เหมือนธง "ยืด"

มีอาการดังต่อไปนี้

ความมัวเมาในชาติ

ความมัวเมาในโคตร
- คือ คนบางคน ถือตัวด้วยความเสียสติว่า ตัวเองมีตระกูลดีกว่าคนอื่น

ความมัวเมาในความไม่มีโรค
- บางคนดูถูกคนที่เป็นโรคว่า โรคนี้ ฉันไม่มีทางเป็นหรอก แต่ความจริง เราบอกไม่ได้เลยว่า เราจะเป็นโรคอะไร เมื่อไหร่ เพราะคนที่เขาเป็นโรค เขาก็ไม่ทราบ และเมาเหมือนเรามาก่อนเหมือนกัน

ความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว
- เด็ก ๆ มักจะลำพง เพลินกับรูปร่างหน้าตาตัวเอง จนลืมไปว่า ตัวเองก็ต้องพบกับความแก่ หนังเหี่ยว ฟันหลุด ใครมองเห็นก็ธุเรศลูกตา เหมือนกัน

ความมัวเมาในชีวิต

ความมัวเมาในลาภ
- บางคน ได้ทรัพย์สมบัติมากกว่าคนอื่น ก็ดูหมิ่นคนอื่น ๆ

ความมัวเมาในสักการะ

ความมัวเมาในการทำความเคารพ - หลาย ๆ คน พอมีคนมากราบไหว้ มาเคารพ ก็ฟูขึ้นโดยอัตโนมัติ เพราะคิดไม่เป็น

ความมัวเมาในความเป็นหัวหน้า
- บางคน ถือตัวว่า ดีกว่าคนอื่น เพราะเป็นเจ้านาย เป็นหัวหน้า มองไม่เห็นหัวใจของคนอื่น ทำตัวเหนือคนอื่นอย่างน่าเกลียด ไม่เอาใจเขามาใส่ใจเรา

ความมัวเมาในบริวาร
- บางคน มีเพื่อนมาก รู้จักคนมาก ก็ยกตัวเองข่มคนอื่น หรือบางคน รู้จักกับคนใหญ่คนโต ก็วางท่า

ความมัวเมาในโภคสมบัติ- บางคน มีทรัพย์มาก ก็ดูถูกคนที่จนกว่า อย่างไร้หัวใจ

ความมัวเมาในวรรณะแห่งสรีระและคุณความดี
- บางคน ทำความดีมามาก เลยคิดว่าตัวเองเหนือกว่าคนอื่น

ความมัวเมาในการศึกษา - บางคน เรียนมาสูง ได้วุฒิสูง เลยมองแม่ค้า คนขับวิน ว่า ไร้คุณค่า ตัวเองมีความคิดมากกว่า เป็นต้น

ความมัวเมาในปฏิภาณ
- บางคน มีไหวพริบมาก ก็เลยทะนงตัวว่า แน่กว่าคนอื่น กระหยิ่ม ถือตัว เพราะตามความคิดฝ่ายต่ำตัวเองไม่ทันนั่นเอง

ความมัวเมาในความเป็นผู้รัตตัญญู
- รัตตัญญู หมายถึงผู้รู้ราตรีนาน คือ มีประสบการณ์มาก เช่น พนักงาน ที่มาก่อน จะถือตัวว่า รู้งานมากกว่าเด็กใหม่ จะทำโชว์เด็กใหม่ หรือทำเป็นถือตัวกับเด็กใหม่ เพราะความโง่ของตน ความไม่มีหัวใจ

ความมัวเมาในความถือบิณฑบาตเป็นวัตร

ความมัวเมาในความไม่มีใครดูหมิ่น

ความมัวเมาในอิริยาบถ

- บางคน จะแสร้งทำเป็น ท่าเดินดูดี ท่านั่ง ท่ายืนเรียบร้อย อ่อนช้อย นุ่มนวล แต่ทำเพื่อให้คนอื่นเห็นว่าตัวเอง ดูดี บางคนเวลาไปวิปัสสนา แกล้งทำเป็นเดินช้า ๆ ค่อย ๆ ย่าง เวลาอยู่ต่อหน้าคนนที่ฟังธรรม แกล้งทำเป็นสำรวม มีสติ งาม แต่ทำด้วยความเมา ความโง่ ถือว่าตัวเองดีกว่าคนอื่นด้วยอาการนั้น ๆ

ความมัวเมาในอิทธิฤทธิ์

ความมัวเมาในยศ
- กิ้งก่าได้ทอง

ความมัวเมาในศีล

ความมัวเมาในฌาน

ความมัวเมาในศิลปะ
- คนที่มีหัวศิลป์ จะชอบดูถูกคนที่ไอเดียแย่กว่าในใจ

ความมัวเมาในความมีทรวดทรงสูง

ความมัวเมาในความมีทรวดทรงสันทัด(พอดี)

ความมัวเมาในความมีทรวดทรงงาม (หุ่นดี)
- บางคนหุ่นดี ก็เดินเชิด

ความมัวเมาในความมีร่างกายบริบูรณ์


รวบรวมจาก

พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
วิภังคปกรณ์
เอกกนิเทศ
//84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=35&A=11821&Z=12173


โดย: ส IP: 210.246.73.243 วันที่: 11 พฤษภาคม 2549 เวลา:11:30:55 น.  

 
อกุสลกรรมบถ ๑๐ ส่งผลในปวัตติกาล (หมายถึง ในช่วงชีวิต)

ผลในปวัตติกาลของปาณาติบาต มี ๙ ประการ คือ

๑. ทุพพลภาพ ๒. รูปไม่งาม
๓. กำลังกายอ่อนแอ ๔. กำลังกายเฉื่อยชา
๕. เป็นคนขลาด ๖. ฆ่าตนเอง หรือถูกฆ่า
๗. โรคภัยเบียดเบียน ๘. ความพินาศของบริวาร กำลังปัญญาไม่ว่องไว
๙. อายุสั้น

ผลในปวัตติกาลของอทินนาทาน มี ๖ ประการ คือ

๑. ด้อยทรัพย์ ๒. ยากจน
๓. อดอยาก ๔. ไม่ได้สิ่งที่ตนปรารถนา
๕. พินาศในการค้า ๖. ทรัพย์พินาศเพราะอัคคีภัย อุทกภัย ราชภัย โจรภัยเป็นต้น

ผลในปวัตติกาลของกาเมสุมิจฉาจาร มี ๑๑ ประการ คือ

๑. มีผู้เกลียดชังมาก ๒. มีผู้ปองร้ายมาก
๓. ขัดสนทรัพย์ ๔. ยากจนอดอยาก
๕. เป็นหญิง ๖. เป็นกระเทย
๗. เป็นชายในตระกูลต่ำ ๘. ได้รับความอับอายเป็นอาจิณ
๙. ร่างกายไม่สมประกอบ ๑๐. มากไปด้วยความวิตกห่วงใย
๑๑. พลัดพรากจากผู้ที่ตนรัก

ผลในปวัตติกาลของมุสาวาท(โกหก) มี ๘ ประการ คือ

๑. พูดไม่ชัด ๒. ฟันไม่เป็นระเบียบ
๓. ปากเหม็นมาก ๔. ไอตัวร้อนจัด
๕. ตาไม่อยู่ในระดับปกติ ๖. กล่าววาจาด้วยปลายลิ้น และปลายปาก
๗. ท่าทางไม่สง่าผ่าเผย ๘. จิตไม่เที่ยงคล้ายวิกลจริต

ผลในปวัตติกาลของปิสุณาวาท(การพูดซุบซิบนินทา) มี ๔ ประการ คือ

๑. ตำหนิตนเอง ๒. มักจะถูกลือโดยไม่มีความจริง
๓. ถูกบัณฑิตตำหนิติเตียน ๔. แตกมิตรสหาย

ผลในปวัตติกาลของ ผรุสวาท(การพูดด่าคน) มี ๔ ประการ คือ

๑. พินาศในทรัพย์ ๒. ได้ยินเสียง เกิดไม่พอใจ
๓. มีกายและวาจาหยาบ ๔. ตายด้วยอาการงงงวย

ผลในปวัตติกาลของสัมผัปปลาป(การพูดเรื่องเพ้อเจ้อไม่มีสาระ) มี ๔ ประการ คือ

๑. เป็นอธัมมวาทบุคคล ๒. ไม่มีผู้เลื่อมใสในคำพูดของตน
๓. ไม่มีอำนาจ ๔. จิตไม่เที่ยง คือ วิกลจริต

ผลในปวัตติกาลของอภิชฌา(การคิดในใจว่าอยากได้สิ่งนั้นสิ่งนี้ของคนอื่น) มี ๔ ประการ คือ

๑. เสื่อมในทรัพย์และคุณงามความดี ๒. ปฏิสนธิในตระกูลต่ำ
๓. มักได้รับคำติเตียน ๔. ขัดสนในลาภสักการะ

ผลในปวัตติกาลของพยาบาท(การคิดร้าย การแค้น การโกรธคนอื่น) มี ๔ ประการ คือ

๑. มีรูปทราม ๒. มีโรคภัยเบียดเบียน
๓. อายุสั้น ๔. ตายโดยถูกประทุษร้าย

ผลในปวัตติกาลของมิจฉาทิฏฐิ มี ๔ ประการ คือ

๑. ห่างไกลรัศมีแห่งพระธรรม ๒. มีปัญญาทราม
๓. ปฏิสนธิในพวกคนป่าที่ไม่รู้อะไร ๔. เป็นผู้มีฐานะไม่เทียมคน

ผลในปวัตติกาลของการเสพสุราเมรัย มี ๖ ประการ คือ

๑. ทรัพย์ถูกทำลาย ๒. เกิดวิวาทบาดหมาง
๓. เป็นบ่อเกิดของโรค ๔. เสื่อมเกียรติ
๕. หมดยางอาย ๖. ปัญญาเสื่อมถอย


โดย: ส IP: 210.246.73.243 วันที่: 11 พฤษภาคม 2549 เวลา:11:36:16 น.  

 
นาลันทา

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา

๖. โสณทินนาวิมาน

ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในโสณทินนาวิมาน



[๒๓] พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้สอบถามนางเทพธิดาตนหนึ่งด้วยคาถา ความว่า

ดูกรแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องสว่างไสวไป ทั่วทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์

เพราะทำบุญอะไรไว้ ท่านจึง มีผิวพรรณงามเช่นนี้ เพราะทำบุญอะไรไว้ อิฐผลสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้ และโภคทรัพย์อันเป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุกอย่างจึงเกิดขึ้นแก่ท่าน แน่ะ แม่เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก

อาตมาขอถามท่าน เมื่อท่านยังเป็นมนุษย์ ได้กระทำบุญสิ่งใดไว้ และเพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง ถึงเพียงนี้ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ?


นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า

"ดิฉันเป็นอุบาสิกาอยู่ใน พระนครนาลันทา ชนชาวนาลันทานครรู้จักดิฉันว่า โสณทินนาเป็น ผู้สมบูรณ์ด้วยศรัทธาและศีล ยินดีแล้วในทานบริจาคเสมอ ได้ถวายผ้า นุ่งห่มภัตตาหาร เสนาสนะ และประทีปพร้อมด้วยเชื้อ ในพระอริยเจ้า ผู้มีจิตเที่ยงธรรมเป็นอันมาก ด้วยจิตอันผ่องใส ดิฉันได้เข้ารักษา อุโบสถศีลอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ทุกวัน ๑๔-๑๕ ค่ำ และ วัน ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ และตลอดปาฏิหาริยปักษ์ด้วย เป็นผู้สำรวมด้วย ดีในองค์ศีลทุกเมื่อ เป็นผู้
งดเว้นจากปาณาติบาต เว้นห่างไกลจาก อทินนาทาน และการประพฤติผิดในกาม สำรวมจากมุสาวาท และจาก การดื่มน้ำเมา ดิฉันเป็นอุบาสิกาของพระสมณโคดมผู้มีพระจักษุ และ พระเกียรติยศ เป็นผู้ยินดีในสิกขาบททั้ง ๕ มี
ปัญญาเฉลียวฉลาดใน อริยสัจ ดิฉันจึงมีรัศมีงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญนั้น.

จบ โสณทินนาวิมานที่ ๖.


ข้อมูลของนาลันทา

นาลันทะ - ชื่อหมู่บ้านแห่งหนึ่งไม่ไกลจากกรุงราชคฤห์ เป็นบ้านเกิดของพระสารีบุตร

นาลันทา - ชื่อเมืองเล็ก ๆ เมืองหนึ่งในแคว้นมคธ อยู่ห่างจากพระนครราชคฤห์ประมาณ ๑ โยชน์ ณ เมืองนี้มีสวน

มะม่วง ชื่อ ปาวาริกัมพวัน (สวนมะม่วงของปาวาริกเศรษฐี) ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับแรมหลายครั้งคัมภีร์ฝ่ายมหายานกล่าวว่า พระสารีบุตร อัครสาวก เกิดที่เมืองนาลันทา แต่คัมภีร์ฝ่ายบาลีเรียกถิ่นเกิดของ พระสารีบุตรว่า หมู่บ้านนาลกะหรือนาลันทคาม


ภายหลังพุทธกาล ชื่อเมืองนาลันทาเงียบหายไประยะหนึ่ง หลวงจีนฟาเหียนซึ่งจาริกมาสืบศาสนาในชมพู

ทวีป ราว พ.ศ. ๙๔๔-๙๕๓ บันทึกไว้ว่าได้พบเพียงสถูปองค์หนึ่งที่นาลันทา แต่ต่อมาไม่นาน กษัตริย์ราชวงศ์คุปตะ พระองค์หนึ่งพระนามว่าศักราทิตย์ หรือกุมารคุปตะที่ ๑ ซึ่งครองราชย์ประมาณ พ.ศ. ๙๕๘-๙๙๘ ได้ทรงสร้างวัดอัน เป็นสถานศึกษาขึ้นแห่งหนึ่งที่เมืองนาลันทา และกษัตริย์พระองค์ ต่อ ๆ มาในราชวงศ์นี้ก็ได้สร้างวัดอื่นๆ เพิ่มขึ้นใน โอกาสต่าง ๆ จนมีถึง ๖ วัด อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ในที่สุดได้มีการสร้างกำแพงใหญ่อันเดียวล้อมรอบ ทำให้วัดทั้ง ๖ รวมเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว เรียกว่า นาลันทามหาวิหาร และได้กลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ แห่งสำคัญ ยิ่ง ที่นักประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน เรียกกันทั่วไปว่า “มหาวิทยาลัยนาลันทา” พระเจ้าหรรษาวรรธนะ มหาราชพระ องค์หนึ่งของอินเดีย ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๑๑๔๙-๑๑๙๑ ก็ได้ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ของมหาวิทยาลัยนาลันทา

หลวงจีนเหี้ยนจัง (พระถังซัมจั๋ง) ซึ่งจาริกมาสืบพระศาสนาในอินเดียในรัชกาลนี้ ในช่วง พ.ศ. ๑๑๗๒-๑๑๘๗ ได้มาศึกษาที่นาลันทามหาวิหาร และได้เขียนบันทึกบรรยายอาคารสถานที่ที่ใหญ่โตและศิลปกรรมที่วิจิตรงดงาม ท่านเล่า ถึงกิจกรรมทางการศึกษา ที่รุ่งเรืองยิ่ง นักศึกษามีประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน และมีอาจารย์ประมาณ ๑,๕๐๐ คน พระมหา กษัตริย์พระราชทานหมู่บ้าน ๒๐๐ หมู่โดยรอบถวาย โดยทรงยกภาษีที่เก็บได้ให้เป็นค่าบำรุงมหาวิทยาลัย ผู้เล่าเรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น วิชาที่สอนมีทั้งปรัชญา โยคะ ศัพทศาสตร์ เวชชศาสตร์ ตรรกศาสตร์ นิติศาสตร์ นิรุกติศาสตร์ ตลอดจนโหราศาสตร์ ไสยศาสตร์ และตันตระ แต่ที่เด่นชัดก็คือนาลันทาเป็นศูนย์กลางการศึกษาพุทธ ศาสนาฝ่ายมหายาน และเพราะความที่มีกิตติศัพท์เลื่องลือมาก จึงมีมีนักศึกษาเดินทางมาจากต่างประเทศหลายแห่ง เช่น จีน ญี่ปุ่น อาเซียกลาง สุมาตรา ชวา ทิเบต และมงโกเลีย เป็นต้น หอสมุดของนาลันทาใหญ่โตมากและมีชื่อเสียง ไปทั่วโลก

เมื่อคราวที่ถูกเผาทำลายในสมัยต่อมา มีบันทึกกล่าวว่าหอสมุดนี้ไหม้อยู่เป็นเวลาหลายเดือน หลวงจีนอี้จิง ซึ่งจาริกมาในระยะประมาณ พ.ศ. ๑๒๒๓ ก็ได้มาศึกษาที่นาลันทาและได้เขียนบันทึกเล่าไว้อีก นาลันทารุ่งเรืองสืบมาช้านานจนถึงสมัยราชวงศ์ปาละ (พ.ศ. ๑๓๐๓-๑๖๘๕) กษัตริย์ราชวงศ์นี้ก็ทรงอุปถัมภ์มหาวิหารแห่งนี้ เช่นเดียว กับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ โดยเฉพาะโอทันตปุระที่ได้ทรงสถาปนาขึ้นใหม่ อย่างไรก็ดี ในระยะหลัง ๆ นาลันทาได้หัน ไปสนใจการศึกษาพุทธศาสนาแบบตันตระ ที่ทำให้เกิดความย่อหย่อนและหลงเพลินทางกามารมณ์ และทำให้พุทธ ศาสนากลมกลืนกับศาสนฮินดูมากขึ้น เป็นเหตุสำคัญอย่างหนึ่งแห่งความเสื่อมโทรมของพระพุทธศาสนา ครั้นถึง ประมาณ พ.ศ. ๑๗๔๒ กองทัพมุสลิมเติรกส์ได้ยกมารุกรานรบชนะกษัตริย์แห่งชมพูทวีปฝ่ายเหนือ และเข้าครอบ ครองดินแดงโดยลำดับ กองทัพมุสลิมเติรกส์ได้เผาผลาญทำลายวัดและปูชนียสถานในพุทธศาสนาลงแทบทั้งหมด และสังหารผู้ที่ไม่ยอมเปลี่ยนศาสนา นาลันทามหาวิหารก็ถูกเผาผลาญทำลายลงในช่วงระยะเวลานั้นด้วย มีบันทึก ของนักประวัติศาสตร์ชาวมุสลิมเล่าว่า ที่นาลันทา พระภิกษุถูกสังหารแทบหมดสิ้น และมหาวิทยาลัยนาลันทาก็ได้ถึง ความพินาศสูญสิ้นลงแต่บัดนั้นมา ซากของนาลันทาที่ถูกขุดค้นพบในภายหลัง ยังประกาศยืนยันอย่างชัดเจนถึงความ ยิ่งใหญ่ของนาลันทาในอดีต

ในปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๕ อินเดีย ได้เริ่มตื่นตัว และตระหนักถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนาที่ได้มี บทบาทอันยิ่งใหญ่ในการสร้างสรรค์อารยธรรมของชมพูทวีป รวมทั้งบทบาทของมหาวิทยาลัยนาลันทานี้ด้วย และ ใน พ.ศ. ๒๔๙๔ ก็ได้มีการจัดตั้งสถาบันบาลีนาลันทา ชื่อว่า “นวนาลันทามหาวิหาร” (นาลันทามหาวิหารแห่งใหม่) ขึ้น เพื่อแสดงความรำลึกคุณและยกย่องเกียรติแห่งพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่นาลันทามหาวิหารมหาวิทยาลัยที่ยิ่งใหญ่ในอดีตสมัย



โดย: l IP: 210.246.73.243 วันที่: 11 พฤษภาคม 2549 เวลา:12:29:05 น.  

 
คุณสุภาฯ คะ

ไม่เข้าใจว่าเหล่า 'ment ข้างบนมันเกี่ยวกับการแต่งเว็บตรงไหน

ปล. ขออภัยหากสงสัยในสิ่งที่ไม่ควร แต่ลูกศิษย์ไม่เข้าใจจริง ๆ


โดย: Thanvarath วันที่: 15 สิงหาคม 2549 เวลา:16:05:04 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

suparatta
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




..วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร..
..ท่านนาคารชุนะ..
วิภาษวิธี..เกริ่นนำ..ตอนจบ..

๐ สมุดเยี่ยมและบ่นได้..
**ทางลัด**
๐ สารบัญทักทาย(ทั้งหมด)
๐ ชวนคุย&ฟังเพลงปี48(ทั้งหมด)
๐ นอนดูจันทร์..(ส่วนตัว)

**log in หน่อยน่า..



Google.co.th
Friends' blogs
[Add suparatta's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.