อาหารและวิตามินเพื่อดูแลเส้นผม ผมแห้ง ผมร่วง
  อาหารที่แนะนำส่วนใหญ่เป็นอาหารที่มีโปรตีนและวิตามิน B3, B5, B6 และโฟลิคมากๆ ลองดูคำแนะนำเรื่องอาหารการกินด้านล่างนี้จะมีประโยชน์มากทำให้รากผมแข็งแรงถ้าบริโภคเป็นกิจวัตรต่อเนื่องกันเป็นแรมปี
  1. โปรตีนจากพืชหรือพืชตระกูลถั่วสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการสร้างเส้นผม กินนมถั่วเหลืองมากๆ แล้วคุณจะเห็นว่ามันเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ใจมากว่าเส้นผมคุณมีความแข็งแรงมากขึ้น
  2. วิตามินเอ ในปริมาณที่พอเหมาะช่วยรักษาอาการผมร่วงได้ คนที่ขาดวิตามินเอเรื้อรัง จะมีผมร่วงและรังแคง่าย วิตามินเอมีมากในพืชผักสีเขียวและผลไม้สีเหลืองส้ม เช่น ผักบุ้ง ผักโขม ฟักทอง แครอท เป็นต้น
  3. วิตามินบี6 โฟลิค และ B12 ช่วยในการคงสภาพเม็ดเลือดแดงให้นำออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์รากผมได้ดีขึ้น อาหารที่แนะนำคือ ผักใบใหญ่เขียว เช่น ผักคะน้า บ็อคเคอร์รี่ ตับหมู เป็นต้น
  4. ธาตุเหล็ก เป็นอีกตัวที่ช่วยเรื่องการนำออกซิเจนของเม็ดเลือดแดง ในผู้หญิงที่มีโลหิตจางมักจะขาดธาตุเหล็ก มีอาการอ่อนเพลียง่ายโดยเฉพาะช่วงมีรอบเดือน ร่างกายดูซีดเซียว ผมร่วง อาหารที่มีธาตุเหล็กสูงเช่น ตับอ่อนหมู ปอดหมู เลือดวัว ไข่กุ้ง หอยแมลงภู่ กะปิ หอยนางรม กุ้งฝอย หอยเสียบ หอยขม ถั่วแดงดิบ งาดำคั่ว เม็ดบัว ถั่วดำ เป็นต้น
  5. สังกะสี คนที่ขาดสังกะสีมากๆจะทำให้มีรังแคและผมร่วงผิวหนังแห้ง อาหารที่มีสังกะสีสูงเช่น หอยนางรม จมูกข้าว ตับลูกวัว แป้งงาและเนยงา เมล็ดฟักทอง-น้ำเต้าคั่ว เมล็ดแตงโม หรือเม็ดกวยจี๊ เป็นต้น
  6. ซิลิก้า ซิลิก้าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสุขภาพของผมผิวและเล็บ อาหารที่มีซิลิก้าสูงเช่น สาหร่ายทะเลหญ้าชนิตหนึ่ง, ผักใบเขียวเข้ม, หางม้า, ตำแย, flaxseed, ผลไม้จำนวนมากรวมทั้ง แอปเปิ้ล , องุ่น , ฯลฯ ถั่วเมล็ด, หัวหอม , ผลเบอร์รี่ (รวมทั้งสตรอเบอร์รี่), ผักกาดหอม, มะเดื่อ, ดอกแดนดิไลอัน, แตงกวา ถั่วแห้งและถั่วสุก, เมล็ดทานตะวัน , มะเขือเทศ เป็นต้น
  7. อาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูงเช่น กุ้ง ปลาหมึก มีความสัมพันธ์ทางอ้อมกับการสร้างฮอร์โมน DHT เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง ไข่ปลา ตับไก่ สมองหมู ปลาหมึกสด เป็นต้น

 

ผมร่วงในผู้หญิงพบได้ไม่บ่อยเท่าในผู้ชาย พบได้ประมาณเกือบหนึ่งในสามของผู้หญิงทั้งหมด ส่วนใหญ่มักพบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน แต่ก็พบได้บ้างในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ทั่วไป ผมร่วงที่มากกว่าปกติ คือ ผมร่วงมากกว่า 100 เส้นขึ้นไป แล้วสังเกตพบว่าผมเริ่มบางลงกว่าที่เคย ส่วนใหญ่ผมร่วงในผู้หญิงวัยสาวมักเป็นชั่วคราวและมีสาเหตุที่แก้ไขได้ ดังนั้นจึงควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ สาเหตุของผมร่วงในผู้หญิงที่พบทั่วๆไปได้แก่

  1. ความผิดปกติของฮอร์โมนใดๆ ก็ตามที่ทำให้การสร้างฮอร์โมน ดีเอชที (DHT - Dihydrotestosterone) ซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดผมร่วงศีรษะล้านแบบกรรมพันธุ์ ที่พบมากในผู้ชาย โดยปริมาณฮอร์โมน DHT มีมากขึ้น หรือมีการสร้างเอ็นไซม์ อโรมาเทส (enzyme aromatase) ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ที่รับผิดชอบต่อการสร้างฮอร์โมนเพศหญิง เอสโตรนและเอสตราไดออล (estrone and estradiol) ลดลงทำให้เสียสมดุลของฮอร์โมนเพศหญิงและเพศชาย (androgens and estrogens) เช่น ภาวะวัยทอง, วัยหมดประจำเดือน,หรือเป็นเนื้องอกที่รังไข่บางชนิดที่สามารถสร้างฮอร์โมนเพศชายได้มากๆ
  2. ภาวะผมร่วงหลังคลอด อาจพบได้หลังคลอดตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป และมักจะเป็นอยู่ประมาณ 6-12 เดือน สามารถดีขึ้นเองได้แม้ไม่ได้รับการรักษา
  3. การขาดสารอาหารบางอย่างที่จำเป็นต่อการสร้างเส้นผม เช่น ขาดวิตามินบี, ขาดธาตุสังกะสี, ขาดธาตุเหล็ก, ขาดโปรตีน หรือกรดไขมันจำเป็น (vitamin b, zinc, iron, protein, essential fatty acid deficiency) การอดอาหารเพื่อลดน้ำหนัก,โรคอนอเรกเซีย - บูลิเมีย (anorexia, bulimia) เป็นต้น
  4. โรคบางอย่าง เช่น โรคของต่อมไทรอยด์ (ไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ - Hypothyroid หรือ ไทรอยด์ฮอร์โมนสูง - Hyperthyroid), โลหิตจาง, โรคตับ, โรคไต, โรคแพ้ภูมิตัวเอง (Autoimmune diseases) เช่น เอสแอลอี (sle)
  5. ยาคุมกำเนิด สามารถพบได้ทั้งในผู้ที่เริ่มกินยาคุมกำเนิดหรือหยุดกินยาคุมกำเนิด เนื่องจากยาคุมกำเนิดเป็นฮอร์โมนเพศแบบหนึ่ง จึงทำให้สมดุลของฮอร์โมนเพศในร่างกายเปลี่ยนไป ทำให้เกิดผมร่วง ผมบางได้
  6. ภาวะผมร่วงหลังการเจ็บป่วย เช่นไข้สูง, หรือหลังการผ่าตัด, หลังการดมยาสลบ
  7. ผมร่วงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยารักษาความดันโลหิตสูง, ยารักษาโรคเก๊าฑ์, วิตามินเอในขนาดสูง
  8. ภาวะอารมณ์เครียดสูงเรื้อรัง

ผมร่วงในผู้หญิงจะพบทั่วๆไป เป็นผมบางทั่วๆ ศีรษะ มีส่วนน้อยที่พบว่าทำให้เกิดศีรษะล้านเฉพาะที่เช่น บริเวณกลางกระหม่อมแบบในเพศชาย เนื่องจากส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากฤทธิ์ของฮอร์โมน ดีเอชที ที่ทำให้เกิดศีรษะล้านแบบกรรมพันธุ์ (androgenetic alopecia) ซึ่งพบมากในเพศชาย ดังนั้นการรักษาโดย การใช้ยาที่ต้านการออกฤทธิ์หรือการสร้างฮอร์โมนดีเอชที เช่น ยาฟิแนสเตอไรด์หรือ โพรพีเชีย (finasteride or propecia) ที่ใช้ได้ผลดีในผู้ชาย จึงมักได้ผลน้อยหรือไม่ได้ผลเลยในการรักษาผมร่วงในผู้หญิง ถึงแม้ว่ายากลุ่มนี้จะมีข้อห้ามในการใช้ในผู้หญิงแต่ปัจจุบันพบว่ามีผู้หญิงจำนวนหนึ่งที่มีผมร่วงผมบางจากกรรมพันธุ์นำมาใช้แล้วได้ผลแต่ไม่ปลอดภัยหากผู้หญิงที่ใช้ อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ถ้าตั้งครรภ์ระหว่างใช้ยาอาจจะทำให้ทารกพิการได้ วิธีการรักษาผมร่วงในผู้หญิงที่ถูกต้อง จึงต้องค้นหาสาเหตุ และแก้ไขที่สาเหตุเหล่านั้น การรักษาจึงจะได้ผมดีที่สุด
ผมร่วงเฉพาะที่ในผู้หญิงที่อาจพบได้ มีลักษณะเป็นวงกลมเฉพาะจุด อาจพบเป็นวงเดียวหรือหลายวงก็ได้เรียกว่า ผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia Areata) เป็นโรคในกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันต่อตนเอง (Autoimmune disease) และอาจพบได้เป็นกรรมพันธุ์ ส่วนใหญ่มักดีขึ้นเองได้ การรักษาโดยทั่วไปมักใช้ยาสเตียรอยด์ (steroids)

 

ที่มา//xn--12cm6duahd2am4em9v.net/




Create Date : 10 ตุลาคม 2556
Last Update : 10 ตุลาคม 2556 17:44:33 น.
Counter : 819 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

SOYU_K
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]



New Comments