Group Blog
 
All Blogs
 
Moving Average Part 1







วันนี้มีเวลาว่าง ก่อนนอนมีหลายๆคนที่ชอบศึกษาเรื่อง Technical Analysis หรือ Chart Analysis และจะหนีไม่พ้นการใช้ Indicator ต่างๆในวันนี้จึงขอเสนอ Tool ชนิดนึงหรือ Indicatorที่นิยมกันทั่วโลก นั้นคือ Moving Average

ก่อนเข้าเรื่องกันผมอยากจะอธิบายเรื่องเกี่ยวกับ Chart Analysis และการใช้ Indicator เบื้องต้นนั้นคือ โดยคนส่วนมากจะมองว่า เจ้าอุปกรณ์เหล่านี้มีใว้สำหรับให้สัญญาณในการเข้าซื้อหรือขาย (Buy,Sell signal) แต่สำหรับตัวผมเองไม่แนะนำเอามากๆกับการใช้ Indicator เหล่านั้นมาใช้ในทางนั้นโดยที่ไม่รู้ถึงความเป็นมาของเจ้าตัวที่เอามาใช้ ประการแรกเลย เจ้าอุปกรณ์พวกนี้มันเกิดขึ้นมาจาก สูตรทาง คณิตศาสตร์ หลักทางสถิติ โดยใช้การคำนวนด้วยสูตรต่างๆเหล่านี้จึงออกมาหน้าตาเป็นกันแบบที่เห็น เรื่องนี้ผมจะพยายามค่อยๆเขียนลงไป จุดประสงค์คือเพื่อทบทวนความจำตัวเองด้วย บางครั้งอะไรไม่ได้ใช้นานๆมันก็เริ่มลืมๆไปแล้วบ้าง

เพราะฉะนั้นผมอยากเน้นย้ำอีกครั้งว่า ทุกครั้งที่มองข้อมูล สถิติ เหล่านี้ อย่ามองว่ามันเป็นสัญญาณการซื้อขายเพียงอย่างเดียว เพราะจุดนั้นมันเป็นจุดสุดท้ายของการสร้างระบบ หรือ อัลกอริธึ่มขึ้นมา ยกตัวอย่าง ราคาตัดขึ้นเหนือเส้น Moving Average = buy >> คำถามคือ ทำไมถึงซื่้อ !!! เพราะมันราคาหรือข้อมูลที่เกิดขึ้นมาใหม่มันอยู่เหนือ Average ของมันเท่านั้นเองหรือ ง่ายซะจริงเชียว
*** ผมไม่ได้จะหมายความว่าทำแค่นี้ไม่ได้ แต่มันต้องผสมผสานกับหลักอื่นๆเช่น
การวิเคราะห์หุ้น หรือ โปรดักซ์ที่เราเข้ามาเทรดก่อน และ Money management  เป็นต้น *** เรื่องนี้ขอข้ามไปก่อนวันนี้จะขอพูดถึงเจ้าตัว Moving Average อย่างเดียวก่อน
และขอย้ำอีกทีว่าอย่าลืมนะครับไม่มีอุปกรณ์ชิ้นไหนสามารถ บอกทิศทางว่าราคาจะขึ้นหรือลงใด้ นาทีข้างหน้า หรือชั่วโมงข้างหน้า เพราะ อนาคตไม่สามารถเอามาใส่ในสูตรใด้ครับ ผมก็ไม่ค่อยจะเก่งเลขเท่าไร แต่ความเข้าใจง่ายๆนั้นตามประสาความรู้น้อยแบบผม คือ ถ้าเรารู้ว่า 1+1=2 ไม่ว่าจะ + กี่ครั้งมันก็จะใด้ 2 แต่ถ้าเราไม่รู้ว่า 1+ กับอะไรมันก็จะหาคำตอบไม่ใด้ ทุกอย่างในนี้จึงขึ้นกับคำว่า Expected 


ผมจะขอพูดถึงตัวหลักๆก่อนนะครับนั้นคือ Simple Moving Average(SMA) และ Exponential Moving Average(EMA)

เริ่มกันที่ Simple Moving Average เจ้านี้คือการหาค่าเฉลี่ยแบบเบสิคสุดๆครับ
เอาvalueข้อมูลมารวมกันแล้วหารด้วยจำนวนtotal
เช่น (ตัวอย่าง SMA, Period 10, Apply to close)

Close Price = 6,8,10,12,14,16,18,20,22,24
Mean = (6+8+10+12+14+16+18+20+22+24)/10
= 15
เพราะฉtนั้นถ้าเราเอาไปพล็อตเป็นกราฟเจ้าเส้นนี้จะเริ่มที่ 15
ทีนี้หลักการที่มันจะ Moving ไปก็คือขยับไปเรื่อยๆเมื่อมีข้อมูลใหม่เข้ามาเช่น 
เก่า
Close Price = 6,8,10,12,14,16,18,20,22,24
Mean = (6+8+10+12+14+16+18+20+22+24)/10
= 15
ใหม่ 
Close Price = 6,8,10,12,14,16,18,20,22,24,26
Mean = 6+(8+10+12+14+16+18+20+22+24+26)/10
= 17
ซึ่งข้อมูลตัวแรก Value 6 จะถูกแทนที่ด้วยตัวใหม่ต่อท้ายมาคือ 26 ทำให้ค่าเฉลี่ยสูงขึ้นเจ้าเส้นนี้ก็จะวิ่งขึ้นไปตามราคาที่สูงขึ้นครับ

ทีนี้น่าจะเริ่มมองเห็นว่าเส้นนี้มันไม่ได้เป็นเส้นวิเศษที่ราคาเหนือเส้นแล้วจะขึ้นหรือใต้เส้นแล้วจะลงแต่ต้องบอกว่ามันถูกทำให้ขึ้นหรือถูกทำให้ลงด้วยข้อมูลที่เกิดขึ้นมาต่างหากครับSmiley

ทีนี้มาดูสูตรของคู่หูกันบ้างคือเจ้า Exponential Moving Average หรือ EMA วิธีการหาเจ้านี้มีหลายขั้นตอนครับ
วิธีการหา EMA, Period 10, 
ขั้นแรกเราต้องหา SMA มาก่อน(ผมขอใช้ค่าจากด้านบนเลยนะครับ =15)

ขั้นต่อมาเราคำนวน Multiplier
 (2/(period + 1) ) ก็จะออกมาเป็น (2/(10+1)) =  0.1818 (18.18%)

ขั้นที่3 ครับ หาค่าของ EMA คือ
EMA= (Closing - EMA(previous day)) x multiplier + EMA(previous day)
ส่วนเจ้าPrevious day เนี้ยถ้าคำนวนแต่แรกจะไม่ใด้ครับเราจึงต้องคำนวน SMA มาก่อนและนำมาใช้แทนในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งที่เราเริ่มคิด EMA ครับ
ดังนั้นการที่เรียกว่า EMA นั้นเร็วกว่า SMA เพราะว่ามันให้น้ำหนักกับราคาปัจจุบันมากกว่านั้นเองครับ

ทีนี้เรารู้แล้วว่าเจ้าเส้นนี้มันไม่ได้พิศดารอะไรเพราะฉะนั้นไม่มีทางที่มันจะทำนายอนาคตใด้ครับ

วันนี้ดึกแล้วขอจบเพียงเท่านี้ก่อน จะมาต่อกับเจ้าเส้นนี้โอกาศหน้าครับ




Create Date : 14 กรกฎาคม 2559
Last Update : 18 กรกฎาคม 2559 16:43:20 น. 0 comments
Counter : 582 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Mr Sparta
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เม่าตัวเล็กๆตัวหนึ่ง
Friends' blogs
[Add Mr Sparta's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.