Welcome to Ricola ร่าเริง Bloggang
My way… Norway # 2... ดินแดนพระอาทิตย์เที่ยงคืน ...(((ออสโล ...ชมเรือไวกิ้ง)))

My way… Norway  # 2


Smiley Smiley ... ดินแดนพระอาทิตย์เที่ยงคืน ... Smiley Smiley (((ออสโล ...ชมเรือไวกิ้ง)))


::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
ทันทีที่ย่างเท้าเหยียบกรุงออสโล มิสเตอร์ไกด์ก็บึ่งพามาชมเรือไวกิ้งก่อนเลยค่ะ เพื่อที่จะได้สัมผัสตัวตนของชาวไวกิ้งแบบจะ จะ...ก่อน...เพื่อชมความเจริญในอดีตที่ยิ่งใหญ่ ของบรรพบุรุษของชาวนอร์ทที่เดินทางไปทั่วยุโรปด้วยเรือไวกิ้งนี้

แต่เผอิญ กัปตันซิ่งเรือบินมาถึงเร็วไปหน่อย...พิพิธภัณฑ์ เค๊ายังไม่เปิดเลยค่ะ...อิ อิ



เลยต้องทำเนียน พาไปชมสวนวิกเกอแลนด์แทนก่อน



แล้วย้อนกลับมาที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้อีกครั้ง ในตอนสายๆ



สถานที่จัดสร้างพิพิธภัณฑ์ ได้รับการบริจาคที่ดิน จาก Anne Stine และ Helge Ingstad ซึ่งได้มีการปั้นรูปของทั้ง 2 พร้อมจารึกชื่อไว้เป็นอนุสรณ์ ด้านข้างอาคารทางเข้าค่ะ...



พิพิธภัณฑ์เรือไวกิ้ง (Viking Ship Museum) ถือเป็นตำนานและรากเหง้าของชาวนอร์เวย์ ที่มีอารยธรรมเจริญมาตั้งแต่อดีต พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จัดแสดงเกี่ยวกับเรือไวกิ้งโบราณที่สร้างจากไม้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 โดยขุดได้จากรอบๆออสโลฟยอร์ด นอกจากนี้ยังจัดแสดงเกี่ยวกับเครื่องมือในชีวิตประจำวันที่มีอายุเก่าแก่กว่า 1,000 ปี



เรือ ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในอดีต เพราะชาวไวกิ้งใช้เรือ ทั้งในเรื่องของการรบ ทำการค้า และออกสำรวจหาดินแดนใหม่ๆ ไกลกว่าค่อนโลก

ทางตะวันออกลึกเข้าไปถึงทะเลสาบแคสเบียน
ทางตอนใต้ล่องไกล ถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ทางตะวันตกไปไกลถึงนิวฟาวด์แลนด์ ทวีปอเมริกา

จนมีคำกล่าวว่า ถ้าไม่มีเรือไวกิ้ง ก็จะไม่มียุคที่รุ่งเรืองที่สุดของชาวไวกิ้ง



พิพิธภัณฑ์ที่เข้าไปชมนั้นเป็นอาคารชั้นเดียว ภายในสร้างเป็นผนังโค้งๆ เหมือนอุโมงค์ มี 3 ปีก แต่ละปีก จัดตั้งแสดงเรือไวกิ้ง ปีกละ 1 ลำ รวมจำนวน 3 ลำ



เมื่อเข้าไปภายใน จะแลเห็น เรืออุสแบนนิ ตั้งแสดงไว้เด่นสง่า



เรือไวกิ้งโบราณลำนี้ สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ.850 ทำด้วยไม้โอ๊ค แกะสลักลวดลาย มีหัวงอน ท้ายงอน เป็นขดกลมๆ สวย คลาสสิค...อ่ะ...



นักโบราณคดีใช้เวลาถึง 20 ปี ในการซ่อมแซม และบำรุงรักษาอย่างดีเยี่ยม ก่อนที่จะนำมาแสดงที่นี่







ประวัติคำว่า ไวกิ้ง...ย้อนไปเมื่อครั้ง Viking Age (ค.ศ. 770-1080) เริ่มด้วยชาวเหนือที่อาศัยในแถบสแกนดิเนเวีย มีพื้นที่เพาะปลูกน้อยจึงหันมายึดอาชีพการประมง และพัฒนาการต่อเรือเดินทะเล ต่อมามีประชากรเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องออกทะเลเพื่อค้าขาย



แต่พวกนี้ชอบทำตัวเป็นโจรสลัด ใช้ชีวิตกินนอนอยู่บนเรือและล่องเรือไปเรื่อยๆ บางทีก็ลักขโมยหรือปล้นสะดมภ์เพื่อดำรงชีวิต ผู้คนที่อาศัยในดินแดนอื่นได้เรียกชาวเหนือพวกนี้ว่ามนุษย์ “Viking”



ในจำนวนเรือไวกิ้งทั้ง 3 ลำนี้ มีเพียงลำเดียวที่มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์เนื่องจากจมอยู่ในโคลน อีกทั้งได้พบหลักฐานว่าไม่เคยออกทะเล แต่ใช้เป็นที่ฝังศพของหญิงสูงศักดิ์ชาวไวกิ้ง 2 คน พร้อมกับสิ่งของเครื่องใช้สำหรับผู้ตายให้เอาไปใช้ในภพหน้า



และมีอยู่ลำหนึ่งเสียหายมาก เพราะโดนแทร็กเตอร์ของคนงานก่อสร้างโดยบังเอิญ





ส่วนช่วงหลังของอาคาร ใช้เป็นที่แสดงสิ่งของ เครื่องใช้ต่างๆ ที่ขุดพบในซากเรือรวมทั้งสมบัติ อัญมณี ซึ่งเคยอยู่ในเรือดังกล่าว




เป็นที่น่าประทับใจอย่างยิ่งที่ได้เห็นเยาวชนไวกิ้ง มีคุณครูพาไปทัศนศึกษาถึงรากเหง้าบรรพบุรุษของตน ด้วยการไปชมของจริง พร้อมกางโต๊ะ เก้าอี้ เปิดดิสคัสกันกลางมิวเซียม เลย น่ารักมาก ...



จบการชมเรือไวกิ้งแล้ว ออกมาด้านนอกอาคารถ่ายภาพบ้านเรือนรอบๆมิวเซียมค่ะ



ขอแถมนิยายปรำปราเรื่อง Stroll หน่อยนึงค่ะ

Stroll เป็นมนุษย์โบราณครึ่งผีครึ่งคน รูปร่างเหมือนคนแคระ หน้าตาเหี่ยวย่น เหมือนคนแก่ที่มีอายุเป็นร้อยปี มีจมูกยาวเป็นคืบ หน้าตาก็น่าเกลียดน่ากลัวมาก

เล่ากันว่า

เมื่อสมัยโบราณปู๊นนๆๆๆ...พวกสตรอลล์อาศัยอยู่ในป่าตามถ้ำตามเขา ในความมืด และกลัวแสงสว่าง ไม่รู้จักทำมาหากิน ได้แต่ลักขโมยพืชผลในไร่ของชาวบ้านกินในยามพระอาทิตย์ตกดินไปแล้ว จนชาวบ้านเดือดร้อนทั่วไปหมด

จนกระทั่งมีกระทาชายผู้กล้าหาญคนหนึ่ง รับอาสาปราบ โดยออกไปหลอกล่อพวกสตรอลล์ให้วิ่งไล่ตามในตอนใกล้สว่าง แล้วเขาก็แอบหนี ไม่ให้มันจับตัวได้ ปรากฏว่าวิ่งหนีจนเช้าพระอาทิตย์ขึ้น สตรอลล์ถูกแสงแดดเลยกลายเป็นหิน ...


เอ...กว่าจะทำให้สตรอลล์กลายเป็นหินหมดทุกตัว ไม่รู้ว่าต้องวิ่งหนีกันสักกี่วัน กี่เดือน....

และเมื่อเวลาผ่านไปเป็นล้าน ๆ ปี หินสตรอลล์เหล่านี้งอกเงยขึ้น....กลายเป็นภูเขาสูง ๆ ต่ำ ๆ ขึ้นเป็นภูมิประเทศของนอร์เวย์ในปัจจุบัน ดังนี้แล...



ค่ะ ออกจากมิวเซียมแล้วเดินทางไปชมวิวสวยนอกเมือง ณ ลานกระโดดสกีจัมฟ์ ที่เนินเขา โฮเมนโคเล่น (Holmenkollen.Mountain) ชานกรุง ออสโล สถานที่จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว ซึ่ง นอร์เวย์เป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิคฤดูหนาวในปี 1952



ขึ้นไปที่เนินเขา โฮเมนโคเล่น เพื่อไปชมลานกระโดดสกี ที่สูงตระหง่านอยู่บนยอดเขา …

วาดภาพว่า คงจะได้เห็นเค๊าเล่นสกีกัน วิ่งฉิว วิ่งฉิว พุ่งตัวลงมาจากที่สูงลงสู่สนามหิมะขาวโพลนเบื้องล่าง ...

................................................................................................
................................................................................................
................................................................................................

ที่ขึ้นไปดู มีแต่อย่างนี้แหล่ะค่ะ...



....... เค๊ากำลังปิดซ่อมบำรุงและจะเปิดใช้อีกครั้ง ปี 2011 ค่ะ เห็นว่าทุ่มทุนเป็นพันล้าน...



ขึ้นไปชมลานสกีที่กำลังก่อสร้างบนเนินเขาแล้วเจอต้นไม้สลัดใบ เหลือแต่ลูกสีแดงทั้งต้นเรียงรายไปหมด สวยงามมาก ...น่ากิ๊นนน...เรียกว่าลูก rognebaer (ร่องเนะบา)





ต้นไม้ใหญ่สลัดใบทิ้งร่วงหมดแล้ว เตรียมเข้าสู่นิทรารับความหนาวเย็น ได้บรรยากาศที่สวยงามอีกแบบหนึ่ง...

Smileyเราเดินทางกันต่อค่ะ...

ไปเมืองกอล (Gol) และ เมืองเกโล (Geilo) เมืองแห่งปากประตูสู่ดินแดนแถบฟยอร์ดค่ะ... ........................



:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::



:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::




Create Date : 28 ธันวาคม 2552
Last Update : 28 ธันวาคม 2552 21:35:47 น. 0 comments
Counter : 2078 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Ricola ร่าเริง
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]





























/* This script has been disabled for Netscape 6 due to ugly scrollbar activety. Could probably be fixed with a clipped container div but can't be bothered. */ if (!isNetscape6){ num=5; //Smoothness depends on image file size, the smaller the size the more you can use! stopafter=240; //seconds!
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add Ricola ร่าเริง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.