Group Blog
 
All blogs
 
ละึครน้ำเน่า..คนดูไม่ฉลาด คนทำโง่ ?




ละครน้ำเน่า คนทำไม่ได้โง่ คนดูก็ไม่ได้โง่


“ละครน้ำเน่า” ไม่ใช่ความผิดของวงการทีวีบ้านเรา ไม่ใช่ความจนตรอกในการนำเสนอ หากแต่เป็นรูปแบบละครที่มีมาช้านานทั่วโลก เรียกว่า melodrama

คำว่า melodrama ตามพจนานุกรมวรรณกรรม แปลว่า
แนวละครแนวสมจริง ที่ดูคล้ายโศกนาฏกรรม (กลุ่มละครแนว tragedy)แต่ไม่ลึกซึ้งเท่า เรื่องราวของละครประเภทนี้ โลกของความดีและความชั่วจะแบ่งกันอย่างชัดเจน ตัวละครดีและร้ายมักขาดพัฒนาการและเป็นประเภทด้านเดียว คือดีก็ดีหมด ร้ายก็ร้ายหมด ประเด็นที่นำเสนอ จะเน้นโครงเรื่องมากกว่าการพัฒนานิสัยตัวละคร และมักจะขาดเหตุผลที่ดีในการรองรับทำให้ดูเหลือเชื่อ เรื่องราวมักขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ภายนอกเช่นเหตุบังเอิญ เคราะห์กรรมที่ถาโถมเกินจริง

กลุ่มละคร melodrama ประสบความสำเร็จอย่างสูงในแง่ของความบันเทิง และการพาฝัน นำพาผู้ชมไปสู่โลกเหนือจริง (escape) อย่างไรก็ดีในประวัติศาสตร์การละคร ยืนยันการดำรงอยู่ของ ละครกลุ่ม melodrama ว่าผูกพันกับทุกสังคมและทุกยุคสมัย ทั้งในสังคมตะวันตก (ที่เรามักเชื่อว่าฉลาดกว่าคนไทย) ในสังคมเอเชีย (รวมทั้งละครเกาหลี ที่เราก็มักเชื่อว่าฉลาดกว่าคนไทยเช่นกัน)

ศิลปะ วรรณกรรม และมหรสพ ไม่เคยเกิดขึ้นเอง แต่เกิดขึ้นด้วยความต้องการของมนุษย์ ละครน้ำเน่าก็ไม่เคยเกิดขึ้นเอง (อย่างโง่ๆ) หลายครั้งเกิดเพราะความตั้งใจ ทั้งของคนทำ(ไม่รู้โง่หรือเปล่า แต่คิดเอาเองว่าไม่) และคนดู (ที่ไม่เคยโง่)

ละครแนว melodrama มีความผูกพันลึกซึ้งกับสิ่งที่เรียกว่า โทรทัศน์ ที่ถูกตราหน้าว่าเป็นมหรสพที่ไร้ศิลปะ เมื่อเทียบกับภาพยนตร์ ละครเวที ดนตรี เพราะหน้าที่ของโทรทัศน์ คือการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ด้วยราคาถูกและจำนวนมากในคราวเดียว (mass)

ละครแนว melodrama ถูกตั้งข้อสงสัยถึงที่มาของความสำเร็จ ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ที่จริงปัจจัยความสำเร็จคล้ายการได้รับความนิยมของ ลิเก เพลงลูกทุ่ง ภาพยนตร์บู๊เกรดบีของฮอลลีวู้ด ภาพยนตร์ชุดบ้านผีปอบของไทย ไปจนถึงการได้รับความนิยมของ สบู่นกแก้ว นิตยสารคู่สร้างคู่สม มาม่า ชายสี่หมี่เกี๊ยว

ความสำเร็จแบบนี้มีที่ทางของตนเอง ที่อยู่คนละด้านกับ การแสดงโขน ภาพยนตร์ระดับรางวัล บัลเล่ต์ เพลงหน้าพาทย์ เพลงโมสาร์ท และแน่นอนอยู่คนละขั้วกับครีมอาบน้ำจากปารีส นิตยสารอิมเมจ และอาหารจากภัตตาคารหรูบนถนนสุขุมวิท

ผู้เสพละครแนว melodrama ไม่มีอะไรเกี่ยวกับความโง่ ทั้งคนที่ทำและดูก็ไม่ใช่ไร้เหตุผล ถึงแม้จะดูละครที่ “ไร้เหตุผล”อยู่ แต่ก็ “มีเหตุผล”ที่จะดูและจะทำ โดยส่วนใหญ่ “เลือกที่จะเชื่อ” เพราะเมื่อใดที่ “ไม่เชื่อ”ก็ดูละครไม่สนุก (แล้วจะนั่งดูไปทำป๊ะอะไร)

อีกกลุ่มดูไปด้วย “ความไม่เชื่อ” แต่เพราะคิดแล้วว่าจะมาดูเอา “ความไม่เชื่อ”…นั่นคือมาดูมาด่า มาขำเอามันส์…แบบนี้ก็คุ้มไปอีกแบบ

โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้เสพ melodrama ไม่มีกฎข้อบังคับว่า ต้องเสพแต่เฉพาะของพื้นๆ ในหลายเวลา ในหลายกรณี ผู้เสพย่อมอยากเลือกกินของสูง เล่นของสูงได้ เพราะความต้องการของมนุษย์ในแต่ละสถานการณ์และเวลาแตกต่างกัน (วันนี้เหนื่อยและขี้เกียจคิดมาก นอนกินมาม่า ดูละครน้ำเน่า…ไว้พรุ่งนี้วันหยุด ค่อยใส่ชุดหรู ไปดูโอเปร่า จบด้วยกินเป๊บเปอร์สเต๊กในภัตตาคารที่สุขุมวิท)

ที่น่าสนใจคือ ละคร melodrama มักมีความสัมพันธ์ กับสภาพสังคมในลักษระแปรผกผันตามกัน ละคร melodrama ของไทยมักพูดถึง ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม การกดขี่ทางชนชั้น การละเมิดสิทธิมนุษยชน (ปิ่นมุก อ้อยควั่น ดาวพระศุกร์ คือพรีเซ็นเตอร์ในกรณีนี้) อาจแสดงให้เห็นว่า ละคร melodrama เมื่อประสบความสำเร็จในที่ใด ยุคสมัยใด นั่นหมายถึง ละคร melodrama กำลังทำหน้าที่สะท้อนความเป็นจริงบางส่วนของสังคมนั้นๆ

แต่อย่างไรก็ดี มักมีผู้ตั้งคำถาม
“ละครน้ำเน่า” น่าจะมีหน้าที่รับผิดชอบสังคมได้บ้าง
(เวลาถูกถาม รู้สึกหวาดหวั่นทุกที คล้ายถูกยัดเยียดตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม…ทั้งที่ความสามารถและตำแหน่งการงานไปไม่ถึง)

ที่จริงแล้ว ศิลปะ วรรณกรรม และมหรสพ มักไม่ค่อยทำหน้าที่ชี้นำสังคม แต่เป็นกระจกสะท้อนสังคมมากกว่า โดยนัยยะ “ชี้นำ” และ “กระจกสะท้อน” เป็นคนละความหมาย

ความจริงคนทำงานโทรทัศน์ ไม่ได้ขาดความรับผิดชอบและเห็นแก่เรตติ้ง
คนทำงานโทรทัศน์จำต้องมีจรรยาบรรณ เช่นเดียวกับสื่ออื่น เพียงแต่มีกรอบในเชิงพาณิชย์สูงกว่าสื่ออื่นๆ

พวกเราทุกคนเห็นด้วยว่า การควบคุมสื่ออย่างโทรทัศน์ เป็นสิ่งที่ต้องเข้มงวด และสมควรทำ เราทุกคนจึงยินดีให้ความร่วมมืออยู่เสมอ
ท้ายที่สุดนี้ ลิเกคือความเป็นไทยฉันใด
ละครไทยก็เป็นของคนไทย ฉันนั้น

จากหนึ่งในผู้เขียนบทละคร (น้ำเน่า) ….
นันทวรรณ รุ่งวงศ์พาณิชย์



หมายเหตุ บทความนี้เคยลงในกระทู้พันทิพ ในหัวข้อเกี่ยวกับละครเรื่องปิ่นมุก ( อั้ม-ซี )


Create Date : 18 พฤศจิกายน 2549
Last Update : 25 มกราคม 2553 23:48:55 น. 9 comments
Counter : 2214 Pageviews.

 
ขอบคุณที่เขียนบทความนี้ เพราะช่วยย้ำความเข้าใจของตัวเองให้แน่นขึ้นด้วยเราเคยตั้งข้อสงสัยตัวเองมาก่อนว่าเหตุใดเราจึงชอบเลือกที่จะดูละครน้ำเน่าทุกทีเวลาที่เรารู้สึกเครียดจากการงานหรือผู้คนรอบข้างในยุคโลกาภิฆาตเช่นนี้


โดย: New Friend IP: 58.171.94.138 วันที่: 26 ธันวาคม 2549 เวลา:10:48:03 น.  

 



โดย: somnumberone วันที่: 17 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:21:35:31 น.  

 
สนุกจะตายปิ่นมุก


โดย: แบม IP: 58.8.112.167 วันที่: 1 กรกฎาคม 2550 เวลา:19:14:00 น.  

 
ไม่รู้ว่า ความเห็นจะตรงกันข้ามหรือไม่นะคะ

ไม่ได้ว่าคนทำ+คนดูโง่

แต่ทั้งคนทำและคนดู ไม่มีทางเลือก

ตลาดที่กว้างที่สุดของคนดูละคร คือ คนที่ไม่มีทางเลือกในการเสพสิ่งอื่นๆในเวลาที่ฉายละคร (แน่นอนคุณมีสารคดีทางช่อง 9 อยู่บ้าง แต่ขอบอกมันน้อย)

คนที่ไม่อยากจะดูละคร แล้วมีทางเลือกอื่นเช่น ดูเคเบิ้ลทีวีมีน้อย เมื่อเทียบกับคนที่ไม่มีทางเลือก มันกว้างมหาศาล

เรื่องราวในเมโลดราม่า สนุก ไม่เถียงให้เสียเวลา

แต่มันจะมีอะไรดีไปกว่า ตอนสุดท้าย ตัวร้ายตายหมด (มีอันเป็นไปในทางใดทางหนึ่ง) บ้างมั้ย?

ฝากเจ้าของบล็อกผู้เป็นนักเขียนบทค่ะ


โดย: xbjo IP: 218.47.37.149 วันที่: 6 กรกฎาคม 2550 เวลา:14:58:00 น.  

 
พี่อัมน่ารักมักมากๆๆๆๆเลยค่ะ และพี่ซี่ก็เช่นกัน



โดย: นิสา จิตงาม IP: 125.27.209.132 วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:10:04:47 น.  

 
สนุกมากเลยค่ะกับละครเรื่องนี้


โดย: เดียร์ IP: 118.173.236.201 วันที่: 29 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:14:21:37 น.  

 
พี่ๆ ค่ะ
ช่วยตอบแบบสอบถามเรื่องการศึกษาการจัดการความรู้ผ่านการสื่อสารบนเว็บบล็อก
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ นิสิตปริญญาโท ภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างคือ Blogger และมีสิทธิ์ลุ้นรับ iPod shuffle (1GB)
ด้วยนะค่ะ เป็นของรางวัลเล็กๆ น้อยๆ แทนคำขอบคุณค่ะ รบกวนด้วยนะค่าา เชิญเข้าไปที่ลิงค์นี้เลยค่ะ //www.questionpro.com/akira/TakeSurvey?id=1208859


โดย: เอ IP: 124.120.7.18 วันที่: 11 เมษายน 2552 เวลา:23:58:39 น.  

 
ขอบคุณจริงๆน่ะค่ะ
จาทามรายงานส่งอาจารย์
หาแทบพลิกแผ่นดิน
ก็มาเจอจากพี่นี้แหละ
ขอบคุณอีกครั้งน่ะ


โดย: mo mo IP: 110.49.8.57 วันที่: 7 กันยายน 2553 เวลา:17:20:12 น.  

 
เป็นแฟนละครที่กลับมาดูใหม่ หลังจากที่หยุดดุไปกว่า10ปี เพราะเบื่อคนใช้ตบตีด่ทอกัน กรี๊ดกร๊าด ดูแล้วเรียด รวมถึงตลกไร้สาระ ยอมรับทนไม่ได้กับความเยิ่นเย้อ-ย้วยของช่องหลายสี ยืดออกไปเวลาเรตติ้งดี ทำให้เสียอารมณ์-ความต่อเนื่อง ชอบแบบช่อง3 ทำเสร็จจึงจะออนแอร์ เสี่ยงดวงไปเลย
เดี๋ยวนี้จะดูละครต้องหาดูก่อนว่า ของใครสร้าง ใครทำบทไม่ใช่มือใหม เนื้อเรื่องมีเนื้อเรื่องและเหตุผลที่น่าเชื่อถือ

ดาราก็เป็นส่วนสำคัญ ปี2555 มีดาราเล่นที่ดีหลายคน แต่บทไม่เหมาะ เช่น แอฟไม่เหมาะเลยกับ รักปกาศิต ฯลฯ เสียเวลาเสียตาด้วย


โดย: BeeCa IP: 209.121.13.104 วันที่: 7 เมษายน 2555 เวลา:10:00:24 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

แม่มดมีฤทธิ์
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]




นันทวรรณ รุ่งวงศ์พาณิชย์ (บ๊วย)
นักเขียนบทละครโทรทัศน์

เจ้าของบทประพันธ์...>>>>>
ทาสรัก สวรรค์สร้าง
เพลงรักข้ามภพ
สู่แสงตะวัน อธิษฐานรัก
ดั่งดวงตะวัน เพียงผืนฟ้า
กลิ่นแก้วกลางใจ เปลวไฟในฝัน

ผลงานเขียนบท...>>>>>
บ่วง ทวิภพ สาปภูษา
ดั่งดวงตะวัน กลิ่นแก้วกลางใจ
เปลวไฟในฝัน หัวใจช็อคโกแล็ต
คลื่นรักสีคราม เล่ห์รตี

ผลงานกับละลิตา ฉันทศาสตร์โกศล ...>>>>>
ทางผ่านกามเทพ สามีตีตรา สายรุ้ง
ยอดชีวัน สามี บังเกิดเกล้า
หนึ่งในดวงใจคือเธอ สี่ไม้คาน
เลื่อมสลับลาย พรหมไม่ได้ลิขิต
ก้านกฤษณา ปลาหนีน้ำ ฯลฯ

ผลงานกับ ช่างปั้นเรื่อง...>>>>>
รักในม่านเมฆ เพียงผืนฟ้า ปิ่นมุก พลิกดินสู่ดาว อุ่นไอรัก
เบญจาคีตาความรัก รุ่งทิพย์ ต่างฟ้าตะวันเดียว
ปิ่นไพร ฯลฯ




Friends' blogs
[Add แม่มดมีฤทธิ์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.