การคลอดผิดปรกติ (DYSTOCIA)

การคลอดผิดปรกติ (DYSTOCIA)


การคลอดที่ปกติ หรือคลอดยาก ซึ่งทางการแพทย์เรียกว่า “ดิสโตเกีย” หรือ “DYSTOCIA” สาเหตุที่ทำให้เกิดการคลอดยากนั้น เราสามารถแบ่งออกเป็น 2 ปัจจัย กล่าวคือ ปัจจัยที่เกี่ยวกับตัวแม่ และที่เกี่ยวกับตัวลูก

ปัจจัยที่เกี่ยวกับตัวแม่ (IMATERNAL DYSTOCIA)

1. กล้ามเนื้อมดลูกเฉื่อยระยะแรก (PRIMARYUTERINE INERTIA) หมายถึง กล้ามเนื้อมดลูกไม่มีแรงบีบเอาตัวลูกสุนัขออกมา สิ่งที่บ่งบอกว่าเกิดจากสาเหตุนี้คือ

- หลังจากที่แม่สุนัขได้แสดงอาการคลอดระยะที่ 1 ออกมา 48 ชม. แล้วยังไม่คลอดลูกสุนัขออกมา (ระยะการคลอดที่1 ได้แก่ การทำรัง, น้ำนมไหล, กระวนกระวาย เป็นต้น)

- แม่สุนัขตั้งท้องนานเกิน 68 วัน

- ปากมดลูกเปิด อย่างเต็มที่แล้ว

สาเหตุทำให้มดลูกเฉื่อยระยะแรกคือ

- จำนวนลูกสุนัขน้อยผิดปรกติ ส่งผลให้ลูกสุนัขมีขนาดตัวใหญ่ แรงบีบจากมดลูกไม่พอ

- แม่สุนัขอายุมากเกินไป

- แม่สุนัขอ้วนเกินไป

- แม่สุนัขอ่อนเพลียก่อนที่จะคลอด

- พันธุกรรม

- ภาวะแคลเซี่ยมในกระแสเลือดต่ำ

- ภาวะขาดฮอร์โมน

2. กล้ามเนื้อมดลูกเฉื่อยระยะที่สอง (SECONDARYUTERINE INERTIA)

สาเหตุทำให้มดลูกเฉื่อยระยะที่ 2 คือ

- จำนวนลูกสุนัขที่มีจำนวนมากต่อคอก ทำให้ต้องเบ่งนาน ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกเกิดอาการล้า และหมดแรงบีบในที่สุด

- หรือบางกรณีอาจพบในสุนัขที่มีแคลเซี่ยมไม่เพียงพอ

3. ช่องเชิงกรานแคบผิดปรกติ กรณีนี้มักเกิดกับแม่สุนัขที่เคยเกิดอุบัติเหตุบริเวณเชิงกราน

มาก่อน หรือไม่ก็แม่สุนัขมีลูกตอนที่อายุน้อยเกินไป

4. ภาวะทางประสาทผิดปรกติ กรณีเกิดกับสุนัขน้อยมาก ถ้าจะเป็นก็เป็นในสุนัขพันธุ์

ทอยเป็นเพราะเกิดความกลัว, ความเครียด เป็นต้น

5. มดลูกฉีกขาด แล้วหลุดเข้าไปในช่องท้อง ทำให้คลอดไม่ออก



ปัจจัยที่เกี่ยวกับลูก (FETAL DYSTOCIA) ได้แก่

1. ท่าคลอดผิดปรกติ (MALPRESENTATION) โดยปรกติแล้วประมาณ 60 - 70% ลูกสุนัขจะคลอดในท่าเอาหัวออกก่อน แต่ถ้านอกเหนือจากนี้ถือว่าเป็นท่าผิดปรกติ

เช่น หงายเอาท้องขึ้นมา, คอบิดไปทางด้านหลัง เป็นต้น

2. ตัวลูกสุนัขมีขนาดใหญ่ผิดปรกติ สาเหตุนี้จะพบได้บ่อยมากส่วนมากจะเนื่องจาก

- แม่สุนัขมีจำนวนลูกต่อคอกน้อย ทำให้ลูกมีขนาดใหญ่กว่าปรกติ

- มักจะพบในสุนัขพันธุ์ลูกที่มีขนาดต่าง ๆ กัน ในหนึ่งคอก เช่น พวกพันธุ์มิเนเจอร์

- พบในพันธุ์ที่มีหัวใหญ่ หน้าสั้น เช่น พันธุ์บลูด๊อก, ปักกิ่ง, บอสตันเทอร์เลีย

- ลูกสุนัขที่มีลักษณะผิดปรกติ (MONSTER) เช่น พวกที่มีน้ำคั่งในสมอง





CONTACT
Email
: baannu_de@hotmail.com , anong_supajaree@hotmail.com
Msn : baannu_de@hotmail.com , anong_supajaree@hotmail.com Tel : 0869755054




 

Create Date : 20 กุมภาพันธ์ 2549   
Last Update : 6 มกราคม 2550 22:49:10 น.   
Counter : 3002 Pageviews.  


พัฒนาการ และการดูแลขณะสุนัขตั้งครรภ์

พัฒนาการ และการดูแลขณะสุนัขตั้งครรภ์

            สุนัขที่กำลังตั้งครรภ์ต้องการการดูแล และเอาใจใส่เป็นพิเศษ
จากเจ้าของ ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้การพัฒนาการ และการดูแลแม่
สุนัขในแต่ระช่วงของการตั้งครรภ์

สัปดาห์ที่ 1

พัฒนาการของลูกสุนัขในครรภ์

- เกิดการปฏิสนธิระหว่างไข่ของแม่สุนัขกับตัวอสุจิของพ่อสุนัข

- ตัวอ่อนระยะเอ็มบริโอ แบ่งตัวเป็น 2 เซล บริเวณท่อนำไข่

- ระยะนี้ตัวอ่อนมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมภายนอกที่เข้า
มากระทบต่อตัวแม่สุนัขไม่มากนัก

การเปลี่ยนแปลงของแม่สุนัข

- สุนัขบางตัวอาจมีอาการแปลก ๆ ที่ไม่เคยพบมาก่อน ที่เรียกกัน
ว่า “แพ้ท้อง”

การดูแลแม่สุนัข

- ให้อาหารตามปรกติ

- ศึกษาเรื่องการให้ยากับแม่สุนัขจากสัตวแพทย์ เพราะยาบางชนิด
อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อลูกสุนัขในครรภ์

- ห้ามใช้ยากำจัดเห็บหมัดในช่วงนี้



สัปดาห์ที่ 2 (วันที่ 8 – 14)

พัฒนาการของลูกสุนัขในครรภ์

- ในต้นสัปดาห์ตัวอ่อนระยะเอ็มบริโอจะแบ่งตัวเป็น 4 เซล

- ในท้ายสัปดาห์เอ็มบริโอจะแบ่งตัวเป็น 64 เซล

- เอ็มบริโอเดินทางเข้าสู่มดลูกของแม่สุนัข

การเปลี่ยนแปลงของแม่สุนัข

- สุนัขบางตัวอาจเกิดอาการแพ้ท้อง

การดูแลแม่สุนัข

- ดูแลต่อเนื่องจากสัปดาห์แรก



สัปดาห์ที่ 3 (วันที่ 15 – 21)

พัฒนาการของลูกสุนัขในครรภ์


- เกิดการฝังตัวของเอ็มบริโอ บริเวณมดลูกของแม่สุนัขในวันที่ 19

การเปลี่ยนแปลงของแม่สุนัข

- ไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนมากนัก

การดูแลแม่สุนัข
- ดูแลต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ 2



สัปดาห์ที่ 4 (วันที่ 22 – 28)

พัฒนาการของลูกสุนัขในครรภ์


- มีการเจริญของตา และไขสันหลัง

- ตัวอ่อนในระยะนี้เรียกว่า “ฟิดัส”

- ลักษณะของตัวอ่อนมองดูคล้ายก้อนอุจจาระ

- ฟิดัสมีขนาด 5 – 10 * 14 – 15 มม.

- เกิดกระบวนการสร้างอวัยวะต่าง ๆ ในช่วงนี้หากมีผลกระทบที่มี
ต่อฟิดัสอาจจะทำให้เกิดความผิดปกติ หรือความพิการได้

การเปลี่ยนแปลงของแม่สุนัข

- อาจพบสิ่งคัดหลังสีใสไหลออกมาจากช่องคลอด

- เต้านมเริ่มมีการพัฒนาขยายใหญ่ขึ้นในระยะนี้

การดูแลแม่สุนัข

- ตั้งแต่วันที่ 26 ขึ้นไป การคลำบริเวณช่องท้องของแม่สุนัขอาจ
จะนายผลการตั้งท้องได้ หรืออาจจทำการอัลตร้าซาวด์เพื่อตรวจการตั้ง
ครรภ์ได้

- ระมัดระวังไม่ให้แม่สุนัขกระโดด วิ่งในระยะทางไกล ๆ หรือการ
เล่นที่รุนแรง

- เพิ่มอาหารประเภทเนยแข็ง หรือไข่ต้มสุกประมาณ ¼ ถ้วยใน
อาหารแม่สุนัขในแต่ละวัน



สัปดาห์ที่ 5 (วันที่ 29 – 35)

พัฒนาการของลูกสุนัขในครรภ์


- ขบวนการสร้างอวัยวะ (Organogenesis) จะมีการสร้างจนมีอวัยวะ
ครบในช่วงนี้

- ลักษณะของฟิดัสมองดูคล้ายสุนัขมากขึ้นมีขนาด 18 – 30 มม.

การเปลี่ยนแปลงของแม่สุนัข

- พบการบวม – ขยายใหญ่บริเวณช่องท้องอย่างเห็นได้ชัด น้ำหนัก
ตัวจะเพิ่มสูงขึ้น



การดูแลแม่สุนัข

- เพิ่มจำนวนอาหารที่ให้ขึ้นเล็กน้อย และควรเปลี่ยนเป็นอาหารสูตร
ที่ใช้เลี้ยงลูกสุนัข

- หากให้อาหารวันละ 1 มื้อ ควรจะเพิ่มมื้อพิเศษให้อีก 1 มื้อ หาก
ให้วันละ 2 มื้อก็ควรเพิ่มจำนวนอาหรในแต่ละมื้อขึ้นอีกเล็กน้อย

- ในแต่ละวันควนให้วิตามินรวมเสริม



สัปดาห์ที่ 6 (วันที่ 36 – 42)

พัฒนาการของลูกสุนัขในครรภ์


- มีการสร้างสรบริเวณผิวหนัง

- เมื่อใช้หูฟัง (stethoscope) ฟังเสียงหัวใจจะพบเสียงเต้นของ
หัวใจของฟิดัส

การเปลี่ยนแปลงของแม่สุนัข

- หัวนมมีการขยายใหญ่และมีสีคล้ำขึ้น

- ช่องท้องมีขนาดใหญ่ต่อเนื่องขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

การดูแลแม่สุนัข

- เพิ่มเนยแข็ง หรือไข่ต้มสุขในอาหารแม่สุนัขทุกวัน

- เพิ่มจำนวนอาหารให้แก่แม่สุนัขในมื้อพิเศษ

- ฝึกให้แม่สุนัขอยู่ในที่เตรียมไว้สำหรับการคลอด



สัปดาห์ที่ 7 (วันที่ 43 – 49)

พัฒนาการของลูกสุนัขในครรภ์


- การเจริญเติบโต และพัฒนาการจะมีอย่างต่อเนื่อง

การเปลี่ยนแปลงของแม่สุนัข

- ขนบริเวณส่วนท้องจะเริ่มมีการหลุดร่วง

- แม่สุนัขจะเริ่มหาจุดที่จะทำการคลอด

การดูแลแม่สุนัข

- ระมัดระวังเรื่องการกระโดของแม่สุนัข

- เพิ่มจำนวนอาหารในแต่ละมื้อขึ้นอีกเล็กน้อย



สัปดาห์ที่ 8 (วันที่ 58 – 65)

พัฒนาการของลูกสุนัขในครรภ์


- การเจริญเติบโต และพัฒนาการจะมีอย่างต่อเนื่อง

การเปลี่ยนแปลงของแม่สุนัข

- พบพฤติกรรมการทำรัง

- อุณหภูมิของร่างกายจะอยู่ที่ประมาณ 100.2 – 100.8 F หากอุณ-
หภูมิลดลงไปอยู่ที่ 98 – 99.4 F คาดการณ์ได้ว่าลูกสุนัขจะออกมาภายใน
24 ชั่วโมง

การดูแลแม่สุนัข

- วัดอุณหภูมิ และจดบันทึกวันละ 3 ครั้ง ร่วมกับการดูแลอย่างใกล้ชิด





สิ่งสำคัญที่เจ้าของสุนัขควรกระทำหลังการคลอดของแม่สุนัข (อย่า
มัวแต่ตื่นเต้น ดีใจอยู่นะจ๊ะ)


- ต้องให้ลูกสุนัขทุกตัวได้ดูดน้ำนมเหลืองที่ได้จากแม่สุนัขอย่าง
เต็มที่ภายใน 24 ชั่วโมงหลังการคลอด

- สิ่งคิดหลั่งที่ออกมาจากช่องคลอดควรจะมีสีแดง – แดงน้ำตาล
(อาจพบมีสีเขียวในวันแรกหลังคลอดถือว่าปกติ) ถ้าหากพบสีดำควรรีบ
ปรึกษาแพทย์โดยด่วน

- 5 – 6 ชั่วโมงภายหลังที่ลูกตัวสุดท้ายเกิด ควรพาลูกสุนัข และแม่
สุนัขไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ และตรวจสอบว่าไม่มีลูกสุนัข หรือ
รกค้างอยู่อยู่ในตัวแม่สุนัข






CONTACT
Email
: baannu_de@hotmail.com , anong_supajaree@hotmail.com
Msn : baannu_de@hotmail.com , anong_supajaree@hotmail.com Tel : 0869755054






 

Create Date : 19 กุมภาพันธ์ 2549   
Last Update : 6 มกราคม 2550 22:53:37 น.   
Counter : 6880 Pageviews.  


การตรวจการตั้งครรภ์ในแม่สุนัข

การตรวจการตั้งครรภ์ในแม่สุนัข

          การตรวจว่าสุนัขของท่านตั้งครรภ์หรือไม่นั้นทำได้หลายวิธีทั้งวิธี
ง่าย ๆ ที่เจ้าของสุขสามารถทำได้เอง ไปจนกระทั่งแบบที่ต้องอาศัยแพทย์
เป็นผู้ตรวจ

การตรวจการตั้งครรภ์โดยดูลักษณะทางสรีรสภาพ และ พฤติ-
กรรมที่เปลี่ยนไป

          ลักษณะที่เปลี่ยนไปของแม่สุนัขหลังการผสมพันธุ์ มักจะถูกสังเกต
เห็นได้ง่ายโดยเจ้าของเอง ลักษณะที่มักจะสังเกตเห็นได้ง่ายได้แก่ ช่องท้อง
เริ่มขยายใหญ่ เต้านมเริ่มขยาย และหัวนมมีสีชมพูอ่อน ๆ ปากช่องคลอดมี
ขนาดใหญ่ขึ้น รวมถึงพฤติกรรมบางอย่างที่เปลี่ยนไปเช่น บางตัวอาจจะกิน
อาหารน้อยลง หรือบางตัวอาจจะกินได้มากกว่าปรกติ บางตัวสงบเสงี่ยม
มากขึ้น บางตัวก็หงุดหงิดง่าย แต่สรีรสภาพ และพฤติ-กรรมที่เปลี่ยนแปลง
ไปของแม่สุนัขที่เปลี่ยนไปหลังการผสมพันธุ์บางตัวอาจจะสังเกตได้เร็ว
บางตัวก็ต้องใช้เวลานานกว่าจะสังเกตเห็น


การตรวจการตั้งครรภ์โดยวิธีการคลำผ่านทางหน้าท้อง
          ปรกติตัวอ่อนของสุนัขจะฝังตัวอยู่ในส่วนปีกมดลูกของแม่สุนัขภาย
หลังการปฏิสนธิ 2 – 3 สัปดาห์ ในสุนัขบางสายพันธุ์เราจึงสามารถที่จะ
ตรวจการตั้งครรภ์ได้โดยการคลำผ่านหน้าท้องเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของปีก
มดลูก แต่วิธีนี้ก็ต้องอาศัยประสบการณ์ของผู้ตรวจเป็นสำคัญรวมถึงการระมัด
ระวังไม่ให้กระทบกระเทือนจนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการแท้งลูกขึ้น แต่บาง
ครั้งที่ผู้ตรวจอาจจะคลำไปเจอก้อนอุจจาระของแม่สุนัข และเข้าใจว่าเป็น
ลูกน้อยและหากเราใช้วิธีการคลำนี้ในช่วงท้าย ๆ ของ
การการตั้งครรภ์
ผู้คลำก็จะสามารถสัมผัสกับการเคลื่อนไหวของลูก
สุนัขที่อยู่ในครรภ์


การตรวจการตั้งครรภ์โดยวิธีการถ่ายภาพรังสี
          การตรวจโดยวิธีนี้ใช้หลักการการผ่านของรังสีเอ็กซเรย์  หากรังสีไป
ตกกระทบกับส่วนที่มีความหนาแน่นสูงเช่นโครงกระดูกของลูกสุนัข จะทำให้
รังสีไม่สามารถส่องผ่านไปได้ ดังนั้นเมื่อเรามองผ่านฟิล์มจะพบส่วนสีขาวเป็น
รูปโครงกระดูกของลูกสุนัข เพราะฉะนั้นควรตรวจการตั้งครรภ์ด้วยวิธีนี้ควร
เป็นช่วงที่ลูกสุนัขมีการเจริญเติบโตของกระดูกแล้ว คือตั้งแต่ 6 สัปดาห์หลัง
การปฏิสนธิ วิ๊นี้ยังสามารถบ่งบอกจำนวนลูกสุนัขอย่างคร่าว ๆ ได้อีกด้วย แต่
ไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะอาจเกิดการทับซ้อนกันของลูกสุนัขที่อยู่ในท้องจึงทำ
ให้ไม่สามารถมองเห็นในฟิล์มเอ็กเรย์


การตรวจการตั้งครรภ์โดยวิธีใช้คลื่นเสียงความถี่สูง
           วิธีนี้ที่เราเรียกกันว่า “อัลตร้าซาวด์” วิธีนี้จะมีความปลอดภัย และ
แม่นยำค่อนข้างสูง สัตวแพทย์ผู้มีความชำนาญอาจจะตรวจพบการตั้งครรภ์
ได้เร็วที่สุด 20 วันหลังการผสมพันธุ์ แต่หากตรวจหลัง 28 วัน สัตวแพทย์ผู้
ตรวจสามารถตรวจพกการเต้นของหัวใจลูกสุนัขได้


การตรวจการตั้งครรภ์โดยวิธีการตรวจฮอร์โมน
           ในการตั้งครรภ์แม่สุนัขจะสร้างฮอร์โมนที่ชื่อว่า “รีแล็คซิน”ฮอร์โมน
ชนิดนี้ถูกสร้างขึ้นจากรกของลูกสุนัขในท้องแม่ วิธีการตรวจค่อนข้างสะดวก
โดยการตรวจจากเลือดของแม่สุนัขหลังผสม 21 วัน จะให้ผล 61% หาก
ตรวจหลังการผสม 29 วันจะให้ผล 100% และสามารถทราบผลภายใน 10
นาที ข้อดีของการตรวจด้วยวิธีนี้คือสามารถแยกการตั้งท้องจริงกับการตั้ง
ท้องเทียม หรือท้องลมได้ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าแม่สุนัขจะให้ลูกกี่ตัว


           จากข้อมูลที่นำมาบอกเพื่อน ๆ ข้างต้นคงพอที่จะช่วยให้เพื่อน ๆ 
หายกังวนไจไปได้บ้างไม่มากก็น้อยนะคะ ลองทำกันดูนะคะ และจะนำ
เรื่องราวต่าง ๆ ที่พอจะเป็นประโยชน์มาบอกกันอีกนะคะ








CONTACT
Email
: baannu_de@hotmail.com , anong_supajaree@hotmail.com
Msn : baannu_de@hotmail.com , anong_supajaree@hotmail.com

Tel : 0869755054




 

Create Date : 18 กุมภาพันธ์ 2549   
Last Update : 9 มกราคม 2550 22:44:40 น.   
Counter : 968 Pageviews.  



Nu_Dede
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ศูนย์รวมคนรักสุนัข
[Add Nu_Dede's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com