เกมส์ปลาหมึก สปอย์ต่อ

Squid Game เกมส์ของคนสิ้นหวัง เราดูจากเนตฟลิกซ์ ที่บ้าน
เรื่องราวของคนสิ้นหวังในชีวิต ติดหนี้ ติดการพนัน ไม่มีเงิน ล้มเหลวในชีวิตครอบครัว ถูกโกงเงิน โกงเงิน/ยักยอก/ทุตจริตเงินในบริษัท ขโมยฉกชิงวิ่งราว คนแก่ที่ป่วย ไม่มีความหวังที่สดใสของชีวิต ความโลภ ความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ฯลฯ
พวกชอบใส่หน้ากาก ปกปิด แอบแฝงความไม่จริงใจ ภายใต้หน้ากาก คืออะไร




ต่อด้วย ก้อปมา

ดูจากกระแสในโซเชียลมีเดียและจำนวนผู้ชม นาทีนี้คงไม่มีอะไรที่น่าพูดถึงไปกว่า ซีรีส์เกาหลีอันดับ 1 ใน Netflix ไทยตอนนี้แล้ว ซีรีส์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเกมเอาชีวิตรอดที่ให้ผู้เล่น 456 คน มาเล่นเกมการละเล่นเกาหลีเด็กๆ แต่เงินรางวัลโตๆ ถึง 45,600 ล้านวอน ที่ผู้คนให้ความสนใจอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เห็นเรื่องย่อ ตัวอย่าง จนซีรีส์จบไปเป็นอาทิตย์ก็ยังมีการพูดถึงอยู่เรื่อยๆ อย่างไม่แผ่วเบา

ซึ่งตอนเริ่มดู ระหว่างดู และดูจบ จะพบได้ว่า Squid Game ดูจะไม่ใช่สิ่งใหม่นัก ถ้าเทียบกับฝั่งญี่ปุ่นที่มีทั้ง Liar Game, Alice in Borderland, Btoom!, Gantz, Battle Royale, As the Gods Will และอีกมากมายในฉบับมังงะและหนังหรือทีวีซีรีส์

แต่ก็เป็นอะไรที่น่าหยิบมาแงะแกะส่องพอสมควร น่าสนใจว่าเมื่อเกาหลีหันมาจับแนวเซอร์ไวเวิลเกมบ้างจะมีหน้าตาและรสชาติเป็นอย่างไร วันนี้เลยจะมาพูดถึงว่านอกจากความบันเทิงและความโหดสุดมุ้งมิ้งแล้ว ซีรีส์เรื่องนี้บอกอะไรเราบ้าง?
 

เรื่องราวทั้งหมดเริ่มต้นด้วยการทำความรู้จักกับ ซองกีฮุน รับบทโดยลีจองแจ (Lee JeongJaeตัวเอกสไตล์ loser วัยผู้ใหญ่ที่ไม่เอาถ่าน ทั้งในแง่การใช้ชีวิตของตัวเอง ลูกของแม่ และพ่อของลูก แถมยังมีอุปนิสัยเพิกเฉยกับชีวิตตนเอง ชอบทางลัดหรืออะไรที่ได้มาโดยไม่ต้องพยายามมาก (หาเงินจากการเล่นการพนัน) แต่ลึกๆ อย่างย้อนแย้ง ก็เป็นคนซื่อ จิตใจดี มีน้ำใจ และทำเพื่อผู้อื่นมากกว่าตัวเอง พูดง่ายๆ คือครบองค์ของการเป็นตัวเอกประเภทเกมเอาชีวิตรอด

นั่นก็เพราะตัวละครประเภทนี้ให้ความรู้สึกด้อย (inferior) จนน่าเอาใจช่วย และยังรู้น้อย ทำให้สามารถหน้าที่เป็นตัวนำพาคนดูไปสำรวจเรื่องราวไปพร้อมๆ กันได้ดี

 

ตัวละครซองกีฮุนไม่เพียงแต่จะเป็น stereotype หรือพิมพ์นิยมของตัวเอกในเรื่องราวประเภทดังกล่าว แต่บุคลิกของเขายังเป็นจุด intersect ที่ผู้จัดแข่ง Squid Game ต้องการตัวเป็นอย่างมาก คนที่มีคุณสมบัติคือ

  1. ติดหนี้, เผชิญวิกฤตชีวิต, มีปัญหาส่วนตัว หรือมีเรื่องฉุกเฉิน
  2. เข้าตาจน ชีวิตไม่มีอะไรจะเสียหรือแย่ไปกว่านี้อีกแล้ว หรือร้อนเงิน
  3. ยอมทำทุกอย่างให้ชีวิตตนเองดีขึ้น

ทำให้เขาและคนอื่นๆ ถูกจับตามองและถูกเข้าหาโดยกงยู (ขอเรียกแบบนี้เลยแล้วกัน) ที่มาท้าให้เล่นเกมปากระดาษง่ายๆ ด้วยกติกาที่ชนะคือได้ แพ้คือไม่มีอะไรจะเสีย แค่ถูกตบหน้าจนกว่าจะชนะแลกกับเงิน 1 แสนวอน เป็นใครจะไม่เอาใช่มั้ย?

ผลคือ แน่นอน เขาได้เงินรางวัลไปอย่างง่ายๆถึงจะโดนตบหน้าไปหลายฉาดก็ตาม และอย่างที่เขาว่า “มี 1 ก็ต้องมี 2” หรือทฤษฎีของการได้แล้วได้อีก ยิ่งเป็นอะไรที่เราได้มาโดยรู้สึกว่าได้มาโดยทางลัด หรือมูลค่าของมันมากกว่าความพยายามที่เราเสียไปอยู่มาก ก็จะเกิดเกณฑ์ในใจ นำไปสู่การเปรียบเทียบและมีแนวโน้มจะเข้าหามันมากกว่าที่จะทำอะไรที่เหน็ดเหนื่อย แต่ผลตอบแทนน้อยกว่าที่เคยได้รับ

เป็นสาเหตุที่คนที่ได้สัมผัสแล้ว ต้องการสัมผัสอีก ราวกับพวกเขาก้าวขาเล่นเกมไปครึ่งหนึ่งตั้งแต่เกมยังไม่เริ่ม จึงไม่แปลกใจว่าคนส่วนใหญ่ที่ได้เล่นเกมปากระดาษแล้วโดนโอปป้ากงยูตบหน้า จะตัดสินใจเข้าร่วมเกมที่ใหญ่กว่าและได้เงินรางวัลมากกว่า รวมถึงการที่หลังจากโหวตเลิกเล่นเมื่อจบเกมแรกแล้ว ผู้เล่นจำนวน 187 คนจาก 201 คนตัดสินใจกลับมาเล่นเกมใหม่เช่นกัน
 

Squid game  เป็นเกมที่ไม่บอกอะไรกับผู้เล่นเลยนอกจากให้เอกสารยินยอมเข้าร่วมที่ระบุกติกาและข้อบังคับเอาไว้ว่า

ข้อ 1 ผู้เล่นไม่สามารถเลิกเล่นโดยพลการได้ระหว่างเกม

ข้อ 2 ผู้เล่นที่ไม่ยอมเล่นเกมจะต้องตกรอบ

ข้อ 3 สามารถยุติเกมลงได้หากผู้เล่นเกินครึ่งยอม

ทั้งยังย้ำนักย้ำหนากับผู้เล่นว่าพวกเขาไม่ได้ถูกบังคับมา แต่ทุกคนมาเล่นเกมนี้ด้วยความสมัครใจของตัวเอง ซึ่งก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ และกติกาทั้งสามข้อที่ดูเหมือนสั้นนี้ ก็ดูจะคิดมาดีแบบนี้ครอบคลุมทุกอย่างเอาไว้อย่างสมบูรณ์ราวกับบอกผู้เข้าแข่งขันไปในตัวด้วยว่า “ทางเราและตัวเกมเป็นแค่ฟันเฟือง ผู้ที่จะขับเคลื่อนกลไกของเกมคือพวกคุณต่างหาก”
 

หนึ่งในสิ่งที่เฉียบคมที่สุดของซีรีส์ที่มีให้เห็นคือการเปิดเผยทั้งเกมและเงินรางวัลโดยไม่บอกล่วงหน้า

เฉียบคมยังไง? ตามที่ได้บอกไปว่าเกมนี้ที่จัดขึ้นบนเกาะนี้เหมือนการจำลองระบบสังคมไว้ในสถานที่หนึ่ง ในชีวิตจริงเราไม่อาจรู้ได้เลยว่า มีอะไรอยู่ข้างหน้า จริงๆ มันเริ่มตั้งแต่การที่เด็กคนหนึ่งตอบครูในชั้นเรียนอนุบาลประถมว่า อยากโตไปเป็นหมอ โตไปเป็นทหาร โตไปเป็นครู แม้กระทั่งเรียนมหาลัยในคณะใดคณะหนึ่ง แล้วพอโตหรือถึงวัยเรียนจบเข้าจริงกลับลงเอยด้วยการทำงานในสายอาชีพอีกอย่างกับที่เคยบอกไว้แล้ว

การที่เกมไม่บอกใบ้ก่อน ก็เหมือนการที่ชีวิตเราไม่รู้ว่าจะเจออะไร ต้องตัดสินใจยังไง ต้องรับมือกับอะไร วางแผนยังไง จนกว่าจะถึงจุดจุดหนึ่งที่มองเห็นมันได้จริงๆ และทุกการตัดสินใจไม่ว่าจะเล็กใหญ่คือ การตัดสินใจที่ส่งผลต่อชีวิตและคนรอบข้างทั้งสิ้น

อีกทั้งเรื่องของเงินรางวัลที่ไม่เปิดเผยจนกว่าจะแข่งเสร็จในแต่ละเกมนั้น ไม่ใช่ผู้จัดแข่งกั๊ก หรือใช่ว่าไม่อยากบอก แต่เพราะพวกเขาเองก็บอกไม่ได้ว่าตัวเลขจะเป็นเท่าไหร่ ผู้เข้าแข่งขันทุกคนมีมูลค่าเป็นของตัวเอง และเมื่อถูกตัดออกจากการแข่งขัน (ในที่นี้คือด้วยความตาย) ยิ่งคนเหลือน้อย จำนวนเงินก็ยิ่งมากตาม เกมเป็นแค่ฟันเฟือง เหมือนสิ่งที่เรียกว่าระบบเศรษฐกิจ สิ่งที่จะตัดสินว่ามันจะขึ้นหรือลง มีใครเจ็บตัวมากน้อย ใครได้เปรียบเสียเปรียบ ใครรอดใครไม่รอด คือผู้เล่น

Squid Game จึงเป็นการจำลองของการตะเกียกตะกายแย่งชิงในสังคม กับการโอนถ่ายทรัพยากรเงินทองหรือพลังชีวิตจากผู้หนึ่งไปสู่อีกผู้หนึ่งได้อย่างเห็นภาพที่สุด

ฟังแบบนี้แล้วเหมือนเกมนี้เป็นเกมที่แฟร์ ด้วยการให้ทุกคนอยู่ภายใต้ข้อกำหนดหรือกติกาเดียวกัน ไม่ว่านอกเกมจะเคยเป็นใคร มีปัญหาอะไรกับชีวิต เคยเป็นใครมาก่อน มีหนี้เท่าไหร่ การมาเล่นเกมนี้คือการถูก set zero ให้เท่ากันหมด

แต่เรื่องของ ‘อำนาจ’ ไม่เข้าใครออกใคร และมันเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเมื่อมีสิ่งที่เรียกว่า ‘สังคม’ เกิดขึ้น เมื่อนำคนมากกว่า 1 คนขึ้นไปมาอยู่ด้วยกันแล้ว มันจึงเกิดเป็นสังคมของผู้เล่นขึ้น และมีคนใช้พื้นที่สังคมและโอกาสบนความเท่าเทียมอย่างไม่เท่าเทียม ไม่ว่าจะเป็น

  • เจ้าหน้าที่ชุดชมพูใส่หน้ากาก แบ่งลำดับชั้นเจ้าหน้าที่หรือทีมงานเป็นสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลม จากลำดับสูงสุดไปลำดับต่ำสุด เปรียบได้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจทหารยศชั้นสูงกับชั้นผู้น้อย ที่ลำดับต่ำกว่าไม่มีสิทธิ์ออกความเห็น ตั้งคำถาม หรือขับเคลื่อนใดๆ
  • เจ้าหน้าที่บางคนใช้ตำแหน่งตัวเองฉวยโอกาสกอบโกยผลประโยชน์จากเกม
  • ผู้เข้าแข่งขันบางคนได้สิทธิประโยชน์มากกว่าผู้อื่น เช่น หมอที่ใช้ความสามารถตัวเองช่วยผ่าตัดเพื่อนำอวัยวะไปขายแลกกับข้อมูลเกมต่อไป ซึ่งมันทำให้เขาได้โอกาสมีชีวิตอยู่ต่อมากกว่าผู้อื่น ประหนึ่งว่าใช้เส้นสาย

ถึงหมอและเจ้าหน้าที่จะถูกกำจัดเมื่อถูกจับได้ ก็ใช่ว่าสิ่งนี้จะหมดไปหรือถูกตรวจจับได้ตลอด เมื่อเริ่มเกมใหม่ สิ่งเหล่านี้ กับเจ้าหน้าที่และผู้เล่นประเภทนี้จะเกิดขึ้นอีกเมื่อไหร่ก็ได้ และเราไม่อาจรู้ได้เลยว่าในเกมที่ผ่านมาที่ซีรีส์ไม่ได้เล่า มีอะไรพวกนี้เกิดขึ้นบ้างมั้ย และมากน้อยแค่ไหน

รวมไปถึงการที่ฝ่ายผู้จัดเอง บังคับทิศทางหรือกระแสชีวิตผู้เข้าแข่งขันให้เป็นไปตามที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นสร้างสถานการณ์บีบบังคับให้ผู้เล่นฆ่ากันเอง ไปจนถึงปิดไฟในเกมสุดท้ายเพื่อให้ผู้เล่นเสี่ยงชีวิตมากขึ้นเพื่อความสนุกตื่นเต้นที่เพิ่มขึ้น และการที่ผู้เล่น 001 หรือคุณตา GM เจ้าของเกมลงมาเล่นแล้วทำการเปลี่ยนโมเมนตัมเกมด้วยเช่นกัน เป็นเรื่องดีที่ตัวละครพระเอกรอด แต่ก็น่าคิดว่ามันแฟร์กับคนอื่นๆ หรือไม่?

สิ่งที่ซีรีส์ Squid Game มีให้นอกจากความบันเทิงคือการสอดแทรกโครงสร้างที่พูดไปทั้งหมดเหล่านี้ลงในเกมที่ขุดเอาสัญชาติญาณดิบของมนุษย์ออกมาโชว์ให้เห็นจะๆ (พร้อมกับแทรก soft power เกาหลีไปในตัว) และแสดงให้เห็นว่ามนุษย์ประเภทไหนตอบสนองกับเกมเดียวกันด้วยท่าทีอย่างไร รวมถึงความจนและความต้องการรวยของคนจนนั้นขับเคลื่อนให้ผู้คนเป็นอย่างไรได้บ้าง เหมือนรายการโทรทัศน์ที่มีให้เห็นหลายรายการที่ romanticize ความยากจนเพื่อความบันเทิงและเรตติ้ง

เอาจริงๆ เมื่อคิดอีกมุม จะบอกว่าเราเองก็ได้รับความบันเทิงและความรู้สึกเข้าอกเข้าใจ ลุ้นระทึกตื่นเต้น อึ้ง ทึ่ง เสียว อ้าปากค้าง หัวเราะ เศร้า เหงา ซึ้ง เครียด รวมถึงกดดัน จากเหล่าตัวละครไม่ว่าจะหลัก รอง หรือประกอบในแต่ละสถานการณ์ซีรีส์เรื่องนี้ หรือเสพอารมณ์ที่ได้จากมันไม่ต่างไปจากผู้จัดเกมและ VIP ที่มองดูเกมเด็กเล่นที่ผู้ใหญ่เล่นนี้อย่างสนุกสนาน ในขณะที่ผู้เล่นเอาตัวเองไปเสี่ยงชีวิตและนองเลือดเพื่อเงินรางวัลได้เช่นกัน

 

และดูเผินๆกับเมื่ออ่านคำโปรยของซีรีส์ที่ว่า เกมชิงเงินรางวัลของผู้เล่น 456 คน” กับเรื่องของกลไกที่ให้ผู้เล่นกำหนดเองตามการตัดสินใจขณะเล่น Squid Game อาจดูเป็นเกมของผู้เข้าแข่งขัน แต่แท้จริงแล้วทุกเกมคือเกมของผู้จัดการแข่งขันตั้งแต่แรกแล้วต่างหาก ดังนั้นคำถามก็คือเรา ในสังคมนี้ “กำลังอยู่ในเกมอะไรและเกมของใครรึเปล่า?”



Credit : Squid Game : เมื่อการเอาตัวรอดในโลกทุนนิยมถูกจำลองภายใต้สีพาสเทล

 Posted On 24 September 2021 Watchman


เงิน ใครบ้างไม่อยากได้ แต่ต้องแลกด้วยอะไรล่ะ


 



Create Date : 23 ตุลาคม 2564
Last Update : 23 ตุลาคม 2564 11:39:08 น.
Counter : 1225 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

NongPenquin
Location :
สมุทรปราการ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



น้องเพนควิน เองค่า.........

จงทำดีต่อไป ไม่มีใครรู้ ไม่มีใครเห็น อย่างน้อย ตัวเราที่เห็น ทำดี แล้วมีความสุข อย่างน้อยก็ สุขใจ...ที่ได้ทำความดี
บล๊อก มีไว้บันทึก ความทรงจำดีๆ,,, มีไว้บ่น เรื่องที่ไม่อยากคุย-ไม่อยากพูด แต่อยากจะระบายความในใจ,,, มีไว้อวด ผลงาน-งานฝีมือ ที่ได้สร้างสรรค์ ได้ทำมา,,, มีไว้เตือน ความทรงจำ กับสถานที่ท่องเที่ยวที่ประทับใจ, รูปภาพประทับใจ, หนังสือที่ได้อ่าน,,, มีไว้ซ่อนตัวเอง จากความเป็นจริง ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน,,,...
All Blog