ชิวิต...มันก็ยากอย่างนี้แหละน๊า...ชิมิส์
แกงเลียง....มีผลยังยั้งมะเล็งสำไส้

อาหาร ไทยกำลังโด่งดังไปทั่วโลก ยิ่งมีโครงการ "ครัวไทยสู่ครัวโลก" แม้จะตกยุคไปบ้างแต่ความเชื่อมโยงของโครงการยังมีอยู่ ทำให้อาหารไทยก้าวสู่ระดับอินเตอร์อย่างรวดเร็วไม่แพ้อาหารจีนและญี่ปุ่น



มาคราวนี้พระเอกของเรื่องคือ "แกงเลียง"แกงผักรวมสารพัดของคนภาคกลาง ตั้งแต่ฟักทอง ใบแมงลัก บวบ ข้าวโพด เห็ด ฯลฯ ใส่เครื่องแกงออกรสชาติเผ็ดพริกไทย กำลังมาแรง



เพราะ สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยคณะผู้วิจัย ประกอบด้วย สุลัดดา พงษ์อุทธา, สมศรี เจริญเกียรติกุล, จุรีพร จิตจำรูญโชคชัย, วรรณี อังคศิริสรรพ, ดิลก บูตะเดช ร่วมกันศึกษาวิจัยพบว่า แกงเลียงมีผลต่อการสร้างเอ็นไซม์ NAD(P)H : quinone reductase ในตับ และยับยั้งการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ในหนูแรทสายพันธุ์วิสตาร์



ทั้ง นี้ รายละเอียดของการวิจัย คณะผู้วิจัยอธิบายตั้งแต่แรกเริ่มว่ามะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคหนึ่งที่พบได้ มากในประชากรโลก และมีแนวโน้มเป็นมากขึ้นในประชากรไทย



สาเหตุ หลักมาจากรูปแบบการบริโภคที่เปลี่ยนไป จากหลักฐานการวิจัยพบว่าการบริโภคอาหารที่มีผัก ผลไม้ อยู่มากช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้


ดังนั้น การบริโภคแกงเลียง ซึ่งเป็นอาหารไทยที่มีส่วนประกอบหลักเป็นพืชผัก สมุนไพร และเครื่องเทศ ให้พลังงานต่ำ มีสารอาหารและสารสำคัญต่างๆ จากพืช เช่น แคโรทีน และใยอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพมาก "จึงทำการศึกษาผลของการกินแกงเลียงดังกล่าวในปริมาณ 1 และ 2 หน่วยบริโภคต่อวัน (เทียบเท่ากับผงแห้งของแกงเลียงปริมาณ 0.032 g และ 0.064 g ต่อน้ำหนักตัวหนู 100 g ตามลำดับ) ในหนูแรทสายพันธุ์วิสตาร์ โดยการละลายผงแกงเลียงในน้ำกลั่น และป้อนให้หนูกินป็นเวลา 6 สัปดาห์ แล้วฉีดสารก่อมะเร็งเข้าทางหน้าท้องหนู ทั้งหมด 2 ครั้ง ในสัปดาห์ที่ 3 และ 4



"ซึ่งผลการศึกษาพบว่าการได้รับแกงเลียง 2 หน่วยบริโภคต่อการทำงานของเอ็นไซม์ NAD(P)H : quinone reductase (QR) ในตับหนูนั้น แกงเลียงมีผลต่อการสร้างเอ็นไซม์ NAD(P)H : quinone reductase ในตับ และการยับยั้งการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ในหนูดังกล่าว"


การ ทดลองในหนู ได้แบ่งหนูออกเป็นกลุ่มๆ 5 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมปกติที่ได้รับ NSS และไม่ได้รับแกงเลียง กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับสารก่อมะเร็งและไม่ได้รับแกงเลียง กลุ่มที่ 3 ได้รับสารก่อมะเร็ง และแกงเลียง 1 หน่วยบริโภค



ส่วน กลุ่มที่ 4 ได้รับสารก่อมะเร็งและแกงเลียง 2 หน่วยบริโภค และกลุ่มที่ 5 ได้รับ NSS และแกงเลียง 2 หน่วยบริโภค "เมื่อสิ้นสุดการให้อาหาร เก็บตัวอย่างเลือดเพื่อวิเคราะห์หาสารอาหารและสารสำคัญที่เกี่ยวข้อง พร้อม กับเก็บเนื้อเยื่อตับและลำไส้เพื่อวัดการทำงานของเอ็นไซม์ QR และการเกิด ACF พบว่าหนูกลุ่มที่ได้รับแกงเลียง 2 หน่วยบริโภค มีระดับเรตินอลในน้ำเลือดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และ การตรวจระดับการทำงานของเอ็นไซม์ QR พบว่าหนูกลุ่มที่ 5 ซึ่งได้รับแกงเลียงเป็น 2 หน่วยบริโภค มีระดับการทำงานของเอ็นไซม์ QR ในตับสูงกว่ากลุ่มควบคุมปกติ (กลุ่ม 1) ประมาณ 2.7 เท่า



" ผลการศึกษาสรุปได้ว่า แกงเลียงสามารถเหนี่ยวนำการทำงานของเอ็นไซม์ QR ในตับ และลดการเกิดมะเร็งในลำไส้ใหญ่ของหนูทดลองได้ จึงอาจมีศักยภาพในการป้องกันการเกิดมะเร็งต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งลำไส้ใหญ่..."



แม้ การทดลองนี้ยังอยู่ในขั้นตอนของการทดลองในห้องแล็บ แต่ผลที่ได้เป็นการจุดประกายความหวังให้กับผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งลำไส้อยู่ ไม่น้อย


เพราะทุกวันนี้โรคมะเร็งยังเป็นโรคน่ากลัว ร้ายกาจสำหรับมนุษย์ ยังหายารักษาให้หายขาดไม่ได้ หนำซ้ำคนที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็งในปัจจุบันก็เพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกที หาก "แกงเลียง" มีคุณสมบัติตามที่ได้วิจัยศึกษา แล้วมีการนำมาพัฒนาต่อยอด อาหารไทยคงได้ชื่อเพิ่มขึ้นมาอีกอย่าง



Create Date : 12 ตุลาคม 2551
Last Update : 12 ตุลาคม 2551 11:22:47 น. 2 comments
Counter : 108 Pageviews.

 
ขอบคุณสำหรับความรู้ดี ๆ ที่นำมาฝากค่ะ


โดย: wiyada_susi วันที่: 14 ตุลาคม 2551 เวลา:13:06:02 น.  

 
แกงเลียงนี่ทำบ่อยมาก


โดย: Aisha วันที่: 15 ตุลาคม 2551 เวลา:17:31:30 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

maikarut
Location :
นครสวรรค์ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ชีวิต...มันก็ยากอย่างนี้แหละน๊า...ชิมิส์
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add maikarut's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.