พญาแร้งให้น้ำ


หน้าแล้งปีนี้ร้อนมาก หลายพื้นที่ขาดน้ำ เกษตรกรไทยหน้าแห้งไปตามๆ กัน ใครที่มีบ่อน้ำเก็บตุนไว้ก็ยังพอประทัง แต่ถ้าไม่มีน้ำก็คงต้องรอ เทวดามาโปรด หน้าฝนโน้น

เกษตรกรรมสมัยใหม่ ต้องหมั่นศึกษาเรียนรู้ และเตรียมการไว้ล่วงหน้า หาแหล่งน้ำสำรอง หาอุปกรณ์เข้ามาช่วย ที่สำคัญต้องสามารถลดต้นทุนได้ จึงจะอยู่รอด และปลอดหนี้

ที่บ้านลูกสาวของปู่พยอม เป็นที่ตาบอด ทางเข้า-ออก เป็นตรอกเล็กๆ ผ่านได้เฉพาะรถจักรยาน ถ้าจำเป็นต้องขนย้ายของใหญ่ๆ ต้องไปขออนุญาตเจ้าของที่ติดกัน ขอกุญแจมาเปิดประตูรั้วเพื่อผ่านไปด้านใน ซึ่งบ่อยมากก็ไม่ได้เกรงใจเขา

ที่ๆ ลูกสาวใช้ปลูกผักทำสวน ก็เป็นที่ของคนอื่น แต่เจ้าของอนุญาตให้ใช้ทำประโยชน์ ปลูกได้แต่กล้วย มะละกอ ไม่มีต้นไม้ใหญ่ เพราะหน้าน้ำ น้ำจะท่วม หน้าแล้งก็ร้อนจัดขาดน้ำ ปลูกอะไรก็ไม่งาม

เพื่อเป็นการนำร่อง ให้เป็นตัวอย่างของ “เกษตรครัวเรือน” ปู่พยอมร่วมกับกลุ่มสูงวัยใจอาสา สร้าง “พญาแร้งให้น้ำ” นำน้ำจากคลองหลังบ้านขึ้นใช้ในแปลงผักและกล้าไม้ที่กำลังเพาะชำ



เป็นการนับหนึ่งของ โครงการเกษตรครัวเรือน ที่ปู่พยอมมุ่งมั่นและตั้งใจนำ ศาสตร์ของพระราชา มาลงมือทำให้ดูเป็นตัวอย่างเพื่อถ่ายทอดให้คนรุ่นใหม่ ได้เห็นว่า “ไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้ ถ้าเราตั้งใจทำมันจริงๆ”  

ติดตามก้าวต่อไป พร้อมกับพวกเรา “สูงวัยใจอาสา” ในโครงการเกษตรครัวเรือนของปู่พยอม ปราชญ์ของชุมชน คนของแผ่นดิน ที่จะพาพวกเราเดินตามรอยเท้าพ่อ ด้วยความพอเพียง

ใครสนใจจะติดตั้ง “พญาแร้งให้น้ำ” ติดต่อสอบถามรายละเอียด กับปู่พยอมทางเว็บบอร์ด หรือทางกลุ่มไลน์ “สูงวัยใจอาสา” โทร. 089 4482 809 และ 087 4514 214

พิสุทธิ์ สมประสงค์
ประธานชมรมสูงวัยใจอาสา
23 มีนาคม 2560




Create Date : 25 มิถุนายน 2560
Last Update : 25 มิถุนายน 2560 14:45:00 น.
Counter : 337 Pageviews.

0 comment
ปู่พยอมตามรอยเท้าพ่อ



ปู่พะยอมตามรอยเท้าพ่อ 

เกษตรครัวเรือน กับความหวังสู้ “ความอยากจน” ของคนวัย 80

บ้านเราเป็นเมืองร้อน หน้าแล้งพื้นดินที่แห้งแตกระแหง พืชสวนไร่นาเหี่ยวเฉาเพราะขาดน้ำ นี่คือปัญหาใหญ่ของเกษตรกรไทย และเป็นที่มาของความยากจน ถ้ายังผูกชีวิตไว้กับเทวดา และดินฟ้าอากาศ

บุญของคนไทยที่มีในหลวงรัชกาลที่ ๙ เทวดาเดินดินที่ทรงพระเมตตาบันดาลฝนหลวง และระบบชลประทาน ทำให้ชาวไทยมีอยู่มีกินถ้วนหน้าด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ท่าน

ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ปู่พะยอมจึงมุ่งมั่นใช้ปั่นปลายของชีวิต ศึกษา เรียนรู้และนำมาทดลองปฏิบัติ ปลูกทุกอย่างที่กิน มีมากก็แบ่งปัน นำความรู้เผยแพร่ต่อ ด้วยเพราะไม่อยากเห็นคนไทย “อยากจน” อย่างที่ผ่านๆ มา

ปลูกพริกในตะกร้าสาน งามกว่ากระถางพลาสติกเพราะอากาศผ่านได้ ไม่อบ

คนเราไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ถ้ามีน้ำ มีความขยัน ยังไงยังไง ก็ไม่อดตาย ขอเพียงให้รู้จักสังเกต ถาม และลงมือทำ ไม่ต้องมีที่ดินมากมาย ปลูกใส่ถ้วย ถัง กาละมัง หม้อเก่า รดน้ำทุกวัน มีกินไม่ต้องซื้อ ไม่ต้องง้อตู้เย็น

อยู่ที่โน้นที่ไหนมีดี ก็จะพากันไปถ่ายทอดเรียนรู้ จำเอามาทดลอง ได้ผลยังไง เอาไปบอก เอาไปสอน เอาไปทำต่อๆ กัน ทั้งที่บ้าน ที่โรงเรียน และที่วัด

กลับมาอยู่ที่นี่ ก็เจอปัญหาเดิมๆ พอหน้าแล้ง น้ำจะพร่องคลอง ต้องใช้น้ำบาดาลใส่ถัง ต่อสายยางไปรดเพื่อประทังไม่ให้เฉาตาย ก็เลยมานั่งคิด สงสารลูกสาวที่นั่งเศร้าและเครียด


ปลูกได้ทุกที่ เพราะยกย้ายได้ น้ำมาก็ยกขึ้นที่สูง โตแล้วก็ปล่อยให้รากลงดิน

ตอนที่ประตูน้ำเสีย ทำน้ำท่วมอยู่หลายวัน ผักหญ้าที่ปลูกไว้ขาย ตายหมด มาคราวนี้แล้งจัดไม่มีน้ำจะรด สงสารลูกสาวที่จำใจต้องเสียเงินต่อท่อสูบน้ำจากก้นคลองขึ้นมารดต้นไม้

เลยปรึกษากันว่าถ้าจะตั้งกลุ่มแม่บ้านทำเกษตรครัวเรือน ปลูกผักขายในชุมชน คงต้องติดตั้งพญาแร้งให้น้ำ เอาน้ำจากคลองขึ้นมาเก็บไว้ใช้เหมือนกับที่เพชรบูรณ์

เพื่อให้โครงการ “สานต่อเพื่อพ่อ” ได้เป็นต้นแบบของเกษตรครัวเรือนในชุมชน กลุ่มสูงวัยใจอาสาจึงนำถังสองร้อยลิตร ที่จะใช้ทำพญาแร้งให้น้ำ มาให้ปู่พะยอม และถือโอกาสให้ปู่เล่าถึงกิจกรรมที่ปู่กำลังริเริ่มเพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนรอบๆ บริเวณบ้าน


ปักชำ ต่อกิ่ง เสียบยอด ไม่มีอะไรยาก ลองทำดู ทำไม่ได้มาหาปู่ จะทำให้ดู

ปู่เล่าโครงการให้ฟังว่า คงต้องเริ่มต้นจากเพาะชำกิ่ง มะนาว มะกรูด และหม่อน ก่อน เพราะต้นไม้พวกนี้จำเป็นต้องมีทุกบ้าน นอกเหนือจาก พริก ข่า ตะไคร้ และกระเจี๊ยบ ซึ่งจะทยอยเพาะกล้าไว้ลงดินในช่วงหน้าฝน

 “เห็นชาวบ้านจะกินอะไรที ต้องรอรถขายกลับข้าวมา ทั้งๆ ที่ทุกบ้านมีที่ว่าง มีภาชนะเก่าไม่ใช้ ทำไมไม่เอามาปักชำ ปลูกแขวนไว้ได้ทุกที่ ไม่ต้องซื้อ นี่คือที่อยากทำให้ดูเป็นตัวอย่าง”

พบกับปู่พะยอม ตามรอยเท้าพ่อ กับต้นแบบเกษตรครัวเรือน ที่นี้เป็นประจำครับ

ลุงแดง ใจอาสา
ชมรมสูงวัยใจอาสา
16 มีนาคม 2560




Create Date : 25 มิถุนายน 2560
Last Update : 25 มิถุนายน 2560 14:43:06 น.
Counter : 327 Pageviews.

0 comment
ดอกไม้จันทร์จากฟางข้าว


ปิดโครงอนุรักษ์พันธุกรรมพืชจากข้าวปทุมธานี อันเนื่องมาจากพระราชดำริของสมเด็จพระเทพฯ ที่ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี่ราชมงคลธัญบุรี นำมาถ่ายทอดให้กลุ่มแม่บ้านแสงตะวัน และผู้สนใจในบริเวณใกล้เคียง เพื่อเสริมสร้างรายได้และการสร้างงานในชุมชน

วันที9-10 มีนาคม มีการประเมินผลของโครงการโดยคณาจารย์จากสาขาต่างๆ เพื่อผลักดันให้การถ่ายทอดองค์ความรู้ทั้งหมด ได้ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชน สร้างกลุ่มงาน และวิทยากรในพื้นที่ เป็นการสานต่อให้เกิดความยั่งยืน

กลุ่มแม่บ้านแสงตะวันจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2540 มี คุณยาย ชมบุญ บัวหลวง เป็นแกนนำ และคุณบุญนภา บัวหลวง เป็นผู้ประสานงานกลุ่มแม่บ้านแสงตะวัน สินค้าของกลุ่มฯ ส่วนใหญ่ เป็นการนำวัตถุดิบในชุมชนมาสร้างรายได้ เช่น การทำข้าวหลาม การทำสาหร่ายทอด ทำกล้วยฉาบ ขึ้นอยู่กับช่วงฤดูกาลและความต้องการของตลาด

นางสาวอรพินท์ สุขยศ หัวหน้าสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ กล่าวว่า เนื่องจากจังหวัดปทุมธานี พื้นที่ส่วนใหญ่ทำนา ฟางข้าวที่เหลือส่วนหนึ่งจะถูกเผ่าทิ้งไป ไม่ได้มีมูลค่า ทั้งสร้างมลภาวะทางอากาศ การนำฟางข้าวกลับมาใช้ประโยชน์ ในลักษณะของกระดาษจากฟางข้าว ที่มีกระบวนการผลิตไม่ซับซ้อน เป็นการนำวัตถุดิบที่มีในชุมชนมาใช้ ตามศาสตร์ของพระราชา ความพอเพียงที่ยั่งยืน

วิจิตร สนหอม อาจารย์ประจำหลักสูตรเทคโนโลยีงานประดิษฐ์สร้างสรรค์  ให้รายละเอียดว่า ด้วยลวดลายเฉพาะตัวของกระดาษจากฟางข้าว นำมาตัดเป็นกลีบดอก ประกอบแต่ละกลีบเป็นดอก ลักษณะคล้ายดอกกุหลาบ นำมาจัดเป็นช่อ ผูกด้วยริบบิ้นสีดำให้สวยงาม เป็นการเพิ่มมูลค่า เพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค

จิตอาสา “เจมส์” รัฐพงศ์ เรือสุวรรณ นักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีงานประดิษฐ์สร้างสรรค์ พูดถึงกลุ่มแม่บ้านแสงตะวัน ว่าส่วนใหญ่ที่มาอบรมในโครงการนี้ เป็นกลุ่มช่วงวัยผู้สูงอายุ แต่ทุกคนตั้งใจเรียนการทำดอกไม้จันทน์ประดิษฐ์จากฟางข้าวมาก ตอนแรกๆ ทุกคนจะดูตื่นเต้น ไม่กล้าที่จะหยิบจับ แต่เมื่อสอนผ่านไปประมาณชั่วโมง ทุกคนกล้าที่จะลงมือปฏิบัติมากขึ้น ซึ่งกลุ่มแม่บ้านที่นี่เรียนรู้เร็ว ระหว่างที่สอนยังได้แลกเปลี่ยนความรู้ ที่เป็นประโยชน์ และบอกว่า “ถ้ามีโอกาสจะเข้าร่วมโครงการบริการวิชาการกับอาจารย์อีก เพราะว่าได้นำความรู้ไปถ่ายทอดต่อ เป็นการฝึกประสบการณ์ และความรู้ที่นำไปถ่ายทอดยังสร้างอาชีพให้กับกลุ่มแม่บ้านอีกด้วย”

จากการสอบถามจากผู้เข้าร่วมโครงการ ทุกคนสนใจ และอยากนำไปต่อยอด เพราะทำได้ง่าย  “สามารถนำดอกไม้จันทน์จากฟางข้าวกลับไปทำที่บ้านในเวลาว่าง หลังจากการทำอาชีพหลัก” คุณบุญนภา บอกตอนนี้ได้หาตลาดรองรับดอกไม้จันทน์จากฟางข้าวให้กับกลุ่มแม่บ้านแล้ว สำหรับผู้สนใจกระดาษจากฟางข้าว และดอกไม้จันทน์จากฟางข้าว สามารถติดต่อมาได้ เป็นการช่วยหารายได้เสริมให้กับกลุ่มแม่บ้านอีกทางหนึ่ง

แม่บ้านใดสนใจ การบริการวิชาการสังคมของทางสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ ติดต่อสอบถามได้ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ โทร.0-2549-3160
ผู้สนใจกระดาษจากฟางข้าว และดอกไม้จันทน์จากฟางข้าว สามารถติดต่อไปยังกลุ่มแม่บ้านแสงตะวัน ได้ที่ 10/1 หมู่ 1, ตำบลกระแชง อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี 12160  โทร. 0-2741-7773, 0-2549-4994  หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณบุญนภา โทร. 081-4513705

ศูนย์ข่าวใจอาสา รายงาน
ขอขอบคุณ :
//www.pr.rmutt.ac.th/news/7724





Create Date : 25 มิถุนายน 2560
Last Update : 25 มิถุนายน 2560 14:41:11 น.
Counter : 299 Pageviews.

0 comment
ความสุขแบ่งปันได้


ความสุขแบ่งปัน ผ่านเมนูไข่พระอาทิตย์ และผักปลอดสาร ปลูกกินเองในครัวเรือน

ผลพวงจากกิจกรรมความสุขปลูกได้ของ สวทช. ที่ชาวเนคเทคนำมาให้สมาชิกกลุ่มสูงวัยใจอาสาได้เพาะเมล็ดทานตะวัน เพื่อให้ผู้สูงอายุปลูกผักไว้กินเองที่บ้านแบบง่ายๆ จากนั้นก็นำต้นทานตะวันงอก มาประกอบอาหารจากเด็ด เป็นเมนูพระราชทาน "ไข่พระอาทิตย์"

เป็นการจุดประกายให้มีการส่งต่อความสุข จากการเพาะต้นอ่อนทานตะวัน พัฒนามาเป็น“โต้วเหมี่ยว” หรือต้นอ่อนถั่วลันเตา จากเกษตรกรในชุมชน ที่ทำกันในครัวเรือนแบบเศรษฐกิจพอเพียง ของคุณขวัญใจ ณภักษ์ นะโรภาส


เมื่อทางรายการหม้อข้าวหม้อแกง ของสถานีโทรทัสน์ ไทยพีบีเอส มาเยี่ยมชมรมสูงวัยใจอาสา เมื่อปลายเดือนธันวาคม 2559 โต้วเหมี่ยวจึงได้ถูกแนะนำออกรายการ เมนู “ไข่พระอาทิตย์”

ในรายการทางกลุ่มสูงวัยใจอาสาได้พาเด็กๆ ไปเยี่ยมฟาร์มเพาะเมล็ดทานตะวัน และเด็กๆ ได้เรียนรู้การเพาะต้นอ่อนถั่วลันเตา จากพี่ขวัญใจ ก่อนจะนำเอาโต้วเหมี่ยวกลับมาทำไข่พระอาทิตย์ที่บ้านธรรมชาติบำบัด


หม้อข้าวหม้อแกงในวันนั้น ได้ผู้สูงวัยใจดี  ป้าต้อย แม่ครัวคนเก่ง เป็นผู้ถ่ายทอดการทำไข่พระอาทิตย์ให้เด็กๆ พร้อมเล่าถึงที่มาของเมนูพระราชทานจากพระเทพฯ  ซึ่งเด็กๆ สนใจและได้ลงมือทำกันครบทุกคน … ป้าต้อยบอกมีความสุขมาก ที่ได้ส่งต่อสิ่งดีดีให้ลูกหลาน

รายการหม้อข้าวหม้อแกง ไข่พระอาทิตย์ ออกอากาศเมื่อเช้าวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ( 8 มกราคม 2560 ) ซึ่งเป็นวันเดียวกันที่กลุ่มสูงวัยใจอาสา ได้รับเชิญให้ไปร่วมงาน สวนครัวพอเพียงของชุมชนหมู่บ้านเมืองประชา หมู่ 10 ตำบลบางคูวัด จังหวัดปทุมธานี


โครงการนี้ได้รับทุนสนับสนุนจาก สสส. ผ่านโนด มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลอลงกรณ์ ที่อาจารย์หนุ่ม ดร.ดรุณศักดิ์ ตติยะลาภะเป็นผู้ประสานโครงการฯ

ในงานได้เชิญผู้นำชุมชน มาเปิดงาน ให้ความรู้ และร่วมทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การเพาะโต้วเหมี่ยวในตะกร้า การทำน้ำหมักชีวภาพ สาทิตการเพาะเลี้ยงใส้เดือนในอ่างพลาสติก เพื่อนำมูลใส้เดือนมาเป็นปุ๋ยในการปลูกผักสวนครัว และปิดท้ายด้วยการนำต้นอ่อนทานตะวัน และโต้วเหมี่ยว ที่เพาะไว้มาทำไข่พระอาทิตย์ แจกกันรับประทาน

ไข่พระอาทิตย์ เมนูพระราชทานให้คนไทย ได้คุณค่าอาหารเพื่อสุขภาพ กลายเป็นสื่อกลางที่กลุ่มสูงวัยใจอาสานำมาส่งต่อความสุข จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ ผ่านกิจกรรมกินผักปลอดภัย ปลูกได้เองในครัวเรือน


พิสุทธิ์ สมประสงค์
ประธานชมรมสูงวัยใจอาสา

9 มกราคม 2560



Create Date : 25 มิถุนายน 2560
Last Update : 25 มิถุนายน 2560 14:37:11 น.
Counter : 266 Pageviews.

0 comment
สาธารณะสุขชุมชน


โครงการทุกวัยแข็งแรง เสริมสร้างสุขภาพ ปลอดโรคปลอดภัย บริการเป็นเลิศ มุ่งสู่คนอำเภอเมืองปทุมธานีสุขภาพดี ปีงบประมาณ 2559 โดยสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองปทุมธานี

วันศุกร์ ที่ 9 ธันวาคม 2559  ณ อาคาร 3 ขั้น 2 มหาวิทยาลัยปทุมธานี


การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำเนินงานระหว่างเครือข่ายสุขภาพอำเภอเมืองปทุมธานี ประกวดบูทนำเสนอผลงานวิจัย และนวัตกรรม ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ในสังกัดสำนักงานสาถารณสุขอำเภอเมือง ทั้ง 12 แห่ง ได้แก่ บ้านกลาง บ้านฉาง บ้านใหม่ บางขะแยง บางคูวัด1 บางคูวัด2 บางหลวง บางเดื่อ1 บางเดื่อ2 บางพูด บางพูน1 บางพูน2

ประเด็นการประเมินผลงาน

1. ความสวยงามดึงดูดใจ

2. การออกแบบบูทนิทรรศการในภาพรวม

  • บอร์ดนิทรรศการ การตกแต่ง สื่อประกอบ รูปแบบการนำเสนอ
  • กิจกรรมมีความต่อเนื่อง สวยงามน่าสนใจ เหมาะสม
  • บรรยากาศภายในบูทที่ดึงดูดผู้ชม

3. ด้านเนื้อหา ผลงาน การจัดแสดง

  • ผลงานมีความน่าเชื่อถือ นำไปเผยแพร่  ขยายผล และเป็นแบบอย่าง
  • รูปแบบที่จัดมีความเหมาะสมกับขนาดพื้นที่
  • มีสื่อ เอกสาร เผยแพร่ อย่างเหมาะสม
  • การตอบข้อซักถามของเจ้าหน้าที่ประจำบูทนิทรรศการ

4. ความคิดสร้างสรรค์

  • ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์โดยรวม ทั้งรูปแบบการจัดนิทรรศการ
  • มีความคิดสร้างสรรค์ตั้งแต่การออกแบบ
  • รูปแบบการนำเสนอ ความต่อเนื่อง
  • สวยงามน่าสนใจ บรรยากาศภายในดึงดูดผู้เข้าชม


บูทแสดงผลงานดีเด่น ชนะเลิศที่ 1 ได้แก่บูทของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านกระแชง ด้วยการบริการเชิงรุก เข้าถึงทุกบ้าน ตามโครงการเพื่อนช่วยดูแลเพื่อน ดูแลผู้สูงอายุ และผู้ป่วยติดเตียง ทั้ง 4 หมู่  ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุออกมาทำกิจกรรมร่วมกันเป็นประจำทุกเดือน ให้ความรู้ด้านสุขภาพ และการอาชีพ ด้วยความเสียสละของประธานชมรมผู้สูงอายุ ริเริ่มจัดสร้างศูนย์การเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุ และพัฒนาต่อเป็นมหาวิชชาลัยบ้านกระแชงสานสุข เป็นโรงเรียนผู้สูงอายุตามอัธยาศัย แบบองค์รวม

ได้รับการสนับสนุน ส่งเสริมให้เป็นแหล่งศึกษาดูงานต้นแบบของจังหวัดปทุมธานี ความสำเร็จทั้งหมดเป็นเพราะความสามัคคีของทุกฝ่าย โดยได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจากองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกระแชง ชมรมสูงวัยใจอาสา และเครือข่าย

ขอขอบคุณ :

นายก วินัย เนตรพระฤทธิ์ /อาจารย์บรรจง ทองย่น /หมอประทิน ใจเกื้อ /อาจารย์พิสุทธิ์ สมประสงค์ /ชมรมดนตรีบำบัด ชมรมจักรยาน และน้องๆ ทีมงานหมอแป๋ว ทุกท่าน


ขุนทวี บ้านกระแชง
ชมรมสูงวัยใจอาสา
11 ธันวาคม 2559




Create Date : 25 มิถุนายน 2560
Last Update : 25 มิถุนายน 2560 14:35:47 น.
Counter : 293 Pageviews.

0 comment
1  2  3  

idea4thai
Location :
ปทุมธานี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]



ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเยาวชนและชุมชมไทย