Theravadans in the World Today ..........and........ Buddhism For Dummies : Beliefs of Buddhism, Teachings of the Buddha, World Buddhism
Group Blog
 
All Blogs
 

ไขปริศนา 2012 วันสิ้นโลก...จากปฏิทินมายา



ขึ้นชื่อว่าอารยธรรมโบราณ ย่อมต้องมี "ปริศนา" ควบคู่มาด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หนึ่งในปริศนาจากอารยธรรมโบราณแห่งหนึ่งจากดินแดนโลกใหม่ (New World) ที่ดูจะเป็นที่สนใจของนักวิชาการและคนทั่วไปเป็นอย่างมาก นั่นคือปริศนาคำทำนายเกี่ยวกับวันสิ้นโลกในปี ค.ศ.2012 ของอารยธรรมมายา อารยธรรมท่ามกลางป่าฝนของทวีปอเมริกากลาง ซึ่งเราจะมาเปิดเผยกันในครั้งนี้นั่นเองครับ

หลายๆท่านอาจจะเคยได้ ยินมาว่า ในปี ค.ศ. 2012 มนุษยชาติอาจจะสูญสลายไปจากโลก โลกจะเข้าสู่กลียุค ในที่สุดก็จะถูกทำลายล้างจากเพลิง อุทกภัยครั้งใหญ่ และภัยพิบัติซึ่งจะมาเยือนในรูปแบบที่น่ากลัวเกินกว่าจะคาดเดาได้ แล้วทำไมต้องเป็น ค.ศ.2012? ตรงนี้คงต้องอธิบายแนวคิดพื้นฐานของปฏิทินมายาโบราณคร่าวๆให้เข้าใจก่อนครับ

ปฏิทินของชาวมายา ไม่ได้ทำจากกระดาษ และแขวนบนผนังเพื่อหาดูวันหยุดนักขัตฤกษ์แบบเราๆท่านๆหรอกครับ แต่ปฏิทินของชาวมายาบันทึกไว้บนแผ่นหินครับ ดังนั้น ใครที่กำลังคิดว่าสาเหตุที่ปฏิทินของชาวมายาหมดลงในปี ค.ศ. 2012 เป็นเพราะกระดาษหมด เลยไม่อยากเขียนต่อ ก็เปลี่ยนความคิดได้เลยครับ

ปฏิทิน ของชาวมายาที่เราจะพูดถึงกันในครั้งนี้ เรียกว่าปฏิทินแบบนับยาว (Long Count Calendar) ซึ่ง 1 ปีของปฏิทินชนิดนี้จะมี 360 วัน แบ่งออกเป็น 18 เดือน และเดือนละ 20 วัน ทุกๆ 20 ปี จะมีคำเฉพาะที่เรียกว่า k’atun และทุกๆ 20 k’atun (400 ปี) ก็จะเรียกว่า bak’tun ตอนนี้หลักๆที่ควรทำความรู้จักคือคำว่า bak’tun ครับ เพราะว่าจะเกี่ยวข้องกับคำทำนายปี ค.ศ.2012 ด้วย

ด้วยความที่ชาวมายา โบราณมีความเชื่อว่าวันและเวลาของพวกเขาเป็นวงรอบที่จะครบวงรอบเล็กทุกๆ 52 ปี และพวกเขาก็จะปรับปรุงบ้านเรือน และต่อเติมวิหาร รวมทั้งพีระมิดทุกๆการครบรอบ 52 ปีเช่นกัน สำหรับปฏิทินแบบนับยาวนี้ ชาวมายาโบราณมีความเชื่อว่า 1 วงรอบใหญ่ (Great Cycle) ประกอบไปด้วย 13 bak’ tun นั่นก็คือจะกินเวลาประมาณ 5,200 ปีนั่นเอง (นั่นคือ 13 เท่าของ 400 ปี เท่ากับ 5,200 ปี)

เมื่อการถอดความภาษามายาโบราณมีความก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้นักวิชาการสามารถเทียบวันที่ในปฏิทินมายาโบราณเข้ากับปฏิทินของพวกเรา ได้ นักวิชาการทราบว่า bak’tun ที่ 13 หรือวงรอบใหญ่ที่ผ่านมาครั้งล่าสุดนั้น เกิดขึ้นในวันที่ 8 กันยายน 3114 ปีก่อนคริสตกาล และจะดำเนินไปสู่ bak’tun ที่ 13 หรือวงรอบใหญ่อีกครั้งหนึ่งในวันที่ 23 ธันวาคม ปี ค.ศ.2012 ที่จะถึงนี้ ทำให้ หลายๆท่านอาจจะเชื่อว่าปฏิทินมายา "หมดลง" ในปี ค.ศ.2012 นั่นหมายถึงชาวมายาโบราณทำนายว่าโลกจะถึงจุดจบในปี ค.ศ.2012 นี้ด้วย

สิ่งที่จะให้คำตอบเกี่ยวกับวันสิ้นโลกกับพวกเราได้ก็คือหลักฐานทางโบราณคดี ที่ขุดพบจากดินแดนของชนเผามายานั่นเองครับ หลักฐานชิ้นแรกที่จะนำมาเสนอคือตำนานจากคัมภีร์โพโพล วูห์ (Popol Vuh) ของชาวมายาโบราณที่เล่าถึงตำนานการสร้างโลก การสร้างมนุษย์และการ "ทำลายล้าง" มนุษย์ครับ

ตำนานนี้เริ่มต้นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างโลก เอาไว้ว่า ณ จุดเริ่มต้นของทุกสิ่ง ที่ซึ่งยังไม่มีสัตว์และต้นไม้ใดๆทั้งสิ้น มีเพียงแค่ผืนฟ้า ท้องทะเลไกลสุดลูกหูลูกตา และเทพเจ้านามหทัยสวรรค์ (Heart of Sky) เท่านั้น ปัญหาคือ พระองค์ต้องการสร้างผู้ที่สามารถเอ่ยนามของพระองค์และยกย่องเกียรติพระองค์ ได้ นั่นทำให้พระองค์เริ่มกระบวนการ "สร้างโลก" และ "สร้างมนุษย์" ขึ้นมา

ตามตำนานกล่าวว่า เพียงพระองค์เอื้อนเอ่ยวาจา สรรพสิ่งตามคำเอ่ยของพระองค์ก็ปรากฏ พระองค์ทรงสร้างผืนดิน ภูเขา และสรรพสัตว์ต่างๆและพระ องค์ได้มอบแหล่งที่อยู่ให้แก่สรรพสัตว์เหล่านั้นแต่ด้วยความที่จุดประสงค์ ที่แท้จริงของพระองค์คือต้องการสร้างผู้ที่สามารถเอ่ยนามของพระองค์และ สรรเสริญพระองค์ได้ แต่ว่าเหล่าสัตว์ที่พระองค์ สร้างขึ้นนั้นได้แต่กู่ร้องไม่เป็นภาษา พระองค์จึงเริ่มเปลี่ยนแนวคิดไปสร้างสิ่งที่เรียกว่า "มนุษย์" แทน ครั้งแรก พระองค์สร้างมนุษย์ขึ้นจากโคลน แต่มนุษย์ โคลนนั้นปวกเปียก ไม่มั่นคง พระองค์จึง "ทำลาย" ทิ้ง หลังจากนั้นทรงเปลี่ยนมาใช้ไม้ในการสร้างมนุษย์ มนุษย์ไม้พวกนี้ สามารถเอ่ยพระนามของพระองค์ได้ แต่มนุษย์พวกนี้เอาแต่ทำลายธรรมชาติ ฆ่าสัตว์ และไม่ให้ความเคารพพระองค์เลย พระองค์ จึงตัดสินใจ "ทำลาย" มนุษย์ไม้เหล่านี้ด้วยการให้ ฝนตกทั้งวันทั้งคืน สุดท้ายพระองค์สร้างมนุษย์ขึ้นจาก "แป้งข้าวโพด" และมนุษย์ที่เกิดจากแป้งข้าวโพดก็คือเราๆท่านๆทุกวันนี้แหละครับ

แต่ ถ้าชาวมายาโบราณมีความเชื่อว่า bak’tun ที่ 13 ที่กำลังจะมาถึงในปี 2012 นี้คือการทำลายล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์จริงๆแล้วล่ะก็ วงรอบใหญ่รอบที่แล้วเมื่อ 3114 ปีก่อนคริสตกาล ก็ควรจะต้องเกิดเหตุการณ์ทำนองนี้ขึ้นเช่นกัน แต่ศิลา ซี จากเมืองควิริกัว (Quirigua Stela C) ที่จารึกเหตุการณ์ในครั้งนั้น กลับชี้ให้เห็นมุมมองที่ต่างออกไป เพราะว่าจารึกชิ้นนี้บอกเล่าเรื่องราวของการสร้าง ไม่ใช่การทำลายล้าง โดยกล่าวถึงการวางหินเพื่อสร้างเป็นพื้นเตา สำหรับการก่อไฟทำอาหารเท่านั้นเองครับ อ้าว!! แล้วคำทำนายที่ว่า มนุษยชาติจะล่มสลายในปี ค.ศ.2012 นี้เขาอ้างอิงมาจากไหนล่ะมันมีอนุสาวรีย์แห่งหนึ่ง และแห่งเดียวเสียด้วยครับ ที่จารึกเกี่ยวกับ "คำทำนายในปี ค.ศ.2012" เอาไว้ มันคืออนุสาวรีย์หมายเลข 6 แห่งเมืองทอร์ทูกัวโร (Tortuguero Monument 6) ครับ จารึกหินแผ่นนี้มีลักษณะเหมือนรูปตัวที (T) ซึ่งปีกด้านซ้ายหายไปจึงเหลือเพียงตัวแอล (L) กลับหัว สำหรับส่วนที่เกี่ยวข้องกับคำทำนายปี ค.ศ.2012 นั้นได้รับการจารึกเอาไว้ที่ปีกด้านขวาของศิลาแผ่นนี้ครับ

ข้อความที่เป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมดคือข้อความที่ถอดความได้ ว่า "...เป็นเวลานาน 2 วัน 9 เดือน 3 ปี 8 k’atun 3 bak’tun ก่อนที่จะครบ 13 bak’tun (ซึ่งเทียบได้กับวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ.2012) มันจะเกิดความมืด?? และจะเป็นการลงมาประทับของเทพเจ้าแห่งการทำลายล้างที่...??"

ถึงแม้ ว่าอนุสาวรีย์ ชิ้นนี้จะจารึกถึงวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ.2012 เอาไว้อย่างชัดเจน แต่มันก็แตกหัก จารึกไม่สมบูรณ์ ถอดความได้ยังไม่ชัดเจน เช่นคำว่าความมืดหรือสีดำ หรือที่ภาษามายาโบราณอ่านว่า "เอค" (Ek) นั้นก็ขาดหายไปครึ่งหนึ่ง ทำให้ไม่สามารถระบุได้ว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นในวันนั้นคือ ความมืด หรือย่างอื่นกันแน่ ที่สำคัญ ตัวอักษรในศิลาแผ่นนี้ที่เป็นตัวบอกว่าเทพเจ้าแห่งการทำลายล้างทรงลงมา ประทับที่ไหน หรือลงมาทำอะไร ก็เลือนไปเสียด้วยครับ

สรุปอนุสาวรีย์ แห่ง นี้คือหลักฐานชิ้นเดียวที่บ่งบอกว่า "จะเกิดอะไรขึ้นในปี 2012" ซึ่งมันก็ยังไม่สามารถถอดความได้อย่างชัดเจน ถึงแม้ว่าข้อความที่จารึกไว้จะเป็นความจริง แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นมีเพียงแค่ความมืด และการลงมาประทับของเทพเจ้าแห่งการทำลายล้างเท่านั้นเองครับ ไม่ใช่วันอวสานของโลกแต่อย่างใด เพราะเทพเจ้าแห่งการทำลายล้างองค์นี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการทำลายล้างเพียง อย่างเดียว แต่พระองค์ยังปรากฏกายในโอกาสอื่นๆด้วย เช่นเมื่อปฏิทินของชาวมายาดำเนินไปครบ 1 ปี หรือ ka’tun (20 ปี) เป็นต้น

ที่ สำคัญ ปฏิทินมายาก็ไม่ได้หมดลงที่ bak’ tun ที่ 13 ด้วยครับ เนื่องจากนักวิชาการได้พบหลักฐานเป็นศิลาจากเมืองโคบา (Coba) ที่จารึกชื่อของปีที่วงรอบใหญ่ว่า bak’tun ขึ้นไปอีก 19 ลำดับ โดยที่วงรอบใหญ่ที่สุดจริงๆของปฏิทินมายาโบราณ จะสามารถเทียบเป็นเวลาถึง 13 เท่าของ 20 ยกกำลัง 21 ปี นั่นคือหลายล้านล้านปีก่อนที่จักรวาลจะถือกำเนิดเสียอีกครับ ดังนั้น ไม่มีความจำเป็นเลยที่ปฏิทินจะหมดลงแค่ปี ค.ศ.2012

ถึงแม้ว่าอนุสาวรีย์หมายเลข 6 แห่งเมืองทอร์ทูกัวโรจะไม่ได้บันทึกอย่างชัดเจนถึงอวสานของมนุษยชาติ แต่ถ้ามนุษย์ที่เทพหทัยสวรรค์สร้างขึ้นจากแป้งข้าวโพดอย่างเราๆท่านๆยังทำ ตัวไม่ ต่างจากมนุษย์ไม้ ที่เอาแต่ทำลายธรรมชาติกันอย่างไม่รู้จักจบจักสิ้นเหมือนทุกวันนี้ ความมืดและเทพเจ้าแห่งการทำลายล้างจากอนุสาวรีย์ หมายเลข 6 อาจจะหมายถึงการลงมือสร้างมนุษย์ครั้งใหม่ของเทพหทัยสวรรค์ก็เป็นได้ครับ

แต่ อย่างไรก็ตาม ความเชื่อเรื่องวันอวสานโลกในปี 2012 นั้น เป็นประเด็นที่มีคนสนอกสนใจกล่าวขวัญกันทั่วโลก จนถูกหยิบยกมาเป็นไอเดียในการสร้างภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์เรื่อง "2012...วันสิ้นโลก" ซึ่งเหตุการณ์จริงของโลกเราในปี 2012 นั้น จะรุนแรงระทึกขวัญเหมือนในภาพยนตร์หรือไม่...จะเป็นวันอวสานโลกหรือเปล่า เราคงต้องนับถอยหลังรอลุ้นกันต่อไปอีกเพียงแค่ 3 ปี!

ทีมงาน ต่วย'ตูน




หนังสือธรรมะ ภาษาต่างประเทศ

An Introduction to the Study of Buddhism: A Sane Way to Live

Most Popular Books on Buddhism

Theravada Buddhism Recommended Reading








 

Create Date : 08 พฤศจิกายน 2552    
Last Update : 8 พฤศจิกายน 2552 11:50:48 น.
Counter : 539 Pageviews.  

จิตในขณะฝัน

จิตในขณะฝัน (ในอภิธรรมเรียก สุบินวิถี )

สุบินวิถี คือ วิถีจิตที่เกิดขึ้นขณะนอนหลับไม่สนิท เรียกความเป็นไปในขณะนั้นว่า "ฝัน" และวิถีที่เกิดขึ้นในขณะฝันนี้เป็นกามชวนะที่เกิดทาง มโนทวาร คือการรับกามอารมณ์ทางใจเท่านั้น วิถีฝันหรือสุบินวิถีไม่อาจเกิดทางปัญจทวารได้เลย
นิมิตที่เป็นความฝันของบุคคลนั้น ย่อมมีชัดเจนมากบ้าง ชัดเจนน้อยบ้าง หรือบางครั้งก็ชัดเจนน้อย จนไม่รู้เรื่องราวในฝันนั้นเลยก็มี ด้วยเหตุนี้ วาระของสุบินวิถีจิตมีได้ ๔ วาระ คือ

๑. สุบินวิถีที่เป็นตทาลัมพนะวาระ
๒. สุบินวิถีที่เป็นชวนวาระ
๓. สุบินวิถีที่เป็นโวฏฐัพพนวาระ
๔. สุบินที่เป็นโมฆวาระ


สุบินวิถีที่เป็นตทาลัมพนวาระและชวนวาระ คือ ความฝันที่สามารถรู้เรื่องราวได้ชัดมากและชัดน้อย คือการเข้าถึงการเสวยอารมณ์นั้น ย่อมเป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล เรียกสุบินวิถีทั้ง ๒ วาระนี้ว่า “กุสลากุสลสุบินวิถี คือวิถีจิตที่เกิดขึ้นเป็นความฝันในเรื่องที่เป็นกุศลและอกุศล” แต่กุศลและอกุศลหรือบุญบาปที่เกิดในเวลาฝันนี้เจตนามีกำลังน้อยไม่แรงกล้าเหมือนเวลาที่เสวยอารมณ์ในขณะตื่นอยู่ ฉะนั้น บุญบาปที่ได้ในขณะฝันนี้ จึงไม่สามารถนำให้ไปปฏิสนธิในสุคติหรือทุกคติได้ คงให้ผลได้บ้างในปวัตติกาลเท่านั้น แต่ไม่ถึงกับล่วงกรรมบถ เพราะเจตนาในขณะฝันนั้นได้เกิดขึ้นในอารมณ์ที่ไม่เป็นปกติ และจิตที่รับอารมณ์ก็ไม่เป็นปกติ จึงไม่ถึงความเป็นกรรมบถ

ส่วนสุบินวิถีที่เป็นโวฏฐัพพนาวาระและโมฆวาระเป็นความฝันที่ไม่เข้าถึงการเสวยอารมณ์ เพราะไม่อาจรู้นิมิตในฝันได้ ดังความฝันของคนที่ไม่อาจจำเรื่องราวอะไรได้ จึงจัดเป็น “อัพยากตสุบินวิถี วิถีจิตที่เกิดขึ้นในขณะฝันอันไม่เป็นบุญไม่เป็นบาป” (อัพยากฤต)


เหตุให้เกิดความฝัน ๔ ประการ

ตามหลักพระพุทธศาสนานั้น ถือว่าความฝันที่เป็นจริงก็มี ที่ไม่จริงก็มี และความฝันนั้นย่อมเกิดขึ้นได้จากเหตุ ๔ ประการ คือ

๑. ปุพพนิมิต คือ ความฝันที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจของกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมที่ตนได้เคยทำไว้แล้วแต่อดีต และเมื่อเวลาที่กรรมนั้นจะให้ผลเป็นความสุขหรือเป็นความทุกข์ อำนาจแห่งกุศลกรรมและอกุศลกรรมมีกำลังแรงมากระตุ้นใจ ทำให้เกิดเป็นความฝันขึ้นก่อนที่จะรับผลของกรรมนั้นๆ ได้ ความฝันที่เกิดจากอำนาจของกรรมนี้ เรียกว่า ปุพพนิมิตหรือกรรมนิมิต เป็นความฝันประการเดียวที่จะบอกเหตุการณ์ในความฝันว่าเป็นจริงตามที่ฝันอย่างแน่นอน อย่างเช่น พระนางสิริมหามายา ทรงสุบินนิมิตในการเห็นช้างเผือก อันเป็นนิมิตหมายในการได้พระโอรส เป็นต้น

๒. จิตอาวรณ์ คือ ความฝันที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจจิตหน่วงอารมณ์ที่ตนได้เคยได้เห็นได้ยิน หรือได้พบมา แล้วเก็บเอาอารมณ์นั้นมาฝัน ความฝันชนิดนี้เกิดด้วยจิตใจจดจ่อผูกพันอารมณ์นั้นเป็นพิเศษ จึงเรียกว่า เกิดจาก “จิตอาวรณ์” ความฝันชนิดนี้ไม่จริง เพราะเกิดจากใจที่ไปจดจ่ออารมณ์นั้นๆ จึงทำให้เก็บเอามาคิดฝันขึ้น เช่น ฝันว่าได้เที่ยวหรือได้พบเป็นสิ่งนั้นๆ ที่ตนเคยพบเป็นมาก่อน เป็นต้น

๓. เทพสังหรณ์ คือ ความฝันที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจเทวดาที่มาบอกเหตุร้าย เหตุดีชี้นิมิตฝันให้ปรากฏเป็นความฝัน จากเหตุที่เป็นจริงบ้าง ไม่จริงบ้าง เอาเป็นที่แน่นอนไม่ได้กล่าวคือ ถ้าเป็นเทวดาสัมมาทิฏฐิมาให้ฝัน ก็มีความรักใคร่จะสงเคราะห์จึงบอกสิ่งที่เป็นจริงให้ทราบ แต่ถ้าเป็นเทวดามิจฉาทิฏฐิที่เกลียดชัง ปรารถนาจะให้ได้รับทุกข์ภัย ก็บอกลวงให้ไม่เป็นความจริง

๔. ธาตุกำเริบ (ธาตุโขภะ) คือความฝันที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจธาตุกำเริบ เช่น เป็นไข้หรือท้องไส้ไม่ปกติ ก็ทำให้ฝันไปต่าง ๆ เช่น ฝันว่าตกจากภูเขา หรือเหาะลอยไปในอากาศ หรือประสบอันตราย เช่น โจรปล้น หรือถูกตำรวจจับ เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพราะว่าขณะนอนหลับนั้นไม่สนิท เพราะเหตุที่ธาตุกำเริบ จึงทำให้ฝัน ความฝันชนิดนี้ก็ไม่จริง
เหตุทั้ง ๔ ประการ ดังกล่าวมาข้างต้นนี้ เป็นมูลเหตุแก่สุบินนิมิต (ฝัน) ก็จริงแต่เมื่อว่าถึงมูลเหตุอันแท้จริงที่เป็นเหตุไกลออกไปแล้ว ได้แก่วิปลาสกิเลส (กิเลสที่ทำให้เข้าใจผิด) มีสัญญาวิปลาส เป็นต้น แต่พระอรหันต์ทั้งหลาย ย่อมไม่มีการฝันเลย เพราะท่านปราศจากวิปลาสแล้ว และเพราะท่านมีสติสมบูรณ์ที่สุด

สรุป

สุบินวิถี คือ ความเป็นไปของจิตในเวลาฝัน ได้แก่ กามชวนมโนทวารวิถี ที่ เกิดขึ้นในขณะนอนหลับ

การฝัน ก็มีชัดมากและชัดน้อย ชัดมากก็มีถึงตทาลัมพนะได้ ชัดน้อยก็มีเพียง ชวนะเท่านั้น

เหตุที่ทำให้เกิดฝันขึ้นนั้น มี ๔ ประการ คือ

๑. บุพพนิมิต กรรมใด ๆ ที่ได้กระทำมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกุสลกรรม หรือ อกุสลกรรม กระตุ้นเตือนจิตใจให้ใฝ่ฝันถึงกรรมนั้น ๆ

๒. จิตอารมณ์ จิตใจจดจ่อในเรื่องใดๆ เป็นพิเศษยิ่งก็ทำให้ใฝ่ฝันถึงเรื่องนั้นๆ

๓. เทพสังหรณ์ เทวดาดลใจให้ฝัน

๔. ธาตุกำเริบ เวลาที่ธาตุไม่ปกติ ก็ทำให้ฝันได้เหมือนกัน


ผู้ที่ฝัน ได้แก่ บุคคล ๖ คือ

๑. ทุคคติบุคคล (เว้นสัตว์นรก)

๒. สุคติบุคคล

๓. ทวิเหตุกบุคคล

๔. ติเหตุกบุคคล (เว้นรูปพรหม อรูปพรหม)

๕. โสดาบันบุคคล

๖. สกทาคามิบุคคล

ที่สัตว์นรกไม่ฝัน เพราะถูกทรมานตลอดเวลา จนไม่มีโอกาสที่จะใฝ่ฝัน

ที่รูปพรหม อรูปพรหม อนาคามีบุคคล และอรหัตตบุคคล ไม่ฝัน เพราะท่าน เหล่านี้ปราศจาก กามราคะแล้ว

บุคคลที่ยังฝันอยู่ ล้วนแต่เป็นผู้ที่ยังมีกามราคะ กามฉันทะอยู่







หนังสือธรรมะ ภาษาต่างประเทศ

An Introduction to the Study of Buddhism: A Sane Way to Live

Most Popular Books on Buddhism

Theravada Buddhism Recommended Reading









 

Create Date : 27 กันยายน 2552    
Last Update : 27 กันยายน 2552 23:44:41 น.
Counter : 1331 Pageviews.  

วิสุทธิมรรค ฉบับย่อ


อภิธัมมาวตาร


อภิธัมมาวตาร แปลว่า หยั่งลงสู่อภิธรรม หรือ หยั่งรู้เข้าใจในสรรพสิ่งทุกประการอย่างละเอียดที่สุด. เป็นผลงานการเรียบเรียงของท่าน พระพุทธัตตเถระ (พุทฺธตฺต,พุทธัตตาจารย์) ชาวชมพูทวีป ผู้ชำนาญพระไตรปิฎก ซึ่งท่านได้เรียบเรียงขึ้นจากเนื้อหาในพระอภิธรรมปิฎก, อรรถกถาของพระไตรปิฎกต่างๆทั้งที่สืบมาแต่ครั้งพุทธกาล, และของอาจารย์ผู้ทรงจำพระไตรปิฎกที่มีชื่อเสียงมีความรู้มากในยุคก่อน พ.ศ. 1000 โดยมีรูปแบบเป็นสังเขปัฏฐกถา คือ นำเนื้อหามาย่อลงเหลือแต่ที่เป็นหลัก ซึ่งคล้ายกับ วิสุทธิมรรคฉบับย่อ นั่นเอง ซึ่งท่านจัดเป็นบท รวม 24 บท (ปริจเฉท) ดังนี้ :-

1. จิตตนิทเทส - รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับจิต 89/121 พร้อมทั้งลักขณาทิจจตุกกะ จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบ.

2. เจตสิกนิทเทส - รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับเจตสิก 52 พร้อมทั้งลักขณาทิจจตุกกะ จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบ.

3. เจตสิกวิภาคนิทเทส - รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับความสามารถในการประกอบกันกับจิต-เจตสิกแต่ละอย่าง ของเจตสิกแต่ละดวง จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบ.

4. เอกวิธาทินิทเทส - รวบรวมวิธีการจัดแบ่งประเภทของจิต-เจตสิก ออกเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบ.

5. ภูมิปุคคลจิตตุปปตตินิทเทส - รวบรวมเกี่ยวกับการดำเนินการ เกี่ยวกับความเป็นมาเป็นไปของจิต-เจตสิก-รูปในภพภูมิต่าง ๆ จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบ. เพื่อแสดงให้เห็นว่า มีแต่จิต เจตสิก รูป ประกอบกันขึ้นและดับไปสืบต่อกันไป ดำเนินไปอยู่เช่นนี้ ไม่ใช่สัตว์ ไม่มีบุคคล เรา เขา หรือ อัตตา ตัวตน ในที่ไหนที่เป็นไปทั้งนั้น.

6. อารัมมณวิภาคนิทเทส - รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับอารมณ์ของจิต-เจตสิก จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบ.

7. วิปากจิตตปวัตตินิทเทส - รวบรวมเกี่ยวกับการดำเนินการ เกี่ยวกับความเป็นมาเป็นไปวิปากจิต-วิปากเจตสิก จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบ.

8. ปกิณณกนิทเทส - รวบรวมเรื่องปกิณณกะ ซึ่งเป็นรายละเอียด เบ็ดเตล็ด ปลีกย่อย จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบด้วย.

9. ปุญญวิปากปัจจยนิทเทส - รวบรวมเรื่องของกรรมและผลของกรรม จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบด้วย.

10. รูปวิภาคนิทเทส - รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับรูป 28 พร้อมทั้งลักขณาทิจจตุกกะ รวมทั้งยังรวบรวมวิธีการจัดแบ่งประเภทของรูป ออกเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบด้วย.

11. นิพพานนิทเทส - รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับนิพพาน 1 พร้อมทั้งลักขณาทิจจตุกกะ รวมทั้งยังอธิบายชี้แจงแก้ความเข้าใจผิด ๆ เช่น ความเข้าใจผิดว่า ความดับกิเลสเป็น[[อนุปาทิเสสนิพพาน ดู :นิพฺพานนิทฺเทโส - อภิธมฺมาวตาร-สงฺเขปอฏฺฐกถา (พุทฺธทตฺต) - อภิธมฺมาวตาร. ข้อ 770 เป็นต้น จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบ.

12. ปัญญัตตินิทเทส - รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับบัญญัติ พร้อมทั้งแบ่งหมวดหมู่บัญญัติออกเป็นแบบต่าง ๆ จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบ. อนึ่ง ในฏีกาของคัมภีร์นี้ ชื่อ อภิธัมมัตถวิกาสินี ได้จัดไตรลักษณ์เข้าเป็น อัตถบัญญัติหมวดอสมูหบัญญัติ ไว้ด้วย.

13. การกปฏิเวธนิทเทส - รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับความเข้าใจผิดว่า มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ที่เป็นผู้ทำอยู่, อธิบายหลักการยืนยันถึงความไม่มีสัตว์ บุคคล เป็นต้นที่เป็นผู้ทำเหล่านั้นอยู่จริง จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบ.

14. รูปาวจรสมาธิภาวนานิทเทส - รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับการเจริญสมาธิภาวนาชั้นรูปฌาน (ฌาน 1-5 ตามนัยอภิธรรม) จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบ.

15. อรูปาวจรสมาธิภาวนานิทเทส - รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับการเจริญสมาธิภาวนาชั้นอรูปฌาน (ฌาน 5-9 ตามนัยอภิธรรม) จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบ.

16. อภิญญานิทเทส - รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับการฝึกทำอภิญญาจากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบ.

17. อภิญญารัมมณนิทเทส - รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับอารมณ์ที่สามารถจะมีได้ของปัญจมฌานกุศลและปัญจมฌานกิริยาที่ได้อภิญญา ตามที่อภิญญาประเภทนั้นๆจะสามารถรับรู้ได้ จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบ.

18. ทิฏฐิวิสุทธินิทเทส - รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติญาตปริญญา ขั้นนามรูปปริจเฉทญาณ จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบ.

19. กังขาวิตรณวิสุทธินิทเทส - รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติญาตปริญญา ขั้นปัจจยปริคคหญาณ จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบ.

20. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินิทเทส - รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติตีรณปริญญา ขั้นอุทยัพพยญาณ จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบ.

21. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิทเทส - รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติปหานปริญญา ขั้นอุทยัพพยญาณเป็นต้นจนถึงอนุโลมญาณ จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบ.

22. ญาณทัสสนวิสุทธินิทเทส ญาณทัสสนวิสุทธิกถา - รวบรวมถึงเรื่องเกี่ยวกับขณะที่บรรลุมรรค-ผล จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบ.

23. ญาณทัสสนวิสุทธินิทเทส กิเลสปหานกถา - รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับกิเลสที่ถูกละกำจัดด้วยมรรคจิตเป็นต้น จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบ.

24 ปัจจยนิทเทส รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับปัจจัย 24 อันเป็นหลักเหตุผลตามหัวข้อในคัมภีร์ปัฏฐานปกรณ์อย่างย่อ จากพระไตรปิฎกและอรรถกถามาแสดงพร้อมคำอธิบายและเหตุผลประกอบ.

อ้างอิง
พุทฺธทตฺตเถเรน รจิตา, อภิธมฺมวารตาร-อฏฺฐกถา , มหาจุฬา ปกาสิตา.
^ ท่านอธิบายมีใจความว่า "ถ้าความดับกิเลสได้เป็นพระนิพพาน มรรคจิตเป็นต้น ซึ่งดับกิเลสได้แล้วก็ต้องเป็นพระนิพพานไปด้วย" (ซึ่งความจริงไม่ใช่เช่นนั้น แม้ว่ามรรค 4 ผล 4 อาจจะเป็นสอุปาทิเสสนิพพานได้ เพราะที่ท่านจัดไว้นั้นมรรคเป็นสมุจเฉทนิพพาน และผลก็เป็นปฏิปัสสัทธินิพพาน, แต่จะเป็นอนุปาทิเสสนิพพานหรือนิสสรณนิพพานที่เป็นนิพพานปรมัตถ์ไม่ได้เลย ซึ่งในนิพพานนิทเทสนี้ และที่กล่าวไว้ทั่วไปในพระอภิธรรมปิฎกนั้นก็หมายถึงนิพพาน 2 ชื่อหลัง คือ นิพพานปรมัตถ์นั่นเอง ท่านจึงได้ปฏิเสธไว้)
^ ดู : บัญญัติ
^ อภิ.ป. เล่ม 40-45

ข้อมูล




หนังสือธรรมะ ภาษาต่างประเทศ

An Introduction to the Study of Buddhism: A Sane Way to Live

Most Popular Books on Buddhism

Theravada Buddhism Recommended Reading








 

Create Date : 25 กันยายน 2552    
Last Update : 25 กันยายน 2552 19:27:00 น.
Counter : 1013 Pageviews.  

คัมภีร์ วิสุทธิมรรค [Visuddhimagga]

คัมภีร์วิสุทธิมรรค แต่งขึ้นโดย พระพุทธโฆสะ ท่านเป็นผู้ประมวลธรรมทั้งหมดในพระไตรปิฎก อันได้แก่ พระวินัยปิฎกพระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก มาเรียบเรียงใหม่ในลักษณะของไตรสิกขา โดยนำไตรสิกขามาตั้งเป็นบทกระทู้ แล้วอธิบายขยายความบทกระทู้ดังกล่าว แสดงหมวดหมู่ของไตรสิกขาเป็นรูปคำถาม-คำตอบ แบ่งเป็น 3 ภาคใหญ่ ๆ ถือแนววิสุทธิ 7 ประการเป็นหลัก โดยขยายสีลวิสุทธิออกเป็นนิเทศหนึ่งต่างหาก เรียกว่า สีลนิเทศ แยกจิตวิสุทธิออกเป็นนิเทศหนึ่ง เรียกว่า สมาธินิเทศ และแยกปัญญาวิสุทธิทั้ง 5 มีทิฏฐิวิสุทธิ เป็นต้น ออกเป็นอีกนิเทศหนึ่ง เรียกว่า ปัญญานิเทศ รวมทั้ง 3 ภาค มี 23 นิเทศ

ในคัมภีร์มหาวงส์กล่าวถึงประวัติ พระพุทธโฆสะ ผู้รจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรคไว้ว่าท่านเกิดในตระกูลพราหมณ์ ใกล้กับเมืองพุทธคยา ประเทศอินเดียฝ่ายใต้ ในวัยเยาว์ได้ศึกษาเล่าเรียน ศิลปวิทยา ตามธรรมเนียมของพราหมณ์ เป็นผู้ที่เชี่ยวชาญในคัมภีร์พระเวทมาก ท่านได้เดินทางไปยังเมืองต่าง ๆ ของอินเดีย เพื่อโต้ตอบเรื่องปรัชญากับนักปราชญ์ทั้งหลาย วันหนึ่งท่านได้พบกับพระเรวัตเถระที่วัดแห่งหนึ่ง หลังจากที่ไต่ถามปัญหาทางธรรมะ จึงเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และขอออกบวช ได้สมญานามว่า พุทธโฆสะ เพราะเสียงของท่านมีความลึกซึ้ง สื่อความหมายทางธรรมดุจดังพระสุรเสียงของพระพุทธเจ้า

เมื่อบวชแล้วพระพุทธโฆสะได้รจนาคัมภีร์ญาโณทัย และอัตถสาลินี - อรรถกถาของธัมมสังคณี อันเป็นคัมภีร์แรกของพระอภิธรรมปิฎก เมื่อท่านเริ่มเขียนอรรถกถาปริตร พระเรวัตแนะนำให้ท่านเดินทางไปประเทศลังกา เพื่อศึกษาภาษาสิงหลและคัมภีร์อรรถกถาที่ลังกา แล้วแปลอรรถกถาสิงหลออกเป็นภาษามคธ (บาลี) เพื่อประโยชน์สำหรับผู้ที่ไม่รู้ภาษาสิงหล เพราะในอินเดียเวลานั้นมีแต่พระไตรปิฎก ไม่มีอรรถกถาเหมือนอย่างลังกา

พระพุทธโฆสะเดินทางไปประเทศลังกา ตรงกับช่วงรัชกาลของพระมหานาม พระพุทธโฆสะได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของท่านสังฆปาล ในสำนักของฝ่ายมหาวิหาร และขออนุญาตแปลอรรถกถาสิงหลเป็นภาษามคธ (บาลี) คณะสงฆ์ฝ่ายมหาวิหารขอให้ท่านพิสูจน์ความสามารถด้วยการเขียนอธิบายขยายความคาถา 2 บท พระพุทธโฆสะอธิบายได้อย่างละเอียด มีเนื้อความครอบคลุมคำสอนทั้งหมดของพระพุทธเจ้า คือ กล่าวถึงเรื่อง ศีล สมาธิ และปัญญา ผลงานนี้คือ วิสุทธิมรรค

วิสุทธิมรรค เป็นปกรณ์พิเศษที่แต่งขึ้น เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงไปได้ประมาณ 900 ปี ที่ลังกาทวีป พระพุทธโฆสะ เป็นที่รู้จักกันมากในเมืองไทย และในเมืองที่นับถือพระพุทธศาสนาทั้งปวง เพราะท่านได้ทำหนังสือทางพระพุทธศาสนาที่เป็นภาษามคธไว้มาก งานใหญ่ที่เป็นมรดกตกทอดมาถึงเราทั้งหลาย ก็คือ งานแปลคัมภีร์อรรถกถา พระไตรปิฎกจากภาษาสีหฬเป็นภาษามคธ หรือ ภาษาบาลี ในเมืองไทยได้เรียนคัมภีร์ที่ท่านทำไว้เป็นภาษามคธตั้งแต่ประโยค ๓ คือ อรรถกถาธรรมบท จนถึงประโยค ๙ คือวิสุทธิมรรค โดยเฉพาะหนังสือวิสุทธิมรรคเป็นเรื่องที่นิยมศึกษากันมาก นับถือว่าเป็นปกรณ์สำคัญปกรณ์หนึ่ง เพราะท่านพระพุทธโฆสะได้ประมวลธรรมในพระไตรปิฎก มาแสดงไว้เป็นหมวด ๆ ตั้งแต่ศีล และสมาธิ ปัญญา โดยลำดับ วิธีแต่งเหมือนอย่างแต่งกระทู้ หรือเรียงความแก้กระทู้ธรรม ในปัจจุบัน คือขยายความย่อให้พิสดาร บทกระทู้ของวิสุทธิมรรค ว่าด้วยไตรสิกขา ซึ่งเป็นหัวข้อใหญ่ในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น นับว่าเป็นบทกระทู้ของหัวใจการปฏิบัติธรรมทีเดียว ท่านพระพุทธโฆสะแต่ง อธิบายโดยวิจิตรพิสดารอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย ได้อ้างพระพุทธวจนะเป็นอาคตสถานไว้ในที่นั้น ๆ ทั่วไป แสดงว่าท่านมีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก สามมารถยกเอาธรรมที่ว่าด้วยศีล มารวมไว้ในหมวดศีล ยกเอาธรรมที่เกี่ยวกับสมาธิมารวมไว้ในหมวดสมาธิยกเอาธรรมที่กล่าวถึงปัญญามารวมไว้ในหมวดปัญญา โดยปันออกเป็นนิเทศ ๆ รวมทั้งหมด ๒๓ นิเทศ และประวัติแห่งการแต่งวิสุทธิมรรคปกรณ์ของท่านก็คล้ายกับการแต่งสอบไล่ เพราะพระเถระชาวสีหฬได้ออกกระทู้ให้ท่านแต่งดูก่อน เมื่อท่านทำได้เป็นที่พอใจ จึงจะยอมยกคัมภีร์อรรถกถาภาษาสีหฬ ให้ท่านแปลเป็นภาษามคธต่อไป ท่านพระพุทธโฆสะได้ทำสำเร็จอย่างรวดเร็วและดียิ่ง เป็นที่พอใจของพระเถระชาวสีหฬทั้งปวง

ฉะนั้นคัมภีร์วิสุทธิมรรคนี้จึงเป็นวิทยานิพนธ์สอบความรู้ของท่านพระพุทธโฆสะ ที่รับรองกันว่า เป็นชั้นเยี่ยม มาตั้งแต่เบื้องต้น และเป็นที่รับรองกันในหมู่นักศึกษาตลอดมา วิสุทธิมรรคปกรณ์นี้ ได้ใช้เป็นหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกภาษาบาลีแห่งคณะสงฆ์ประเทศไทยมานาน และเป็นคู่มือในการปฏิบัติพระพุทธศาสนา



เนื้อหาของคัมภีร์วิสุทธิมรรค

ใน 3 ภาคใหญ่ ๆ นั้น แต่ละภาคจะชี้ให้เห็นถึงกระบวนความรู้ที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกันตั้งแต่ความ รู้อย่างหยาบ ๆ จนถึงความรู้ขั้นละเอียดลึกซึ้ง

ผู้ศึกษาสามารถเข้าใจได้ว่า ขั้นตอนการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนานั้นทำอย่างไร จะต้องมีความรู้อะไรบ้าง ความรู้เหล่านั้นมีหลักการอย่างไร ต้องเรียนรู้อะไรก่อน อะไรหลัง กล่าวคือ แต่ละภาคจะเริ่มต้นด้วยการอธิบายถึงความหมาย ลักษณะ กิจ ผลปรากฏ เหตุใกล้ คุณประโยชน์ต่อชีวิต อุปสรรคที่อาจเกิดขึ้น ตลอดจนวิธีการเจริญไปตามขั้นตอนทั้งของศีล สมาธิ และปัญญา เป็นภาพรวมของวิถีชีวิตที่ดำเนินไปเพื่อความพ้นทุกข์โดยตรง

ซึ่งต่างจากมหาสติปัฏฐานสูตรในพระไตรปิฎก คือ มหาสติปัฏฐานสูตร จะกล่าวถึงเรื่องการเจริญสติโดยตรง ไม่มีการกล่าวถึงลำดับของการเจริญศีล สมาธิ และปัญญาอย่างในวิสุทธิมรรค

เนื้อหาโดยรวมในคัมภีร์วิสุทธิมรรค จะเน้นการดำเนินชีวิตเยี่ยงพระสงฆ์มากกว่าการดำเนินชีวิตอย่างคฤหัสถ์ เพราะชีวิตของพระเป็นชีวิตแห่งไตรสิกขาโดยตรง วิสุทธิมรรคจึงเปรียบเสมือนคู่มือของนักปฏิบัติธรรมฝ่ายเถรวาท เพื่อใช้เป็นฐานที่จะก้าวลงสู่มหาสมุทรของพระพุทธศาสนา (คือคัมภีร์พระไตรปิฎก) แต่ไม่ควรสรุปว่าวิสุทธิมรรคคือทั้งหมดของพระพุทธศาสนา เป็นเพียงภาคของการปฏิบัติที่จะทำให้ชีวิตถึงจุดหมายสูงสุด คือ ความบริสุทธิหมดจดจากเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย (พระธรรมปิฎก, สากัจฉา วิมุตติมรรค 21 ก.ย.38)



หลักวิชาการของคัมภีร์วิสุทธิมรรค

คัมภีร์วิสุทธิมรรคจัดเป็นคัมภีร์ชั้นอรรถกถา ซึ่งแต่งขึ้นในภายหลังโดยพระพุทธโฆสะ ในวงวิชาการทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นคัมภีร์หลักขั้นปฐมภูมิ เช่นเดียวกับคัมภีร์พระไตรปิฎก B.C.Law (1946 : 80) กล่าวว่า คัมภีร์นี้มิได้เพิ่มอะไรให้แก่ตัวคัมภีร์พระไตรปิฎก เป็นแต่มุ่งหมายในการจัดสารบัญของพระไตรปิฎกในอีกรูปแบบหนึ่งเท่านั้น (วิสุทธิมรรค แปล 2513 : จ) นอกจากนี้ทางการคณะสงฆ์ไทยยังจัดคัมภีร์วิสุทธิมรรคเป็นหนึ่งในหลักสูตรการ ศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี วิชาการแปลมคธเป็นไทย ประโยค ปธ.8-9 นับว่าเป็นปกรณ์สำคัญปกรณ์หนึ่งที่นิยมศึกษากันมาก ประวัติแห่งการแต่งคัมภีร์วิสุทธิมรรคเป็นสิ่งที่ยืนยันถึงความแตกฉานใน คัมภีร์พระไตรปิฎกของท่านพระพุทธโฆสะ จนเป็นที่ยอมรับของคณะสงฆ์ฝ่ายมหาวิหารแห่งประเทศลังกาในยุคนั้นเช่นกัน

คัมภีร์วิสุทธิมรรคเป็นคัมภีร์ ที่แสดงการประมวลความรู้ความเข้าใจในพุทธธรรมของฝ่ายเถรวาทอย่างสมบูรณ์ ทั้งการอุปมาอุปไมยและตัวอย่างประกอบมากมาย (สุภาพรรณ ณ บางช้าง 2526 : 292) สามารถรวบรวมเนื้อหาสาระเกี่ยวกับศีล สมาธิ ปัญญา และหมวดธรรมต่าง ๆ ในคัมภีร์พระไตรปิฎกมาอธิบายขยายความไว้อย่างเป็นระบบให้รายละเอียดในแง่มุม ต่าง ๆ ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันของธรรมที่พึงทราบเหล่านั้น เค้าโครงทั่วไปของการปฏิบัติถือตามหลักการของไตรสิกขาแล้วขยายออกตามแนววิ สุทธิ 7 นอกจากแสดงลำดับขั้นตอนและแบบแผนการฝึกด้านกิจกรรมภายนอกแล้ว (เช่น ศีล สมาธิ) ยังแสดงลำดับขั้นของความเจริญก้าวหน้าภายใน คือ การที่ปัญญาแก่กล้าขึ้นเป็นระดับ ๆ จนถึงการตรัสรู้ (พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตโต) 2525 : 359)


ไตรสิกขาหรือศีล สมาธิ ปัญญานั้น แต่ละส่วนมีหลักเกณฑ์เฉพาะของตนเอง นอกจากนี้วิธีการ ตลอดจนผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เหมือนกัน แต่ในความแตกต่างเหล่านั้นไม่อาจแยกออกจากกันได้อย่างเป็นเอกเทศ การเจริญไตรสิกขาไปสู่ความวิสุทธินั้น หมายเอาศีล สมาธิ ปัญญาที่กำลังเกิด พร้อมในอารมณ์เดียวกัน ขณะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเท่านั้น คนทุกคนสามารถสร้างนิสัยในเจริญวิปัสสนาได้ และเป็นสิ่งที่ควรสั่งสมอบรม แต่มิใช่ว่าทุกคนจะเข้าถึงเหตุผลและญาณปัญญา ทั้งนี้มีเงื่อนไขบางอย่างของญาณปัญญา โดยเฉพาะคือต้องเป็นผู้ที่เกิดมาพร้อมด้วยไตรเหตุ (อโลภะเหตุ อโทสะเหตุ อโมหะเหตุ)

นอกจากนี้ยังต้องเป็นผู้ฉลาดรอบคอบในการนำกิจของพระกรรมฐานทุกอย่าง เริ่มต้นด้วย การเรียน การถาม และการเจริญ เป็นต้น เงื่อนไขเหล่านี้เป็นเหตุของวิปัสสนาญาณในระดับต่าง ๆ เท่าที่ตนเคยสั่งสมไว้ วิปัสสนาญาณแต่ละระดับก็มีความสามารถปหานกิเลสชนิดต่าง ๆ ได้ไม่เท่ากัน จึงทำให้เกิดวิสุทธิได้ไม่เท่ากันด้วย กฎเกณฑ์และเงื่อนไขที่กล่าวมาเป็นการยืนยันถึงหลักอนัตตาอย่างหนึ่งว่า ญาณปัญญาและวิสุทธิที่มีอยู่หลายระดับนั้นอยู่นอกเหนืออำนาจการจัดสรรของผู้ ใดทั้งสิ้น เป็นสิ่งที่บังคับให้เกิดกับใครโดยไม่สร้างเหตุที่ถูกต้องก็ไม่ได้ ความบริสุทธิ์มิได้เกิดขึ้นเพียงเพราะความเชื่อ หรือการอ้อนวอน แต่เกิดขึ้นจากการพิสูจน์หรือจากการปฏิบัติที่ถูกต้องด้วยตนเองเท่านั้น


คัมภีร์วิสุทธิมรรค จัดเป็นคัมภีร์สำคัญฝ่ายเถรวาทคัมภีร์หนึ่งในชั้นนวัฎฐกถา รจนาขึ้น เมื่อหลังพุทธปรินิพพานประมาณ 956 ปี (ราวพุทธศตวรรษที่ 9) พระพุทธโฆสะอาศัยโบราณอรรถกถา 3 คัมภีร์ เป็นหลักใหญ่ในการแต่ง อรรถกถา 3 คัมภีร์ที่ว่านั้น คือ

1. มหาอรรถกถา เป็นคัมภีร์เดิมที่เคยผ่านการสังคายนาครั้งแรก อันมีพระมหากัสสปะเป็นประธานมาแล้ว และถูกถ่ายทอดเป็นภาษาสิงหลเมื่อสังคายนาครั้งที่ 3 ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงส่งพระสาวกไปประกาศพระพุทธศาสนายังนานาประเทศ

2. มหาปัจจรีอรรถกถา แต่งขึ้นที่ประเทศลังกา

3. กุรุณทีอรรถกถา แต่งขึ้นที่ประเทศลังกาเช่นกัน

อรรถกถาทั้ง 3 คัมภีร์นี้จารึกไว้เป็นภาษาสิงหล ใช้เป็นคัมภีร์หลักในการแต่งคัมภีร์วิสุทธิมรรคดังกล่าว


ความสำคัญของคัมภีร์วิสุทธิมรรค

อรรถกถาทั้งหลายในสมัยอนุราชปุระ ถือเอาคัมภีร์วิสุทธิมรรคนี้เป็นหลักในการเขียนอรรถกถา และคณะสงฆ์ไทยปัจจุบันบรรจุในหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกภาษาบาลีประโยค ปธ.8 วิชาการแปลมคธเป็นไทยด้วย นับว่าคัมภีร์วิสุทธิมรรคเป็นผลงานที่สำคัญที่สุดของพระพุทธโฆสะ ทำให้พุทธชนรุ่นหลังได้ศึกษาพระปริยัติธรรมในพระพุทธศาสนา นอกจากนี้มีนักวิชาการชาวต่างประเทศหลายท่านที่กล่าวถึงคัมภีร์วิสุทธิมรรคไว้ อาทิ

R.C. Cnilders กล่าวยกย่องไว้ในคำนำของหนังสือ Pali English Dictionary ว่า คัมภีร์
วิสุทธิมรรคนี้เปรียบเหมือนสารานุกรมแห่งคำสอนทางพระพุทธศาสนา ใช้ภาษาที่สั้นและชัดเจน แสดงถึงความเข้าใจทั่วถึงในเรื่องที่แต่งอย่างน่าอัศจรรย์ (วิสุทธิมรรค แปล 2513)

Dr. B.C.Law กล่าวไว้ในหนังสือ Buddhaghosa ซึ่งพิมพ์เมื่อปี 1946 โดยให้ทัศนะว่าเป็นคัมภีร์ที่ให้ภาพรวมที่แสดงถึงระบบแห่งพระพุทธศาสนาทั้งหมด มิได้เพิ่มอะไรให้แก่ตัวคัมภีร์พระไตรปิฎก แต่มุ่งหมายในการจัดสารบาญของพระไตรปิฎกให้เป็นระบบระเบียบ (วิสุทธิมรรค แปล 2513)

Spence Hardy เขียนไว้ในหนังสือ Manual of Buddhism กล่าวว่างานชิ้นนี้เสนอเนื้อหาส่วนที่เป็นคำสอนและอภิปรัชญาทางพระพุทธศาสนา ซึ่งได้ทั้งหลักฐานและความถูกต้อง (วิสุทธิมรรค แปล 2513)

พระธรรมปิฎก (สากัจฉา วิมุตติมรรค, 21 ก.ย.38) มีความเห็นว่า คัมภีร์วิสุทธิมรรค ให้ความรู้ที่เป็นฐานเพื่อก้าวลงสู่มหาสมุทรแห่งคำสอนของพระพุทธศาสนา มีจุดยืนที่การนำเสนอภาคปฏิบัติเพื่อดำเนินชีวิตไปถึงเป้าหมายสูงสุด คือ พระนิพพาน


โครงสร้างของคัมภีร์วิสุทธิมรรค

พระพุทธโฆสะ เริ่มจับประเด็นตรงที่ว่า ปรารภเทพบุตรองค์หนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี ในคืนหนึ่งได้ทูลถามปัญหาเพื่อแก้ไขความสงสัยของตนว่า

“ธรรมชาติอันหนึ่ง เป็นชัฏทั้งภายใน ชัฏทั้งภายนอก ประชาชนถูกชัฏ (นั้น) เกี่ยวสอดไว้แล้ว ข้าแต่พระโคดม เพราะเหตุนี้ข้าพเจ้าขอทูลถามพระองค์ ใครเล่าจะพึงถางชัฏนี้ได้”

ด้วยพระทสพลญาณอันหาประมาณมิได้ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพยากรณ์ (แก้ปัญหา) แก่เทพบุตร ด้วยพระคาถาว่า

สีเล ปติฏฺฐาย นโร สปญฺโญ จิตฺตํ ปญฺญญฺจ ภาวยํ

อาตาปี นิปโก ภิกฺขุ โส อิมํ วิชฏฺเย ชฏํํ


นรชนผู้ฉลาด มีความเพียรเครื่องเผากิเลสอย่างต่อเนื่อง มีปัญหา คือ สัมปชัญญะ (นับ) เป็นภิกษุผู้เห็นภัยในวัฏฏะ (เมื่อ) ตั้งมั่นอยู่ในศีลแล้ว อบรมจิต (สมาธิ) และปัญญาอยู่นรชนผู้นั้น จะพึงถางรกชัฏอันนี้ออกเสียได้(สํ. ส. 15/20)


จากพระคาถาที่ทรงพยากรณ์แก่เทพบุตรนี้ พระพุทธโฆสะได้นำมาเป็นบทตั้งในการรจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรค ขยายความบทกระทู้ดังกล่าว ว่าด้วยไตรสิกขาไว้อย่างพิสดาร นับว่าเป็นปกรณ์สำคัญปกรณ์หนึ่ง ที่ประมวลธรรมในคัมภีร์พระไตรปิฎก มาแสดงไว้เป็นหมวดหมู่โดยตั้งเป็นรูปคำถาม-คำตอบ แบ่งเป็น 3 ภาคใหญ่ ๆ ถือแนววิสุทธิ 7 ประการเป็นหลัก โดยขยาย สีลวิสุทธิออกเป็นนิเทศหนึ่งต่างหาก เรียกว่า สีลนิเทศ แยกจิตวิสุทธิออกเป็นนิเทศหนึ่ง เรียกว่า สมาธินิเทศ และแยกปัญญาวิสุทธิทั้ง 5 มีทิฏฐิวิสุทธิ เป็นต้น ออกเป็นอีกนิเทศหนึ่ง เรียกว่า ปัญญานิเทศ รวมทั้งหมดแล้วมี 23 นิเทศ เนื้อหาใน 3 ภาคใหญ่ ๆ นั้น ได้แก่

ภาคแรก กล่าวถึงเรื่องศีล เริ่มตั้งแต่อธิบายว่า ศีลคืออะไร มีความหมายว่าอย่างไร ศีลมีลักษณะ มีกิจ มีผลปรากฎ และมีอะไรเป็นเหตุใกล้ มีคุณประโยชน์ต่อชีวิตอย่างไร มีกี่ชนิด มีอะไรเป็นอุปสรรค ควรรักษาศีลกันอย่างไร ตลอดจนกล่าวเฉพาะเรื่องการประพฤติปฏิบัติของผู้ถือบวชด้วย

ภาคที่ 2 กล่าวถึงเรื่องสมาธิ คล้ายกับเรื่องศีล คือ เริ่มต้นด้วยการอธิบายว่า สมาธิคืออะไร โดยความหมายอย่างไรจึงเรียกว่าสมาธิ มีกี่ชนิด อะไรเป็นอุปสรรคไม่ให้มีสมาธิ หรืออะไรทำให้สมาธิที่มีไม่พัฒนา อะไรคือวิธีเจริญสมาธิ ในเรื่องวิธีการเจริญสมาธินี้ได้กล่าวอย่างละเอียด เช่น เรื่องลักษณะสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้เจริญสมาธิได้ดี การมีกัลยาณมิตรช่วยส่งเสริมแนะนำ ลักษณะจิตของผู้ที่ต้องการฝึกสมาธิและวิธีการเจริญที่เหมาะสมกับจริตแต่ละแบบ การเจริญสมาธิแบบ กสิณ ฌาน พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ มรณานุสสติ ฯลฯ การฝึกสมาธิแบบ อานาปานสติ รูปฌาน ประโยชน์ของการฝึกสมาธิอภิญญาจิต

ภาคที่ 3 กล่าวถึงเรื่องปัญญา เริ่มตั้งแต่ความหมายของคำว่าปัญญา ลักษณะของปัญญา ชนิดของปัญญา วิธีการเจริญปัญญา ความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับสภาวความเป็นจริง ซึ่งจำเป็นต้องรู้อย่างชัดเจนเพื่อให้ปัญญาเกิดขึ้น ได้แก่ การเข้าใจเรื่องชีวิตซึ่งเป็นเบญจขันธ์ คือ ประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ระดับของความเข้าใจเรื่องขันธ์ 5 ดังกล่าว อายตนะ 6 ธาตุ 18 อินทรีย์ 22 อริยสัจจ์ 4 ปฏิจจสมุปบาท วัฏจักรแห่งกรรมและผลแห่งกรรม กฎไตรลักษณ์ ลำดับขั้นแห่งปัญญา ตลอดจนประโยชน์ของการเจริญปัญญาและการหลุดพ้นจากความทุกข์โดยสิ้นเชิง ฯลฯ

กล่าวโดยสรุป คัมภีร์วิสุทธิมรรคนี้เป็นการรวบรวมเนื้อหาสาระเกี่ยวกับศีล สมาธิ ปัญญา และหมวดธรรมต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก มาอธิบายขยายความไว้อย่างเป็นระบบ ให้รายละเอียดในแง่มุมต่าง ๆ ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันของธรรมที่พึงทราบเหล่านั้น ผู้ศึกษาสามารถเข้าใจได้ว่า ถ้าหากจะปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาแล้ว จะต้องมีความรู้อะไรบ้าง ความรู้เหล่านั้นมีหลักการอย่างไร จะต้องปฏิบัติอะไรก่อน และอะไรหลัง เป็นต้น


แนวคิดสำคัญเกี่ยวกับกรรมฐานในคัมภีร์วิสุทธิมรรค

คำว่า วิสุทธิ ในที่นี้ พระพุทธโฆสะ หมายเอาพระนิพพานเท่านั้น พระนิพพานเป็นธรรมอันปราศจากมลทินทั้งปวง และมีความบริสุทธิ์แท้จริง วิสุทธิมรรคจึงหมายถึงทางสู่ความบริสุทธิ์ หรืออุบายที่เป็นเครื่องบรรลุ (พระนิพพาน) ทางหรืออุบายที่ว่านี้ พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้หลายนัยด้วยกัน เช่น

ในที่บางแห่ง พระองค์ทรงแสดงถึงธรรมที่บริสุทธิ์เนื่องเพราะกรรมไว้ว่า

“มัจจะทั้งหลายหมดจดได้ด้วยธรรม 5 ประการนี้ คือ กรรม วิชา ธรรม ศีล และอุดมชีวิต ไม่ใช่ด้วยโคตรหรือด้วยทรัพย์”
(สํ. ส. 15/78)

บางแห่งพระองค์ทรงแสดงถึงธรรมที่บริสุทธิ์เนื่องเพราะศีล เช่น

“ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีล มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว มีปัญญา มีความเพียรอันปรารภแล้ว มีตนอันส่งไปแล้วในกาลทุกเมื่อ ย่อมข้ามโอฆะอันยากที่จะข้ามได้”
(สํ. ส. 15/74)

บางครั้งพระองค์ทรงแสดงธรรมที่บริสุทธิ์ได้เนื่องเพราะฌานและปัญญา เช่น

“ฌานย่อมไม่มีแต่ผู้หาปัญญามิได้ ปัญญาย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน ฌานและปัญญามีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้นแลอยู่ใกล้พระนิพพาน”
(ขุ. จ. 25/65)

บางครั้ง พระองค์ก็ทรงแสดงถึงความบริสุทธิ์มีได้ด้วยวิปัสสนาอย่างเดียว เช่น

“เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่าสังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เมื่อนั้นเขาย่อมหน่ายในทุกข์ นั่นคือ ทางแห่งวิสุทธิ”
(ขุ. ธ. 25/51)

และบางครั้ง พระองค์ก็แสดงว่าความบริสุทธิ์มีได้เนื่องด้วยสติปัฏฐาน เช่น

“ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ไปอันเอกนี้ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อวิสุทธิแห่งสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน นี้คืออะไร คือสติปัฏฐาน 4”
(ที. ม. 10/325)

เนื่องจากธรรมที่ให้ถึงความบริสุทธิ์ มีลักษณะการอธิบายได้อย่างหลากหลาย ทั้งต่างสถานที่ ต่างบุคคล ต่างสถานการณ์ ดังนั้น ทางหรืออุบายจึงมีต่างระดับกัน เพราะภูมิธรรมของบุคคลและจริตอัธยาศัยความชอบไม่เหมือนกัน อุบายหรือทางต่างระดับนี้ แต่ละระดับมีขีดความสามารถไปถึงจุดหมายไม่เท่ากัน ระดับต่ำเป็นพื้นฐานไปสู่ระดับสูง เมื่อใช้เส้นทางระดับต่ำจนสุดทางที่ระยะหนึ่งแล้ว จำเป็นต้องผ่านจุดเชื่อมทาง เพื่อไปใช้เส้นทางอีกระดับที่สูงกว่าไปได้ไกลกว่าแทน จึงจะถึงจุดหมายได้ เช่น

การบริจาคทาน รักษาศีล เป็นการเตรียมพร้อมด้านร่างกายและจิตใจ เพราะทานและศีลเป็นที่มาของโภคทรัพย์ เวลาว่าง และสุขภาพดี เหตุที่มีความเชื่อมั่นและเรียนรู้ง่ายก็ด้วยอำนาจของสมาธิ ส่วนการสร้างความเห็นถูกในการดำรงชีวิตอย่างมีเหตุผลเป็นอานุภาพของปัญญา เป็นต้น

พฤติกรรมต่างระดับของศีล สมาธิ และปัญญาจึงมีขีดความสามารถในหน้าที่ต่างกัน แต่เกื้อกูลซึ่งกันและกัน ความสมบูรณ์ไม่อาจเกิดจากการเจริญเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น จากการไม่ขัดสนในโภคทรัพย์ ทำให้มีเวลาสำหรับการศึกษาค้นหาความจริง ทานและศีลจึงเป็นทางเชื่อมโยงไปสู่ความมีปัญญา แต่มิได้เป็นเหตุให้เกิดปัญญาโดยตรง เป็นต้น

เมื่อทางมีอยู่มากมาย และระยะทางก็ไม่เท่ากัน จุดเชื่อมทางจึงมีความสำคัญอยู่ที่การขยายขีดความสามารถในการเดินทางได้ไกลกว่า ชุมทางสุดท้ายที่เชื่อมทางร่วมต่างระดับอื่นๆ จนเหลือทางเอกทางเดียวก่อนถึงจุดหมาย ก็คือ สติปัฏฐาน 4 นั่นเอง

สติปัฏฐาน 4 เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาโดยตรง ดังนั้น สติปัฏฐาน 4 จึงเปรียบเป็นทางเชื่อมสำคัญทางเดียวที่นำไปสู่ทางเอกสุดท้าย ทางเอกนั้นคือ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เพราะวิปัสสนากรรมฐานมีจุดหมายปลายทางแน่นอน คือ วิสุทธิเท่านั้น

เมื่อถึงที่หมายคือวิสุทธิแล้ว เป็นการสิ้นสุดการเดินทางท่องเที่ยวไปมาในวัฏฏะสงสาร กล่าวอีกนัยหนึ่ง วิปัสสนากรรมฐาน มีสติปัฏฐานเป็นเหตุ และมีวิสุทธิเป็นผล ความบริสุทธิ์มิได้เกิดขึ้นเพียงเพราะความเชื่อ หรือการอ้อนวอน แต่เกิดขึ้นด้วยการพิสูจน์หรือด้วยการปฏิบัติที่ถูกต้องเท่านั้น




Visuddhimagga Books


หนังสือธรรมะ ภาษาต่างประเทศ

An Introduction to the Study of Buddhism: A Sane Way to Live

Most Popular Books on Buddhism

Theravada Buddhism Recommended Reading










 

Create Date : 22 กันยายน 2552    
Last Update : 22 กันยายน 2552 20:56:38 น.
Counter : 1389 Pageviews.  


Inquirer
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Loading
ร้านหนังสือธรรมะ ภาษาต่างประเทศ Bestsellers Buddhism General Buddha's Nirvana Theravada Sutra Mahayana Dalai Lama Vajrayana Zen Buddha Dhammapada Dharma History Karma Rituals & Practice Sacred Writings Sutras Zen Philosophy Tibetan Religion & Spirituality Kindle Books Bestsellers in Kindle Store Hot New Releases Most Gifted Most Wished For Audiobooks Audiobook Downloads
free counters
Web-Stat
Friends' blogs
[Add Inquirer's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.